12. การฝึกงานของพระจักรฯ










นานาทัศนะ เรื่อง การบำเพ็ญบารมีเป็น “พระพุทธจักรพรรดิ


ขอเอ่ยอ้างถึงการบำเพ็ญบารมี สายหลัก ที่มีอยู่ในโลกของเราว่ามี สายด้วยกันคือ

(1)    สายธรรม เรียกว่า “พระองค์ธรรม”  
(หากมุ่งหวังเป็นพระพุทธเจ้า เรียกพระโพธิธรรมบุคคล ที่ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิบ้าง)

(2)    สายจักรฯ หรือ สายจักรพรรดิ เรียกว่า “พระจักรฯ” 
(หากมุ่งหวังเป็นพระพุทธเจ้า เรียกพระโพธิจักรฯบุคคล ที่ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิบ่อยกว่า)

โดยที่ ทั้งพระโพธิธรรมบุคคล และพระโพธิจักรฯบุคคล ต่างก็เรียกรวมกันว่า “พระโพธิสัตว์”ทั้งนี้ ปกติแล้วพระองค์ธรรม มักจะประเสริฐกว่า พระจักรฯ ด้วยเพราะมีธรรมอันอุดมมากกว่า แต่หากพระจักรฯสามารถบำเพ็ญจนบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าได้ ก็จะสำเร็จเป็น "พระพุทธจักรพรรดิ" ซึ่งประเสริฐกว่า พระพุทธเจ้าสามัญ ที่มาจากการเป็นพระองค์ธรรม หรือ พระจักรฯ ที่มีอันดับด้อยกว่า การเป็นพระพุทธจักรพรรดินั้นก็ อุปมาเหมือนดั่งพระพุทธเจ้าที่เป็น "เจ้าคุณ" คือมียศศักดิ์อยู่ใน “พุทธสมาคม” โดยใน "ภัทรกัปป์" ปัจจุบันของเรานี้ สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า จะทรงเสด็จอุบัติขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 5 โดยที่พระองค์เป็น "พระพุทธจักรพรรดิ" เพียงพระองค์เดียว ในบรรดาพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ ของภัทรกัปป์นี้

หากถามว่า เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ก่อนอื่นต้องขออ้างอิงถึงบทความเดิมในเว็บไซท์ว่า พระจักรฯ มีสองประเภท คือ (1) ประเภทที่เก่งงาน และ (2) ประเภทที่เก่งวิชชา

พระจักรฯ ประเภทที่เก่งงาน ต้องผ่านการ “ฝึกงาน” เป็น “รัตนะบุคคล” ซึ่งมีบทบาททั้ง อย่าง โดยเริ่มแรกตั้งแต่เป็น ม้า (การคมนาคม)ช้าง (การอำนวยเอื้อเฟื้อช่วยเหลือ)เป็น บุรุษหรืออิตถีรัตนะ (การให้ความสุข ความน่าเพลิดเพลินใจ และความสวยงาม)พระคลัง (การดูแลจัดหาและรักษาสมบัติ)ขุนพล (การควบคุมระดมพลพรรค และทรัพยากรบุคคล)พระมณีรัตน์ หรือ พระมณีจินดา (กำกับการเรื่องของศักดิ์สิทธิ์ให้คุณชนิดต่างๆ และรัตนชาติหินมีค่า) จนกระทั่งเป็น "จักร" ที่ฝึกการใช้อำนาจบังคับบัญชาสั่งการและบริหารจัดการ. เพราะฉะนั้น พระจักรฯ ที่ฝึกงานมาตามลำดับขั้นนี้ จะมี "กายสิทธิ์" คือ “วสี” หรือ “ความชำนาญงาน” สะสมอยู่ในตัวมากกว่า "พระองค์ธรรม" ที่สร้างบารมีไปเรื่อยๆ โดยอาจไม่ได้เน้นงานตามบทบาทแห่งรัตนะ 7 ด้วยเหตุนี้ พระจักรฯที่บรรลุเป็นพระพุทธเจ้าจึง “เก่ง” กว่าพระองค์ธรรมที่บรรลุเป็นพระพุทธเจ้า ด้วยบารมีธรรมที่พอๆกัน

ส่วนพระจักรฯประเภทที่เก่งวิชชา คือพระจักรฯ ที่ “เดินรัตนะ” หรือ “เข้ารัตนะ” โดยอาศัย "รัตนะ ของกายสิทธิ์” (อันเป็นทิพย์) ในการเข้าวิชชาเดินวิชชาหรือประกอบวิชชาในญาณ มีความชำนาญ อุปมาดั่ง ทหาร (อุปมาว่าเป็นพระจักรฯ) ที่ฝึกใช้ อาวุธสงคราม เมื่อเทียบกับตำรวจ (อุปมาว่าเป็นพระองค์ธรรม) ที่ฝึกใช้อาวุธสำหรับต่อสู้ต่างๆ แม้ว่า พระองค์ธรรม จะสามารถใช้รัตนะ ได้เช่นกัน แต่ถ้าเปรียบเทียบระหว่าง พระจักรฯ กับ พระองค์ธรรม ในระดับเดียวกัน โดยส่วนใหญ่แล้วพระจักรฯ ย่อมจะใช้รัตนะ ที่เป็นกายสิทธิ์ ในวิชชา ได้เชี่ยวชาญ ชำนาญ และ “เก่ง” มากกว่า ด้วยภาวะแห่งการเป็นพระจักรพรรดิ ยกเว้น พระองค์ธรรมบางพระองค์ที่ฝึกมานาน หรือพระองค์ธรรม ที่ฝึกหรือบำเพ็ญเป็น “พระจักรฯ” ควบคู่กันไปด้วย อุปมาเหมือนบุคคลที่เป็นทั้ง ทหาร และ ตำรวจ ในคนๆเดียวกัน แต่มียศในทั้งสองฝ่าย

อย่างไรก็ตาม ทั้งการฝึกงาน และการฝึกวิชชา ของพระจักรฯ ซึ่งมีการให้ความสำคัญกับงานและ/หรือ วิชชา ในด้าน “รัตนะทั้ง 7” มากกว่าทั่วๆไป ทำให้เป็นการยากสำหรับพระจักรฯ ในการบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อเปรียบเทียบกับพระองค์ธรรม เพราะพระจักรฯมิได้ "บำเพ็ญธรรม" แต่เพียงอย่างเดียวเป็นหลัก แต่ฝึกหลายๆ อย่างไป พร้อมๆ กัน ทั้งงานและวิชชา และการฝึกของพระจักรฯ ในลักษณะนี้ เป็นเหตุที่เอื้อให้ พระจักรฯ บรรลุเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ ได้บ่อยกว่า และได้มากกว่า พระองค์ธรรม ในตลอดช่วงระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีที่เท่ากัน

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า พระองค์ธรรม จะไม่ได้ฝึกรัตนะ อย่างพระจักรพรรดิเลย พระองค์ธรรม ก็ได้ฝึกบ้าง แต่ไม่เข้มข้นมาก และพระองค์ธรรมก็สำเร็จเป็นพระเจ้าจักรพรรดิบ้าง แต่ไม่มากเหมือนอย่างพระจักรฯ ตลอดช่วงระยะเวลาที่บำเพ็ญบารมีจะเป็นพระพุทธเจ้า แต่พระองค์ธรรมได้สั่งสมบารมีธรรมโดยตรง นั่นก็คือ "บารมี 10 ทัศ" ทั้งแบบสามัญ แบบอุปบารมี และแบบปรมัตถบารมี ซึ่งทำให้บารมีธรรมของพระองค์ธรรมเต็มเร็ว และบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าได้ง่ายกว่า พระจักรฯ ที่ต้องฝึกงานในรูปของ รัตนบุคคล ประเภท ซึ่งกอปรให้เกิด "บารมีธาตุ" และ/หรือ ฝึกวิชชาที่ใช้รัตนะ กายสิทธิ์กระทั่งเชี่ยวชาญ ควบคู่ไปกับการบำเพ็ญบารมี 10 ทัศ ขั้น (ขั้นสามัญ, ขั้นอุปบารมี, ขั้นปรมัตถบารมี) ที่กอปรให้เกิด "บารมีธรรม" ด้วยเหตุนี้ กาลแห่งความล่าช้าจึงเกิดแก่พระจักรฯ

โดยสรุปแล้ว เราสามารถกล่าวได้ว่า “ธรรม” นั้นได้การยอมรับนับถือว่าเป็นใหญ่ เพราะเป็นองค์คุณที่ก่อให้เกิดความสะอาดบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ จวบจนเกิดเป็นมรรคผล นิพพาน ตามปกติแล้ว “พระจักรฯ” จะมี “ธรรม” ด้อยกว่า “พระองค์ธรรม” แต่พระจักรฯ มักจะมี “วสี” คือความเก่ง ทั้งในงาน และในวิชชา เมื่อเปรียบเทียบกับพระองค์ธรรมที่อยู่ในระดับเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หากว่า “พระจักรฯ” สามารถบำเพ็ญจนกระทั่ง “อุดมธรรม” ได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า “พระองค์ธรรม” ด้วย “ธรรม” ที่พอๆ กัน พระจักรฯ ย่อมจะประเสริฐกว่า เหตุเพราะมีวสีในงานและในวิชชา ส่วน “พระองค์ธรรม” หรือ “พระจักรฯ” ที่บำเพ็ญในทั้ง ฝ่าย ควบคู่กันไป คือเป็นทั้ง “พระองค์ธรรม” และ “พระจักรฯ” ในเวลาเดียวกัน ย่อมประเสริฐกว่า “พระองค์ธรรม” หรือ “พระจักรฯ” ด้วยกัน ที่อยู่ในระดับเดียวกัน ดังฉะนี้แล.

หมายเหตุ: การใช้คำว่า "พระจักรพรรดิ" ก็ตาม หรือ "พระพุทธจักรพรรดิ" ก็ตาม สามารถแบ่งแยกประเภทออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ (ก) พระจักรพรรดิ ที่ "เป็นตัวเป็นตน" (The Lord of Imperial Dhamma) คือมีชีวิต และสามารถถือกำเนิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดา ได้ ส่วน (ข) คือ พระจักรพรรดิ ที่เป็น "กายสิทธิ์" (The Transcendroid or Transcendental Droid) ที่ไม่มีชีวิต แต่มีความคิด มีจิตใจ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะถูก "สร้าง" หรือ "ปรุง" ขึ้นให้อยู่ในสภาพอันเป็น "ทิพย์" โดยที่ปกติแล้วไม่จำเป็นต้องมาถือกำเนิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาเพื่อเวียนว่ายตายเกิด ยกเว้นในบางกรณีพิเศษ ส่วนสาเหตุที่พระจักรพรรดิ ทั้งประเภท (ก) และ ประเภท (ข) มีชื่อเรียกว่าเป็น "พระจักรพรรดิ" เหมือนๆ กัน ก็เพราะต่างก็เกี่ยวข้องขับ "รัตนะ 7 ประการ" มี "จักรแก้ว" เป็นอาทิ ไม่ว่าจะเป็นของหยาบที่หยิบจับต้องใช้สอยได้ หรือของทิพย์ที่เอาไว้ใช้ในญาณ หรือใน "วิชชา" ดังฉะนี้.

To be continued!

- by Pittaya Wong
10 Feb 2019


การฝึกงานของพระจักรฯ

โดย วิชชาจารย์ณ พุทธศักราช 2560

     1.       ฝึกใช้อำนาจ ควบคุมอำนาจที่มี ให้เป็นคุณเป็นโทษอย่างถูกต้องสมควร

     2.      ฝึกความแน่ชัด ชัดแจ้ง ให้ตนเองและผู้อื่น รู้เห็นเข้าใจถูกต้องตามจริงตามควร

     3.      ฝึกการเป็นผู้นำผองชน การทำงานทำการร่วมกัน เพื่อให้งานสำเร็จโดยร่วมกัน

     4.      ฝึกการใช้สอยและจัดหาทรัพย์สินศฤงคาร ให้มีพอมีใช้ ไม่สุรุ่ยสุร่าย ไม่เสียศูนย์เปล่า โดยไม่จำเป็น

     5.      ฝึกความวิจิตรงดงามของข้าวของสิ่งต่างๆ รวมทั้งจิตใจ ที่ให้ความสุขน่าพึงพอใจแก่ตนเองและผู้อื่น

     6.      ฝึกความโอบอ้อมอารี อ่อนโยน เอื้อเฟื้อต่อทั้งผู้ยาก และผู้มั่งมี เป็นประโยชน์ต่อทั้งตนเองและผู้อื่น

    7.      ฝึกกำลังความรวดเร็ว ว่องไว ทรงพลัง ในการยังกิจการงานต่างๆ ทั้งเรื่องหยาบ (โลกภายนอก) และเรื่องละเอียด (ในวิชชาหรือในญาณ)

พระจักรฯส่วนใหญ่ก็ฝึกงานเพื่อให้ได้เป็นพระจักรพรรดิในวิชชาเสียส่วนใหญ่ ถ้าพระจักรพรรดิบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า ก็ได้เป็นพระพุทธจักรพรรดิซึ่งสำเร็จยาก นานๆทีจะมีสักองค์ เหมือนอย่างองค์ที่ห้าในภัทรกัปป์ปัจจุบัน แต่ต่อจากนี้ไปก็จะง่ายเข้า.. ถ้าพระจักรฯบรรลุเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ นั่นก็เป็นเรื่องปกติค่ะ จักรพรรดิส่วนใหญ่เก่งงาน ไม่เช่นนั้นก็เก่งวิชชา เดิมทีพระจักรฯสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ยากเพราะขั้นตอนซับซ้อนกว่าค่ะ แต่ถ้าสำเร็จก็จะประเสริฐกว่าพระพุทธเจ้าทั่วไปค่ะ

โดยสรุปแล้ว ชาวพุทธทั่วไปต้องสั่งสม ความคิด คำพูด และการกระทำ ที่เป็นบุญกุศล เพื่อให้ได้บุญบารมี 10 ทัศ หรือคุณธรรม 10 ประการ อันได้แก่ (1) ทาน (2) ศีล (3) เนกขัมมะ (4) ปัญญา (5) วิริยะ (6) ขันติ (7) สัจจะ (8) อธิษฐาน (9) เมตตา (10) อุเบกขา โดยบารมี 10 ทัศ นี้มีด้วยกัน 3 ระดับ คือ (ก) ระดับทั่วไป คือตั้งใจทำเป็นประจำ (ข) ระดับที่แลกด้วยเลือดเนื้อ และ (ค) ระดับที่แลกด้วยชีวิต สำหรับผู้ที่ปรารถนาจะเป็นพระจักรพรรดิในวิชชา หรือปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าจักรพรรดิ ก็จะต้องสั่งสมความชำนาญในวิชชา และสะสมกายสิทธิ์ หรือเสริมสร้างความแก่กล้าของกายสิทธิ์รัตนะ 7 ที่มีอยู่ ตามข้อ 1 ถึง 7 ข้างต้น ซึ่งมีชื่อเรียกดังต่อไปนี้ (1) จักรแก้ว (2) แก้วมณี (3) ขุนพลแก้ว (4) ขุนคลังแก้ว (5) นางแก้ว (6) ช้างแก้ว และ (7) ม้าแก้ว ดังนี้

รจนาโดย วิชชาจารย์

เรียบเรียงโดย พิทยา ทิศุธิวงศ์

สิงหาคม พุทธศักราช 2560


พระจักรฯคือใคร?

พระจักรฯ – The Noble Chakkavatti Lord of Imperial Dharma

พระจักรฯคือบุคคลผู้บำเพ็ญตนในสายจักรฯ (ระหว่าง “สายธรรม” และ “สายจักรฯ”) ที่มีเทวดาประจำตัว (กายตัวตนในวิชชา) เป็นพระทรงเครื่องประดับ สวมชฎาลักษณะต่างๆกันตามภูมิจิตภูมิธรรม เป็นพระจักรพรรดิผู้ทรง “จักรพรรดิธรรม” จำแนกตาม “สัตตรัตนะ” คือ “รัตนะเจ็ดประการ” เรียกได้ว่าเป็น “สัตตรัตนะธรรม” คือวสีแห่งความชำนาญเก่งกล้าเจ็ดด้านหลักๆ อันได้แก่ (1) จักรแก้ว คืออำนาจ, ฤทธิ์เดช, การบริหารปกครอง, และการต่อสู้คุ้มกันผองภัยให้แก่ตนเองและคณะ (2) แก้วมณี คือความรอบรู้ในธรรม, วิชชา, และสรรพวิทยาการ รวมถึงการเรียนการสอน ศึกษาและถ่ายทอดศิลปะวิทยา (3) ขุนพลแก้ว คือการระดมพล บริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อกิจการต่างๆ (4) ขุนคลังแก้ว คือการแสวงหา, รักษา, และใช้จ่าย บริหารสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ขาดแคลน (5) บุรุษ/สตรีแก้ว คือความสามารถในการรังสรรค์ความสุขความสวยงามน่าเพลิดเพลินเจริญใจ ด้วยศิลปวัฒนธรรมและกริยามารยาทประการต่างๆ (6) ช้างแก้ว คือความทรงพลังในสมาธิและการยังกิจต่างๆ ให้ลุล่วงด้วยพละกำลังสามารถ และ (7) ม้าแก้ว คือความรวดเร็วว่องไวในการทำงาน เดินทางคมนาคมสัญจร และเข้า/ออกสมาธิ ทั้งนี้ พระจักรฯโดยทั่วไป จะครอบครองรัตนะ 7 ที่เป็นของทิพย์ และเมื่อได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ด้วยบุญกรรมที่ส่งผล หรือด้วยอำนาจแห่งการอธิษฐานอันมีบุญบารมีมากพอรองรับ หรือกำหนดด้วยวิถีแห่งจิต ก็จะเกิดมามีรัตนะ 7 ที่เป็นของหยาบ คือของที่จับต้องและมองเห็นได้ด้วยตามนุษย์ เพื่อใช้ในการอำนวยความสะดวกปกครองโลกและจักรวาล และเมื่อบุญบารมีเต็มเปี่ยม ประกอบกับความปรารถนาที่ตั้งไว้ ก็จะสามารถอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งได้ ซึ่งพระพุทธเจ้าที่เป็นพระจักรฯ นี้ จะเรียกว่า “พระพุทธจักรฯ”

โดย พิรจักร สุวพรรดิเดชา (นามเดิม พิทยา ทิศุธิวงศ์)

8 ตุลาคม พ.ศ. 2563

www.meditation101.org