1. Teachings of Dhammakaya Masters



คำสอนของครูธรรมกาย

อ่านฉบับภาษาอังกฤษได้ที่

https://www.meditation101.org/16775019/members-of-wat-paknams-meditation-workshop



ขั้นยศของเทวดา หรือ "ชั้นของประกาฯ" ทั้ง 10 อย่าง

โดย

คณะสมทบพระจักรฯพิทยา

(1) ยศขั้น "ธรรมา" เป็นยศของเทวดาที่บรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นต้น

(2) ยศขั้น "เดชา" คือยศของเทวดาที่มีฤทธิ์เดชมาก อานุภาพมาก หากปรารถนายศขั้นนี้ ให้ทุ่มเทแรงกายช่วยงานพระพุทธศาสนา  เช่น ช่วยล้างจานชาม ยกของ ขนของ ก่อสร้าง ฯลฯ

(3)  ยศขั้น "ประภา" เป็นยศของเทวดาที่มีรัศมีกายสว่างมาก ถ้าปรารถนายศขั้นนี้  ให้ทำบุญค่าไฟฟ้าส่องสว่างวัดหรือสำนักปฏิบัติธรรมที่มีผู้ทรงภูมิธรรมชั้นสูง

(4) ยศขั้น "พัสตรา" เป็นยศของเทวดาที่มีผ้าอาภรณ์เนื้อละเอียดประณีตสวยงามยิ่ง หากปรารถนายศขั้นนี้ ให้ถวายผ้าไตรจีวรเนื้อดีแด่พระอริยบุคคล และพระสงฆ์

(5) ยศขั้น "รัตนา" เป็นตำแหน่งของเทวดา ที่มีเครื่องประดับและทิพยสมบัติที่ประดับประดาไปด้วยอัญมณี หากปรารถนายศขั้นนี้ ให้ทำบุญค่าอัญมณีประดับพระพุทธรูป เช่นพระอุณาโลม พระมงกุฎและเครื่องประดับพระพุทธรูปปางจักรพรรดิ หรือพระเจดีย์ หรือจะถวายอัญมณีสำหรับบรรจุในพระพุทธรูปและพระเจดีย์ เป็นต้น

(6) ยศขั้น "จริยา" คือยศของเทวดาที่มีศีล ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ไม่ว่าจะขณะเป็นมนุษย์อยู่ หรือเป็นเทวดา หากปรารถนายศขั้นนี้ ให้รับศีล หรืออาราธนาศีล 5 ข้อ หรือ 8 ข้อ กับผู้ทรงธรรม หรือพระอริยบุคคล หรือพระสงฆ์ แล้วรักษาศีลตามที่อาราธนาไว้ให้บริสุทธิ์เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน

(7) ยศขั้น "วิจิตรา" คือยศของเทวดาที่มีรูปงามยิ่ง อีกทั้งทิพยสมบัติก็สวยงาม หากปรารถนายศขั้นนี้ ให้ถวายดอกไม้และเครื่องประดับประดาบูชาพระรัตนตรัยอันวิจิตรประณีต

(8) ยศขั้น "สุคนธา" คือยศของเทวดาที่มีกลิ่นกายหอมเย็นอบอวลเป็นพิเศษ ใครที่ปรารถนายศขั้นนี้ ให้สรงน้ำพระด้วยการรินน้ำอบไปที่พระหัตถ์และพระบาทของรูปเหมือนพระพุทธเจ้า พระจักรพรรดิ พระสงฆ์ พระอริยะบุคคล และผู้ทรงคุณอื่นๆ

(9) ยศขั้น "โยธิน" คือยศของเทวดาที่มีเทพบริวารมาก ซึ่งเทพบริวารมีทั้งแบบที่เป็นมนุษย์ไปเกิดร่วมวิมานบนสวรรค์ หรือเป็นกายสิทธิ์ที่ถูกเนรมิตให้เกิดขึ้นด้วยฤทธิ์ของบุญ หากปรารถนายศขั้นนี้ ให้หมั่นรวบรวมพวกพ้องในการทำการบุญการกุศลหรือ ให้ทำบุญสังฆทานสมทบค่าจัดจ้างคนงานในวัดวาอาราม

(10) ยศขั้น "ดุริยางค์" คือยศของเทวดาที่มีวงดนตรีชั้นเลิศขับกล่อมให้เพลิดเพลินเป็นพิเศษ ทำให้ร่าเริงบันเทิงใจมาก หากปรารถนายศขั้นนี้ ให้ประโคมดนตรีด้วยตนเอง หรือจัดให้มีการประโคมดนตรี บูชาพระรัตนตรัย หรือซื้อกล่องดนตรีหรือเครื่องเล่นเสียงมาเปิดบรรเลงหรือเพลงอันสมควร บูชาถวายพระรัตนตรัย และงานพิธีสำคัญทางพระพุทธศาสนาต่างๆ

เทวดาตนหนึ่งอาจจะดำรงยศศักดิ์เพียงตำแหน่งเดียว หรือมากกว่าก็ได้ ยิ่งมียศศักดิ์หลายขั้น ก็ยิ่งเป็นที่เคารพ นับถือ ยำเกรง ของเหล่าเทวดาอื่นๆ และถ้าหากมีงานประชุมเทวสมาคม เทวดาที่มียศศักดิ์เหล่านั้น ก็จะได้รับเกียรติให้นั่งใกล้องค์ประธาน มากกว่าเทวดาทั่วไป

หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม ขอให้ถามลูกแก้ว ซึ่งแสดงภาพไว้ด้านบนของบทความนี้

 

26 เมษายน 2561

www.meditation101.org


การฝึกงานของพระจักรฯ

โดย วิชชาจารย์” ณ พุทธศักราช 2560

พระจักรฯ ก็คือมนุษย์ที่ฝึกงานหรือฝึกวิชชาใน "สายจักรพรรดิ" เทียบเท่ากับพระโพธิสัตว์ที่ฝึกงานหรือบำเพ็ญบารมีใน "สายธรรม" พระจักรฯส่วนใหญ่ก็ฝึกงานเพื่อให้ได้เป็นพระจักรพรรดิในวิชชาเสียส่วนใหญ่ ถ้าพระจักรพรรดิบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า ก็ได้เป็น พระพุทธจักรพรรดิซึ่งสำเร็จยาก นานๆทีจะมีสักองค์ เหมือนอย่างองค์ที่ห้าในภัทรกัปป์ปัจจุบัน แต่ต่อจากนี้ไปก็จะง่ายเข้า.. ถ้าพระจักรฯบรรลุเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ นั่นก็เป็นเรื่องปกติค่ะ จักรพรรดิส่วนใหญ่เก่งงาน ไม่เช่นนั้นก็เก่งวิชชา เดิมทีพระจักรฯสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ยากเพราะขั้นตอนซับซ้อนกว่าค่ะ แต่ถ้าสำเร็จก็จะประเสริฐกว่าพระพุทธเจ้าทั่วไปค่ะ [ส่วนพระจักรฯที่ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้านั้นเรียกว่า "พระโพธิจักรฯ"]

     1.       ฝึกใช้อำนาจ ควบคุมอำนาจที่มี ให้เป็นคุณเป็นโทษอย่างถูกต้องสมควร

     2.      ฝึกความแน่ชัด ชัดแจ้ง ให้ตนเองและผู้อื่น รู้เห็นเข้าใจถูกต้องตามจริงตามควร

     3.      ฝึกการเป็นผู้นำผองชน การทำงานทำการร่วมกัน เพื่อให้งานสำเร็จโดยร่วมกัน

     4.      ฝึกการใช้สอยและจัดหาทรัพย์สินศฤงคาร ให้มีพอมีใช้ ไม่สุรุ่ยสุร่าย ไม่เสียศูนย์เปล่า โดยไม่จำเป็น

     5.      ฝึกความวิจิตรงดงามของข้าวของสิ่งต่างๆ รวมทั้งจิตใจ ที่ให้ความสุขน่าพึงพอใจแก่ตนเองและผู้อื่น

     6.      ฝึกความโอบอ้อมอารี อ่อนโยน เอื้อเฟื้อต่อทั้งผู้ยาก และผู้มั่งมี เป็นประโยชน์ต่อทั้งตนเองและผู้อื่น

    7.      ฝึกกำลังความรวดเร็ว ว่องไว ทรงพลัง ในการยังกิจการงานต่างๆ ทั้งเรื่องหยาบ (โลกภายนอก) และเรื่องละเอียด (ในวิชชาหรือในญาณ)


โดยสรุปแล้ว ชาวพุทธทั่วไปต้องสั่งสม ความคิด คำพูด และการกระทำ ที่เป็นบุญกุศล เพื่อให้ได้บุญบารมี 10 ทัศ หรือคุณธรรม 10 ประการ อันได้แก่ (1) ทาน (2) ศีล (3) เนกขัมมะ (4) ปัญญา (5) วิริยะ (6) ขันติ (7) สัจจะ (8) อธิษฐาน (9) เมตตา (10) อุเบกขา โดยบารมี 10 ทัศ นี้มีด้วยกัน 3 ระดับ คือ (ก) ระดับทั่วไป คือตั้งใจทำเป็นประจำ (ข) ระดับที่แลกด้วยเลือดเนื้อ และ (ค) ระดับที่แลกด้วยชีวิต สำหรับผู้ที่ปรารถนาจะเป็นพระจักรพรรดิในวิชชา หรือปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าจักรพรรดิ ก็จะต้องสั่งสมความชำนาญในวิชชา และสะสมกายสิทธิ์ หรือเสริมสร้างความแก่กล้าของกายสิทธิ์รัตนะ 7 ที่มีอยู่ ตามข้อ 1 ถึง 7 ข้างต้น ซึ่งมีชื่อเรียกดังต่อไปนี้ (1) จักรแก้ว (2) แก้วมณี (3) ขุนพลแก้ว (4) ขุนคลังแก้ว (5) นางแก้ว (6) ช้างแก้ว และ (7) ม้าแก้ว ดังนี้

รจนาโดย วิชชาจารย์

เรียบเรียงโดย พิทยา ทิศุธิวงศ์

สิงหาคม พุทธศักราช 2560

 

 (1) ธาตุธรรม 

"ธาตุ" เป็นที่ตั้งสถิตของ "ธรรม" เมื่อมีธาตุมาก ก็รองรับธรรมได้มาก ในทางกลับกัน ธรรมก็หล่อเลี้ยงธาตุ เมื่อธาตุสะอาด กุศลธรรมก็เจริญได้ดี เมื่อธาตุสกปรก อกุศลธรรมก็เจริญได้ดี "บุญ" คือ "บุญธาตุ" ส่วน "บาป" คือ "บาปธาตุ" ส่วน "กายธรรม" หรือ "ธรรมกาย" ประชุมขึ้นจาก "ธรรมธาตุ" ซึ่งจะว่าไปก็คือ "ธรรม" แต่ว่าเนื้อแกร่งขึ้นมาอีก ส่วนธาตุในอายตนนิพพาน ก็คล้ายๆ กับธรรมธาตุ แต่ก็ต่างกันอยู่อีก ฉะนี้..

21 กุมภาพันธ์ 2561

โดย นิรนาม