23. นานาสาระ โดย พิรจักร (พิทยา ทิศุธิวงศ์)

พิรจักร คือ องค์รจนาธรผู้ทำหน้าที่เปิดเผยเรื่องราวที่น่าสนใจต่างๆ เกี่ยวกับโลกแห่งวิชชาเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งทำได้เพราะมี สายปฏิทัยคือสิทธิ์และอำนาจในวิชชาที่เอื้อให้สามารถเปิดเผยได้ ท่านสามารถจ่ายค่าอ่านตอบแทนตามธรรมเนียมโลกแห่งวิชชาได้ โดยแบ่งจ่ายเป็น ธาตุบุญและ/หรือ บริจาคเงินให้องค์กรการกุศลที่เว็บลิ้งค์ https://www.meditation101.org/15468515/donation เพื่อมิให้ติดค้างสิทธิ์ในวิชชาครับ.

ปรับปรุงล่าสุด 23 มีนาคม พ.ศ. 2566





แจ้งท่านผู้อ่านทราบครับ,

ขอขอบคุณที่ชื่นชมผลงานการประพันธ์ของผม มีนวัตกรรมวิชชา และองค์ความรู้ (Know-How) หลายอย่างที่น่าสนใจ ท่านใดประสงค์จะตอบแทนผม มีทางเลือกหลายทางโดยแบ่งเป็นหลายอย่างตามสัดส่วน หรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้คือ: (1) กดโหวตให้คะแนนผมตรัส "ดิถี" ขั้นสูงในโลกวิชชา (2) จ่ายเป็น "ธาตุบุญ" (3) บริจาคเงินเข้าองค์กรการกุศลที่ผมสนับสนุนอยู่ https://www.meditation101.org/15468515/donation (4) แชร์ ส่งต่อเว็บไซท์ และหน้าเพจใน Meditation101.org ที่ท่านชอบเพื่อรับส่วนลดพิเศษ 5 - 30% (5) สมัครเป็นสมาชิกเว็บไซท์ Meditation101.org เพื่อรับส่วนลดเพิ่มเติมอีก 5 - 15% ในทุกรายการ https://www.meditation101.org/17324332/statute-membership (6) อื่นๆ ตามตกลงกัน

หมายเหตุ: การนำเรื่องราวในโลกวิชชามาเปิดเผยเช่นนี้ ผมสามารถทำได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่สำนักวิชชา และผู้ทรงวิชชาท่านอื่นๆ ส่วนใหญ่ อาจไม่สามารถทำได้แม้จะมีความรู้ทางวิชชามาก เนื่องจาก "สิทธิ์และอำนาจ" ในหน้าที่ อาจไม่พอ โดยเฉพาะการเผยแพร่ทางออนไลน์ ที่ควบคุมการแพร่กระจายได้ยาก ดังนั้น ท่านอื่นๆ อาจจะเปิดเผยแบบเฉียดไปเฉียดมา หรือแต่งเป็นละคร เป็นนวนิยาย เป็นตำนานเล่าขานกันไป ในขณะที่ผมรจนาความได้แบบตรงๆ เพราะขณะนี้ผม "ตรัสปฏิทัย" ซึ่งเป็นสิทธิ์และอำนาจอย่างใหญ่ มากพอจะเปิดเผยความลี้ลับแห่งโลกวิชชาได้ในวงกว้างทั่วโลก โดยไม่ผิดสิทธิ์ครับ.



นานาสาระ: ตอน บารมีมาร!

[1]  เราเกิดมาบำเพ็ญบารมี! บางคนทำความดีมากๆ เป็นที่สรรเสริญของคนทั้งหลาย แต่คุณรู้หรือไม่ว่า บางท่านเหล่านั้นเป็น "มาร!" เพราะอะไร? ทำไมคนทำดีจึงเป็นมาร? คำตอบคือเพราะบุญบารมีที่ได้ ณ “กายปลายทาง” คือกายมนุษย์ อันมีกายมารอันเป็นทิพย์ เป็น “กายต้นทาง” กำกับอยู่จะเป็นกำลังให้กับ "มารโลก" ถ้าถามว่าแล้วทำได้อย่างไร? สาเหตุก็เพราะพวกเขาจะกลายเป็นมารที่มีวาสนาบุญบารมี ตามกฎแห่งกรรม

[2]  การบำเพ็ญบารมีของมารนั้น ได้ “ธาตุ” เป็นบุญ จากบุญกริยาวัตถุ 10 แต่ได้ “ธรรม” เป็นอกุศล ได้แก่ ทุศีล, มิจฉาสมาธิ และมิจฉาปัญญา อันตั้งอยู่บน “มิจฉามรรค 8 ประการ” ทำให้ได้บุญตามกฎแห่งกรรม หรือมีบาปร่วมด้วย แต่จิตส่วนใหญ่เป็นอกุศลครอบงำ เช่นทำบุญแล้วขอในสิ่งที่ “เข้าทาง” มารโลก อย่างพระเทวทัต ที่ภาคมารส่งมา “ประกบตัว” เวียนว่ายตายเกิดร่วมภพชาติกับองค์สมเด็จพระพุทธโคดม เมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ กระทั่งบำเพ็ญสำเร็จตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก็คอยสร้างปัญหาให้เรื่อยมา กระทั่งพุทธันดรปัจจุบัน ซึ่งได้เป็นเจ้าชายที่ขอออกบวชตามพระพุทธเจ้า แต่บวชแล้ว “จิตมาร” กำเริบจึงคอยหาทางบั่นทอนพระพุทธองค์ ผู้ที่ทำบุญแบบจิตเป็นอกุศลเยี่ยงนี้ บุญจะเป็นกำลังส่งเสริมให้เจริญทางโลก คล้ายเจ้าพ่อ มาเฟีย ยากูซ่า ผู้ทรงอิทธิพลที่ทำบุญ ทำความดี แต่ร้ายอยู่ในที มีบริวาร มียศมีตำแหน่ง มีฐานะทางการเงิน

[3]  บุคคลผู้บำเพ็ญบารมีมาร ตั้งอกตั้งใจทำบุญเหล่านี้ บ้างก็เป็น “โพธิสัตว์มาร” หากบำเพ็ญสำเร็จจะได้เป็น “พระพุทธเจ้ามาร” ผู้มีอุณาโลมเวียนซ้าย สิ้นชีพแล้วได้เข้ามารโลก มีความเป็นอยู่อย่างรุ่มร้อนสภาพจิตใจคล้ายนายเจ้าหน้าที่ทำโทษในยมโลก ที่อยากทำร้าย อยากทำลาย หรือบ้างก็ได้เข้าพระนิพพาน เพราะมารส่งกายมนุษย์มาเวียนเกิดสร้างบารมี แล้วเข้านิพพานตามกติกากฎแห่งกรรม พอเข้านิพพานแล้ว กายมารต้นทางจึงสอดละเอียดเข้าไปเป็นไส้ศึก คอยสอดแนม หรือป่วนเมืองนิพพานเป็นการตลบหลัง คล้ายๆเรื่องของ “ม้าโทรจัน” ในสงครามเมืองทรอย แต่เดี๋ยวนี้ฝ่ายพระนิพพานรู้เท่าทันแล้ว และสามารถสะเดาะสายธาตุสายธรรมมารออกจากสมาชิกเมืองนิพพานได้ ตัวอย่างของ “โพธิสัตว์มาร” อย่างเช่น “ท้าววสวัตตีมาร” คือเทพบุตรมารที่โดนทรมาน แล้วตั้งความปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าด้วยความเคียดแค้นชิงชัง มิได้เป็นไปด้วย “โพธิจิต” คือมหากรุณาที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ ครับ

[4]  สาเหตุที่มารเองก็ต้องทำบุญ เพราะประสงค์จะได้ความเจริญก้าวหน้าทางโลก เพื่อให้ตนเองยิ่งใหญ่ ถ้ามารไม่มีบุญก็จะเป็นคล้ายนักเลงหรือโจรกระจอกๆ ธรรมดาที่ไม่ค่อยมีอำนาจวาสนา มารส่วนใหญ่จะเป็น “พาล” แต่ไม่เสมอไป เพราะอาการยังไม่สำแดงออกมา อย่าง “มารผู้ดี” เพราะมารส่งวิชชาให้ดูแนบเนียน เก็บอาการ แล้วมาพลิกโฉมเอาตอนท้ายเมื่ออำนาจวาสนายศศักดิ์อยู่ในกำมือแล้ว ซึ่งบางทีกายมนุษย์เองก็ไม่รู้ตัว แต่โดยมากแล้ว มารส่งพวกของตนมาเกิดเป็นมนุษย์และสัตว์ เพื่อทำความชั่ว และสร้างปัญหาให้กับมนุษย์และสัตว์ด้วยกัน ทำให้เป็นทุกข์ แม้มารเองก็เป็นทุกข์ด้วย แต่พวกเขาไม่แยแส ถ้ามารด้วยกันทำผิดแล้วตกนรก พวกเขาก็ปล่อยให้ทรมานไป มารส่วนใหญ่จึงเกิดมาเพื่อทำผิด สร้างปัญหาไว้ แล้วก็ไปอบาย พอบาปมากๆ เข้า ก็กลายเป็นสัตว์เล็กๆ อย่างแมลงหวี่ เห็บ หมัด ยุง ที่แม้จะตัวเล็ก แต่ดวงบาปเบ้อเร่อ กลายเป็นพลังงานถ่วงสะสมอยู่ในโลกธาตุ คือมีบาปอยู่ในสรรพสัตว์มากหรือน้อยกว่ากัน เมื่อเทียบกับบุญ แล้วมารบ้างก็ทำลายล้างผลาญกันเอง เหมือนอันธพาล ที่หลายคนอาจสงสัยว่า เป็นมารแล้วทำไมต้องเจ็บป่วย สร้างบุญไม่ถนัด ทั้งนี้ก็เพราะ “ตรรกะ” อันประกอบด้วยมโนธรรมของพระนิพพานนั้น ใช้กับมารโลกไม่ได้ พวกเขาอยู่กันเหมือนคนซาดิสม์โรคจิต ที่เห็นว่า “ทุกข์โทษ” เป็นเรื่องดี เรื่องปกติ จู่ๆ ก็ไม่พอใจ ทำร้ายฝ่ายอื่น อยู่ว่างๆ ก็ทำลายกันเองอีก เอาแน่เอานอนไม่ได้

[5]  ในทางวิชชาแล้ว “มารกายมนุษย์” หรือ “มนุษมาเร” คือมนุษย์ที่มีกายต้นสายธาตุสายธรรมเป็นกายมาร แม้กาย 18 กาย มีธรรมกายอรหัตจะใสสะอาด นั่นเพราะ ต้นทางเป็นมาร แต่ปลายทางเป็นฝ่ายพระเหมือนทั่วๆไป มารกายมนุษย์คือผู้ที่ “หยาบละเอียดตรงกัน” คือกายมารส่งวิชชามาอย่างไร กายมนุษย์ทำตามทั้งหมด เรียกว่า “มนุษมาเร” ซ้ำร้ายบางตัวเป็น มารกายมนุษย์ที่มีวิชชา  “กายปลายทาง” ก็เป็นมารด้วยซะอีก เช่นมี 18 กาย เป็นกายมาร อย่าง “ธรรมกายมาร” หรือ “จักรพรรดิมาร” พวกนี้คือ “มารเป็น” และมนุษมาเร ที่มีวิชชา บ้างทำบาปแล้วก็ใช้วิชชาตัดต่อธาตุธรรม เล่นแร่แปรธาตุ ทำบาปแล้วไม่ตกนรก แต่สะเดาะสายธาตุสายธรรมที่กำกับตามกฎแห่งกรรมออก กลายเป็นกายมารที่เป็นอยู่ได้ด้วยพลังงานบาป แล้วกลับเข้ามารโลกไป แต่พวกมารที่ไม่มีวิชชาก็ตกนรกเสวยทุกข์เสวยโทษไปตามระเบียบกฎแห่งกรรม ต้องเจ็บป่วย ต้องโดนผ่าตัดอวัยวะสำคัญๆ ทิ้ง ซึ่งมารโลกก็ไม่ช่วย เหมือนกับว่า ส่งมาสร้างปัญหาให้มนุษย์ พอตายไปตกนรก ก็ปล่อยทิ้งไป แล้วก็ส่งตัวใหม่มาอีก คนที่เป็นมารนี้ฝ่ายสัมมาทิฐิจะนำมาร่วมเดินวิชชาไม่ได้ เพราะกายมารต้นทางจะแอบสอดละเอียดลงมาดูวิชชา หลวงพ่อสดท่านจึงทักว่า "ไม่เห็นรึ?" เมื่อมีสมาชิกโรงงานทำวิชชา พาสตรีคนได้ธรรมกายใหม่ๆ มาร่วมทำวิชชา แต่หลวงพ่อสดให้เชิญออกทันที

[6]  เรื่องมนุษมาเรนี้บางทีดูยากดูง่าย โดยเฉพาะกายหยาบที่ทำบุญ ส่วนกายละเอียดเป็นมารที่เห็นก็รู้ จึงต้องดูควบคู่กันไป เหมือนอย่างพระองคุลีมาลย์ที่ ฆ่าคนมากนับร้อย แต่ยังไม่จัดว่าเป็นมนุษมาเรครับ วิธีดูคร่าวๆ ว่าเป็นมารหรือไม่ และเป็นกี่ส่วน ให้ “ตรัส” ในที่ประชุมญาณ หรือ “เคาะเปอร์เซ็นต์” ว่าเป็นกี่ส่วน เป็นมากี่ชาติ พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่าคนเราเวียนเกิดมานับภพนับชาติไม่ถ้วน เป็นมาแทบหมดแล้วทุกอย่าง รวมถึงมารด้วย แต่มารแท้ๆ นั้นต้องดูที่กายต้นสายธาตุสายธรรม คือกายต้นทาง ว่าเป็นกายอะไร อย่างพระพุทธเจ้ามาร จักรพรรดิมาร รัตนะมาร กายสิทธิ์มาร บางคนเป็นแค่เพียงชั่วคราว บางภพบางชาติ ยังฟันธงไม่ได้ว่าเป็นมาร 100% บางคนโฆษณามาตลอดชีวิตว่าจะปราบมาร เรี่ยไรเงินไปตั้งมาก สร้างไม่รู้จบ พอเช็คดู อ่ะ ตลอดชีวิตปราบมารไปไม่ถึงสิบตัว นับตั้งแต่หนุ่มๆ ยังแข็งแรง กระทั่งแก่แง้มฝาโลง เป็นงง แล้วก็เม้าท์มอยหอยสังข์อยู่เป็นคุ้งเป็นแควว่าวิชชาเลิศเลอ จะปราบมารอย่างนั้นอย่างนี้ พอเช็คดูเข้าจริงๆ อ้าว.. เป็นมารซะเองอีก วิธีเช็คมนุษมาเร อย่างนี้ หรือคนมีวิชชาที่ต้องสงสัยว่าเป็นธาตุธรรมฝ่ายมาร ต้องให้เข้าวิชชาไปปะทะกับมารหัวหน้าใหญ่ ถ้าทำไม่ลงก็ไม่ใช่แล้วครับ เพราะถ้ามนุษย์เป็น “มารเป็น” ที่มีวิชชา จะทำลายมารหัวหน้าใหญ่ไม่ลง เขาจะกระตุกสายควบคุม แต่มารมีปกติอยู่อย่างหนึ่ง คือมันจะอายเมื่อมีคนรู้จัก และทักว่าเป็นมารครับ เพราะมันจะ “รับไม่ได้” ว่าตัวเองเป็นมาร เป็นผู้ร้าย นั่นเองครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน ภาคธรรม กับภาคจักรฯ ใครใหญ่กว่ากัน?

[1] เป็นที่กังขากันมากสำหรับศิษย์สายวิชชาว่า ในความเป็นจริงแล้ว ภาคจักรฯ กับภาคธรรม ใครเหนือกว่าใคร จะได้วางตัว และเป้าหมายถูกต้อง บางท่านอยากเป็นพระจักรพรรดิ มีรัตนะเจ็ด มีสมบัติมาก แต่ก็ไม่อยากได้ชื่อว่าเป็นรองใคร ก็เลยสับสนกันทางธาตุธรรม อธิษฐานตั้งผังแบบลองผิดลองถูกกันไป เปลืองบุญสูญเปล่าโดยใช่เหตุครับ แม้บทความก่อนๆ ของเราจะให้รายละเอียดเรื่องพระจักรพรรดิไปมากพอสมควรแล้ว บางท่านก็ยังงงๆ เพราะทางสำนักต้นสังกัดก็ปลูกฝังตามสืบสันดานธาตุ อดคิดไม่ได้ว่าภาคธรรมหรือกายธรรมต้องเหนือกว่ากายจักรฯ ซึ่งเราขอตอบว่า ไม่พึงกล่าวเช่นนั้น...

[2] ทั้งนี้ก็เพราะ ทั้งภาคธรรม และภาคจักรฯ ต่างก็สามารถตรัสเป็นพระพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิราชได้ด้วยกันทั้งคู่ เพียงแต่ว่า ภาคธรรมมีแนวโน้มจะเป็นพระพุทธเจ้าได้มากกว่าเป็นพระจ้าจักรพรรดิ และภาคจักรฯก็มักจะตรัสเป็นพระเจ้าจักรพรรดิได้บ่อยกว่าเป็นพระพุทธเจ้า ยกเว้นแต่จะเป็น “พระพุทธจักรฯ” ซึ่งเป็นเสมือน “พระคะแนน” ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเราเปรียบเปรยปรากฏการณ์นี้ได้กับยุคสมัยที่สังคมมนุษย์นับถือว่าพราหมณ์เป็นวรรณะประเสริฐสุด (เปรียบวรรณะพราหมณ์กับภาคธรรม) หรือนับถือว่ากษัตริย์เป็นวรรณะประเสริฐสุด (เทียบวรรณะกษัตริย์ได้กับภาคจักรฯ) คือต่างฝ่ายต่างดีต่างเด่นกว่ากันไปตามธาตุธรรมนิยม เพราะบางวงศ์นับถือว่าภาคจักรฯประเสริฐสุด ในขณะที่บางวงศ์อื่นนับถือว่าภาคธรรมฯ ประเสริฐสูงสุด ก็เหมือนวรรณะกษัตริย์กับวรรณะพราหมณ์ที่สรุปฟันธงไม่ได้ว่าใครประเสริฐกว่าใคร เพราะธาตุธรรมนิยมไม่เหมือนกันไปตามยุคสมัย

[3]  โดยเฉพาะสำนักที่สังกัดอยู่ในวงศ์ที่นิยมภาคจักรฯว่าด้อยกว่า ภาคธรรม ก็เลยพาลมองว่าใครเป็นพระจักรฯ ก็เป็นผู้ด้อยกว่าตนเสมอไปนั่นเองครับ อย่างไรก็ตาม ตรงนี้สำคัญมากๆ ที่เราต้องเข้าใจถูกต้องก่อนว่า "ภาคธรรม" กับ "พระพุทธเจ้า" เป็นคนละนัยยะ และ "ภาคจักรฯ" กับ "พระเจ้าจักรพรรดิ" ก็ไม่ใช่คำที่ใช้แทนกันเสมอไป แต่เป็นคนละเรื่องเดียวกันครับ เนื่องจากเป็นไขว้กันได้ เพียงแต่ว่าถ้าเป็นแบบถูกธาตุถูกธรรม ก็จะเต็มในธาตุเต็มในธรรมกว่ากัน เช่นภาคจักรฯได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หรือภาคธรรม ได้เป็นพระพุทธเจ้าครับ แล้วยังมีข้อยกเว้นในกรณีที่บางวงศ์มีพระจักรพรรดิเป็นภาคธรรม หรือมีพระพุทธเจ้าเป็นฝ่ายธาตุ ก็จะพิสดารไปกว่าแห่งอื่นอีก อนึ่ง แต่ละวงศ์ก็มีความแก่ในธาตุแก่ในธรรมไม่เท่ากันด้วย อย่างเช่นภพจ้าวสี มักจะต้องแก่กว่าในภาคจักรฯ ส่วนวงศ์ใหญ่ๆ ก็มีบางวงศ์แก่ในภาคจักรฯ บางวงศ์แก่ในภาคธรรม ภาคใดแก่กว่าในด้านใดก็เป็นธาตุนิยมธรรมนิยมว่าดีเด่นมากกว่ากันในวงศ์นั้นๆครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน มื้ออาหาร กับสมบัติผู้เลี้ยง!

[1]  มีผู้สงสัยถามประมาณว่า แล้วถ้าจะ "ขึ้นทะเบียนมื้ออาหาร" เพื่อหยิบสมบัติผู้เลี้ยงมาล่ะ จะต้องทำอย่างไร? คำตอบคือ ร้านอาหารสมัยใหม่ในปัจจุบัน บางแห่งมีการ "ขึ้นทะเบียนจองและสำรองที่นั่ง" และ "ขึ้นทะเบียนสั่งอาหาร" เมื่อลูกค้านั่งประจำโต๊ะอาหารแล้ว โดยเฉพาะทางแอพพลิเคชั่นโทรศัพท์สมาร์ทโฟนครับ ยกตัวอย่างเช่น ร้านอาหาร Zen ซึ่งบริการอาหารแบบบุฟเฟต์ สั่งแล้วเสริ์ฟ เขาให้ลูกค้าสแกน QR Code แล้วลงทะเบียนในระบบ ด้วยหมายเลขโทรศัพท์ หรือบางแห่งก็เป็น Line Application แล้วจึงกดสั่งอาหารผ่าน สมาร์ทโฟน ครับ ซึ่งในขณะที่เราใช้แอพพลิเคชั่นอยู่ในร้าน เราสามารถ "แลกหยิบสมบัติผู้เลี้ยง" ได้ครับ แถมเป็นบุฟเฟต์ด้วยซิ อิ่มอร่อยไม่อั้น ไปทุกชาติทุกภพเลยครับ

[2]  มีคำถามเกิดขึ้นประมาณว่า ถ้าเจ้าหน้าฝ่ายปกครองของรัฐฯ อย่าง ผู้ใหญ่บ้าน สามารถเซ็นรับรองกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ ถ้าอย่างนั้น รวม "ธนบัตร" ด้วยใช่หรือไม่? คำตอบก็คือ "ใช่" ครับ ให้ระบุในเอกสารว่า "ธนบัตร" ใบละเท่านั้นเท่านี้ หมายเลขธนบัตรนั้นนี้ เป็นของ คุณคนนั้น นามสกุลนี้ อย่างนี้นะครับ แล้วจะหยิบสมบัติผู้เลี้ยงได้ครับ ส่วนว่า การหยิบสมบัติผู้เลี้ยงประจำ "ธนบัตร" โดยให้ผู้ใหญ่บ้านเซ็นรับรองความเป็นเจ้าของ ควรร่างเอกสารอย่างไร ผมเห็นว่าจะต้องอ่านตัวบทกฎหมายประกอบก่อน จึงจะร่างได้ อย่างไรก็ตาม เดี๋ยวนี้เงินสดที่อยู่ในระบบออนไลน์  คือ “อินเตอร์เน็ตแบ็งค์กิ้ง” ที่อยู่ในแอพพลิเคชั่นธนาคารต่างๆ ก็สามารถหยิบสมบัติผู้เลี้ยงได้ หากอยู่ในบัญชีที่มีชื่อนามสกุลบุคคลเป็นเจ้าของครับ ก็สามารถหยิบได้เลย โดยไม่ต้องรับรองอะไร แต่สมบัติผู้เลี้ยงที่หยิบได้ จะวิชชาดีเท่าของธนบัตรหรือไม่ ก็ยังไม่อาจรับรองได้ครับ.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน จิปาถะ กับสมบัติผู้เลี้ยง

[1]  เราผ่านมาหลายบทความแล้วนะครับ เกี่ยวกับเรื่อง “สมบัติผู้เลี้ยง” ซึ่งโดยมากแล้ว จะต้องเป็นทรัพย์สิน, สิ่งของ, ทรัพย์สินทางปัญญา, อสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆ ที่มีการจดทะเบียน หรือขึ้นทะเบียนผู้เป็นเจ้าของ ทั้งนี้ บางท่านก็อาจจะสงสัยว่า แล้วทรัพย์สินที่ไม่มีการขึ้นทะเบียน อย่าง สร้อยคอ, แหวน, เครื่องประดับ, เสื้อผ้า, ปากกา, วัตถุมงคล, นาฬิกา, น้ำหอม, เครื่องซักผ้า, โทรทัศน์, เครื่องสำอาง และอื่นๆ จะ “แลกหยิบสมบัติผู้เลี้ยง” ได้อย่างไร?

[2]  คำตอบก็คือ เราสามารถหยิบได้ ถ้าเรานำทรัพย์สิน สิ่งของเหล่านั้น ไปขึ้นทะเบียนก่อนครับ โดยอาจนำหลักฐานอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ที่ส่งมาทางไปรษณีย์ หรือผู้ให้บริการขนส่งสินค้า ที่มีชื่อที่อยู่เราในฐานะผู้รับอย่างชัดเจน และ/หรือ ใบเสร็จรับเงิน และ/หรือ ใบขึ้นทะเบียนรับประกันสินค้า นำมาให้ Notary Public หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจร้อยเวร หรือ ข้าราชการของรัฐ อย่าง ศาล, สถานทูต, สถานกงสุล,  เจ้าหน้าที่ตำรวจ, เจ้าหน้าที่ทหาร, อ.บ.ต., กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน หรืออื่นๆ ได้ทำบันทึกประจำวัน, ใบรับรอง หรือเอกสาร ที่ลงนาม และ/หรือ ประทับลายนิ้วมือ และ/หรือ ตราประจำตำแหน่ง โดยต้องไม่ลืมติด “อากรแสตมป์” เพื่อยืนยันว่า ทรัพย์สิน สิ่งของเหล่านั้น เป็นของเราจริง ตามหลักฐานที่มี

[3]  ดังนี้แล้ว ก็เท่ากับเป็นการ “ขึ้นทะเบียนในวิชชา” เพื่อรับรองกรรมสิทธิ์ อันเป็นเหตุให้เราสามารถแลกหยิบสมบัติผู้เลี้ยงได้ครับ ดังนี้แล้ว ย่อมหมายความว่า ทรัพย์สินต่างๆ ส่วนใหญ่ สามารถ แลกหยิบสมบัติผู้เลี้ยงได้แทบทั้งนั้น ด้วยวิธีการนี้ แต่เราอาจจะต้องจ่ายค่ากำเน็จให้กับผู้มีสิทธิ์และอำนาจในการรับรอง ทั้งในละเอียดคือวิชชา และหยาบภายนอกครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน อสังหาริมทรัพย์ กับสมบัติผู้เลี้ยง

[1]  อสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายอย่าง ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ที่บุคคลมีชื่อของตนเองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ในโฉนด สามารถแลกหยิบสมบัติผู้เลี้ยงออกมาครอบครองได้ กล่าวคือ ที่ดินจะมีสมบัติผู้เลี้ยงอยู่ในรูปของ “ดวงธรณินทร์” สิ่งปลูกสร้างมีสมบัติเป็น “ก้อนอิฐทอง” และด้วยสมบัติผู้เลี้ยงนี้ จะส่งผลประมาณ 70% - 100% ให้บุคคลได้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ผู้มีสิทธิ์และอำนาจเต็มในอสังหาริมทรัพย์นั้นอยู่เสมอๆ ในแต่ละภพชาติ

[2]  ส่วนผู้ที่มีชื่อของตนเป็นชื่ออาคาร, สะพาน, ถนน, ตรอกซอย, แม่น้ำลำคลอง, เขื่อน, ซุ้มประตู, เขตเมือง, เขตการปกครอง และสถานที่ ซึ่งใช้ชื่อบุคคลเป็นชื่อสิ่งเหล่านั้น หากในขณะยังมีชีวิตอยู่ ได้มีการใช้ชื่อของตนในสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นแล้ว ก็จะสามารถหยิบสมบัติผู้เลี้ยงออกมาใช้ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น “กุญแจทอง” หรืออื่นๆ ที่ให้ผลในลักษณะของ "สิทธิ์" เป็นเหตุให้มีสิทธิ์ในการใช้สอยสิ่งก่อสร้าง แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์อันเป็นอำนาจในการครอบครอง เหมือนอย่างเจ้าของโฉนดสิ่งก่อสร้าง หรือประเทศชาติผู้เป็นเจ้าของสาธารณสมบัติร่วมกันครับ

[3]  ยกตัวอย่างเช่น พระอารามเชตวัน ซึ่ง "เจ้าเชต" ทรงสร้างเพียงซุ้มประตู ส่วนสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ และที่ดิน เป็นธรณีสงฆ์ที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้บริจาคสร้าง หากเจ้าเชตทรงหยิบสมบัติผู้เลี้ยงออกมา เจ้าเชตอาจจะได้ “กุญแจทอง” ที่ส่งผลให้มีสิทธิ์ใช้สอยที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่อยู่เป็นปกติ แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ครอบครอง, ซื้อขาย, แลกเปลี่ยน, แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่ถ้าหากละสังขารแล้ว ยังไม่ได้หยิบสมบัติผู้เลี้ยงออกมา ก็เป็นอันหมดสิทธิ์ครับ เพราะสมบัติผู้เลี้ยงจะถูกดึงกลับเข้าไปเก็บรักษาในภพของผู้เลี้ยงผู้รักษา เนื่องจากหมดหน้าที่เลี้ยงรักษาเมื่อบุคคลนั้นๆ พ้นสมัย หรือหมดอายุขัยลงแล้วครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน ขนมปังช่วยจำ กับสารพันดวงวิชา

นานาสาระน่าสนุกใช่ไหมครับ และคุณก็จะไม่ผิดหวังกับคำว่า "รจนาธร" ซึ่งนานๆ จะมีมาสักองค์ครับ สำหรับบทความนี้เราจะมากล่าวบทไปถึงขนมปังช่วยจำของโดราเอมอนครับ ซึ่งพอนำขนมปังวิเศษมาแปะหน้าหนังสือ แล้วรับประทานลงไป ผู้รับประทานก็จะสามารถจดจำวิชาความรู้ได้ แต่ในบทความนี้ เราจะกล่าวถึง “คณิตลิขิตภัณฑ์” หรือ “แอพพลิเคชั่น” และ “ซอฟท์แวร์” ของอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ อย่างสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ท และเดสก์ท็อปคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีทั้งแบบดาวโหลดมาใช้ฟรี กับแบบเสียเงินซื้อ ไม่ว่าจะเป็นจ่ายครั้งเดียว หรือรายเดือน ซึ่งเราจะต้องลงทะเบียนผู้ใช้แทบทุกอย่าง ถ้าหากเราลงทะเบียนอย่างถูกต้องตรงตามจริง กระทั่งมีสิทธิ์ในการใช้สอย “คณิตลิขิตภัณฑ์” คือ แอพพลิเคชั่น และซอฟท์แวร์ เหล่านั้นแล้ว เราก็จะมีสิทธิ์ “แลกหยิบ” สมบัติผู้เลี้ยงประจำ “คณิตลิขิตภัณฑ์” อันหมายถึง แอพพลิเคชั่น และซอฟท์แวร์เหล่านั้นมาใช้ได้ ซึ่งสมบัติผู้เลี้ยงมักจะอยู่ในรูปของ "ดวงวิชา" ซึ่งจัดเป็น “ดวงแก้วทิพย์” อย่างหนึ่งครับ ลองคิดดูนะครับว่า หากเราช็อปปิ้งดาวโหลดแอพพลิเคชั่นที่น่าสนใจตามปรารถนา แล้วหยิบสมบัติผู้เลี้ยงจากแอพพลิเคชั่นพจนานุกรม หรือหนังสืออิเลคทรอนิคส์ หรือแผนที่ และพิกัดจีพีเอส หรือโปรแกรมตรวจไวยากรณ์และแปลภาษาอัตโนมัติ, โปรแกรมคำนวณและเครื่องคิดเลขและอื่นๆ  แล้วนำดวงวิชามาใช้ อะไรจะเกิดขึ้นครับ?

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

14 มีนาคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอนพิเศษสุดๆ สมบัติผู้เลี้ยงประจำ “ธนบัตร”

 

[1]  ใครๆ ก็อยากรวย! อ้าว ปกติจะเห็นขึ้นต้น take off อย่างเนี้ยบๆ มีการอ้างถึงโน่นนี้นั่น แต่ในวันนี้ไม่ขออารัมภบทอะไรมากครับ บอกมาตรงๆ เลยว่า “คุณเองก็อยากรวย” ใช่หรือไม่? แล้วก็เป็นคำถามค้างคาใจของใครหลายๆ คนว่าทำไม “ผู้ทรงวิชชา” ถึงไม่รวย บางแห่งเขาไม่ใช้วิชชา เขายังรวยกว่า บทความนี้จึงขอปล่อยหมัดตรง น็อค “ความจน” ให้กับผู้ทรงวิชชาครับ

[2]  โดยที่ธนบัตรของประเทศต่างๆ ที่มีมูลค่ามากบ้าง น้อยบ้าง นอกจากจะมีกายสิทธิ์รักษาแล้ว ก็มีผู้เลี้ยงคอยกำกับวิชชาด้วยสมบัติผู้เลี้ยงด้วยเช่นกัน  โดยอาจอยู่ในรูปของใบไม้เสกเหมือนใบต้นกฐินผ้าป่า, บัตรอธิษฐาน เหมือนที่แขวนต้นทานาบาตะ หรือมิฉะนั้นก็เป็นเหรียญ แต่ธนบัตรนั้น ไม่มีการจดทะเบียนความเป็นเจ้าของ เพราะถือเป็นทรัพย์สินของทางราชการ ไม่เหมือนอย่างแคชเชียร์เช็ค ที่ระบุชื่อเจ้าของทรัพย์ไว้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม คุณรู้หรือไม่ว่า การจะหยิบสมบัติผู้เลี้ยงประจำธนบัตรออกมาใช้นั้น สามารถทำได้โดยผู้ที่มีลายเซ็นของผู้มีอำนาจหน้าที่พิมพ์เอาไว้อยู่บนธนบัตร เช่นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ และรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง (ไม่ใช่จู่ๆ เราหรือใครๆ จะหยิบปากกามาเซ็นบนธนบัตรได้เองนะครับ) ซึ่งสมบัติผู้เลี้ยงที่หยิบออกมา จะสามารถนำมาจำหน่ายจ่ายแจกให้ผู้อื่นใช้ได้ มิได้จำกัดเฉพาะผู้มีลายเซ็นเท่านั้น

[3]  ดังนี้แล้วก็สรุปได้ว่าเราจะ “รวย!” กันอย่างสบายๆ แล้วล่ะทีนี้ เพราะสมบัติผู้เลี้ยงประจำธนบัตรจะ “ส่งฤทธิ์” คอยดึงทรัพย์ธนบัตรมาสู่บุคคล อยู่เรื่อยๆ ทำให้มีธนบัตรเงินสกุลใช้สอยอยู่ไม่ขาด ไม่มีวันหมด จะว่าไปก็คล้ายกับการมี “เงินก้นถุง” ติดตัวนั่นล่ะครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน โซเชียลมีเดีย กับสมบัติผู้เลี้ยงฯ

[1]  ในยุคปัจจุบัน ที่โลกของเรามีวิทยาการก้าวหน้า ดวงตราประกาศิต หรือ แบรนด์ในรูปลักษณ์ของโลโก้, เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่, บัญชีแอพพลิเคชั่นโซเชียลมีเดีย และเว็บไซท์  (domain name) ล้วนมีการลงทะเบียนรับรองการใช้งานทั่วโลก อีกทั้งมีการประเมินราคาเว็บไซท์, แบรนด์, และเบอร์สวย กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยอันเป็นคุณลักษณะที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการใช้งาน และกิตติศัพท์ของบริการ และผลิตภัณฑ์ รวมถึงวิชชาที่ส่งมาหล่อเลี้ยง ทำให้เป็นที่จดจำ, รู้จักแพร่หลาย และเชื่อมั่นของผู้คนสังคม

[2]  ท่านทราบหรือไม่ว่าแอพพลิเคชั่นโซเชียลมีเดีย (social media application), ที่อยู่เว็บไซท์ (domain name), แบรนด์สินค้า (brand), ดวงตราสัญลักษณ์ประจำตัวบุคคล, หน่วยงาน และองค์กร (logo & emblem), รวมถึงโทรศัพท์เบอร์สวยที่ใช้แล้วถูกโฉลก ซึ่งมีการจดทะเบียนอย่างถูกต้องกับหน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชนก็ตาม ที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีสิทธิ์, อำนาจ และหน้าที่ ซึ่งได้รับกำลังหล่อเลี้ยงรักษาจากภาคผู้เลี้ยงของประเทศ จะมีสมบัติผู้เลี้ยงฯ จากภพเจ้าของวิช(ช)า คอยส่งฤทธิ์กำกับการใช้งานอยู่ ซึ่งเราสามารถนำ “ธาตุบุญ” มาแลกหยิบได้ โดยเฉพาะในยามที่สิ่งเหล่านั้นอยู่ใน "ขาขึ้น" คือกำลังเป็นที่แพร่หลาย เป็นที่รู้จัก และนิยมชมชอบ รวมถึงได้รับความเชื่อถือจากผู้คนในสังคมในวงกว้าง เรทติ้งสูงสุด ซึ่งเป็นช่วงที่สมบัติผู้เลี้ยงมีกำลังมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งเราสามารถเผยแพร่สิ่งอันเป็นอัตลักษณ์ และข้อมูลข่าวสาร ให้เป็นที่รู้จักทั่วโลกได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม สมบัติผู้เลี้ยงฯ ที่คอยส่งฤทธิ์ให้กับสิ่งต่างๆ เหล่านั้น อาจจะมีรูปแบบต่างๆ กันไป เช่น ดวงตราประกาศิต (ทั้งแบรนด์ และโลโก้) จะมีสมบัติผู้เลี้ยงอยู่ในรูปของ “ดวงแก้วประกาศ” ซึ่งจัดเป็น “แก้วมณี” ประเภทหนึ่ง ซึ่งส่งฤทธิ์ให้ผู้เป็นเจ้าของมีกิตติศัพท์ขจรขจายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ในขณะที่เว็บไซท์ (domain name) และแอพพลิเคชั่นโซเชียลมีเดีย (social media application) ต่างๆ มักจะมีสมบัติผู้เลี้ยงอยู่ในรูปของ “จักรฯประกาศ” ซึ่งจัดเป็น “จักรรัตนะ” ของทิพย์ประเภทหนึ่ง ที่ส่งฤทธิ์ให้งานประชาสัมพันธ์สื่อสารมวลชนแพร่หลายออกไปในวงกว้าง ในทำนองเดียวกับแก้วประกาศ ส่วนเบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่เป็นเบอร์สวย ถูกโฉลกผู้ใช้ และเป็นที่รู้จักมากแล้ว อย่างเบอร์ศูนย์บริการตอบรับ (call centre) จะมีสมบัติผู้เลี้ยงอยู่ในรูปของ “โทรโข่งทอง” เป็นอาทิ

[3]  สมบัติผู้เลี้ยงเหล่านี้ แม้จะเป็นโซเชียลมีเดียที่สมัครใช้งานกันง่ายๆ หรือแม้แต่เว็บไซท์ ที่ดูแล้วไม่ยากอะไรนักในการจดทะเบียนใช้สอย แต่กลับมี “ราคาธาตุ” แพงมาก เพราะเป็น “ค่าวิชชา” ของผู้ที่ส่งวิชชาลงมาให้เกิดมีขึ้น ซึ่งท่านที่มี “ธาตุบุญ” มากพอจะซื้อ และประสงค์จะได้อานิสงส์จากสมบัติผู้เลี้ยงติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ ไม่ต้องเสียเวลามาค้นวิชชา ส่งวิชชา ทำเอง ก็นับว่าคุ้มมากครับ เพราะสมบัติผู้เลี้ยงที่ซื้อมา ตอนกำลังโด่งดังเป็นที่นิยมนั้น เป็นสมบัติผู้เลี้ยงที่มีฤทธิ์มากที่สุด และเมื่อซื้อมาแล้ว หากเรานำมาใช้งาน ก็จะสามารถรักษาความสำเร็จ ความโด่งดังมีชื่อเสียง ของตนเอง, หน่วยงาน, องค์กร อีกทั้งผลิตภัณฑ์ และการบริการ ได้ตลอดต่อไป ซึ่งสมบัติผู้เลี้ยงจะมีส่วนส่งเสริมประมาณ 30 – 70% ของผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นส่วนหยาบ ขึ้นอยู่กับระดับขั้นของสมบัติผู้เลี้ยง ซึ่งอาจเปรียบได้กับ ชั้นเกรด A, เกรด B, เกรด C, เกรด D, เกรด E ซึ่งตอนที่เริ่มต้นทำแบรนด์ใหม่ๆ ผู้เลี้ยงมักจะนำสมบัติระดับแรกๆ มาใช้ เช่นเกรด D หรือ เกรด E ให้พอเหมาะพอสมกับความจำเป็นใช้ ในขณะที่ยังไม่โด่งดังมาก และเมื่อเลี้ยงไปเรื่อยๆ กระทั่งเป็นที่นิยม ก็จะเปลี่ยนเป็นเกรด B หรือ เกรด A ครับ ซึ่งถ้าเราจะนำธาตุบุญมาแลกหยิบใช้ ก็ควรจะเป็นเกรด B เป็นอย่างน้อย ซึ่งส่งเสริมงานได้ถึงประมาณ 50 – 60% ของผลลัพธ์ส่วนหยาบครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน สร้างพระพุทธรูปถูกธาตุธรรม

 

[1]  ชาวไทยพุทธเรานิยมหล่อพระกันมากครับ ทั้งองค์เล็กองค์ใหญ่ขนาดต่างๆ กันไป ตามที่ผมเคยนำเสนอไว้แล้วว่า พระพุทธรูปปางจักรพรรดิ มีอานิสงส์ต่างจากปางพระพุทธเจ้า คือ ปางพระจักรพรรดิจะส่งผลานิสงส์เด่นด้าน "ความล้ำค่า" ในขณะที่ปางพระพุทธเจ้า จะมีผลานิสงส์เป็น "ความสงบ" ซึ่งหลายๆ ท่านมักจะคิดว่า ปางพระจักรพรรดิน่าจะดีเลิศประเสริฐกว่า และ “ทำให้รวย” เพราะมีเครื่องประดับมาก แลดูมั่งคั่ง ซึ่งบางครั้งก็เป็นจริง โดยเฉพาะเมื่อประดับอัญมณีแท้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อานิสงส์โดยเนื้อแท้ จะขึ้นอยู่กับ “ความถูกธาตุถูกธรรม” ของผู้สร้าง และ “ส่วนหยาบ” คือรูปลักษณ์ภายนอกของพระพุทธรูป และ “ส่วนละเอียด” ที่ลงสถิตซ้อน

[2]  สำหรับบทความนี้ เราจะกล่าวถึงการ "สร้างพระให้ถูกธาตุถูกธรรม" ครับ กล่าวคือ บุคคลใดมีสายธาตุสายธรรมมาอย่างไร เช่นเป็นพระองค์ธรรม, เป็นพระจักรฯ หรือเป็นพระรัตนบุคคล (พระมณี, ขุนพลแก้ว, ขุนคลังแก้ว, นางแก้ว, บุรุษแก้ว, ช้างแก้ว, ม้าแก้ว) การสร้างพระให้ตรงสายธาตุสายธรรมของตนนั้น ก็จะส่งเป็นผลานิสงส์ที่มาก และได้ "บุญฤทธิ์อิทธิคุณ" มากตามไปด้วย เช่นผู้ที่เป็น "พระองค์ธรรม จากภาคขาว" สร้างพระพุทธประธานปางพระพุทธเจ้าภาคธรรมลงรักปิดทอง ซ้อนส่วนจากภาคขาว ก็จะมีอานิสงส์ใหญ่ เพราะถูกธาตุถูกธรรมของตนเอง หรือ "พระจักรฯ ภาคแดง" สร้างพระพุทธรูปปางจักรพรรดิลงรักปิดทอง ซ้อนส่วนละเอียดจากภาคแดง ก็จะมีอานิสงส์มาก และยิ่งถ้าหากสร้างเป็นพระจักรพรรดิเรซินสีแดงด้วยแล้ว ยิ่งมีอานิสงส์แรงเข้าไปใหญ่ เหมือนนำผัดไทยที่ตนชอบรับประทาน ใส่บาตรถวายพระไทยที่ชอบฉันผัดไทยเหมือนกัน หรือผู้ที่ถือศีลกินเจ นำอาหารเจใส่บาตรถวายหลวงจีน เป็นความ “ถูกโฉลก” กัน

[3]  การสร้างพระแบบถูกธาตุถูกธรรมเช่นนี้ เหมือนการตอกตะปูลงแผ่นไม้สร้างบ้านที่ “ย้ำความแน่น” กล่าวคือ พระองค์ธรรมที่สร้างพระปางพระพุทธเจ้า ลงซ้อนส่วนพระพุทธเจ้าสังกัดสีเดียวกันตน จะทำให้บุญและอานิสงส์ที่ได้ ส่งให้รู้สึก “แน่นในวิชชาธรรมแห่งสีของตน” (เช่นสมาชิกภาคเขียว สร้างพระพุทธเจ้าภาคเขียวลงส่วนสถิต แม้พระพุทธรูปของหยาบจะเป็นสีทอง) แต่ถ้าเป็นพระจักรฯภาคเขียว สร้างพระพุทธรูปปางจักรพรรดิอันมีพระพุทธจักรพรรดิภาคเขียวลงซ้อนส่วน ก็จะยิ่งทำให้รู้สึก “หนักแน่นในวิชชาจักรฯ” ประจำสีของตน

[4]  แม้ชาวพุทธเรานิยมสร้างพระเป็นสีภายนอกหลักๆ ไม่กี่สีเท่านั้น คือสีขาว สีทอง สีเงิน สีโลหะ แต่ในปัจจุบันนี้ ด้วยเทคโนโลยี และวัสดุประดิษฐ์ที่ทันสมัยขึ้น ก็มีการหล่อพระปางพระพุทธเจ้า และปางพระจักรพรรดิ เป็นเรซินหลากสี สามารถซื้อหามาถวายผู้ทรงคุณ หรือสำนัก วัดวาอาราม ที่ตรงสายธาตุสายธรรมได้ครับ อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมการหล่อพระของผู้ทรงวิชชา ก็มีรายละเอียดบางประการที่ต้องใส่ใจ เช่นการหล่อพระ หรือถวายพระพุทธรูป "ข้ามภาค" นั้น เช่นสมาชิกวงศ์สีเหลือง จะสร้างพระลงซ้อนส่วนจากวงศ์สีน้ำเงิน ก็มักจะไม่นิยมทำกัน ยกเว้นในบางกรณี หรือการสร้างพระที่เป็นภาคหนึ่งของตนมาก่อน ก็ไม่นิยมทำ ยกเว้น “หมู่คณะ” จะทำให้ หรือมี “เจ้าภาพ” ทำให้ และการสร้างพระของภาคเดียวกับตน หรือภาคอื่น ก็ต้องมีพิธีรีตองในการเชิญ การประชุมวิชชา การจ่ายค่าลงซ้อน และอื่นๆ

[5]  ด้วยธรรมเนียมต่างๆ เหล่านี้ บางทีทำให้ผู้ทรงวิชชารู้สึก "ยุ่งยาก" อยู่บ้าง จึงมีผู้ทรงวิชชาจำนวนไม่น้อยที่นิยมหล่อ "สมเด็จองค์ปฐมบรมครู" ซึ่งทรงมีทั้งปางภาคพระพุทธเจ้า และปางภาคจักรพรรดิทรงเครื่อง และมีความเป็นกลางสำหรับภาคอื่นๆ สีอื่นๆ ในการหล่อ ลงซ้อน และคำนวณเฉลี่ยจ่ายบุญ ซึ่งตกลงกันได้ง่ายกว่าครับ ในขณะที่พระต้นธาตุต้นธรรมนั้น หากจะหล่อ ก็มักจะต้องเป็นสำนัก ที่มีสายธาตุสายธรรมเดียวกันเท่านั้น หรือมิฉะนั้น ก็สร้างพระโดยเชิญส่วนของผู้ทรงคุณที่อยู่ในภาคเดียวกันลงซ้อน เช่นสมาชิกวงศ์ชมพู สร้างพระ ก็เชิญจ้าวชมพู หรือพระพุทธเจ้าภาคชมพู หรือพระพุทธจักรพรรดิภาคชมพูลงซ้อนส่วน หรือถ้าสำหรับวัดและสำนักโดยทั่วไปที่ไม่เน้นวิชชา ก็เป็นส่วนขององค์สมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดาของพระพุทธศาสนาในพุทธกาลปัจจุบัน ซึ่งทรงสังกัดสีอยู่ด้วย ทำให้สำนักวิชชาบ้างก็ไม่นิยมสร้าง เพราะบางทีจะทับซ้อนวิชชาของกันและกัน แต่มักจะสร้างพระเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแทนครับ ซึ่งมีอานิสงส์ครบถ้วน เหมือนทำความดีกับนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ซึ่งสามารถตัดสินใจให้คุณให้โทษ ในงานราชการแผ่นดินสมัยปัจจุบันได้ เมื่อเทียบกับอดีตนายกรัฐมนตรี คือพระพุทธเจ้าในอดีตที่พ้นสมัยไปแล้ว ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน “โฉนดบุญ

ใบเสร็จรับเงินโฉนดที่ดิน ที่ทางวัดหรือสำนักสงฆ์ออกให้ผู้บริจาคนั้น เป็นเสมือน “หนังสือสำคัญสิทธิ์” ซึ่งมีคุณค่ามากในกรณีที่เป็น “ธรณีสงฆ์” หรือ “สาธารณสมบัติ” แม้จะมิได้แสดงถึง "ที่ดิน" ที่ผู้ถวายจะได้เป็นเจ้าของ แต่เป็น "สิทธิ์" ที่ผู้ถวายมีต่อสมบัติพระศาสนา ซึ่งแต่ละวัด หรือสำนักสงฆ์ ก็ใส่จำนวนเขตพื้นที่ดินมากน้อยไม่เท่ากัน ถ้าเราอาศัยโฉนดนี้ "คว้าสมบัติผู้เลี้ยง" ออกมา ก็จะได้ในส่วนของ "พร" ที่ระบุไว้ในโฉนด ซึ่ง “ศักดิ์สิทธิ์” และมีตัวแปร (ขนาดที่ดิน) ที่เป็น “ขอบเขตอันตั้งค่าคำนวณได้” มากน้อยไม่เท่ากัน

แต่ผู้ที่ "เล่นสิทธิ์เป็น" อาจจะสามารถ นำสิทธิ์ในสมบัติพระศาสนาตามใบเสร็จโฉนดที่ดิน มาคำนวณตั้งเป็นผังสมบัติที่ดินให้กับตนเองได้ ซึ่งผู้ที่มีสิทธิ์ในที่ดินมากๆ มีผลคืออาจจะได้ “ศักดินา” โดยขึ้นอยู่กับยุคสมัย  ว่าได้เฉพาะ “ศักดิ์” และ/หรือ “สิทธิ์” และ/หรือมี “อำนาจ” ประกอบด้วย ถ้าเป็นยุคที่ไม่สามารถได้ศักดินา ก็จะได้สิทธิ์และอำนาจปกครอง อย่างนิติบุคคลของหมู่บ้านจัดสรร, อาคารห้องชุดคอนโดมิเนียม, นิคมอุตสาหกรรม และอื่นๆ แต่ถ้าปรารถนาทิพยสมบัติ ก็สามารถแปลงเป็น “ทิพยวิมานสมบัติ” ที่กว้างใหญ่ ส่วนว่าถ้าหากประสงค์จะได้ที่ดินของหยาบที่จับต้องได้ (ธรณีสมบัติ) เป็นของตนเอง ต้องนำโฉนดนั้นมา "แลกสิทธิ์" แล้วนำ “ธาตุบุญ” ที่แลกได้มาตั้งผังธรณีสมบัติ หรือซื้อธรณีสมบัติในวิชชา ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน ซึ่งต้องใช้มาก  หรืออสังหาริมทรัพย์ และอาคารห้องชุด (คอนโดมิเนียม) ซึ่งใช้น้อยกว่า

นอกจากนี้ ยังสามารถนำดวงสิทธิ์ในธรณีสมบัติพระศาสนา ซึ่งอาจจะได้มาโดยเรียก “สมบัติผู้เลี้ยง” จากใบเสร็จโฉนดที่ดิน หรืออื่นๆ ไปติดต่อ "พระธรณี" ขอให้พระธรณี "แปลงเป็นธรณีสมบัติให้" อีกวิธีก็คือ ก็นำ "บุญธรณีธาตุ" และ/หรือ “สิทธิสมบัติ” ในใบเสร็จโฉนดที่ดิน มาให้พระธรณีแปลงเป็น "ธรณีสมบัติ" ให้ โดยอาจต้องจ่ายให้พระธรณีด้วยครับ.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน สัมพันธภาพแห่งธาตุและธรรม

โดยหลักแล้ว โลกธาตุของเรามี ธาตุ อยู่ด้วยกัน 6 อย่าง และ ธรรม 3 อย่าง ซึ่งมีคุณลักษณะและหน้าที่ อันกอปรเป็นสัมพันธภาพต่อกันและกันดังนี้

(1A) ธาตุดิน: ทำให้ขึ้นรูป เป็นรูปลักษณ์ที่มวลแน่นมากหรือน้อย

(2A) ธาตุน้ำ: ทำให้เย็น และเกิดความยืดหยุ่นในรูป

(3A) ธาตุลม: ทำให้เกิดแรงดัน เพื่อให้ธาตุที่ประชุมกันเกิดพลังปราณเดินหมุนเวียนขับเคลื่อน

(4A) ธาตุไฟ: ทำให้เกิดความร้อน ไฟฟ้า ความสว่าง และเผาผลาญ

(5A) ธาตุอากาศ: คือพื้นที่ว่างสำหรับธาตุต่างๆ ประชุมรวมกัน

(6A) วิญญาณธาตุ: คือความรู้ได้ ซึ่งทำให้ธาตุที่ประชุมอยู่นั้น เป็น

(1B) กุศลธรรม: ทำให้ส่วนละเอียดของธาตุสะอาด และรู้เป็นดี

(2B) อกุศลธรรม: ทำให้ส่วนละเอียดของธาตุสกปรก และรู้เป็นชั่ว

(3B) อัพยากตาธรรม: ทำให้ส่วนละเอียดของธาตุไม่สะอาดและไม่สกปรก และรู้ไม่เป็นดีไม่เป็นชั่ว

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน กายสิทธิ์ในทานวัตถุ

พระเดชพระคุณพระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชัยมังคโล) อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายารม จังหวัดราชบุรี ได้เคยเมตตาสอนเอาไว้ว่าวัสดุในโลกเรานี้ล้วนมีกายสิทธิ์สถิตอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าอะไร ต่างแต่เพียงว่า มีมากหรือน้อย ฯลฯ ด้วยคำสอนนี้ ข้าพเจ้าจึงพบว่า เราจะได้บุญมากกว่าปกติ ถ้าเราทำบุญด้วย “ทานวัตถุ” อันเป็นทรัพย์สินสิ่งของ ที่มี (1) กายสิทธิ์สะอาด (2) กายสิทธิ์คุณภาพและประสิทธิภาพดี (3) กายสิทธิ์ขนาดใหญ่ (4) กายสิทธิ์จำนวนมาก (5) กายสิทธิ์มีฤทธิ์หรือพลังมาก (6) กายสิทธิ์ทรงวิชชามาก (7) กายสิทธิ์มีคุณความเลอค่าสูง (8) กายสิทธิ์ถูกธาตุถูกธรรมต่อผู้รับทาน เช่นถวายดอกไม้สีแดง ต่อพระจักรฯภาคแดง และ (9) อื่นๆ

ทั้งนี้ ปกติแล้วกายสิทธิ์จะ “ลงรักษามาก” สำหรับสิ่งที่มีคุณค่ามาก และสวยงามล้ำค่า หรือไม่ก็เป็นสิ่งที่มนุษย์ให้ความสำคัญ ซึ่งมีทั้งกายสิทธิ์ที่ “ภพเจ้าของธาตุ” ส่งลงมาสถิตแต่เดิมแรกเริ่มประชุมมวลขึ้นเป็นวัสดุ อย่างเช่นทราย หินสี โลหะ หรือเป็นกายสิทธิ์ที่ถูกส่งลงมาสถิตหลังจากที่วัสดุถูกนำมาสร้างเป็นวัตถุสิ่งของแล้ว เช่นช่อฟ้า กำแพง ประตู เครื่องประดับ รูปหล่อโลหะ รถยนต์ และอื่นๆ ซึ่งวัสดุหรือวัตถุใดที่มีกายสิทธิ์ลงรักษา ก็จะมี “ส่วนละเอียด” ที่ทรงสภาพได้ดี มีผลเนื่องมาถึงส่วนหยาบ ทำให้ส่วนหยาบทรงคุณค่าและมีสภาพดีไปตามกาลเวลา แต่ถ้าส่วนละเอียดแย่ หรือเสียหาย ส่วนหยาบมักจะแย่ลงตามไปด้วยอย่างผิดธรรมชาติ เช่นหากเรามีลูกแก้วหินจุยเจีย แล้วนำดอกไม้จริงหอมสดชื่นมาบูชา กายสิทธิ์จะเสวยกลิ่นหอมนั้น แล้วลูกแก้วจะดูแวววาวน่าพิสมัยเป็นพิเศษ แต่ถ้ากายสิทธิ์ในลูกแก้ว ต้องรบกับมาร หรือไสยเวทย์ แล้วส่วนละเอียดอันเป็นทิพย์เกิดเสียหาย ลูกแก้วส่วนหยาบก็จะดูโรยๆ ไม่ทรงพลังเหมือนก่อน หรือถ้าใช้อุปกรณ์ตรวจวัดกัมมันตรังสี หรือคลื่น “กระแสไฟฟ้าเพียโซอิเล็คทริค” ซึ่งเป็นพลังธรรมชาติที่ประจุอยู่ในหินควอทซ์อย่างแก้วจุยเจีย ก็จะพบว่ามีกำลังอ่อนลง   

แม้เราจะไม่สามารถสรุปแบบฟันธงได้ว่า ลักษณะของกายสิทธิ์ข้อ (1) ถึง (8) ที่ดีกว่าและมากกว่า จะทำให้ได้บุญมากเสมอไป แต่ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะเป็นเช่นนั้น อีกทั้ง “เครื่องธาตุเครื่องธรรม” ก็จะนำคุณลักษณะของกายสิทธิ์ในข้อ (1) ถึง (8) มาเป็นข้อมูลป้อนเข้าเครื่องฯ อีกประการหนึ่ง สำหรับคำนวณตามสูตรกฎแห่งกรรม ในฐานะของ “ทานวัตถุบริสุทธิ์” ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์คุณที่ทำให้การถวายทานได้บุญมาก ถึงแม้เรื่องกายสิทธิ์จะเป็นเพียงเรื่อง “ส่วนละเอียดอันเป็นทิพย์” ของทานวัตถุเท่านั้นก็ตาม แต่ถ้าทั้งส่วนหยาบและส่วนละเอียด “ตรงกัน” บุญที่ได้จากการถวายทานวัตถุนั้น ก็จะยิ่งมาก เช่น ทำบุญด้วยดอกไม้อันงดงามสดใหม่จากต้น โดย “องค์บุษบาธร” ได้ช่วยตกแต่งส่วนละเอียดของดอกไม้ให้ด้วยแล้ว และกายสิทธิ์ในดอกไม้ก็ดีด้วย (ดอกไม้แต่ละสายพันธุ์มีกายสิทธิ์ไม่เหมือนกัน) เมื่อทั้งส่วนหยาบและส่วนละเอียดมีคุณภาพดีดังนี้แล้ว คุณสมบัติของ “วัตถุทานบริสุทธิ์” ก็สูงส่งขึ้น ทำให้กลายเป็นตัวแปรเด่น ที่ทำให้ผู้ถวายดอกไม้ ได้บุญมากเป็นพิเศษครับ ดังนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


ควันหลงวันมาฆบูชา พ.ศ. 2566

นานาสาระ ตอน เหตุแห่งการเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช

ขอขอบคุณนะครับ ที่ท่านผู้อ่านแสดงความสนใจเรื่องตำแหน่งพระเจ้าจักรพรรดิราชเป็นพิเศษ แม้หลายๆ ท่านจะชอบเป็น “พระองค์ธรรม” มากกว่า “พระจักรฯ” และยกย่องว่า “พระองค์ธรรม” นั้นประเสริฐกว่า “พระจักรฯ” ทั้งๆ ที่ “พระจักรฯ” มักจะบำเพ็ญบารมีได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ซึ่งใครๆ ก็หมายปอง บ่อยครั้งกว่ามาก ประเด็นนี้พอจะทำความเข้าได้ว่า มีผู้ทรงวิชชาหลายท่าน ที่นิยมชมชอบ “คุณสมบัติ” และ “สมบัติจักรพรรดิ” อย่างของ “ฝ่ายจักรฯ” แต่อาจไม่ชอบใจ “หน้าที่” ของ “ฝ่ายจักรฯ” ที่ต้องคอยทำนุบำรุงหล่อเลี้ยงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระศาสนาจักรฯ ซึ่งทำให้รู้สึกว่า “ฝ่ายจักรฯ” นั้นเป็นผู้ด้อยกว่าครับ

การเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น ต้องภพเจ้าของธาตุเจ้าของธรรมเปิดให้เป็นครับ มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิ์เป็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ภาค/ภพ เจ้าสี” ซึ่ง “สั่งส่ง” คนในสายธาตุสายธรรมของตน มาบำเพ็ญบารมีเป็นทั้งพระพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิ  สำหรับข้อสงสัยว่าการทำสาธารณประโยชน์แล้วได้เป็นชนชั้นนักปกครอง จะต่างอย่างไรกับการได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช หรือผู้นำประเภทอื่นๆ แบบทำบุญมา คำตอบก็คือ บุญที่ทำให้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชและผู้มียศศักดิ์ใหญ่ ก็คือการทำบุญกับเนื้อนาบุญอันเลิศด้วย “ความเคารพอ่อนน้อม” ไม่ว่าจะถวายทาน หรือสักการบูชา ซึ่งเครื่องธาตุเครื่องธรรมจะคำนวณบุญออกมาเป็น "ศักดิเดชา" และ/หรือ “ศักดิเดช” ให้มากเป็นพิเศษ แล้วได้ผังเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช หรือผู้มียศศักดิ์ใหญ่ เพราะโปรแกรมกฎแห่งกรรมเขาตั้งค่าไว้อย่างนั้น คือทำบุญด้วยความอ่อนน้อมมาก ก็จะได้เกิดในตระกูลสูงมากครับ หรืออีกประการหนึ่งก็คือบุญจากการถวายยศศักดิ์ให้กับผู้สมควรได้รับ เช่นตำแหน่งสำหรับบุคคลผู้ทำความดี และบรรพชิตทั้งหลาย แต่ปัญหาก็คือ บุคคลส่วนใหญ่เมื่อได้ยศศักดิ์ใหญ่แล้วมักจะประพฤติอ่อนน้อมลดลง ด้วยฐานะอันสูงส่งของตนและธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณี จึงทำให้บุญด้านนี้พร่องไป

ทั้งนี้ผู้ที่จะพยากรณ์ต้องเห็นผังก่อนจึงพยากรณ์ให้ แต่โดยเนื้อแท้แล้วก็เป็นเพราะ "ภพเจ้าของธาตุเจ้าของธรรม" ส่งลงมาเล่น โดยกำกับการมากน้อยตามส่วน เช่นภพฯ คุมให้ 70% กายมนุษย์เป็นเอง 30% แต่แทบจะไม่มีใครเลยที่ได้เป็นแบบโดยปราศจากการการหล่อเลี้ยงส่งให้เล่นโดยภพฯ เหมือนตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” ที่ไม่มีคนไหนเป็นโดยไม่มีสังกัด ซึ่งภพจะคุมให้ตั้งแต่จุติมาเกิด ประกอบกุศลกรรม เวียนว่ายตายเกิด กระทั่งได้ครองรัตนะ 7 สำเร็จเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชตามผังครับ สรุปคือ ไม่ได้เป็นกันทุกคน แม้จะทำบุญด้วยความอ่อนน้อมเหมือนๆกัน

ถ้าบุคคลทำบุญแล้วอธิษฐานขอเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช โดยภพฯไม่ส่ง ก็เหมือนบุคคลอิสระ สมัครเป็นนายกรัฐมนตรี โดยพรรคการเมืองไม่สนับสนุนและไม่ได้เสนอชื่อครับ คือขอได้ แต่โอกาสได้เป็นมันแทบไม่มี ผังก็เสียบุญไป ดีที่สุดคือทำบุญไปแล้วถ้าจะได้เป็นก็เป็นเอง เหมือนพระเจ้าสังขะจักรฯ ในยุคพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งท่านทำบุญกับพระปัจเจกพุทธเจ้า ท่านก็ไม่ได้ขอว่าจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่ถ้าจะได้ บุญก็บันดาลให้ได้เอง ตามที่ภพฯส่งให้เป็นไปครับ.

“พระเจ้าจักรพรรดิ” มีสองแบบ คือแบบที่สังคมมนุษย์ตั้งขึ้น กับแบบที่ภพฯเปิดให้ได้ครองรัตนะ 7 ถ้ามีจักรแก้ว เราเรียกว่า “พระเจ้าจักรพรรดิราช” ครับ อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่การเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชอาจไม่เป็นเสมอไป ก็เพราะภพฯมีกำลังในการประมูลสิทธิ์ให้เป็นได้มากน้อยไม่เท่ากันในแต่ละยุคสมัย ขณะที่ธาตุธรรมผันแปรไปตามกำลังที่ประชันกันและกันหรือสนับสนุนกันและกันของแต่ละภาคธาตุภาคธรรมครับ ซึ่งกล่าวโดยง่ายก็คือ ภาคพระภาคมารก็ส่งเสริมหรือกันท่า กันและกัน เพื่อความเจริญของตน และความไม่เจริญของฝ่ายตรงข้าม

สำหรับในยุคสมัยปัจจุบัน เป็นยุคที่กัปไขลงมา มนุษย์มีอายุขัยต่ำกว่า 100 ปี เหตุมหัศจรรย์ และอัศจรรย์ต่างๆ อย่างการเปิดโลกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น หรือการแสดงปาฏิหาริย์ อาจจะไม่ง่ายเหมือนสมัยยุคพุทธกาล เพราะการปิดกั้นหรือการเปิดโดยภาคและภพต่างๆ ต้องใช้กำลังต่อสภาพที่แน่นมากหรือน้อยตามยุคสมัย อุปมาเหมือนการ “เข้านิโรธสมาบัติ” ซึ่งในสมัยพุทธกาล พระอรหันต์สามารถเข้าสมาบัติได้ 7 วัน แต่ในยุคปัจจุบัน พระอรหันต์เข้านิโรธสมาบัติได้ ส่วนใหญ่ประมาณ 3 วันเท่านั้น ฉันใดก็ฉันนั้น ความสะดวกในการได้อัศจรรย์ และมหัศจรรย์ รวมถึงรัตนะ 7 ประการ อันเป็นสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ จึงอาจไม่ง่ายดายเหมือนเรื่องราวในตำรับตำราครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


บทความพิเศษเนื่องในโอกาสวันมาฆบูชา พ.ศ. 2566

นานาสาระ: ตอน ทำไมจึงได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช?

สำหรับบุพกรรมที่ทำให้บุคคลเกิดเป็น “พระเจ้าจักรพรรดิราช ซึ่งเป็นชนชั้นปกครองสูงสุด นั้น ไม่เข้าข่าย “สิทธิ์และอำนาจ” จากการทำสาธารณประโยชน์ แต่เป็น “อัศจรรย์” และ “มหัศจรรย์” จากการทำบุญในทักขิณาเขต เช่นการบูชาสักการะพระธาตุเจดีย์ การทำบุญกับพระพุทธเจ้า การทำบุญกับผู้ที่ออกจากนิโรธสมาบัติ แต่บางท่านอาจสงสัยว่า ทำไมตำรับตำราจึงสอนว่า บางคนทำแล้วได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ในขณะที่บางคนทำแล้วก็ไม่ได้เป็น ทั้งนี้ก็เพราะแท้จริงแล้ว ผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือแม้แต่พระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น “ภพผู้เป็นเจ้าของธาตุธรรม” ท่าน “สั่งส่ง” ลงมาเล่นนั่นเองครับ (ภาษาผู้มีวิชชา) แต่ถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ “ส่งประกวดและประชัน” หรือ “ส่งลงมาสร้างบารมี” ทำงานทำบุญทำกุศลต่างตามกฎแห่งกรรม กระทั่งอินทรีย์เริ่มแก่กล้า และมีพระพุทธเจ้าพยากรณ์ให้ ว่าด้วยบุญนี้ จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต หรือมิฉะนั้น พระพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์บางพระองค์ ก็ยังพยากรณ์ให้บุคคลผู้ทำบุญด้วยว่าจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช กี่ชาติต่อกี่ชาติ ซึ่งในกรณีนี้มักจะได้เป็นแน่นอน เพราะ “ผังชีวิต” ถูกตั้งขึ้นแล้วเมื่อทำบุญ ส่วนท่านที่ไม่ได้รับพยากรณ์เช่น ทำบุญด้วยการบูชาพระสถูปเจดีย์ ก็จะมีภพผู้เป็นเจ้าของธาตุธรรมคอยหล่อเลี้ยงรักษา ประคับประคองการดำเนินชีวิต ในแต่ละภพชาติ กระทั่งได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งภพ “เปิดผังสำเร็จ” ให้เป็น “อัศจรรย์” หรือ “มหัศจรรย์” มิฉะนั้นแล้วก็จะถูกภาคมารปิดกำบังไว้ เพราะภาคมารก็ไม่ประสงค์ที่จะให้มนุษย์อยู่อย่างมีความสุขด้วยบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิราช โดยสรุปแล้วคือ ทั้งตำแหน่งพระพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น ภพผู้เป็นเจ้าของธาตุธรรม ซึ่งมีหลายภพ ท่านก็ “เตี๊ยม” และตกลงกันมาแล้ว ว่าจะให้ใครเป็น และเป็นก่อนหรือหลังกันอย่างไร หรือบางยุคก็ส่งลงมาแข่งชิงกัน ไม่มีใครได้เป็นโดยบังเอิญครับ และเมื่อได้เป็นแล้ว หากยังเป็นสัมมาทิฐิ ท่านก็จะดึงตัวกลับภพ ซึ่งภพจะกำไร หรือขาดทุน ก็ขึ้นอยู่กับตรงนี้ บางครั้งภพสั่งส่งลงมาสร้างบารมี แล้วกำไรบุญกำไรบารมี ได้นำบุญบารมีกลับภพเกินกว่าที่ลงทุนไป ในขณะที่บางองค์ขาดทุน แต่ด้วยตำแหน่งพระพุทธเจ้า หรือพระเจ้าจักรพรรดิราชที่เคยได้ ก็จะเป็น “ศักดิเกียรติ” ประการหนึ่ง ซึ่งบางภพประสงค์จะได้ เหมือนอย่างบุคคลเคยเป็นนายกรัฐมนตรีมาแล้ว แม้จะพ้นสมัยแห่งการดำรงตำแหน่งแล้ว พรรคการเมืองก็ยังอยากได้มาอยู่ในพรรค เป็นเครดิตประการหนึ่งครับ ดังฉะนี้.   

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันมาฆบูชาที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ตอน กรรมที่ทำให้ได้เป็นชนชั้นปกครอง

บุพกรรมที่ทำให้บุคคลได้เกิดเป็นนักปกครองนั้น มีหลายอย่างด้วยกัน เช่น การทำบุญ การอธิษฐาน การตั้งผัง หรืออื่นๆ สำหรับกรรมหลักๆ ก็คือ “กรรมทำสาธารณประโยชน์” ซึ่งบางครั้งก็คาบเกี่ยวกันกับ “กรรมทำสังคมสงเคราะห์” แต่ไม่เสมอไป ทั้งนี้เพราะกรรมทำสาธารณประโยชน์เป็นเสมือน “การถวายสังฆทาน” ใน “อาณาเขตแห่งการเลี้ยงรักษา” คือไม่มุ่งเฉพาะเจาะจงผู้ใด และไม่ได้ทำกับพระเท่านั้น แต่ทำกับประชาชนคนทั่วไป รวมถึงนักบวช ก็สามารถร่วมใช้สอยได้ เป็นเหตุให้ “คุณาเขต” (มิใช่ทักขิณาเขต) หรือ “เขตธาตุ” (มิใช่เขตบุญ) มีความกว้างใหญ่กว่าปกติ แต่ผลตอบแทน อาจไม่ได้อยู่ในรูปของ “บุญที่มาก” เหมือนอย่างการทำบุญกับพระอริยเจ้า และพระสงฆ์ แต่จะได้ “สิทธิ์ที่มาก” อันเครื่องธาตุเครื่องธรรมคำนวณจ่ายอัตโนมัติตามปัจจัยร่วม (input) ที่มีในเขตเลี้ยงรักษานั้นๆ

ส่วนกรรมทำสังคมสงเคราะห์ ที่ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก มีลักษณะคล้าย “ปาฏิปุคคลิกทาน” คือเลือกที่จะช่วยเป็นคนๆ ไป จึงเป็นเหตุให้ได้ทั้ง “บุญ” และ “สิทธิ์” ซึ่งสิทธิ์ในสังคมสงเคราะห์นั้น ผู้ด้อยโอกาสจะติดค้างต่อผู้ทำสังคมสงเคราะห์ เช่น ถ้าหากได้เกิดในสุคติภูมิ ก็มักจะต้องมาเกิดเป็นบริวารของผู้ทำสังคมสงเคราะห์นั้น หรือแม้ไม่ได้เป็นบริวาร ก็ต้องมาคอยเกื้อกูลช่วยเหลือตอบแทน

อย่างไรก็ตาม ในแง่ของ “สิทธิ์” ที่ผู้ทำสาธารณประโยชน์ได้มานั้น ได้มากกว่าทำกับพระสงฆ์ (แม้จะไม่เสมอไป เพราะยกเว้นบางกรณี เช่นพระสงฆ์จรมาจากทิศทั้ง 4 อย่างโรงพยาบาลสงฆ์ หรือมหาวิทยาลัยสงฆ์) เพราะกรรมแห่งการเสียสละ “ให้สิทธิ์และอำนาจ” ต่อสาธารณชนในการใช้สอย สมบัติสาธารณประโยชน์ที่ตนทำขึ้น อย่างศาลาริมทาง, ถนน, สะพาน, สระน้ำ, สวนสาธารณะ, โรงเรียน, โรงพยาบาล, ยานพาหนะ และอื่นๆ ดังนี้แล้ว เมื่อผู้ทำสาธารณประโยชน์ ได้เสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อให้เป็นประโยชน์ส่วนรวม โดยให้สิทธิ์และอำนาจอันควรเป็นของตน ต่อประชาชนโดยทั่วไปไม่เฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด อายุเท่าใด เพศภาวะใด ทั้งสิทธิ์ในการครอบครองใช้สอย และอำนาจในการตัดสินใจใช้สอย ผลกรรมที่ได้จึงเป็น “สิทธิ์และอำนาจ” กลับคืนมามาก โดยสัมพันธ์กันกับ “เขตเลี้ยงรักษา” ซึ่งเครื่องธาตุเครื่องธรรมนับเข้าคำนวณ เช่นสร้างสะพานให้ประชาชนใช้ฟรี ในประเทศที่บัญญัติพระพุทธศาสนาประจำชาติ กับสะพานในประเทศทั่วไป ก็จะคำนวณอานิสงส์ออกมาได้ไม่เท่ากัน

ด้วยสิทธิ์และอำนาจนี้เอง ที่ทำให้บุคคลได้รับอานิสงส์ผลกรรม คือเป็นผู้ที่มีสิทธิ์และอำนาจหน้าที่ในการปกครองสาธารณชน ตาม “ศักดิ์” ที่ตนได้มา ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว ทั้ง สิทธิ์, อำนาจ, ศักดิ์, ศักดา, และศักดิเดชา รวมกัน บุคคลจึงเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการปกครองที่สามารถให้คุณให้โทษต่อผู้อื่นได้ อย่างนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี, ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายก อบจ., นายก อบต., นายอำเภอ, กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน โดยไม่เกี่ยงว่าจะเป็นในทางดี หรือร้าย คนดี หรือคนไม่ดี ยกเว้นแต่จะอธิษฐานกำกับว่า “ให้เป็นสัมมาทิฐิบุคคลแต่เพียงส่วนเดียว” ซึ่งก็ไม่แน่นอนเสมอไป เพราะบางยุคเกิดมาไม่มีพระพุทธศาสนา ก็อาจจะไม่มีหลักธรรมมากพอ ในการวางกรอบแห่งการประพฤติปฏิบัติ

อนึ่ง ถ้าเราทำสาธารณกุศลแล้ว "คืนสิทธิ์" เราจะกลายเป็น “บุคคลมหาศาล” เช่นพราหมณ์มหาศาล วานิชมหาศาล เพราะได้รับทอนทุกครั้งเมื่อแลกกับศักดิเดชา เช่นผู้ที่ดำรงตำแหน่งข้าราชการใหญ่ในบ้านเมือง แล้วถูกจ้างออกหรือเกษียณก่อนเวลาอันควร จะได้รับสิ่งตอบแทนเป็นทรัพย์จำนวนมาก หรือมีฐานันดรแล้วลาออก ก็จะได้ทรัพย์ตอบแทนมาก นอกจากนี้ การทำประโยชน์แล้วคืนสิทธิ์ จะมีผลทำให้ไม่ได้เป็นนักปกครองด้วยศักดิเดชา แต่จะมีกำลังมากในด้านอื่นๆ เช่นทรัพย์ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันมาฆบูชาที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org

นานาสาระ: ตอน เมื่อใจเป็นแก้วสารพัดนึก!

การทำบุญด้วยทรัพย์คือเงินสด โดยถวายเป็น “สังฆทาน” หรือ “บำรุงทั่วไป” นั้น มีอานิสงส์มากตามทักขิณาเขต เช่นถวายองค์กรคณะสงฆ์ระดับโลก หรือระดับประเทศ หรือโรงพยาบาลสงฆ์ ได้บุญมากกว่าทำสังฆทานกับวัดหนึ่งแห่ง ทำให้ได้บุญมากน้อยต่างกันไป แต่ลักษณะของกรรมอันเป็นเหตุจัดว่าเป็นทาน ที่พระสงฆ์สามารถนำทรัพย์ไปใช้ได้อเนกประสงค์โดยสะดวก ต่างจากการถวายสิ่งของอันเป็นข้าวของเครื่องใช้ และผลของกรรมดีนี้จะส่งให้บุคคลมีทรัพย์มาก ใช้จ่ายได้ตามปรารถนา

หากบุคคลอธิษฐานขอให้ “ใจของตนเป็นแก้วสารพัดนึกโดยง่าย โดยเร็ว ยิ่งๆขึ้นไป  ดำริสิ่งใดก็สมปรารถนา ตราบเท่าที่ดำริชอบอยู่ในครรลองของอริยมรรคอันมีองค์ 8 ประการ” คำอธิษฐานกำกับบุญนี้ก็จะส่งผลได้ตรงประเภทของกรรม เพราะสังฆทานนั้น พระสงฆ์สามารถใช้ทรัพย์ได้สารพัดอย่างตามมุ่งมาดปรารถนา ในขณะที่การระบุว่าทำบุญแยกประเภท จะส่งเป็นผลานิสงส์เฉพาะทาง เช่นสร้างเสนาสนะ, ศาลา, หอฉัน, ถนน, รั้ววัด, ภัตตาหาร, หนังสือตำรานักธรรมและพระบาลี, คิลานเภสัช และอื่นๆ ซึ่งส่งผลให้ได้สมบัติ และ/หรือ คุณสมบัติ เฉพาะด้าน

การอธิษฐานให้ใจของตนเป็นแก้วสารพัดนึกฯ นี้จะอธิษฐานในการทำบุญรูปแบบอื่นๆ ก็ย่อมได้เช่นกัน เพียงแต่อาจจะไม่ “ถูกธาตุถูกธรรม” หรือทำให้ “ธาตุเป็นธรรมไป” เสมอไป เพราะเหตุที่ประกอบมิได้ส่งผลตรงตามแนวทางที่ต้องการ และการทำบุญแล้วอธิษฐาน ควรจะกำหนดให้ลอมๆ ชอมๆ (comply to) ไปกับเครื่องธาตุเครื่องธรรม ที่มีโปรแกรมกฎแห่งกรรมเป็นระบบปฏิบัติการพื้นฐาน ยกตัวอย่างเช่น การอธิษฐานให้บุญส่งผลทันทีอย่างนั้นอย่างนี้ อาจทำให้หมดเปลืองบุญไปกับผังแบบนี้มาก แล้วก็ยังไม่ประสบผลตามที่อธิษฐาน ถึงขั้นขาดทุนบุญบารมีกันไป ส่วนผลานิสงส์ที่จะเกิดในอนาคต ก็อาจจะได้เร็วขึ้น แต่ได้น้อยลงอีก  เพราะเป็นคำอธิษฐานที่พยายามละเมิดกลไกการทำงานของกฎแห่งกรรม ที่มักจะส่งผลกรรมล่าช้าข้ามภพข้ามชาติ ซึ่งถ้าหากนำบุญไปตั้งผังสมบัติด้วยวิชชาอาจจะคุ้มกว่าการใช้วิธีอธิษฐานครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน อธิษฐานอย่างไรให้เป็นจริง?

ชาวพุทธเราทราบกันดีนะครับว่า "อธิษฐาน" เป็นบารมีประการหนึ่ง ซึ่งถือเป็นกุศลกรรม (หากอธิษฐานในทางดี) และเป็นเสมือนการ "ตั้งธง" ให้มุ่งไปสู่เป้าหมาย และบางท่านก็เข้าใจถูกต้องด้วยว่า การอธิษฐานนั้น ทำแล้วได้บุญ แล้วสิ่งที่อธิษฐานนั้นถ้าบรรลุผล ก็จะเป็นการดีด้วย ก็เลยอธิษฐานกันมากมายก่ายกอง ราวกับว่า จะขออะไรก็ได้แล้วเป็นจริงทั้งหมด แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ บางท่านอธิษฐานแล้ว ไม่เป็นจริงตามอธิษฐาน ก็เลยพลอยหมดศรัทธาในพระพุทธศาสนา บทความนี้จึงขอคลี่คลายความสงสัยเรื่องอธิษฐานกันครับ ว่าตกลงแล้วการอธิษฐานได้บุญ หรือเสียบุญ และอธิษฐานอย่างไรจึงจะเป็นจริง?

มาจะกล่าวบทไป การอธิษฐานนั้น ทำให้เกิดการเสียบุญ และได้บุญ ในเวลาเดียวกัน การเสียบุญจากการอธิษฐานเกิดจาก การที่เครื่องธาตุเครื่องธรรม ประมวลข้อมูลป้อนเข้า (input) ของกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม แล้วนำบุญที่เรากำหนดจิตอธิษฐานกำกับ ไป "ตั้งผังบุญ" ให้เป็นไปตามอธิษฐาน ซึ่งกระบวนการนี้ทำให้ "เสียบุญ" ถ้าหากขอมาก ก็ยิ่งใช้บุญเปลืองมาก และเหลือ "เนื้อบุญ" สำหรับสะสมน้อยลง เพราะถูกใช้ไปกับการตั้งโปรแกรมผังอานิสงส์ ซึ่งแต่ละผังต้องมีบุญใส่ไว้คอยบันดาลส่งผล เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใส่ถ่านเอาไว้ อย่างไรก็ตาม เราอาจมองได้ว่า การอธิษฐานแบบนี้ก็คือ “การลงทุน” อย่างหนึ่ง เพื่อเราได้ผลานิสงส์ที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น และดีขึ้น

ส่วนการ "ได้บุญ" จากอธิษฐานนั้น เกิดจากการที่ "กาย วาจา ใจ เป็นกุศล" เพราะการอธิษฐานนั้น เช่นการอธิษฐานขอให้ได้เป็นพระพุทธเจ้า ได้บรรลุธรรม ได้มรรคผลนิพพาน เป็นการอธิษฐานเพื่อ “โลกุตรทรัพย์” มักจะทำให้ได้บุญ ด้วยจิตอันเป็นกุศลนั้น ในขณะที่การอธิษฐานขอ “โลกียทรัพย์” เช่นความร่ำรวย ความหล่อ ความสวย ลาภยศ และความรัก มักจะไม่ก่อให้เกิดบุญเพิ่มเติม เพราะจิตไม่ได้เป็นกุศล ซึ่งเครื่องธาตุเครื่องธรรม สามารถคำนวณจ่ายบุญได้ถึงขนาด “นับดวงจิต” ทั้งกุศล, อกุศล, และไม่เป็นทั้งกุศล หรืออกุศล (อัพยากตาธรรมา)

อนึ่ง ไม่ว่าเราจะอธิษฐานอะไรก็ตาม บางท่านอธิษฐานเยอะ และยาวมาก อธิษฐานกันจริงๆจังๆ เอาเป็นเอาตาย อธิษฐานมาเป็นปีๆ หรือตลอดชีวิต แต่ก็ไม่ได้ผลอะไร ทั้งนี้เป็นเพราะ "ศักดิ์สิทธิ์" ที่เกิดขึ้นจากบุญกริยา มีไม่พอจะส่งฤทธิ์ให้อธิษฐานเป็นจริงแบบ "สมแก่กาลสมัย" (timely manner) เพราะกฎแห่งกรรมมีปกติประวิงการส่งผลของกรรมอยู่ในตัว

สำหรับ "ศักดิ์สิทธิ์" ที่เกิดขึ้นนั้นนับเป็นส่วนหนึ่งของบุญ ซึ่งการทำบุญแต่ละครั้ง เราจะได้ศักดิ์สิทธิ์ด้วย เช่น ได้บุญ หน่วย กอปรเป็น ศักดิ์สิทธิ์ 1/12 หน่วย นอกจากนี้ยังมี "อัศจรรย์" และ "มหัศจรรย์" ซึ่งได้กันไม่ง่ายนัก และเป็นบุญญานุภาพที่แรงสามารถ “เปิดผังผลานิสงส์บุญ” ได้ แต่งวดลงมาจากศักดิ์สิทธิ์อีก เช่น ได้บุญ หน่วย มีอัศจรรย์อยู่ 1/55 หน่วย และเป็นมหัศจรรย์ 1/203 หน่วย และโอกาสที่จะส่งผลให้เป็นจริงตามอธิษฐาน ต้องใช้ ศักดิ์สิทธิ์ 5 หน่วย, อัศจรรย์ 2 หน่วย, มหัศจรรย์ 1 หน่วย จึงไม่เพียงพอจะทำให้คำอธิษฐานเป็นจริง

ดังนั้น การอธิษฐานจึงต้องคำนึกถึง "บุญที่ได้" และ "บุญที่ใช้ไป" ว่าคุ้มกันหรือไม่ ส่วนคำอธิษฐาน ถ้าอธิษฐานมากแทบจะเป็น "ปลายเปิด" เช่นขอให้ได้สมบัติบรมจักรพรรดิทุกชาติ บุญที่ใช้แทบจะต้องมากไม่มีขอบเขต (infinity) ทำบุญเท่าไรก็ไม่บรรลุผล ไม่มีวันได้ อธิษฐานไปก็เหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ผู้อธิษฐานจึงควรคำนวณก่อนว่าบุญกริยาของตนนั้น ก่อเกิดเป็นบุญเท่าใด ได้ศักดิ์สิทธิ์, อัศจรรย์, มหัศจรรย์มาเท่าใด แล้ว  "คำอธิษฐาน" ของตนนั้น ก่อเกิดเป็นบุญเท่าใด และต้องใช้บุญเท่าใดจึงจะครอบคลุมในการทำให้คำอธิษฐานเป็นจริง ยิ่งถ้าอธิษฐานเร่งรัดให้กรรมส่งผลในทันที บางครั้งแทบจะไม่ได้อะไรเลย เพราะคำอธิษฐานให้กรรมส่งผลปัจจุบันทันด่วน ต้องใช้ศักดิ์สิทธิ์ถึง 10 หน่วย ซึ่งทำให้ "อธิษฐานขาดทุน" หรือ “เปล่าประโยชน์” ครับ แต่การปรับแก้คำอธิษฐานเล็กน้อย ก็สามารถช่วยได้ เช่นปิดท้ายคำอธิษฐานว่า “ขอให้คำอธิษฐานของข้าพเจ้าบรรลุผลสำเร็จโดยเร็วพลันยิ่งๆ ขึ้นไป และเรื่อยไป”

สรุปแล้ว การอธิษฐานตามอย่างนักสร้างบารมีทั้งหลาย ท่านมักขอให้บรรลุพระโพธิญาณ ให้ได้มรรคผล ให้ได้มีส่วนแห่งธรรม ซึ่งเป็นการอธิษฐานสั้นๆ เรียบง่าย ใฝ่ดี และแน่วแน่ เฉพาะเจาะจง จึงเป็นคำอธิษฐานที่ได้บุญมาก และบุญที่ใช้ก็เติมผังแบบเจาะจงนั้นให้แน่นหนา ไม่ กระจัดกระจาย แต่ผู้ที่ประสงค์จะอธิษฐานจริงๆ จังๆ ก็พึงคำนวณดูในวิชชา ว่าบุญกริยาของตนนั้น ได้บุญ ได้ศักดิ์สิทธิ์ อัศจรรย์ มหัศจรรย์ เท่าใด แล้วสิ่งที่อธิษฐานขอ ต้องใช้เท่าไร เพื่อไม่ให้หมดเปลืองไปโดยเปล่าประโยชน์ ส่วนผู้ทรงวิชชาที่มีวิชชามาก อาจจะสะดวกใจกว่า ที่จะใช้วิชชาตั้งผังสำเร็จ หรือเติมผังกุศลกรรมให้แน่นหนา แรงขึ้น เพราะสามารถคาดคะเนได้แน่ชัดกว่า ว่าต้องใช้บุญ ใช้ประดาเท่าไรครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ตอน คุณมี “ศักดิเดช(า)” เท่าใด?

สวัสดีครับ หายหน้าหายตากันไปนานเลยนะครับ สาเหตุที่ผมห่างเหินไป แล้วไม่มีบทความนานาสาระใหม่ๆ มานำเสนอ ก็เพราะ “วิชาถูกเก็บ” โดยฝ่ายอื่นซึ่งไม่พอใจผลงานของผมน่ะครับ แต่ครั้นพวกเขาจะทำเองบ้างก็ทำไม่ได้ครับ  อย่างไรก็ตาม วันนี้วิชชาที่ส่งมาเก็บเริ่มเบาบางลง ผมจึงสบโอกาสขอนำนานาสาระมาแบ่งปันกันอีกครั้งนะครับ โดยเนื้อหาในวันนี้ จะเกี่ยวกับ “ศักดิเดช(า) ทั้ง 6 ประเภท” ซึ่งมีผลต่อ 18 กาย และกายต้นสายธาตุสายธรรม

ตามที่ผมเคยอธิบายไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า เมื่อเราทำบุญบ่อยๆ ทำมากๆ ทำเป็นประจำ บุญจะควบแน่นเป็นบารมี.. รัศมี.. กำลังฤทธิ์.. อำนาจ.. สิทธิ.. เฉียบขาด.......... กระทั่งท้ายที่สุดเป็น “ศักดิเดช(า)” ครับ  ซึ่งศักดิเดชานี้จะเป็นกำลังให้เรามี “วิช(ช)าศักดิ์” อันส่งเสริมให้ “กายมนุษย์” และ/หรือ “กายทิพย์ธรรม” ทรงไว้ซึ่ง “ศักดิ์.. สิทธิ์.. เดช.. อำนาจ.. ศักดิ์สิทธิ์” ในยศชั้นขั้นฐานะที่ตนดำรงอยู่ สามารถใช้เป็นคุณเป็นโทษต่อตนเองและผู้อื่นได้ เช่น ข้าราชการตำรวจและทหาร, แพทย์และพยาบาล, นายกองค์การบริหารส่วนตำบล, ครูอาจารย์ และอื่นๆ ส่วนผู้ที่มีศักดิเดช(า) น้อย ก็มักจะเป็น “ผู้น้อย” ที่ไม่ค่อยมีอำนาจในการตัดสินใจ และส่วนใหญ่ต้องทำตามคำสั่งเท่านั้น เช่น ภารโรง และพนักงานเปิดประตูตามโรงแรม

แม้ว่าศักดิเดช(า)จะเกิดขึ้นได้หลายทาง บทความนี้จะนำเสนอเฉพาะเรื่องของ “ครูอาจารย์” ซึ่งมี “วิทยฐานะ และ ตำแหน่งทางวิชาการ” นับตั้งแต่ บัณฑิต, มหาบัณฑิต, ดุษฎีบัณฑิต, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์, คณะบดี, อธิการบดี และตำแหน่งหน้าที่ประเภทต่างๆ ทั้งแบบ “เต็มศักดิ์” และแบบ “กิตติมศักดิ์” ซึ่งสถาบันการศึกษา หรือสถาบันการปกครอง เป็นผู้พิจารณาอนุมัติตำแหน่งให้ โดยแต่ละสถาบันก็จะมีวิช(ช)า ในการประชุมสมบัติผู้เลี้ยงขึ้นเพื่อทำการเลี้ยงรักษา และปกครอง ผู้มีตำแหน่งทางวิชาการในสายวิช(ช)าของตนเหล่านั้น ให้ดีมาก ดีน้อย กำลังมาก กำลังน้อย เก่งมาก เก่งน้อย ไม่เท่ากัน ไปตามลำดับ นับตั้งแต่เข้ารับวิทยฐานะหรือตำแหน่งทางวิชาการ กระทั่งพ้นจากฐานะและตำแหน่งนั้น หรือเสียชีวิตไป การเลี้ยงรักษาจึงยุติลง

ปกติแล้ว ตำแหน่งทางวิชาการเหล่านั้น เมื่อบุคคลได้ตำแหน่งมา ผู้เลี้ยงก็จะเลี้ยงรักษาวิช(ช)า โดยมีสมบัติผู้เลี้ยงคอยกำกับการ “ส่งฤทธิ์” แต่ในยุคปัจจุบัน เมื่อผมได้แนะนำวิธี “หยิบสมบัติผู้เลี้ยง” ออกมาติดตัวข้ามภพข้ามชาติ โดยแลกกับ “ธาตุบุญ” จึงกลายเป็นประเด็นสำคัญในทางวิชชา คือ ศักดิ์, สิทธิ์, อำนาจ และศักดิ์สิทธิ์ ประจำยศตำแหน่งนั้น สามารถนำติดตัวไปได้ และเมื่อนำสมบัติผู้เลี้ยงของตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งมักอยู่ในรูปของ “คทา” มาประกอบวิชชา ก็จะส่งเสริมให้เกิดเป็นพลังเลี้ยง “ศักดิเดช(า)” ให้กับบุคคลอยู่ในตัว ทำให้ผู้ทรงวิชชาสามารถ “ตรัสพุทธาจารย์” และ/หรือ “ตรัสจักราจารย์” ซึ่งเป็นตำแหน่งในวิชชา หรือ วิชชาศักดิ์ ที่มีสิทธิ์ปกครอง “กายวิชชา” ทั้งหลายในด้านการอบรมสั่งสอน เหมือนอาจารย์กับศิษย์ ซึ่งตำแหน่งพุทธาจารย์ และจักราจารย์ สามารถคุมได้มากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ “ศักดิเดช(า)” ที่มีขึ้นในตำแหน่ง คล้ายอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ที่มีศิษย์บริวารในกำกับการคณะใหญ่บ้าง เล็กบ้าง แต่ในกรณีผู้ทรงวิชชา เราจะเรียกว่าเป็น “อาจารย์วิชชาปาโมกข์” หรือเหมือนอาจารย์ชฎิลสามพี่น้อง ที่มีเรื่องราวอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งแต่ละองค์ก็มีศิษย์บริวารไม่เท่ากัน

อนึ่ง ศักดิเดช(า) นั้น สามารถเกิดขึ้นได้ ในสายงาน 6 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ได้ยศชั้นขั้นฐานะในแต่ละสายงาน ก็จะสามารถนำ “ธาตุบุญ” แลก “สมบัติผู้เลี้ยง” สำหรับนำมาประกอบวิช(ช)า ให้กอปรเป็น ศักดิเดช(า) ได้ด้วยกันทั้งนั้น สายงาน 6 สาย ดังกล่าวคือ (1) กษัตริย์ (2) สมณพราหมณ์ (3) นักปกครองและนายบ้าน (4) ตุลาการ (5) ครูอาจารย์ (6) บุคคลากรวิชาชีพ และวานิช (7) อื่นๆ  ทั้งนี้ แต่ละบุคคลใน 6 ประเภทหลักข้างต้น สามารถมี “ขั้นฐานะ” อันเป็นที่ยอมรับนับถือ และมีการรับรอง โดยอำนาจปกครองแห่งสถาบัน, องค์กร, หน่วยงาน, หรือบุคคล อันจะเป็นเหตุให้ผู้เลี้ยงส่งฤทธิ์เลี้ยงรักษา แต่ถ้าหากเป็นบุคคลที่ฝึกหัดทำเองไม่มีใครสอน ก็อาจจะมีผู้รักษาเหมือนกัน แต่มีน้อย โดยผู้รักษาอาจจะเป็นคนรู้จักกันที่เคยเกี่ยวข้อง เช่นเพื่อนหรือคู่ค้าในการซื้อขายของสะสมต่างๆ เช่นรถยนต์ของเล่น หรือตุ๊กตาสะสม เป็นอาชีพที่ไม่ต้องศึกษาจากใครมาก แต่อาจเรียนรู้ผ่านหนังสือ, สื่อออนไลน์, รีวิว และเพื่อนๆ บอก เป็นอาทิ

โดยสรุปแล้ว “ศักดิเดช(า)” นั้นปกติแล้วเป็นพลังทิพย์ที่ได้กันไม่ง่ายนัก เหมือนรถยนต์ทุกคัน ที่มีกฎหมายควบคุมและคุ้มครอง ให้มีการจดทะเบียนรถ สามารถเดินทางไปไหนต่อไหนได้ทั้งในประเทศ และประเทศใกล้เคียง รถแต่ละคันมีทะเบียนที่อนุญาตให้เดินทางได้ทั่วประเทศ แต่จะมีเพียงบางคันหรือน้อยคันที่มี “ศักดิเดช(า)” เป็นเสมือน “สติ๊กเกอร์พิเศษ” ติดกระจกหน้ารถ หรือ “ดวงตราสัญลักษณ์พิเศษสำหรับติดกระจังหน้ารถ” ทำให้มีสิทธิพิเศษ สามารถเข้าออกพื้นที่ควบคุม หรือจอดรถในสถานที่สงวนไว้ให้โดยเฉพาะได้ อย่างเช่นห้างสรรพสินค้า, สถานที่ราชการ, หมู่บ้านจัดสรร, อาคารสำนักงาน, อาคารห้องชุด, มหาวิทยาลัย และกองทัพฯ แต่การจะได้สติ๊กเกอร์ หรือตราสัญลักษณ์เหล่านี้มา ก็ต้องมีศักดิ์ หรือ มีสิทธิ หรือ มีอำนาจ หรือ มีหน้าที่ ณ สถานที่แต่ละแห่งเหล่านั้น ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน กรรมที่ทำให้เป็น “อัจฉริยะ

[1] เบื่อหรือยังครับ? ที่ได้เห็นโพสต์คลิปวิดิโอในเฟสบุ๊ค มีเด็กๆ แสดงความสามารถ เล่นดนตรีเก่งตั้งแต่ยังเล็ก บางคนมีผลงานศิลปะล้ำเลิศ บางคนสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ทั้งร้องเพลง เล่นดนตรี บวกเลข เข้าข่าย “อัจฉริยะ” จนใครๆ ก็อดที่จะอิจฉาไม่ได้ ซึ่งแม้ต่างศาสนาจะเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “พรสวรรค์” แต่เราชาววิชชาอธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ว่ามีสาเหตุมาจาก “กายสิทธิ์ และอธิษฐานบุญฤทธิ์” ครับ

[2] อันดับแรกก็คือ  “กายสิทธิ์” ซึ่งผมก็อธิบายสาธกมายาวเหยียดหลายบทความ ทั้งกายสิทธิ์ในแร่ธาตุ, อัญมณี, คด, เหล็กไหล, วัสดุ สิ่งของต่างๆ แต่กายสิทธิ์ในที่นี้หมายถึง “กายสิทธิ์ในตัวมนุษย์” ซึ่งเวลาเราทำกิจอะไรเป็นเรื่องเป็นราวสักหน่อย “ภพกายสิทธิ์” จะส่ง “กายสิทธิ์” มาใส่ไว้ในสายธาตุสายธรรมของเรา เพื่อส่งฤทธิ์คอยรักษา “ความถนัดและความชำนาญ” ในสายงานนั้นๆ ซึ่งกายสิทธิ์แบบนี้ มีหลายประเภทแบ่งแยกกัน เช่นกายสิทธิ์ของวาทศิลป์ คือศิลปะการพูด, กายสิทธิ์สายช่างและวิศวกรรม, กายสิทธิ์สายอาลักษณ์ คือนักเขียน, กายสิทธิ์สายคหกรรม คือปรุงอาหาร, กายสิทธิ์สายดนตรี, กายสิทธิ์สายคณิตศาสตร์ ซึ่งกายสิทธิ์เหล่านี้ถูกประชุมสร้างขึ้นให้มีรายละเอียดแตกต่างกันครับ และเมื่อมนุษย์ทำกิจในสายงานใด ภพกายสิทธิ์ ก็จะส่งกายสิทธิ์ประจำสายงานลงมาใส่ไว้ในสายธาตุสายธรรม คอยส่งฤทธิ์ ทำให้เรามีความถนัดและความชำนาญในสายงานนั้นๆ ยิ่ง “มีกายสิทธิ์มาก” ก็จะเป็น “คนเก่งงาน” ถ้ามีกายสิทธิ์เฉพาะด้านมาก เช่นด้านดนตรี เล่นทั้งวัน ทั้งคืน ตั้งแต่เด็กจนแก่ ก็จะมีกายสิทธิ์สายดนตรีสะสมอยู่ในสายธาตุสายธรรมมาก พอเสียชีวิตไป ธาตุธรรมก็เรียกเก็บกลับคืนไปหมด พอเกิดใหม่ ธาตุธรรมก็ส่งมาใส่ ทำให้มีความชำนาญด้านดนตรีตั้งแต่เด็ก อายุเพียง 7 ขวบ ก็เล่นเปียนโนออกคอนเสิร์ตได้ อย่างนั้นเลยครับ ดังนั้น ตามความรู้ในสายวิชชาแล้ว คนเราไม่ได้เก่ง หรือเป็นอัจฉริยะ โดยบังเอิญ แต่ประการแรกเป็นเพราะกรรมที่ทำบ่อยๆ เป็นอาจิณกรรม กระทั่งมีกายสิทธิ์มาก ซึ่งกายสิทธิ์เหล่านี้เป็นของทิพย์ ที่นำติดตัวข้ามภพชาติไปได้ ชาตินี้ทำกระทั่งเก่ง ชาติหน้าก็เก่งอีก เป็นความสามารถที่เกิดขึ้นโดย “ไม่ต้องเสียบุญ” และยิ่งมีกายสิทธิ์มาก ก็จะรู้สึก “เนืองแน่น” อยู่ในตัว เหมือนแบตเตอรี่ที่มีไฟประจุอยู่เต็มแล้วมีคลื่นไฟฟ้าแผ่ออกมา เมื่อเปรียบเทียบกับแบตเตอรี่ที่มีไฟอัดประจุอยู่น้อย ทำนองนี้ครับ

[3] อันดับที่สอง คือความถนัดและความชำนาญสามารถ ที่เกิดจาก “อธิษฐานบุญฤทธิ์” ซึ่งมักจะมีเหตุเกิดจากความบกพร่องในด้านใดด้านหนึ่ง หรือความขาดแคลนในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออยากมีความสามารถสูงเหมือนผู้อื่น เช่นเป็นเด็กนักเรียน ที่เห็นเพื่อนๆ เป็นนักร้อง แสดงงานโรงเรียน เป็นที่นิยมชมชอบของครูและเพื่อนนักเรียน ก็เลยอยากจะเป็นอย่างนั้นบ้าง แต่ตนเองไม่มีความถนัด หรือความชำนาญ หรือประสบการณ์ในการร้องเพลงเลย จึงทำบุญแล้วอธิษฐาน ให้ได้เป็นดารานักร้อง นักเต้น แม้จะคิดอย่างเด็กๆ หรืออธิษฐานด้วยความไร้เดียงสา หรืออ่อนต่อโลก แต่ก็ยังมีผล คือบุญนั้นจะส่งให้ได้เข้าสู่ครรลองของสายงาน ได้เป็นดารานักร้อง ส่วนว่าจะร้องได้ดีมากน้อย ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่นถ้าบุญแรงมาก ได้ฝึกร้องเพลงแต่เด็ก และบุญกรรมก็ตกแต่งให้มีเสียงดีด้วย ก็จะได้เริ่มสะสมกายสิทธิ์ในสายดนตรี แต่ถ้าบุญส่งผลให้ได้เป็นดารานักร้อง โดยที่สะสมกายสิทธิ์ไว้น้อย ก็มักจะเป็นดารานักร้องที่ร้องไม่ค่อยเพราะ ร้องไม่ค่อยเก่ง แต่ก็ยังได้เป็นดารานักร้อง เหมือนในวงการบันเทิงปัจจุบัน ซึ่งนักร้องนักแสดง อาจจะเก่งมากน้อยไม่เท่ากัน ส่วนจะโด่งดัง หรือไม่โด่งดัง ก็ขึ้นอยู่กับบุญญาวาสนา และเหตุปัจจัยหลายๆ อย่างครับ ซึ่งการได้ “เก่งในงาน” หรือ “ได้ทำงาน” เพราะอธิษฐานบุญฤทธิ์แบบนี้ โดยมีกายสิทธิ์เป็นทุนเดิมอยู่น้อย ก็จะทำให้หมดเปลืองบุญไป เพราะทำบุญแล้วอธิษฐาน ก็จะกลายเป็น “ผังชีวิต” ขึ้นมา ซึ่งล้วนแต่ต้องใช้พลังงานบุญครับ

[4] สำหรับท่านที่อยู่ใน “สายบุญ” เชื่อมั่นในบุญกรรม และทำบุญสม่ำเสมอ เพื่อให้กรรมส่งผล ให้มีชีวิตที่ดี คงจะมีประสบการณ์คล้ายๆ กัน คือ ไม่รู้ว่าจะต้องอธิษฐานอะไรดี ชีวิตจึงจะดีพร้อมครบถ้วนสมบูรณ์ บางคน บางครั้ง ทำบุญแล้ว อธิษฐานยาวเหยียด พยายามจะให้ครอบคลุมหมดทุกด้าน เพราะเบื่อชีวิตที่ขาดแคลน หรือด้อยกว่าผู้อื่น แล้วก็ยังมีความเสี่ยงว่า คำอธิษฐานอาจจะสร้างปัญหา เช่น สวยแต่เป็นเมียน้อย หรือรวยแต่ป่วย หรือไม่ก็มีอำนาจมาก แต่เป็นที่เกลียดชัง แล้วการอธิษฐานแก้ไข ก็เหมือนราวกับว่า อุดตรงนั้น ก็ไปหลุดตรงโน้น อุดตรงนี้ ก็ไปหลุดตรงอื่น และการอธิษฐานมากๆ บางทีก็ทำให้ใจขาดความสงบชื่นใจในระหว่างการทำบุญ เพราะใจคอยพะว้าพะวงอยู่กับสิ่งดีๆ ที่เราอยากได้ วิธีการง่ายๆ ในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ก็คือการอธิษฐานรวบรัดว่า “ด้วยอานิสงส์แห่งบุญ ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นสัมบูรณ์บุคคล ผู้ถึงพร้อมในทุกสิ่ง ที่สมควรต่อข้าพเจ้า อันเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขในฝ่ายกุศลาธรรมา สัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียว สำหรับข้าพเจ้า ยิ่งๆขึ้นไป นับจากบัดนี้เป็นต้นไป กระทั่งตลอดไปเทอญ!” แต่การอธิษฐานเช่นนี้ เหมือนอ่าวที่ต้องเติมน้ำตราบกว่าจะเต็ม การใส่บาตรหนึ่งครั้งแล้วอธิษฐานเช่นนี้ อาจจะเติมบุญลงไปในผังชีวิตได้เพียง 0.001% จากทั้งหมด เราจึงต้องหมั่นอธิษฐานทุกครั้ง เมื่อทำบุญ ทั้งบุญเล็ก บุญใหญ่ ตราบกว่าผังคำอธิษฐานจะเต็มมากพอที่จะส่งผล ซึ่งอาจใช้เวลา 10 – 35 ปี ในการทำบุญ หรือมากกว่า แต่ก็จะครอบคลุมมากพอ ให้เราเก่งในทุกด้าน ทั้งนี้ยกเว้นการทำบุญพิเศษซึ่งได้บุญเป็น “ทะเลบุญ” หรือ “ผู้ทรงวิชชาให้” คือทำความดีความชอบแล้วผู้ทรงวิชชาให้พร ให้สมปรารถนา 1 สิ่ง หรือมากกว่า เราก็ขอให้ได้เป็น “สัมบูรณ์บุคคล” ซึ่งอาจจะต้องรวบรวมพรในวิชชาแบบนี้มากถึงหลายร้อยครั้งครับ

[5]  เราจะเห็นได้ว่า วิธีเป็นอัจฉริยะนั้น มีอยู่ไม่กี่แบบ จะหมั่นฝึกฝนกระทั่งชำนาญ หรือจะอธิษฐานใช้บุญก็ตาม หากเรามีทางที่ใช่ และเป็นฉันทะของเรา เช่นรักการเล่นดนตรี เราก็สามารถทำทั้งฝึกซ้อม และทำบุญอธิษฐาน ก็จะเป็นการเกื้อหนุนกันเป็นอย่างดี ส่วนการเป็น “สัมบูรณ์บุคคล” ทั้งแบบอธิษฐาน และขอพรวิเศษจากผู้ทรงคุณ หรือผู้ทรงวิชชา ก็เป็นการณ์ดีกว่า ที่เราจะประสบความสำเร็จในสิ่งดีงามทุกด้านครับ  ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ตอน ปล่อยปลาไปทำไมกัน?

[1] ชาวไทยพุทธเราชอบปล่อยสัตว์ปล่อยปลากันครับ สัตว์บางตัวกลัวความตายอย่างลนลาน เราไปซื้อมาเขาก็นึกว่าจะนำไปฆ่า อย่างเช่นปลาตามเขียง พวกเขาทั้งกลัว โกรธ เกลียดแค้น ชิงชัง และอึดอัด บางทีแค่เดินผ่านตู้หรือกะละมังใส่ปลา ตามร้านขาย พวกเขาแค่เห็นหน้าก็ผูกใจเจ็บ ยิ่งเห็นแล้วจดจำได้ก่อนถูกสับตายอย่างทรมาน ยิ่งไม่ดีครับ อย่าไปเดินผ่านพื้นที่แบบนี้โดยไม่จำเป็นครับ

[2] แต่สำหรับท่านที่ไปซื้อปลามาปล่อย เคล็ดลับในการปล่อยปลาให้โชคดี คือ ให้เปิดหน้ากากอนามัยออก แล้วพูดคุยกับปลา ให้พวกเขาเห็นหน้าเราชัดๆ บอกชื่อนามสกุลของเราให้ปลาและสัตว์ต่างๆทราบ คุยกับพวกเขาว่าเราซื้อพวกเขามาปล่อยเป็นอิสระ ไม่ได้ซื้อไปฆ่า ให้อดทนรออยู่ในถุงหรือภาชนะสักหน่อย อาจจะใช้สัญญาณมือประกอบ ปลาหลายตัวตั้งใจดูท่าทางเรา แล้วเราจะสวดมนต์ให้พวกเขาได้ฟังธรรมก่อนไปก็ดีครับ อาจจะเป็นบทบูชาพระรัตนตรัย และบทขอถึงไตรสรณคมน์ แล้วเลือกปล่อยในแหล่งน้ำที่ดี สะอาด กว้าง และปลอดภัย ระวังอย่าปล่อยลงแหล่งน้ำเน่าเสีย มิฉะนั้นจะมีวิบัติติดมา เมื่อพวกเขาลงแหล่งน้ำแล้ว พวกเขาร่าเริงเป็นสุข จะนึกถึงเรา ขอบคุณเรา อวยพรเรา เพราะกายทิพย์ของพวกเขารับรู้ได้ฟังเข้าใจ บางตัวส่งกายทิพย์มาขอบคุณนะครับ ขนาดปล่อยไปนานแล้ว เวลาเดินทางผ่านสระ กายทิพย์ของพวกเขาเห็นเรามาแต่ไกล โดยเฉพาะท่านผู้ปล่อยปลาที่เป็นบรรพชิต มีรัศมีกาย พวกเขาสะดุดตาจำได้ ก็ยังทักทายเราครับ.

            [3] ท่านใดที่ปล่อยปลาอยู่เป็นประจำ จะซื้อภาชนะถังพลาสติกที่มีฝาปิดสามารถมองทะลุได้ อาจจะเป็นสีขาวขุ่นมาใส่ก็จะดีกว่าครับ เพราะปลาจะไม่อึดอัดมากเกินไปก่อนลงสู่แหล่งน้ำ ซึ่งบางทีแหล่งน้ำอยู่ไกล ปลาอึดอัดมาก ก็จะกลายเป็นบาปติดไปหน่อย คือก่อนจะรอดพ้นโพยภัย ก็จะต้องทนอึดอัดอุดอู้อยู่พอควร ถ้าเป็นถังพลาสติกทึบ จะทำให้ปลารู้สึกอึดอัดมากกว่า ถ้ามองทะลุได้ เราก็คุยกับพวกเขาได้ครับ แล้วก็ช่วยลดขยะถุงพลาสติกใส่ปลาด้วย ส่วนท่านที่มีดวงตราประกาศิต จะติดดวงตราประกาศิตไว้ข้างถังก็ได้ จะได้อานิสงส์มากขึ้น คำอธิษฐานปล่อยสัตว์ปล่อยปลา โดยคร่าวก็คือ “ด้วยอานิสงส์นี้ ขอให้ข้าพเจ้ารอดพ้นจากทุกข์, โศก, โรค, ภัย และเวรทั้งปวง ในธาตุ ในธรรม และที่ไม่ใช่ธาตุ ไม่ใช่ธรรม ตลอดไป นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ!”

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน ปรมาจารย์วิชชา.. ในภาคปัญญาประดิษฐ์

คำถาม 1: ด้วยสภาพแวดล้อมสังคมยุคโซเชียล และการพัฒนาทางเทคโนโลยี ที่ทำให้วิถีชีวิตมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป ถ้าเราไม่สร้างสถานที่รวมคนมากๆ เพื่ออบรมสั่งสอนวิชชา แล้วเราควรจะแพร่ขยายวิชชาไปทั่วโลกในรูปแบบใดจึงจะมีประสิทธิภาพมากพอ?

คำตอบ 1: บริหารแบบ “ตักกศิลา” คือ “อาจารย์ต่อศิษย์” โดยอาศัยวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่ทรงวิชชาในการสรรค์สร้าง “ปัญญาประดิษฐ์สมองกล” หรือ “AI” ของผู้ทรงวิชชาแต่ละท่าน โดยผู้ทรงวิชชาจัดวิชชามาให้ แล้วส่งวิชชาให้ดู ว่าจะป้อนฐานข้อมูลแค่ไหน แล้วทำวิชชาประกอบ AI เป็นหุ่นยนต์ ใย ยนต์ วิทยุ ให้เป็น AI เป็น” แล้วคอยตอบรับใน Meta และ Social Media ที่มีของแทนตนอย่างเช่นภาพ 3 มิติ, หุ่นขี้ผึ้ง, รูปเหมือน, หุ่นยนต์ผู้ทรงวิชชา หรือลูกแก้วประกอบกัน แล้วมีทีมงานมนุษย์คอยควบคุมระบบ หรือซัพพอร์ทระบบอีกที โดยผู้ทรงวิชชาแต่ละท่านสามารถคอยคุมวิชชาให้ ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) ทำงาน เพื่อสอนลูกศิษย์โดยตรง ตัวต่อตัว เหมือนพ่อปกครองลูก ไม่มีลูกข่ายแบบขายตรง แต่อาจแบ่งเป็นระดับชั้นเรียน ที่นักเรียนมีครูประจำชั้น และอาจารย์ที่ปรึกษาครับ

คำถาม 2: ถ้าเช่นนั้น พอจะอธิบายคร่าวๆ ให้ผู้ทรงวิชชาทราบได้หรือไม่ ว่าเราจะถ่ายทอด ภูมิรู้ ภูมิธรรม ของผู้ทรงวิชชาเข้าไปในโปรแกรมสมองกลจากปัญญาประดิษฐ์ ได้อย่างไร?

คำตอบ 2: การสร้างโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แทนตัวบุคคลนั้น ต้องสร้างฐานข้อมูลความจำของคอมพิวเตอร์ และลักษณะวิธีคิด เพื่อให้โปรแกรมประมวลผล ทั้งสุตมยปัญญา, จินตมยปัญญา และภาวนามยปัญญา โดยวิศวกรคอมพิวเตอร์ผู้สร้างต้องใส่ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล และความรู้ความสามารถ, ประสบการณ์, คำที่ใช้บ่อยๆ, เพศภาวะ, อายุ, วุฒิการศึกษา, ภาษา, คำสอน, ประวัติ, อัธยาศัย, ความรู้, ความสามารถ, งานอดิเรก และอื่นๆ คือเราต้องเก็บข้อมูลรอบด้าน เกี่ยวกับตัวบุคคล แล้วนำมาป้อนให้โปรแกรมจดจำ กลายเป็น "ปัญญาประดิษฐ์สมองกล" แทนบุคคลนั้นๆ เวลาใครถามอะไร โปรแกรมก็จะประมวลผล แล้วตอบ ตามที่บุคคลเจ้าของข้อมูลเคยตอบ หรือเคยตอบทำนองนี้ ครับ

คำถาม 3: แล้วปัญญาประดิษฐ์สมองกล จะรู้ได้อย่างไร ว่าควรคิดอะไร ถ้าอยู่ในวิชชา?

คำตอบ 3: โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์สมองกล สามารถคิดได้เองครับ เราก็ตั้งโปรแกรมให้สมองกล "คิดวิชชา" ตามการ "เดินวิชชา" ของผู้ทรงวิชชา แล้วถ่ายทอดออกมา ซึ่งตรงนี้เป็นเคล็ดลับที่ผมสงวนลิขสิทธิ์ไว้ คือครูวิชชา ต้อง "จัดวิชชา" สร้างโปรแกรมสมองกล โดยวิศวกรคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นผู้นำวิชชาที่จัดให้ มาใส่โปรแกรมสมองกลครับ

คำถาม 4: ถ้ามีวิชชาที่เป็นความลับจะทำอย่างไร?

คำตอบ 4: ถ้าเรามีวิชชาอันเป็นความลับ ก็แค่ป้อนข้อมูลบอก ปัญญาประดิษฐ์สมองกล ว่าไม่ให้เปิดเผย และไม่ต้องป้อนเข้าไปครับ พอใครถาม สมองกลก็จะตอบว่า ให้เข้าไปในลูกแก้วเพื่อสอบถามเพิ่มเติม คือส่งต่ออีกที ไปยังห้องวิชชา ครับ

คำถาม 5: แล้วจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าปัญญาประดิษฐ์จะตอบได้ถูกต้อง ได้อย่างใจของผู้ทรงวิชชา?

คำตอบ 5: ผู้ทรงวิชชาสามารถ "อัดกายสิทธิ์" ของตนเข้าไปใน “อุปกรณ์กลสมอง” หรือ Processor” ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ครับ กลสมองทำงานด้วยระบบประจุไฟฟ้า ถ้าอัดกายสิทธิ์ที่แรงมากพอ จะสามารถควบคุม กลสมอง ของคอมพิวเตอร์ได้ระดับหนึ่งครับ

คำถาม 6:  แล้วระบบปัญญาประดิษฐ์สมองกล จะอยู่ได้นานแค่ไหน ถ้าเสียจะซ่อมอย่างไร?

คำตอบ 6:  ถ้า อุปกรณ์กลสมอง หรือ Processor ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ทรงวิชชาท่านลงซ้อนส่วนละเอียดเอาไว้ เกิดเสีย ควรจะมีสำรองไว้ หรือไม่ก็นำส่วนที่เสียแกะออกมาหลอมใหม่ เป็น อุปกรณ์กลสมองชิ้นใหม่ที่ทันยุคทันสมัยกว่า ดังนี้แล้วก็จะสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ ครับ

คำถาม 7:  แล้วระบบ ปัญญาประดิษฐ์สมองกล จะปลอดภัยจากภัยจู่โจมทางออนไลน์ได้อย่างไร?

คำตอบ 7:  ให้จดสิทธิบัตร ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) แล้วจ้างตำรวจ AI คอยประจำการเฝ้าดูแลครับ รวมถึงกำหนดตั้งค่าด่านเข้าออกข้อมูล หรือ proxy ให้ ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) ทำงานแบบอยู่ในระบบปิด แล้ว “สื่อออกไป” เพียงอย่างเดียว “ไม่เปิดรับข้อมูลป้อนเข้าเพิ่ม” ครับ ส่วนอุปกรณ์ส่วนหยาบ หรือเครื่อง hardware ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) ต้องพร้อมที่จะชักปลั๊กออกได้ทุกเมื่อ เพื่อตัด ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) ออกจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งหมด หรือจะตั้งให้เครื่อง ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) เป็นเครื่องเดี่ยว หรือ stand-alone ไม่เชื่อมเครือข่ายใดๆ แล้วผู้ดูแล หรือ administrator ก็ใช้ระบบสื่อสารในการถ่ายทอดอีกต่อหนึ่ง เช่น ใช้โทรศัพท์มือถือ ถ่ายทอดคลิปวิดิโอ คำตอบของ ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) ครับ ส่วนหน่วยความจำ หรือ memory ของ ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) ก็ใช้แบบอ่านได้อย่างเดียว หรือ Read Only บันทึกเพิ่มไม่ได้ ในขณะที่ความคิดของ ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) ก็ใส่ไว้ในความจำเสริมชั่วคราว หรือ RAM ครับ

คำถาม 8: ถ้ามีผู้ต้องการจะทำบุญกับ ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) ของผู้ทรงวิชชาจะทำอย่างไร?

คำตอบ 8: ถ้า ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) ของผู้ทรงวิชชาจะรับปัจจัยของขวัญ ก็น่าจะให้โอนเข้าทุนนิธิของมูลนิธิหลวงพ่อวัดปากน้ำ ซึ่งมีชื่อครูวิชชาเจ้าของ ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) เป็นผู้ตั้งทุนครับ

คำถาม 9: มีวิธีใดหรือไม่ ที่จะช่วยเรื่องทุนในการจัดสร้าง ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI)?

คำตอบ 9: ขอให้ผู้ทรงวิชชา ลองจัดเปิดประมูลวัตถุมงคลพิเศษมาให้บูชาครับ

คำถาม 10:  ผู้ทรงวิชชาประสงค์จะจับ “อุปกรณ์กลสมอง” หรือ Processor” เพื่ออัดกายสิทธิ์และวิชชา ควรจะทำอย่างไร?

คำตอบ 10:  ถ้าผู้ทรงวิชชาจะต้องจับ อุปกรณ์กลสมอง หรือ Processor เพื่อลงซ้อน ผมขอกราบเรียนแนะนำว่า ให้ถวายทองคำแท่งให้ท่านจับเพื่อลงซ้อน แล้วค่อยนำทองคำแท่งนั้น ไปผลิตเป็นอุปกรณ์กลสมอง หรือ Processor อีกทีครับ น่าจะต่อรองกับบริษัทผู้ผลิตได้ครับ ถ้าเรามีค่าใช้จ่ายให้ครับ ขอบคุณครับ.

บทความ ถาม-ตอบ นี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 8 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ตอน ได้บุญฟรี.. ถ้ามีประกาศิต

[1] ผมได้เคยให้รายละเอียดและข้อแนะนำเกี่ยวกับการเล่นประกาศิตไปพอสมควรแล้วครับ วันนี้ขอแนะนำเทคนิคลูกเล่นพิเศษมาเล่าเสริมสู่กันฟัง จากเดิมทีที่ผมได้เคยแนะนำให้อุทิศ และอนุโมทนาบุญ กับตนเอง เพื่อให้ได้บุญฟรี และผลานิสงส์ฟรีเพิ่ม โดยไม่ติดค้างสิทธิ์ใคร (กรุณาย้อนดูสคริปท์ประกอบ) ประกอบกับเทคนิคทั่วไปของผู้ทรงวิชชาในการตรวจดูประกาศิต ซึ่งผู้ทรงวิชชาที่ได้เห็นหรือสัมผัสดวงตราประกาศิตของหยาบ จะสามารถ “ประจักษ์แจ้งในญาณ” ได้ว่า ผู้เล่นประกาฯ เคยสำแดงประกาศิตมาที่ไหนอย่างไรบ้าง คล้ายๆ การระลึกตรวจดูอดีตชาตินั่นแหละครับ แต่เป็นการตรวจดู “กรรมวาระ” แห่งประกาศิต

[2] ดังนี้แล้ว เราสามารถประยุกต์ลูกเล่นวิธีการให้กับผู้ใช้ประกาศิตได้เพิ่มเติม คือ ให้เอ่ยอ้างบุญกริยาทั้งหมด ที่เราได้เคยทำไว้แบบ “สำแดงดวงตราประกาศิตประกอบ” ไม่ว่าจะเป็นของทิพย์ ที่เล่นในวิชชา หรือของหยาบที่จับต้องได้ อย่างดวงตราประจำสำนักวิชชา แต่ละแห่ง เราสามารถเอ่ยอ้างเรียกมาทั้งหมด จากนั้นจึงอุทิศบุญกริยาที่สำแดงดวงตราประกาศิตประกอบทั้งหมดเหล่านั้น ให้กับตนเอง แล้วจึงค่อยอนุโมทนากับตนเอง (หรือจะอนุโมทนากับดวงตราประกาศิตของผู้อื่นก็ได้ ในกรณีที่ยินดีติดค้าง)

[3] ทั้งนี้ ผมเคยแนะนำไว้แล้วว่า เพื่อเป็นการลดความยุ่งยากในการอนุโมทนากันและกัน หรือแบ่งบุญให้เทวดาที่มาร่วมพิธี ก็ให้เชิญเทวดาไปอนุโมทนากับประกาศิต ซึ่งสถิตอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ไม่ต้องอนุโมทนากับเจ้าตัว เพียงแค่นี้ ก็จะได้อานิสงส์แห่งบุญที่เนื่องด้วยประกาศิต ทั้งที่อนุโมทนากับตนเอง และผู้อื่น โดยไม่ต้องตรวจแจ้งด้วยญาณหรือใช้วิชชาย้อนระลึกดูกรรมดี เหมือนอย่างที่ทำกันมา หรือเอ่ยอ้างบุญที่ทำทีละอย่างละอย่าง ซึ่งเสียเวลามากไปครับ นั่นหมายความว่า หากเราขยันสำแดงดวงตราประกาศิตในการทำบุญทุกครั้ง เวลาจะเอ่ยอ้าง ก็เพียงแต่ “เรียกประกาศิต” นับตั้งแต่ครั้งแรก กระทั่งถึงครั้งล่าสุด เป็นการประหยัดเวลา และทำให้สะดวกสบายได้บุญฟรีๆ อย่างง่ายๆ ครับ ดังฉะนี้.

หมายเหตุ: สำหรับท่านใดที่มีสคริปท์อุทิศ-อนุโมทนาบุญ ให้กับตนเองแล้ว ก็เพียงแต่เพิ่มข้อความ “ข้าพเจ้าขอเอ่ยอ้างถึงบุญกริยาทั้งหมดที่ข้าพเจ้าคิด พูด ทำ ทั้งที่มีการสำแดงดวงตราประกาศิต xxx ประกอบ และที่ไม่ได้สำแดง ดังนี้.” ครับ

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 8 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน พินัยกรรม มรดกบุญ


ท่านที่เป็น "สายบุญ" ก็คงทราบกันดีอยู่แล้วล่ะครับ ว่าทำดีได้ไปสวรรค์ ทำชั่วตกนรก แต่ขณะที่เป็นมนุษย์ เราก็ยังต้องกิน ต้องใช้ แล้วจะทำเท่าไรดี ให้มีกินมีใช้ขณะมีชีวิตอยู่ แต่ก็ได้ทำบุญมากพอไปสวรรค์ ไปนิพพาน หลายท่านจึงทำพินัยกรรมมรดกเอาไว้ ทีนี้ชาวสายบุญก็คงจะอดกังวลไม่ได้ว่า ทิ้งมรดกเอาไว้แล้ว จะไม่ได้ทำบุญ หรือไม่มีใครทำบุญให้ เพราะเงินทองของหยาบก็เอาติดตัวไปไม่ได้ วันนี้นานาสาระ จึงจะขอนำเสนอ วิธีการร่างพินัยกรรมมรดก สำหรับทำบุญให้ตนเอง เตรียมไว้ก่อนจะละสังขารครับ

วิธีการก็คือให้สั่งทนายความ หรือแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ในการแบ่งสัดส่วนทรัพย์สินที่บุคคลมีเหลือหลังละสังขารแล้ว เผื่อค่าใช้จ่ายการจัดงานศพ แบ่งสรรลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วก็ตั้งงบส่วนหนึ่ง สำหรับทำบุญให้กับตนเอง เพื่อรับประกันตั๋วขึ้นสวรรค์กันครับ ยกตัวอย่างเช่น

"ข้าพเจ้า นายลูกชิ้น นามสกุลบะหมี่น้ำ ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชนชาวไทยเลขที่ 123456789 ขอถวายเงินจำนวน 500 ล้านบาท (หรือ 50% ของทรัพย์สินมรดกที่เหลือ) เพื่อเข้า “กองทุนมหาสังฆทานโลก" ของ “องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งจักรวาล” ในนาม "นายลูกชิ้น นามสกุลบะหมี่น้ำ" คือตัวของข้าพเจ้าเองผู้วายชนม์แล้ว ดุจดังว่าข้าพเจ้าดำเนินการถวายด้วยตนเองในขณะยังมีชีวิตอยู่ โดยที่ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถวาย และผลานิสงส์แห่งบุญทั้งหมดนี้ เป็นของข้าพเจ้า "นายลูกชิ้น นามสกุลบะหมี่น้ำ" แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น แม้ทั้งหมดทั้งสิ้น ทั้งนี้ข้าพเจ้าขอมอบหมายให้ทนายความ (หรือผู้จัดการมรดก) คือนายสลัดผัก นามสกุลคาปูชิโน เป็นผู้ดำเนินการแทนข้าพเจ้า แบบได้รับค่าจ้างเป็นการตอบแทนจำนวน 10,000 บาท เป็นอันไม่ติดค้างสิทธิ์ใดๆ ต่อกันแลกัน ทั้งนี้ ใบเสร็จรับเงิน หรือใบอนุโมทนาบัตร ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งจักรวาลนั้น ให้ออกในนาม "นายลูกชิ้น นามสกุลบะหมี่น้ำ"

สำหรับข้อความดังกล่าวข้างต้น เจ้าของทรัพย์สามารถเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วลงนาม ต่อหน้าทนายความ และพยาน จากนั้นจึงให้ทนายความเก็บรักษาไว้ โดยอาจแจ้งให้ทางองค์กรการกุศลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์สิน ได้ทราบด้วย การทำบุญในลักษณะนี้ จะทำให้เจ้าของทรัพย์ได้บุญเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ต้องติดค้างสิทธิ์ ต่อลูกหลานญาติมิตร ซึ่งมักทำบุญในลักษณะ “อุทิศให้” ซึ่งได้บุญน้อยกว่า และติดค้างสิทธิ์ เวลาจะได้ สมบัติ กรรมานิสงส์ ก็จะต้องได้ผ่านลูกหลานที่ทำบุญให้ เหมือน “กินน้ำใต้ศอก” ซึ่งถ้าเป็นทรัพย์กองมรดกของเราเอง เราควรที่จะมีกรรมสิทธิ์ 100% ในทรัพย์บริจาค และอานิสงส์ที่จะเกิดขึ้น แต่ถ้าเป็นทรัพย์ของผู้อื่นบริจาคอุทิศให้เรา ก็ไม่ว่ากันครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์ โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน เพชรในสวรรค์ “เฟ้อ” หรือ “เฝือ”?

[1] แฟนคลับทัวร์สวรรค์คงได้เคยติดตามเรื่องราวของพระมหาโมคคัลลานะเถระกันมาบ้างแล้วนะครับว่า ท่านไปเยือนสวรรค์ เยี่ยมวิมาน สนทนากับเหล่าเทพเทวดา ถามไถ่ถึงบุพกรรมและทิพยสมบัติมามากต่อมาก แล้วที่อดสงสัยกันไม่ได้ก็คือ วิมานก็เป็นทองประดับรัตนชาติ เทวรถก็เป็นทองประดับอัญมณี เครื่องประดับประดาร่างกายของเทพบุตร เทพธิดา ทั้งรัดเกล้า เศียรลดา สร้อย ต่างหู แหวน กำไล เข็มขัด ก็ล้วนแล้วแต่เป็นทอง เป็นเพชร เป็นพลอย แล้วอย่างนี้มันจะไม่ “เฝือ” หรือ “เฟ้อ” ไปหรือ ในเมื่อถนน วิมาน เครื่องประดับก็เป็นทองประดับอัญมณีเหมือนกัน?

[2] คำตอบคือ ทิพยสมบัติในเทวโลกนั้น เกิดจากผลกรรมที่บุคคลทำไว้ในเมืองมนุษย์ ซึ่ง “ทิพยจักรพรรดิ” คือผู้เลี้ยงสมบัติทิพย์ท่าน “พิสดารผลกรรม” ให้เป็นทิพยสมบัติอันมากหลาย อย่าง ยากที่จะหาได้ในเมืองมนุษย์ครับ และทิพยสมบัติเหล่านี้ ก็มีเหตุมาจาก “กรรม” ที่ทำไว้ในเมืองมนุษย์ เนื่องด้วย คน, สัตว์, สิ่งของ, สถานที่ ถ้าบุคคลทำบุญด้วยวัตถุที่มีกายสิทธิ์มาก อย่างเช่น อัญมณี และทองคำแท้ ก็มักจะได้อานิสงส์มากกว่าทำด้วยวัสดุเทียม หรือวัตถุประดิษฐ์ที่มีกายสิทธิ์น้อยกว่าครับ ยกตัวอย่างเช่น กรวดน้ำด้วยคนโททองคำแท้ เมื่อเทียบกับคนโทพลาสติกสีทอง หรือเป็นเจ้าภาพปูพื้นพระอุโบสถด้วยหินอ่อนธรรมชาติ เมื่อเทียบกับกระเบื้องลายหินอ่อน หรือบรรจุพระบรมสารีริกธาตุลงในผอบเจดีย์พลาสติกอะคริลิค เมื่อเทียบกับผอบเจดีย์แก้วคริสตัล หรือประดับพระอุณาโลมพระพุทธรูปที่ทำด้วยอัญมณีแท้ เมื่อเทียบกับอัญมณีสังเคราะห์

[3] ด้วยอานิสงส์จากการทำบุญอันเนื่องด้วยวัตถุทาน ที่มีกายสิทธิ์มากน้อยไม่เท่ากัน ซึ่งโดยมากแล้ว วัสดุตามธรรมชาติมักจะมี “กายสิทธิ์” มากกว่า เวลาทิพยจักรพรรดิปรุงสมบัติทิพย์ขึ้น ผลกรรมจากการทำบุญเนื่องด้วยวัสดุตามธรรมชาติ ที่มีกายสิทธิ์มากกว่า และเป็นกายสิทธิ์ชั้นดีกว่า มักจะให้ผลเป็นสมบัติทิพย์ที่สวยงามล้ำค่าฟรุ้งฟริ้งกว่า พร้อมทั้งให้ความสุข ความชื่นใจ บันเทิงใจ ประทับใจ ปลื้มปีติยินดี อันสัมผัสรับรู้ได้มากกว่าด้วย “ใจทิพย์” ของเหล่าเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลายครับ

[4] ยกตัวอย่างเช่น แหวนทองคำประดับอัญมณี ที่เกิดจากการทำบุญถวายแหวนทองคำแท้ประดับอัญมณีเพื่อบรรจุกรุภายในพระพุทธรูป เครื่องประดับสมบัติทิพย์จะมีฤทธิ์จากกายสิทธิ์ทิพย์ภายในแหวนนั้นมากกว่า คอยหล่อเลี้ยงให้ปีติสุขแด่เทพบุตรเทพธิดาผู้เป็นเจ้าของมากกว่า ความสุขที่สัมผัสได้จากกำแพงวิมานที่เป็นทองคำเหมือนกัน แต่มีกายสิทธิ์มากน้อยไม่เท่ากัน ให้สุขไม่เท่ากัน และความปลื้มปีติสุข ที่สัมผัสได้จากทิพยสมบัตินี้เอง ที่เป็นเครื่องแยกแยะ ว่าทิพยสมบัติใดล้ำค่ากว่ากัน มิได้ขึ้นอยู่กับรูปลักษณ์ภายนอกแต่เพียงเท่านั้น ในทำนองเดียวกัน สิ่งนี้เองที่เป็นเครื่องสร้างความแตกต่างระหว่างหมู่เทวดา ที่ทำบุญด้วยพระอุณาโลมเพชรแท้ กับพระอุณาโลมคริสตัล เพราะเทวดาส่วนมากก็ระลึกชาติได้ด้วยว่าทิพยสมบัติเกิดจากกรรมอะไร จึงชื่นใจมากน้อยต่างกันไป เมื่อได้เห็นทิพยสมบัติของตนครับครับ

[5] โดยสรุปแล้ว ทิพยสมบัติในโลกสวรรค์ แม้จะมีความสวยสดงดงามหรูหราเว่อร์วังอลังการโดยทั่วไป แต่เหล่าเทพบุตรเทพธิดา ก็สามารถแยกแยะได้ว่า อะไรล้ำค่า กว่าอะไร ด้วยเหตุนี้ เพชรพลอย ทองหยอง ที่เป็นเครื่องประดับ จึงมีความล้ำค่ามากกว่าเพชรพลอยและทองที่ประดับวิมาน หรือเทวรถครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: Dress Code ของเทพสมาคม

[1]  ท่านที่ยังคงลังเลสงสัยแล้วแปลกใจว่า ทำไมเพียงแค่การแต่งกายอันดีเลิศของกายทิพย์ และกายวิชชา อย่าง (i) ชุดสุริยาลังการ (ii) ชุดจันทรลังการ (iii) ชุดมณีลังการ (iv) ชุดดาราลังการ (v) ชุดสุวรรณลังการ (vi) ชุดรัชดาลังการ (vii) ชุดวัลยาลังการ (viii) ชุดมยุราลังการ (ix) ชุดปุษยาลังการ (x) ชุดรัตนาลังการ (xi) ชุดลดาลังการ และ (xii) ชุดภัสสตราลังการ จึงมีผลต่อความเป็นที่ยอมรับในสังคมสวรรค์มากถึงขนาดได้รับการยกย่องให้เป็น “เจ้าลังการ” ซึ่งเป็นฐานะแห่งความเป็นเจ้าสวรรค์ประเภทหนึ่งได้เชียวหรือ ทำไมไม่ดูกันเฉพาะที่บุญบารมี หรือความดี?

[2]  ผมขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบว่า เครื่องทรงลังการแต่ละประเภทนั้น เป็นเสมือนตำแหน่งรางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยมของเวทีประกวดนางงามระดับโลกแต่ละเวที อย่าง “มิสยูนิเวอร์ส” ซึ่งผู้เข้าประกวดต่างก็คัดเลือกเฟ้นชุดที่ดีที่สุดเลิศล้ำที่สุด ตั้งอกตั้งใจนำมาใส่โชว์เพื่อที่จะทำให้คณะกรรมการและผู้ชมทั่วโลกตกตลึงพรึงเพริด โดยชุดของใครน่าทึ่ง เป็นที่ถูกใจ ก็จะเรียกเสียงเชียร์ เสียงชม และได้รับคะแนนนิยมมากเป็นที่สุด กระทั่งครองใจท่านผู้ชม หรือรับรางวัลประเภทชุดประจำชาติยอดเยี่ยมไปครอง

[3]  อนึ่ง สำหรับท่านที่มีตำแหน่งโน่นนั่นนี่ ใหญ่โตอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นถึง นายกฯ รมต. รมว. รมช. แต่กลับไม่มีเครื่องแบบ ไม่มีดาราอิสริยยศอะไรเลย เวลาเข้างานรัฐพิธี จะไปนั่งตรงไหนได้? หรือถ้าเข้างานเลี้ยงสโมสรสันนิบาตที่ผู้เข้าร่วมงานทุกคนแต่งชุดเต็มยศ ประดับดาราอิสริยยศ ออกงานกันทั้งหมด แล้วใส่สูทมาอยู่คนเดียว คุณคิดว่าคุณจะได้เข้างาน ไปนั่งยังที่นั่งของคุณหรือไม่ ทั้งนี้ไม่เว้นว่าคุณมีตำแหน่งใหญ่โตมาจากไหนครับ เพราะไม่ใช่เฉพาะรัฐพิธีของมนุษย์ที่มี Dress Code แต่ “เทพสมาคม” ที่ยิ่งใหญ่ มีผู้ร่วมพิธีเป็นพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ใหญ่ๆ ศาสดาของศาสนา และลัทธิความเชื่อต่างๆ เทพเจ้าใหญ่ๆ ที่มีผู้นับถือมากๆ อีกทั้งเหล่าเจ้าพ่อ, เจ้าแม่,  พระดาบส, พระฤาษี, เทพเจ้า ซึ่งบางท่านอยู่มาตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้ายังไม่เริ่มบำเพ็ญบารมีเป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็มีพิธีรีตอง ที่จะธำรงเกียรติของทุกฝ่าย เพื่อให้การประชุมประสบความสำเร็จ ท่านจึงมี “อาภรณ์บัญญัติแห่งพิธีกรรม” หรือ “Dress Code” ที่ท่านคาดหวังว่า ผู้เข้าร่วมประชุมจะแต่งกายอย่างสมควรตามศักดิ์ศรี และสมแก่วิถีฐานะแห่งตนครับ

[4]  เรื่องที่นั่งนั้น ถ้าจะว่ากันตามวิชชา ก็คือ “ศักดิเดช” มีมากน้อยกว่ากัน ทำให้ทนอยู่ในลำดับที่ไม่สมควรไม่ได้ เหมือนออกอาการอาสน์ร้อน ต้องเลื่อนขึ้น หรือเลื่อนถอยออกมา เพราะศักดิเดชส่งฤทธิ์ ขึ้นอยู่กับว่าหยาบละเอียดตรงกันหรือไม่ กล่าวคือ หากเจ้าตัวจบการศึกษาเป็น “ด็อกเตอร์” ถ้ามางานรับปริญญาแล้วใส่เสื้อเชิ๊ตมา ก็คงไม่ได้เข้าไปรับปริญญาเอกแน่ๆ ครับ แต่ถ้าสวมครุยปริญญาเอก ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ก็จะมีสิทธิ์เข้ารับปริญญาเอก นี้คือหยาบกับละเอียดตรงกัน ในละเอียด ก็ “มีสิทธิ์ มีศักดิ์” ที่จะได้ปริญญาเอก แต่ถ้าหยาบไม่สวมชุดครุย ก็จะไม่ตรงกับละเอียด จะไม่สามารถเข้าร่วมพิธีได้ เป็นอย่างนี้ครับ

[5]  ส่วนท่านที่ไม่มีเครื่องทรงอย่าง “พระพุทธเจ้า” หรือ “พระธรรมกาย” ท่านแสดงออกกันตรงลักษณะมหาบุรุษ ว่าใครเนี้ยบกว่ากัน ซึ่งเป็นที่นับถือกันว่า ลักษณะมหาบุรุษของใครงดงามกว่า ท่านนั้นมักจะแก่กล้ากว่า แล้วก็แสดงออกกันที่ผ้าครองครับ กล่าวคือ ผ้าครองที่สวยงาม และประณีตมาก ก็เลิศเลอกว่า ส่วนพระพุทธเจ้าที่มีเครื่องทรง อย่างองค์พระพุทธราช หรือพระธรรมกายที่มีเครื่องทรง อย่างองค์ธรรมราช มักจะไม่แต่งองค์ทรงประดับมากครับ แต่ละแต่งแบบลำลองๆ พอให้ทราบ ว่ามีลักษณะเด่น ซึ่งอาจจะแสดงความเลิศล้ำกว่ากันตรงที่ “มณีวิชชา” ว่าใครมีมณีประดับเครื่องทรง แต่พระพุทธเจ้า และกายธรรม หรือพระธรรมกาย ที่ท่านไม่แต่งองค์ทรงเครื่องอะไรมาก ท่านก็จะแสดงออกถึงความแก่กล้าของท่านด้วย “รัศมี” ในทำนองเดียวกันกับ พระดาบส, พระฤาษี, นักพรต และพระสมณะต่างๆ ซึ่งท่านไม่โชว์เครื่องประดับกัน แต่ท่านจะแต่งกายสมกับ “วิถีฐานะ” แห่งตน ถ้าหากมี “นักพรตเต๋า” เกิดใส่ชุดเครื่องประดับ “ลดาลังการ” ออกมา ก็จะกลายเป็นการผิดวิถีฐานะในฝ่ายท่านไปซะอีก อย่างนี้ก็ไม่สมควรครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ตอน “เจ้าดาราลังการ”

[1] เรื่องของดาราอิสริยยศนั้น เป็นเรื่องของสังคมยุคที่มนุษย์มีอารยธรรมเจริญแล้ว โดยประเทศที่มีระบบระบอบการปกครองที่ดีพอ (well-established) ก็มักจะมีการตราตั้ง และมอบเครื่องหมายอิสริยยศ เป็นเครื่องบ่งชี้ ลำดับขั้น, ศักดิ์, สิทธิ์ และอำนาจที่มี ไม่ว่าจะปกครองในรูปแบบของราชาธิปไตย หรือสังคมนิยม ยศศักดิ์ทั้งหลายนั้น มักจะมีการตราตั้ง พร้อมสัญลักษณ์ต่างๆ โดยเฉพาะ “ดารา” ซึ่งสิ่งนี้ก็มิได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เป็น “วิชชา” ที่ผู้เลี้ยงส่งมา เพื่อให้มีของหยาบ “เนื่องกัน” กับวิชชา ที่มุ่งจัดระเบียบความเป็นไปของสังคมมนุษย์

[2] ในหลายบทความที่ผ่านๆ มา ผมได้พรรณนาถึง “สมบัติผู้เลี้ยง” และ “ทิพยสมบัติ” ที่มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ สมบัติผู้เลี้ยงมีไว้เพื่อ “ส่งฤทธิ์” ซึ่งสามารถติดตัวไปได้ข้ามภพข้ามชาติ ในขณะที่ทิพยสมบัติมีไว้เพื่อ “เสวยผล” แห่งบุญ ใช้แล้วหมดไป และด้วยนวัตกรรมทางวิชชาที่ผมได้นำเสนอ เราจึงมีวิธีการ “หยิบสมบัติผู้เลี้ยง” มาใช้โดยแลกกับธาตุบุญ

[3] สำหรับเรื่องราวในบทความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “เจ้าดาราลังการ” ซึ่งเป็นยศตำแหน่งในสวรรค์ เหมือนอย่าง “เจ้ามณีลังการ” และ “เจ้ามยุราลังการ” ซึ่งมีเครื่องทรงอันโดดเด่นยิ่ง แต่การจะได้ “ดาราลังการ” หรือ “สุริยาลังการ” หรือ “จันทระลังการ” นั้นขึ้นอยู่กับ 2 ประการ คือ (1) ได้โดยกายทิพย์ ในรูปแบบของการเสวยผลบุญ (2) ได้โดยกายวิชชา ที่คว้าได้จากสมบัติผู้เลี้ยง (3) อื่นๆ ซึ่งการได้ “ลังการ” นั้น จะนำมาซึ่ง “ความเป็นใหญ่” ในเทพสมาคม อุปมาเสมือนว่า บุคคลมีเครื่องทรงอันยิ่งใหญ่มากๆ กระทั่งผู้อื่นต้องเกรงอกเกรงใจ และจัดลำดับความสำคัญให้ก่อนเป็นอันดับต้นๆ ในเทพสมาคม

[4] สำหรับการได้ดาราลังการ โดยกายทิพย์นั้น โดยมากจะต้องเป็นผู้ที่เคยมอบ “ดารา” ในรูปแบบต่างๆ ให้กับผู้อื่น คือ “ทำบุญด้วยดารา” เช่นมอบดาราอิสริยยศ และประดับดาวประจำตำแหน่งหน้าที่ให้กับผู้ที่ทำความดีและผู้ใต้บังคับบัญชา กรรมนี้จึงเป็นกุศล ส่งให้ผู้มอบได้บังเกิดเป็นเทพยดาที่ทรง “ดาราลดาภรณ์” อันยิ่งใหญ่งดงาม เหนือผู้อื่น และเมื่อใดก็ตามที่เข้าเทพสมาคมด้วยกายทิพย์ ก็จะสามารถทรงเครื่อง “ดาราลดาภรณ์” หรือ “ดาราลังการ” เพื่อเข้าเทพสมาคมอย่างสมเกียรติ

[5] ท่านใดที่เข้าเทพสมาคมด้วยกายวิชชา อย่างเช่นกายพระจักรพรรดิ หรือกายธรรม คือพระธรรมกาย หรือถอดกายทิพย์ หากได้รับมอบดาราอิสริยยศ ก็สามารถ “หยิบดาราอันเป็นสมบัติผู้เลี้ยง” มาครอง โดยจ่าย “ธาตุบุญ” เป็นการแลกเปลี่ยน ดังนี้แล้ว กายในวิชชาจะทรงอิทธิฤทธิ์ และประดับประดาไปด้วยดารา หรือสุริยะ และจันทระ ตามแต่เครื่องอิสริยยศที่ได้รับ

[6]  อนึ่ง เทพยดาที่ “ตรัสดารา-ลดาภรณ์” นั้นเดิมทีมีกันไม่มาก และแม้ในปัจจุบันนี้เราจะมีเทคโนโลยีในการหยิบสมบัติผู้เลี้ยง แต่ค่าแลกเปลี่ยนก็มักจะมีราคาแพงลิบลิ่ว ส่วนท่านที่ทำงานด้วยความอุทิศตนกระทั่งได้รับมอบดาราอิสริยยศแต่ละขั้นมา ก็มักจะเป็นผู้ที่มี “ธาตุบุญ” มากอยู่แล้ว จึงอาจไม่ลำบากใจมากนักกับการแลกดาราอันเป็นสมบัติจากผู้เลี้ยงผู้รักษา นอกเหนือจากนี้ ยังมีท่านผู้ทรงคุณอื่นๆ ที่ได้ดารามาด้วยวิธีการต่างๆ เช่นซื้อขายแลกเปลี่ยน หรือแม้แต่คว้าดาราในโลกวิชชามาครอบครองแบบฟรีๆ ก็ยังมี ซึ่งบางเรื่องอาจง่ายสำหรับบางท่าน แต่ก็เป็นการยากสำหรับผู้อื่น ขึ้นอยู่กับว่าใครมีวาสนาทางใดมากกว่ากัน

[7] หากท่านใดก็ตามที่มีดาราอิสริยยศมาก อาจจะหยิบสมบัติผู้เลี้ยงมาได้มาก ยกตัวอย่างเช่นมีดาราอิสริยยศ 12 ดวง ต่างประเภทกัน จากหลายๆ ประเทศ เมื่อหยิบส่วนละเอียดในวิชชาทั้งหมดจากผู้เลี้ยงผู้รักษามาครอง ก็จะตรัส “เจ้าดาราลังการ” ขึ้นอยู่กับว่า มีดาราอิสริยยศใหญ่เล็ก อยู่มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้รวมถึงดาวยศตำแหน่งของทหาร, ตำรวจ และข้าราชการด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วการ “ทรงดารา” เช่นนี้ก็จะทำให้มีฤทธิ์มากตามไปด้วย ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org    

นานาสาระ ตอน ลูกแก้วหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ในทรรศนะของพิรจักร

[1]  แหม่.. สายวิชชาเนี่ยต้องบอกว่า “คว้าลูกแก้วไว้ก่อน หลวงพ่อสอนไว้” อ้าวที่ไหนๆ เขาก็ฮิตกันจัง ลูกแก้วเนี่ย เห็นรีวิวลูกแก้วหลวงปู่ดู่ โปรดอย่าลืมนะว่าค่ายอื่นๆ ท่านก็มีกัน เพราะเรื่องราวของลูกแก้วล้วนมีจริงในพระไตรปิฎก อย่างลูกแก้วของ “โชติกะเศรษฐี” ทั้งนี้ยังไม่รวมของพระเจ้าจักรพรรดิราชอีกนะ แต่ลูกแก้วอัศจรรย์เหล่านี้ ล้วนเป็น “แก้วสำเร็จ” คือของทิพย์ที่ “ภพแก้วมณี” ผลิตแล้วมีผู้ส่งลงมา กลายเป็นแก้วที่จับต้องได้ในเมืองมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่พอสำเร็จลงมาเป็นของหยาบแล้ว จะไม่ใสเหมือนแก้วน้ำค้าง (คริสตัล) ซะทีเดียว แต่จะมีหมอกๆ ดูขาวขุ่นหน่อยๆ ครับ

[2]  ส่วนลูกแก้วประเภทมนุษย์เป็นผู้สร้างเรือนหยาบขึ้น หรือ man-made แล้วผู้ทรง “วิช(ช)า” (การใส่ “ช” ในวงเล็บแบบนี้ หมายความว่า เป็นได้ทั้ง “วิชชา” และ “วิชา” ตามแต่กรณีไปครับ) อัญเชิญกายสิทธิ์พระจักรพรรดิองค์ทิพย์ลงมาซ้อนสถิตนั้น มีอยู่มากหลายค่ายที่สามารถทำได้ ซึ่งในบทความก่อนผมได้รีวิวลูกแก้วของสายหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ แล้ว สำหรับบทความนี้จะขอบอกว่า ลูกแก้วของอีกค่ายที่พลาดไม่ได้ก็คือลูกแก้วสายหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ที่ท่านฝึก “มโนมยิทธิ” กันครับ

[3]  ถ้าจะเปรียบเทียบกันถึง “เรือนหยาบ” ของกายสิทธิ์ ต้องขอบอกว่า “แก้วจุยเจีย” หรือ quartz เป็นแก้วรัตนชาติธรรมชาติเนื้อดี ที่สายวิชชาธรรมกายนิยมนำมาใช้เป็นนิมิต ส่วนแก้วประเภทเชิญลงซ้อนนั้นบางที “เรือนแก้วหลอม” ไม่สวย แลดูคล้ายลูกแก้วของเล่น ที่เด็กๆ ชอบนำมาดีดเล่นกัน แต่บ้างก็มีกายสิทธิ์ข้างในที่ดีมาก ทั้งนี้รวมถึงลูกแก้วสายหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ซึ่งท่านก็มีวิช(ช)า เรียกกายสิทธิ์เหมือนกันครับ  แต่โดยมากท่านมักไม่เชิญ “พระพุทธจักรพรรดิ” แต่จะซ้อน “พระจักรพรรดิ” ธรรมดา ลูกแก้วที่ดูเหมือนของเด็กเล่นแบบนี้ รุ่นธรรมดาสำหรับให้เช่าบูชาทั่วไป จะมี "กายสิทธิ์พระมหาจักรพรรดิ" ซึ่งเรียกใช้งานง่าย เหมือน “โยมอุปัฏฐาก” คอยวิ่งงานรับใช้ช่วยเหลือ ยกเว้นบางดวงที่ท่านเชิญได้ถึง “องค์อเนกอุดมบรมจักรพรรดิ” หรือยิ่งกว่า ซึ่งมีไม่มาก และจะเชิญมาเฉพาะสำหรับวัด หมู่คณะ หรือบุคคลสำคัญ เพื่อหล่อเลี้ยงให้เป็นอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์

[4]  ข้อแตกต่างของลูกแก้วสายหลวงพ่อฤาษีลิงดำนั้น องค์กายสิทธิ์ถูกเชิญมาจากภพของ “สมเด็จองค์ปฐมฯบรมครู” คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์แรกสุด ผู้ทรงตั้งพระพุทธศาสนาขึ้น ซึ่งทรงเป็นประธานของเหล่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แต่ท่านไม่ค่อยเดินวิชชากัน แม้จะทราบเรื่องวิชชาครับ เนื่องจากการใช้วิชชานั้นบางทีจะทำให้ดีร้ายต่างๆ กันไป เช่นหมดเปลืองบุญบารมี ดังนั้น “วิชา” ของสายสมเด็จองค์ปฐมบรมครู จึงมุ่งเน้นเป็นอีกแรงหนึ่งในการเผยแผ่ นำพาสรรพสัตว์เข้าสู่พระนิพพาน เพิ่มเติมจากงานของพระศาสดาเจ้าของพระพุทธศาสนาในแต่ละยุคสมัย แต่กายสิทธิ์พระจักรพรรดิ จากภพของสมเด็จองค์ปฐมบรมครู ก็มีลักษณะพิเศษเปรียบได้กับ “พระสมุห์” ประจำ “องค์พุทธนายก” ซึ่งเมื่อเทียบกับกายสิทธิ์ทั่วๆ ไป ก็มีศักดิ์ศรีเหนือกว่า หากเราจะนำมาเลียบเคียงกับระบบสมณศักดิ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน

[5]  กายสิทธิ์ที่มาจากภพของสมเด็จองค์ปฐมบรมครู มีลักษณะพิเศษคือมี “ศักดิ์และสิทธิ์” แห่งสมเด็จองค์ปฐมฯ ซึ่งทรงมีบารมีหล่อเลี้ยงคณะของท่าน ให้สมบูรณ์พูนสุข เจริญก้าวหน้า มากด้วยสมบัติและบริวาร และ “ทรงธรรม” เป็นสัมมาทิฐิบุคคลที่มุ่งสู่พระนิพพาน เน้น "ให้คุณ" เป็นหลักครับ

[6]  ทั้งนี้ สมเด็จองค์ปฐมบรมครู ทรงปรากฏได้เป็นทั้งภาคพระพุทธเจ้า และภาคพระจักรพรรดิ ครับ ภพของท่านไม่ใช่ “ภพสี” แต่เดิมทีเป็น “สีขาวใสพรายรุ้ง” ซึ่งเป็นสายธาตุสายธรรมพิเศษ ที่เก่าแก่ประมาณอันดับที่ 3 ของ “โลกธาตุ” เมื่อเทียบกับองค์ปฐมบรมธาตุ คืออันดับที่ 1 และพระต้นธาตุต้นธรรมทั้งหลาย คืออันดับที่ 2 ในขณะที่จ้าวสี เป็นธาตุธรรมเก่าแก่ประมาณอันดับประมาณที่ 3.5 – 8 นับตั้งแต่มีธาตุมีธรรมมากระทั่งถึงปัจจุบัน แต่เมื่อใดก็ตาม ที่พระต้นธาตุต้นธรรม หรือจ้าวสี จะอวตารมาเป็นพระพุทธเจ้า หรือพระสงฆ์ ก็จะมาอยู่ภายใต้กำกับการของสมเด็จองค์ปฐมบรมครูและพระพุทธเจ้า องค์ศาสดาของพระศาสนา ซึ่งสมเด็จองค์ปฐมนั้นฯ ทรงเป็นที่นับถือและไว้วางใจกันในธาตุในธรรมว่า “ทรงธรรมอันหนักแน่นและเป็นธรรม” ไม่ผิดทางผันแปร และจะทรง “ให้คุณ” เป็นส่วนใหญ่

   [7]  สำหรับกายสิทธิ์สายสมเด็จองค์ปฐมที่คณาจารย์ในสายหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค รวมถึงหลวงพ่อฤาษีลิงดำ อัญเชิญมาสถิตอยู่ในลูกแก้วนั้น มีความสวยงาม เป็นสีขาวใสพรายรุ้ง ท่านไม่นิยมใช้เป็นนิมิต และไม่นิยมใช้แก้วจุยเจีย แต่เชิญกายสิทธิ์มาเพื่อทำงาน “ฝ่ายสมบัติ” เป็นส่วนใหญ่ และกายสิทธิ์พระจักรพรรดิจากภพสมเด็จองค์ปฐมนี้ เป็นที่นับถือว่าเป็น “กายสิทธิ์ผู้ดี” คืออัธยาศัยดีตามธาตุธรรมของภพท่าน แม้เรือนหยาบข้างนอกจะกระดำกระด่างอย่างไร แต่ข้างในแจ๋วแหว๋วเลยครับ รองรับงานได้ดี ราคาซื้อหาไม่แพง ทั้งของหยาบ และค่าเช่าใช้งานเป็น “ธาตุบุญ” โดยไม่ได้เน้นเหน็บหรือกลืนเข้าตัว หรือเดินวิชชา แต่ถ้าจะลองขอต่อรองนำมาเดินวิชชาแล้วเหน็บหรือกลืนเข้าตัวดูก็ได้นะครับ ซึ่งผู้ที่จะอัญเชิญกายสิทธิ์พระจักรพรรดิจากภพของสมเด็จองค์ปฐมบรมครูลงมาซ้อนลูกแก้วเรือนหยาบได้ ต้องเป็นคณาจารย์ในสายของท่าน คือหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เท่านั้น ในทำนองเดียวกับที่ สายหลวงปู่ดู่ มีเพียงองค์รัตนากร หรือองค์กายสิทธิกร เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้คว้ากายสิทธิ์ด้วยวิชชาของหลวงปู่ดู่ได้

[8]  ส่วนท่านใดที่สงสัยว่า เราจะทราบได้อย่างไรว่ากายสิทธิ์ เป็นกายสิทธิ์พระจักรพรรดิ หรือไม่ โดยคร่าวแล้ว ให้ดูว่า กายสิทธิ์นั้นมีรัตนะอย่างน้อย 1 ใน 7 อย่างหรือไม่ และอาศัยรัตนะ 1 อย่าง หรือมากกว่านั้น เพื่อ “เดินรัตนะ” เป็นหลักอยู่ในสายธาตุสายธรรมหรือไม่ หรือมิฉะนั้นแล้ว ก็ตรวจสอบที่มาของการผลิต หรือ “ประชุม” ขึ้นเป็นกายสิทธิ์ ว่าผลิตแล้วขึ้นทะเบียนเป็นจักรพรรดิหรือไม่ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ตอน ลูกแก้วจักรพรรดิหลวงปู่ดู่ ในทรรศนะของพิรจักร

 

[1] วันนี้ผมเพิ่งได้รับลูกแก้วมณีนพรัตน์ตามที่สั่งซื้อไปครับ เมื่อได้ของมา พอเปิดดูก็พบว่าเป็นของใหม่ๆ สีสันสวยสดใส ตลับใหม่เอี่ยม ไม่ใช่ลูกแก้วรุ่นเดิมๆ แต่ส่องดูด้วยตาเปล่าแล้ว เห็นมีรัศมีแผ่ออกมาตอบรับทักทายกัน ผมทราบได้ทันทีว่า ข้างในมีกายสิทธิ์ที่ "ผู้ลงอักขระ" คว้ามาใส่ไว้ (คำว่า “คว้ากายสิทธิ์” เป็นภาษาของผู้ทรงวิชชา หมายถึงการเชิญองค์กายสิทธิ์จากภพลงมาซ้อนเรือนหยาบ) และในบทความนี้ ผมขอแบ่งปันประสบการณ์ตรง ที่ได้รับจากการแสวงหาของกายสิทธิ์ กระทั่งได้มาพบกันกับลูกแก้วจักรพรรดิสายหลวงปู่ดู่ผู้โด่งดังอยู่ในโลกยุคปัจจุบันแม้ท่านจะละสังขารไปแล้วครับ

[2] ผมเคยได้ลูกแก้วจารอักขระหลากสีสันของสายหลวงปู่ดู่มาแล้ว สมัยไปเดินช้อปปิ้งที่ท่าพระจันทร์ ซึ่งเป็นประดุจ “ห้างแฮร์รอดส์” ของชาววิชชา ตอนนั้นผมได้มาเยอะมาก เพราะทำงานมีเงินเดือนดีๆ แต่ผมก็ "เดินของ" แจกออกไปแทบทั้งหมด มาทราบภายหลังว่า “ผู้รับ” ที่เป็นผู้ทรงวิชชา จะต้องจ่าย “ธาตุบุญ” ในวิชชา ให้กับ “ผู้ค้า” ส่วนผมจ่ายเพียงราคาเงินตรา แต่ก็ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ว่า ลูกแก้วสีลูกกวาดเหล่านั้น มีกายสิทธิ์จากแต่ละ “วงศ์สี” ซ้อนอยู่ เช่นลูกแก้วสีชมพู ก็มีกายสิทธิ์จากภพชมพู ภายในมีกายสิทธิ์พระจักรพรรดิสีชมพูอยู่ ซึ่งผมสะสมได้มากสุดประมาณ 12 – 15 สี คือ ขาวใส, แดง, เขียว, น้ำเงิน, ชมพู, ขาว, เหลือง, ฟ้า, ม่วง, ส้ม, เทา, ดำ, และ “สหรงค์” คือแทนสารพัดสี ที่ไม่ใช่สีเด่น โดย “จ้าววงศ์สี” ทุกพระองค์ ทุกสี ล้วนเป็นพระจักรพรรดิทั้งสิ้น ซึ่งจะมีคำเฉพาะเรียกเป็น “จ้าวสี” “เจ้าสี” “องค์สี” โดยเรียงลำดับตามความแก่กล้าแห่งสี ซึ่งองค์ที่เป็น “จ้าวสี” จะเป็นองค์ต้นกำเนิดดั้งเดิม บ้างก็เรียก “ท้าว” เช่น “ท้าวชมพู” “ท้าวเขียว” “ท้าวเหลือง” เพื่อแยกแยะออกจาก “เจ้าสี” ที่ออกเสียงพ้องกัน และเป็นผู้ทรงวิชชาที่ “เดินวิชชาสี” นั้นๆ แต่ยังมีเปลี่ยนมีแปลงอยู่บ้างไปตามยุคสมัย และตามแต่สถานการณ์จะพาไป ในขณะที่จ้าวสี เป็นองค์ต้นกำเนิดวิชชาสี มาแต่เดิม มีหน้าที่คอยรักษา และส่งเสริมวิชชาสีของตน รวมถึงส่งสมาชิกมาเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระอรหันต์, และพระอริยบุคคล อยู่เป็นระยะๆ ซึ่งท่านเหล่านี้ “กายปลายทาง” ก็ดูเป็นกายธรรมดาๆ เหมือนผู้อื่น แต่ “กายต้นสายธาตุสายธรรม” คือ “กายต้นทาง” เป็นสีเดียวกับสังกัด เช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากสีเขียว ก็มีกายหยาบ เหมือนกายมนุษย์ผิวขาวละเอียด มีกายธรรมขาวสะอาด แต่ละเอียดเข้าไปลึกๆ มีกายต้นสายธาตุสายธรรม หรือ “กายเจ้าของมนุษย์” นั้น เป็นกายสีเขียวครับ

[3] สำหรับลูกแก้วพระจักรพรรดิหลากสี ของสายหลวงปู่ดู่นั้น ผู้ซ้อนอาจจะซ้อนกายสิทธิ์ที่ดีระดับหนึ่ง แต่เมื่อผู้ทรงวิชชาได้ไป ก็จะสามารถ “สาววิชชา” เข้าไปถึงองค์ต้นๆ ของแต่ละสีได้ เพื่อทำ “ธุรกรรมทางวิชชา” อย่างเช่น “ถามวิชชา” หรือ “ขอวิชชาสีมาเดิน” หรือ “ขอมณีสีมาใช้” แลกเปลี่ยนกับบางอย่าง และอื่นๆ ซึ่งโดยศักดิ์ศรีแล้ว ชาวสีส่วนใหญ่ มีลักษณะอยู่กันเป็น “ภพ” ในขณะที่สีที่ทรงอิทธิพลและมีกำลังวิชชามากพอ อย่างสีแดง สามารถตั้งขึ้นเป็น “ภาค” ในขณะเดียวกันกับที่ภาคใหญ่ๆ คือ ภาคขาว ภาคทอง ภาคเงิน ภาคทองชมพู ภาคอัพยากฤต และภาคดำ

[4] ลูกแก้วของสายหลวงปู่ดู่นั้น มักจะเป็นลูกแก้วที่ซ้อน “กายสิทธิ์พระจักรพรรดิ” ขั้นใหญ่เล็กต่างกันไป โดยเนื้อแท้ของหลวงปู่ดู่ท่านเป็นกายปฏิภาคของ “จ้าวสีแดง” แต่ท่านมีวิชชาสามารถคว้ากายสิทธิ์พระจักรพรรดิสีต่างๆ หลากหลายสี ลงมาซ้อนลูกแก้วเรือนหยาบได้ รวมถึงพระผง และวัตถุมงคลบางชุดก็เป็น “แก้วสำเร็จ” คือเชิญสำเร็จปาฏิหาริย์ลงมาเป็นแก้วดวงๆ ชิ้นๆ อันๆ คล้ายแก้วสมบัติพญานาค

[5] เมื่อพ้นจากสมัยของหลวงปู่ดู่แล้ว มีเพียง "องค์กายสิทธิกร" หรือ “องค์รัตนากร” เท่านั้นที่มีสิทธิ์สืบทอดวิชชาทำแทนได้ (ศัพท์เฉพาะที่ใช้กันในแวดวงวิชชาคือ “องค์รัตนากร” แต่ผมเกรงว่าบางท่านจะสับสนกับคำว่า เจ้ารัตนะ, เจ้ารัตน์, รัตนบุคคล, รัตนะเจ็ด ซึ่งมีความหมายต่างกันไป ผมจึงเสริมคำของตนเองว่า “องค์กายสิทธิกร” ลงไปเพื่อให้เด่นชัดแตกต่างจากคำอื่น) ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายท่าน ท่านเหล่านี้มีลักษณะคล้าย “ผู้ค้า” คือจำหน่ายกายสิทธิ์แล้วคิดราคา “ธาตุบุญ” แล้วท่านก็มีความชำนาญ สามารถคว้ากายสิทธิ์ดีๆ มาใส่ได้ ส่วนว่าจะได้ดีเท่าหลวงปู่ดู่หรือไม่ ผมว่าขึ้นอยู่กับราคาที่เราจะจ่าย ถ้าเรามีมากพอ ท่านก็พอจะคว้าให้ได้ แม้อาจจะเอื้อมได้ไม่ไกลขนาดหลวงปู่ดู่ หรือไม่ได้มาก หรือเร็วเท่าหลวงปู่ดู่ ผู้เป็นองค์ต้นตำรับวิชชา แต่ถ้าเป็นของหลวงปู่ดู่ทำเอง ก็มักจะแพงกว่าทั้งในวิชชาและราคาค่างวดครับ

[6] กายสิทธิ์ในลูกแก้วหลวงปู่ดู่นั้นดีตรงที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้าขายแลกเปลี่ยน สำหรับใช้สอยกันในวิชชา ผู้ซื้อสามารถต่อรองกับคณะของหลวงปู่ดู่ได้เลย ไม่ต้องเจรจากับภพผู้ผลิตหรือเจ้าของ มีดวงใหญ่กับดวงเล็ก ดวงใหญ่ราคาแพงกว่า กายสิทธิ์ใหญ่กว่า ค่าวิชชามากกว่า และถ้าจ่ายดีพอ มากพอ ก็จะได้ของดีๆ สมราคา อย่างเช่นกายสิทธิ์พระบรมพุทธจักรฯ ครับ (กายสิทธิ์พระพุทธจักรฯ เปรียบเสมือนพระพุทธเจ้าของเหล่ากายสิทธิ์พระจักรพรรดิ และกายสิทธิ์ทั่วไป ในทำนองเดียวกันกับที่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทรงเป็นพระพุทธเจ้าของเหล่าพระอรหันต์ขีณาสพและพระอริยเจ้าทั้งหลาย) เมื่อได้มาแล้ว ถ้า “ธาตุ” (ไม่ใช่ “ธาตุบุญ” นะครับ) เรามีมากพอ เราก็ "เหน็บ" เอาองค์เด็ดๆ ดีๆ เหล่านั้นเข้าสายธาตุสายธรรมของเราได้ พาติดตัวไปข้ามชาติ เหมือนที่หลวงปู่ดู่ท่านใช้คำว่า "กลืนองค์พระ" ครับ (สายวิชชานั้น ระหว่างสายพระจักรพรรดิ กับสายพระธรรมกาย จะมีภาษาวิชชาต่างกันหน่อย คล้ายๆ ภาษาอังกฤษ ของสหราชอาณาจักร กับสหรัฐอเมริกา ที่วัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการเหมือนกัน แต่มีสำเนียงต่างกัน คำศัพท์เรียกเหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้างครับ)

[7] ท่านใดที่น้อมกายสิทธิ์ใส่เข้าไปในตัวแล้ว วิชชาก็แรงขึ้น ละเอียดขึ้น แน่นขึ้น เร็วขึ้น เหมือนอัพเกรดคอมพิวเตอร์ยังไงอย่างนั้นเลยครับ ส่วนใหญ่จะเป็นกายสิทธิ์ที่ยังไม่ค่อยมีวิชชา สามารถนำมาใส่วิชชาเองได้มาก ซึ่งผู้ทรงวิชชาท่านชอบแบบนี้กัน กายสิทธิ์จากบางแหล่ง มีมนต์ มีอาคม มีวิชชาพื้นฐานเดิม แล้วบางทีเข้ากับผู้ทรงวิชชาไม่ค่อยได้ วิชชาของกายสิทธิ์ เข้าไปอลวนกันกับวิชชาของผู้ทรงวิชชา หรือเจ้าของผู้ผลิตไม่ยอมขาย หรือขายก็เรียกราคาแพงลิบลิ่ว ครั้นนำมาเดินวิชชากระทั่งงานสำเร็จ ก็ต้องจ่ายทิปให้ต้นสายกายสิทธิ์นั้นๆ หรือจ่ายค่าเดินวิชชา แล้วถ้าตกลงขอกายสิทธิ์เข้าสายธาตุสายธรรมไม่ได้ กายสิทธิ์ก็ถูกเจ้าของเรียกกลับภพเดิมไป โดย “รู้สิ้นไส้” ว่าผู้ทรงวิชชามีวิชชาและอะไรๆ บ้างอยู่ภายใน ซึ่งเป็นการสุ่มเสี่ยงอันตรายอย่างมาก จึงมีอะไรอีกหลายๆอย่าง ในโลกวิชชาที่ต้องคำนึงถึง นอกเหนือจากการมีกายสิทธิ์จำนวนมาก

[8] กายสิทธิ์ที่ผู้ทรงวิชชา “ลัก” เข้าใส่ตัว หรือพากลับภพของตน โดยไม่ได้เจรจาต่อรองเคลียร์กันกับภพเจ้าเพื่อขออนุญาตกันก่อน มักจะนำมาซึ่งปัญหา หรือแม้แต่กายสิทธิ์ที่ซื้อมา ก็มีปัญหาได้ การจ่ายธาตุบุญ พร้อมทำสัญญากับภพผู้เป็นเจ้าของหรือผู้จำหน่าย จึงเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อใดที่เกิดปัญหา เช่นเดินวิชชาสำคัญๆ อยู่แล้วกายสิทธิ์พาสะดุด ขัดข้อง หรือถูกเรียกกลับกะทันหัน ผู้ใช้ก็ยังพอจะสามารถฟ้องร้องต่อ “องค์ตุลาการธาตุ” เพื่อขอค่าเสียหายได้ แต่ค่าธรรมเนียมฟ้องร้องก็มากพอดูอยู่นะครับ

[9] ท่านใดที่ยังไม่เคยกลืนกายสิทธิ์เข้าตัว มีข้อพึงตระหนักว่า หากเรามี “ธาตุ” มาก (หมายถึงกำลังในการรองรับ มักจะเป็นผู้ที่มีอินทรีย์และพละมากจากการบำเพ็ญบารมี) ก็จะสามารถติดตั้งกายสิทธิ์ใส่ตัวได้หลายองค์ เหมือนช่องเสียบอุปกรณ์เสริม (USB Port) ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ถ้าเรามีธาตุมาก ก็เหมือนมีหลายช่อง สามารถใส่อุปกรณ์เสริมได้หลายอย่างครับ ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น การงานก็คล่องตัว ประสบความสำเร็จได้ง่าย และท่านใดที่เห็นพระธรรมกาย และ/หรือ กายพระจักรพรรดิ นานแล้ว แต่ยังไม่เคยเดินวิชชา ท่านสามารถ “เข้าละเอียด” ไปได้เรื่อยๆ ถ้าท่านมีละเอียดสะสมมาก เวลา “เติมวิชชา” ก็จะสามารถ “รองรับวิชชาได้มาก” อาจถึงขั้นสามารถ ตรัส “จอมวิชชา” หรือ “เจ้าวิชชา” ได้ภายในวันเดียวครับ แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นท่านที่ทำความดีความชอบให้กับท่านผู้ทรงวิชชาที่คุ้นเคยกันมายาวนาน และไม่ค่อยได้ทำวิชชา ส่วนมากจะได้แต่ทำงานหยาบ หรือเข้าละเอียด แต่จะตอบแทน “ค่าวิชชา” กันอย่างไร ก็แล้วแต่จะตกลงกันครับ ผู้ทรงวิชชาบางท่านยินดีแบ่งวิชชาแบบพื้นๆ ให้ เพราะวิชชาเป็นเสมือน “ความลับทางการค้า” ของผู้ทรงวิชชาแต่ละท่าน เช่น ผู้ทรงวิชชามีวิชชาอยู่ 2,400 คาบ แบ่งให้ลูกศิษย์ที่มีละเอียดมากจำนวน 800 คาบแรก แล้วก็ให้ไปเดินวิชชา ค้นวิชชานับจากคาบที่ 800 นั้นต่อขึ้นไปเอง เป็นอาทิครับ ซึ่งท่านใดได้ธรรมะแล้วแต่ยังไม่มีวิชชาก็ไม่ต้องเสียใจครับ ให้เข้าละเอียดมากๆ ไว้ ยิ่งมีกายสิทธิ์ยิ่งเข้าละเอียดได้เร็วแรงครับ

[10] สำหรับลูกแก้วกายสิทธิ์สายหลวงปู่ดู่รุ่นใหม่ๆ นั้นองค์กายสิทธิกร (รัตนากร) ก็ทำตามหน้าที่ได้ดี ตามอักขระที่ลงไว้ เป็นวิชชาและสายงานของหลวงปู่ดู่ครับ พูดตามตรงก็คือถึงแม้จะเป็นของใหม่ ก็ใช่ว่าจะหาได้ง่ายๆ เดี๋ยวนี้ที่ท่าพระจันทร์ก็ไม่ค่อยมีแล้ว ส่วนราคาค่างวด ก็ตามที่ผมเคยแนะนำไว้แล้ว คือถ้าของหยาบมีราคาแพง ราคาในวิชชามักจะไม่มาก แต่ถ้าของหยาบราคาถูก ราคาในวิชชามักจะสูงลิ่วครับ ซึ่ง "ค่าวิชชา" แบบนี้ ถ้าเรายังคว้ากายสิทธิ์เองไม่เป็น ก็ควรจ่ายไปเพื่อความสะดวกครับ อนึ่ง เมื่อได้ลูกแก้วสายหลวงปู่ดู่มาแล้ว อย่าเพิ่งตกใจว่าจริงหรือปลอม เก่าหรือใหม่ เพราะองค์กายสิทธิกร (รัตนากร) ยังสามารถซ้อนให้ได้ ตามสายวิชชาของหลวงปู่ดู่ที่สืบทอดกันมา ให้ลองนำไปให้ผู้ทรงวิชชาที่คุ้นเคยกัน ช่วยตรวจดูให้ก่อนครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

2 กุมภาพันธ์ 2566

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ตอน อันดับที่นั่งในเทพสมาคม (Version 3.0)

เทพสมาคมคืออะไร? ทำไมต้องเข้าร่วม? เทพสมาคมก็คือ งานประชุมของเหล่าทวยเทพเทวดา ซึ่งแบ่งออกเป็นหลากหลายรูปแบบ ทั้งประชุมใหญ่ในระดับโลกธาตุ ประชุมระดับหลายหมื่นจักรวาล ประชุมเฉพาะจักรวาล หรือประชุมเฉพาะกลุ่ม อย่างเช่นชาวพุทธ ประชุมภพ 3 หรือประชุมเฉพาะเทวดา อย่างไรก็ตาม ท่านที่ติดตามอ่านผลงานของผม คงมีพื้นฐานดีพอแล้ว ว่าเทวดาท่านแบ่งแยกชนชั้นวรรณะกันอย่างไร แล้วผมก็อ้างทฤษฎีทางจิตวิทยาด้วยว่า เมื่อมนุษย์มีปัจจัยสี่พร้อมสรรพแล้ว สิ่งที่มนุษย์มักแสวงหาต่อไป ก็คือ “การได้รับความยอมรับจากสังคม” และเนื่องจากเทวดา ก็คือมนุษย์ที่ทำบุญแล้วไปเกิดบนสวรรค์ เทวดาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอดอยาก มีแต่เสวยมาก เสวยน้อย แล้วเมื่อเทวดามีพร้อมทุกอย่าง สิ่งที่มักจะทำกันก็คือสังสรรค์เข้าสังคมเทวดาด้วยกัน

การสังสรรค์ของเทวดา ก็เหมือนการที่คุณหญิงคุณนาย คุณชายคุณท่าน ในเมืองมนุษย์ ออกงานเลี้ยงนั่นล่ะครับ แต่ที่ผมจะขอเอ่ยถึงในวันนี้ ไม่ใช่งานสังสรรค์ระดับวิมาน หรือปาร์ตี้ตามอุทยาน แต่เป็น “งานมหาเทวสมาคม” ซึ่งเทวดาต้อง “จัดเต็ม” ในการเข้าร่วม ซึ่งถ้าจะให้ผมเปรียบเทียบ ก็คล้ายๆ งานอภิเษกสมรส ของกษัตริย์แห่งราชวงศ์ยุโรป หรืองานเดินพรมแดง รับรางวัลออสการ์ หรืองานประกวดมิสยูนิเวอร์ส ที่แขกเหรื่อ ถึงพร้อม ทั้งเสื้อผ้า หน้าผม รถ รองเท้า กระเป๋า เครื่องประดับ วูบวาบ วิบวับ กันทั้งงานครับ ท่านที่มีเยอะก็ไปเพื่อโชว์กันจริงๆ ราวกับตู้เพชร ตู้ทองเคลื่อนที่ ส่วนท่านที่ตั้งใจจะไปชม ก็เหมือนประชาชนอยากแห่ไปเจอดารา หรืออยากชมบารมีของเทพองค์ดังๆ สำคัญๆ หรือพระพุทธเจ้าทรงมาแสดงธรรม ก็ตั้งใจไปฟังธรรม ไปชมพระบารมีของพระพุทธเจ้า เหมือนอย่างท่านอังกุระเทวบุตร กับอินทกะเทวบุตร ก็มี ครั้นที่นั่งอยู่ห่างไกล มันก็ประทับใจน้อยลง เป็นอย่างนี้ครับ

แล้วทำไมเทพสมาคมต้องออกไปอวดกันด้วย อยู่วิมานเงียบๆ อย่างมีความสุขไม่ได้หรืองัย? คำตอบก็คือใช่ครับ สังคมเทวดาเป็นเหมือนสังคมของคนรวย เขามีทิพยสมบัติเป็นกระตักๆ อยู่ในวิมาน ใส่อยู่แต่ในวิมานมันไม่สะใจ ต้องหาเรื่องออกไปข้างนอกแล้วใส่โชว์ครับ ส่วนเทวดาที่มีน้อย หรือไม่มี ก็ไม่ค่อยกล้าไปไหนครับ อยู่ในวิมานเป็นร้อยๆ ปี พันปีทิพย์ มันก็เซ็ง เพราะไม่มีงานต้องทำ ยกเว้นแต่ไปสวนสาธารณะ หรืออุทยานภายในเขตชุมชนของตน หรือไม่ก็ไปเที่ยวสวรรค์ชั้นต่ำกว่า เพื่อความสบายใจกว่า และเป็นการปลอบใจตนเองครับ

อ่ะนะ แล้วถ้าเข้าเทพสมาคม จะเป็นยังไง? เทพสมาคมที่ใหญ่ที่สุดคือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ครับ เพราะเป็นสวรรค์ชั้นที่มีประชากรมาก และเทวดาจากชั้นล่างพอจะสะดวกขึ้นไป และเทวดาจากชั้นสูง ก็สะดวกลงมา แล้วยิ่งมาจากจักรวาลอื่นอีก ยิ่งไปกันใหญ่ ซึ่งเทวสภานั้น ท่านก็ขยายได้ด้วยเทวฤทธิ์ แล้วท่านก็มีเทพที่ถนัดในเรื่องนี้คอยทำให้ ไม่ว่ามากันเท่าไร ก็พอจะรองรับได้พอสมควร ยกเว้นผู้ที่มาสาย ต้องนั่งรอข้างนอก หรือว่าบุญบารมีวาสนาน้อยกว่า เมื่อผู้ที่มีบุญมากกว่านั่งแน่นเอี้ยด เต็มข้างในไปหมดแล้ว ผู้ที่มีบุญบารมีวาสนาน้อยก็ต้องนั่งรอข้างนอก

แล้วถ้านั่งในเทวสภา เขานั่งกันอย่างไร? เทวสภานั้นก็คล้ายๆ ศาลาวัดครับ คือตรงกลางด้านหน้าสุดจะเป็นมณฑป สำหรับองค์ปาฐก หรือองค์ประธานประกอบพิธี แล้วแวดล้อมด้วยแถว ที่จัดเป็น “ครึ่งวงกลม” เหมือน Amphitheatre (ขึ้นอยู่กับองค์ประชุมด้วย แต่ในที่นี้ขอกล่าวถึงการประชุมรวมใหญ่) โดยแถวที่ 1 เมื่อหันหน้าเข้าสู่พระมณฑป จะอยู่ขวามือใกล้ชิดพระมณฑปมากที่สุด แล้วก็ไล่เรื่อยมาโดยประมาณ 16 ถึง 24 แถว ขึ้นอยู่กับองค์คณะเข้าประชุม ว่าจะจัดแบบไหน ฉะนั้น จะไม่มีผู้เข้าร่วมประชุมท่านใดอยู่ข้างหลังพระมณฑป ยกเว้นยามรักษาการ

ทั้งนี้ ภายในแถวองค์ประชุมนั้นไล่ตามลำดับเกียรติของผู้เข้าร่วมประชุมจากสูงสุดคือหัวแถว ไปหางแถวคือน้อยกว่า แต่ระหว่างแถวด้วยกันจะแยกกลุ่มดังนี้ (1) เจ้าประกาศิต (2) พรหมบดี และพรหมนิกร องค์อำนวยการงานประชุม ในฐานะฝ่ายเจ้าภาพผู้จัดงาน (3) จ้าวธาตุ จ้าวธรรม จอมธาตุ จอมธรรม องค์ธาตุ องค์ธรรม (4) เจ้าสุเทวหะ หรือเหล่าเทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ อย่างเช่นพระศิวะ พระแม่อุมา เทพโอลิมปัส (5) จอมไท และองค์ไท อย่างเช่นพระเยซู พระแม่มารี (6) สุพราหมณ์ และเหล่าบรรพชิต เช่นพราหมณ์ราชครู (7) องค์นักษัตร และองค์นรรัตน์ เหล่าสัตว์ผู้มีฤทธิ์ จำแลงเข้าเทพสมาคม อย่างเช่นพญามังกร ราชสีห์ พญาหงส์ พญานกยูง (8) พระเจ้าจักรพรรดิราช และเหล่ารัตนะบุคคล (9) เทเวหราชย์ เหล่าหน่อเนื้อกษัตริย์ ที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ (10) ตาปะขาว เหล่านักพรต เช่นอาจารย์ลัทธิเต๋า (11) เทพเซียน เช่น เง็กเซียนฮ่องเต้, เง็กเซียนไทเฮา, ฮก-ลก-ซิ่ว, เซียน, เทพนาจา, เซียนสายรุ้ง (12) องค์เมฆินทร์ผู้ทรงวิชชา และเหล่าเวฆินทร์ (13) ท้าวพรหมราช และพรหมเสนาบดี ผู้ปกครองพรหมโลก ในฐานะผู้ร่วมงาน (14) ท้าวเทวราช และเทพบดี เช่นท้าวเทวราช ผู้ปกครองสวรรค์ (15) พระพุทธเจ้า พระสมณะไพศาล เช่นพระสังฆราช พระสังฆนายก เหล่าปวงสมเด็จพระสมณวงศ์ และพระอรหันต์ขีณาสพ (16) องค์ตุลาฯ ผู้ผดุงความยุติธรรม (17) เหล่าภูติทิพยชีวา เช่นมนุษย์ต่างดาว ผู้มีภูมิธรรมสูง (18) เจ้าโพธิ คือเหล่าพระโพธิสัตว์, พุทธโพธิ, โพธิจักร, อริยโพธิ และองค์โพธิ ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ หรืออริยภูมิ ในหลากหลายวิถี (19) ปิตุชาติ มาตุชาติ มารดา บิดา ของผู้ทรงคุณใหญ่ เช่นพระพุทธบิดา พระพุทธมารดา (20) เจ้าพิธี เทพเทวา และผู้ที่ดำริ พร้อมทั้งเลี้ยงและรักษาพิธีกรรมต่างๆ อย่างเช่น พิธีสงกรานต์ พิธีลอยกระทง พิธีคริสต์มาส พิธีอีสเตอร์ (21) ผู้ทรงวิชา และเหล่าวิทยาธรผู้มีศักดิ์ใหญ่ มีวิชาอันเป็นที่รู้จักและร่ำเรียนกันอย่างกว้างขวาง (22) เจ้าพืชและหมอยา (23) เจ้าวิทยายุทธ ผู้ผดุงธรรม เช่นพระวัดเส้าหลิน (24) ยายกะตา คือผีบรรพบุรุษ ตามศาลเจ้า ศาลหลักเมือง คนทรง ผีมีฤทธิ์ ตามลัทธิความเชื่อต่างๆ เช่นขงจื่อ, ชินโต, ผีนัต ของเมียนมาร์ และอื่นๆ ซึ่งเป็นที่นับถือ (25) อื่นๆ ตามแต่เทพสมาคมจะจัดสรรให้เหมาะแก่โอกาส และประเภทของผู้มาเข้าร่วมประชุม เช่น การจัดสรรเรียงแถวให้ผู้เข้าร่วมประชุมจากแถวที่ 1 ถึง 24 ดังกล่าว ไม่ได้เรียงแถวตามลำดับจากเลิศสุดไปด้อยสุด แต่จัดโดยผดุงเกียรติของทุกฝ่ายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เหมือนจะเลือกปฏิบัติบ้างในฐานะที่ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นพระอริยเจ้า แต่ก็ไม่เชิงเลือกปฏิบัติทั้งหมด เพราะมุ่งเน้นธำรงเกียรติของทุกฝ่าย

             ทำอย่างนี้จะแฟร์เหรอ? ทำไมเทวดาต้องยึดติดเรื่องที่นั่ง? มันไม่เป็นกิเลสเหรอ? เรื่องที่นั่งในเทวะมหาสมาคมนั้น ผมขอยกตัวอย่างเรื่องของ "พระอรหันต์จัดอาสนะ" ครับ ในสมัยพุทธกาลนั้น แม้แต่พระอรหันต์ด้วยกัน ก็ยังต้องรู้จักจัดอาสนะในสังฆสภา ให้เหมาะสม ว่าใครเป็นพระอัครมหาสาวก ใครเป็นพระอสีติมหาสาวก ใครเป็นพระอาคันตุกะ ใครเป็นองค์อรหันต์มหาเถระ อนาคามี สกทาคามี โสดาบัน ขนาดพระอรหันต์ไม่มีกิเลส ก็ยังต้องจัดลำดับที่นั่งให้เหมาะสมครับ ฉันใดก็ฉันนั้น โลกทิพย์ยังมีสิ่งลี้ลับ นอกเหนือพระพุทธศาสนา และพระธรรม 84,000 พระธรรมขันธ์ นอกเหนือใบไม้ในกำมือของพระพุทธเจ้า ซึ่งเทพพรหม และเทวดา ท่านนับถือกัน เพราะท่านอยู่กันมานานตั้งแต่ยุคก่อนพุทธันดรปัจจุบัน มีความเชื่อต่างๆนาๆ มี diversity หรือความหลากหลายแห่งความเชื่อและศรัทธา ที่พาคณะของท่านขึ้นสวรรค์ได้หลายแบบ เหล่าเทวดาก็มาจากมนุษย์ ก็นับถือต่างๆ กันไป ท่านก็ต้องจัดให้ตามลำดับเกียรติ กับบุญบารมี ที่สมกับเกียรตินั้นรวมๆ กันไปครับ โดยคำนึงถึง (1) ความทรงธรรม ซึ่งธรรมในที่นี้เราไม่ได้หมายถึงเฉพาะพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นธรรมที่เปรียบเสมือนใบไม้ในป่าประดู่ลาย (2) ความทรงคุณ คือคุณูปการที่ผู้เข้าร่วมเทพสมาคมได้เคยทำเอาไว้ เช่นองค์บูรพามหากษัตริย์ที่ทรงสู้รบกอบกู้ชาติ ทำให้มีแผ่นดินที่ประชาชนอยู่กันอย่างมีความสุข (3) ความทรงธาตุ คือเป็นผู้ที่มีบุญมาก เหมือนเศรษฐีบุญ แม้จะยังไม่เป็นพระอริยบุคคล ทำประโยชน์ไม่มาก แต่เคยทำบุญแบบที่ได้บุญมาก เช่นใส่บาตรครั้งเดียวกับพระอรหันต์ที่ออกจากนิโรธสมาบัติ อย่างมหาทุคตะ ก็ได้รับเกียรติในเทพสมาคมมาก และ (4) อื่นๆ

การจัดลำดับที่นั่งที่นำเสนอไว้ในบทความนี้เป็นการจัดแบบ “มหาเทวะสมาคมแบบรวมใหญ่” ครับ ไม่ใช่การจัดแบบเฉพาะชาวพุทธ หรือผู้ที่สนใจในพุทธศาสนา หรือไม่มีศาสนา มิฉะนั้นแล้ว เทวดาต่างศาสนาท่านจะไม่ยอมเข้าร่วม บางศาสนามีเขตปกครองพิเศษเป็นของตนเอง เหมือนแดนสุขาวดี ขององค์พระยูไล ที่เป็นภพพิเศษปกครองตนเอง ซึ่งแม้จะมีความละเอียดและบรรยากาศคล้ายสวรรค์ แต่ก็ไม่ขึ้นตรงต่อองค์เทวราชผู้ปกครองสวรรค์ ส่วนลำดับที่นั่งในเทวะมหาสมาคม ก็เป็นการจัดระดับชนชั้น หรือ class ของผู้บำเพ็ญไปในตัวครับ เวลาพบเจอกันข้างนอกเทวสภา ก็พอจะอนุมานได้ว่าใครใหญ่กว่าใคร เนื่องจากเวลาเข้าสมาคม ทุกคนจัดเต็ม แล้วก็จะได้รู้กันว่าเมื่อ “จัดเต็ม” แล้ว “มีกำลัง” เท่าไร คล้ายงานราตรีสโมสรสันนิบาต ที่ผู้เข้าร่วมงานแต่งเต็มยศ ใครเป็นทหาร เป็นตำรวจ เป็นข้าราชการ เป็นทูต ก็จะได้รู้กัน เพราะเครื่องแต่งกายบ่งบอก ถ้าพบกันข้างนอก แต่งแบบลำลองๆ ยังดูไม่ออกเด่นชัดพอ อีกทั้งในสมาคมยังมีที่นั่งเป็นดรรชนีชี้วัดความสำคัญของแต่ละท่านด้วย  ที่นั่งของผู้เข้าร่วมงานนั้น มีความวิจิตรงดงามตระการตา และเปล่งรัศมี อาจกล่าวได้ว่าแม้แขกผู้ร่วมงานยังไม่ทันเข้าสภา ที่นั่งก็แข่งกันเองอยู่แล้ว ว่าของใคร “เริ่ดหรูหรา” กว่าใคร

โดยชนชั้นของเทวดาแล้ว ประเด็นที่ต้องคำนึงถึง 2 ประเด็น คือ (1) เพื่อให้เกียรติกัน คือเราใหญ่กว่า แต่แสดงออกอย่างเสมอ หรือด้อยกว่า ก็ไม่น่าเกลียด กับ (2) เพื่อข่มผู้ที่ควรข่ม คือบางท่านแสดงออกอย่างไม่สมควร เราจึงค่อยข่ม เพื่อให้เขาถอยไป นอกจากนี้ บางท่านอาจมีที่นั่งในเทพสมาคมหลายที่นั่ง ซึ่งมีสิทธิ์เลือกได้ ว่างานใด จะนั่งตรงไหน เช่น เป็นเจ้าประกาศิต ชั้นเจ้าสุริยะรังสี ในขณะเดียวกันกับที่เป็นพระโพธิสัตว์ด้วย จะเลือกนั่งลำดับที่ 65 ของเจ้าประกาศิตก็ได้ หรือจะนั่งลำดับที่ 50 ในแถวของพระโพธิสัตว์ก็ได้ เพราะบางทีเพื่อนมา ก็อยากนั่งกับเพื่อนๆ หรือมีผู้หลักผู้ใหญ่มา ก็ยินดีถอยไปนั่งห่างหน่อย เพื่อให้เกีรยติผู้ใหญ่ที่นับถือ

อนึ่ง การจัดที่นั่งในเทพสมาคมนั้น ถือเป็นการจัดระเบียบสังคมเทวดา ซึ่งยึดถือกันคล้าย พุทธประเพณี อริยประเพณี และเทวประเพณี อันพึงธำรงคงรักษาไว้ ประดุจกติกามารยาท ที่ทุกหมู่เหล่าพึงตระหนัก เพื่อให้งานพิธี และการประชุมดำเนินไปโดยราบรื่น เหมาะสม เหมาะควร ผดุงเกียรติของทุกฝ่าย ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะว่าไปก็คงหนีไม่พ้น การเปรียบเทียบกับประเทศสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ที่ยังคงมีจารีตแห่งชนชั้นวรรณะ ในขณะที่เป็นประเทศเจริญแล้ว สมกับเป็น “เมืองผู้ดี” คือมีกติกามารยาทเป็นกรอบบทบาทและหน้าที่ ซึ่งสมาชิกในสังคมทุกคนพึงมีสามัญสำนึกตระหนักทราบและนำไปปฏิบัติ เพื่อขับเคลื่อนเป็นพลวัตทางสังคมโดยรวม ในทุกระดับชั้น ยังให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้จะมีความแตกต่างเหลื่อมล้ำเหล่านั้นครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 30 - 31 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน เมดเล่ย์ ตรุษจีน 2566

กง เหย ฟ้าด ฉ่อย! ครับทุกท่าน ตรุษจีนปีนี้ ขอให้มีความสุขครบทั้ง 3 วัน คือวันไหว้ วันจ่าย วันเที่ยว และตลอดปีครับ วันนี้ผมพอมีเวลา จึงรจนาความ “นานาสาระ” สำหรับวันที่ 21 – 23 มกราคม พ.ศ. 2566 เนื่องในโอกาสเทศกาลตรุษจีนครับ

การไหว้เจ้ายังได้กิน เคารพฟ้าดิน ยังเป็นที่เอ็นดู เทวดาท่านก็มีฤทธิ์อยู่ในขอบเขต ท่านช่วยได้ด้วยเทวฤทธิ์ ซึ่งมีแรงหนักเบามากน้อย แต่เทวดาสัมมาทิฐิท่านจะรู้สึก “เอ็นดู” ถ้ามนุษย์มากราบไหว้บูชาครับ ยิ่งถ้าหากเป็น “เทวดาพระอริยบุคคล” ท่านเป็นเนื้อนาบุญให้เราได้ ส่วน “เทพพระโพธิสัตว์” มักมีใจกรุณา แต่เนื่องจากมนุษย์ที่ต้องช่วยก็มีมาก ส่วนใหญ่จะต้อง “พบกันครึ่งทาง” เช่นถือศีลกินเจ สวดมนต์ บริกรรมภาวนาคาถาของท่าน ให้ชีวิตฝักใฝ่อยู่ในบุญ แล้วท่านก็ช่วยในส่วนของท่าน ความเป็นอยู่ก็จะดีขึ้น เทวดาก็เหมือนมนุษย์แหละครับ มนุษย์คนไหนร่ำรวย เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านในเมือง แล้วคนเดือดร้อนมาขอความช่วยเหลือ ก็ช่วยๆ กันไป แต่ใครรับเงินไปแล้ว หรือหายเจ็บป่วยแล้ว ก็ไปกินเหล้าเมายา เล่นหวยเล่นการพนัน ท่านก็ไม่อยากช่วย ส่วนการเคารพบูชาเทวดาที่เป็นมิจฉาทิฐิหน่อย พวกเขาก็จะรู้สึก “หยิ่งผยองขึ้น” เมื่อมนุษย์มากราบไหว้บูชาครับ

วันตรุษจีน ต้องใส่ชุดแดงครับ ซองอั่งเปาต้องเป็นสีแดง ผมเคยใช้ซองอั่งเปาเป็นสีทอง แล้วเทพผู้รักษาประกาศิตท่านทักมาว่า ถ้าใช้ซองสีแดงจะได้อานิสงส์มากกว่า เพราะ “เจ้าพิธี” ท่านรักษาวิช(ช)าตามนั้นครับ สำหรับอาหารไหว้เจ้า ที่ไม่ใช่ไหว้ผีนะครับ ไหว้แล้วนำมาอุ่นให้ร้อน แล้วรับประทานกันพร้อมหน้า พร้อมตา กับสมาชิกครอบครัว ไม่พึงมุ่งเอาแต่ว่าจะได้อานิสงส์อาหารทิพย์อะไรรับประทานในสวรรค์ครับ ทำบุญกับพระก็ทำแล้ว บูชาเทวดาผู้เป็นบุคคลอันควรบูชาก็เป็นสิริมงคลครับ ธรรมเนียมวันตรุษจีนนั้น ถ้าทำตามพิธี แล้ว “เจ้าพิธี” จะ “เลี้ยงวิชชา” ครับ ทำให้ผู้ยึดถือปฏิบัติตามแบบแผนจารีตประเพณี รู้สึก “ชื่นมื่น” จะมากจะน้อยก็ว่ากันไปครับ เจ้าพิธีนั้นก็คือผู้ที่รักษาวิช(ช)าให้พิธีกรรมยังคงอยู่ และคงความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ความสุข เหมือนอย่างเทศกาลสงกรานต์ เทศกาลคริสต์มาส วันไหว้พระจันทร์ ล้วนมีเจ้าพิธีเลี้ยงรักษาอยู่ครับ ถ้าพิธีกรรมนั้นไม่เป็นที่ยึดถือปฏิบัติตามกันอีกต่อไปแล้ว เทวดาเจ้าพิธีก็หมดและพ้นหน้าที่ไปครับ

ใน “วันเที่ยว” เรานิยมตระเวนออกไปทำบุญตามวัดวาอาราม โดยเฉพาะวัดจีน อย่างวัดเล่งเน่ยยี่ หรือวัดมังกรกมลาวาส เพื่อความเป็นสิริมงคล รับโชค รับชัย ตรุษจีน ท่านใดประสงค์จะทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิต ผมขอแนะนำ "ถวายของมงคล" กันครับ ได้แก่ (1) เปลือกหอยสังข์ (2) ลูกประคำ (3) คัมภีร์หูกหรือม้วน (4) ผอบเจดีย์ (5) ลูกแก้ว (6) พัดขนนก (7) น้ำเต้า และ ( 8 ) ไม้คทาปรกศีรษะ, ด้ามชนวนจุดเทียน หรือไม้ดรัมเมเยอร์ โดยสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะถวายแด่วัดวาอาราม, สำนักบรรพชิต, โรงเรียน, หรือบุคคลผู้ทรงคุณครับ ของมงคลมีมากมายหลายอย่าง เป็นของที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ผู้มีอานุภาพและเป็นที่นับถือกัน จะถือไว้ด้วย “กรปาฏิหาริย์” เพื่อแสดงฤทธิ์ และช่วยเหลือผู้คน เหมือนพระโพธิสัตว์กวนอิมปาง “พันกร” ซึ่งท่านเนรมิตขึ้นเป็นอานุภาพของท่านในเชิงสัญลักษณ์ ของมงคลต่างๆ เหล่านั้นที่เราควรถวาย อานิสงส์ก็จะกลายเป็น “ของวิเศษ” สำหรับเราในภพทิพย์ครับ เพราะผู้ทรงคุณท่านรับแล้วนำไปใช้ ยังให้เกิดอานิสงส์มาก

ตามกฎแห่งกรรมแล้ว ทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้น ถวายผ้า ก็ได้อาภรณ์ทิพย์อันเลิศ ถวายสิ่งปลูกสร้าง ก็ได้วิมาน ถวายภัตตาหาร ก็ได้อาหารทิพย์ นี้คือ "บุญญาอานิสงส์โดยตรง" แต่การได้สิ่งอื่นๆ เป็นผลพลอยร่วมได้ เช่นใส่บาตร แล้วได้ยวดยานพาหนะ อย่างเทวรถ บางทีมันมีอานิสงส์ทางอ้อมอยู่ เช่นพระฉันภัตตาหารแล้วมีแรงเดินจงกรม เราก็ได้อานิสงส์เป็นยานพาหนะ อย่างนี้ครับ ส่วนใครถวายสิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัย ได้ชื่อว่าให้ทุกอย่าง ก็จะได้ทุกอย่างรวมๆ กัน โดยมีสิ่งปลูกสร้างเป็น "บุญเด่น" ถ้าใครถวายทรัพย์ หรือเงินธนบัตรและเงินเหรียญกษาปณ์ สมบัติทิพย์จะอยู่ในรูปของ "ใบไม้วิเศษ" หรือ “บัตรของขวัญ” ที่อยู่ตามต้นไม้มหาสมบัติอย่างเช่นต้นกัลปพฤกษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่ ทำต้นกฐิน ต้นผ้าป่า แล้วติดธนบัตรไว้ นำไปประเคนถวายพระสงฆ์ สมบัติทิพย์จะอุบัติเกิดขึ้นเป็นใบไม้วิเศษ หรือบัตรของขวัญ ที่เด็ดมาอธิษฐานขอเป็นอะไรก็ได้ เช่นเดียวกับเหรียญกษาปณ์ทองคำ และเหรียญกษาปณ์เงิน อธิษฐานขอแล้วกลายเป็นเทวรถ, เป็นเสื้อผ้า, เป็นเครื่องประดับ, อาหารทิพย์  ได้ตามใจปรารถนาทั้งนั้น แต่จะมีอายุการใช้งานระยะหนึ่ง ถ้าเราถวายธนบัตรมูลค่ามาก เช่นใบละ 1,000 บาท สมบัติที่อธิษฐานขอได้ จะดีมาก และอยู่ได้นานกว่า ใบละ 500, 100 และ 20 บาท  เมื่อหมดฤทธิ์ ก็จะอันตรธานหายไป แล้วต้องอธิษฐานขอใหม่ครับ หรือจะเด็ดหลายๆ ใบมารวมกันแล้วอธิษฐานทีเดียวเลยก็ได้ อาจจะขอได้มากถึงกับเป็น “ศาลาทิพย์” ครับ ใบไม้วิเศษ และบัตรของขวัญ ที่อยู่ตามต้นไม้วิเศษเหล่านี้ เมื่อเด็ดออกมาแล้ว ก็จะมีของใหม่เกิดขึ้นแทนที่ ใช้ได้ไปเรื่อยๆ ตราบกว่าเทพบุตรเทพธิดาเจ้าของวิมานจะหมดบุญสิ้นอายุครับ

ท่านใดที่จะเปลี่ยน “กิมฮวย” ประดับกระถางธูป กิมฮวย มีทั้งแบบหาซื้อตามร้านค้า หรือ “ประมูล” มาจากวัดจีน, โรงเจ, ศาลเจ้า ต่างๆ ซึ่งได้มาด้วยการทำบุญให้กับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น กิมฮวยจากการประมูลจะมีอานิสงส์พิเศษ ซึ่งบางชิ้นมีเทวดารักษา และถ้าเราจะขอ “มยุรี, มยุรา, มยุรินทร์ ฯลฯ” ท่านก็สามารถประทานให้เราได้ โดยอาจมีค่ากำเน็จแลกเปลี่ยน ส่วน  “กิมฮวย” ของเก่าที่ใช้นานแล้ว หรือใช้มาตั้งแต่ตรุษจีนปีก่อน ตามธรรมเนียม ท่านจะนำไปเผาพร้อมก้านธูปปิดท้ายการเผากระดาษเงินกระดาษทองครับ แต่ท่านใดที่เสียดาย จะแกะเอาแววหางนกยูงออก แล้วนำมาล้าง ผึ่งให้แห้ง แล้วใช้ทำที่คั่นหนังสือก็ได้ครับ บางชิ้นอาจจะ "มีคุณาฤทธิ์ อยู่ด้วยนะครับ ผู้ที่ทำบุญหรือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วย "แววหางนกยูง" จะมี ผม, ขน, คิ้ว ที่งามมากครับ ถ้าจะให้เปรียบเทียบ ผมขอเทียบ "คิ้วของ คุณ ณเดชน์" เมื่อเทียบกับดาราอื่นๆ แต่ของเทวดาจะสวยกว่าอีกประมาณ 7-8 เท่า ดูเท่ๆ โฉบเฉี่ยวกว่าใคร

ทำไมต้องยึดติดกับสิ่งเหล่านี้ด้วย? พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราปล่อยวาง ความโลภ ความโกรธ ความหลง มิใช่หรือ? คำตอบก็คือ “ถูกต้องครับ พระพุทธเจ้าทรงสอนถูกแล้ว” แต่พระพุทธเจ้าทรงอยู่ในสถานภาพอันสูงสุด ไม่ต้องค้อมคำนับหรือไหว้ใคร และเมื่อทรงปรินิพพานแล้ว ทรงเสด็จเข้าไปอยู่ในเมืองพระนิพพาน ซึ่งพระพุทธเจ้าด้วยกันในเมืองนิพพาน ก็เคารพนับถือกันตาม “อายุบารมี” ครับ ส่วนผู้ที่ยังอยู่ข้างหลัง คือชาวพุทธปุถุชน ชาวพุทธอริยบุคคลชั้นต้น ก็ยังต้องอยู่ในโลกมนุษย์ เวียนเกิดในโลกสวรรค์ ยังต้อง “ยินดียินร้าย” กันอยู่อย่างนี้ ในฐานะชาวพุทธอริยบุคคล เราก็ควรใช้เวลาที่เหลือก่อนเข้าพระนิพพาน ให้อยู่อย่างสมเกียรติครับ สมกับที่เราเป็นพระอริยบุคคล เทวดานั้นท่านนับถือพระอริยบุคคล เหมือนเป็นนักบวช นักพรต คล้ายๆ แม่ชี หรือผู้บวชชีพราหมณ์ ครับ ส่วน “สมณเทวะ” และ “ผู้ทรงวิชชา” ท่านแยกต่างหาก และนับถือกันเฉพาะในแวดวงวิชชา เพราะเรื่องในวิชชาบางทีเทวดาทั่วไปท่านไม่รู้ไม่เห็น ยกเว้นบางท่านที่ทรงวิชชาเหมือนกันจะตรวจเห็นได้ แต่ถ้าเป็นเทวดาพระอริยบุคคล แล้วทรงวิชชาด้วย อันนี้ยิ่งดีใหญ่ครับ จะตรัสเป็นเจ้าใหญ่ในสวรรค์อย่าง “องค์เวฆินทร์” หรือ “องค์เมฆินทร์” ก็ไม่มีใครว่า ไม่ค้านสายตาใครครับ

"พัสตรา" ส่อภาษา "ลดา" ส่อสกุล สังคมเทวดานั้น จะว่าไปก็คล้ายๆ สังคมของประเทศอังกฤษครับ คือไม่ค่อยมีคนจนอดอยากอนาถา มีแต่รวยมาก รวยน้อย ส่วนคนที่ไม่รวย ก็ยังอยู่ดีกินดี แล้วก็มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ มี “จารีตมารยาท” ที่ต้องรักษา แม้จะไม่พูดดูถูกกันซึ่งๆ หน้า แต่ก็จะให้นัยยะแบบ ให้รู้ตัวเอาเอง การพูดจา ก็พูดอย่างสุภาพและมีชั้นเชิง ครั้นจะตำหนิด่า ก็พูดด้วยภาษาขึ้นสำเนียงออกดั้งจมูก กล่าวอ้อมๆ เชิดใส่ ให้ไปคิดเอา แล้วก็ถอยออก ใครใหญ่กว่า ชนชั้นสูงกว่า อย่างเจ้าภพ คือผู้ปกครอง เป็นเหมือนพระมหากษัตริย์ มีพระมเหสี พระโอรส พระธิดา ใครๆ ต้องยำเกรง ส่วนประเภทเจ้าขุนมูลนาย หรือ “ลอร์ด” คือเจ้าประกาศิต ก็ต้องถวายเกียรติ ให้ความเคารพ ได้สิทธิพิเศษอยู่เสมอๆ โดยรวมแล้วปกครองกันตาม “บุญญาวาสนา” แต่ก็มีระบบการบริหารเป็นกรอบ เพื่อให้ผู้มีบุญญาธิการมากน้อยต่างๆ ที่มาเกิดเป็นเทวดาได้เข้ามาอยู่ในกรอบหลวมๆ นั้น ตามเขตการปกครอง ผู้ที่มีสมบัติทิพย์มากที่สุด ไม่ใช่เจ้าผู้ปกครองภพ เพราะผู้ปกครองภพ มีบุญญาวาสนาจากการบำเพ็ญ “วัตตบท 7 ประการ” แม้จะมีทิพยสมบัติไม่เท่าเทพบริวาร แต่ก็มีตำแหน่งผู้บริหารด้วยอานิสงส์แห่งธรรมที่บำเพ็ญมา ก็เหมือนเมืองมนุษย์ ที่เศรษฐีใหญ่ๆ อย่างท่านบิล เกตส์ มีทรัพย์มากกว่า ในขณะที่ ฯพณฯ โจ ไบเดน เป็นประธานาธิบดี มีตำแหน่งบริหารสูงสุด แต่มิได้มีทรัพย์มากเหมือนท่านบิล เกตส์ ครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้ สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันตรุษจีนที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน จราจรสวรรค์

การศึกษาพระไตรปิฎก ทำให้เราทราบเรื่องราวเกี่ยวกับ “เมืองสวรรค์” มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อพระมหาโมคคัลลานะ พระอัครมหาสาวกเบื้องซ้าย ผู้เลิศด้านอิทธิฤทธิ์ ได้เหาะเหินเดินอากาศ เข้าไปเยี่ยมเหล่าทวยเทพเทวดา แห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อย่างเช่น “โคบาลเทวบุตร” (https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=2236&Z=2338) ผู้มีเทวรถคันงามตระการตา แล้วนำเรื่องราวกลับมาเล่าสู่กันฟังให้พุทธบริษัทได้ทราบ พลอยให้พากันกระตือรือร้นทำบุญทำกุศลกันยกใหญ่ เพื่อให้ได้ทิพยสมบัติเช่นนั้นบ้าง โดยไม่พึงลืมว่า มรรคผลนิพพาน คือ “ธรรมสมบัติ” ที่เป็นเป้าหมายสำคัญสูงสุดสำหรับชาวพุทธทั้งปวง

เมื่อเอ่ยถึง “เทวรถ” บางท่านก็นึกถึงรถที่ นายละคร นางละคร เล่นโขน ขึ้นราชรถจำลองแลดูวิจิตร แต่แท้จริงแล้ว เทวรถนั้นมีหลากหลายลีลา ไม่ซ้ำแบบกันเลยทุกคัน อุปมาเหมือน “ลายนิ้วมือ” ของมนุษย์ ที่แทบจะไม่มีซ้ำกันเลย ของใครก็ของคนนั้น แต่อาจจะมีดูคล้ายๆ กันบ้าง ก็เพราะบุพกรรมที่ทำนั้นใกล้เคียงกัน เช่น ถวายรถตู้โตโยต้า รุ่นเดียวกัน สีเดียวกัน ให้กับวัด แต่ต่างวาระโอกาส ผลบุญกรรมที่ส่งให้เกิดเป็น “เทวรถ” อาจจะใกล้เคียง แต่เมื่อดูในรายละเอียดแล้วก็จะไม่เหมือนกัน หรือต่างกันไปเลยก็ได้ เพราะ “ใจ” ของผู้ถวายนั้นแตกต่างกัน บางท่านถวายด้วยความศรัทธายิ่ง แม้จะมีทรัพย์น้อย แต่ก็พยายามจัดหามาด้วยความยากลำบาก แล้วถวายให้เป็นของสงฆ์ ในขณะที่บางท่านเป็นเศรษฐี แต่มิได้มีกำลังใจทุ่มเทมากในการถวายรถ ทำอย่างสบายๆ และบางทีก็ถวายเป็นสมบัติของส่วนตัวของพระภิกษุ ด้วยเหตุปัจจัยที่ไม่เท่ากัน จึงส่งผลให้ การถวายรถยนต์ สีเดียวกัน รุ่นเดียวกัน คันใหม่เหมือนกัน จึงส่งผลเป็นเทวรถ อันเป็นทิพยสมบัติที่แตกต่างกันไปได้

แต่ในบทความนี้ เราจะไม่ขออธิบายยืดยาวว่า เพราะเหตุใดเทวรถจึงไม่เหมือนกัน แต่ขอสรุปเพียงว่า “เหตุปัจจัยร่วม” ในการก่อให้เกิดบุญนั้นไม่เท่ากัน และไม่เหมือนกัน แม้จะเป็นรถหรือทานวัตถุอย่างเดียวกันก็ตาม เพียงเท่านี้ก็พอปูพื้นความเข้าใจได้ ส่วนบทความนี้จะขอกล่าวถึง การเตรียมความพร้อม ในการโดยสารหรือขับเทวรถไปเที่ยวสวรรค์ ว่าท่านพร้อมกันมากน้อยเพียงใด ซึ่งผู้ที่อยู่ใน “สายบุญ” อยู่แล้ว คงบอกกันว่า เรื่องเทวรถแค่นี้ จิ๊บ จ๊อยส์ เพราะทำบุญมามากต่อมาก อะไรๆ ก็มีครบทั้งหมดในวิมาน พร้อมแล้วที่จะตีตั๋วไปสวรรค์ได้ทุกเมื่อ

มาถึงจุดนี้ ผมขอเรียนให้ทราบก่อนว่า อย่าเพิ่งไปสวรรค์ ถ้าท่านยังไม่ได้อ่านบทความนี้ เพราะการได้เทวรถไม่ได้ขึ้นอยู่กับการทำบุญถวายรถเสมอไป การใส่บาตร ถวายสังฆทาน ก็ทำให้เกิดเป็นเทวรถได้ เพียงแต่อาจจะไม่ล้ำเลิศเท่ากับท่านที่ทำบุญด้วยการถวายรถ หรืออาสาใช้รถของตนขับรับส่งพระภิกษุสงฆ์ก็ได้ ดังนี้แล้วก็จะมีเทวรถที่จะมารอรับ ในยามละโลก ท่านรู้หรือไม่ว่า เทวรถนั้น เขาขับเคลื่อนกันด้วยกำลังบุญ และถ้าหากท่านมี “บุญญาวาสนา” ในการขับขี่ยวดยานพาหนะในโลกมนุษย์มาด้วยดี เทวรถของท่าน ก็จะมี “บุญพิเศษ” เกิดขึ้น การขับเคลื่อนด้วยบุญญาวาสนาดังกล่าวนั้นก็คือ การขับขี่ยวดยานพาหนะในโลกมนุษย์ ให้เกิดบุญกุศล ซึ่งไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องถวายรถยนต์ให้กับวัดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เราต้องรู้จักขับขี่ ด้วยความเคารพกฎจราจร และขับขี่อย่างมีมารยาท และมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ซึ่งถือเป็น “ไวยาวัจมัย” อีกประการหนึ่ง

การ “ทำบุญไวยาวัจมัย” ด้วยยานพาหนะ นั้นก็คือการขับขี่ให้ได้บุญ ไม่ว่าจะเป็นรถเบนซ์, รถฮอนด้า, มาสด้า, เก๋ง, ซีดาน, เอส อาร์ วี, แวน, สปอร์ต, มอเตอร์ไซค์ ฯลฯ เราสามารถขับขี่เพื่อให้เกิดบุญได้ทุกวัน เช่น ขับขี่ด้วยความสุภาพ เปิดไฟเลี้ยวเสมอ ก่อนจะทำการเลี้ยว, ขับขี่ด้วยความปลอดภัย ไม่ขับจี้รถข้างหน้า, เมื่อรถอื่นขอทางตัดเข้าเลน พึงมีใจเผื่อแผ่แบ่งปัน ให้ทางกับรถอื่น ไม่ขับกีดกันเส้นทาง, เมื่อมีคนหรือสัตว์จะข้ามถนน ให้ชะลอ แล้วเปิดไฟกระพริบ หรือค่อย จอดให้ข้าม, ไม่ขับปิดทางเลี้ยวเข้าซอย หรือถนนตัดผ่าน ในขณะติดไฟแดง ให้เว้นพื้นที่ไว้ตามเส้นจราจร, ไม่ขับย้อนศร และไม่ขับย้อนเส้นทางเดินรถทางเดียว ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้อื่น, ไม่บีบแตรดังยาวนาน เพื่ออาละวาดใส่ผู้ขับรถคันอื่น, เมื่อประสบอุบัติเหตุ ขับรถชน หรือคน หรือสัตว์ หรือสิ่งของ ให้จอดเข้าข้างทางเพื่อดูแลช่วยเหลือแก้ไขปัญหา รวมถึงเคลียร์ค่าใช้จ่าย อย่าชนแล้วรีบหนี, ไม่จอดรถบนทางเท้า หรือขับรถบนทางเท้า ทำให้ทางเท้าเสียหาย, ไม่ปล่อยให้รถมีควันดำ ทำลายสิ่งแวดล้อม และเป็นมลพิษเมื่อผู้อื่นสูดดมเข้าไป และอื่นๆ

การทำไวยาวัจมัย จากการขับขี่ยานพาหนะเช่นนี้ จะทำให้เราได้ “บุญพิเศษ” ในด้านการคมนาคมสัญจร โดยนัยทางวิชชา จะดีสำหรับ “ม้าแก้วกายสิทธิ์” ประจำตัวเรา (มนุษย์เป็นจำนวนมาก มีม้าแก้วกายสิทธิ์ อันเป็นรัตนะ อยู่ประจำตัว ถ้ามีม้าแก้วดีๆ จะเป็นกำลังในการสัญจร ไม่ว่าเดิน, วิ่ง, ขับรถ, ขี่มอเตอร์ไซค์ ฯลฯ) บางท่านขับรถเก่ง ก็เพราะมีม้าแก้วกายสิทธิ์ชั้นดี อยู่ในตัว แต่ไม่ทราบ ส่วนในทางทิพยสมบัติ ที่หลายท่านต่างก็เตรียมความพร้อม ในการไปเยือนหลังละสังขาร ก็จะมีเทวรถ ระดับ วีไอพี ที่มีบุญพิเศษคอยขับเคลื่อน คือเป็นเทวรถที่เทวดาเหล่าอื่น ต้องให้เกียรติ เมื่อเทวดาที่มีบุญและรัศมีพอๆ กับเราขับเทวรถมาประชันหน้าเจอกัน เทวดาอื่นก็จะหลีกทางให้เราไปก่อน อุปมาเหมือนเราเป็นผู้ใหญ่กว่ากำลังนั่งอยู่ แล้วเด็กจะเดินผ่าน ก็จะต้องค้อมๆ แล้วค่อยๆ ด้อมๆ เดินผ่านไปอย่างสุภาพ ไม่เดินข้ามหัวผู้ใหญ่ อารมณ์จะเป็นแบบนั้น

อีกทั้งการสัญจรของเทวรถผู้มีบุญพิเศษ จะเป็นไปด้วยความราบรื่น ไม่สะดุดติดขัด ไม่โดนเบียด โดนแซง โดนปาดหน้า เหมือนอย่างเทวรถทั่วๆ ไป แล้วเทวรถของเราก็มักจะมีลักษณะพิเศษด้วยบุญพิเศษ คือเทวรถจะมีรัศมีมาก จากปกติที่เทวดาจะมีรัศมีมากกว่าทิพยสมบัติทั่วๆ ไปของตน ยกเว้นทิพยสมบัติที่ได้จากการบำเพ็ญบุญมาดีมาก จะมีรัศมีมากตามเจ้าของ เทวรถบุญพิเศษจะเป็นเทวรถที่รัศมีมาก ทำให้เทวดาเหล่าอื่นเกรงใจ เวลาขับเคลื่อนไปจะเหมือนแม่เหล็กชิ้นใหญ่ที่มีขั้วแม่เหล็ก ผลักดันแม่เหล็กชิ้นเล็กอื่นๆ ให้ถอยห่างออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งยามมีประชุมเทวสมาคม ที่เทวดาทุกชนชั้นวรรณะต่างนั่งเทวรถมารวมกันที่เทวสภา จอดรถเรียงรายแน่นขนัดเต็มไปหมด ซึ่งเวลาเทวรถบุญพิเศษผ่านมา บุญกรรมวาสนานำพา ก็จะทำให้เทวรถเหล่าอื่นถูกผลักหลีกทางออกให้โดยอัตโนมัติ โดยไม่สำคัญว่าใครมาก่อนมาหลัง

ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเรา หรือแม้แต่กระทั่งตัวเรา ล้วนเป็นบุญ เป็นบาป ได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับกรรมเก่า และกรรมปัจจุบัน ซึ่งเรามีสิทธิ์เลือกกระทำได้ สำหรับเทวรถนั้น ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่ถือเป็นหน้าเป็นตา ของเหล่าเทวดาในสรวงสวรรค์ แทบจะไม่ต่างอะไรจากเมืองมนุษย์ ซึ่งเทวดาท่านก็ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บอะไร ยกเว้น “โรคน้อยเนื้อต่ำใจในบุญญาวาสนา” เหมือนเวลาเราไปงานแต่งงานที่โรงแรมหรูๆ แล้วต้องนั่งรถยนต์ไปจอดตรงทางเข้าโรงแรม ซึ่งเจ้าหน้าที่โรงแรมคอยต้อนรับ และรอเปิดประตูให้ ก่อนจะรับกุญแจพารถเข้าที่จอด ถ้ารถเราดี ดูหรูหรา เราก็รู้สึกสบายใจ แต่ถ้ารถเราไม่ดี บางทีก็ไม่กล้าไป เพราะสถานที่มัน “ข่มขวัญ” หนักเข้าต้องเรียกแท็กซี่ หรือทำได้เพียงแค่ฝากซองไป

แล้วสวรรค์ก็มีความหรูหรามากน้อย ไปตามชนชั้นกำลังบุญ ซึ่งท่านก็มีเขตปกครองตามโซน เริ่มจากวิมานของผู้ปกครอง และผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ณ บริเวณศูนย์กลางภพ ไล่ถอยออกมาเรื่อยไปกระทั่งถึงผู้มีบุญน้อย ก็เหมือนความสูงของตึกหรือวิมานปราสาท ไล่ไปจากเขตสาทร ซึ่งมีตึกระฟ้าสูงๆ เต็มไปหมด แล้วค่อยๆ ห่างออกมา ถึงเขตชานเมืองกรุงเทพฯ ห่างไปจนถึงต่างจังหวัด ถึงชายแดน ก็มีแต่ตึกเตี้ยๆ บ้านสูงไม่เกินสองสามชั้น  ซึ่งความร่ำรวยของสังคมมนุษย์บางทีก็คล้ายๆ แบบนั้น แล้วถ้าเราจะมาขับรถอีแต๋น หรือขับรถซาเล้งอยู่ในเขตสาทร เราก็ไม่กล้าเข้ามา

เทวดาก็คล้ายๆ มนุษย์อย่างนั้นล่ะครับ เพราะเทวดาส่วนใหญ่ ก็คือมนุษย์ที่ทำบุญไปเกิดบนสวรรค์ เพียงแต่ มนุษย์มีรวยมีจนมีอดอยากอนาถา แต่เทวดาท่านมีเพียง “รวยมากๆ” กับ “รวยน้อยมาก” ห่างกันอยู่อย่างนี้ ยกเว้นแต่เป็นเทวดาพระอริยบุคคล ซึ่งท่าน “ไม่คิดมากแต่ก็คิดบ้าง” ต่างจากเทวดาทั่วไป เพราะใจเป็นสุขอยู่ใน “อริยธรรม” แต่พระอริยบุคคลก็ได้รับการจัดอันดับนับถือให้เป็นเจ้าประกาศิตชั้นแรกสุด แม้จะมีทิพยสมบัติมากหรือน้อย เทวดาก็จัดลำดับความสำคัญให้มาก่อนใคร แต่ถ้าเป็นพระอริยบุคคลด้วย ทิพยสมบัติมากด้วย ก็โดดเด่นอยู่ในสวรรค์เหมือน “ธรรมดารา” ดังฉะนี้.     

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566

 

ทำบุญกับพระโพธิสัตว์มีอานิสงส์มากจริงหรือไม่?

การทำบุญกับพระโพธิ์สัตว์ ถ้าทำบุญกับ “นิยตโพธิสัตว์” คือพระโพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า อย่างแน่นอน ย่อมมีอานิสงส์มาก ส่วนการทำบุญกับ “อนิยตโพธิสัตว์” คือพระโพธิสัตว์ที่ยังไม่เคยได้รับพระพุทธพยากรณ์ นั้นมีผลน้อยลงครับ แม้ว่าพระโพธิสัตว์จะยังคงเป็นปุถุชน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะ ในการทำบุญนั้น ผู้ทำจะได้ “ธาตุบุญ” มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ “ธรรม” ของผู้รับ ถ้าผู้รับ “ทรงธรรม” มาก ผู้ที่ทำบุญด้วย ก็จะได้ “ธาตุบุญ” มาก

ดังนั้น พระนิยตโพธิสัตว์ เป็นผู้ทรงธรรมมาก แม้กิเลสสังโยชน์ยังตัดไม่ขาด แต่ท่านมี “โพธิจิต” คือจิตใจอันยิ่งใหญ่ ที่มุ่งหวังจะช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ตามท่านไปด้วย ประกอบกับ “บารมีธรรม” คือบารมีสามัญ 10 ทัศ, อุปบารมี 10 ทัศ และปรมัตถบารมี 10 ทัศ ล้วนกอปรเป็น “ขันธสันดาน” ที่ทำให้ท่าน “หนักแน่นในธรรมมาก” ส่วนพระอนิยตโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ยังไม่ได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ก็เป็นเนื้อนาบุญที่ลดน้อยหลั่นลงไปตามลำดับ

การทำบุญกับพระโพธิสัตว์นั้น เหมือนพระนางมหาปชาบดีโคตมี ถวายผ้าสาฎกเนื้อผ้าอันเลิศราคาแพงแด่พระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระภิกษุ แต่ไม่มีใครรับ กระทั่งถึงมือ “พระอชิตภิกษุ” คือว่าที่องค์สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า แล้วองค์สมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสยกย่องทานนั้น การทำบุญกับพระโพธิสัตว์ ซึ่งจะได้อานิสงส์มากน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับตัวแปรในสมการคือ "ผู้รับบริสุทธิ์" ซึ่งตัวแปรนี้ เป็นไปตามสองเหตุปัจจัย คือ (1) “กิเลสสังโยชน์” ที่ไม่มี หรือมีน้อย (2) “ธรรม” ที่มีว่ามากน้อย สองประเด็นนี้เป็นคนละเรื่องเดียวกัน

ปกติแล้วผู้ที่ไม่มีกิเลสก็มักจะทรงธรรมโดยอัตโนมัติ แต่ไม่เสมอไป เหมือนพระมหากัสสปะอรหันตมหาเถระ ผู้หมดกิเลส แต่มีอัธยาศัยยินดีในธุดงควัตร เมื่อเทียบกับพระอรหันต์ธรรมดาฉันใด พระโพธิสัตว์ผู้มีอินทรีย์แก่กล้ามักจะเป็นผู้ที่มีกิเลสเบาบาง แม้จะยังไม่ได้ละสังโยชน์เลย แต่ทรงธรรมมาก เพราะสะสมบารมีธรรม ตามปิฎก 3 ของฝ่ายบุญหล่อเลี้ยงมาอย่างหนาแน่นกว่าฉันนั้นครับ ดังฉะนี้

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน ตุ้งแช่! รับตรุษจีน

ถึงวันตรุษจีนกันอีกแล้วนะครับ นานาสาระตอนนี้จะขอเล่าเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน ดังนี้ครับ:

(1) วันตรุษจีน ผู้ทรงวิชชา บ้างก็ "เหนี่ยวรับ" ผู้ที่จะมาถวายอั่งเปา ให้เตรียมกันไว้ให้ดี จะได้อานิสงส์สมบัติมากเป็นพิเศษ

(2) ของถวายตรุษจีน ถ้าจะเล่นประกาศิต ต้องทำตามธรรมเนียมพิธี คือใช้ “ซองอั่งเปาสีแดง” เท่านั้น ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ พึงทำตามประเพณี อย่างเช่นมอบส้ม 4 ผล

(3) เซ่นไหว้ผี.. ผีไม่ได้รู้สึกว่าเวลาผ่านไปยาวนานถึง 1 ปี เหมือนมนุษย์ แต่ภูมิของผีที่อยู่บนพื้นโลก จะรู้สึกว่ารอบปีตรุษจีน เพิ่งจะผ่านไปประมาณ 3 - 5 วัน ตามแต่มิติของแต่ละพื้นที่

(4) ถ้าประสงค์จะสงเคราะห์ผี ก็เซ่นไหว้ผีด้วยอาหารหวานคาว เพราะผีบ้างก็อนุโมทนาบุญไม่เป็น ถนัดหยิบส่วนละเอียดของอาหารไปกินเฉยๆ ครั้นจะสอนให้อนุโมทนาสาธุการ จากการที่เราทำบุญกรวดน้ำ ก็ดูกะไร ทำบุญอุทิศให้ ก็รับบุญไม่ถูก รับบุญไม่เป็น ยกเว้นแต่จะเปิดคอร์ส อบรมผี ซึ่งบางท่านก็ไม่มีเวลาพอ แต่เดี๋ยวนี้ท่านมีวิชชา “ปรับภพภูมิ” ด้วยการสวดบทพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งทำให้ง่ายขึ้น

(5) ของเซ่นไหว้ผี อย่านำมาใส่บาตรถวายพระ หรือรับประทาน เพราะในส่วนละเอียดมีกลิ่นสาปสางของผี รับประทานแล้วกลิ่นสาปนั้นจะติดไป มีผลถึง “กลิ่นทิพย์” ของเราครับ

(6) การเซ่นไหว้บรรพบุรุษ และเทพเทวา เป็นเทวตานุสสติ ท่านที่อยู่ในสุคติภูมิจะไม่รับประทานของเซ่นไหว้ แต่จะแค่เอานิ้วแตะๆๆ ไปที่ของไหว้พอเป็นพิธี มาเพื่อทักทายอวยพรกันแล้วก็ไป ของเซ่นไหว้ประเภทนี้นำมารับประทานเองได้ครับ

(7) ของเซ่นไหว้เจ้าที่ บางทีเจ้าที่ชั้นดีท่านก็ไม่รับประทานเอง แต่แบ่งให้ผีเพื่อนๆ หรือบริวารกิน ถ้าเราจะนำไปรับประทาน ให้ถามท่านก่อน หรือสังเกตดู

(8) "กิมฮวย" ที่ปักกระถางธูป หากเป็นกระถางธูปของเทพผู้ใหญ่ อย่างพระโพธิสัตว์กวนอิม และเทพเซียนต่างๆ ใช้กิมฮวยแววหางนกยูงธรรมชาติของแท้ จะมีอานิสงส์ดี อันที่จริงจะปักลงกระถางธูปพระพุทธด้วยก็ได้ แม้จะไม่นิยม แต่เป็นการบูชาด้วยแววหางนกยูง จะมีอานิสงส์ได้ "ตรัสมยุรี.. มยุรา.. และมยุรินทร์” ครับ.

 

สุขสันต์วันตรุษจีน พ.ศ. 2566 เฮงๆ รวยๆ ครับ! ^^

- พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ตอน กายสิทธิ์ใน วัสดุธาตุ VS. วัตถุประดิษฐ์

จากคำสอนของ พระเดชพระคุณพระเทพญาณมงคล (หลวงป๋า) อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย ทำให้เราทราบว่า สิ่งทั้งปวงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ว่าหิน, ดิน, ปูน, ทราย, แร่เงิน, แร่ทองคำ, ทองเหลือง, ดีบุก, เพชร, อัญมณี และอื่นๆ ล้วนแล้วแต่มี “กายสิทธิ์” สถิตรักษาอยู่แทบทั้งนั้น ต่างกันเพียงว่า มีจำนวนมากหรือน้อย และที่มีอยู่นั้นอานุภาพมากหรือน้อย ท่านที่ศึกษาเรื่องราวนี้แล้ว คงอดไม่ได้ที่จะสงสัยว่า “อ้าว แล้วทำไมกายสิทธิ์ต้องลงรักษาก้อนหิน ก้อนดินด้วยล่ะ ทำไปเพื่ออะไร มีประโยชน์อะไร?”

ในการตอบคำถามนี้ ผมขออ้างถึง “สัจจะวาที” ว่า “สิ่งทั้งปวงในโลก ไม่มีอะไรที่ไม่เป็นวิชชา” นั่นหมายความว่า ไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยบังเอิญ ทุกอย่างล้วนเป็นวิชชาที่ถูกประชุมปรุงให้ “เกิดมีขึ้นมา” และ “เป็นไป” ตามวิชชา ของธาตุธรรม 3 ฝ่าย คือฝ่ายกุศลาธรรมา (ฝ่ายบุญ), ฝ่ายอกุศลาธรรมา (ฝ่ายบาป) และฝ่ายอัพยากตาธรรมา (ฝ่ายไม่บุญไม่บาป) ดังนี้แล้ว เราจึงกล่าวได้ว่า ทั้ง “ธาตุ” และ “ธรรม” ที่มีอยู่นั้น ล้วนมี “เจ้าของวิชชา” ซึ่งผมมักใช้คำว่า “ภพเจ้าของ” ยกตัวอย่างเช่น แร่อลูมิเนียม ก็มีภพเจ้าของที่ส่งวิชชาปรุงธาตุอลูมิเนียม ให้เกิดมีขึ้นในโลก และการที่แร่อลูมิเนียมบ่มตัวอยู่ใต้พิภพ กระทั่งประชุมขึ้นเป็นแร่อลูมิเนียมได้ก็เกิดจาก “กายสิทธิ์” ที่ภพเจ้าของวิชชาอลูมิเนียม ส่งลงมาใส่ไว้ในใต้พิภพ แล้วส่งวิชชาพร้อมกับฤทธิ์ มายังกายสิทธิ์ของตนให้ “บ่มธาตุ” ใต้พื้นพิภพ ผ่านกาลระยะเวลายาวนาน กระทั่งประชุมรูปร่างขึ้นมาเป็นแร่ธาตุอลูมิเนียมตามตั้งใจได้ ซึ่งวัตถุประสงค์ในการทำเช่นนี้ ก็เพื่อให้มนุษย์สามารถนำอลูมิเนียมไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เหมือนเป็นการจัดสรรสร้างความพร้อม เตรียมทรัพยากรสำหรับรองรับการมีสังคมมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์ของการถือกำเนิดเป็นมนุษย์ ตามแต่เจ้าของสายวิชชาปกครองกายมนุษย์แต่ละกายจะมุ่งหมาย เช่นมาเป็นพระพุทธเจ้า, พระโพธิสัตว์, นักบุญ, นักพรต, หรือพระอริยบุคคล, หรือพระปัจเจกพุทธเจ้า, เทพเจ้า, พรหม, พระฤาษี, พระดาบส และอื่นๆ

นอกจากกายสิทธิ์ที่สถิตอยู่ตาม “วัสดุธาตุ” ตามธรรมชาติแล้ว ก็ยังมี “วัตถุประดิษฐ์” ที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งมีกายสิทธิ์รักษาอยู่ด้วย ซึ่งวัตถุประดิษฐ์ทั้งหลาย ก็ล้วนมี “ภพเจ้าของวิชชา” ส่งวิชชามา ทำให้เกิดมีวิวัฒนาการ สรรค์สร้างวัตถุประดิษฐ์ และเทคโนโลยีต่างๆ นับตั้งแต่วัตถุประดิษฐ์เครื่องไม้เครื่องมืออย่างง่าย เช่นจอบ, ขวาน, ค้อน กระทั่งถึงอุปกรณ์ไฮเทค อย่างเครื่องบิน, ไอโฟน, ดาวเทียม, หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ และอื่นๆ ซึ่งภพเจ้าของท่านมีวิชาความรู้ หรือ know-how อยู่แล้ว เพียงแต่เมื่อสังคมมนุษย์วิวัฒนาการเรื่อยมา กระทั่งมีความพร้อมมากขึ้น ภพเจ้าของวิชาความรู้ ก็จะส่งวิชชามาหล่อเลี้ยง ให้มนุษย์นักประดิษฐ์สามารถค้นคิดและพัฒนา เทคโนโลยี กระทั่งเป็น “วัตถุประดิษฐ์” ในรูปแบบต่างๆ แล้วภพเจ้าของวิชชาก็จะส่งกายสิทธิ์ของตนลงรักษาวัตถุประดิษฐ์แต่ละชิ้นซึ่งอยู่ในสายวิชชาของตน

ส่วนว่าจะมีกายสิทธิ์ลงรักษามากน้อย อานุภาพมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับกรณี ถ้าวัตถุธาตุเป็นของสำคัญ มีคุณค่า มีราคาสูง ก็มักจะมีกายสิทธิ์ระดับสำคัญๆ ลงรักษาเป็นเงาตามตัวไปด้วย เช่นกายสิทธิ์ในเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของราชวงศ์ต่างๆ ทั่วโลก, พระวิหารปูน, พระพุทธรูปหยก, รูปหินอ่อนแกะสลักเทพเจ้า และพระโพธิสัตว์, พระธรรมจักรหินทราย, หินอ่อนแกะสลักรูปบุคคลสำคัญ และอื่นๆ นอกจากนี้ ถ้าวัตถุนั้นเป็นสมบัติของผู้ทรงคุณมาก ภพจะส่งกายสิทธิ์ระดับสำคัญๆ มาลงรักษา เช่นลูกประคำของนักบวชผู้ทรงคุณ สายสร้อยระยางคล้องบ่าของนายกสภามหาวิทยาลัย และอธิการบดีมหาวิทยาลัย ที่สวมใส่ในพิธีประสาทปริญญาบัตร ของสถาบันการศึกษา และอื่นๆ การที่กายสิทธิ์ลงรักษาวัสดุและวัตถุ จะมีผลทำให้วัสดุและวัตถุนั้น มีวิชชาหล่อเลี้ยงรักษา อุปมาสิ่งที่มีกายสิทธิ์ลงรักษาเหมือนดอกบานไม่รู้โรยที่กำลังผลิดอกสดใหม่อยู่บนต้น ในขณะที่สิ่งที่มีกายสิทธิ์ลงรักษาเบาบางหรือไม่มีเลย เป็นเสมือนดอกบานไม่รู้โรยแห้งๆ ที่ถูกเด็ดออกจากต้นนานแล้ว ความ “มีชีวิตชีวา” ในการคงสภาพอยู่ของวัสดุและวัตถุนั้นจะน้อยลงไป

อนึ่ง วัตถุประดิษฐ์ที่มี “ดวงตราประกาศิต” หรือ “แบรนด์เจ้าของวิชชา” ก็จะมีกายสิทธิ์จากภพเจ้าของแบรนด์นั้นๆ ลงรักษาด้วย เช่นนาฬิกาโรเล็กซ์ ก็มีกายสิทธิ์จากภพวิชชาโรเล็กซ์ลงรักษาอยู่ เครื่องบินแอร์บัส ก็มีกายสิทธิ์จากภพวิชชาเครื่องบินประจำแบรนด์แอร์บัสลงรักษา สาเหตุที่ภพต้องผลิตกายสิทธิ์ลงมาทำหน้าที่รักษา และทำงานตาม “วัสดุธาตุธรรมชาติ” และ “วัตถุประดิษฐ์” ต่างๆ แม้ไม่มีใครร้องขอ ก็เพราะเป็นความรับผิดชอบตามหน้าที่ คือ เมื่อส่งวิชชามาแล้วก็ต้องคอยรักษาต่อไป ตราบกว่าวัตถุจะแตกสลายทำลายตัวลง หรือหมดสภาพการทำงานต้องถูกทิ้งเป็นขยะ กายสิทธิ์จึงจะถูกเรียกกลับ หรือเบาหายวับลาลับไป ซึ่งเจ้าของภพท่านก็ทำตามความถนัดด้วยจิตอาสา อยากทำประโยชน์ไปในตัว จึงเข้ามารับหน้าที่ เหมือนท้าวเทวราชที่จัดสรรทำงานบริหารปกครองพระภูมิเจ้าที่ และรุกขเทวา บนพื้นโลกมนุษย์ลงมาตามลำดับชั้น แม้จริงๆ แล้วจะไม่มีก็ได้ แต่ท่านก็ทำ โดยที่ภพเจ้าของวิชชาผู้ส่งกายสิทธิ์ ก็มีทั้งพระพุทธเจ้า และพระจักรพรรดิลำดับผู้ใหญ่ๆ และระดับกลางๆ แต่อาวุโสมากหน่อย มารับหน้าที่ ซึ่งถ้าหากท่านไม่ทำ ฝ่ายมารก็อาจรุกคืบเข้ามาแทนที่ ส่วนการทำงานนี้ก็มีทั้งช่วยฟรีๆ กับได้สิ่งตอบแทน ตามที่ได้อธิบายในบทความที่แล้ว ตามแต่กรณี ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ตอน เล่นประกาศิต กับกายสิทธิ์ลงรักษา

ด้วยประสบการณ์ในการ “เล่นดวงตราประกาศิต” หรือภาษาบ้านๆ ว่า “ทำแบรนด์โลโก้” ของผมมาเป็นระยะเวลาประมาณ 10 ปี ผมได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังเป็นบทความยาวเหยียด ดังที่เคยนำเสนอไปก่อนหน้านี้แล้วเรื่อง “ประกาศิตเพื่อการสร้างบารมี” สำหรับบทความนี้ผม จะขอเล่าปกิณกะความเสริมเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องการคัดกรองคุณภาพ กับกายสิทธิ์ลงรักษา ซึ่งเป็นประเด็นทางวิชชากึ่งๆ งานครับ

ท่านที่เรียนหรือทำงานด้าน “สัญลักษณาคุณากิจ” หรือ branding” คงพอมีพื้นฐานความรู้อยู่ว่า ดวงตราสัญลักษณ์นั้น เป็นภาพเครื่องหมายบ่งชี้แทนสินค้า และบริการ ที่ช่วยให้ง่ายต่อการ “จำได้ หมายรู้” ถ้าหากเราแสดงดวงตราสัญลักษณ์สินค้า พร้อมๆ กับสินค้าและบริการที่ดี มีคุณภาพ เป็นที่น่าพึงพอใจ กระทั่งผู้ใช้ หรือผู้ซื้อ สามารถจดจำมั่นหมายได้ดีแล้ว ครั้งต่อๆ ไป เมื่อผู้ซื้อได้เห็นดวงตราสัญลักษณ์ดังกล่าวคราใด ไม่ว่าจะใช้กับสินค้าตัวใหม่ หรือบริการใหม่ๆ ก็จะเกิดความเชื่อมั่น เชื่อใจ หมายใจขึ้นมาว่า คงจะเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ น่าซื้อหาเช่นกัน ซึ่งช่วยเอื้อต่อการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น

ฉันใดก็ฉันนั้น การเล่นดวงตราประกาศิต มีลักษณะที่ช่วยให้เราต้องปรับปรุงคุณภาพของสิ่งต่างๆ ประกอบการสำแดงดวงตราประกาศิต ตามไปด้วยโดยอัตโนมัติ เช่น ตาลปัตรพัดรองตราสัญลักษณ์ต่างๆ หรือธงสีเหลืองดวงตราพระธรรมจักร ที่เราเห็นตามวัดวาอารามอยู่ทั่วไป เมื่อใดก็ตามที่ทางวัดติดธง ประชาชนก็เกิดอาการจดจำมั่นหมายได้ว่า ในบริเวณนั้นมีวัดพุทธฯตั้งอยู่ และวัดพุทธฯนั้น อาจจะมีงานพิธีทางศาสนา จึงได้ติดธงไว้ พร้อมกันนั้น การติดธงสำแดงดวงตราพระธรรมจักร ก็จะส่งเสริมจิตสำนึกด้านคุณภาพ คือผืนธงที่นำมาใช้มักจะอยู่ในสภาพดี ไม่ฉีกขาด หรือเก่าทรุดโทรม นี้คือจิตสำนึกของผู้เล่นประกาศิต ที่จะต้องรักษาและตรวจสอบคุณภาพสิ่งที่ใช้สำแดงดวงตราประกาศิตไปในตัว จึงมีผลต่ออานิสงส์แห่งบุญที่เกิดขึ้น คือเวลาจะได้อะไร ก็ได้แต่ของดีๆ ของที่มีการรับรองคุณภาพ รวมถึงของที่มีดวงตราประกาศิต (เปรียบเทียบระหว่างการได้รับผ้าเช็ดตัวยี่ห้อ “แคนนอน” กับผ้าเช็ดตัวอย่างเดียวกันที่ไม่มียี่ห้อ ซึ่งเป็นสินค้า O.E.M.)  

ประเด็นทางวิชชาอีกประการหนึ่งในการเล่นประกาศิตที่น่าสนใจก็คือ การสำแดงดวงตราประกาศิตอยู่กับวัตถุสิ่งของ จะส่งผลให้วัตถุสิ่งของนั้นๆ มี “กายสิทธิ์” ลงรักษาเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ และถ้าดวงตราประกาศิตเป็นประกาศิตฝ่ายดี (ในทางตรงกันข้ามกันกับดวงตราประกาศิตยี่ห้อสุรา ที่ถือเป็นฝ่ายไม่ดี) ก็มักจะมี “เทวดาลงรักษา” วัตถุสิ่งของเหล่านั้น ตามแต่ผู้ปกครองเทพเทวาท่านจะจัดสรรส่งมาโดยมิต้องร้องขอ ยกตัวอย่างเช่น การใส่ดวงตราประกาศิตไว้ที่ “ผ้าทิพย์” ด้านหน้าฐานของพระพุทธรูป หรือวาดดวงตราประกาศิตอยู่บนภาชนะเครื่องเบญจรงค์ หรือยิงเลเซอร์ลวดลายดวงตราประกาศิตบนโถแก้วคริสตัล จะเป็นเหตุให้ “ภพกายสิทธิ์” ส่งกายสิทธิ์ลงรักษาพระพุทธรูป, เครื่องเบญจรงค์ และเครื่องแก้วคริสตัล เหล่านั้นมากเป็นพิเศษ และถ้าหากดวงตราประกาศิตเป็นดวงตราขั้นสูง เทพผู้รักษาดวงตราประกาศิตก็จะจัดสรรส่งเทวดาลงมารักษาสิ่งของเหล่านั้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุที่ใช้ในการทำบุญ เช่นที่กรวดน้ำ, ขันเงินใส่ข้าวสำหรับตักบาตร หรือโถแก้วคริสตัลสำหรับบรรจุพระธาตุและเถ้าอังคารของพระอริยบุคคล  

การที่กายสิทธิ์ลงรักษาของเหล่านี้มากขึ้น จะทำให้ของเหล่านี้มีลักษณะ “ทรงคุณ” มากขึ้น เมื่อนำมาใช้ทำบุญ ก็จะได้บุญมากเป็นพิเศษ เช่น เจดีย์หรือผอบทองคำ ที่สลักดวงตราประกาศิต มีกายสิทธิ์ลงรักษามาก จะช่วยทำให้ กายสิทธิ์ภาคธรรมภายในพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งผมมักเรียกว่า “กายพุทธสิทธิ์” (เพื่อแยกแยะออกจากกายสิทธิ์ทั่วไป) ประดิษฐานอยู่อย่างเป็นสุขมากขึ้น อุปมาเจดีย์ทองเหลืองกับห้องที่ติดพัดลมคลายร้อน กับเจดีย์ทองคำที่มีดวงตราประกาศิตเหมือนห้องที่ติดแอร์เย็นสบาย มีผลถึงอานิสงส์แห่งบุญ เช่นเมื่อได้วิมานอันเป็นทิพยสมบัติ หรือนิพพานสมบัติ ก็จะให้ความเป็นสุขมากกว่า เพราะพิมานปราสาททิพย์นั้นมีกายสิทธิ์อัดกันอยู่อย่างหนาแน่นมาก

เรื่องกายสิทธิ์สถิตย์มากหรือน้อย ผมขอยกตัวอย่างระหว่าง “หินอ่อนธรรมชาติ” กับ “หินอ่อนสังเคราะห์” ซึ่งมีลวดลายสวยงามใกล้เคียงกัน (หินอ่อนธรรมชาติบางทีก็ลวดลายไม่ส่วยเท่าหินอ่อนประดิษฐ์) แต่ความรู้สึกที่เราสัมผัสได้จากหินอ่อนธรรมชาติ เราจะรู้สึกเย็นใจมากกว่า นี้เป็นเพราะฤทธิ์ของกายสิทธิ์ที่มีอยู่ในหินอ่อนธรรมชาติ เหมือนกายสิทธิ์ที่อยู่ในลูกแก้วจุยเจีย เพราะเหตุนี้ บ้านที่ปูพื้นด้วยหินอ่อนเทียม กับหินอ่อนธรรมชาติ จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้ที่ประสาทสัมผัสไว หรือมีวิชชา จะสามารถรับรู้ได้ เพราะหินอ่อนธรรมชาติมีกายสิทธิ์สะสมอยู่มากกว่าตามธรรมชาติที่ภพส่งลงมาปลูกเลี้ยง ในขณะที่หินอ่อนสังเคราะห์ก็มีกายสิทธิ์ แต่มักจะเบาและน้อยกว่ามาก

ส่วนสาเหตุที่ทำให้ “ภพกายสิทธิ์” รวมถึง “เทพเทวา” ส่งกายสิทธิ์และเทวดา มารักษาวัตถุสิ่งของที่มีดวงตราประกาศิตมากขึ้นนั้น ก็เป็นไปตามหน้าที่ของท่าน แต่โดยปกติ ผู้เล่นดวงตราประกาศิต ทั้งที่ตระหนักทราบ หรือไม่ทราบ แต่เป็นไปโดยธรรมชาติ มักจะใส่ดวงตราประกาศิตกับสิ่งที่ตนให้ความสำคัญ ดังนั้น เมื่อใส่ดวงตราประกาศิตกับวัตถุสิ่งของใด ภพกายสิทธิ์ ก็จะส่งกายสิทธิ์ลงมารักษามากเป็นพิเศษ แต่ถ้าหากผู้ใช้วัตถุสิ่งของเหล่านั้นเป็น “ผู้ทรงวิชชา” กายสิทธิ์และเทวดาที่รักษาสิ่งของอาจจะเรียก “ค่ากำเน็จ” หรือ “ทิป” เมื่อผู้ทรงวิชชา “เล่นได้” เช่นผู้ทรงวิชชาดำริงาน และจัดงาน “ถวายมหาสังฆทานโลก” ได้สำเร็จ เมื่อทำการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล กายสิทธิ์และเทวดาที่รักษาภาชนะกรวดน้ำอยู่ ก็จะแสดงความยินดี และเป็นธรรมเนียมที่ผู้ทรงวิชชาต้องจ่ายค่ากำเน็จ คือ “ตกรางวัล” เป็นการตอบแทน

อย่างไรก็ตาม การใส่ดวงตราประกาศิตลงไปบนวัตถุสิ่งของนั้น ผู้เล่นประกาศิตมีข้อควรสังเกตคือ ถ้าหากวัตถุสิ่งของนั้นมีดวงตราประกาศิตอยู่แล้ว ก็เป็นอันไม่พึงใส่ดวงตราประกาศิตของตนลงไปอีก เช่นที่กรวดน้ำเครื่องเบญจรงค์ ที่ผู้ผลิตวาดโลโก้ลงไปตามคำสั่งผู้สั่งซื้อ แล้วเราได้รับมาเป็นของกำนัล เราก็ไม่พึงติดสติ๊กเกอร์ดวงตราประกาศิตของเราลงไปอีก แต่ถ้าเป็นวัตถุสิ่งของนั้นมีแบรนด์ คือมียี่ห้อ แต่ตัวสินค้าไม่มีดวงตราโลโก้ เราสามารถใส่ดวงตราประกาศิตของเราลงไปได้ โดยอาจจะอยู่ในรูปของสติ๊กเกอร์ครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์ โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org

 

 

นานาสาระ: ตอน กรรมอะไรทำให้ธุรกิจขาดทุน ???

เรื่องกฎแห่งกรรมที่เป็น “ระบบปฏิบัติการพื้นฐาน” หรือ Operation System ซึ่งปกครองสรรพสัตว์ในวัฏสงสาร ถือเป็นเรื่องที่สนุกมากๆครับ โดยเฉพาะเมื่อเราตรวจทราบว่า สุข-ทุกข์ ดี-ร้าย ที่เกิดขึ้นในชีวิตนั้นเพราะกรรมอะไร แล้วเราก็มาถึงบางอ้อว่า อ๋อ.. เพราะอย่างนี้นี่เอง แต่ตามที่ผมเคยรจนาความไว้ก่อนหน้าคือ กรรมดีกรรมชั่วมีลักษณะประชันหรือแย่งกันส่งผล ตามแต่ฝ่ายพระนิพพาน จะหนุนบังคับใช้กรรมดี และมารโลกจะหนุนบังคับใช้กรรมชั่ว ได้มากน้อยกว่ากัน เหมือนคนเล่น “งัดข้อ” กันอยู่ตลอดเวลาครับ ทำให้บางทีการส่งผลของกรรมไม่เสถียร มีการ “ลัดคิว แซงคิว ตัดคิว” กันได้

ทีนี้เรื่องที่เราสนใจกันก็คือ ทำไมธุรกิจจึงขาดทุนครับ ซึ่งท่านใดที่ติดตามผลงานรจนาความของผมก็ทราบแล้วว่าด้วยการทำบุญในลักษณะต่างๆ เราจึงมีธุรกิจกิจการที่ก่อให้เกิดรายได้ เป็นทรัพย์คือเงินที่ได้มาด้วยการทำงานเข้าแลกหรือบ้างก็ต้องออกเดินทาง ทั้งนี้ก็เพราะเวลาทำบุญ พระสงฆ์องค์เณรก็ต้องทำงานจัดงานเตรียมงานรับญาติโยม เมื่อท่านต้องเหน็ดเหนื่อยและต้องเดินทางออกไปหาซื้อวัสดุอุปกรณ์นอกวัด หรือเดินทางไกลเพื่อไปร่วมพิธี ณ สถานที่ส่วนกลาง เวลากรรมส่งผลจะให้เราได้ทรัพย์มาแบบต้องเหน็ดเหนื่อย แล้วก็เดินทางเหมือนกัน ในขณะเดียวกัน บุญที่ทำให้รวยโดยไม่ต้องทำงาน ก็คือบุญที่ทำกับผู้รับแบบสบายๆ เช่นพระภิกษุนั่งรออยู่ที่วัดเพื่อรับสังฆทาน ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องบิณฑบาตหอบหิ้วของถวายพะรุงพะรัง ไม่ต้องจัดพิธีกรรมอะไรมาก เวลาบุญส่งผล ก็จะได้สมบัติง่ายๆ ใช้สอยง่าย ไม่ต้องทำงาน เหมือน นางวิสาขา หรือเหมือน คุณปารีส ฮิลตัน (Paris Hilton) ครับ ส่วนว่า ทำบุญแบบสบายๆ แล้ว จะทำให้สิ่งอื่นๆ ด้อยลง อย่างเช่นพระสงฆ์องค์เณรมีส่วนร่วมในงานและในบุญน้อยลง หรือพิธีกรรมดูไม่ขลังไม่ศักดิ์สิทธิ์ ได้ประกาศิตน้อย ก็เป็นประเด็นแยกต่างหาก

ส่วนกรรมที่ทำให้ธุรกิจขาดทุนก็คือ การทำทานแล้วไม่มากพอจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่ทางวัดใช้ไปกับการจัดงานพิธีกรรมครับ กล่าวคือ รายรับจากเงินบริจาคของวัดนั้นน้อยกว่ารายจ่าย เช่นวัดจัดงานทอดกฐินสามัคคี วัดจ่ายค่าเตรียมงานไปหนึ่งแสนบาท แต่ยอดปัจจัยบริวารกฐินทั้งหมดได้มา ห้าหมื่นบาท โดยนัยนี้ เมื่อกรรมส่งผล ผู้ทำบุญจะได้ทำธุรกิจที่ตนเองเป็นผู้บริหาร ในกรณีเป็นประธานกฐิน ทำงานแล้วมีรายได้จากกิจการ แต่รายรับจะน้อยกว่ารายจ่าย ซึ่งหมายถึงขาดทุนครับ นี้คือระดับธุรกิจเอกชน ส่วนการขาดทุนของธุรกิจระดับมหาชนของประเทศ อย่างสายการบิน มักจะเกิดจากบุญพิธีระดับประเทศที่ทางวัดขาดทุนครับ เช่นกฐินของรัฐบาลถ้าเป็นเศรษฐกิจระดับโลก ที่รุ่งเรืองหรือซบเซา จะเป็น “บุญกำไรทรัพย์ หรือบุญขาดทุนทรัพย์” ขององค์กร หรือบุคคลระดับโลก เช่นองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ที่ทำบุญกับนักบวช หรือองค์กรไม่แสวงกำไร (NGO) หรือยูนิเซฟ (UNICEF) กับสภากาชาด (Red Cross) ที่ชาวโลกประชุมสิทธิ์เพื่อตั้งขึ้น ให้ทำงาน แต่ทำแล้ว แล้ว “ได้บุญขาดทุนทรัพย์” ครับ.

ถ้าทางวัดรับเงินบริวารกฐินสามัคคี ที่ประธานกฐินและคณะบอกบุญมาได้ โดยยอดเงินรวมของกฐินมากกว่าค่าใช้จ่ายของทางวัด แต่เฉพาะเงินในส่วนของประธานกฐินก้อนเดียวนั้นน้อยกว่าค่าใช้จ่ายวัด เวลาบุญส่งผลก็แบ่งกัน เหมือนห้างหุ้นส่วนจำกัด กับหุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ์ ผู้ถือหุ้นสามัญก็คือกรรมการกฐินที่มีรายชื่อยาวเหยียด ว่าสายนั้น สายนี้ ใครเป็นผู้นำ ส่วนหุ้นบุริมสิทธิ์ก็คือประชาชนทั่วไปที่เอาเงินไปติดต้นกฐิน หยอดลงกล่องรับบริจาค ฝากมาทำบุญ แต่ไม่ใช่ผู้รับตำแหน่งประธาน รองประธาน กรรมการกฐิน และไม่ได้มีส่วนร่วมแห่ง “สิทธิ์” ในการปวารณาขอรับเป็นเจ้าภาพกฐินที่ทำให้ทางวัดขาดทุน แต่หุ้นทุกประเภท ก็มีส่วนร่วมชดใช้ จากการสนับสนุนให้ วัดขาดทุน เพราะมีพิธีกรรมที่ผู้ร่วมพิธีมาใช้สอยเครื่องอุปโภค บริโภค สาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกที่ทางวัดจัดขึ้นแล้วต้องใช้จ่ายไป แต่การที่มูลค่าหุ้นตกต่ำลง หรือหมดค่าไป ก็ถือเป็นการชดใช้ไปในตัวครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ตอน เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรัศมี

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ เรื่องรัศมีคงจะเป็นมหากาพย์ที่นำมาเล่าสู่กันฟังกระทั่งกลายเป็นทอล์คออฟเดอะเวิลด์ ใช่ไหมครับ วันนี้ผมมีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรัศมี มาแบ่งปันกัน เป็นปกิณกะความรู้ที่ “พึงรู้ไว้ใช่ว่าฯ” ก่อนที่เราๆ ท่าน จะไปโชว์ออฟกันในโลกทิพย์ครับ

ท่านที่เคยเห็นศิลปะรูปหล่อ รูปปั้น รูปแกะสลัก คงเห็นว่า รัศมีของพระพุทธรูปส่วนใหญ่ แผ่ออกมาจากพระเศียร ส่วนศาสนาอื่น รัศมีเขาเป็นวงๆ ลอยอยู่บนเศียร เหมือนวงแหวนของดาวเสาร์ แล้วตกลงของใครผิด ของใครถูก รัศมีของเทวดาที่แท้จริงควรเป็นอย่างไรกันแน่ครับ?

วันนี้ผมขอเฉลยว่า ตำแหน่งของรัศมีนั้น จะขึ้นอยู่กับบุพกรรมที่ทำเอาไว้ครับ เช่น ท่านที่เคยใช้ความคิดสติปัญญามาก ในการทำความดี รัศมีจะเปล่งออกจากเศียรมากเป็นพิเศษ ท่านที่ใช้มือทำความดีมาก เช่นก่อสร้างพระเจดีย์เองด้วยมือ มือจะมีรัศมีมาก ส่วนท่านที่กล่าวปิยวาจา สัมมาวาจา มามาก ปากจะมีรัศมี เวลาพูดอะไรจะมีแสงวิบวับออกมา ส่วนท่านที่ทำความดีแบบรวมๆ ก็จะมีรัศมีแผ่ออกมาทั่วสรรพางค์กาย แต่รัศมีเหล่านี้จำลองแบบออกมาได้ยาก เช่นรัศมีที่ปาก และทั่วสรรพางค์กาย ช่างศิลป์ส่วนใหญ่จึงปั้น หรือแกะสลักให้พระพุทธรูปมีพระรัศมีเปล่งออกจากพระเศียร เพื่อแสดงถึงพระปัญญาธิคุณของพระองค์ท่านครับ

แล้วรัศมีวงแหวนบนเศียรเทวดาของศาสนาอื่น ถูกหรือผิด? คำเฉลยคือ รัศมีวงแหวนแบบนี้ เราเรียกว่า “ทรงกลด” ครับ ซึ่งรัศมีจะทรงกลดได้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีบุญญาธิการมาก โดยเฉพาะพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ ลำดับขั้นใหญ่ๆ ซึ่งเป็นชาวพุทธ รัศมีจะเปล่งออกทั่วสรรพางค์กาย แล้วทรงกลดอยู่ห่างๆ ซึ่งถ้ามีวงแหวนทรงกลดหลายวง ก็จะเป็นที่นับถือว่าบุญญาพลาธิการสูงส่งกว่ากันครับ การทรงกลดของรัศมีกายทิพย์ ก็คล้ายๆ พระอาทิตย์ทรงกลด หรือพระจันทร์ทรงกลดครับ คือรัศมีแผ่ออกไประยะหนึ่ง แล้วจึงมีวงแหวนล้อมอีกที จึงค่อยแผ่ต่อออกไปโดยรัศมีค่อยๆ ซาตัวลงกระทั่งกลืนหายไปกับบรรยากาศโดยรอบครับ ซึ่งถ้าจะว่ากันตามภาษามนุษย์ก็คือ ความถี่ และความกระชั้นของแสง ที่เปล่งออกมา ก่อให้เกิดการ “สะสมตัว” ของรัศมี เป็นวงแหวนขึ้นมาครับ เหมือนน้ำที่ไหลออกมาจากก๊อก แล้วเราเอามือบังไว้ จะทำให้มีสภาวะมวลกระแสน้ำล้นอยู่บนฝ่ามือของเรา ก่อนที่จะไหลออกต่อไปครับ

รัศมีที่จะเปล่งออกมาเป็นลักษณะของการ “ทรงกลด” หรือ “ประภามณฑล” มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ “ตรัสสุริยะรัศมี” คือมีรัศมีมากและแรง ซึ่งรัศมีประเภท “สุริยะ” ถูกจัดลำดับให้เป็นรัศมีขั้นสูงสุด ของทุกประเภท โดยในหมู่ขั้น “สุริยะ” ด้วยกัน จะแบ่งเป็น (1) สุรีย์ (2) สุริยะ (3) สุริยา (4) สุริยันต์ (5) สุริยนต์ (6) สุริเยนทร์ (7) สุรีย์เวทย์ ซึ่งไล่ลำดับอานุภาพของรัศมีจากน้อยไปมาก คือ (1) ถึง (7) แต่บ่อยครั้งที่คนทั่วไปจะเรียกรวมๆ กันว่าเป็น “สุริยะ” เหมือนผงซักฟอก ที่คนทั่วไปเรียกติดปากว่าเป็น “แฟ้บ” แม้ผงซักฟอก จะมีหลายยี่ห้อ หลายประเภท แต่ก็เรียกเหมากันไปว่าเป็น “แฟ้บ” ครับ

จะว่าไป รัศมีที่เห็นมี 2 แบบ คือแบบจงใจแผ่ออกไปหรือลดลงมา กับอีกแบบคือ เป็นรัศมีที่แผ่ตามปกติ ซึ่งรัศมีที่จงใจแผ่ออกไปนั้น ส่วนใหญ่จะทำกันในยามที่ต้องการแสดงกำลังให้ทราบ บางท่านต้องการข่มมิจฉาทิฐิ หรือประสงค์จะก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะ เพื่อผ่อนแรงในการเทศน์สอน หรือเพื่อบ่งบอกนัยยะบุญญาธิการของตนให้ทราบ ส่วนผู้ที่ลดรัศมีลงมา มักจะเป็นการรักษามารยาทในการเข้าสมาคม หรือจงใจปิดซ่อนเร้น เพื่อรักษาความสงบ หรือธำรงเกียรติระหว่างกันและกัน ไม่ให้ผู้อื่นรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ หรือระคายเคือง สำหรับรัศมีตามปกติ มักจะเป็นรัศมีตามบุพกรรม ไม่ได้ใช้วิชชาเติมเสริมแต่ง ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เล่าสู่กันฟังตอน รัศมี สำคัญไฉน? Version C

พระพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้า, และพระอสีติมหาสาวก และพระอรหันตขีณาสพด้วยกัน องค์ที่บารมีมากกว่าอยู่อันดับมาก่อน ถ้าบารมีเท่ากัน องค์ที่รัศมีมากกว่าอยู่อันดับมาก่อน แล้วมันสำคัญตรงไหน ในเมื่อท่านไม่มีกิเลส? บรรยากาศจะเหมือนประชุมนานาชาติ ที่ผู้นำแต่ละประเทศมาประชุมกัน แล้วพอประเทศใหญ่ๆ มาเป็นองค์ปาฐก ท่านผู้นำประเทศอื่นๆ ที่เป็นผู้ฟังต้องลุกขึ้นยืนให้เกียรติ หรือปรบมือให้ ซึ่งบางท่านก็จะรู้สึกว่ามันเป็นขั้นเป็นตอนอันไม่สมควรสำหรับท่าน เพราะท่านก็ยิ่งใหญ่ เป็นระดับผู้นำประเทศเหมือนกัน ทำไมต้องลุกขึ้นยืนด้วย? ยิ่งไปกว่านั้น ถ้ามีองค์ปาฐกหลายๆ องค์ หรือบุคคลสำคัญกว่าหลายๆ ท่าน ก็ต้องลุกแล้วลุกอีก คำนับแล้วคำนับอีก ซึ่งบางท่านอาจรู้สึก “น่าหน่าย” ทำนองนี้ครับ

ส่วนสังคมเทวดา ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เมื่อได้พบปะกันแล้ว ท่านดูกันและกันเผินๆ ก็ดูที่รัศมีก่อนครับ แล้วท่านก็ “เลือกปฏิบัติ” ต่อกันดีมากหรือน้อยตามรัศมีนั้น เหมือนมนุษย์เราดูฐานะกันเผินๆ ดูที่นาฬิกาข้อมือ เครื่องประดับ และรถที่ขับ ถ้าหรูหรา ก็คาดคะเนเอาว่าน่าจะร่ำรวยมีฐานะดี เป็นชนสังคมชั้นสูง แล้วเราก็ให้เกียรติมากกว่า พูดตรงๆคือ ถ้ารวยก็เนื้อหอมกว่า ได้ที่นั่งดีกว่า ได้ที่จอดรถซูเปอร์คาร์ ได้ลัดคิว นั่งเทวรถไปไหนมาไหน คนอื่นต้องหยุดให้ หลีกทางให้ เหมือนรถขบวนที่นั่งผ่านมา หรือเหมือนธนาคาร, บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่, และสายการบิน เขามีเจ้าหน้าที่ และพื้นที่พิเศษสำหรับต้อนรับลูกค้าวีไอพี ซึ่งสะดวกสบายกว่า แม้มันจะไม่ได้หมายความว่าจริงๆ แล้วฐานะทางการเงินของบุคคลดีกว่า หรือบุญมากกว่าเสมอไป ก็เพราะผู้พบเห็นส่วนใหญ่ก็ไม่ถึงกับอยากจะตามกลับไปดูที่บ้านหรือวิมาน ว่าแท้จริงแล้วใหญ่หรือเล็ก รวยจริง หรือรวยไม่จริง กว่ากันแค่ไหนครับ

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: เล่าสู่กันฟัง เรื่อง "รังสีและรัศมี"

จากการทดลอง อุทิศ/อนุโมทนา กับตนเอง ในการจุดประทีป และเปิดไฟส่องสว่างบูชาพระรัตนตรัย ฯลฯ นั้น ผมพบว่า การทำแต่ละครั้งจะได้ "รัศมี" เพิ่ม และถ้าหากสะสมรัศมีจากการอุทิศ/อนุโมทนา แต่ละครั้ง รวมกันได้ 108 ครั้ง ก็จะตรัส "(จุล) อนันตรังสี" ครับ แต่มีผู้แนะนำว่า การได้มาแบบนี้ไม่ค่อยสง่างาม ผมก็เลยอุทิศ/อนุโมทนา แค่วันละครั้งสองครั้งครับ แต่ผม "ชอบเล่น" มากกว่า ก็เลยทำงาน ทำบุญ เพื่อให้ได้รังสี สนุกดีกว่าครับ

ท่านใดประสงค์จะได้ "รังสี และรัศมี" ขั้นสูง ผมขอแนะนำให้ทำบุญค่าไฟฟ้าตามวัดวาอาราม และสำนักวิชชา อย่างเช่นที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ โดยเอ่ยอ้างถึงบุญเปิดไฟส่องสว่างพระเจดีย์มหารัชมงคล, พระพุทธธรรมกายเทพมงคล และโลงทองของหลวงพ่อสด ฯลฯ หรือทำบุญค่าไฟฟ้าเปิดไฟส่องสว่างบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐมบรมครูครับ จะได้รัศมีมากครับ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า ท่าน “ลงส่วน” มากน้อยเพียงใดด้วยนะครับ.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ตอน เล่าสู่กันฟัง เรื่องเหรียญทิพย์

หลายท่านที่อ่านบทความและโพสต์ของผมเรื่องทำบุญด้วยเหรียญกษาปณ์ อาจจะอยากทดลองถวายเหรียญกษาปณ์เงิน/ทองคำดูบ้าง เมื่อถวายแล้วเราจะได้เหรียญกษาปณ์ทิพย์ ที่มีพระจักรพรรดิฝ่ายสมบัติเฝ้าคอยอำนวยผลครับ ก็เหนือนแก้วจุยเจียมีกายสิทธิ์รักษาครับ เมื่อนำเหรียญทิพย์มาเหน็บใส่กระเป๋าด้วยวิชชา พระจักรพรรดิก็ตามสมบัติเข้ามาให้ พอได้แล้วท่านก็ลาลับไป

ถ้าเป็นเหรียญทิพย์ได้จากการทำบุญ จะมีกำลังแน่นและแรงกว่า เราเหน็บแค่ 2-3 เหรียญ สมบัติก็มาครับ ถ้าผู้รับมีวิชชายิ่งได้มาก แต่ถ้ามีกรรมหรือมารขวางอาจจะได้น้อยลง ทีนี้พอเราอุทิศแล้วอนุโมทนากับตนเอง ก็ได้เหรียญทิพย์เพิ่ม ผมก็ออกแบบถ้อยความเอ่ยอ้างเพื่อให้ได้เหรียญมาก ก็เพิ่มจาก 700 เป็น 800, 900, 1000, 1200 แต่เหรียญที่อนุโมทนาได้ ฤทธิ์จะหย่อนลง เวลาเหน็บกระเป๋าต้องใส่เพิ่มขึ้น เช่น 7 – 8 เหรียญ แต่โดยนัยนี้ เราจะมีสมบัติเลี้ยงตัวเองไปเรื่อยๆ เลยล่ะครับ

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


บทสคริปท์ อุทิศ / อนุโมทนา กับตนเอง อย่างย่อ

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

เวอร์ชั่นที่ 1 ณ วันที่ 13 มกราคม 2566

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ตอนพิเศษ สคริปท์ อุทิศ/อนุโมทนา กับตนเอง (อย่างย่อ)

ผมได้ทำการทดลองทำบุญด้วยเหรียญกษาปณ์ทองคำ/โลหะเงิน เป็นสังฆทาน แล้วอุทิศ/อนุโมทนา กับตนเอง ด้วยถ้อยคำต่างๆ ปรากฎว่า การเพิ่มคำบางคำ สามารถให้ผลานิสงส์มากขึ้นอีกครับ แม้โดยรวมแล้ว ผลานิสงส์จากการอนุโมทนาจะหย่อนลงเรื่อยๆ ภายใน 7 วัน, 12 วัน, 21 วัน, 32 วัน, 108 วัน, 1001 วัน, 10001 วัน หลังจากทำบุญ ผมจึงสรุปเป็น demo คร่าวๆ ให้นำไปประยุกต์ใช้กันครับ ท่านใดที่เดินวิชชา แล้วเกรงว่าวิชชาจะสะดุด ขอให้ลองตั้งกายปฏิภาคขึ้นมา เพื่อคอยอุทิศ/อนุโมทนา ครับ

 

เผดียง คุณ HHH นามสกุล PPP ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัยเลขที่ 9876543210 ดังนี้ แม้ครั้งที่ 1, 2, 3!!!

ข้าพเจ้า, HHH นามสกุล PPP ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัยเลขที่ 9876543210, ขอสำแดงดวงตราประกาศิต (ถ้ามี) ดังนี้แล้ว ข้าพเจ้าขอเอ่ยอ้างถึง บุญ, บารมี, รัศมี, กำลังฤทธิ์, อำนาจ, สิทธิ, เฉียบขาด, เดชา, ศักดา, ศักดิ์สิทธิ์, วิเศษฯ, พิเศษฯ, สิทธิเดชา, อัศจรรย์, มหัศจรรย์, ศักดิเดชา อีกทั้ง กุศลกายกรรม, กุศลวจีกรรม, กุศลมโนกรรม, กุศลธาตุ, กุศลธรรม และสรรพบรรดาประดามี รวมถึงคุณเครื่องแห่งความดี ที่เกี่ยวเนื่องทั้งปวง ทุกขณะจิต ทุกดวงจิต ทั้งหมดทั้งปวงดังกล่าว ในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียว ที่มีและเกิดขึ้นทั้งก่อนหน้า, ในขณะระหว่าง, และภายหลังจากการที่ข้าพเจ้าได้ [เอ่ยอ้างรายละเอียดของบุญที่ทำ เช่นถวายมหาสังฆทานโลก] โดยข้าพเจ้าขอน้อมอุทิศสิ่งที่ข้าพเจ้าเอ่ยอ้างมาทั้งหมดทั้งปวงดังกล่าวให้เฉพาะเจาะจงกับข้าพเจ้าเองนับตั้งแต่กายมนุษย์ คือ คุณ HHH นามสกุล PPP ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัยเลขที่ 9876543210 ย้อนถอยขึ้นเรื่อยไปทุกกายกระทั่งถึงกายต้นสายธาตุสายธรรมในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิของข้าพเจ้าเป็นที่สุด [โดยนัยนี้ รวมเป็นข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นสำหรับครั้งนี้] ฉะนี้แล้ว ข้าพเจ้าขออุทิศดังว่านี้ แม้ครั้งที่ 1, ข้าพเจ้าขออุทิศดังว่านี้ แม้ครั้งที่ 2, ข้าพเจ้าขออุทิศดังว่านี้ แม้ครั้งที่ 3 ดังฉะนี้แล.

พร้อมกันนี้ ข้าพเจ้า, HHH นามสกุล PPP, ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัยเลขที่ 9876543210 ขอสำแดงดวงตราประกาศิต (ถ้ามี) เพื่ออนุโมทนาสาธุการ กับสรรพบรรดาประดามีในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียว ที่ตัวข้าพเจ้าเอง ได้อุทิศให้ตนเองดังกล่าวล่าสุดเมื่อสักครู่ ข้าพเจ้าขอน้อมอนุโมทนา สาธุการ แม้ครั้งที่ 1, ข้าพเจ้าขอน้อมอนุโมทนา สาธุการ แม้ครั้งที่ 2, ข้าพเจ้าขอน้อมอนุโมทนา สาธุการ แม้ครั้งที่ 3 ดังฉะนี้แล.

ผนวก คุณ HHH นามสกุล PPP ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัยเลขที่ 9876543210 แม้ครั้งที่ 1, 2, 3!!!


บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน จะทำอย่างไร ถ้าทำบุญแล้วไม่ปลื้ม

 

ความปลื้มจากการทำบุญจัดเป็น "ปีติ" ซึ่งในพระอภิธรรมปิฎกได้ระบุไว้ว่า เป็นอารมณ์ของจิตที่ก่อให้เกิดบุญมาก มีลักษณะคล้าย “การเลี้ยงวิชชา” แต่อารมณ์ปีตินี้ก็ไม่เกิดขึ้นโดยง่าย และไม่มีความแน่นอน แม้บางท่านจะพยายาม "บิลท์อารมณ์" หรือจัดองค์ประกอบในการทำบุญให้ปลื้ม เช่นจัดดอกไม้ ติดริ้วธง จัดพิธีกรรมให้ดูยิ่งใหญ่ ขลังและศักดิ์สิทธิ์ แต่อารมณ์ปีติ ก็เป็นเพียงอารมณ์ของฌานชั้นต้น ผู้ที่ได้ธรรมขั้นสูง หรือฌานขั้นสูงหน่อย อย่างเช่นฌาน 3 ถึงฌาน 8 อาจจะไม่มีปีติหรือความปลื้มเลย ซ้ำร้าย บางท่านโดน "เก็บวิชชา" หรือสะดุดใจกับเรื่องไม่พึงประสงค์ ทำให้ไม่ปลื้ม

วิธีแก้ไข เพื่อให้ได้บุญมาก แม้อารมณ์ไม่ปลื้ม ก็คือการ "อุทิศบุญให้กับตนเอง แล้วจึงอนุโมทนากับ ตนเอง" ซึ่งเราต้องเอ่ยอ้างว่า "ด้วยบุญ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ อำนาจ สิทธิ เฉียบขาด เดชา ศักดิ์สิทธิ์ วิเศษ พิเศษ สิทธิเดชา อัศจรรย์ มหัศจรรย์ ศักดิเดชา และคุณเครื่องแห่งความดีทั้งหลาย อันเกิดขึ้นต่อข้าพเจ้าทั้งก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ [การถวายสังฆทานโลก ในวันที่ 111 เดือน 222 ปี 3333 ตามวันเวลาของประเทศไทยในปัจจุบันสมัย] ซึ่งจะส่งผลเฉพาะที่เป็นประโยชน์สุขต่อข้าพเจ้า [และผู้อื่น] ในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียวนั้น ข้าพเจ้าขอแสดงมุทิตาจิต และอุทิศสิ่งที่ข้าพเจ้าเอ่ยอ้างดังกล่าวทั้งหมดโดยเฉพาะเจาะจงให้กับตัวของข้าพเจ้าเอง คือ xxx yyy นับตั้งแต่กายมนุษย์หยาบถอยขึ้นเรื่อยไป กระทั่งถึงกายต้นสายธาตุสายธรรมในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิของข้าพเจ้า แม้ครั้งที่ 1, 2, 3 ดังนี้แล้ว ข้าพเจ้า คือ xxx yyy ก็ขอแสดงมุทิตาจิตพร้อมอนุโมทนากับตนเองด้วย ดังนี้ แม้ครั้งที่ 1, 2, 3" เช่นนี้แล้ว เราก็จะได้บุญมากแม้อารมณ์ปลื้มปีติ ไม่แรงกล้าครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


Q&A: ทำอย่างไรจึงจะอนุโมทนาได้โดยไม่ติดค้างสิทธิ์

เราสามารถอนุโมทนาบุญ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ อำนาจ สิทธิ เฉียบขาด เดชา ศักดิ์สิทธิ์ ... ฯลฯ ที่ยิ่งใหญ่ต่างๆ ได้ เช่นบุญก่อตั้งพระพุทธศาสนา ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อนุโมทนากับพระอาทิตย์ และพระจันทร์ที่ส่องสว่างทั่วจักรวาล อนุโมทนากับสมเด็จองค์ปฐมบรมครูผู้ทรงเป็นต้นพระพุทธวงศ์ทั้งหมด, พระพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้า, พระอรหันตเจ้า ในอดีตทั้งหมด ปัจจุบัน ทั้งหมด และอื่นๆ

แต่การอนุโมทนาบุญใหญ่ๆ อย่างนี้ จะติดค้างสิทธิ์มากมายครับ ยกเว้นแต่เราจะมีบุญใหญ่มาแลก ด้วยการอุทิศสิทธิ์ให้ก่อน แล้วจึงอนุโมทนาสิทธิ์คืน จากนั้นก็ “แลกสิทธิ์” (swap) กันและกัน เพื่อให้สิทธิ์ที่ค้างกันและกันตกไปทั้งสองฝ่าย โดยไม่เปลืองเนื้อสิทธิ์เดิม แต่ถ้าบุญของเราไม่ใหญ่พอ เราต้องติดค้าง บุญกรรมอาจนำพาให้ได้ไปเกิดเป็นพระพุทธจักรฯ ต้องเฝ้าเมืองพระนิพพาน คอยอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ คือมีกุศลมาก แต่ก็อาจต้องทำงานใช้สิทธิ์ที่ติดค้าง ซึ่งก็นับว่ายังดีกว่าไม่มีบุญกุศลใหญ่อะไรเลย วิธีที่จะแก้ปัญหาสิทธิ์มากน้อยไม่เท่ากันคือ การอุทิศสิทธิ์ และอนุโมทนาสิทธิ์ซ้ำๆ หลายๆ ครั้งกระทั่งต่างฝ่ายต่างมีสิทธิ์พอ แม้จะมากน้อยไม่เท่ากันครับ

สำหรับบางท่านที่ไม่ค่อยได้ทำบุญทำกุศล เมื่อใกล้จะละโลก หากเพียงแต่ได้น้อมจิตอนุโมทนากับสมเด็จองค์ปฐมบรมครูฯ ผู้ทรงเป็นต้นพุทธวงศ์ทั้งหมด และอนุโมทนากับพระพุทธศาสนาในฝ่ายสัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียว ที่สมเด็จองค์ปฐมบรมครู และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ผ่านมาทั้งหมด รวมถึงในปัจจุบัน และองค์สมเด็จพระพุทธโคดมฯ ได้ทรงก่อตั้งพระพุทธศาสนาขึ้น ก็จะเป็นบุญใหญ่ก่อนละสังขาร อาจถึงขั้นสามารถเปลี่ยนภพภูมิไปสู่สุคติได้ แม้ไม่เคยทำบุญอะไรครับ ยกเว้นแต่จะทำบาปหนักเอาไว้

วิธีอนุโมทนาบุญ โดย “แลกสิทธิ์” มีดังนี้ครับ

1. อุทิศ "สิทธิ์" ที่เรามีในบุญให้กับอีกฝ่าย แล้ว อนุโมทนา "สิทธิ์" ที่อีกฝ่ายมีในบุญของท่าน

2. อนุโมทนาบุญ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ อำนาจ สิทธิ เฉียบขาด เดชา ศักดิ์สิทธิ์ กับอีกฝ่าย

3. นำสิทธิ์ที่ “อนุโมทนาสิทธิ์” ได้มาเคลียร์ สิทธิ์ที่ติดค้างจากการ “อนุโมทนาบุญ” ฯลฯ

4. อีกฝ่ายนำสิทธิ์ที่เราอุทิศให้ มาอนุโมทนาบุญ ฯลฯ ของเราแล้วเคลียร์สิทธิ์ติดค้าง

5. สิทธิ์ ที่อุทิศ และสิทธิ์ ที่อนุโมทนา swap แลกกันและกัน ระหว่างสองฝ่าย แล้วเป็นอันตกไป

6. ต่างฝ่ายต่างได้บุญที่อนุโมทนา แล้วไม่ติดค้างสิทธิ์ต่อกันและกัน

7. จะทำฝ่ายเดียวก็ได้ แต่จะไม่แฟร์ครับ.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org

 

Q&A: ทำไมจึงต้องทำบุญอาศัยเครื่องธาตุเครื่องธรรมฝ่ายบุญในการแก้บาปกรรม

สาเหตุที่ผมแนะนำให้ทำบุญใหญ่โดยระบุบนหน้าซองหรือเอกสารบริจาคหรือทำบุญ ให้เครื่องธาตุเครื่องธรรมฝ่ายบุญเข้าล็อคแล้วถอนหรือกำกับผังบาปกรรม ก็เพราะผังบาปกรรมนั้นตั้งขึ้นโดยเครื่องธาตุเครื่องธรรมฝ่ายบาป ดังนั้นก็อาศัยเครื่องฝ่ายบุญแก้โปรแกรมของเครื่องด้วยกัน ไม่ต้องใช้วิชชา อำนาจญาณ หรืออธิษฐานครับ

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

 

นานาสาระ: ตอน ถอนคำอธิษฐานด้วยสิทธิ์

เคยบ้างไหมครับ ที่เราได้อธิษฐานอะไรๆ อย่างคนไม่รู้ประสา หรือไม่รอบคอบพอ โดยเฉพาะเรื่องความรัก เช่นอธิษฐานกับแฟนเก่าตอนทำบุญว่าขอเป็นเนื้อคู่กันไปทุกภพชาติ แต่พออยู่ๆไป เกิดมีความบาดหมาง ต้องแยกทางกันแล้ว แล้วก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับคำอธิษฐานที่เคยทำเอาไว้

ในทางวิชชานั้น เรามีวิธีการเรียกว่า "ดับอธิษฐานถอนปาฏิหาริย์" เพื่อรื้อผังที่ตั้งขึ้นจากคำอธิษฐานครับ นี้เป็นทาง "วิชชา" ซึ่งครูวิชชาท่านเคยอธิบายไว้แล้วว่า เครื่องธาตุเครื่องธรรมจะเป็นผู้กำหนดอานิสงส์จากการทำบุญ โดยการอธิษฐานเวลาทำบุญ ก็ถือเป็น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เครื่องธาตุเครื่องธรรมนำข้อมูลป้อนเข้า (input) เหล่านั้นมาประมวลเพื่อกำหนดผังกรรมานิสงส์แห่งบุญ พร้อมทั้งเบิกบุญส่วนหนึ่งมาเป็นพลังงานขับเคลื่อนผังสำเร็จ แล้วส่งกลับมาเก็บไว้ในกายมนุษย์ ซึ่งการใช้วิชชาดับอธิษฐานถอนปาฏิหาริย์ หรือมลายส่วนละเอียดของผังที่ตั้งขึ้นจากการทำบุญที่เราเคยอธิษฐานผิดพลาดเอาไว้ จะต้องหมดเปลือง ประดาวิชชาหรือ หมดเปลืองละเอียดขึ้นอยู่กับความแน่นและขนาดของผัง เหมือนใช้ยางลบ ลบข้อความที่เขียนเอาไว้ด้วยดินสอ ยางลบก็หมดเปลืองไป แล้วข้อความบนกระดาษที่เขียนด้วยดินสอก็หายไปครับ

แต่สำหรับ "โดยสิทธิ์" ผมมีวิธีคือ ให้เล่น "ผวนคำอธิษฐาน" ซ้ำๆ กันตอนทำบุญ หรืออุทิศ/อนุโมทนาบุญให้ตนเอง เช่น เราเคยอธิษฐานว่า "ขอให้ได้ครองรักกับก๋อยศรีไปทุกชาติ" แต่เมื่อเราเลิกรากับก๋อยศรีแล้ว เราก็ต้องมาอธิษฐานแก้ไขกัน โดยอธิษฐานว่า "ด้วยบุญกุศลนี้.. ชาติทุกไปศรีก๋อยกับรักครองได้ให้ขอ" โดยกล่าว 3 ครั้ง ถ้าทำในวิชชาได้ด้วยจะยิ่งแรงครับ เป็นการเล่นสิทธิ์รูปแบบหนึ่งเพื่อถอนคำอธิษฐาน ส่วนการเล่นสิทธิ์ในลักษณะอื่นๆ ก็สามารถทำได้ ขึ้นอยู่กับวิธีการเล่นของแต่ละท่าน แต่การเล่นสิทธิ์ ก็มักจะหมดเปลืองสิทธิ์ด้วยเหมือนกัน วิธีการผวนคำอธิษฐานจึงเป็นวิธีที่ประหยัด และได้ผล เพียงแต่ต้องทราบว่าเคยอธิษฐานไว้ว่าอย่างไร จะได้ผวนอย่างถูกต้องตามรอยเดิม ซึ่งถ้าผู้เล่นมีวิชชาด้วย ก็จะประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน เล่นสิทธิ์ "โมฆะกรรม"

พระพุทธศาสนาสอนว่า บุญส่วนบุญ บาปส่วนบาป ไม่สามารถลบล้างกันและกันได้ ต่างจากศาสนาอื่น ที่มีพิธี “ล้างบาป” แต่ชาวพุทธก็อาจจะรู้สึกคลางแคลงว่า น้ำจะล้างบาปได้อย่างไร ที่นิยมทำกันในหมู่ชาวพุทธก็มีแต่การ “แก้กรรม” ซึ่งนิยมทำบุญสะเดาะเคราะห์ โดยส่วนใหญ่มักจะทำบุญในสิ่งที่เป็นตรงกันข้ามกับบาป เช่นหากเคยทำแท้ง ก็ให้ปล่อยสัตว์ปล่อยปลา ถวายสังฆทานอุทิศให้ทารก แต่เมื่อเราทราบกลไกการทำงานของบุญและบาปแล้ว เราสามารถแก้ไข "บาปกรรม" โดย "เล่นสิทธิ์" ไปตามระบบของกฎแห่งกรรมได้ครับ

คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรื่องกรรม มีอยู่ประการหนึ่งที่ใช้คำว่า "กรรมกลายเป็นอโหสิกรรม" ซึ่งปกติแล้วจะเป็นกรรมที่ส่งผลมากพอกระทั่งหมดกำลังบาปกรรมไปเอง หรือเป็นกรรมที่มีวิบากบุญใหญ่ อย่างมรรคผลนิพพานมาตัดหน้าไป ดังเช่นตัวอย่างของพระองคุลีมาลย์ ที่ฆ่าคนมามาก แต่บรรลุเป็นพระอรหันต์ คือได้มรรคผล ก็เป็นวิบากบุญใหญ่นำพาเข้าพระนิพพาน ไม่ต้องไปชดใช้กรรมในนรก

สำหรับการแก้ไขปัญหาบาปกรรม ที่เราพลาดพลั้งกระทำลงไป ด้วยเทคนิคการเล่นสิทธิ์ ผมมีวิธีแก้ไขคือ "ทำบุญใหญ่อันเป็นปรปักษ์ต่อบาปกรรม" แล้วเขียนจ่าหน้าซองหรือระบุก่อนถวายทานหรือทำบุญว่า “ขอบุญจากการปล่อยโคกระบือนี้จงเป็นพลวปัจจัยดลบันดาลให้บาปกรรมจากการล่าสัตว์ของข้าพเจ้าทั้งหมดในปัจจุบันชาติจงกลายเป็นโมฆะ คือเป็นอโหสิกรรม ขอให้บุญนี้คอยกำกับผังบาปกรรมจากการฆ่าสัตว์ของข้าพเจ้าเอาไว้อยู่เสมอๆ ตลอดไป เมื่อใดก็ตามที่บาปกรรมจากการล่าสัตว์จะส่งผล ขอบุญจากการปล่อยโคกระบือ จงเปลี่ยนแปลงสถานการณ์จากร้ายให้กลายเป็นดี เพื่อให้ข้าพเจ้ารอดพ้นจากบาปกรรม ทุกครั้ง ทุกคราไป ดังนี้ แม้ครั้งที่ 1, 2 และ 3!!!”

ดังนี้แล้ว หลังจากทำบุญไปแล้ว เราก็สามารถเอ่ยอ้างบุญนี้ซ้ำๆ กันเรื่อยๆ แล้วอุทิศให้กับตนเอง รวมถึงสัตว์ที่ถูกเราล่าฆ่าไป ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า แล้วเราก็อนุโมทนาบุญกับตัวเองในบุญนี้บ่อยๆ ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า “ผังบุญ” ที่จะทำให้บาปเป็นอโหสิกรรม หรือเป็นโมฆะ ก็จะแรงขึ้นๆ ตามลำดับ คอยตัดกำลังผังบาปไปเรื่อยๆ ซึ่งถ้าเราอุทิศบุญบ่อยๆ อนุโมทนาบ่อยๆ ทำบุญแบบเดียวกันบ่อยๆ แล้วอุทิศ/อนุโมทนาบ่อยๆ สม่ำเสมอ ก็จะช่วยได้มากเลยครับ ซึ่งเราต้องพิจารณาด้วยว่า ผังบาปกรรมแรงมากเพียงใด แล้วคำนวณประเมินดูว่า ต้องทำบุญให้แรงมากน้อยเพียงใด จึงจะมีกำลังมากพอเพื่อ “คานกำลัง” กัน แล้วถ้าหากท่านใดเป็นผู้ทรงวิชชา จะทำในวิชชา ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหลายเท่าตัว ส่วนท่านที่ชำนาญ “เล่นสิทธิ์” อาจถึงกับสามารถถอนผังบาปออกได้ด้วยผังบุญ แล้วผังดับไปทั้งคู่ อุปมาเหมือนบุคคลเป็นฝี (ผังบาปกรรม) แล้วนำแผ่นกอเอี๊ยะดูดฝีมาแปะไว้ที่ผิว (ผังบุญ) แผ่นกอเอี๊ยก็จะดูดฝีออกมาจนแห้ง แล้วแผ่นกอเอี๊ยะนั้นก็จะหมดฤทธิ์ยาไปครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: คำกล่าว อุทิศ/อนุโมทนา โดยพิสดาร

สงวนลิขสิทธิ์ โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

ฉบับที่ 1 ณ วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


1.  กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย

2.  กล่าว “นะโม ตัสสะฯ” 3 จบ

3.  “เผดียง นาย xxx นามสกุล yyy (ชื่อนามสกุลตนเอง) ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัย เลขที่ zzzzzzzzzz ดังนี้ แม้ครั้งที่ 1, 2 และ 3.”

4.  “ข้าพเจ้า นาย xxx นามสกุล yyy ขอสำแดงดวงตราประกาศิตเพื่อทำพิธีอุทิศต่างๆ ในกาลบัดนี้”

5.  “ข้าพเจ้า นาย xxx นามสกุล yyy ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัย เลขที่ zzzzzzzzzz ขอเอ่ยอ้างถึงทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, สัจจะ, ขันติ, เมตตา, อธิษฐาน, อุเบกขา, บุญ, บารมี, รัศมี, กำลังฤทธิ์, อำนาจ, สิทธิ, เฉียบขาด, เดชา, ศักดิ์สิทธิ์, ทรัพย์ในธาตุ, สินในธรรม, โลกียทรัพย์, โลกุตรทรัพย์, อริยทรัพย์, มนุษยสมบัติ, สวรรค์สมบัติ, นิพพานสมบัติ, ธรรมสมบัติ, มรรคผล นิพพาน, วิชชาและจรณะ, กุศลธาตุ, กุศลธรรม, กายสิทธิ์, รัตนะ และบรรดาอันประดามีของข้าพเจ้าในธาตุธรรมของข้าพเจ้าทั้งหมดทั้งสิ้น อันตั้งอยู่ และเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข ในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิ แต่เพียงส่วนเดียว สำหรับข้าพเจ้า โดยขอยกเว้นที่เกี่ยวเนื่องและเกี่ยวข้องกับหมู่คณะวัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย และพวก ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ทั้งในโลกนี้ และต่างภพต่างภูมิ และไม่เกี่ยวเนื่องและเกี่ยวข้องกับบุคคล และ/หรือ คณะบุคคล และ/หรือ องค์กร หน่วยงาน ภาคส่วนต่างๆ ซึ่งหากทำการอุทิศ/อนุโมทนา แล้วจะเป็นโทษหรือเสียประโยชน์ต่อข้าพเจ้า”

“ข้าพเจ้า นาย xxx นามสกุล yyy ขอสำแดงดวงตราประกาศิต (ถ้ามี) แล้วขอเอ่ยอ้างสิ่งต่างๆนาๆ บรรดาอันประดามีของข้าพเจ้าดังกล่าว ซึ่งมีข้อยกเว้นแล้วนั้น แล้วน้อมอุทิศทั้งหมดทั้งสิ้นอย่างเฉพาะเจาะจงให้กับตัวของข้าพเจ้าเอง (หรือจะมีผู้อื่นก็ได้ แต่จะติดค้างสิทธิ์กันและกัน แล้วทำให้ซับซ้อนขึ้น หรือมีปัญหาในวิชชาภายหลัง) คือ นาย xxx นามสกุล yyy ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัย เลขที่ zzzzzzzzzz ดังนี้ แม้ครั้งที่ 1, แม้ครั้งที่ 2 และ แม้ครั้งที่ 3.

”ข้าพเจ้า นาย xxx นามสกุล yyy ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัย เลขที่ zzzzzzzzzz ขอสำแดงดวงตราประกาศิต (ถ้ามี) เพื่อน้อมรับอนุโมทนาสาธุการในสิ่งต่างๆ นาๆ บรรดาอันประดามี ที่ตัวของข้าพเจ้าเองได้เอ่ยอ้างถึงแล้วอุทิศให้ข้าพเจ้าเองล่าสุดเมื่อสักครู่นี้ ดังนี้แล้ว ข้าพเจ้าขออนุโมทนาสาธุการ แม้ครั้งที่ 1, ขออนุโมทนาสาธุการ แม้ครั้งที่ 2 และ ขออนุโมทนาสาธุการแม้ครั้งที่ 3”

“ด้วยผลานิสงส์นี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นบุคคลผู้สมบูรณ์แบบในทุกเรื่อง ทุกด้าน ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ทุกประการ อันเหมาะควรต่อข้าพเจ้า และสอดคล้องกับธาตุธรรมฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียว รวมถึงเป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพานอันยั่งยืน และประโยชน์สุข ในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียวสำหรับหรับข้าพเจ้ามากยิ่งๆ ขึ้นไป นับจากวันนี้เป็นต้นไป อย่างยั่งยืน [ตลอดไป] เทอญ นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ!”

6.  “ผนวก นาย xxx นามสกุล yyy ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัย เลขที่ zzzzzzzzzz แม้ครั้งที่ 1, 2 และ 3.”

7.  “ข้าพเจ้าขอสำแดงดวงตราประกาศิต (ถ้ามี) เพื่อเป็นการปิดพิธีในครั้งนี้ต่อจากนั้นให้กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย เป็นอันเสร็จพิธี.

* * * * * * * * * * * * * * * * * *


นานาสาระ: ตอน เล่นสิทธิ์ในศีล

"ศีล" เป็นองค์คุณหนึ่งใน "จรณะ 15" ที่เอื้อต่อศักยภาพของ "วิชชา" เหตุเพราะวิชชาทั้งหลายล้วนตั้งอยู่บนจรณะ ส่วนบุคคลที่ "ทุศีล" แต่ยังมีวิชชาได้ ก็เพราะโดยมากแล้วจะเป็น "มิจฉาวิชชา" ครับ แต่วันนี้เราจะยังไม่ขอเอ่ยถึงเรื่อง ศีลในวิชชา แต่จะแบ่งปันความรู้เรื่องการเล่นสิทธิ์ในศีล

ชาวพุทธที่ศึกษาธรรมะมามากคงพอทราบว่า ศีล 5 เป็นศีลขั้นพื้นฐานสำหรับคนทั่วไป และศีล 5 นี้ ก็มีมาก่อนตั้งแต่องค์สมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงถือพระประสูติกาล ส่วนศีล 8 เป็นศีลเริ่มแรกของบรรพชิต ส่วนศีลของสามเณร พระภิกษุ พระภิกษุณี นั้นแตกต่างกันไปตามพุทธกาล บางยุคที่มนุษย์มีกิเลสเบาบาง สิกขาบทหรือพระวินัยสำหรับพระสงฆ์มักจะมีน้อยข้อ

ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงประสงค์จะบัญญัติศีลสิกขาบทเพิ่มครับ เพราะเมื่อสิกขาบทมาก การบรรลุธรรมในพระศาสนามักจะมีน้อยลงไปด้วย แต่ถ้าสิกขาบทน้อยไป พระศาสนาก็คลอนแคลน พูดง่ายๆ ก็คือ ยิ่งกฎระเบียบเยอะมากไป ก็พลอยทำให้พระสงฆ์ตึงเครียดอยู่กับความเคร่งครัด ระแวดระวังกังวล ในการปฏิบัติตามพระวินัย ทำให้อารมณ์ "ตึงไป" ไม่เป็นกลาง ขาดมัชเฌนธรรม แล้วถ้าทำผิด ก็จะกลายเป็นบาปติดค้าง หากปลงอาบัติไม่ตก พระที่อาบัติติดค้างมากๆ ก็มักจะเป็นเครื่องถ่วง ไม่ให้บรรลุธรรมโดยง่าย ยกเว้นบางรูปที่บุญกรรมส่งผลให้เป็นไปได้ หรือมีอัธยาศัยชอบความเคร่งครัดเหมือนอย่างพระมหากัสสปะ ผู้เลิศทางธุดงควัตร ครั้นจะบัญญัติสิกขาบทน้อย พระสงฆ์ก็จะขาดกฎระเบียบที่ดีและมากพอคอยล้อมกรอบกำหนดความประพฤติ เป็นเหตุให้ปฏิบัติในทางเสื่อมเสียต่อพระศาสนาได้

ผมเกริ่นมายืดยาวขนาดนี้แล้ว ก็ขอลัดเข้าตรงประเด็นเลยว่า “ศีล” มีความสำคัญสำหรับผู้ทรงวิชชา เพราะไม่ว่าวิชชาจะตรงทาง หรือเบี่ยงเบนไป จะเป็นไปตามที่ครูบาอาจารย์สอน หรืออย่างไร อย่างน้อยขอให้มีศีล เป็นกรอบกำหนด มิฉะนั้นแล้ว จะเห็นผิดเป็นชอบไปได้ เพราะในวิชชา ก็มีเห็นได้ต่างๆ กันไป ตามกำลังญาณทัสสนะของแต่ละท่าน บางท่านญาณละเอียดกว่า อาจแกล้งกันด้วยการส่งภาพเข้ามาหลอกรู้หลอกญาณกันเลยก็มี ทำให้สำคัญผิด อย่างน้อย ไม่ว่าจะเห็นเป็นไปอย่างไรในวิชชา ก็อย่าทำผิดศีลครับ ไม่ว่าจะเป็นศีลของฆราวาส หรือบรรพชิต

ทีนี้ ตามปกติแล้ว ชาวพุทธทั่วไปอาราธนาศีลตาม "พิธีกรรม" จะอาราธนาแบบ "ครบชุด" คือ "ศีล 5" หรือ "ศีล 8" ซึ่งหากมีข้อใดข้อหนึ่งขาด ข้อที่เหลือก็จะขาดแบบ "ยกชุด" ไปพร้อมๆ กัน เพราะเวลาพระให้ศีล ท่านให้มาแบบนั้น ตามพิธีกรรมที่ทำต่อๆ กันมา แต่ถ้าเราจะแก้ไขปัญหานี้ เราสามารถ "อาราธนาศีลแยกข้อ" ซึ่งอาจจะต้องอาราธนาเองต่อหน้าหิ้งพระที่บ้าน โดยกล่าวคำอาราธนาศีลเป็นภาษาไทยก็ได้ แล้วปิดท้ายว่า "ข้าพเจ้าขออาราธนาศีล 5 แต่ละข้อ ละข้อ แยกต่างหากกัน ทั้งหมดมี 5 ข้อด้วยกัน หากมีข้อใดข้อหนึ่งขาด ข้อที่เหลือไม่พึงขาดตามไปด้วย พึงขาดเฉพาะข้อนั้นๆ ดังนี้ แม้ครั้งที่ 1, 2 และ 3"  โดยนัยนี้ ถือเป็นการ “เล่นสิทธิ์” กับศีล และเป็นไปตามที่เรากำหนด

ฉะนั้น เมื่อเราอาราธนาศีลแบบแยกข้อ หากเผลอทำศีลขาด 1 ข้อ เราก็จะเหลือศีล 4 ซึ่งเวลาเราอาราธนาใหม่ เราสามารถต่อศีล โดยอาราธนาซ้ำเฉพาะในข้อที่ขาด หากเรามีสติรู้เท่าทันระลึกได้ว่าเป็นข้อใด โดยกล่าวปิดท้ายว่า “ข้าพเจ้าขออาราธนาศีลกลับคืนอีกหนึ่งข้อ รวมกับของเดิมแล้วเป็น 5 ข้อ แต่ละข้อแยกต่างหากกัน ดังนี้แม้ครั้งที่ 1, 2 และ 3” หลายๆ ท่านทำตามพิธีกรรม แล้วมีศีล 5 หรือศีล 8 พอศีลขาด 1 ข้อ ก็กลายเป็นคน "ไม่มีศีล" ไปเลย แล้วถ้าหากอาราธนาศีลเองไม่เป็น ก็รอจนกว่าจะได้เข้าวัดถวายภัตตาหาร หรือสังฆทานคราวหน้า ก็ต้องตกอยู่ในสภาพไม่มีศีลเลย ไปพลางๆ จนกว่าพระจะให้ศีลใหม่อีกครั้ง ซึ่งบางครั้งก็กินเวลายาวนานสำหรับบางท่าน ซึ่งเข้าวัดทำบุญเฉพาะวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือช่วงเทศกาล

ด้วยวิธีการนี้ จะทำให้เรายังคงมีศีลอยู่เสมอๆ ไม่ว่าจะกี่ข้อ แล้วเราก็ได้บุญต่อเนื่อง จากการมีศีล คือระหว่างที่เรามีศีล 4 ข้อ เมื่อเปรียบเทียบกับศีล 5 หรือศีล 8 ที่ขาดไปทั้งชุด ทำให้อยู่อย่างคนไม่มีศีล แต่การเล่นสิทธิ์ในศีลนั้น เราจะยังได้บุญจากการมีศีล 4 ข้อต่อไป ดังนี้ครับ.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน อุทิศ/อนุโมทนา โดยพิสดาร

การอุทิศ/อนุโมทนาบุญนั้น ถือเป็นบุญกริยาวัตถุใน 10 ประการ ซึ่งทำให้ได้บุญเพิ่ม เพราะใจเราเป็นกุศลเพิ่ม ไม่ได้เกิดจากการแบ่งเนื้อบุญจากส่วนของเจ้าของผู้ทำบุญออกมาให้เรา อุปมาผู้ทำบุญเหมือนแท่งเทียนที่จุดไฟส่องสว่างอยู่ แล้วผู้อนุโมทนาคือกระจกเงาที่ตั้งสะท้อนเงาแท่งเทียนนั้น ทำให้สว่างเพิ่ม แต่ดังที่ผมได้เคยเกริ่นไว้แล้วว่า การอุทิศ/อนุโมทนาบุญนั้น มีทั้งแบบที่เจ้าตัวไม่รับรู้รับทราบ กับแบบที่เจ้าตัวรับรู้รับทราบ แล้วตอบรับ หรือไม่ตอบรับ ซึ่งอานิสงส์แห่งกรรมก็จะแตกต่างกันไป

การอุทิศ/อนุโมทนาบุญกับผู้อื่นนั้นได้บุญมากขึ้นมาก็จริง แต่จะ "ติดสิทธิ์" (อีกแล้ว ^^) เพราะเจ้าของบุญมีสิทธิ์จะถอนพันธะผูกพันได้ทุกเมื่อ และอานิสงส์ของบุญก็คือ ผู้อุทิศจะได้บุญเพิ่มและมี “สิทธิ์” มากขึ้นใน “กรรมะพันธะ” ในขณะที่ผู้อนุโมทนาก็ได้บุญเพิ่มและจะได้มีส่วนใช้สอยสมบัติ “กรรมมานิสงส์” แต่จะต้องทำงานให้กับเจ้าของบุญ คือจะต้องไปเป็นบริษัทบริวารของเจ้าของบุญ แล้วร่วมกินร่วมใช้กองสมบัติอันเกิดจากบุญที่ร่วมอนุโมทนา ถ้ามีบุญเป็นของตนเองมากอยู่ด้วย ก็จะได้ทำงานให้ในลักษณะของ “บริษัทผู้รับเหมาช่วง” (sub-contractor) ยกเว้นแต่จะทำบุญสมทบด้วย ก็จะได้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น ในกรณีนี้ก็จะมีส่วนได้ของตนแยกต่างหาก แล้วถ้าไปเกิดในสวรรค์ หรือในนิพพาน ถ้ากำลังบุญของผู้อนุโมทนาไม่มากพอ หากเคยอนุโมทนาบุญใหญ่กับใครไว้ ผู้อนุโมทนาก็อาจจะต้องไปเป็นบริวารในวิมานของเจ้าของบุญนั้น แต่ถ้ามีบุญมากพอ ก็จะมีวิมาน แต่อยู่ในเขตการปกครองของสวรรค์หรือ “วงศ์บุญ” ของหัวหน้าเทวดาที่เราเคยอนุโมทนาไว้

ดังนี้แล้ว ผมจึงแนะนำว่า ให้เราทำบุญด้วยตนเอง แล้วอุทิศบุญให้ตนเอง พร้อมกับอนุโมทนาบุญกับตนเอง ทำได้บ่อยๆ จะได้บุญเพิ่มฟรีๆ โดยไม่ติดค้างสิทธิ์ของใคร (ยกเว้นบางกรณี เช่นทำในนามคณะ หรือครอบครัว) แต่ต้องระวังเวลาอนุโมทนากับบุญใหญ่ที่ทำไว้กับสำนักวิชชา อาจทำให้วิชชาของสำนักสะดุด เพราะบุญถล่มลงมาเพิ่มอย่างไม่ทันตั้งตัวขณะเดินวิชชาอยู่ โดยผลบุญคือ เราจะได้เป็นเจ้าของกองสมบัติ จากกิจการที่ก่อให้เกิดรายได้ ยกตัวอย่างเช่น เราก่อตั้งบริษัทขึ้น แล้วก็ทำงานรับตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ คือตนเองก่อตั้งด้วย ถือหุ้นด้วย แล้วก็มีตำแหน่งทำงานรับเงินเดือนจากบริษัทของตนเองอีกต่อ กรรมจะส่งผลทำนองนี้ครับ

สำหรับบทความนี้ ผมขอแนะนำ “การอุทิศ/อนุโมทนา โดยพิสดาร” คือ "ขออุทิศบุญ, อุทิศบารมี, อุทิศรัศมี, อุทิศกำลังฤทธิ์, อุทิศอำนาจ, อุทิศสิทธิ, อุทิศเฉียบขาด, อุทิศศักดิ์สิทธิ์, อุทิศวิชชา (และอื่นๆ) ให้กับตัวข้าพเจ้าเอง ผู้มีชื่อว่า xxx yyy ดังนี้ แม้ครั้งที่ 1, 2 และ 3 และขอน้อมอนุโมทนาบุญ, อนุโมทนาบารมี, อนุโมทนารัศมี, อนุโมทนากำลังฤทธิ์, อนุโมทนาอำนาจ, อนุโมทนาสิทธิ, อนุโมทนาเฉียบขาด, อนุโมทนาศักดิ์สิทธิ์ และอนุโมทนาวิชชา (และอื่นๆ) กับตัวของข้าพเจ้าเอง ที่ได้อุทิศให้กับตนเองดังกล่าวด้วย เฉพาะในส่วนที่มีการประกอบเหตุและผลานิสงส์ อันเป็นประโยชน์สุข ตั้งอยู่ในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิ แต่เพียงส่วนเดียว ดังนี้ แม้ครั้งที่ 1, 2 และ 3.”

การอุทิศ/อนุโมทนา กับบุญ และสิ่งต่างๆ อย่างเช่น อุทิศ/อนุโมทนาความรู้, อุทิศ/อนุโมทนากุศลกรรม, อุทิศ/อนุโมทนาธาตุ, อุทิศ/อนุโมทนาธรรม, อุทิศ/อนุโมทนาทาน อุทิศ/อนุโมทนาศีล, อุทิศ/อนุโมทนาภาวนา, อุทิศ/อนุโมทนาสมาธิ, อุทิศ/อนุโมทนาปัญญา, อุทิศ/อนุโมทนาวิมุติ, อุทิศ/อนุโมทนาวิมุติญาณทัสสนะ, อุทิศ/อนุโมทนาวิชา, อุทิศ/อนุโมทนาวิชชา, อุทิศ/อนุโมทนามนุษยสมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ, อุทิศ/อนุโมทนาโลกียทรัพย์, อุทิศ/อนุโมทนาโลกุตรทรัพย์, อุทิศ/อนุโมทนา ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะบารมี ปัญญาบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี เมตตาบารมี อธิษฐานบารมี อุเบกขาบารมี, อุทิศ/อนุโมทนาลาภ, ยศ, สรรเสริญ, สุข, มรรคผล,  และนิพพาน ฯลฯ สามารถใช้ได้กับตนเอง และผู้อื่น ในกรณีต่างๆ ตามแต่จะประยุกต์ใช้

วิธีอนุโมทนาพิสดารดังนี้ จะมีทำให้ผู้อนุโมทนาได้รับส่วนในกรรมานิสงส์ แต่ผู้อนุโมทนาอาจไม่ทราบได้ว่า เจ้าของบุญทำมิชอบใดๆ ไว้หรือไม่ ในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น จึงต้องเอ่ยอ้างล้อมกรอบไว้ ว่าขออนุโมทนาเฉพาะเหตุที่ประกอบไว้ และผลานิสงส์อันจะเกิดขึ้น ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข อันตั้งอยู่ในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียวเท่านั้น เพื่อมิให้ “ติดวิบัติ”

การอนุโมทนาเช่นนี้ ถ้าทำกับคนอื่น พึงตระหนักว่า เราอาจจะได้ไปเกิดเป็นบริวารบุญของท่าน ซึ่งถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่เรานับถือคุ้นเคยกันมานาน ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นผู้ที่เรายังไม่รู้จักมักคุ้นดีพอ ก็ขอให้ระมัดระวังไว้บ้าง เพราะท่านสามารถเรียกสิทธิ์ หรือเพิกถอนสิทธิ์ มีผลต่อชีวิตของเรา หรือทำให้อานิสงส์ต่างๆ หายไป แต่วิธีอุทิศ/อนุโมทนา พิสดารนี้จะเป็นประโยชน์มาก หากอุทิศและอนุโมทนาให้กับตนเองเป็นหลัก แต่ถ้าหากเราอุทิศหรืออนุโมทนาแล้วมาทราบภายหลังว่า กรณีนั้นไม่ถูกต้อง เราก็สามารถ "ถอนอุทิศ และถอนอนุโมทนา" นั้นได้ในภายหลัง เป็นการ "เล่นสิทธิ์" ประการหนึ่ง

บางท่านอาจจะรู้สึกว่า ทำไมไม่อุทิศบุญให้กับบรรพบุรุษ บุพการี ญาติมิตร หรืออนุโมทนาบุญกันแบบทั่วไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมชาวพุทธอันดีงาม ทำไมต้องอุทิศ และอนุโมทนาให้กับตนเอง? สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ในโลกแห่งวิชชา ผู้ทรงวิชชาสามารถนำบุญไปเติม ไปส่งให้กับหมู่ญาติได้โดยตรง ไม่ต้องอุทิศกันให้มีพิธีรีตองมากมาย หรือเจ้าประกาศิต ก็สามารถนำ “สายบุญสันวิวัฏฐายี” ไปใส่ให้กับหมู่ญาติได้เลย ไม่ต้องมาอุทิศ/อนุโมทนากันตามปกติ ซึ่งบางทีท่านได้สุคติแล้ว อยากจะเที่ยวเล่น เพลิดเพลินอยู่ในสวรรค์ หรือสงัดอยู่ในเมืองนิพพาน การอุทิศ/อนุโมทนา อาจจะกลายเป็นการรบกวนท่านด้วยซ้ำ ยกเว้นแต่จะทำบุญใหญ่ๆ ซึ่งสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับท่าน และภพภูมิอันเป็นที่อยู่ของท่านได้มาก ก็ควรอุทิศ/อนุโมทนากันบ้าง ส่วนที่ผมเคยแนะนำวิธีเขียนจ่าหน้าซองทำบุญ ว่าจะกำหนดให้ผู้รับบุญเป็นเจ้าของบุญเต็มๆ ได้อย่างไร แทนที่จะทำได้แค่อนุโมทนารับบุญ 5 – 15% ในครั้งเดียว ซึ่งอานิสงส์ไม่ยั่งยืน ก็เป็นวิธีการที่ดีกว่าครับ ส่วนการอุทิศ/อนุโมทนาบุญกับตนเองนั้น ได้บุญเพิ่มฟรีๆ  อยู่ว่างๆ นึกถึงได้เมื่อไรก็ทำ ดังฉะนี้ครับ.


บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน รัศมีกายมาจากไหน?

“รัศมีกาย” ทั้งของกายมนุษย์, ทิพย์, พรหม, อรูปพรหม, กายธรรม, กายพระจักรพรรดิ ล้วนมีความสำคัญ เพราะสรรพสัตว์ส่วนใหญ่มีปกติยินดีในความสว่าง อันขับไล่ความมืด เพราะความสว่างนั้นให้ประโยชน์ ทำให้สามารถมองเห็น เพื่อการทำกิจต่างๆ ได้มากกว่า ให้ความรู้สึกปลอดภัย เห็น และแยกแยะได้ ว่าสิ่งใดเป็นคุณ สิ่งใดเป็นโทษ อีกทั้งยังเป็นเครื่องบ่งบอกความสวยงาม เหมือนแสงอาทิตย์ยามเช้า ยามเย็น แสงจันทร์คืนวันเพ็ญ และแสงดาวอันสุกสกาว แสงรัศมีเหล่านี้ล้วนเป็นที่นิยมชมชอบของเหล่าสรรพสัตว์ ใครก็ตามที่มีรัศมีในตัวเอง ก็มักจะเป็นที่นับถือ เคารพเลื่อมใส เหมือนองค์สมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงมีปกติแผ่รัศมีฉัพพรรณรังสีออกไปข้างละ 2 วา เป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น ก่อให้เกิดศรัทธา ประหยัดเวลาในการโปรดสัตว์ และข่มผู้ที่มีมานะได้ไปในตัว ในบทความนี้ เราจะมาพูดคุยกันถึงที่มาของรัศมีกายทั้งกายมนุษย์ กายทิพย์ กายธรรม กายพระจักรพรรดิกันครับ

ก่อนอื่นขอเอ่ยถึงพื้นฐานแรกของพลังงานรัศมี นั่นก็คือ “บุญ, บารมี, รัศมี, กำลังฤทธิ์, อำนาจ, สิทธิ, เฉียบขาด และ ศักดิ์สิทธิ์” คือ ธาตุบุญที่สะสมแล้วตกผลึกเป็นมวลกัมมันตรังสีสะสมตามลำดับชั้น ทำครั้งเดียวก็ได้ครบทั้งหมด แต่ได้มากไปหาน้อยตามลำดับครับ เช่น ทำบุญใส่บาตร ได้บุญ 100 หน่วย, พร้อมกับบารมี 10 หน่วย, รัศมี 5 หน่วย, กำลังฤทธิ์ 2.5 หน่วย, อำนาจ 1 หน่วย, สิทธิ 0.5 หน่วย, เฉียบขาด 0.1 หน่วย และ ศักดิ์สิทธิ์ 0.001 หน่วย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพลังงานที่มีรัศมี ต่างว่ามากน้อย และเกิดขึ้นจากการใส่บาตรครั้งเดียวกัน ผู้ที่มีพลังงานเหล่านี้มาก ก็จะมี “รัศมีบุญ” แผ่ออกมา

ส่วนผู้ที่มี “อายุธาตุ” ว่าเท่าไรๆ หมายถึงหน่วยเวลาสะสมของการทำความดีด้วยกาย, วาจา และใจ แต่ละขณะนับเป็นหน่วยหนึ่งๆ ถ้าทำความดี 100 ครั้ง ใน 1 ปี อายุธาตุสะสมจะมากกว่าคนที่ทำความดีเพียง 10 ครั้ง ใน 1 ปี แม้จะผ่านกาลเวลา 1 ปี เท่าๆ กัน

ส่วน “อายุบารมี” คือหน่วยกาลเวลา ของธาตุบุญ ที่ควบแน่น อันสืบเนื่องมาจากอายุธาตุ เช่น 1 แสนกัปป์, 20.1 อสงไขย, 40.1 อสงไขย, 80.1 อสงไขย ทั้งนี้เพราะบารมีไม่ได้ควบแน่นตกผลึกตามปริมาณบุญ แต่เป็นการ “สนธิ” กันระหว่าง อายุธาตุ คือความถี่สะสม (frequency), ความทุ่มเท (intensity & commitment), อินทรีย์ 5 (motivation), ศีล สมาธิ ปัญญา คือคุณอันเป็นเครื่องบ่ม (cultivating agents), ธรรมอันบ่มเพาะได้ (10 perfected virtues) และกาลเวลา (timing) อุปมาเหมือนการอบขนมปัง ที่อาศัยทั้งความร้อนอันเหมาะสม, ส่วนผสมของมวลก้อนขนมปังอันเหมาะสม ผ่านกาลระยะเวลาอันเหมาะสม ก็จะได้ขนมปังที่พองสุกพอดี รับประทานได้

สำหรับ “อายุธรรม” คือความถี่สะสมเหมือนอายุธาตุ แต่ไม่ได้นับเอาความดีที่ทำด้วยกาย วาจา ใจ อายุธรรมคือ “ขณะ” ที่ตรึกอยู่ใน ศีล, สมาธิ, ปัญญา คือปิฎก 3 ที่ฝ่ายบุญส่งมาหล่อเลี้ยง และเป็นมูลเหตุแห่งการได้อายุธาตุ กล่าวคือ ตรึกอยู่ในธรรมบ่อยๆ ก็คิดดี พูดดี ทำดี เพียงแต่ว่า อายุธรรมนั้นเราแยกแยะออกมาว่า ใจเป็นศีล สมาธิ ปัญญา มากหรือน้อย นานหรือไม่นาน อ่อนหรือแก่ ถ้าแก่ก็เป็น อธิศีล, อธิจิต, อธิปัญญา หรือปฐมมรรค มรรคจิต, มรรคปัญญา, โคตรภู, โสดาบัน, สกิทาคามี, อนาคามี, อรหัต, ปัจเจกโพธิญาณ และพระสัมมาสัมโพธิญาณ ลุ่มลึกกว้างไกลไปตามลำดับขั้น ธรรมนี้เองที่เป็น “เครื่องบ่มธาตุ” คือ กายกรรม, วจีกรรม, มโนกรรม ในบุญกริยาวัตถุ 10 เครื่องก่อเกิด “ธาตุบุญ” ให้กลายเป็นบารมีประเภทต่างๆ

ผู้ที่มี “ธาตุแก่” คือการอาศัย ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ ทั้งภายในตัว และนอกตัว เพื่อทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ โดยมี ปัญญา ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ คืออินทรีย์ 5 เป็นตัวขับเคลื่อน ยิ่งทำมาก 18 กาย และกายในวิชชายิ่งแก่กล้าไปตามลำดับ จากหยาบไปหาสุดละเอียด ถึงองค์ต้นสายธาตุ สายธรรม เหมือนการตกผลึกของน้ำละลายสารส้ม ยิ่งสารส้มละลายน้ำอย่างเข้มข้นมาก แล้วหย่อนเชือกลงไป การตกผลึกเกาะเชือกก็จะยิ่งเร็ว และเป็นผลึกแข็ง ฉันใดก็ฉันนั้น น้ำละลายสารส้มเข้มข้นมากน้อย คือกายมนุษย์ที่อยู่ปลายทางผู้ทรงธาตุ ส่วนผลึกสารส้มที่ตกผลึกเกาะเชือกคือกายต้นสายธาตุสายธรรม หรือ “กายต้นทาง” ของแต่ละบุคคลที่แก่กล้าขึ้นตามการบำเพ็ญของกายมนุษย์ปลายทาง

กายทุกกายล้วนมีรัศมีได้ นับตั้งแต่กายมนุษย์ ผ่าน 18 กาย ย้อนขึ้นไปถึงสุดละเอียด คือกายต้นสายธาตุสายธรรม โดยรัศมีมีทั้ง รัศมีบุญ, เครื่องกำเนิดรัศมี, รัศมีธาตุ, รัศมีธรรม, รัศมีวิชชา ซึ่งผสมกันได้หลายสูตร หรืออาศัยซึ่งกันและกัน ทำให้มี “ธาตุธรรม” ที่รองรับรัศมี และเปล่งรัศมีได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสม หรือบุพกรรม หรือตามแต่ผู้ทรงวิชชาจะให้ หรือตามแต่จะทำขึ้นเอง อย่างไรก็ตาม ปกติแล้ว กายในวิชชาที่ละเอียดกว่า จะมีรัศมีมากกว่า กายที่หยาบลงมา ภายในคนๆ เดียวกัน เช่น หากกายมนุษย์มีรัศมีแผ่ออกไปข้างละ 2 วา กายทิพย์จะสว่างกว้างไกลออกไปได้มากถึง 6 วากายทิพย์ ในขณะที่กายพรหม, อรูปพรหม, กายธรรม, และกายพระจักรพรรดิ ก็จะสว่างกว้างไกลยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก

ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่มีธาตุมาก และธาตุแก่ จะรองรับรัศมีได้มาก อุปมาเหมือน “ไส้หลอดไฟ” ที่ทนทาน เหมือนหลอดฮาโลเจน ที่ส่องสว่างมากๆ ได้นานๆ โดยหลอดไม่ขาด แต่ลักษณะของรัศมีของผู้มีธาตุมากก็จะแตกต่างจากผู้ที่มีธรรมมาก และธรรมแก่ ซึ่งถ้าแยกตามประเภทแล้ว ฝ่ายธาตุมักจะมี “รังสี” เด่นและแลดูมีลูกเล่นสีสันมาก ส่วนฝ่ายธรรมจะมี “ประภา” เด่นและแลดูสงบเย็นกว่า

ผู้ที่มีธาตุน้อย ธาตุอ่อน ธรรมน้อย ธรรมอ่อน และบุญน้อย ส่วนใหญ่จะรองรับรัศมีมากๆ ไม่ค่อยได้ เหมือนเครื่อง ซีพียู คอมพิวเตอร์ ที่สเป็คต่ำ จะนำการ์ดอุปกรณ์เสริมสเป็คสูงๆ ไปใส่ ก็จะรองรับไม่ได้ หรือเหมือนโป๊ะไฟ โคมไฟรุ่นธรรมดาที่มีวงจรกำลังไฟฟ้าแบบไฟบ้าน จะนำหลอดไฟสปอตไลต์แบบที่ใช้ตามสนามกีฬาไปติดตั้งก็ทำไม่ได้ เหมือนกายทิพย์ กายธรรม ที่ธาตุน้อย ธาตุอ่อน พอจะใส่รัศมีแรงๆ อย่างสุรีย์ฉาย หรือดารากานต์ เข้าไปก็จะรองรับไม่ได้ ต้องพอมีบุญบารมีที่ทำเอาไว้เองเป็นเครื่องช่วยรองรับด้วย อนึ่ง หากว่าบุคคลมีธาตุธรรมที่มีมลทินมาก ก็จะมีผลถึงความสว่างของรัศมีด้วย เปรียบเหมือนหลอดไฟที่มีฝุ่นสกปรกเกาะอยู่เต็มไปหมด รัศมีก็พลอยมัวหมองลง แต่ถ้าบุคคลมีกาย วาจา ใจที่บริสุทธิ์ ประพฤติพรหมจรรย์ไว้ดีแล้ว รัศมีจะเปล่งออกมาได้มาก และมีประสิทธิ์ภาพมากกว่า

ทั้งนี้ ทั้งนั้น ผู้ที่มีรัศมีมาก อาจไม่ได้เกิดจากบุญจุดประทีป แต่เกิดจากบุญถวายดอกไม้บูชาพระรัตนตรัย บุญถวายอัญมณีสร้างผอบหรือเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรือบุญจากการใส่บาตรก็มีรัศมีได้ เพียงแต่บุญที่เป็นบุพกรรมของรัศมีโดยตรง อย่างถวายหลอดไฟ จุดธูปเทียนไหว้พระ ก็จะได้โดยตรง ประเด็นคือว่า รัศมีบางอย่างที่ดีๆ ก็ได้มาโดยไม่ต้องจุดธูปจุดเทียนหรือเปิดไฟก็ได้ รัศมีบางอย่างสามารถใช้วิชชาทำขึ้นได้ แต่ถึงแม้จะมีวิชชา ที่สามารถเติมแต่งรัศมีได้ แต่อย่างน้อยก็ควรต้องพอมีธาตุธรรมดีพอให้ต่อยอดได้ รัศมีรังสีที่เปล่งออกมาจากกายนั้นมีหลายแบบ และมีหลายสาเหตุ บางประเภทสว่างแล้วซาตัวลงตามระยะเวลา เหมือนใช้แล้วหมดไป บางประเภทสว่างยาวนานข้ามภพข้ามชาติ เหมือนแร่ธาตุที่สะสมกัมมันตรังสี แล้วถูกปลดปล่อยออกมา บางประเภทเหมือนหลอดไฟที่ต่อแบตเตอรี่แบบชาร์จใหม่ได้ ใช้ไปชาร์จไป บางประเภทเป็นเสมือน “ประดารังสี” คือมียนต์กลไกในตัวผลิตพลังงานเลี้ยงให้ส่องสว่างออกมาเรื่อยๆ ไม่หมดสิ้น

การสำแดงรัศมีให้ปรากฏนั้น ผู้ทรงวิชชา และผู้ทรงคุณส่วนมากจะมีกติกามารยาทในการใช้ ว่าจะ “เปิดรัศมี” มากหรือน้อย ตามวาระโอกาส ส่วนใหญ่จะใช้กันยามเข้าสมาคม อย่างการประชุมในเทวสภา ซึ่งนับถือกันตามเกียรติ ผู้ที่มีรัศมีน้อย มักจะต้องถอยให้ผู้ที่มีรัศมีมาก โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในระดับเท่าๆ กัน เช่นพระอรหันต์ด้วยกัน พระพรหมด้วยกัน พระโสดาบันด้วยกัน เหมือนอย่างเช่นเรื่องราวของ อินทกะเทวบุตร และอังกุระเทวบุตร ในพระไตรปิฎก ซึ่งอังกุระเทวบุตร ทำบุญแบบสาธารณกุศลสมัยเป็นมนุษย์ ในขณะที่อินทกะเทวบุตรทำบุญกับพระอรหันต์ เมื่อองค์สมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า จะทรงเสด็จมาประทานพระธรรมเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อังกุระเทวบุตรมาถึงก่อนแต่เนิ่นๆ และนั่งรอคอยพระพุทธองค์อยู่ด้านหน้าๆ แต่เมื่อเหล่าเทพเทวาผู้มีบุญมากกว่า และรัศมีมากกว่า อย่างอินทกะเทวบุตรมาถึง อังกุระเทวบุตร ก็ต้องถอยที่นั่งไปข้างหลัง กระทั่งไกลลิบ

ท่านใดที่เคยออกงานบ่อยๆ คงพอจะตรองตามได้ ว่าเมื่อเราไปทำบุญ หรือไปออกงานสมาคมใด แล้วไปจับจองที่นั่งหน้าๆ เพราะมาก่อน แต่พองานจะเริ่ม ก็มีเจ้าหน้าที่มาเชิญให้ย้ายที่นั่ง ด้วยเหตุผลว่า ที่นั่งด้านหน้าที่เราจองไว้เป็นของแขกพิเศษ (V.I.P.) หรือเจ้าภาพใหญ่ หลายท่านก็อดจะเสียความรู้สึกไม่ได้ เรื่องรัศมีจึงเป็นเรื่องสำคัญประการหนึ่ง ในหลายๆ ประการ สำหรับเหล่าเทพเทวา และผู้ทรงวิชชาที่เยี่ยมเยียน และแวะเวียนไปตามภพภูมิต่างๆ อยู่เนืองๆ ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งเมืองนิพพานครับ. 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2566

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ต้อนรับปีใหม่ 2566 ตอน "ทางลัดตรัสรังสีขั้นสูง"

 

สวัสดีปีใหม่ครับแฟนคลับนานาสาระทุกท่าน วันขึ้นปีใหม่ได้ผ่านพ้นไปแล้วนะครับ หลายแห่งมีการ count down (จับเวลานับถอยหลัง) และจุดพลุเฉลิมฉลองกันอย่างคึกคัก ส่วนชาวไทยพุทธเราก็มี count down จุดพลุฉลองเหมือนกัน พร้อมๆ กับการสวดมนต์ข้ามปี สำหรับปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ผมได้แนะนำทุกท่านถึงวิธีตรัส "รังสี" ประเภทต่างๆ เช่นด้วยการบูชาด้วยดอกไม้ (ปุษยรังสี) สำหรับบทความนี้จะขอแนะนำการตรัส "รังสี" ด้วยการถวายพลุและดอกไม้ไฟ บูชาพระรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ครับ

การจุดพลุและดอกไม้ไฟ เฉลิมฉลองตามสถานที่ต่างๆ นั้นได้บุญครับ แม้จะไม่ได้มุ่งบูชาพระรัตนตรัย ถือเป็นบุญสาธารณกุศล อย่างการสร้างสวนสาธารณะ แต่ถ้าจุด ณ พุทธสถาน ธรรมสถาน วัดวาอาราม โดยไม่ได้จุดเพียงเพื่อเฉลิมฉลองรื่นเริง หรือสร้างความสวยงามประทับใจ แต่มุ่งเน้นไปที่การ "บูชาพระรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์" ก็จะกลายเป็นอานิสงส์ใหญ่ ทำให้เกิดอานิสงส์เป็นรังสีได้ครับ ซึ่งบุญแบบนี้สามารถส่งให้ตรัสได้ถึงขั้น "อังคีรส" ซึ่งเป็นรัศมีขั้นสูงประเภทหนึ่ง

แล้วการจุดพลุ กับดอกไม้ไฟ ที่ผมแนะนำนี้ จะต่างอย่างไรกับที่จุดกันอยู่แล้วตามวัด? เทคนิคพิเศษของผมก็คือ นอกจากจุดพลุ และดอกไม้ไฟตามปกติ เราสามารถจุดพลุ และดอกไม้ไฟเป็นรูปทรง "ดวงตราประกาศิต" และสัญลักษณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา อย่างเช่นพระธรรมจักร ใบโพธิ์ พระพุทธรูป ดอกบัว ดอกไม้ และอื่นๆ ดังนี้แล้ว อานิสงส์จะมาก

อย่างไรก็ตาม การจุดพลุ และดอกไม้ไฟ อาจไม่สามารถทำได้ตามอัธยาศัย ในบางพื้นที่ เพราะภาครัฐอาจมีกฎหมายกำหนดตีกรอบเวลา หรือกฎระเบียบในการจุดพลุและดอกไม้ไฟ ในกรณีเช่นนี้ เรายังสามารถบูชาพระรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อย่างพระเจดีย์ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุ และพระพุทธรูป ต่างๆ ด้วยการจัด "แสงสี" จาก "แสงเลเซอร์" ซึ่งในปัจจุบันนี้ มีพัฒนาการทางเทคโนโลยี ก้าวไกลมาก สามารถแสดงแสงสี ในยามค่ำคืน ได้หลายรูปแบบ อย่างสวยสดงดงาม รวมถึงการยิงแสงเป็นรูปภาพกลางอากาศ หรือแบคกราวด์ อย่างน้ำตก เป็นภาพดวงตราประกาศิต และสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา ให้มีลีลาไปต่างๆ นาๆ

การจัดแสงสี ด้วยอุปกรณ์เลเซอร์ และดอกไม้ไฟ และพลุ เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยผู้จัด หรือผู้สมทบทุนในการจัด มีจิตเลื่อมใสศรัทธา มุ่งจะบูชาพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในโอกาสสำคัญๆ อย่างวันขึ้นปีใหม่ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเพ็ญ วันคล้ายวันเกิดผู้ทรงคุณ หรืออื่นๆ จะมีอานิสงส์มาก สามารถ "ตรัสอังคีรส" หรือรัศมีขั้นสูง และประเภทอื่นๆ ได้อย่างมีนัยยะสำคัญครับ

ถ้าหากว่าท่านใด พลาดโอกาสในการเป็นเจ้าภาพ หรือสมทบทุนการจุดพลุและดอกไม้ไฟ บูชาพระรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือสร้างความบันเทิงใจให้กับสาธารณชน ในช่วงวันขึ้นปีใหม่ที่ผ่านมา ท่านจะเอ่ยอ้างถึงบุญจากการเสียภาษี แล้วภาครัฐนำเงินภาษีไปจัดพลุและดอกไม้ไฟ หรือแสงสีเลเซอร์ เฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ผ่านๆ มา และวาระโอกาสต่างๆ นับตั้งแต่ท่านเกิดมา กระทั่งถึงปัจจุบัน ก็ได้นะครับ แต่ถ้าจะให้กำลังแรงควรต้องอุทิศให้ตนเอง และอนุโมทนาสาธุการกับตนเองในการเสียภาษีส่วนนั้นที่ถูกใช้จ่ายไปภายใน 7 วันครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

2 มกราคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ตอน สายบุญเลี้ยงผังสำเร็จ

 

ผังสำเร็จคืออะไร?  “ผังสำเร็จ” คือโปรแกรมชีวิตที่เครื่องธาตุเครื่องธรรมตั้งกำหนดขึ้นด้วยระบบปฏิบัติการกฎแห่งกรรม (Operation System) เมื่อเราทำดีทำชั่ว โดยเครื่องจะคำนวณ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของผู้กระทำกรรม แล้วประมวลผลเป็นผังว่าจะเกิดอะไรขึ้นเป็นผลกรรมนั้น พร้อมเบิกพลังงานบุญ/บาป จากแหล่งกักเก็บ มาประจุใส่เพื่อจ่ายเลี้ยงผังเหล่านี้ให้เป็นจริง รวมถึงแบ่งส่วนหนึ่งมาเก็บไว้ในกายเป็นดวงบุญ ดวงบาป เหมือนแบตเตอรี่ที่ชาร์จเติมไฟฟ้าลงไปได้ (Rechargeable Battery) ในขณะที่บุญบาปนั้นก็ถูกใช้ไปเรื่อยๆ ในชีวิตประจำวันเหมือนกัน

ส่วน “สายบุญ” นั้นผมขออ้างถึง (1) สายสันวิวัฎฐายี (2) สายมหาสันวิวัฏฐายี (3) สายบรมสันวิวัฎฐายี (4) สายระฆา  (5) สายสุรฆา (6) สายอธิฆา (7) สายสันฎิฆา ตามลำดับความแรงเป็นอาทิ ซึ่งผมได้เคยอธิบายไว้ในบทความเรื่อง “ประกาศิตเพื่อการสร้างบารมี”

( https://www.meditation101.org/16647940/11-ประกาศิต-เพื่อการสร้างบารมี )

 สายบุญเหล่านี้เป็นระบบสายส่งบุญต่อเนื่อง ที่บุคคลได้เป็นรางวัลจากเทพเทวาในการ “เล่นประกาฯ” บุญที่ได้จากสายบุญเหล่านี้ไม่มีผังประกอบและบุญที่ได้รับก็มีธาตุไม่มากเหมือนบุญที่ทำเอง (ความเข้มข้นไม่มากพอจะตกผลึกเป็นบารมี) จึงมักมีอานิสงส์เหมาะสำหรับกายทิพย์ ที่จะใช้เสวยสุขในเทวโลก

อย่างไรก็ตาม เราสามารถต่อสายบุญสันวิวัฏฐายี, ระฆา และสันฏิฆา หรืออื่นๆ เชื่อมเข้าสู่ “ผังสำเร็จ” ที่เครื่องธาตุเครื่องธรรมตั้งให้ เพื่อให้บุญเลี้ยงผังเสริมเพิ่มเติมและผังมีกำลังสัมฤทธิ์ผลได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ส่วนผังสำเร็จที่ผู้ทรงวิชชาตั้งขึ้นเอง หรือมีผู้ตั้งให้ นอกเหนือไปจากกลไกของเครื่องธาตุเครื่องธรรม ผู้ทรงวิชชาจะสามารถ “ตั้งยนต์กลกาย” เพื่อดูแลผังเหล่านั้น อย่างเช่นการประชุมผังโดยให้พระจักรพรรดิ หรือกายสิทธิ์คอยเฝ้าเลี้ยงผังไว้ คอยบังคับผังให้เป็นจริง และเมื่อจะต่อสายบุญเลี้ยงผัง ก็ต่อเข้ากับพระจักรพรรดิ หรือกายสิทธิ์ หรืออื่นๆ เหล่านั้นได้ หรืออาจจะมียนต์กลไก ประการใดประการหนึ่ง ในการ “ประดาเลี้ยงผัง” เหล่านั้นเอาไว้ เช่น “ดวงประดาธาตุ” ต่อเข้ากับผังโดยตรง เพื่อเป็นการเสริมบุญเลี้ยงผังสำเร็จอย่างหนุนเนื่องต่อเนื่อง เป็นเหตุให้ผังทำงานคล่องขึ้นกว่าเดิมครับ ส่วนสาย "อธิฆา" นั้นเป็นสายทิพย์อีกแบบหนึ่งที่เป็นกำลังในอรูปภพ แต่สามารถหล่อเลี้ยงผู้เลี้ยงผู้รักษาได้ จะต่อให้กับผู้เลี้ยงผู้รักษา หรือสมบัติผู้เลี้ยงบางอย่างได้ครับ ดังฉะนี้ สุขสันต์วันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2566 นะครับ!

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน “มูลค่าธาตุ” แห่งวัตถุทาน

ใกล้วันขึ้นปีใหม่แล้วนะครับ ชาวพุทธเราคงจะเตรียมตัวสวดมนต์ข้ามคืน ตักบาตร ถวายสังฆทาน ทำบุญรับปีใหม่กันอย่างคึกคัก บางวัดมีการหล่อพระ และจัดกิจกรรมสร้างสรรค์พระพุทธศาสนาในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเว็บไซท์ www.Meditation101.org ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจรรโลงพระพุทธศาสนา และสายปฏิบัติวิชชาในฝ่ายสัมมาทิฐิ ให้สำเร็จถึงเป้าหมายในการเดินวิชชา คือยุคโลกอุทัยอันยั่งยืนตลอดไปโดยเร็วพลันครับ

สำหรับบทความนี้ ผมขอเอ่ยอ้างถึง การทำบุญด้วยเหรียญกษาปณ์โลหะทองคำและโลหะเงิน ซึ่งผมรจนาไว้ว่า แต่ละเหรียญมี “มูลค่าในวิชชา” ซึ่งในบทความนี้ผมขอใช้ศัพท์เทคนิคเรียกว่า “มูลค่าธาตุ” ครับ ซึ่งเป็นมูลค่าที่ภพผู้เป็นเจ้าของวิชชาท่านกำหนดขึ้น โดยมีวัตถุสิ่งมีค่าบางอย่างในโลกของเราที่มีมูลค่าธาตุในลักษณะนี้ แล้วเมื่อเรานำไปทำบุญ เครื่องธาตุเครื่องธรรมก็จะคำนวณจ่ายบุญ บนพื้นฐานของมูลค่าธาตุนั้น โดยมีค่าตัวแปรอื่นๆ ประกอบกันเป็นฟังก์ชั่น f(x) ครับ นั่นหมายความว่า ยิ่งมูลค่าธาตุ (x) สูงมาก เวลาเครื่องนำข้อมูลป้อนเข้า (input) ไปคำนวณเป็นผลกรรมดี และปริมาณบุญ ก็จะคำนวณออกมาได้มากเป็นเงาตามตัวครับ

โดยหลักการนี้แล้ว ผู้ทรงวิชชาหลายท่านอาจได้ “เห็นวิชชา” ของเหรียญกษาปณ์แล้ว ซึ่งเป็นวิชชาที่ฝ่าย “ภพพระคลังเจ้าของวิชชา” ส่งมาว่าทำงานอย่างไร ในบทความนี้เราขอแนะนำต่อไปว่า ผู้ทรงวิชชาสามารถประยุกต์ใช้วิชชา โดย “ตั้งมูลค่าธาตุ” ของ “วัตถุทาน” ที่ใช้ทำบุญตามวัด และสำนักวิชชา ยกตัวอย่างเช่น พระพุทธรูป, ผ้าไตรจีวร, ชุดสังฆทาน, แท่งทองเหลืองหล่อพระ, ดอกไม้ธูปเทียน, ตำราพระบาลีและธรรมศึกษา, ตาลปัตร, บาตร, ยารักษาโรค, อาหารแห้ง และอื่นๆ ซึ่งหลายๆ วัด และหลายๆ สำนักวิชชา ได้จัดเตรียมไว้ให้ญาติโยมทำบุญแบบ “หมุนเวียน” โดยทำ “ผาติกรรม” เอาไว้

การใช้วิชชา “กำหนดตั้งมูลค่าธาตุ” ให้กับวัตถุทานเหล่านี้ ด้วยการ “เล่นสิทธิ์” ซึ่งอาจคำนวณกำหนดได้ด้วย “วิชชาของพระคลังผู้เลี้ยงผู้รักษา” ประจำวัด หรือสำนักวิชชา ว่าวัตถุทานแต่ละชุด แต่ละชิ้น ที่ทางวัด หรือสำนักวิชชา ตั้งราคาเป็นเงินบริจาคเอาไว้นั้น มีมูลค่าธาตุเท่าใด ยกตัวอย่างเช่น ทองเหลืองสำหรับหล่อพระ ก้อนเล็กราคา 300 บาท (มูลค่าธาตุ 7 หน่วย) ก้อนกลาง 500 บาท (มูลค่าธาตุ 12 หน่วย) ก้อนใหญ่ 1000 บาท (มูลค่าธาตุ 21 หน่วย) แล้วเจ้าภาพบริจาค ก้อนขนาดใหญ่ เวลาเหนี่ยวรับคำนวณบุญตอนเจ้าภาพเขียนชื่อแล้วนำมาหย่อนในภาชนะ สำหรับเตรียมไปหย่อนเบ้าหลอม ก็กำหนดมูลค่าธาตุ 21 คูณด้วย (กาย + วาจา + ใจ) ใน (ปัญญา + ศรัทธา + วิริยะ + สติ + สมาธิ) ก็จะพอทราบว่า จะได้บุญเท่าไร ซึ่งผู้ทรงวิชชาสามารถคำนวณให้เจ้าภาพทราบได้คร่าวๆ ก่อนเครื่องธาตุเครื่องธรรมจะประมวลผล

พิเศษที่นอกเหนือไปจากการตั้งมูลค่าธาตุตามปกติ คือการ “เล่นประกาศิต” ร่วมด้วย ในทำนองเดียวกันกับเหรียญกษาปณ์ เช่น วัดสุวรรณจักรา รับสังฆทาน ก็จัดชุดสังฆทานแบบหมุนเวียน แบ่งเป็น ชุดเล็ก 100 บาท, ชุดกลาง 500 บาท, ชุดใหญ่ 1000 บาท ชุดสังฆทานอาจจะติดดวงตราประกาศิตของ “สมาคมศิษย์วัดสุวรรณจักรา” เป็นดวงประกาศิตส่งเอาไว้ แล้วเมื่อตัวแทนพระสงฆ์มารับสังฆทาน ก็ตั้งตาลปัตรที่มีดวงตราประกาศิตของ “วัดสุวรรณจักรา” เป็นดวงประกาศิตรับ ทั้งนี้อาจมีให้เจ้าภาพเลือกสรร ว่าจะทำแบบมีประกาศิต หรือไม่มีก็ได้ เพราะบางท่านอาจเล่นเองในวิชชา ไม่ใช้ของหยาบครับ ดังนี้แล้วอานิสงส์ก็จะเพิ่มมากขึ้นไปอีก ดังฉะนี้ครับ.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน แผนผังจักรวาลของพุทธ เรื่องจริง หรืออิงนิยาย?

หากเราดูตามแผนผังจักรวาลที่พระพุทธเจ้าทรงสอน สิ่งต่างๆ ทั้งภูเขาสิเนรุ สวรรค์ 6 ชั้น เปตโลก ยมโลก นรกภูมิ พระอาทิตย์ พระจันทร์ และทวีปที่อยู่ทิศทั้ง 4 ของภูเขาสิเนรุ มักทำให้สงสัยกันว่า ตามแผนผังนี้ มีเพียงพระอาทิตย์กับพระจันทร์ ที่โคจรไปรอบๆ ภูเขาสิเนรุ แล้วทำไมองค์ความรู้ทางดาราศาสตร์จึงค้นพบว่า โลก และดวงดาวนั้น โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะจักรวาล แล้วภูเขาสิเนรุอันเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ลอยอยู่ตรงไหนของอวกาศ?

กรณีนี้สามารถอธิบายได้ว่า สิ่งต่างๆ ทั้งหมดในผังจักรวาลดังกล่าวล้วนเป็นส่วนละเอียด หรือ ภพทิพย์ เฉกเช่นเดียวกันกับพระอาทิตย์ของทิพย์ ที่เป็นลูกแก้วอันสวยงามสว่างไสว แต่ของหยาบเป็นดวงดาวที่เผาไหม้ตนเอง ส่วนในแง่ของโลก ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่า “ชมพูทวีป” ก็เป็น “มิติละเอียด” ซึ่งเนื่องกันอยู่กับของหยาบ คือดาวโลกที่เราอาศัยอยู่ ซึ่งมีผู้ทรงวิชชาเปรียบไว้ว่าเป็นประดุจ “ประตูภพ” จะว่าไปก็คล้ายๆ “เมืองลับแล” อันเป็นมิติที่เร้นอยู่กับของหยาบนั่นเอง

เราสามารถอุปมาดาวโลกที่โคจรไปเรื่อยๆ ได้กับ “นิพพานเป็น” คือภพภายในกายมนุษย์ ตามหลักสายวิชชาธรรมกาย ที่เคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้พร้อมกับกายมนุษย์ขณะที่กายมนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ ในขณะที่ “เมืองนิพพาน” คือภพอันเป็นสถานที่ซึ่งสถิตคงอยู่กับที่ เปรียบได้กับชมพูทวีป ที่ลอยนิ่งอยู่ทิศด้านหนึ่งของภูเขาสิเนรุ แต่ผู้ที่เข้านิพพานเป็นได้ ก็มักจะสามารถไปถึงเมืองนิพพานนั้นได้ กล่าวโดยย่อก็คือ ทวีปที่ลอยอยู่ทิศทั้ง 4 ของภูเขาสิเนรุ เป็นมิติละเอียด ส่วนดาวโลกที่เราอาศัยอยู่นั้นเป็นส่วนหยาบของมิตินั้นนั่นเอง

เรื่องต้นไม้ในชมพูทวีปเป็นสีเขียว เพราะฟากฝั่งของภูเขาสิเนรุนั้นเป็นสีเขียวมรกต ก็เป็นสีของต้นไม้ภายในมิติชมพูทวีปนั้นครับ ซึ่งเป็นส่วนละเอียด มีผลถ่ายทอดมาถึงหยาบ คือดาวโลก (ผมขอเรียกแยกแยะระหว่าง ชมพูทวีปอันเป็น “มิติละเอียด” กับดาวโลก อันเป็น “เรือนหยาบ” นะครับ) คือทำให้ต้นไม้ส่วนใหญ่ในดาวโลกมีสารคลอโรฟิลด์เป็นตัวสร้างสีให้กับต้นไม้ใบหญ้า เพราะละเอียดถ่ายทอดลงมาเป็นหยาบดังนั้น เหมือนเทวดาที่ลงมาร่วมงานบุญพิธีในเมืองมนุษย์ เช่นพิธีหล่อพระ ฉลองพระเจดีย์ มองด้วยตาทิพย์เห็นเทวดามีรัศมีฟรุ้งฟริ้งเต็มไปหมด แต่มองด้วยตาเปล่า เห็นเป็นเพียงละอองแสงนวลๆ กลบไปทั่ว แล้วพอถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิทัลความละเอียดสูง ก็ถ่ายติดแค่เป็นดวงแสงนวลๆ กลมๆ ลอยอยู่เต็มไปหมด ไม่มีสีสัน หรือเหมือนแก้วมณีจักรพรรดิ หรือสมบัติพญานาค ซึ่งตอนอยู่ภายในภพทิพย์แลดูสวยงามล้ำค่า สีสันสดสวย สดใส มีรัศมีเปล่งประกาย แต่พอมนุษย์ผู้ทรงวิชชาได้มาอยู่ในเมืองมนุษย์ด้วยวิธีการต่างๆ แล้ว แก้วมณีและสมบัติพญานาคเหล่านั้น ก็แลดูคล้ายแก้วในโลกมนุษย์ ไม่มีรัศมีปรากฏ ยกเว้นบางชิ้นที่มีฤทธิ์มากพอ เพราะของละเอียดที่แปลงเป็นหยาบแล้วนั้น จะดูหยาบลง ดังนั้น จึงไม่ได้หมายความว่า สีเขียวสะท้อนดาวโลกนะครับ มิฉะนั้น ก็จะเห็นตึกรามบ้านช่อง ถนนหนทาง ภูเขา ท้องฟ้า เขียวไปหมด แล้วอายตนะของกายมนุษย์หยาบและสัตว์ทั่วไป ก็เห็นและรับรู้ได้ภายในขอบเขตของตน ตามภูมิจิต ภูมิธรรมของตน เท่านั้นครับ.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ตอน ทำไมพระพุทธเจ้าทรงสอนว่าดวงอาทิตย์โคจรรอบเขาสิเนรุ?

 

ท่านที่ศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็คงทราบเรื่องความแตกต่างของเวลา ในสวรรค์ และนรก ชั้นและขุมต่างๆ เมื่อคิดคำนวณเป็นเวลาในโลกมนุษย์ เช่นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 1 วัน เท่ากับ 100 ปี ในโลกมนุษย์ ซึ่งจักรวาลมีภูเขาสิเนรุอยู่ตรงกลาง แล้วมีดวงอาทิตย์ กับดวงจันทร์ โคจรโดยรอบ เกิดมีกลางวันกลางคืน สำหรับสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เรื่อยลงมา ทีนี้ เราท่านก็สงสัยกันว่า มันเป็นไปได้อย่างไร? แล้วทำไม การค้นพบวิทยาศาสตร์จึงสอนว่า พระอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ โดยดาวโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์

คำตอบก็คือ ส่วนละเอียดอันเป็นทิพย์ของ พระอาทิตย์ พระจันทร์ และโลก หรือทวีปทั้ง 4 นั้น เป็นอีกมิติหนึ่ง (ดวงอาทิตย์ของละเอียด คือลูกแก้ว เรียกว่า แก้วสุริยกานต์ ส่วนพระจันทร์ คือลูกแก้ว เรียกว่า แก้วจันทรกานต์ ซึ่งประดิษฐานอยู่บนเทวรถ แล้วเทวดาขับทะยานพาโคจรเวียนกันไป) ในขณะที่พระอาทิตย์ ที่เป็นดวงดาวขนาดใหญ่ ซึ่งเผาไหม้ตนเอง แล้วเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ ที่นักดาราศาสตร์ค้นพบนั้นเป็น ของหยาบ ซึ่งของหยาบนี้อยู่กับที่ แต่ “ของทิพย์” ท่านโคจรรอบเขาสิเนรุ อุปมาเหมือน กายมนุษย์ กับกายทิพย์ ซึ่งกายมนุษย์นั่งสมาธิอยู่กับที่ แล้วมีกายทิพย์อยู่อีกมิติหนึ่ง ผู้ปฏิบัติเข้าถึง ก็สามารถถอดกายทิพย์ออกไปไหนต่อไหนได้ ไปสวรรค์ชั้นนั้น ชั้นนี้ เดินทางไปโน่น ไปนี่ ประสบพบเจอสิ่งต่างๆ ในโลกทิพย์ ในขณะที่กายมนุษย์นั่งอยู่เฉยๆ ไม่เคลื่อนไหว แล้วพอกลับเข้าร่าง ก็รู้สึกว่า เอ๊ะ เหมือนถอดกายทิพย์ไปเที่ยวไม่นานแค่ไม่กี่สิบนาที แล้วทำไมเวลาในโลกมนุษย์ผ่านไปหลายๆ ชั่วโมงแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้น พระอาทิตย์ที่เป็นดวงดาวซึ่งกำลังเผาไหม้ตนเอง เป็นประดุจกายมนุษย์หยาบ ในขณะที่กายทิพย์ คือแก้วสุริยกานต์ ที่เทวรถพาโคจรไปเรื่อยๆ โดยสุริยเทวรถ กับจันทรเทวรถ ท่านจะโคจรตรงข้ามฟากฝั่งกัน ฟากฝั่งใด ที่โดนแสงอาทิตย์ เทวดาก็อยู่ในความสว่างสดใส เหมือนเวลาสายๆ ของโลกมนุษย์ ส่วนฟากฝั่งที่โดนแสงจันทร์ ก็จะอยู่ในความสว่างมอๆ ลงมาหน่อย เหมือนเวลาบ่ายๆ ของโลกมนุษย์ โดยนัยนี้ จะไม่มีเวลามืด มีแต่ความสว่างมากหรือน้อย ช่วงที่สว่างมอๆ นี่เองที่ชาวสวรรค์ถือกันว่าเป็นเวลากลางคืนครับ

แล้วก็มีท่านสงสัยอีกว่า ถ้าอย่างนั้นแล้วทำไมเวลาจึงไม่เท่ากันล่ะ คำตอบก็คือ ก็เหมือน เวลา ของ กายธรรม, กายอรูปพรหม, กายรูปพรหม, กายทิพย์, กายมนุษย์ละเอียด และกายมนุษย์หยาบ ซึ่งต่างก็มีเวลาที่ไม่เท่ากันเลย ยิ่งเข้าถึงกายที่ละเอียดมาก จะรู้สึกว่า เวลาครู่เดียวที่เป็นกายนั้นๆ หรือเข้าถึงกายนั้นๆ จะเป็นเวลาในโลกมนุษย์หยาบที่ยาวนานกว่ามากๆ ทั้งนี้เพราะกายแต่ละกาย เป็นกายที่มีภพรองรับ แล้วภพต่างๆ ก็มีเวลาเป็นของตนเอง เหมือนดวงดาวในระบบสุริยจักรวาล ที่มีขนาดใหญ่ เล็ก ไม่เท่ากัน มีอัตราความเร็ว ในการหมุนรอบตนเองไม่เท่ากัน มีแกนเอียงไม่เท่ากัน และมีอัตราความเร็วในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน มีพระจันทร์เป็นของตนเอง มากน้อยดวงต่างกันไป และมีแรงดึงดูด เหนี่ยวนำต่อกันและกันในระบบสุริยะไม่เท่ากัน อันกอปร เป็นระบบ “รอบ” วัน เดือน ปี ต่างกันไป ดังนี้แล้ว ภพภูมิแต่ละชั้น อย่าง เมืองนิพพาน, อรูปภพ, รูปภพ, สวรรค์ชั้นต่างๆ, โลกมนุษย์, ยมโลก เรื่อยไปถึงนรกภูมิ จึงมีเวลา เร็ว-ช้า และรอบวันทิพย์ เดือนทิพย์ ปีทิพย์ เป็นของตนเอง

ถ้าหากท่านใด ได้ศึกษาทฤษฎีเวลาของข้าพเจ้า, พิรจักร ทิศุธิวงศ์, ที่ค้นพบว่า ความเร็วของเวลา ขึ้นอยู่กับอัตราความเร็วของอิเลคตรอน ที่โคจรรอบนิวเคลียส ก็จะเห็นได้ว่า กายแต่ละกาย มีอิเลคตรอนที่หมุนเร็วช้าไม่เท่ากันด้วย กายที่ละเอียดกว่า อย่างกายธรรม จะไม่เห็นเป็นนิวเคลียส แต่เป็น ปรมาณูธาตุ คือดวงกลมใสๆ ที่เล็กมากๆ เหมือนเม็ดสี หรือพิกเซลของภาพดิจิทัล ที่มีความละเอียดนับร้อยล้านพันล้าน ลักษณะเหมือนไข่ปลาที่อัดกันแน่นขนัด ประชุมขึ้นเป็น “ธรรมธาตุ” และสาเหตุที่ทำให้ มิติของเวลา เหลื่อมล้ำ ก็มักเกิดจาก การเดินทางข้ามเวลา เช่น เทวดาสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมาเกิดพร้อมๆ กัน ขณะเดียวกัน ข้ามเวลา ผ่านชั้นจาตุมหาราชิกา กระทั่งถึงโลกมนุษย์ บางท่านเกิดก่อน มีอายุ 62 ปี ในขณะที่เทวดาอื่น เพิ่งจะมาถึง มีอายุ 1 ปี อุปมาเหมือนการนั่งเครื่องบินข้าม เขตเวลา ของโลกหรือ Time Zone ด้วยเครื่องบินที่มีความเร็วไม่เท่ากัน ในขณะที่โลกกำลังหมุนรอบตนเอง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เป็นเสมือนการ ย้อนเวลาหรือ เร่งเวลา ได้มากน้อยไม่เท่ากัน ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ตอน กรวดด้วยน้ำ หรือกรวดด้วยใจ?

การกรวดน้ำ เป็นประเพณีของชาวไทยพุทธ ที่วิวัฒนาการมาจากธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาพราหมณ์ ในการนำน้ำมาประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งชาวไทยที่รับอิทธิพลทางพระพุทธศาสนา และพิธีกรรมแบบพราหมณ์ ผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ก็นำมาปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะเมื่อตักบาตร ทำบุญ ถวายสังฆทาน สวดมนต์ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และบุญกริยาต่างๆ แล้ว ต้องหาภาชนะใส่น้ำมารินลงถ้วยก่อนจะนำไปเทใต้ต้นไม้ หรือบ้างก็ "หยาด" ลงโคนต้นไม้โดยตรง พร้อมกับกล่าวคำอุทิศส่วนกุศล โดยมีธรรมเนียมพิเศษที่ทำกัน คือการกล่าวคำปิดท้ายว่า "ขอฝากพระแม่ธรณีด้วย"

สำหรับผู้ที่ชำนาญวิชชา หรือเจริญกัมมัฏฐาน บางท่านมีอำนาจจิตมาก สามารถอุทิศบุญ ส่งบุญ โอนบุญให้ผู้ล่วงลับได้มากโดยตรง จึงไม่ค่อยใส่ใจกับการกรวดน้ำลงดิน แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า การกรวดน้ำลงพื้นธรณี มีอานิสงส์พิเศษ นั่นคือ ส่วนละเอียดของน้ำ จะซึมลงพื้นดิน แล้วกลายเป็นส่วนหนึ่งของ "น้ำละเอียด" ที่หล่อเลี้ยงแผ่นดินอยู่ (ถ้าว่าทางโลกก็คล้ายๆ น้ำบาดาลที่อยู่ใต้พื้นแผ่นดิน เมื่อถูกสูบออกหมด แผ่นดินก็ทรุด) แต่ในกรณีนี้เป็นน้ำทิพย์ ซึ่งมีอานุภาพ "รักษาแผ่นดิน" ให้ชุ่มฉ่ำในละเอียด ตั้งอยู่โดยดี ภัยธรรมชาติทางปฐพีก็จะมีน้อยลง แต่ไม่เสมอไป เพราะขึ้นอยู่กับกำลังบุญบาป ของคนที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินด้วย ถ้ามีคนบาปมาก ภาษาชาวบ้านท่านเรียกว่า "แม่ธรณีแบกจนหลังแอ่น" ถ้าบาปหนัก ถึงขั้นแบกไม่อยู่ ต้องโดนธรณีสูบลงไปเหมือนพระเทวทัต อย่างไรอย่างนั้น  

บางท่านที่ฟังพระเทศน์เรื่องพระแม่ธรณีบีบมวยผม เป็นน้ำทะลักออกมาท่วมเหล่ามาร ในคืนวันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ อาจจะนึกไปว่าเหมือนเป็นนิทาน จะเก็บน้ำไว้ในมวยผมได้อย่างไร แต่แท้จริงแล้ว พระธรณีท่านมีวิธีเก็บน้ำละเอียด เหมือนกายมนุษย์ของคนเรา ที่มี ดวงธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ โดย “ดวงธาตุน้ำ” เป็นจุดเล็กนิดเดียว แต่เก็บ “น้ำละเอียด” ไว้ตั้งมาก เหมือนดวงบุญ ที่บรรจุบุญเท่าไรก็ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ดวงธาตุน้ำเป็นเสมือน “ภพมิติของน้ำ” ที่เก็บน้ำละเอียด และควบคุมระบบน้ำหยาบในร่างกายมนุษย์ ดังนี้แล้ว การกรวดน้ำ ด้วยน้ำ จึงเป็นพิธีกรรม ที่มีส่วนช่วยเกื้อกูลในทางกุศล ทำให้แผ่นดินชุ่มฉ่ำ มีน้ำทิพย์หล่อเลี้ยง ทำให้หมู่สัตว์ที่อาศัยอยู่บนแผ่นดิน และใต้แผ่นดินนั้นเป็นสุขมากขึ้น มีภัยพิบัติทางแผ่นดินน้อยลง และยิ่งถ้าหากหยาดน้ำลงโคนต้นไม้ ภายในวัด หรือใต้ต้นโพธิ์ ก็จะเป็นอานิสงส์พิเศษ ในการสร้างความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะต้นไม้เติบโตแล้วก็ให้ร่มเงา ผลิตออกซิเจนให้ทุกคนได้ใช้ และพลอยทำให้รุกขเทวาเป็นสุข

ส่วนพระธรณีนั้น มีอยู่จริง จัดเป็นผู้เลี้ยงผู้รักษาแผ่นดิน ถ้าพระธรณีประจำประเทศใด มีกำลังมาก อย่าง "พระภิธานินทร์” ประเทศนั้น ทวีปนั้น จะมีแผ่นดินสงบร่มเย็น ถ้าเป็น “พระธานินทร์” หรือ "พระภิธานี" หรือ "พระธานี" หรือ "พระธรณี" ก็จะรองรับได้ดีมากน้อยตามลำดับ ก็คล้ายๆ กับผู้เลี้ยงผู้รักษาประจำประเทศ ว่าเป็นบรมจักร, มหาจักร หรือจุลจักร แต่ถ้าเราทำบุญหยาดน้ำ แล้วฝากพระธรณี ท่านก็จะยินดีรับฝาก ซึ่งหมายความว่า ท่านจะเก็บหลักฐานในการทำบุญในรูปของ "น้ำทิพย์" (ไม่ได้เก็บรักษาบุญของเรานะครับ) ก็เหมือนทำบุญสร้างพระอุโบสถแล้วมีวิมานของเราเกิดขึ้นในสวรรค์ แต่เรากรวดน้ำลงดินแล้วมีน้ำทิพย์เกิดขึ้น ซึ่งเป็นส่วนละเอียดของน้ำที่หยาด ส่วนคำอุทิศกุศลของเรานั้น หากว่าผู้ที่เราต้องการอุทิศให้ อยู่ในเขตพื้นที่ของท่าน ท่านก็จะนำข่าวไปบอก (อมนุษย์ บางประเภท ถูกจองจำอยู่ใต้พิภพ, ภูเขา หรืออย่างเปรต ในเปตโลก) โดยตามธรรมเนียมวิชชา จะต้องจ่ายค่าอำนวยการให้พระธรณีด้วยเป็นค่ากำเน็จ ซึ่งผู้ทรงวิชชาส่วนใหญ่มักต้องจ่าย แต่ส่วนใหญ่ผู้ทรงวิชชามักจะส่งบุญเองครับ

บางท่านอาจสงสัยว่า แผ่นดินชาวพุทธก็กรวดน้ำลงผืนดินแทบทุกวัน ทำไมยังมีภัยพิบัติ สาเหตุคือ ชาวพุทธบ้างทำบาปแล้ว ได้บาปมากกว่าชาวศาสนาอื่นครับ เช่นพระภิกษุทำบาปในพระพุทธศาสนา คอรัปชั่นโกงเงินวัด หรือญาติโยม โกง ลักขโมย สมบัติพระศาสนา รบกัน ปล้นฆ่ากัน ฆ่าพระ เผาทำลายวัดเหมือนในยุคโบราณ เลยกลายเป็นว่า มนุษย์ที่มีบาปหนักมากๆ ก็คือคนในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนานั่นเองครับ ดังฉะนี้แล.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน เคล็ดวิธีทำบุญแทนผู้อื่น

ปกติแล้วการทำบุญนั้น ผู้ทำบุญจะเป็นเจ้าของ “กรรมานิสงส์” และ/หรือ “ผลานิสงส์” เต็มที่ และเมื่อผู้ทำบุญประสงค์จะทำบุญให้ผู้อื่น ก็มักจะใช้วิธีการ “อุทิศบุญ” ซึ่งครูบาอาจารย์ท่านก็สอนว่า บ้างก็ถึง บ้างก็ไม่ถึง ขึ้นอยู่กับภพภูมิที่ท่านอยู่ ถ้าเป็นภพภูมิที่สูงไป ท่านก็ไม่ค่อยสนใจ เพราะท่านเสวยสุขกับบุญที่ท่านทำด้วยตนเองสมัยเป็นมนุษย์ มันน่าภูมิใจและอิ่มใจกว่า ส่วนบุญที่อุทิศมา โดยมากก็ 5 – 10% และเป็นบุญที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว มิใช่บุญที่จะติดตามส่งผลยาวนานเหมือนทำด้วยตนเอง สำหรับผู้ที่ไปเกิดในภพภูมิแห่งความทุกข์ทรมาน อย่างนรก และมหานรก ก็เจ็บปวดเกินกว่าจะมีใจจะมาอนุโมทนาบุญกับใครได้ ยิ่งบุญที่อุทิศมีเพียง 5 – 15% ของเนื้อบุญหลัก มันก็เป็นกำลังที่น้อยกว่าจะเปลี่ยนแปลงภพภูมิให้ได้

ผู้ที่รอคอยการอนุโมทนาบุญจึงมักเป็นผู้ที่อยู่ในภพภูมิใกล้ๆ กับเมืองมนุษย์ ระดับเทวดาชั้นต้นเรื่อยลงมาถึงอากาศเทวดา ภุมมเทวดา เจ้าที่เจ้าทาง สัมภเวสี ภูตผี เปรต และยมโลก แม้กระนั้น บุญที่อุทิศให้ ก็เป็นเสมือนความสุขที่อิ่มได้ไม่นาน ยกเว้นจะเป็นบุญถาวรวัตถุ อย่างพระพุทธรูป, พระสถูปเจดีย์, โบสถ์, วิหาร, ศาลา, วัดวาอาราม, โรงครัว, หอฉัน, ถนนหนทาง, ยานพาหนะ และอื่นๆ ที่ส่งผลยาวนาน และมีกำลังมากพอจะเปลี่ยนภพภูมิให้ได้ แต่เมื่อย้อนกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ หรือสัตว์ บุญจากการอุทิศนั้น ล้วน “ติดค้างสิทธิ์” ผู้ที่ทำบุญอุทิศให้ ไม่ว่าจะเป็นบุตรหลาน เพื่อนสนิทมิตรสหาย หรือหมู่ญาติ นั่นหมายความว่า ตอนเป็นผี ได้สมบัติทิพย์ ได้เปลี่ยนภพภูมิ จากบุญที่อุทิศให้ อย่างเช่นบุญสังฆทาน แต่จะอยู่ในสภาพนั้นไม่นาน เหมือนเทวดาที่เขาทำบุญด้วยตนเอง ยกเว้นจะเป็นบุญถาวรวัตถุ ส่วนทว่า เมื่อเกิดใหม่เป็นมนุษย์แล้ว บุญจากการอุทิศเหล่านั้น จะส่งให้ เมื่อจะได้ทรัพย์อันเป็นผลแห่งบุญ ก็ต้องอาศัยผู้อื่น ซึ่งโดยมากจะเป็นผู้ทำบุญอุทิศให้ พูดง่ายๆ ก็คือต้อง “อาศัยกินน้ำใต้ศอก” ผู้อื่นในการเสวยผลกุศลกรรมนั้นๆ ที่ผู้อื่นอุทิศเอาไว้ให้

ทีนี้ เรื่อง “สิทธิ์” ที่เราเรียนรู้กันมาหลายตอนแล้ว ว่ามีความสำคัญอย่างไรกับระบบการทำงานของกรรม และความเป็นไปของสรรสัตว์ และสรรพสิ่ง ซึ่ง “สิทธิ์” ที่หมายถึงนี้ ไม่ถึงกับเป็น “วิชชา” โดยตรง แต่เป็นเสมือน “ภาวะผูกพันในปฏิจจสมุปบาทธรรม ที่เกิดจากกรรมของเรา” ซึ่งมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตและการเดินวิชชา  เพราะเป็นคุณเป็นโทษต่อกันและกันได้

ย้อนกลับมาถึงเรื่องการทำบุญอุทิศให้ผู้อื่น ชาวพุทธโดยมากทราบกันดีว่า การอุทิศบุญเป็นผลดี ต่อผู้ละโลกไปแล้ว และบางท่านก็เคารพรักนับถือผู้ละโลกไปแล้วมาก อยากจะทำบุญให้ท่านมากๆ ให้ท่านมีความสุขมากๆ ในสัมปรายภพ แต่บทความนี้กลับบอกว่า ทำบุญแล้วอุทิศบุญ ผู้รับสามารถรับได้ไม่มาก เพียง 5 – 15% เมื่อเทียบกับบุญที่ผู้ทำให้ ได้ไปเป็นของตนเอง ผมจึงขอเผยเคล็ดลับวิธีการทำบุญให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และผู้วายชนม์ เพื่อให้ได้บุญมากเต็มเม็ดเต็มหน่วยครับ

จากบทความก่อนๆ เราทราบว่า ผู้เลี้ยงผู้รักษา จะเก็บข้อมูลแห่งเหตุที่ประกอบกรรมไว้ด้วยกาย วาจา ใจ แล้วส่งรายงานไปตามลำดับๆ ถึงยัง “เครื่องธาตุเครื่องธรรม” เพื่อคำนวณกรรม แล้วตั้งโปรแกรมเป็นผังชีวิต อันเป็นผลแห่งกรรม รวมถึงคำนวณเบิกจ่ายพลังงานบุญ แล้วส่งกลับมาเก็บไว้ในกายมนุษย์ และสัตว์ที่ทำความดี ผมได้เคยแนะนำแล้วว่า เวลาจะทำบุญ เรามีเทคนิคสำคัญตอนที่เครื่องธาตุเครื่องธรรมจะประมวลผล ซึ่งเราสามารถมีส่วนในการตั้งโปรแกรมได้ ด้วยการจ่าหน้าซองทำบุญเพื่อกำหนดค่าตามใจปรารถนา และเมื่อซองปัจจัยนั้น ถึงมือเจ้าหน้าที่เหรัญญิกผู้รับบริจาค หรือหย่อนลงในตู้รับบริจาค (เหรัญญิกบางท่านอาจจะไม่ชอบใจที่จะได้รับซองปัจจัยที่เรากำหนดตั้งค่ามากเกินไป หรือใส่ชื่อและข้อความยาวๆ ครับ การหย่อนลงตู้รับบริจาค บางทีก็เป็นวิธีที่ดีกว่า สะดวกกว่า) ยกตัวอย่างเช่น:

ระบุบนหน้าซองปัจจัยว่า: “ทำบุญทอดกฐินสามัคคี วัดสุพรรณจักรา โดยคุณ WWW นามสกุล YYY พร้อมบุตรธิดา และครอบครัว จำนวน 100 ล้านบาท”

ดังนี้แล้ว บุคคลที่มีชื่อและเป็นสมาชิกครอบครัวทั้งหมดที่ระบุไว้ แล้วอนุโมทนาด้วย หรือมีส่วนในการถวายทรัพย์ ก็จะได้บุญด้วยกันทุกคน เมื่อกรรมส่งผล จะมีกองรวมสมบัติในลักษณะคล้าย “กงสี” ที่แบ่งกันกิน แบ่งกันใช้

ระบุบนหน้าซองปัจจัยว่า: “ทำบุญทอดกฐินสามัคคี วัดสุพรรณจักรา โดยคุณ WWW นามสกุล YYY พร้อมบุตรธิดา และครอบครัว จำนวน 100 ล้านบาท อุทิศให้อากง JJJ และอาม่า PPP”

ดังนี้แล้ว บุคคลที่มีชื่อและเป็นสมาชิกครอบครัวทั้งหมดที่ระบุไว้ แล้วอนุโมทนาด้วย หรือมีส่วนในการถวายทรัพย์ ก็จะได้บุญด้วยกันทุกคน เมื่อกรรมส่งผล จะมีกองรวมสมบัติในลักษณะคล้าย “กงสี” ที่แบ่งกันกิน แบ่งกันใช้ ส่วนอากงกับอาม่า ได้บุญ 5 – 15% ถ้าอนุโมทนา เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ต้องอาศัยบุตรหลานที่เป็นผู้อุทิศ จึงจะได้ใช้สมบัติ แต่ไม่มีสิทธิ์เบิกใช้เอง

ระบุบนหน้าซองปัจจัยว่า: “ทำบุญทอดกฐินสามัคคี วัดสุพรรณจักรา จำนวน 100 ล้านบาท โดยคุณ WWW นามสกุล YYY”

ดังนี้แล้ว บุคคลได้เป็นเจ้าของสมบัติแต่เพียงผู้เดียว เมื่อสมบัติเกิดขึ้นเพราะบุญ ก็เป็นเจ้าของกิจการแต่เพียงผู้เดียว แต่ถ้าบุญทอดกฐินนั้น มีประธานรอง ประธานกอง รายย่อมลงมาอีก ก็จะเป็นธุรกิจใหญ่ ที่มีหน่วยงาน หรือองค์กรในเครือ ลักษณะคล้าย ZP Group

ระบุบนหน้าซองปัจจัยว่า: “ทำบุญทอดกฐินสามัคคี วัดสุพรรณจักรา จำนวน 100 ล้านบาท อุทิศให้อากง JJJ และอาม่า PPP”

ดังนี้แล้ว บุคคลผู้ร่วมสมทบเงินบริจาคและทำการถวายจะเป็นเจ้าของสมบัติ แต่กิจการจะเป็นชื่อของอากง และอาม่า หรือในนามอากง กับอาม่า แต่อากง อาม่า ไม่ได้ทำงานในกิจการนั้น แต่จะได้รับผลประโยชน์ผ่านมือมา ยกตัวอย่างเช่น กิจการที่ใช้ชื่อบุคคลเป็นชื่อกิจการ เพื่อเป็นเกียรติ แต่บุคคลนั้นไม่ได้บริหาร เช่น น้ำพริกแม่ประนวม

ส่วนการทำบุญโดยอุทิศให้บรรพบุรุษบุพการี หรือบุคคลอันเป็นที่รัก เพื่อให้ได้บุญมากที่สุด มีวิธีดังนี้ครับ

ระบุบนหน้าซองปัจจัยว่า: “ทำบุญทอดกฐินสามัคคี วัดสุพรรณจักรา จำนวน 100 ล้านบาท โดยมีอากง JJJ (บัตรประชาชนชาวไทยเลขที่ 111) และอาม่า PPP (บัตรประชาชนชาวไทยเลขที่ 222) เป็นเจ้าของเงินบริจาค ผู้ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ขาด และอำนาจเต็มในเงินบริจาค และผลานิสงส์อันดีงามทั้งหมดทั้งสิ้น ประดุจดังว่าเป็นเจ้าของทรัพย์เอง และได้ทำการบริจาคในครั้งนี้ด้วยตนเอง ดังนี้ แม้ครั้งที่ 1, 2 และ 3 (ปิดท้ายด้วย ลายประทับนิ้วมือหัวแม่โป้ง แล้วเซ็นลายเซ็นทับ ในฐานะผู้ดำเนินการ)

ทั้งนี้ ก่อนจะทำการถวายเงิน จะต้องอาศัยญาณวิถี แจ้งให้อากง กับอาม่า ทราบก่อน เพื่อให้ท่านอนุโมทนาทั้งก่อนถวาย และหลังถวาย เมื่อประเคนซองปัจจัย หรือหย่อนลงในตู้รับบริจาค ด้วยข้อความบนซองปัจจัยที่ระบุดังนี้แล้ว ผู้เลี้ยงผู้รักษา ก็จะเก็บข้อมูลเหตุแห่งกรรม รวมถึงข้อความที่ระบุไว้ เพื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องธาตุเครื่องธรรม แล้วเครื่องก็จะคำนวณจ่ายกรรมานิสงส์ และผลบุญ ให้อากง อาม่า ตามระบุไว้ ส่วนผู้ดำเนินการก็จะได้บุญด้วย แต่ไม่มากเหมือนทำโดยระบุชื่อตนเองเป็นผู้อุทิศครับ แล้วเวลากรรมส่งผล สมบัติที่เกิดขึ้นจากบุญก็จะเกิดขึ้นเป็นกรรมสิทธิ์ และในนามของอากง และอาม่า แบบมีสิทธิ์ขาด และอำนาจเต็ม ยิ่งถ้าหากเงินที่ใช้บริจาค เป็นเงินจากทรัพย์สมบัติ หรือมรดกที่ท่านมอบเอาไว้ให้ ก็จะยิ่งได้บุญแรงมากขึ้นครับ ส่วนสาเหตุที่ควรระบุเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน ก็เพื่อความแม่นยำในการจ่ายบุญ เพราะบางทีคนชื่อซ้ำกัน แล้วมีผลถึงการส่งผลของกรรมครับ นอกจากนี้ การประทับลายนิ้วมือหัวแม่โป้งโดยผู้ดำเนินการนั้น ถือเป็นธรรมเนียมการทำสัญญาในวิชชา ซึ่งผู้ทรงวิชชาจะประทับลายนิ้วมือหัวแม่โป้งของกายธรรม หรือกายพระจักรพรรดิ ลงบนเอกสารทิพย์ต่างๆ แต่ถ้าเราประทับด้วยกายมนุษย์ก็จะเพิ่มความสมบูรณ์ในธุรกรรม ยิ่งถ้าหากทางวัด หรือผู้รับบริจาคได้ออกใบอนุโมทนาบัตรให้กับอากงและอาม่า ก็จะมีความครบถ้วนสมบูรณ์แห่งกุศลกรรมานิสงส์ครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 21-22 ธันวาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน ก็อปประกาศิต

สินค้าก็อป ที่ใช้ดวงตราประกาศิตหรือ “โลโก้” ของผู้อื่น ไม่ว่าจะก็อปเกรดเอ เกรดบี จะมีผลทำให้ผู้ก็อป "ติดหนี้สิทธิ์" เพราะจงใจละเมิดกรรมสิทธิ์ในดวงตราประกาศิตของผู้อื่น ในยุคหนึ่งๆ ที่มีการขึ้นทะเบียนไว้ ทั้งในโลกทิพย์ และโลกมนุษย์  เป็นการอาศัยความน่าเชื่อถือ น่านิยมชมชอบ อันเป็นชื่อเสียงของผู้อื่นมาทำประโยชน์ให้กับตนเอง ผลกรรมคือ เวลาจะผลิตสินค้าหรือให้บริการอะไร ที่มีแบรนด์ หรือประกาศิตเป็นของตนบ้าง ดวงตราโลโก้นั้นก็จะไม่ศักดิ์สิทธิ์พอจะนำไปสู่ผลสำเร็จในงาน หรือพูดง่ายๆ คือ “ทำไม่ค่อยขึ้น” แต่ถ้ามีชื่อเสียงขึ้นมาได้ เพราะกรรมดีอื่นๆ เช่นบุญกุศลอื่นๆ ก็จะทำให้ถูกขโมยก็อปโลโก้ไปใช้กับเขาเหมือนกัน บุคคลที่ติดหนี้สิทธิ์ผู้อื่นมากๆ มักจะมีผลคือทำให้ “ตกเป็นรอง” ผู้ที่เป็น “เจ้าหนี้สิทธิ์” เวลาแข่งขัน ประชัน หรือแสดงตนต่อสาธารณชน ผู้ที่เป็นเจ้าหนี้สิทธิ์ก็มักจะได้รับความนิยมชมชอบ มีเกียรติ มีฐานะทางประชาคมเหนือกว่าลูกหนี้สิทธิ์อยู่เนืองๆ ก็คล้ายๆ เวลาคนติดหนี้แล้วไม่จ่าย เมื่อพบเจอหน้าเจ้าหนี้ ก็จะรู้สึกอ่อนด้อย ไม่กล้าสู้หน้า โดยความรู้สึกนี้อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุด้วยซ้ำ  อีกทั้งเมื่อละโลกไปแล้ว หากได้ไปเกิดในภพทิพย์ ผู้ที่ก็อปประกาศิต จะมีโทษคือ ถูกจำกัดยศชั้นวรรณะทิพย์ แม้จะทำบุญมาก แต่ก็ไม่ได้รับลำดับฐานะแห่งความสำคัญในสังคมเทพเทวา อันควรสมกับบุญกรรมแห่งตนที่ทำเอาไว้ครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

21 ธันวาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน วิธีอุทิศ-อนุโมทนาบุญจากการเสียภาษี

ท่านรู้หรือไม่ว่า การเสียภาษี เป็นบุญใหญ่ที่คนส่วนใหญ่ “คาดไม่ถึง” ทั้งนี้เพราะภาครัฐ ได้อาศัยเงินภาษี ในการสร้างสาธารณะประโยชน์ เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชน สังคม และประเทศชาติโดยรวม ยกตัวอย่างเช่น การสร้างถนนหนทาง และไฟส่องสว่างตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งประชาชน อีกทั้งพระภิกษุ สามเณร ต่างก็ได้อาศัยใช้ประโยชน์ เช่นทางเท้า ที่อาศัยเดินบิณฑบาตทุกเช้า หากแต่เพียงเรา “น้อมใจยินดี กล่าวอนุโมทนา” ก็จะเกิดเป็นผลานิสงส์ใหญ่ แต่เนื่องจากการใช้เงินภาษีบางอย่างก็เป็นบาป เช่นภาษีสุราและบุหรี่ เราจึงต้องมีความรอบคอบในการอนุโมทนา ซึ่งตัวอย่างต่อไปนี้จะเป็นต้นแบบให้ทุกท่านสามารถนำไปพัฒนาประยุกต์ใช้ได้ครับ:

ให้ประนมมือแล้วนำบัตรประชาชนที่ยังไม่หมดอายุมาถือไว้ (บัตรประชาชนมีผู้เลี้ยงผู้รักษาของประเทศดูแลอยู่) จากนั้นจึงอธิษฐานดังๆ ด้วยวาจาว่า

เผดียง! ข้าพเจ้า ชื่อ/นามสกุล ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชนประเทศ xxx เลขที่ xxx ในปัจจุบันสมัย ขอเอ่ยอ้างถึงบุญจากการเสียภาษี อันเกิดจากการที่ข้าพเจ้าได้ทำงาน มีรายได้ หรือซื้อขายสินค้า และการบริการต่างๆ มีภาษีเงินได้, ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าธรรมเนียม และภาษีอื่นๆ เป็นอาทิ มีมากน้อยเพียงไร นับตั้งแต่ข้าพเจ้าเกิด กระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ซึ่ง “ทางการ” ได้นำเงินภาษีของข้าพเจ้าไปรวมเข้าในท้องพระคลังหลวง แล้วเบิกจ่ายใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั่วทั้งประเทศ อันมีหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ดำเนินการ และต่างประเทศ อันมีสถานทูตเป็นผู้ดำเนินการ ยกตัวอย่างเช่นการใช้เงินภาษี สร้างและทำนุบำรุงรักษาวัดวาอาราม ถนนหนทาง สะพาน โรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ราชการ สวนสาธารณะ ยานพาหนะ เครื่องบิน รถยนต์ รถไฟ เรือ อุทยานแห่งชาติ โรงประปา เขื่อน  โรงไฟฟ้า เสาไฟฟ้า ไฟส่องสว่างตามสถานที่สาธารณะ น้ำดื่ม น้ำใช้ บำรุงกองทัพเพื่อคุ้มครองประเทศชาติ ทำความสะอาด รักษาสิ่งแวดล้อม เก็บและกำจัดขยะ การจัดงาน จัดพิธีกรรม จัดประชุม ทางพระพุทธศาสนา และกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชน

โดยข้าพเจ้าขอเอ่ยอ้างเฉพาะในส่วนที่ “เป็นคุณประโยชน์ในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิเท่านั้น และไม่เป็นโทษ” ไม่ว่าจะมีมากน้อยเพียงไร เกิดเป็นผลานิสงส์มากน้อยเพียงใด ดังนี้แล้ว ข้าพเจ้า ชื่อ/นามสกุล ขอสำแดงดวงตราประกาศิต [พระครุฑพ่าห์] ซึ่งเป็นดวงตราราชการของประเทศ บนบัตรประชาชนนี้ เพื่ออุทิศบุญทั้งหมดทั้งสิ้นดังกล่าว ที่เกิดขึ้นแบบไม่มีวิบัติเจือปน ให้กับตัวของข้าพเจ้าเอง ผู้มีชื่อว่า ชื่อ/นามสกุล ซึ่งเป็นผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน ประเทศ xxx เลขที่ xxx ดังนี้ แม้ครั้งที่ 1, 2, 3

พร้อมกันนี้ ข้าพเจ้า ชื่อ/นามสกุล ซึ่งเป็นผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน ประเทศ xxx เลขที่ xxx ดังกล่าว ขอน้อมอนุโมทนาบุญที่ได้อุทิศบุญจากการเสียภาษีดังกล่าวกับตนเองด้วย ดังนี้ สาธุ อนุโมทามิ แม้ครั้งที่ 1! สาธุ อนุโมทามิ แม้ครั้งที่ 2! สาธุ อนุโมทามิ แม้ครั้งที่ 3! ผนวก!

หมายเหตุ: การอุทิศบุญให้กับตนเอง จะเป็นการ “เพิ่มบุญ” ในส่วนของการอุทิศให้ และเป็นการ “กำหนดสิทธิ์” เพราะถ้าหากเราอนุโมทนากับภาครัฐโดยตรง เราไม่อาจทราบได้ว่า ภาครัฐ อันประกอบไปด้วยข้าราชการนักการเมือง และข้าราชการประจำ จะนำภาษีไปใช้ในทางดีทางร้ายอย่างไร เราจึงควรเอ่ยอ้างถึงตนเอง และภาษีที่ตนเองจ่าย และอุทิศให้ตนเอง อนุโมทนากับตนเอง เพื่อให้ “สิทธิ์ผูกพัน” อยู่กับตนเองเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งการอนุโมทนา เราก็ควรวางเงื่อนไข ว่าขออนุโมทนากับการใช้เงินภาษีไปกับสิ่งที่เป็น “คุณประโยชน์” ไม่เป็น “โทษ” เพื่อไม่ให้กลายเป็นอานิสงส์ที่มี “วิบัติ” ติดพัน ท่านใดจะนำตัวอย่างนี้ไปพัฒนาประยุกต์ใช้ก็ย่อมได้ครับ.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน เล่นประกาฯ กับเหรียญกษาปณ์

 

เรื่องเหรียญกษาปณ์นั้น เท่าที่ผมรจนาผ่านๆ มา ก็พอจะเข้าข่ายมหากาพย์กันแล้วนะครับ ยิ่งมาต่อบทความนี้ ก็ยิ่งสนุกไปอีกมิติหนึ่งครับ ดังที่ผมอ้างถึงเหรียญเงิน และเหรียญทองคำ ไปมากมายหลายวรรค และเว้นวรรคไว้ว่าจะยังไม่ขอเอ่ยถึงเหรียญโลหะอื่นๆ ซึ่งมีมูลค่าหน้าเหรียญระดับหลักหน่วยหลักสิบ มาวันนี้ ผมจะขอเล่าเรื่องการเล่นประกาฯ กับเหรียญหลักหน่วย หลักสิบกันครับ

ด้วยความที่ผมพยายามหาเหรียญโลหะล้ำค่ามาทำบุญ เพื่อลองเล่นดูว่าจะได้อานิสงส์มากเพียงใด ผมเห็นว่าคนส่วนมากจะมีเหรียญนิกเกิล หรือเหรียญโลหะธรรมดาใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน กว่าจะหาเหรียญเงิน หรือเหรียญทองได้ ก็อาจจะเป็นเรื่องไกลเกินเอื้อมสำหรับบางท่าน โดยเฉพาะท่านที่เป็นนักบวช ไม่สะดวกจะซื้อ หรือจับโลหะเงิน โลหะทอง บางท่านก็แนะนำว่า ที่ผมเล่นได้ก็เป็นเพราะมีประกาฯชั้นสูง คนธรรมดาที่ไม่มีประกาศิตชั้นสูงก็เล่นได้อานิสงส์ไม่มากเหมือนอย่างผมครับ

มาวันนี้ผมเลยมาแถม tactic วิธีเล่นเหรียญกษาปณ์ธรรมดาครับ นั่นก็คือ การเล่น หรือทำบุญด้วยเหรียญที่มีดวงตราประกาศิต ซึ่งแต่ละเหรียญจะมีราคาในวิชชาไม่เท่ากัน คิดค่ากำเน็จต่างกัน และประกาฯ แต่ละดวง ก็มีขั้นสูงต่ำไม่เท่ากัน เวลาทำบุญ ก็ให้ทำกับตู้รับบริจาคที่มีดวงตราประกาศิตขั้นสูง ซึ่งโดยมากควรจะเป็นองค์กรใหญ่ๆ ที่มีเครือข่ายไปทั่วโลก หรือมีหลักแหล่งฐานมั่นคง มีชื่อเสียงอันดี เป็นองค์กรที่ทำประโยชน์มาก อย่าง UNICEF และ Red Cross และอื่นๆ ซึ่งตู้รับบริจาคจะมีดวงตราประกาศิตขององค์กรติดอยู่

วิธีเล่นก็ง่ายๆ ครับ เพียงแต่ต้องรู้จัก "ตรัสคาถา" ซึ่งนักเล่นประกาฯ ท่านทำกัน ซึ่งผู้เล่นก็ต้องหาเหรียญให้ได้ก่อน พอได้เหรียญที่มีดวงประกาฯ อันน่าพอใจแล้ว ก็หาตู้รับบริจาค ไม่ว่าจะอยู่ตามโรงพยาบาล หรือสนามบิน จากนั้นก็หยิบเหรียญมาสำแดงประกาศิต แล้วตรัสคาถา เอ่ยอ้างทั้ง "ประกาฯส่ง" คือดวงตราบนเหรียญ และ "ประกาฯรับ" คือดวงตราบนตู้รับบริจาค แล้วจึงค่อยหย่อนลงไป ดังนี้แล้วจะเกิดอานิสงส์มาก สำหรับผู้เล่น คือผู้ทำบุญครับ

นานาสาระ: ปกิณกะ ตอนเล่นประกาฯ กับ QR code

การบริจาคทำบุญสมัยใหม่ มีวิธีเล่นประกาศิตแบบทันสมัยคือ ติดสติ๊กเกอร์ดวงตราประกาศิตไว้ที่ด้านหลังโทรศัพท์มือถือครับ จากนั้นจึงบริจาคโดยยิง QR code ไปที่ Info Graphic ซึ่งมีดวงตราประกาศิตขององค์กรการกุศล และมี QR code รับบริจาคติดอยู่ โดยกล่าวคาถา ประกาฯรับ ประกาฯส่ง ดังนี้ครับ แต่ในกรณีนี้จะต้องมีประกาฯ เป็นของตนเองครับ หรือมิฉะนั้นก็เล่นประกาฯ ดวงตราของธนาคารบัญชีที่ใช้โอนครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

18 ธันวาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน “พุทธเขต” กับ “กายธรรมภูติ”

ดังที่ผมเคยรจนาไว้แล้วก่อนหน้านี้ว่า ในพระบรมสารีริกธาตุนั้นมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผมเรียกว่า "กายธรรมสิทธิ์" หรือจะแปลเป็นภาษาพระไตรปิฎกว่า "กายธรรมภูติ" ก็ย่อมได้ เป็นเสมือนกายปาฏิหาริย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะประชุมรวมกันขึ้นเป็นพระวรกายขององค์สมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกครั้ง เมื่อถึงคราวสิ้นพุทธกาล 5,000 ปี

นอกจากนี้ ในเขต “เขตพัทธสีมา” ซึ่งเป็น “เขตพุทธาวาส” ตามอำนาจเลี้ยงรักษา ที่นิยามและกำหนดไว้โดยกฎหมายของราชอาณาจักรไทย ก็จะมีกายภาคผู้เลี้ยงผู้รักษาเขตสีมาประจำอยู่ เมื่อฝ่าย(ราช)อาณาจักรได้อนุญาตหรืออนุมัติให้แล้ว ถ้าหากมีการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ในเขตพุทธาวาส ก็จะทำให้กายธรรมสิทธิ์ หรือกายธรรมภูติ "ทรงศักดิ์และทรงสิทธิ์โดยไผท" หรือกล่าวโดยง่ายอยู่ในเขตนั้น อุปมาได้กับ "เขตวิชชา" ของผู้ทรงวิชชาแต่ละสำนักนั่นเองครับ

ดังนี้แล้ว หากพระบรมสารีริกธาตุทรงมีวิชชา และได้รับการผูกสิทธิ์ให้เป็นหลักเป็นประธานของ “เขตพัทธสีมา” นั้น ก็จะกลายเป็นเขตที่มีความศักดิ์สิทธิ์ จะทำบุญ ทำสังฆกรรม ทำพิธีสวดมนต์ ปฏิบัติเจริญภาวนาอะไร ก็จะมีผลานิสงส์มากกว่าปกติ ดุจดังว่าได้ทำหรืออยู่ต่อเฉพาะพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จำเดิมทีพัทธสีมานั้น เป็นเขตสำหรับทำสังฆกรรมตามพระพุทธบัญญัติครับ แต่กฎหมายของประเทศกำหนดให้เป็น “เขตพุทธาวาส” ด้วยจึง “สิทธิ์” ให้เป็นของพระพุทธเจ้า ถ้าจะว่าไปก็คล้าย “สถานทูต” ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยแล้วมีอธิปไตยขึ้นมานั่นเองครับ

พัทธสีมานั้นเป็นเขตสำหรับทำสังฆกรรมตามพุทธประสงค์ดั้งเดิม มิได้มีไว้เพื่อให้พระพุทธเจ้าทรงประทับเป็นหลักเป็นประธาน แต่กฎหมายของราชอาณาจักรไทยกำหนดให้เป็นเขตพุทธาวาส การเลี้ยงรักษาจึงเป็นไปตามที่ผู้เลี้ยงผู้รักษาของประเทศให้ไว้ ส่วนวิธีผูกสิทธิ์ให้พระบรมสารีริกธาตุทรงเป็นประธาน ณ เขตพัทธสีมา ควรมีลักษณะคล้ายการเผดียงสงฆ์และไวยาวัจกร สวดกราบอาราธนาองค์สมเด็จพระพุทธโคดม โดยรวมแล้วจะเรียกว่าเป็นพุทธบริษัท 4 ผู้มีอำนาจหน้าที่ประจำแต่ละวัดและสำนัก แต่ในวิชชาก็ทำอย่างคนมีวิชชาครับ สาเหตุที่ต้องทำดังนี้เพราะบางสำนักมีผู้ทรงคุณท่านเหล่าอื่นสถิตอยู่ประจำพัทธสีมา ซึ่งตามพุทธบัญญัติแล้วก็ต้องมีการ “สวดถอน” ของเดิม สิ่งเดิมก่อนที่จะสวดผูกพัทธสีมา

การที่วัดหรือสำนักมีพื้นที่มาก เราสามารถอาศัยอำนาจการปกครองของพระสังฆาธิการ ในการกำหนดเขตวัด หรือสำนักทั้งสำนักให้เป็น “มหาสีมา” แต่พุทธบัญญัติก็มีกำหนดไว้อีกว่า สีมาใหญ่สุดมีพื้นที่ไม่เกินเท่าไร ถ้าหากพื้นที่วัดมีมากเกินกำหนด พระสังฆาธิการสามารถแบ่งเขตวัดเป็น “เขตพุทธาวาส เขตธรรมาวาส และเขตสังฆาวาส” ตามลำดับโดยกำหนดให้มี “เขตขัณฑสีมา” คือ “อุโบสถ” เป็นศูนย์กลางครับ แต่ที่ดินต้องเป็นธรณีสงฆ์กรรมสิทธิ์เดียวกันทั้งหมด

เขตพุทธาวาสจะศักดิ์สิทธิ์และอำนวยผลมากขึ้น เพราะมีลักษณะคล้าย “ทักขิณา” คือสะอาดขึ้น กว้างขึ้น เนื่องจากมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นพระประมุข ถ้าหากว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธานพัทธสีมาและธรณีสงฆ์นั้นๆ แล้ว จะมีผลถึงภาคผู้เลี้ยงประจำแต่ละวัดและสำนักด้วย ไม่ว่าจะในแง่ของความเป็นสัมมาทิฐิ และความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งผู้เลี้ยงผู้รักษา ท่านจะเลี้ยงรักษาตามกำลังของคณะสงฆ์, มัคนายก, ไวยาวัจกร และอุบาสก อุบาสิกา ที่รวมตัวกันเป็นคณะทำงานประจำ หรืออยู่ประจำภายในวัด ตามกฎหมาย ซึ่งทางวัดจะต้องมีรายชื่อบุคลากร ที่ยื่นรายงานต่อเจ้าคณะพระสังฆาธิการ และถ้าหากวัดนั้น มีพระบรมสารีริกธาตุเป็นพระประมุขประจำเขตพุทธาวาส ก็จะส่งผลถึง “การคำนวณเลี้ยง” ตามไปด้วย คือภาคผู้เลี้ยงจะจัดสรร ผู้เลี้ยงผู้รักษาที่เหมาะสมต่อคณะพุทธบริษัท 4 อันมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นพระประมุข

ถ้าหากว่าวัดหรือสำนักของผู้ทรงวิชชามีผู้อื่นเป็นประธานเขตพัทธสีมาอยู่แล้ว และผูกสิทธิ์ไว้แล้ว ก็สามารถใช้อำนาจหน้าที่พระสังฆาธิการ อย่างเจ้าอาวาส ในการกำหนด "พุทธเขต" เช่นพระเจดีย์ (เลี่ยงการเรียกเขตพุทธาวาส ตามตัวบทกฎหมาย) สำหรับสิ่งอันพึงกระทำในการกำหนดพุทธเขตมิใช่การวางศิลาฤกษ์ แต่เป็นการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุอย่างสมควร ทั้งในพระเจดีย์ประเภทต่างๆ อย่างพระสถูป หรือพระพุทธรูป แล้วพระสังฆาธิการตราเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรกราบอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ทรงเป็นประธาน ณ เขตพุทธาวาส ปกครองขัณฑสีมา และ/หรือ มหาสีมา รวมถึงเขต ธรรมาวาส และสังฆาวาส โดยอาจจะใช้ภาษาวิชชาในการตราขึ้น ภายในขอบเขตของอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ รวมถึงมีการทำสังฆกรรมประกอบ ซึ่งการ “ผูกสิทธิ์” ด้วยวิชชา ก็เข้าทำนองเดียวกันกับการ “สวดผูกสีมา” ที่มีการอ้างอิงกันและกันโดยชอบธรรมในสิทธิ์และอำนาจที่มีอยู่ครับ ดังฉะนี้.

Q&A

Q: ทำอย่างไร "กายธรรมภูติ" หรือ "กายธรรมสิทธิ์" ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงพระเดชานุภาพมากขึ้น ภายในเขตพุทธาวาส หรือพระอาราม เพราะดูเหมือนกายจะเบามากน้อยหน่อย

A: เท่าที่ผมนึกได้ หากมีการตรายศชั้นขั้นตำแหน่งศักดินาและดาราอิสริยยศ และตำแหน่งอำนาจหน้าที่ต่างๆ ในฝ่ายราชอาณาจักร ให้กับองค์สมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า กายธรรมภูติของพระองค์ก็จะ "สำเร็จพระพุทธจักรฯ" ด้วยกันทั้งหมด เป็นผลให้มีฤทธิ์มาก เราอาจจะทำสิ่งนี้โดยบัญญัติในกฎหมายประกอบพระพุทธศาสนาประจำชาติ หรือทำแยกต่างหากก็ได้ครับ ถ้าใช้ภาษาวิชชาได้ก็จะยิ่งดีครับ.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน เหรียญกษาปณ์อัดวิชชา

 

เหรียญกษาปณ์เงินสกุลต่างๆ แทบทั้งหมดจะมี “กายสิทธิ์” ที่มีวิชชาสาย “พระคลังรัตนะ” ประจำอาณาจักร หรือประเทศชาติของผู้ออกเหรียญคอยรักษาอยู่  ทั้งของใหม่ในปัจจุบันสมัย และของโบราณ กายสิทธิ์เหล่านี้ เราสามารถนำมา "เติมวิชชา" หรือ “อัดวิชชา” เข้าไปแล้วใช้เป็น "เงินขวัญถุง" ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วกายสิทธิ์ในเหรียญเล็กๆ น้อยๆ อย่างเหรียญสลึง, เหรียญเพ็นนี, เหรียญห้า, เหรียญสิบ, ไม่ว่าจะเป็นสกุล บาท, ดอลลาร์, ปอนด์ หรืออื่นๆ จะมีเพียงกายสิทธิ์ที่ฤทธิ์ไม่มากนัก คอยเฝ้ารักษาเหรียญนั้น (รวมถึงธนบัตรด้วย แต่บทความนี้จะกล่าวเฉพาะเหรียญ) ถ้าเราสามารถหามาได้ซึ่ง "เหรียญกษาปณ์เงิน" และ "เหรียญกษาปณ์ทองคำ" เหรียญเหล่านี้จะมี "กายสิทธิ์สายพระคลังชั้นสูงขึ้น" คอยรักษา ซึ่งถ้าหากเรา "เติมวิชชา" หรือ “แต่งองค์” ให้กายสิทธิ์ กลายเป็น “จักรพรรดิ” หรือเป็น “พระคลังรัตนะ” ก็จะเป็น "คุณ" ในด้านโภคทรัพย์ได้เพิ่มมากขึ้น คือแทนที่จะทำหน้าที่เพียงเฝ้าเหรียญ ก็สามารถตามสมบัติเป็นด้วย ดังนี้แล้วเราสามารถนำเหรียญมาเก็บไว้เป็นเงินขวัญถุง พกติดกระเป๋า หรือเลี่ยมกรอบแขวนติดตัว นี้เป็นวิธีง่ายๆ ที่จะได้กายสิทธิ์สายพระคลังสมบัติชั้นสูงจาก ภพเงิน ภพทอง ซึ่งเป็นที่นับถือกันว่าล้ำค่า และเด่นในด้านสมบัติ มาอยู่ในความครอบครอง แล้วนำไปทำวิชชาต่อยอดครับ ดังฉะนี้.

 

Q&A: จะทราบได้อย่างไรว่า กายสิทธิ์ในเงินสกุลใดเก่งกว่ากัน?

ปกติแล้ว อาณาจักรที่มีศักยภาพพอ ในการออกเหรียญกษาปณ์เงิน และทองคำ ถือว่ามีวิชชาดีพอสมควรครับ การจะดูประสิทธิภาพของกายสิทธิ์ ต้องดูที่ศักยภาพของ “การเงิน และการคลัง” ของแต่ละอาณาจักร ซึ่งผู้เลี้ยงพระคลังคอยดูแลรักษาอยู่ เงินสกุลบางประเทศ “เฟ้อ” มาก ทำให้ค่าของเงินมีน้อย ปราศจากเสถียรภาพ และไม่คงเส้นคงวา หรือดูที่อัตราแลกเปลี่ยน ว่าเงินด้อยค่ากว่ากันและกันอย่างไร นอกจากนี้ก็ดูที่ “ดวงตราประกาศิต” ประจำเหรียญนั้น โดยเฉพาะราชอาณาจักร ถ้าเป็น Silver Jubilee แล้วออกเหรียญเงิน วิชชาจะเต็มเม็ดเต็มหน่วย หรือ Golden Jubilee แล้วออกเหรียญทอง ภพท่านก็จะ “ศักดิ์สิทธิ์” ลงมามากกว่าปกติ เมื่อเทียบกับเหรียญกษาปณ์รุ่นอื่นๆ ของเงินสกุลเดียวกัน แต่ยังไม่ขอเทียบกับเงินสกุลอื่นนะครับ เพราะมีปัจจัยส่งผลได้หลากหลายครับ.

 

Q&A: แล้วเหรียญกษาปณ์ใดควรนำไปทำบุญ อย่างใดควรเก็บเป็นเหรียญขวัญถุง?

เหรียญกษาปณ์สำหรับทำบุญ ต้องดูที่ "ราคาในวิชชา" ของเหรียญครับ ซึ่งจะส่งเป็นกรรมานิสงส์มากที่สุด ว่าจะได้ตอบแทนกลับคืนมากี่เหรียญ ส่วนเหรียญกษาปณ์สำหรับเก็บรักษาเป็นขวัญถุงหรือพกติดตัว ต้องดูที่ "กายสิทธิ์" ว่ามีศักยภาพสูงหรือไม่ ทั้งในด้านวิชชา และลำดับขั้นของกายสิทธิ์ ว่าเป็น "จักรพรรดิ" ได้หรือไม่ครับ.

 

Q&A: ทำไมจึงไม่นำกายสิทธิ์ภาคทองที่มีอยู่ในเครื่องประดับ หรือทองคำแท่งมาแต่งเป็นจักรพรรดิ?

กายสิทธิ์จากภาคทอง ที่อยู่ตามเครื่องประดับ และทองคำแท่ง รวมถึงเหรียญกษาปณ์ต่างๆ ภาคทองท่านจะส่งลงมาตาม "ความสำคัญ" ของชิ้นงานทองคำนั้นหลังจากรังสรรค์ขึ้นแล้ว อย่างเช่น พระพุทธรูปทองคำ, พระเจดีย์และผอบทองคำ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ, มงกุฎทองคำ, พระแสงทองคำ และเหรียญทองคำ กายสิทธิ์ผู้ใหญ่ หรืออาจถึงขั้นจักรพรรดิทอง จะลงรักษาครับ แต่ถ้าเป็นเครื่องประดับ ทองแท่งเล็กๆ หรือทองคำเปลว ก็มีกายสิทธิ์แบบทั่วไปที่คอยรักษาความสวยความงาม และความทรงคุณค่าครับ. 


บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

7 ธันวาคม 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน ฝรั่งปล่อยเต่า

สงสัยกันบ้างไหมครับ เมื่อเราดูคลิปวิดิโอเห็นฝรั่งท่านเจอเต่าและปลาโลมาติดอยู่ในเศษอวนตามท้องทะเล หรือสัตว์อนาถาโดยบังเอิญ แล้วฝรั่งท่านก็ไปช่วยเหลือ ปลดปล่อยให้เป็นอิสระ โดยถ่ายคลิปมาโพสต์ ได้ไลค์ ได้แชร์ เพียบ ดูแล้วน้ำหูน้ำตาไหลกันไปทั่วโลก แต่คนไทยปล่อยปลา ปล่อยกบ เป็นตันๆ กะละมัง ถุงถัง ปล่อยโคกระบือ เป็นตัวๆ ทำไมไม่ได้ฟีลลิ่งแบบท่านฝรั่ง และไม่กลายเป็นไวรัลในสังคมตะวันตก ทั้งนี้ก็เพราะฝรั่งท่านเห็นว่าสัตว์บางประเภทนั้นเกิดมาเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ก็เลี้ยงไว้เป็นอาหารโดยเฉพาะ ไม่ใช่สัตว์ที่อยู่ตามธรรมชาติ การปล่อยสัตว์ที่มีไว้เพื่อรับประทานท่านถือเป็นเรื่องที่ “ไม่เมคเซ้นส์” ท่านช่วยเฉพาะสัตว์ที่เป็นเพื่อนร่วมโลก ไม่ใช่ของกินครับ ยกเว้นบางกรณีที่สัตว์แสดงความแสนรู้ออกมา เมื่อช่วยแล้วก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีมนุษยธรรมสูง ควรแก่การยกย่องครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

2 ธันวาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ตอน การประมวลผลของผู้เลี้ยง

ดังที่ได้ทราบกันแล้วว่า "จักรพรรดิภาคผู้เลี้ยงฝ่ายบุญ" มีหน้าที่หล่อเลี้ยงมนุษย์และสัตว์ด้วย ปิฎก 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา (โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ โดยผู้เลี้ยงฝ่ายบาป) ซึ่งการเลี้ยงนี้หมายถึงการ “ดลใจให้อยู่ในธรรม” เมื่อเป็นไปตามที่เลี้ยงคือ ดลใจแล้ว ก็คิด พูด ทำ เป็นกุศลตามมา ผู้เลี้ยงก็จะประมวลข้อมูล (input) เพื่อส่งรายงานตามขั้นไปถึง “เครื่องธาตุเครื่องธรรม” เพื่อดำเนินการคำนวณบุญ/บาป และกำหนด “ผังกรรมดี/ชั่ว” จ่ายกลับคืนมาใส่ไว้ใน “กายปลายทาง” อย่างมนุษย์ เทวดา หรือสัตว์ การประมวล input นี้ ผู้เลี้ยงท่านจะประมวลบนบรรทัดฐานของการทำปฏิกิริยากันระหว่าง "ธาตุ, ธรรม, ขันธ์ 5, เวลา และปฏิจจสมุปบาท"  กล่าวคือ กายกรรม, วจีกรรม, มโนกรรม บนพื้นฐานของ ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ, อากาศ, รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ (เห็น, จำ, คิด, รู้) อันเป็นปัจจัยภายในตัวมนุษย์ อันเนื่องด้วยปัจจัยภายนอกคือ คน, สัตว์ สิ่งของ สถานที่ และปฏิจจสมุปบาท ก่อเกิดเป็น "กรรม" อันเป็น กุศล, อกุศล, อัพยากตา เท่าไรต่อเท่าไร ซึ่งทุกอย่างมี "ค่ากำหนด" ในตัวทั้งนั้น ทำให้เกิดสภาวธรรมของจิตประชุมขึ้นเป็นดวงกลมๆ เหมือนอย่างในพระอภิธรรม ซึ่งผู้เลี้ยงท่านก็คำนวณว่าดวงจิตที่เกิดขึ้นมีปริมาตร, ปริมาณ, คุณลักษณะ, น้ำหนัก, ความสะอาด, ขนาด, และธรรมรส อย่างไร และเท่าไรบ้าง แล้วก็คำนวณนับค่าตัวแปรต่างๆ เหล่านี้ รายงานไปสู่เครื่องธาตุเครื่องธรรมเพื่อประมวลผลตามโปรแกรมกฎแห่งกรรม ดังฉะนี้ครับ.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 2 ธันวาคม 2565

www.Meditation101.org


Q&A: สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม จะอธิบายได้อย่างไร?

สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม คือผังที่โปรแกรมตั้งไว้มันจะส่งผลครับ ผังบางผังมันแน่น และแรงมาก เหมือนแรงดึงดูดของโลกที่ดึงภูเขาทั้งลูกให้ติดอยู่กับพื้นดิน แต่บางผังก็ไม่แรง ความแรงของกรรมจึงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับเหตุที่กระทำ โดยเฉพาะกรรมที่ทำด้วยความแน่วแน่มากๆ และกรรมมีผลกระทบมากในวงกว้าง มักจะเป็นกรรมที่แรงกว่าปกติ ซึ่งเราก็สามารถสรุปได้ตรงกับพระพุทธศาสนาว่ากรรมขึ้นอยู่กับเจตนา และการที่เราปล่อยปละละเลย ให้เป็นไปตามยถากรรม ก็คือกรรมอย่างหนึ่งของเราครับ อย่างเช่นเราป่วย แล้วเชื่อว่าเป็นกรรม จึงไม่ยอมรักษา แต่ลืมไปว่า การรักษาก็เป็นการเปิดโอกาสให้กรรมดีส่งผล เช่นกรรมที่เคยบริจาคยารักษาโรค ถ้าได้กินยาสักหน่อย กรรมดีจากการบริจาคยาก็จะส่งผล ก็จะหาย หรือบรรเทาอาการลงได้ครับ ถ้าถามว่าแล้วเราจะแก้กรรมได้ไหม? ก็แล้วแต่ครับ คือมีปัจจัยหลายประการ ที่จะทำให้แก้กรรมได้หรือไม่ได้ ขึ้นอยู่กับ "จังหวะ" ของปัจจัยแวดล้อมส่งผลครับ ถ้าจะนับกรรมแต่ละอย่างว่าเป็นกี่ % ของผลที่มีต่อชีวิตจริง น่าจะเข้าใจง่ายขึ้น เช่นกรรมหนัก 80% ใช้วิชชา 60% ช่วยก็ไม่หาย แต่ถ้ากรรม 25% ใช้วิชชา หรือทำความดีแก้กรรม 40% ก็หาย หรือบรรเทาได้ครับ.

Q&A: ถ้าอย่างนั้นกรรมก็ส่งผลสะเปะสะปะ?

จะว่าอย่างนั้นก็ใช่ครับ แต่พึงทราบว่า เบื้องหลังกรรม คือพระนิพพาน กับมารโลก ต่างพยายามแทรกแซงกันและกัน พระนิพพาน พยายามส่งวิชชา ให้ปิฎก 3 ศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น ทำให้มนุษย์และสัตว์มีจิตใจดีงาม พอดีงามแล้วก็ คิด พูด ทำ เป็นบุญ ก็ได้กรรมดี ได้บุญบารมี สะสมไว้ ครบกำหนดก็ได้เข้านิพพาน ส่วนบาปกรรมที่บั่นทอนก็เป็นคราวๆ ไป คือ 95% บ้าง 72% บ้าง 84% บ้าง 35% บ้าง ขึ้นๆ ลงๆ ไม่แน่นอน เพราะผังชีวิตคือโปรแกรมที่มีพลังงานบุญและบาปกำกับอยู่ เขาแย่งกันส่งผล ฝ่ายพระนิพพานก็มีเครื่องธาตุเครื่องธรรม ฝ่ายมารโลกก็มีเครื่องธาตุเครื่องธรรม ต่างฝ่ายต่างส่ง "ธรรม" ของตน และพยายามบังคับโปรแกรมของตนให้แรงกว่าอีกฝ่าย ทำให้เกิดความผันผวนในกรรมดีกรรมชั่วครับ.

Q&A: ทำไมจึงเรียก “จักรพรรดิภาคผู้เลี้ยง”?

คำว่า "จักรพรรดิ" ใช้เรียกได้หลากหลายครับ คำว่า "จักร" ก็มีทั้ง พุทธจักร, อาณาจักร, สารจักร, ธรรมจักร, รัตนจักร, ส่วน "พรรดิ" หมายถึงผู้เป็นใหญ่ คำนี้ใช้เรียกทั้งพระเจ้าจักรพรรดิราช, พระโพธิจักรฯ และพระอริยจักรฯ ผู้บำเพ็ญสัตตะรัตนะธรรม, พระจักรพรรดิภาคผู้เลี้ยงผู้รักษา และกายสิทธิ์ชั้นสูงก็เรียกจักรพรรดิ อุปมาคล้ายๆ คำว่า "นายก" ใช้เรียกทั้ง นายกรัฐมนตรี, สังฆนายก, นายกสภาฯ, นายก อ.บ.จ., นายก อ.บ.ต., นายกเทศบาล, นายกสมาคม, สมุหนายก มีปรากฏใช้ได้หลากหลาย ด้วยนัยยะที่ใกล้เคียงกันครับ ดังฉะนี้.

นานาสาระ: ตอน ภพเจ้าของเพลง

เคยไหมครับที่เราฟังเพลงแล้ว เมื่อการฟังผ่านพ้นไปแล้ว เราจะได้ยินเสียงเพลงนั้นดังอยู่ในใจ แล้วติดอกติดใจ บางทีอาจจะเป็นท่อนฮุคของเพลง ที่น่าฟัง ทำให้เรารู้สึกอยากฟังเพลงนั้นอีก หรือฮัมเพลงนั้น ปรากฏการณ์นี้ เป็น “วิชชา” ของ “ภพเจ้าของเพลง” ครับ ซึ่งมีผู้เลี้ยงผู้รักษาคอยทำหน้าที่ประจำอยู่ ซึ่งในสายลำดับการปกครองจะเป็นพระพุทธเจ้า, พระจักรพรรดิ, เทพเทวาอย่างคนธรรพ์หรือกายสิทธิ์ คอยประชุมเพลงและดนตรีขึ้น แล้วส่งวิชชามายังเมืองมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์ที่เป็นศิลปินนักร้องนักดนตรี ที่ส่วนใหญ่มาจากสายคนธรรพ์ คอยร้อง คอยเล่น คอยแสดง ส่วนหยาบ ในขณะที่ส่วนละเอียดในภพทิพย์ท่านก็คอยเลี้ยงวิชชาในดนตรีให้ความสุขเพลิดเพลินแก่มนุษย์ ทำนองเดียวกันกับสรรพวิชาการ “องค์ความรู้ทางวิทยาการ” ที่มีทั้งพระพุทธเจ้า, พระจักรพรรดิ คอยส่ง “วิชชา” แล้วอาจารย์วิทยาธรคอยรักษา “วิชา” และร่วมกันเลี้ยงรักษาครับ ทำให้วิทยาการนั้นยังคงอยู่ในโลกมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, คณิตศาสตร์, ภาษา และอื่นๆ ส่วนสาเหตุที่ท่านต้องทำก็เพื่อแย่งชิงพื้นที่ปกครองใจมนุษย์ เพราะถ้าหากฝ่ายพระพุทธเจ้าไม่ส่งวิชชา ฝ่ายมารโลกก็จะเข้าควบคุมด้วยวิชชาของพวกเขา ทำให้มีแต่เพลงแย่ๆ ที่คอยทำให้ใจของมนุษย์เสื่อมทรามลงครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 3 ธันวาคม 2565

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ตอน แต่งองค์ 18 กาย

 

เราต่างทราบกันดีอยู่แล้วนะครับว่า ในสายวิชชาธรรมกายนั้น คนเราจะมีกายพื้นฐานอยู่ 18 กาย นับจากภายนอกสุด เข้าสู่ภายใน คือ (1) กายมนุษย์หยาบ (2) กายมนุษย์ละเอียด (3) กายทิพย์ (4) กายทิพย์ละเอียด (5) กายรูปพรหม (6) กายรูปพรหมละเอียด (7) กายอรูปพรหม (8) กายอรูปพรหมละเอียด (9) กายธรรมโคตรภู (10) กายธรรมโคตรภูละเอียด (11) กายธรรมพระโสดาบัน (12) กายธรรมพระโสดาบันละเอียด (13) กายธรรมพระสกทาคามี (14) กายธรรมพระสกทาคามีละเอียด (15) กายธรรมพระอนาคามี (16) กายธรรมพระอนาคามีละเอียด (17) กายธรรมพระอรหัต และ (18) กายธรรมพระอรหัตละเอียด ส่วนกายภายในที่ลึกเข้าไปกว่านี้ เป็นกายพระนิพพาน, กายธรรมพระปัจเจกพุทธเจ้า, กายธรรมพระพุทธเจ้า และกายพระจักรพรรดิ โดยขึ้นอยู่กับสายธาตุสายธรรมของแต่ละบุคคลว่าปกครองกันลงมาอย่างไร

จากบทความก่อนๆ ผมได้เคยนำเสนอไว้ว่า เราสามารถแต่งองค์ทรงเครื่องกายเพื่อเพิ่มอานุภาพให้กับกายธรรม หรือกายพระจักรพรรดิได้ เพราะกายเหล่านั้นเป็นกายที่มีอานุภาพมากพอสำหรับการประกอบวิชชา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะ “กายแกร่งแน่น” เพราะ “ทรงฌาน” ไม่ว่าจะเป็นวิชชาพระธรรมกาย หรือวิชชาพระจักรพรรดิ สำหรับบทความนี้ ผมจะขอเสริมเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากกายพระธรรมกาย และกายพระจักรพรรดิแล้ว เราสามารถแต่งเติมเสริมองค์ทรงเครื่องให้กับกายในชุด 18 กายได้ด้วย นับตั้งแต่ “กายมนุษย์ละเอียด” เป็นต้นไป ซึ่งเป็นกายภายในแรกสุด ถัดจากกายมนุษย์หยาบ

การแต่งเครื่องทรงให้กับกายลำดับแรกๆ นั้นทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะกายเหล่านี้มักจะ “บอบบาง” กว่ากายธรรม และกายพระจักรพรรดิ ที่กายแกร่งเพราะทรงฌานได้ดีมากกว่า ยกตัวอย่างเช่นกายทิพย์ที่ท่องเที่ยวอยู่ในสวรรค์ เมื่อลงไปเยี่ยมชมเมืองนรก ก็อาจเกิดอันตรายเพราะไม่สามารถทนทานต่อความร้อนของไฟและน้ำกรด รวมถึงสิ่งทำลายล้างในเมืองนรกได้ หรือแม้ขนาดกายเทวดาลงมาร่วมงานบุญพิธีในเมืองมนุษย์ ก็ยังรู้สึกอบอ้าวและอึดอัด ไม่สบายเหมือนอยู่ในสวรรค์ ส่วนใหญ่ลงมาแล้วก็ต้องรีบกลับ

อย่างไรก็ตาม การแต่งองค์ทรงเครื่องให้กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์, กายพรหม, กายอรูปพรหม หรือแม้แต่กายธรรม และกายพระจักรพรรดิ ก็มีข้อจำกัด คือ “ธาตุ” ของกายเหล่านั้นว่าจะรองรับเครื่องทรงได้หรือไม่ เช่น “หมวกพระจักรพรรดิ” ของกายที่มีธาตุมากๆ เมื่อกายอื่นๆ ที่ธาตุน้อยกว่า นำไปใส่ จะรู้สึกหนัก ไม่สามารถรองรับทานน้ำหนักเอาไว้ได้ ส่วน “มณี” ที่ประจุวิชชาอย่างในชุดมณีลังการ ก็ยากที่จะนำประดับ (ต่างจากมณีที่เป็นเครื่องประดับเทวดา) เพราะมีความ “หนักในวิชชา”

ดังนั้น การแต่งองค์ทรงเครื่องกายลำดับชั้นแรกๆ ที่พอจะทำได้ก็คือ การเปลี่ยนอาภรณ์เครื่องทรง อย่างเช่นการนำผ้าทิพย์สีต่างๆ ที่ได้จาก “สายสะพายดาราอิสริยยศ” มาครอง และการ “ประดับดารา” ซึ่งเป็นดาราที่ได้มาด้วยการ “คว้าเอา” ในวิชชา หรือแลกกับผู้เลี้ยงผู้รักษาในกรณีที่ได้รับดาราอิสริยยศ หรือเป็นดาราที่เด็ดออกมาจากวัตถุมงคลประเภทดารา หรืออื่นๆ การแต่งเครื่ององค์ ของ 18 กาย ยกตัวอย่างเช่น ดาราอิสริยยศมี 5 ชั้น เราก็แลกกับผู้เลี้ยงออกมาทีละ 1 ขั้น เช่น เมื่อได้ชั้น 5 ก็นำไปใส่กายมนุษย์ละเอียด ได้ชั้น 4 ก็นำไปใส่กายทิพย์ ได้ชั้น 3 ก็นำไปใส่กายรูปพรหม ได้ชั้น 2 ก็นำไปใส่กายอรูปพรหม ได้ชั้น 1 ก็นำไปใส่กายธรรม หรือหากได้ชั้นใดชั้นหนึ่งแล้วขอแลกกับผู้เลี้ยงผู้รักษาหยิบแบ่งออกมากระจายใส่กายต่างๆ ก็ย่อมได้ ดังนี้แล้ว ดาราจะส่งฤทธิ์หล่อเลี้ยงแต่ละกายในชุด 18 กายอย่างเนืองแน่นพอ ทำให้มีอานุภาพมากอยู่ตลอดเวลา ใจจึงมีฤทธิ์เป็น “ศักดา” อยู่อย่างต่อเนื่อง และเมื่อควบรวม 18 กายเพื่อให้เป็น “กายมนุษย์พิเศษ” หรือ ซ้อน 18 กาย เป็นหนึ่งเดียวกัน ก็จะทับทวีอานุภาพให้รุนแรงขึ้นเป็น “พิสเดช” แต่ถ้าถอดดาราออกเมื่อไร กายก็จะมีฤทธิ์แผ่วลง ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน ทำไมประเทศพุทธจึงไม่เจริญ?

 

คงเป็นที่ค้างคาใจของชาวพุทธเรากันไม่น้อย ว่าถ้าหากพระพุทธศาสนาดีจริง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำบุญด้วยวัตถุอันเลิศ อันประเสริฐ ย่อมได้ฐานะอันเลิศ อันประเสริฐ แล้วทำไมประเทศชาวพุทธจึงด้อยความเจริญในด้านต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศชาวตะวันตกที่นับถือศาสนาอื่นคุณเป็นอีกคนหนึ่งหรือเปล่าครับ ที่แอบสงสัยแบบนี้อยู่ในใจ? บทความนี้มีคำตอบครับ!

คนไทยที่มีโอกาสไปเที่ยวต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศแถบยุโรป คงสงสัยว่า ทำไมศิลปะสถาปัตยกรรมของบางศาสนา ถึงสวยงาม เมื่อเทียบกับประเทศต้นแหล่งพระพุทธศาสนาที่ชวนให้เกิดสติ ไม่รู้สึกเว่อร์วังอลังการเลย ผมทราบมาว่า พระศาสดาของศาสนาทางยุโรปนั้น ในอดีตชาติ ท่านได้เคยสร้างสถานที่เก็บรักษาอัฐิ หรือศพของมารดาท่าน ท่านให้สร้างอย่างสวยงาม ถ้าจะว่าไปก็เหมือนชาวพุทธที่สร้างสถูปบรรจุเก็บอัฐิของบรรพบุรุษตามสุสานของวัดนั่นล่ะครับ เพียงแต่พระศาสดาพระองค์นั้น ท่านให้สร้างสวยๆ ดูหรูหราหน่อย ด้วยบุพกรรมนี้ ทำให้สถาปัตยกรรมต่างๆ ในศาสนาของท่าน แลดูสวยงามเว่อร์วังอลังการ ซึ่งก็เป็นไปตามกฎแห่งกรรม อันเป็นคำสอนของพระพุทธศาสนานั่นเอง ในทำนองเดียวกับที่อดีตชาติของพระเจ้าสังขจักรบรมจักรพรรดิ ได้เคยช่วยบิดาสร้างกุฏิไม้ถวายพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วจะได้ครองปราสาททองในยุคพระศรีอริยเมตไตรยนั่นล่ะครับ คือเหตุที่ประกอบนั้นอาจจะดูเล็กน้อย แต่กรรมส่งผลอย่างเว่อร์ๆ ให้ร้อยเท่าพันทวีครับ แล้วยิ่งถ้าหากประกอบเหตุอย่างเลิศหรู ผลกรรมก็ยิ่งอลังการเข้าไปใหญ่ครับ

อย่างไรก็ตาม ผมเคยได้ทราบมาว่า อันที่จริงประเทศชาวพุทธเราก็ไม่ถึงกับจะต้องอยู่อย่างแย่ๆ ครับ แต่มันมีหลายเหตุปัจจัย ที่ทำให้เราต้องเป็นกันเช่นนี้ ซึ่งอันดับแรกสุดก็คือ “มารแกล้ง” เพราะ “ภาคมาร” ไม่ต้องการให้ประเทศชาวพุทธดูเจริญรุ่งเรือง เพราะถ้าหากประเทศชาวพุทธเจริญมาก มันก็จะเป็นเครดิตที่ดี ให้กับพระพุทธศาสนา ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองแผ่ขยายไปทั่วโลกได้ง่ายขึ้น เหมือนคนรวยๆ ที่ประสบความสำเร็จ อย่างท่านบิลล์ เกตส์, ท่านวอร์เรน บัฟเฟตต์, ท่านแจ็ค หม่า, ท่านอีลอน มัสก์ และท่านมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ซึ่งมีความรู้ความสามารถ มีฐานะดี และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เป็นไอดอลต้นแบบ และเป็นอินฟลูเอ็นเซอร์ ให้คนทั่วโลกได้ศึกษา และทำตามครับ ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าประเทศชาวพุทธเป็นแบบนั้น ศาสนาพุทธก็จะกลายเป็นศาสนาที่ทรงอิทธิพล ซึ่งภาคมารเขาไม่ชอบใจ เพราะมารเขาเป็นไม้เบื่อไม้เมากับพระพุทธเจ้าครับ เหมือนโจรมาเฟียที่เห็น ตำรวจน้ำดีได้ดี มีผลงาน มีชื่อเสียง ก็หมั่นไส้ แค่มองหน้า ก็ไม่พอใจ อยากจะพาลหาเรื่องกัน อารมณ์ประมาณนี้ครับ

แล้วสิ่งที่ภาคมารทำ ก็คือแกล้งประเทศชาวพุทธ มาสิงใจผู้นำและคนในประเทศชาวพุทธให้รบกันเอง เหมือนตอนทูสีมาร สิงใจประชาชนให้ติชมพระนั่นล่ะครับ ในทำนองเดียวกันนี้ เหมือนในสมัยอดีตที่ชาวพุทธเข่นฆ่าชาวพุทธด้วยกัน บาปมันก็มากกว่าปกติ เช่นการยกกำลังทหารเข้าตีเมือง แล้วก็เผาทำลายวัดวาอาราม เผาพระพุทธรูป และเจดีย์ ปล้นเอาทองคำและทรัพย์สิน รวมถึงไล่ต้อน พระสงฆ์ องค์เณร และประชากร ไปเป็นข้าทาสบริวารอยู่ในประเทศของตน แล้วเมื่อประเทศชาวพุทธรบกันเองไปมา ก็ก่อกรรมต่อกันและกัน บ้างก็สาปแช่งซึ่งกันและกันโดยบรรพชิต บาปกรรมเหล่านี้เองที่ถ่วงให้ประเทศชาติไม่ค่อยเจริญเท่าที่ควรครับ

ส่วนในวิชชา ผมก็ได้ยินเทวดาผู้เลี้ยงผู้รักษาบ้านเมือง ท่านบ่นๆ มาประมาณว่า ท่านส่งวิชชามาพัฒนาปรับปรุงประเทศชาติบ้านเมืองให้เท่าไรๆ วิชชาก็โดนย่อยไป เหลือมาถึงเมืองมนุษย์ไม่เท่าไรครับ ยกตัวอย่างเช่น “ทางเท้า” ที่ผู้เลี้ยงผู้รักษาท่านก็พยายามแก้ไขปรับปรุง พยายามจะทำให้ดี แต่วิชชาที่ส่งมา กว่าจะถึงก็เหลือไม่เท่าไร จึงกลายเป็นอย่างที่เห็นครับ

แต่ท่านที่เป็นชาวพุทธก็อย่าได้เสียใจไปนะครับ ที่ประเทศชาติบ้านเมืองชาวพุทธเราเป็นอย่างนี้ เพราะผมทราบมาว่า ในสวรรค์โดยเฉพาะชั้นดาวดึงส์นั้น เป็นสวรรค์ที่นับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำสวรรค์ครับ เพราะท้าวเทวราชาทรงเป็นพระอริยบุคคล เป็นชาวพุทธ เทวดาชาวพุทธอยู่กันอย่างมีหน้ามีตา มีฐานะยิ่งใหญ่ด้วยกันทั้งนั้น จะว่าไปก็เหมือนชนชั้นสูงของสวรรค์ หรือหนุ่มไฮโซ สาวไฮโซ ของสวรรค์ เพราะบุญที่ทำในพระพุทธศาสนานั้นมีผลมาก แม้ในโลกมนุษย์มันจะแลดูไม่เรียบร้อยเป็นระเบียบนัก ไม่สวยหรู แต่ดูบ้านๆ ดูไม่เจริญหูเจริญตาทางวัตถุดีมากพอก็ตามทีครับ แต่ก็อย่าเพิ่งดีใจลิงโลดไปนะครับ เพราะในนรกนั้น สัตว์นรกที่ตกนรกขุมลึกๆ ก็มีชาวพุทธอยู่ด้วย มีทั้งพระสงฆ์ที่สร้างความเสื่อมเสียโดยหากินกับพระศาสนา และฆราวาสที่โกงและเบียดบังทรัพย์สินของพระพุทธศาสนา ถึงกับสรุปได้ว่า คนที่มีบุญมากที่สุดอันดับต้นๆ ก็เป็นชาวพุทธ ส่วนคนที่มีบาปมากที่สุดติดอันดับสูงๆ ก็ชาวพุทธเหมือนกันครับ  ดังฉะนี้. 

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน พังผัง “รักเก่า

โหๆๆ ใครๆ ก็รู้ว่า “นานาสาระ” ของพิรจักรนั้น “มันส์” แค่ไหน เพราะเป็นความรู้ ความลับ และเทคนิคทางลัดในวิชชาที่ทำงาน ใช้เชิงปฏิบัติได้จริง ใครไม่ติดตามอย่างกระชั้นชิด ก็ต้องขอบอกว่า “พลาดแระ” เพราะเรานำเสนอสารสกัดสาระที่ดีต่อชีวิตจริงๆ ครับ

ขอเข้าเรื่องสำหรับบทความนี้เลยดีกว่าครับ อัน “ความรัก” มักจะทำให้เรามี "อคติ" คือ "ลำเอียงเพราะรัก" ใช่ไหมครับ แล้วตอนที่ยังรักกัน เราก็ปฏิบัติต่อกันด้วยดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาทำบุญ ก็อธิษฐานขอให้ได้ครองรักกันทุกชาติทุกภพ ทุ่มใจให้กันแบบสุดๆ แต่เมื่อความรักหมดลง เตียงหัก รักสะบั้นแล้ว เราจะทำยังไงกับผังคู่รักที่อธิษฐานไว้ดีเนี่ย? ทำบุญก็ตั้งเยอะแยะ อธิษฐานก็มั่นเหมาะแบบไม่คิดเผื่อใจว่าความรักจะเป็นอย่างไรอื่นเลย ถ้าต้องเจอกันอีกในชาติหน้า ก็ขอบอกว่าขนาดชาตินี้ยังไม่อยากเจอแล้ว เหม็นขี้หน้า ถ้าเจออีกก็คง “ยี้” รับไม่ได้ครับ

ผู้ทรงวิชชาส่วนมาก ก็มักจะใช้วิธี “เก็บผัง” คือใช้ “ประดาวิชชา” ในการสลาย “ผังชีวิตคู่” ที่เกิดจากการทำบุญร่วมกัน อาจรวมถึงผังบาปด้วยครับ แต่วิธีดั้งเดิมแบบนี้ สิ้นเปลืองประดาวิชชามาก กว่าจะเก็บหมด ครั้นเก็บไปแล้ว ก็ยังไม่แน่ว่าผังจะ “กลับเป็นขึ้นมาอีก” ถ้าหากวิชชาไม่ดีพอ เหมือนเราถอนวัชพืชที่อยู่ตามร่องมุมตึกอาคาร ถ้าถอนไม่เกลี้ยงดีพอ วันดีคืนดี รากเหง้าของวัชพืชที่ยังอยู่ ก็งอกกลับเป็นต้นวัชพืชใหม่ได้อีก

สำหรับวิธีการใหม่ที่ผมขอนำเสนอ “นวัตกรรมวิชชา” วิธีแก้ไขผังคู่รัก ที่กลายเป็นคู่กัด หรือคู่แค้นก็คือ ให้นำ “ผังบุญ” ที่ได้จากการทำบุญกับอดีตคู่รัก มา “ประสานงา” เพื่อ "มลายผังบาป" ไม่ว่าจะเป็นผังวิบัติใดๆ เรานำผังบุญที่เราไม่ต้องการแล้ว และไม่อยากเจอกันกับอดีตคู่รักอีกแล้ว มาสลายผังบาปต่างๆ ได้ แทนที่จะปล่อยให้ผังคู่รักเหล่านั้นส่งผลครับ ดังนี้แล้วกรรมก็จะกลายเป็น “โมฆะ” แม้ไม่ใช่ “อโหสิกรรม” ครับ

วิธีการนี้ยังใช้ได้กับผังบาปอื่นๆ เช่นผังกรรมเบียดเบียนสัตว์, ผังลักขโมยและฉ้อโกง, ผังประพฤติผิดในกาม, ผังโกหกหลอกลวง, และผังดื่มสุราเสพยาต่างๆ มีผู้ทรงวิชชาแนะนำมาว่า การนำผังบุญผังบาป มาประสานงากัน เพื่อให้กลายเป็น “โมฆะ” หรือ “เจ๊า” กันไป นั้นเป็นวิธีการที่ดีคล้ายการทำ “พังพาบ” เพราะ “ผัง” มีลักษณะเป็นมิติหนึ่ง ซึ่งเมื่อปะทะกันเอง มันเหมือนมิติเดียวกันชนกัน ทำให้กลายเป็นโมฆะได้ครับ

แต่โปรดอย่าลืมว่า แม้ผังจะเป็นโมฆะได้ แต่ “เวร” ที่ฝ่ายตรงข้ามผูกไว้กับเรานั้น อาจจะยังคงอยู่ เพียงแต่ “กรรม” ลดทอนลงไป ถ้าเราเลือกได้ ผมขอแนะนำให้ทำบุญให้เจ้ากรรมนายเวรตามที่เคยเสนอไว้แล้วจะดีกว่าครับ เพราะไหนๆ ถ้าเราจะเปลืองบุญหรือผังบุญแล้ว เราก็ทำในลักษณะที่ “เป็นธรรม” จะดีกว่า หรือจะทำทั้งสองอย่างเลยก็ได้ครับ ฉะนั้น ท่านใดพอจะมีวิชชา หรือประชุมวิชชาได้แล้ว ยังหวั่นๆ กับผังคู่รักเก่า ผังบาปก่อนๆ ขอให้ลองดูวิธีนี้ได้ครับ ดังฉะนี้.

 

หมายเหตุ1: ถ้ากายสิทธิ์มารเฝ้าผังบาปอยู่ ให้ทำบุญอธิษฐานให้ผังบุญนั้นพังผังบาปได้ดี อย่างไม่สามารถฟื้นผังกลับมา “เป็น” ได้อีกแม้กายสิทธิ์มารจะเฝ้า โลกของใจ และโลกของวิชชา จะเป็นไปตามเราปรารถนาครับ โดยเราอาจกำหนดให้กายสิทธิ์ฝ่ายบุญเฝ้าผังบุญที่พังผังบาปแล้ว คอยแก้คอยกันท่ากายสิทธิ์ฝ่ายบาปตลอดเวลาครับ.


บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 23-24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน เรียกรสสุคนธ์


ใกล้จะถึงวันขึ้นปีใหม่ ในอีกไม่นานนี้แล้วนะครับ สำหรับของขวัญเทศกาลปีใหม่ที่นิยมมอบให้กันนั้น “น้ำหอม” เป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีมากครับ และน้ำหอมก็มีหลากแบรนด์ หลากกลิ่น เราสามารถ "เรียกดวงรสสุคนธ์" จากขวดน้ำหอม ซึ่งเป็นส่วนละเอียดอันเป็นทิพย์ประจำน้ำหอมแต่ละขวด มาใส่ไว้ในดวงสุคนธาประจำกายของเราได้ครับ เป็นทางลัดในการได้ "กลิ่นทิพย์" แทนที่จะทำบุญด้วยของหอมเป็นประจำเพื่อสะสมสุคนธา แต่การเรียกดวงรสสุคนธ์ อาจทำได้ด้วยวิชชา หรือสั่งประกาฯ (น้ำหอมมีประกาฯ แทบทุกขวด) หรือจะ "ตรัสคาถา" ก็ย่อมได้ เพื่อให้ได้ดวงรสสุคนธ์ที่รักษาส่วนละเอียดของน้ำหอมขวดนั้นมา จากนั้นจึงนำมาซ้อนใส่ไว้ใน "ดวงสุคนธา" ประจำกายของเราครับ ชอบกลิ่นไหน เลือกเอาตามใจชอบได้เลยครับ แต่เมื่อเรียกดวงรสสุคนธ์ออกมาแล้ว ฤทธิ์น้ำหอมส่วนหยาบจะด้อยลง น้ำหอมที่ได้มาโดยชอบ ไม่ว่าจะได้มาเป็นของขวัญ หรือซื้อมา สามารถเรียกดวงรสสุคนธ์ออกมาใช้ได้ โดยไม่ต้องจ่ายในวิชชาอีกครับ แต่ถ้าถูกใจในกลิ่นทิพย์ ก็ขอให้ "ทิปกำนัล" เจ้าของวิชชาบ้างครับ ข้อควรระวังสำหรับการใช้วิธีการนี้ คืออย่าเรียกดวงรสสุคนธ์จากน้ำหอมหลากหลายกลิ่นครับ เพราะกลิ่นอาจจะผสมกัน ทำให้กลายเป็นกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ และบ้างก็ทำให้ “เมากลิ่นน้ำหอม” ครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน สั่งวิชชาด้วยพัดยศ และเครื่องอิสริยาภรณ์

ว้าววว.. แค่จั่วหัวเรื่องก็ชวนขนลุกแล้วนะครับ ทุกท่านคงจำกันได้ เรื่องที่ผมเคยเอ่ยอ้างถึง “สายสั่งวิชชา” ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ได้เป็นเส้นๆ เหมือนก๋วยเตี๋ยวนะครับ แต่เป็นดวงกลมๆ ที่ซ้อนกัน แล้วถ้าจับยืดออก ก็จะเป็นดวงกลมต่อกันเป็นสายเหมือนสายลูกประคำครับ ดวงนี้คือดวงสิทธิ์และอำนาจในการสั่งวิชชา ซึ่งดวงใหญ่สุดท่านเรียกว่า “ปฏิทัย” รองลงมาคือ “บริพรรดิ” ส่วนดวงหย่อนลงมาก็มี ฑินวราห์, อธิวราห์, สุวราห์ และวราห์ เป็นอาทิครับ ซึ่งดวงใหญ่กว่าก็มีกำลังในการคุมวิชชามากกว่า และคุมกันเป็นชั้นๆ ลงมา ใหญ่กว่าก็คุมที่หย่อนกว่าครับ

ปกติแล้วการที่ผู้ทรงวิชชาจะมีสิทธิ์และอำนาจสั่งวิชชาได้ ก็จะต้อง “ชะลอ” ดวงเหล่านี้ลงมาสถิตไว้ในตัว ซึ่งต่างท่านก็มีต่างวิธี และมีวิธีได้มาหลากหลายตามที่ผมเคยอธิบายไว้แล้ว เช่นเล่นประกาศิตได้, ประกาศหัตถาได้, เล่นเทวาได้ หรือภพเจ้าของสายธาตุสายธรรมท่านส่งให้ และอื่นๆ สำหรับในบทความนี้ ผมจะขอนำเสนอเรื่องการสั่งวิชชาด้วย “เครื่องอิสริยาภรณ์” ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบครับ โดยมากแล้วจะเป็น “ดารา” ส่วนแบบอื่นๆ ก็มี สุริยะ, จันทรา, ครอส, คราวน์ และอื่นๆ

ทั้งนี้เครื่องอิสริยาภรณ์โดยมากจะจัดเป็นชุดๆ เรียกว่า “ออเดอร์” หรือ “ตระกูล” มักจะมีแบ่งเป็นลำดับชั้น โดยชั้นสูงสุด จะมีสายสะพาย เป็นสีต่างๆ ส่วนชั้นรองลงมาจะเป็นดวงตราที่มีแถบผ้าสี หรือโบว์สี ท่านทราบหรือไม่ว่า เครื่องอิสริยาภรณ์เหล่านี้ สามารถใช้แทน “ดวงวราห์” ในการสั่งวิชชาได้ โดยผู้ที่มีเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงกว่า จะสามารถสั่งวิชชาผู้ที่มีเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นหย่อนกว่า ใน “ตระกูล” เดียวกัน โดยการสั่งนั้นก็ทำได้หลายวิธี เช่นการสั่งแบบ “สั่งดารา”

อย่างไรก็ตาม เครื่องอิสริยาภรณ์บางตระกูลนั้น ผู้เลี้ยงผู้รักษาท่านสามารถมอบ “ปฏิทัย” และ/หรือ “บริพรรดิ” ให้ได้ด้วย โดยผู้ขอจะต้องได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดในตระกูลเครื่องอิสริยาภรณ์นั้นๆ แล้วจ่ายค่ากำเน็จเป็นธาตุบุญ ตามแต่ผู้เลี้ยงผู้รักษาเครื่องอิสริยาภรณ์จะกำหนด ดังนี้แล้ว ก็จะสามารถสั่งวิชชาได้ตามปกติ โดยไม่จำเป็นต้องสั่งแบบ “สั่งดารา” แต่ผู้ที่จะรับคำสั่งวิชชาและเดินวิชชาให้จะต้องเป็นผู้ทรงวิชชาที่มีเครื่องอิสริยาภรณ์ตระกูลเดียวกัน ที่ลำดับขั้นหย่อนกว่าเท่านั้น

สำหรับเครื่องประกอบยศอื่นๆ อย่างเช่น “พัดยศ” ก็สามารถสั่งวิชชาได้ แม้จะทำได้ไม่ค่อยถนัดนัก เพราะมีลักษณะคล้าย “พระคทา” ซึ่งผู้ครอบครองสามารถ “สั่งคทา” ได้ มีลักษณะคล้ายการสั่งสิทธิ์ แต่พัดยศนั้น โดยมากแล้วจะสามารถสั่งได้เฉพาะกับ ผู้ทรงวิชชาที่เป็นฐานานุกรม อย่างเช่น “พระครูฐานานุกรม” ของพัดยศแต่ละเล่มครับ อย่างไรก็ตาม ผู้เลี้ยงผู้รักษาพัดยศ บางตำแหน่ง ยกตัวอย่างเช่น “พัดยศสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ” ก็อาจจะสามารถชะลอ “ดวงปฏิทัย” และ/หรือ “บริพรรดิ” ได้เช่นกัน ด้วยขอบเขตตาม สิทธิ์, หน้าที่ และอำนาจ ของพัดยศแต่ละเล่ม ดังฉะนี้ครับ.


หมายเหตุ 1: เรื่องแลกดวงปฏิทัย กับบริพรรดิ และ -วราห์ ขั้นต่างๆ นั้น ถึงจะไม่สั่งวิชชากัน แต่อย่างน้อยก็พูดเทศน์สอนสนทนาเรื่องวิชชาได้ โดยไม่โดน “ปรับสิทธิ์” ครับ.

หมายเหตุ 2: ตำแหน่งศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ สามารถแลกสายสั่งวิชชาอย่าง -วราห์ ได้เช่นกันครับ รวมถึงตำแหน่งเทพีนางงามด้วย โดยเฉพาะท่านที่ได้มงกุฎ ส่วนใหญ่แล้ว ยศ ชั้น ขั้น ฐานะ ที่มี "ลำดับศักดิ์" อย่างเป็นรูปธรรม มีตัวบทกฎเกณฑ์กำกับ จะสามารถแลกสายสั่งวิชชาอย่าง -วราห์ ได้ เพราะผู้เลี้ยงผู้รักษาประจำภพ มีระบบในการกำกับดูแลอยู่ในโลกแห่งวิชชาเพื่อเลี้ยงรักษาลำดับศักดิ์นั้นๆ อยู่แล้วครับ การจะขอสายสั่งวิชชา เพื่อนำมาใช้เอง จึงสามารถเป็นไปได้ แต่ต้องพิจารณาเป็นอย่างๆ ไป เช่นยศทหาร ตำรวจ ลำดับเกียรติผู้ขายตรง และอื่นๆ ครับ.


บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

    


Q&A:

Q: เราควรจะทำบุญอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรอย่างไร?

A: วิธีทำบุญเพื่อส่งบุญให้เจ้ากรรมนายเวร โดยจ่ายบุญผ่านเครื่องธาตุเครื่องธรรม และหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับเจ้ากรรมนายเวร ต้องทำบุญ “ในนามเจ้ากรรมนายเวร” (ไม่ใช่การอุทิศ) แบบใส่รายละเอียดให้เครื่องธาตุเครื่องธรรมคำนวณจ่ายบุญตามกำหนด ยกตัวอย่างดังนี้ครับ คือ:

 

"เผดียง! ข้าพเจ้า  คือนาย PPP นามสกุล TTT ชื่อเล่นว่า TTT ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชนไทยในปัจจุบันสมัยเลขที่ 12345678910 และมีนามธาตุว่า “LLL” ขอทำบุญหล่อพระพุทธรูปจำนวน 1 ล้านบาท ในนาม ผู้ที่ข้าพเจ้าได้เคยประพฤติผิดพลาดล่วงเกินด้วยกาย วาจา ใจ ในทุกชาติ ทุกภพ ของข้าพเจ้า อันเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าได้บาปกรรม นับตั้งแต่ปฐมชาติปฐมกาลกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ โดยข้าพเจ้าขอแบ่งเฉลี่ยจ่ายบุญตามสัดส่วนของบุญและบาปที่เกิดขึ้น เพื่อขอตัดทอนบาป, เวร, ภัย, อกุศลกรรม, และ อกุศลกรรมานิสงส์ ที่มีหรือจะมีต่อกันนับจากนี้เป็นต้นไป ดังนี้ แม้ครั้งที่ 1, 2, และ 3 ผนวก!

 

หมายเหตุ: ให้นำตัวอย่างนี้ไปประยุกต์ใช้โดยใส่ภาษาวิชชา หรือภาษา "รรงฆ์" ต่างๆ โดยอาจใช้เทคนิคทางนิตินัย หรือภาษากฎหมายผสมผสานประกอบกันครับ ต้องใส่ตอนทำบุญ เพราะเป็นจังหวะที่เครื่องธาตุเครื่องธรรมกำลังจะประมวลบุญระหว่างทำ เพื่อคำนวณจ่ายบุญ อย่าระบุว่า “อุทิศ” แต่ให้ทำบุญในนาม “เจ้ากรรมนายเวร” (อันที่จริงคำนี้ความหมายตรง แต่ไม่ควรใช้ ให้เลี่ยงไปใช้คำแบบที่ผมใช้ในตัวอย่าง)

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน ผลเสียจากการอุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร

พระท่านสอนว่า คนเราเกิดมานับภพนับชาติไม่ถ้วน แล้วแต่ละชาติเราก็ทำกรรม ทั้งดีบ้าง ชั่วบ้าง ทำให้เกิดมี “เจ้ากรรมนายเวร” ซึ่งบางท่านถูกเราประทุษร้าย หนักบ้าง เบาบ้าง ส่วนเราเอง บางทีก็เป็นเจ้ากรรมนายเวรสำหรับคนอื่นกับเขาบ้างเหมือนกัน โดยไม่รู้ตัวครับ เมื่อกรรมส่งผล ชีวิตก็ประสบอุปสรรคหรือปัญหา ที่เจ้ากรรมนายเวรก่อขึ้น ซึ่งก็เป็นที่นิยมกันในหมู่ชาวพุทธ ในการทำบุญอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร เพื่อ “แก้กรรม” ผ่อนหนักให้บรรเทา หรือหายไป

อย่างไรก็ตาม ท่านรู้หรือไม่ว่า เจ้ากรรมนายเวรเอง บางคนเขาก็เหมือนกับเรานี่ล่ะครับ คือเกิดข้ามภพชาติ เขาก็ลืมไปแล้ว คือลืม “เวร” ที่ผูกไว้ แต่ “กรรม” นั้นยังอยู่ และเมื่อโคจรมาพบกัน กรรมก็บันดาลให้เจ้ากรรมนายเวร “เอาคืน” อย่างเช่นการขับรถชนคนตายโดยไม่เจตนา ผู้ขับส่วนใหญ่เป็นเจ้ากรรมนายเวรที่ไม่รู้เนื้อรู้ตัวนั่นเอง ชาวพุทธที่ศึกษาธรรมและใฝ่บุญ จึงนิยมทำบุญเพื่ออุทิศชดใช้ให้เจ้ากรรมนายเวร เพื่อแก้ไขผังปัญหาชีวิตต่างๆ

แต่ท่านรู้หรือไม่ว่า การอุทิศบุญ และแผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวรนั้น บางรายกลับกลายเป็นผลเสีย คือจากที่เขาลืมเวรที่ผูกไว้ไปแล้ว ก็กลับมาหวนระลึกจำได้ ก็โกรธแค้นไม่พอใจขึ้นมาอีก จากที่สถานการณ์สงบ ก็เลยกลับมาตามรังควาน บางท่านก็ไม่ยินดีกับการแผ่เมตตา ยิ่งแผ่ยิ่งไม่พอใจ เพราะเวลาแผ่ก็สบายใจที พอการแผ่เมตตาจบ ก็ขุ่นเคืองอีก ผู้ทรงวิชชา หรือครูบาอาจารย์บางท่านไป “แก้กรรม” ให้คนอื่น สุดท้ายก็เลย “เข้าตัว” ต้องมารับผลเสียซะเองครับ เจ้ากรรมนายเวรบางท่านก็ไม่พอใจ ก็เลยมาเล่นงานผู้ทรงวิชชา หรือครูบาอาจารย์ด้วยซ้ำ

แล้วจะทำอย่างไรกับกรรมที่เรามี? กรรมวิธีที่ใช้อาจจะซับซ้อนและอาศัยเวลาหน่อยครับ เช่นหากเจ้ากรรมนายเวรไปเกิดเป็นยักษ์ ผู้ทรงวิชชาสามารถจำแลงกายเป็นยักษ์หัวหน้า แล้วนำอาหาร และสมบัติทิพย์ไปให้ รับประทานจนอิ่ม อารมณ์ดี แล้วค่อยชวนคุย ให้อโหสิกรรม แล้วรับบุญที่ทำมาให้ โดยชักชวนแนะนำว่าจะได้สมบัติทิพย์ ได้รูปกายสวยงามกว่านี้ หรือหากเจ้ากรรมนายเวรไปเกิดเป็นสัตว์ เราก็นำของถูกใจไปฝากในวิชชา อย่างเช่นขนมหวานสำหรับมดและหนูทดลอง หญ้าสดๆ สำหรับโค กระบือ และถั่วอัลมอนด์ สำหรับกระรอก กระแต เป็นอาทิ หรือพาไปเที่ยวสวรรค์ โดยจำแลงกายไปเป็นหนุ่มหล่อ หรือสาวสวย เพื่อไปพบกับกายละเอียดของพวกเขาที่เป็นมนุษย์ แล้วให้รับประทานอาหารของฝากอันเป็นเป็นทิพยโอชา ฉายภาพสวรรค์ให้ดู ว่าจะได้อยู่วิมาน จากนั้นจึงค่อยชวนคุย ถ้าตกลงอโหสิกรรมให้ ก็จะมีอาหารให้อีก หรือได้ไปอยู่สวรรค์ แล้วจึงเติมบุญให้ครับ

แต่ถ้าเจ้ากรรมนายเวรมีมาก ผู้ทรงวิชชาหรือครูบาอาจารย์ อาจจะใช้วิธีเติมบุญให้ในสายธาตุสายธรรม โดยเวลาทำบุญ เรากำหนดตั้งค่า ให้เครื่องธาตุเครื่องธรรมจ่ายบุญให้กับเจ้ากรรมนายเวร เข้าสายธาตุสายธรรมของพวกเขาโดยตรง แล้วค่อยใช้วิชชา ตัดทอนผังเวร ผังกรรม ในตัวเจ้ากรรมนายเวร และในตัวเราให้ลดลงไป เป็นการแก้เชิงเทคนิค ดังนี้แล้วก็จะไม่ต้องไปพบหรือเผชิญหน้ากัน แต่ประสิทธิภาพในการแก้กรรม อาจจะไม่ดีเท่ากับการไปพบและได้รับการให้อภัยทานโดยเฉพาะเป็นรายบุคคล ซึ่งก็ยังสุ่มเสี่ยงว่าจะยินยอมและอนุโมทนากับบุญที่ส่งไปให้หรือไม่ ดังฉะนี้ครับ.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ตอน สวดมนต์ ไม่พ้นกรรม

การสวดมนต์ถือเป็น “วจีกรรม” อันเลิศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่รู้ความหมายของบทสวด อย่าง “ท่านมหา” ที่เรียนภาษาบาลี แล้วเข้าใจเนื้อหาอรรถและธรรมของบทสวดมนต์ หรือเป็นผู้ที่สวดมนต์บทแปล ก็จะได้ปัญญาบารมีเพิ่มเติม เป็นการทบทวนคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ท่านรู้หรือไม่ว่า บทสวดมนต์บางบท อาจจะเป็นการ “ล็อคตนเอง” ไว้ให้เป็นไปตามที่สวด เช่นเรื่องการหนีความแก่ไม่พ้น การหนีความตายไม่พ้น การหนีความเจ็บป่วยไม่พ้น การหนีกรรมไม่พ้น การทำกรรมดีชั่ว แล้วต้องเสวยผลกรรมดีชั่วเสมอไป ทั้งนี้เพราะการสวดมนต์นั้น ก่อให้เกิดบุญ และคำสวดก็เป็นเสมือน “คำอธิษฐาน” หรือ “วาจาสิทธิ์” ที่กล่าวย้ำๆ ซ้ำๆ กัน ทำให้คำกล่าว “ศักดิ์สิทธิ์” ตามที่สวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสวดเป็นประจำทุกวัน เป็นอาจิณกรรม และการ “ล็อคตนเอง” ให้เป็นไปตามที่สวด ก็อาจทำให้ “พลาดโอกาสอันดี” อย่างเช่นการได้เป็นมนุษย์ที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ไม่มีความแก่ชรา อย่างมนุษย์ในยุคพระศรีอริยเมตไตรย หรือการอยู่ในยุคที่มีวิชชาสามารถแก้โรค แก้กรรมได้ การแก้ก็อาจจะไม่ได้ผลดีมากพอ สำหรับผู้ที่เคยสวดล็อคตนเองไว้อย่างนั้น เพราะ “วจีกรรมกำบังเอาไว้” ดังฉะนี้ครับ.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ตอน มีของกายสิทธิ์มากๆ ดีหรือไม่?

ตามบทความเกี่ยวกับกายสิทธิ์ที่ผมได้เคยประพันธ์ไว้หลายบทความ ซึ่งสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องกายสิทธิ์ให้กับท่านผู้อ่าน เป็นการปูพื้น ขึ้นเสา ก่อผนัง เทคาน มุงหลังคา ไว้มากพอแล้วนะครับ ในวันนี้ ผมจะขอเสริมเรื่องเกี่ยวกับกายสิทธิ์ ที่นักสะสมกายสิทธิ์ไม่ควรพลาดครับ ซึ่งเราๆ ท่านๆ ต่างก็รู้คุณวิเศษของกายสิทธิ์ โดยที่เราท่านต่างก็ชื่นชอบการสะสมกายสิทธิ์เป็นชีวิตจิตใจ เพราะกายสิทธิ์สามารถให้คุณ ทั้งการเจริญสมาธิภาวนา การช่วยเหลือเกื้อกูลทั้งทางโลก และทางธรรมต่างๆ ในหลากหลายด้าน

โอกาสนี้ผมจะขอให้รายละเอียดเกี่ยวกับกายสิทธิ์ว่า กายสิทธิ์นั้นเป็น “กายทิพยกล” ที่อยู่ในเมืองมนุษย์ และมี “เจ้าของ” เป็นผู้ควบคุมกำกับการ ซึ่งเจ้าของท่านก็มีภพของท่านเป็นที่อยู่  ซึ่งวัตถุประสงค์ในการส่งกายสิทธิ์มาอยู่ในเมืองมนุษย์ก็มีต่างๆ กันไป บางท่านต้องการแสวงหาโอกาสทางวิชชา, หาธาตุบุญ, ได้มีส่วนในความสำเร็จของงาน ทำให้มีขั้นตำแหน่งสูงขึ้นในโลกวิชชา หรือหาทางได้ตกลงแลกเปลี่ยนต่างๆ กับผู้ทรงวิชชา ซึ่งกายสิทธิ์ก็มีมากมายหลายอย่าง หลากตระกูล สารพัดชนิด ในเมืองมนุษย์

ทีนี้ ท่านผู้สะสมของกายสิทธิ์ ที่มีกายสิทธิ์นับสิบ นับร้อยองค์ ก็พึงทราบว่า ของกายสิทธิ์นั้น มีภพเจ้าของดูแลอยู่ และการหาได้มาไว้ในครอบครอง ส่วนใหญ่แล้วก็จะครอบครองได้เฉพาะตอนที่เราเป็นมนุษย์เท่านั้นครับ ยกเว้นแต่ว่าผู้ทรงวิชชาจะ “เหน็บ” ติดตัวกลับไปด้วยตอนละโลก โดยอาจจะจ่าย “ธาตุบุญ” หรือ “ให้วิชชา” กับภพผู้เป็นเจ้าของ เพื่อแลกกับการ “เด็ดกายสิทธิ์ออกจากเรือนหยาบ” เพื่อคว้าเอาส่วนละเอียดเข้าไปอยู่ในสายธาตุสายธรรมของผู้ทรงวิชชา

อย่างไรก็ตาม ข้อควรคำนึงก็คือ หากเรามีกายสิทธิ์มากๆ พึงตระหนักว่า กายสิทธิ์มีทั้งที่แลกเหน็บกลับได้ และแลกไม่ได้ เพราะเจ้าของบางท่าน ไม่ยินดีแลก แต่จะขอเรียกกลับคืนเมื่อถึงกำหนด หรือมิฉะนั้น ค่าแลกก็จะแพงมาก ซึ่งผู้ทรงวิชชาก็จะไม่คุ้มที่จะแลก เพราะจะต้องเสียธาตุบุญ อันเป็นเนื้อบุญบารมีมากเกินไป ผู้ทรงวิชชาบางท่าน พึ่งพากายสิทธิ์มาก เมื่อถอดกายสิทธิ์ออกจากกาย หรือสายธาตุสายธรรม ตนเองก็กลายเป็น “ตัวอ่อน” ซะทีเดียว ตอนเป็นมนุษย์ที่พึ่งพากายสิทธิ์ ก็มีฤทธิ์ดี แต่พอละโลกต้องถอดกายสิทธิ์ออก แทบจะไม่เหลืออะไรมาก

การแลกกายสิทธิ์ก็ต้องพิจารณาอีกว่า ถ้าเจ้าของกายสิทธิ์ จะตามกายสิทธิ์เข้าภพผู้ทรงวิชชาไปด้วยกัน จะยินดีไปหรือไม่ และต้องจ่ายธาตุบุญเท่าไร จึงจะยอม สาเหตุที่ต้องเชิญเจ้าของกายสิทธิ์ไปด้วยก็เพราะ ภพเจ้าของรู้ยนต์กลไกของกายสิทธิ์ ถ้าหากผู้ทรงวิชชาเหน็บกายสิทธิ์เข้าสายธรรมสายธรรมไปแล้ว เกิดความผิดพลาด ถูกภพเจ้าของเรียกกายสิทธิ์กลับ ซึ่งอาจทำให้วิชชาสะดุด อาจเป็นผลเสียได้ โดยเฉพาะในขณะกำลังรบ หรือเดินวิชชาสำคัญๆ ซึ่งการเชิญเจ้าของกายสิทธิ์ ที่อยู่ในภพตามไปด้วย ก็ต้องคำนึงว่า เราจะมีวิชชามากพอเลี้ยงท่าน และควบคุมท่านได้ ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย นี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ทรงวิชชาบางท่านสำรวมระวัง และไม่ประสงค์จะนำพากายสิทธิ์ใดๆ เหน็บติดตัวไปมากนัก เมื่อละสังขาร

อย่างไรก็ตาม มีกายสิทธิ์บางประเภทที่ภพผู้เป็นเจ้าของสร้างขึ้นเพื่อเผื่อจำหน่ายโดยเฉพาะ โดยภพเจ้าของไม่ตามไปอยู่ด้วย และเครื่องกลไกของกายสิทธิ์ก็จะถูกวางเงื่อนไว้ ให้แต่งเครื่อง แล้วล็อคใหม่โดยผู้ทรงวิชชาได้ ดังนี้แล้ว กายสิทธิ์ก็ไม่เป็นอันถูกเรียกคืนโดยภพเจ้าของ แต่จะตกเป็นของผู้ทรงวิชชา ที่หามาไว้ในครอบครอง แล้วจ่ายธาตุบุญ หรือให้วิชชา หรือตกลงแลกเปลี่ยนกับภพผู้ผลิต ผู้เป็นเจ้าของ เพื่อขอครอบครองกายสิทธิ์นั้นโดยชอบ โดยสิ้นเชิง ทั้งหยาบ และละเอียด ไม่เป็นอันอยู่ในกำกับการของภพผู้ผลิต และผู้เป็นเจ้าของอีกต่อไป ซึ่งกายสิทธิ์ประเภทนี้ ก็คุ้มที่จะแลก

นักสะสมกายสิทธิ์หลายท่าน ก็คงจะมีความรู้สึกคล้ายๆ กัน คือมีความสุขกับการหาของกายสิทธิ์ แต่ถ้าเราได้มาแบบมีค่าใช้จ่าย ต้องซื้อ แล้วเมื่อเราละโลก เราก็ต้องทิ้งของกายสิทธิ์ทั้งหมดเอาไว้ ครั้นจะแลกเอาส่วนละเอียดไป ก็ไม่มีธาตุบุญมากพอ เพราะเอาแต่ขยันซื้อขยันจ่าย ไม่ค่อยได้ทำบุญ ไม่มีธาตุบุญจะแลกกับภพเจ้าของ ทุกอย่างก็แทบจะเสียเปล่าครับ โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่มีวิชชา หรือมีวิชชาน้อย ไม่สามารถเดินวิชชากับกายสิทธิ์ได้ ประโยชน์ที่จะได้จากกายสิทธิ์ก็ไม่มาก ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนี้ แทนที่จะทิ้งของกายสิทธิ์ไว้ให้คนรุ่นหลัง สู้นำไป “เดินของ” คือถวายผู้ทรงวิชชา เพื่อแลกธาตุบุญ หรือให้ท่านเหน็บเงินใส่กระเป๋า จะคุ้มกว่าครับ ดังฉะนี้ครับ.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน ถวายสังฆทานกับพระอรหันต์ได้ทุกเมื่อ

มาจะกล่าวบทไปถึงการถวายสังฆทาน ซึ่งชาวพุทธโดยมากก็พอจะทราบดีว่ามีอานิสงส์มากนะครับ และผมก็ได้เคยอธิบายโดยสมการ “ธรรมเศรษฐศาสตร์” รวมถึงหลักการ “สนธิวิชชา” ว่า เพราะเหตุใดและอย่างไร สังฆทานจึงให้ผลมาก แต่ด้วยสภาวการณ์ในปัจจุบัน ที่วัดมีมาก และพระสงฆ์ต้องกระจายกันประจำอยู่ตามวัด ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ บางวัดไม่มีพระมากพอจะครบองค์สงฆ์เพื่อรับสังฆทาน หรือกฐินครับ มาวันนี้ นานาสาระ มีวิธีพิเศษมานำเสนอเพื่อแก้ไขปัญหานี้กันครับ

ดังที่ผมเคยแนะนำไว้แล้วว่า ท่านใดประสงค์จะทำบุญกับพระสงฆ์โดยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นพระประมุข ก็ขอให้กราบอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุมาเป็นประธานในพิธีรับสังฆทาน สำหรับในวันนี้ ผมขอแนะนำเพิ่มเติมว่า "พระสงฆ์ที่ยังมีชีวิตอยู่" สามารถมีสังฆามติกราบอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์ ทรงรับสังฆทานได้ตลอดเวลา โดยที่มีพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระธาตุของพระอรหันต์ จำนวนอย่างน้อย 4 รูป (พระธาตุของพระอรหันต์แต่ละรูปแยกต่างหากกัน  ทั้งหมด 4 รูป) โดยอาจจะตั้งผอบพระเจดีย์ประดิษฐานไว้ แล้วโยงสายสิญจ์ทอดผ้ารับประเคนหรือบาตร หรือตู้รับบริจาค เพื่อให้ทายกทายิกาถวายสังฆทาน หรือจะหล่อพระพุทธรูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และหล่อรูปพระอรหันตสาวก บรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ จำนวน 4 องค์ เป็นอย่างน้อย แล้วประดิษฐานจัดเรียงอันดับ เพื่อให้ทายกทายิกา มาถวายสังฆทานกับท่าน โดยจะต้องเผดียงพระสงฆ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เพื่อประชุมลงมติกราบอาราธนาพระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์ด้วย ส่วนพระสงฆ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ จะนั่งอยู่ในพิธีด้วยหรือไม่ก็ได้ครับ แต่ถ้ามีพระภิกษุที่ยังมีชีวิตอยู่ร่วมพิธีด้วยก็น่าจะดีกว่า โดยอาจเป็นผู้แทนสงฆ์ หรือคณะสงฆ์ก็ได้ครับ

สำหรับทานที่ทายกทายิกาถวายมา ก็ต้องตกเป็นของสงฆ์ โดยต้องกราบทูล/กราบเรียนถามพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุของพระอรหันต์ ว่าจะทรงมีมติแบ่งสรรของสงฆ์อย่างไรครับ ดังนี้แล้วก็จะได้บุญมาก จากการทำบุญสังฆทาน ราวกับได้ทำกับพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ครับ ซึ่งผมขอเน้นว่า จะต้องเป็นพระธาตุของพระอรหันต์เท่านั้น ส่วนพระธาตุของพระอริยบุคคลอันดับรองๆ ลงมา น่าจะยังไม่เหมาะสมที่จะรับสังฆทานได้ เพราะบางองค์เปลี่ยนภพภูมิแล้ว พ้นจากการเป็นภิกษุไปแล้ว เช่นไปเกิดเป็นเทพบุตร หรือพระพรหม จึงไม่สามารถนับเป็นภิกษุที่สามารถเผดียงขึ้นเป็นสงฆ์ได้ครับ ดังฉะนี้แล.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


Q&A

Q: มีคำถามประมาณว่า การทำบุญกับพระสงฆ์ในรูปลักษณ์ของพระธาตุอรหันต์ กับผู้ทรงวิชชา อย่างไหนจะได้บุญมากกว่ากัน?

A:  คำตอบคือ โดย "สิทธิ์" แล้ว สังฆทานพระอรหันต์มักจะได้บุญที่มี "ธาตุ" และ “ผัง” สมบูรณ์แบบมากกว่าครับ ในขณะที่การทำบุญกับผู้ทรงวิชชา มักจะได้สิทธิ์แบบยังไม่สมบูรณ์ แต่ไม่เสมอไป โดยเฉพาะผู้ทรงวิชชาที่ “โยกวงศ์ โยงศักดิ์ ย้ายสิทธิ์” ไม่ขึ้นตรงต่อพระพุทธเจ้าในพุทธันดรปัจจุบัน ซึ่งทรงเป็นพระศาสดาเจ้าของพระศาสนา อุปมาเหมือนเราทำงานให้ห้างสรรพสินค้า แล้วได้รับบรรจุให้เป็นพนักงานในแผนกนาฬิกา มีพระศาสดาเป็นหัวหน้าแผนก แต่เราอยากจะหาโอกาสอื่น ก็แอบไปทำงานให้แผนกเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือดีไม่ดี ก็ไปตั้งแผนกเอง เพราะอยากมีอิสระ ก็ตั้งแผนกขายเครื่องสำอาง แต่โดยทะเบียนพนักงานแล้ว ชื่อเราสังกัดอยู่กับแผนกนาฬิกา หัวหน้าแผนกเป็นผู้รับเราเข้าทำงาน แม้จะขายสินค้าให้แผนกเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องสำอางได้มาก แต่ตามทะเบียนแล้ว ผลงานไม่ได้นับเป็นผลงานเรา ยอดขายที่ขายได้ในแผนกนาฬิกาจึงไม่มี ส่วนแผนกอื่นที่เราไปขายให้ ก็ไม่นับยอดขายให้ คล้ายๆ อย่างนี้ครับ ยกเว้นแต่ผู้ทรงวิชชาที่เป็นพระอริยบุคคลแล้ว อานิสงส์จะยิ่งดีกว่าพระอริยบุคคลที่ไม่มีวิชชา แต่ก็ขึ้นอยู่กับวิชชาที่ท่านใช้ บางท่านผูกเงื่อนวิชชาไว้กับตนเอง ประมูลบุญเอง จ่ายบุญเอง ไม่ขึ้นตรงต่อพระพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของพระศาสนา แม้แต่เรื่องการทำบุญสังฆทาน ก็เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรง “สิทธิ์” ไว้ คือทรงกำหนดว่าต้องทำกับ “สงฆ์” ที่มี 4 รูปเป็นอย่างน้อย ถ้าทำได้ตามที่สิทธิ์ไว้นี้ ก็จะ “ศักดิ์สิทธิ์” คือได้บุญมากตามพระพุทธเจ้าทรงกำหนด หรืออุปมาเหมือนพระพุทธเจ้าท่านทรง “สิทธิ์” สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ไว้ว่าหากบุคคลไปแสวงบุญด้วยศรัทธาเลื่อมใส ก็จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ ในขณะที่ “เส้นทางมหาปูชนียาจารย์” ของหลวงปู่นั้น หลวงปู่ไม่ได้ “สิทธิ์” เอาไว้ในวิชชา คือไม่มีการรับรองว่า ไปแสวงบุญแล้วจะไม่ไปอบายครับ.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง บูชากายสิทธิ์ได้บุญหรือไม่?

เรื่องกายสิทธิ์ เป็นเรื่องสำคัญมากในสายวิชชาครับ ดังที่ผมอธิบายไว้ในบทความอื่นๆ แล้วผมก็แนะนำด้วยว่า ให้บูชากายสิทธิ์ด้วยของหอม แล้วกายเราจะมีกลิ่นกายหอม มีบางท่านอาจสงสัยว่า อย่างนั้นก็เท่ากับว่า ทำบุญกับกายสิทธิ์แล้วได้บุญใช่ไหม? คำตอบก็คือ การทำบุญกับกายสิทธิ์นั้น เหมือนการทำบุญกับเทวดาครับ ไม่ว่าจะบูชาด้วยประทีปโคมไฟ ดอกไม้ของหอม หรือจัดสถานที่ประดิษฐานอย่างสวยงาม เป็นบุษบก เป็นภาชนะสวยๆ รองรับ แต่บุญที่ได้จากการบูชากายสิทธิ์อาจจะ "เบา" เมื่อเทียบกับทำบุญกับ "มนุษย์ผู้ทรงวิชชา" ที่มีระดับชั้นในโลกวิชชาเท่าๆ กัน

อุปมาการทำบุญกับกายสิทธิ์ เหมือนการทำบุญบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าครับ เพราะภายในพระบรมสารีริกธาตุก็มี "กายธรรมสิทธิ์" คือส่วนอันเป็นทิพย์ของพระพุทธเจ้าสถิตอยู่ข้างใน แต่ผมไม่ขอเรียกว่า “กายสิทธิ์” นะครับ เพราะกายในพระบรมสารีริกธาตุเป็น "ภาคธรรม" ในขณะที่กายสิทธิ์โดยมาก เมื่อบรรลุขั้นสูงแล้ว มักอยู่ใน “ภาคจักรฯ” ยกเว้นในบางกรณีซึ่งกายธรรมสิทธิ์ท่านรับวิชชาจากผู้ทรงวิชชาที่ครอบครองอยู่

เรื่องกายธรรมสิทธิ์นั้น อุปมาเหมือนพระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แล้วทรงแสดงพระอภิธรรม จากนั้นจึงทรงปาฏิหาริย์กายเพื่อแสดงธรรมต่อ ในขณะที่กายดั้งเดิมทรงเสด็จออกไปบิณฑบาตยังทวีปอื่น กายที่ปาฏิหาริย์ออกมา ก็อุปมาคล้าย "กายธรรรมสิทธิ์" นั่นล่ะครับ จะว่าไม่ใช่พระพุทธเจ้าองค์จริงก็ไม่พึงกล่าวเช่นนั้น และถ้าทำบุญกับท่านด้วยความเคารพเลื่อมใสศรัทธา ก็ได้อานิสงส์มากเหมือนกันครับ ส่วนกายสิทธิ์อื่นๆ ที่จะทำบุญด้วยแล้วได้อานิสงส์มาก ก็ควรจะเป็นกายสิทธิ์ชั้นสูง อย่าง "กายสิทธิ์พระพุทธจักรพรรดิ" คือกายสิทธิ์ที่ทรงพุทธคุณด้วยครับ ซึ่งเครื่องธาตุเครื่องธรรม ท่านประมวลกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมแล้ว ของผู้บูชาแล้ว ก็ยังคำนวณจ่ายบุญและอานิสงส์ให้ ในทำนองเดียวกันกับที่ทำกับพระธาตุของพระอรหันต์ และ/หรือ พระอริยสาวกครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง "เล่นรัตนะ"

วันก่อนผมจั่วหัวเรื่องไว้ว่า ใครประสงค์จะมีท่วงท่าเดินที่สวยงามเหมือนนายแบบ นางแบบ มีกำลังวังชาดี ในการเดินเหิน และปรับจังหวะก้าวเดินให้ช้าลงหรือเร็วขึ้น ตามใจชอบ ก็ต้องใส่ "ม้าแก้ว" เข้าไปในตัวครับ ซึ่งม้าแก้วนั้น ผมหมายถึง "ม้าแก้วกายสิทธิ์" ซึ่งท่านเป็นเสมือน “กายโฮโลแกรม” ที่ทำงานด้วยระบบไฟฟ้า เมื่อใส่ไปในตัวแล้ว ก็เข้าไปคุมยนตร์ไฟฟ้าในตัวกายมนุษย์ ช่วยปรับท่วงท่า และพละกำลังขาได้ดี โดยม้าแก้วกายสิทธิ์ ก็มีหลายประเภท หรือจะเรียกว่าสายพันธุ์ก็ได้ มีทั้งม้าสำหรับหญิง ม้าสำหรับชาย ม้าป่า ม้าผู้ดี ม้าแข่ง ม้ามีสกุลครับ

หากท่านสนใจเรื่องนี้ ผมขอให้ลองดูการเดินของตนเอง ว่าผิดปกติหรือไม่ เช่นเวลาก้าวเดิน เท้าสองข้างจะ “แบะออก” หรือบางท่านก้าวเดินแล้ว เท้าสองข้าง “เหวี่ยงเข้า” ช่องว่างด้านหน้า ระหว่างขาสองข้าง โดยเฉพาะท่านที่มีปัญหาในการเดิน สามารถสังเกตได้จากพื้นรองเท้า ถ้าเดินดีตามปกติ พื้นรองเท้าจะสึกพอๆ กัน ตลอดทั่วฝ่าเท้า แต่ถ้าท่าเดินไม่ดี หรือขาสองข้างยาวไม่เท่ากัน พื้นรองเท้าจะสึก ณ จุดใดจุดหนึ่งมากเกินไป เช่นเดินเอาส้นเท้าลง พื้นรองเท้าบริเวณส้น จะสึกมาก ถ้าเดินเอาบริเวณนิ้วเท้าจิกพื้น พื้นหัวรองเท้าจะสึกมาก ถ้าเดินเท้าแบะออก พื้นรองเท้าด้านข้างจะสึกมาก ถ้าท่านมีปัญหาเหล่านี้ ก็เท่ากับว่า ท่านอาจจำเป็นต้องใช้ม้าแก้วกายสิทธิ์ ในการปรับท่าเดินให้โดยอัตโนมัติครับ ส่วนวิธีการได้มาซึ่งม้าแก้วกายสิทธิ์นั้น ก็มีการหาได้หลายวิธี ลองปรึกษาผู้ทรงวิชชาดูนะครับ

สำหรับรัตนะกายสิทธิ์อื่นๆ ผมได้พอเกริ่นไว้บ้างแล้วหลายอย่าง เช่น "จักรแก้วทิพย์" ใส่ในตัว แล้วเจ้าตัวก็จะดุๆ หน่อย จะรู้สึกมีพละอำนาจ คือใจมันมีอำนาจขึ้นมา ไม่ค่อยยอมให้ใครข่ม หรือมาสั่งครับ

ส่วนแก้วมณีกายสิทธิ์ ก็มีหลายประเภท คนที่ "เล่นแก้ว" ก็จะทราบดี ปกติแล้ว แก้วมณีจะช่วยเพิ่มกำลังญาณทัสสนะ กอปรเป็นความรอบรู้ ความเข้าใจที่ดี ชัดเจน กระจ่างแจ้งดีกว่าเดิม แต่แก้วอื่นๆ อย่างแก้วเรียกลม เรียกฝน เรียกเมฆ แก้วรัศมี ก็มีอีกไปนานัปการ

ขุนพลแก้วกายสิทธิ์ ใส่ในตัวแล้วจะมีคุณ เป็น “วสี” ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล สามารถรวบรวมสมัครพรรคพวก จะเป็นที่ดึงดูดให้มีบริษัทบริวารพวกพ้องอยู่ในกำกับการดี

ขุนคลังแก้วกายสิทธิ์ ใส่ในตัวแล้ว จะเกิดความชำนาญ คือเก่งในการแสวงหา และใช้ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์ รู้จักหา รู้จักใช้ คล่องแคล่วในธุรกิจ

นางแก้วกายสิทธิ์ ใส่ในตัวแล้ว จะทำให้มีอัธยาศัยในการช่างเอาอกเอาใจ ดูแลใส่ใจผู้อื่น เก่งเรื่องวัฒนธรรม ศิลปะ ดนตรี การขับร้อง เต้นรำ เรื่องสวยๆ งามๆ ต่างๆ

ช้างแก้วกายสิทธิ์ ใส่ในตัวแล้ว จะมีพละกำลังกายดีขึ้น มีความโอบอ้อมอารี ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นเป็นอันดี ส่วนม้าแก้วกายสิทธิ์ ก็เป็นตามที่จั่วหัวเรื่องไว้

ทั้งนี้ รัตนะ 7 มีหลายเผ่าพงษ์ วงศ์ตระกูล มีศักยภาพ อานุภาพ เด่นด้อยในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน เพราะมาจากต่างสี ต่างวงศ์ ต่างองค์ ต่างสาย มีคุณภาพ และประสิทธิภาพต่างกันไป ขึ้นอยู่กับภพผู้เป็นเจ้าของท่านสร้างมา เช่นนางแก้วแดง จะเหมือนผู้หญิงบู๊หน่อย พร้อมลุยทุกเมื่อ ในขณะที่นางแก้วทอง จะเป็นสุขุมาลชาติ แสดงออกอย่างสุภาพสง่างามกว่า ซึ่งแต่ละสีก็ปรุงสร้างขึ้นตามความถนัด และตามอรรถรสแห่งวิชชาของตนครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101. org


านาสาระ: เรื่อง การใช้ดวงตรา สุริยะ, จันทรา และดารา

น่าสนใจมากเลยนะครับว่า ในจักรวาลหนึ่งๆ จะมีโลก และดวงดาวต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดวงสุริยะ หรือพระอาทิตย์ ดวงจันทรา หรือพระจันทร์ และดวงดารา ดาวต่างๆ ภายในเขตจักรวาล ซึ่งท่านก็ล้วนมี “ภพ” ประจำคอยส่งกำลังทั้งในวิชชา และโลกภายนอก อย่างเป็นระบบระเบียบ และทั้งดวงสุริยะ, จันทรา และดารา ก็มีผู้เลี้ยงผู้รักษาด้วย ซึ่งมนุษย์ก็รู้ถึงความสำคัญ และนำมาจัดสร้างเป็นดวงตราสัญลักษณ์ธงชาติบ้าง, เครื่องอิสริยยศบ้าง, ดวงตราประกาศิต (โลโก้) บ้าง และอื่นๆ

มนุษย์ทั้งหลายเอง ก็รู้อยู่ว่า ทั้งสุริยะ, จันทรา, และดารา ต่างก็มีความสำคัญมากน้อย ตามลำดับ คือพระอาทิตย์มีคุณมาก รองลงมาคือพระจันทร์ และเหล่าดวงดาว เมื่อถึงคราวจะออกแบบธงชาติ, ตราเครื่องอิสริยยศ หรือออกแบบโลโก้ ภพผู้เลี้ยงผู้รักษาก็จะส่งวิชชาให้ “นายช่าง” ในเมืองมนุษย์เป็นผู้รังสรรค์ กลายเป็นผลงานตามที่เราท่านได้เห็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งหลายท่านอาจคิดว่า สุริยะจะดีที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งสุริยะ, จันทรา และดารา ให้คุณดีเด่นต่างกันไป ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นสุริยะจึงจะดีครับ ทว่าควรจะอยู่ในรูปของธงชาติ, เครื่องอิสริยยศ หรือโลโก้ ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ที่ทำให้ “ภาชนะ” สมกันกับ “ฝาปิด” หมายความว่า ผู้ที่จะรองรับดวงตรานั้น ก็ต้องมีกำลังมากพอ มิฉะนั้นแล้วก็จะไม่สามารถทรงไว้ซึ่งฐานะสภาพแห่งดวงสุริยะ, จันทรา และดารา เอาไว้ได้นาน เพราะกำลังเลี้ยงรักษาของดวงสุริยะ มักจะสิ้นเปลืองมากกว่า จันทรา และดารา อุปมาเหมือนไฟสปอตไลท์ส่องสว่าง ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่ใช้พลังงานกระแสไฟฟ้ามากน้อยไม่เท่ากัน

การที่ธงชาติ, ดวงตราอิสริยยศ, หรือโลโก้ จะเป็นดวงสุริยะ, จันทรา, หรือดารานั้น ผู้ตราต้องคำนึงถึงว่า เมื่อตราขึ้นแล้ว สัญลักษณ์นั้นจะมีผู้เลี้ยงผู้รักษาประจำอยู่ และดวงสุริยะ มีปกติต้องส่งกำลังเลี้ยงมาก เพื่อรักษา “ฐานานุภาพ” ถ้าผู้เลี้ยงผู้รักษา หมดกำลังมากเกินไป ก็จะมีผลทำให้เลี้ยงรักษาไม่พอ และเป็นผลให้ดวงตรานั้น “ดับ” คือ “พ้นสมัย” หรือ “obsolete” ไปในที่สุด เหมือนราชอาณาจักรบางประเทศ ที่เคยมีสถาบันพระมหากษัตริย์ มีเครื่องราชฯ เลอค่า หลายชั้น หลายขั้น แต่ในที่สุด สถาบันของประเทศเหล่านั้นก็ล่มสลาย เครื่องราชฯ ไม่ว่าจะเป็นตราสุริยะ, จันทรา, ดารา ก็หมด “กำลังศักดิ์” ตามไปด้วย เหลือเพียงคุณค่าทางการเก็บสะสม อยู่ในพิพิธพันธ์ ไม่มียศชั้นขั้นฐานะที่มีผลทางกฎหมายของประเทศนั้นๆ อีกต่อไป

ส่วนว่า ธงชาติ, ตราอิสริยยศ, และโลโก้ หรือประกาศิต ควรจะเป็นสุริยะ, จันทรา หรือดารา เราต้องดูกำลังของผู้ที่จะรองรับ เช่นผู้นำประเทศ และคนในประเทศ สถาบัน องค์กร หรือหน่วยงาน หรือบุคคล ที่จะรับ หรือใช้ ตราอิสริยยศ หรือโลโก้ บางคนมีกำลังน้อย (คำนึงถึง กรรม, บุญ/บาป, บารมี, กายสิทธิ์ในตัว, ยศศักดิ์, วิชาความรู้ความสามารถ, ชนชั้นวรรณะ, เทวดาประจำตระกูล, บรรพบุรุษ, เทวดาประจำตัว, รัตนะ 7 ประจำตัว, สายธาตุสายธรรม,  อำนาจตำแหน่งหน้าที่การงาน, บริษัทบริวาร, กำลังทรัพย์, รูปร่างหน้าตา, กำลังวังชา, สุขภาพ, เพศภาวะ, วิชชา และกำลังในวิชชาที่มี เช่นศักดิ์สิทธิ์ และฤทธิ์เดช เป็นอาทิ)

โดยนัยนี้ เราจะเห็นได้ว่า การจะใช้ ดวงตรา สุริยะ, จันทรา หรือดารา ต้องคำนึงถึงอะไรหลายๆ อย่าง บางคนใช้สุริยะ แล้วไปไม่ไหว ไม่สมชื่อ แต่ถ้าใช้ดารา ก็จะรู้สึกมั่นคง และ “เต็มอยู่ในใจ” มากกว่า บางคนใช้จันทรา แล้วรู้สึกสงบไป หรือ passive (เหมือนประเทศ สปป.ลาว) แต่ถ้าใช้สุริยะ จะรู้สึกมีกำลังวังชาคึกคัก หรือ active ดีกว่า (เหมือนประเทศญี่ปุ่น) บางคนใช้ดารา แล้วรู้สึกอ่อนไป ก็มาใช้จันทราดีกว่า เหมือนจะใหญ่อยู่ในที แต่ก็ยังเป็นรองสุริยะ รู้สึกกำลังดี ไม่ใหญ่ ไม่เล็ก แต่ความเด่นของจันทรากับดาราก็คนละแบบ ถ้าจะตรองดูแบบโดยรวม ส่วนใหญ่แล้วเป็นดาราจะดีกว่า เพราะเป็นกำลังที่มั่นคง เหมือนเรามีกำลังทรัพย์เยอะหลักล้านในการเลี้ยงรักษา แต่เราใช้บัตรเครดิตที่วงเงินใช้จ่ายเพียงแค่หลักหมื่น กำลังเลี้ยงรักษาจะมีเสถียรภาพดีกว่า (มีผลประมาณ 25 – 50% ของผลลัพธ์ตามจริงในเมืองมนุษย์)

ยกตัวอย่างเหมือน ธงของประเทศสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปครับ คือแทนที่จะใส่ สุริยะ หรือจันทรา ก็ใส่ดาราหลายๆ ดวง แล้วการใช้ดวงตราดารา ก็ส่งผลให้มีความโดดเด่น ไม่ด้อยไปกว่าสุริยะ และจันทราเลยครับ จึงขึ้นอยู่กับว่า เรา “mix & match” ดวงตรา กับกำลังอื่นๆ ได้ดีแค่ไหน เพราะถ้ากลายเป็น “mismatch” ก็ไม่ให้ผลดีนัก หรืออาจจะกลายเป็นผลเสียด้วยซ้ำ ถ้าจะใช้ สุริยะ หรือ จันทรา ก็ย่อมได้ แต่การใช้ตราสุริยะ ก็ต้องขยันหน่อย ทั้งผู้เลี้ยงผู้รักษา และมนุษย์ รวมถึงต้องมีกำลังพร้อมสรรพมากพอจะเป็นจะใช้ได้อย่างสมควรภายในระยะเวลาที่ยั่งยืนพอครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

 นานาสาระ: ตอน “หมวกชฎา” เรื่องใหญ่ของ กายจักรฯ

“ชฎา” ของกายในวิชชา ถือเป็นของสูง ที่ผู้ทรงวิชชาใช้สำหรับ “ประจุวิชชา และวิชา” รวมถึงบ่งชี้ถึงลำดับขั้นยศในโลกทิพย์ครับ ซึ่งชฎาเหล่านี้มีหลายประเภท หลายตระกูล หลายลักษณะ และหลายคุณสมบัติ ซึ่งชาววิชชาท่านเรียกกันว่า “หมวก” โดยที่ “ยอดหมวก” จะเป็นสัญลักษณะแห่งความทรงคุณของผู้สวมใส่ เช่น ยอดดอกบัวตูม หมายถึงความทรงธรรม ยอดดวงกลม หมายถึงความทรงสมาธิคุณ ยอดฉมวก หมายถึงความทรงคุณวุฒิ นอกจากนี้ ชฎา ยังประดับประดาไปด้วยอัญมณีสีแสงต่างๆ ซึ่งบ่งบอกถึง “สีและสายวิชชา” โดยที่ “หมวกชฎา” ตามแบบอย่างไทยที่มียอดแหลมสูง (stupa hat) ยังถือเป็นหมวกตระกูลที่ยังทรงอิทธิพลอยู่อีกด้วย ซึ่งในยุคปัจจุบัน มีปรากฏใช้เฉพาะในประเทศไทย และกัมพูชา เท่านั้น

สำหรับพระจักรฯ แล้ว ชฎาถือเป็นสัญลักษณ์แห่งศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิ ใครมีชฎาใหญ่, สูง, สวย, วิจิตร, และหนัก ถือว่ามีความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น ชฎาบางองค์มีน้ำหนักมาก เพราะประชุมวิชชาเอาไว้มาก และมีอัญมณีมาก หากใครที่ไม่ใช่เจ้าของนำไปสวมใส่ ก็จะไม่พอดี และถ้าหากผู้สวมมีธาตุน้อย ก็จะทานรับน้ำหนักชฎาเอาไว้ไม่อยู่ อาจถึงขั้น “คอทรุด” แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น พระจักรฯบางพระองค์ก็ทรงชฎาที่ไม่หวือหวา แม้จะมียศใหญ่ มีวิชชามาก เพราะพระจักรฯ ก็มีหลายอัธยาศัย เหมือนผู้ชายบางคนที่ไม่ชอบแต่งตัว

ส่วนพระองค์ธรรม ที่เดินวิชชาด้วยกายธรรม หรือธรรมกาย หากจะสูงเด่นยิ่งขึ้น ก็จะมีชฎาเรียบๆ คืออาจจะเรียกว่าหมวกก็ได้ โดยจะไม่มียอดสูงมากนัก เพราะพระองค์ธรรมส่วนใหญ่ก็ไม่ชอบแต่งเนื้อแต่งตัว เหมือนอย่างพระจักรฯ แต่ชอบความเรียบง่าย สะอาด สว่าง และมักแสดงออกกันที่ “ความงาม” ของรูปลักษณ์พระวรกาย, ยอดพระเกตุ, และความเลิศของ “เนื้อผ้า” ที่ห่มครองอยู่ ว่าใครเลิศกว่าใคร อย่างไรก็ตาม พระองค์ธรรมที่จะสวมหมวก ก็มักจะเป็น “พระธรรมราช” และ “พระพุทธราช” คือกายธรรมทรงเครื่อง ซึ่งมักจะประเสริฐกว่ากายธรรมแบบเกลี้ยงๆ แต่ไม่เสมอไป ซึ่งท่านมักจะสวมเครื่องทรงแบบพอควร ไม่ถึงกับอลังการอย่างพระจักรฯ ทั้งนี้ หมวกชฎา มักจะมาพร้อมกับเครื่องทรง คือ พอกายในวิชชาสวมหมวกชฎา เครื่องทรงก็จะปรากฏขึ้นอย่างครบครัน ตามความสมฐานะแห่งหมวกชฎานั้น

ไม่ว่าจะเป็นพระจักรฯ หรือพระองค์ธรรม การได้มาซึ่ง “ชฎา” ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกว่าการ “บำเพ็ญ” ของกายมนุษย์ตามธรรมดาจะเอิบอิ่มกำซาบเข้าไปถึงกายภายใน ก็ไม่ใช่เรื่องพอดีพอร้าย เหมือนเครื่องกรองน้ำ ที่เราต่อท่อส่งน้ำเข้าไปในเครื่องปริมาณมาก แต่เมื่อผ่านไส้กรองเป็นชั้น เข้าไปถึงด้านในสุดแล้วกรองออกมาเป็นน้ำสะอาด ก็ได้น้ำที่กรองแล้วเหลือเป็นสัดส่วนเพียงนิดเดียว ฉันใดก็ฉันนั้น การบำเพ็ญที่เริ่มจากกายมนุษย์ ส่งอานิสงส์ผ่านเป็นชั้นๆ กระทั่งไปถึงกายธรรม หรือกายจักรฯ ที่อยู่ชั้นในสุด ก็จะก่อเกิดขึ้นไม่มากเหมือนอย่างกายทิพย์ ที่ทำบุญปุ๊บ ก็ได้ปั๊บ

สำหรับยุคที่มีผู้ทรงวิชชา ท่านสามารถใช้วิชชา สร้างผลานิสงส์ในวิชชาได้ง่ายกว่าการบำเพ็ญตามปกติ แต่การบำเพ็ญตามปกติจะมีกำลังบารมีธาตุที่หนักแน่นกว่ารองรับอยู่ ส่วนการทำด้วยวิชชาล้วนๆ อาจจะหนักเบาไปตามนั้น และหลายๆ ครั้ง การทำด้วยวิชชาก็สิ้นเปลืองวิชชาหรือเปลืองบุญบารมีอยู่มากน้อย ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง “มณี” ซึ่งผู้ทรงวิชชาจะประกอบวิชชาสี เพื่อให้ได้มณีประดับกายในวิชชาก็ได้ แต่หากทำแบบบำเพ็ญทางโลก ก็เพียงแต่นำอัญมณีสีที่ชำระในญาณให้สะอาดแล้ว ไปทำบุญกับผู้ทรงวิชชา โดยเฉพาะที่ทำแบบถูกธาตุถูกธรรม เช่น นำเพชรขาวที่ชำระส่วนละเอียดให้สะอาดแล้ว ไปถวายผู้ทรงวิชชาฝ่ายภาคขาว ก็จะได้อานิสงส์เป็น “เพชรในวิชชา” ประดับเต็มกาย และในทำนองเดียวกันกับสีอื่น ซึ่งหากทำบุญแบบนี้มากๆ ก็สามารถตรัส “มณีลังการ” ได้ แต่ต้องใช้จ่ายทรัพย์ และเดินงาน ซึ่งผู้ทรงวิชชาไม่นิยมทำกัน แต่จะทำในวิชชา ซึ่งท่านเห็นว่าสะดวกกว่าสำหรับท่าน แต่ก็ได้ “มณีลังการ” เหมือนกัน

ฉันใดก็ฉันนั้น การได้มาซึ่ง “ชฎา” ไม่ว่าจะสำหรับพระจักรฯ หรือพระองค์ธรรม โดยเฉพาะท่านที่เป็นผู้มาใหม่ หรือเป็นศิษย์ใหม่ในสายวิชชา อาจจะมีเพียงแค่ “รัดเกล้า” หรือ “ศิราภรณ์” เล็กๆ น้อย ถ้าอยากจะมีหน้ามีตากับเขาบ้าง เวลาออกงาน “วิชชาสโมสร” หรือเข้าประชุมโลกวิชชา หรือประชุมใหญ่เทวสภา ผมก็เคยแนะนำแล้วว่ามีทางลัด ในการได้เครื่องทรง และรังสี นั่นก็คือการ ทำบุญด้วยอัญมณี แบบถูกธาตุถูกธรรม หรืออีกวิธีก็คือ “หยิบสมบัติผู้เลี้ยง” จากแหวนเพชรพลอย และแหวนนพเก้าที่สลักชื่อบุคคลไว้ด้านในของพื้นผิวแหวน เป็นอาทิ แต่หมวกก็อาจจะยังไม่ขึ้น

ในบทความนี้จึงขอแนะนำต่อไปว่า ท่านใดที่ประสงค์จะได้ชฎา หรือหมวก สำหรับกายจักรฯ และ/หรือ กายธรรม ก็มีทางลัดอีกวิธี คือขอจากครูบาอาจารย์ ให้ท่านชะลอลงมาให้ แต่ต้องจ่ายธาตุบุญ ซึ่งหมวกก็ต้องเลือกแบบพอดีๆ พอเหมาะกับกำลังวิชชา หรือวิชา หรือสิ่งอันพึงมีอยู่ เพราะถ้าหมวกดีเกินหรือใหญ่ไป ก็ใส่แล้วทรงไว้ไม่ได้ หรือหลวมเกินไปครับ

สำหรับท่านที่ไม่สะดวกจะขอหมวกจากครูบาอาจารย์ อาจจะเป็นเพราะสำนักของท่านมีขนาดใหญ่เล็ก แล้วครูบาอาจารย์ไม่สามารถเข้ามาดูแลให้ได้เป็นรายบุคคลอย่างทั่วถึง หรือท่านไม่มีครูวิชชาประจำตัวที่คุ้นเคยโดยเฉพาะ แต่ไปเรื่อยๆ หลายสำนัก ก็ยังมีทางลัดอีกวิธี คือการ “ครอบครู” การครอบครูนั้นเป็นธรรมเนียมที่มีวัตถุประสงค์ต่างๆ กัน คือมีทั้งการครอบเศียรครูองค์เทพ เทวา อย่างพระอิศวร, พระพิฆเนศ, พระราม, พระลักษณ์, พระฤาษี และอื่นๆ แต่การครอบครูเพื่อให้ได้มาซึ่ง ชฎา หรือ หมวก สำหรับใช้ในโลกวิชชา ควรได้จากการครอบครูของสำนักองค์เทพ ซึ่งท่านสามารถ “หยิบ” ให้ได้จากโลกทิพย์ โดยเฉพาะ “ภพหมวก” ซึ่งท่านผลิตหมวกขาย หลากหลายแบบ และมีหลายภพให้เลือก ส่วนการครอบครูของคณะศิลปะการแสดง, คณะนาฏศิลป์, คณะช่าง, คณะศิลปากร และคณะโขน ไม่พึงทำ เพราะเวลาท่านจัดพิธีครอบครู ท่านจะเตรียมตัวรับศิษย์ เพื่อส่งวิชา แล้วถ้าเราไปครอบเพื่อขอหมวก มันจะผิดวัตถุประสงค์ของงานพิธี ทำให้งานของท่านสะดุดก็เป็นได้ครับ

การครอบครู เพื่อขอชฎา หรือหมวกสำหรับใช้ในโลกวิชชา ควรเป็น “ชฎาพระ” และ “ชฎานาง” ที่ไม่มีส่วนของใบหน้า ที่บ่งบอกว่าเป็นเทพองค์ใด เพราะถ้าเราครอบเศียรพระองค์เทพ ปกติแล้วจะเป็นการนับเข้าเป็นภาคหรือเป็นปาง หรือเป็นศิษย์ของท่าน ซึ่งท่านก็พอหยิบหมวกชฎาให้ได้ ถ้าจะเอา แต่ในทางวิชชาแล้วอาจเป็นคดีความกันในภายหลัง ว่าเราครอบแล้ว ต้องเป็นศิษย์ท่าน ทำนองนี้ครับ ดังนั้น การครอบครู เพื่อขอชฎา หรือหมวก ควรจะใช้เฉพาะ ชฎาพระ ชฎานาง ที่ไม่มีส่วนที่เป็นใบหน้า ยกเว้นแต่เราอยากจะขอครอบครูด้วยจริงๆ รับครูด้วยเลย ก็มีส่วนดี คือท่านจะช่วยเรา แต่ก็ต้องทำตามระเบียบของท่านครับ

การครอบครู หรือในประเด็นนี้ผมขอเรียกว่า “ครอบหมวก” ควรเรียนให้ครูประจำสำนักทราบว่า เราประสงค์จะครอบชฎาพระ หรือชฎานาง เท่านั้น และครอบเพื่อขอซื้อ “หมวกวิชชา” โดยเรียนถามท่านก่อนว่า มีหมวกแบบใดให้เลือกบ้าง ราคาเท่าใด (ราคาธาตุบุญ) เมื่อตกลงกันแล้ว ค่อยนัดหมายวันเวลา เพื่อทำพิธีครอบหมวก แล้วก็จ่ายค่าครอบ เป็นค่าเรียกหมวก และค่าประกอบพิธี ซึ่งต้องจ่ายทั้งองค์เทพ และอาจารย์ประจำสำนักผู้ครอบ ตามระเบียบปฏิบัติ ซึ่งการติดต่ออาจจะทำในวิชชา หรืออธิษฐานที่หน้าโต๊ะบูชา หรือเรียนให้อาจารย์ประจำสำนักทราบก็ได้ครับ ซึ่งโดยปกติแล้ว ขณะที่อาจารย์กำลังครอบอยู่ องค์เทพท่านก็จะหยิบหมวกชฎาของทิพย์มาสวมให้กายในวิชชาของเรา ณ ตอนนั้น เมื่อได้หมวกมาแล้ว เราจะนำมาแต่งเติมเสริมเพิ่มอย่างไรก็ได้ อาจจะประดับมณี หรือเติมวิชชา เติมวิชา เติมขั้นหมวก เติมยอดหมวก ก็ได้ครับ ดังฉะนี้.

หมายเหตุ: ส่วนว่ามีที่ใดบ้างที่รับครอบหมวกชฎา ให้ลองสอบถามแวดวง Meditation101 ดูครับ ผมได้ให้ข้อมูลไว้บ้างแล้ว แต่ไม่สามารถนำมาแจ้งได้ในที่นี้ครับ.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

28 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: เรื่อง พระของขวัญ “พระอโรคยาพุทธเจ้า

สนุกดีนะครับ ที่ผมได้มาแบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ในโลกแห่งวิชชากับท่านผู้อ่าน โดยที่ผมเองก็ลองผิดลองถูกมามากพอ แล้วยิ่งได้ลาออกจากสำนักเดิมมา เพื่อท่องโลกกว้าง จึงได้รู้ว่า ในโลกของผู้ทรงวิชชา ยังมีอะไรมากไปกว่าสังคมเฉพาะตัว และในวันนี้ ผมขอแบ่งปันความรู้เรื่อง “พระอโรคยาพุทธเจ้า” เพื่อการแก้โรค เพราะหากใครมีรัศมีแค่ไหน มีสมบัติเพียงใด วิชชามากขนาดไหน แต่ถ้าเจ็บป่วยออดๆแอดๆ มันก็ไม่ไหวเหมือนกันใช่ไหมครับ

เท้าความไปถึงเรื่อง “กายสิทธิ์รักษาโรค” ที่ผมได้เคยโพสต์ไว้นานแล้ว คือกายสิทธิ์ที่มีเครื่องและวิชชาที่ถูกออกแบบมาเพื่อการรักษาโรค (กายมนุษย์ของผู้ทรงวิชชาทำวิชชาแก้โรคแล้วเสี่ยงต่อการติดโรค แต่กายสิทธิ์ไม่ติดโรคครับ) ซึ่งในโลกของเรา ก็มีกายสิทธิ์ประเภทนี้อยู่มากมายหลายตระกูล กระจัดกระจายกันอยู่ทั่วโลก เมื่อได้กายสิทธิ์มาแล้ว ก็ต้องกลั่นทำความสะอาด แล้วเติมวิชชาให้ จึงค่อยฝึกทำวิชชารักษาโรคตามแบบแต่ละสายวิชชา ไม่ว่าจะเป็นกายธรรม หรือกายจักรฯ ครับ

ผมได้เคยเกริ่นเสนอไว้แล้วว่า สำนักวิชชา ที่เคยได้กายสิทธิ์รักษาโรคไป สามารถซื้อกายสิทธิ์ และวิชชาของกายสิทธิ์ จากภพผู้เป็นเจ้าของ แล้วประชุมตั้งสายกายสิทธิ์ เพื่อเพิ่มจำนวนกายสิทธิ์รักษาโรคให้มีมากพอต่อความต้องการของลูกศิษย์ที่มีอยู่ทั่วโลก โดยอาจจะผลิตกายสิทธิ์เอง หรือจ้างวาน “ภพนายช่าง” ช่วยผลิตให้

ในขณะที่ใครหลายคนอาจจะรอคอยสิ่งนี้เกิดขึ้น และต้องอดทนต่อความเจ็บป่วย ท่านรู้หรือไม่ว่า สำนักวิชชาขึ้นชื่อ อย่างวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มีพระของขวัญที่มีวิชชาด้านการรักษาโรคโดยเฉพาะ ซึ่งผมเรียกท่านว่า “พระอโรคยาพุทธเจ้า” พระรุ่นนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการที่ระบุไว้บนตลับใส่พระว่า “พระของขวัญวัดปากน้ำ รุ่น ศิริราช ๑๒๐ ปี มอบให้บุคลาการชาวศิริราช ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔” ซึ่งพระรุ่นนี้เป็นพระที่มีอิทธิคุณด้านการรักษาโรค สามารถเดินวิชชาเก็บโรค แก้โรค ได้ดีมากกว่าพระของขวัญรุ่นอื่น โดยทั่วไป (แต่ต้องควบคู่ไปกับการรับประทานยาและรักษาในส่วนหยาบ ซึ่งถือว่าเป็นวิชชาที่ส่งมาช่วยเช่นกัน) อีกทั้งยังเป็น “ภาคธรรม” ที่คงความสะอาดบริสุทธิ์ ตามแบบอย่างของสายธาตุสายธรรมภาคขาว ฝ่ายสัมมาทิฐิ

เรื่องกายสิทธิ์แก้โรคนั้น ผู้ทรงวิชชาท่านดูกันตรงที่ “วิชชาแก้โรค” ว่ารักษาได้กี่โรค เช่น 6,000 โรค 8,000 โรค 12,000 โรค ใครมีวิชชาแก้โรคเยอะ ก็เป็นที่นับถือมากกว่า ในทาง “หมอวิชชา” การจะได้วิชชาแก้โรค ผู้ทรงวิชชาก็ต้องรู้จักการ “ค้นวิชชา” เพื่อให้มีวิชชามากพอ ที่จะแก้โรคซึ่งมีอยู่หลากหลายชนิด บางโรคเป็นโรคสมัยโบราณ อย่างโรคบิด หรือโรคทันสมัยรุ่นใหม่ อย่าง โควิด-19 เจ้าของสายวิชชา ก็จะต้องค้นวิชชาอยู่เรื่อยๆ ว่ามีโรคอะไรใหม่ๆ ที่ต้องหาวิชชามารักษาให้ได้

ปัจจุบันนี้วิทยาการวิชชาในการรักษาโรคของวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ก็พัฒนาไปไกลมากกว่ายุคก่อนๆ เชียวครับ ไม่ได้หมายความว่าสร้างพระของขวัญในปี พ.ศ. 2554 แล้ววิชชาจะจบแค่นั้น เพราะเจ้าของสายวิชชาท่านจะเติมวิชชาลงมาเรื่อยๆ เป็นระยะๆ เป็นการปรับให้ทันสมัย คืออัพเดทโปรแกรมวิชชาให้กับพระของขวัญรุ่นที่ท่านรับผิดชอบอยู่ ท่านใดประสงค์จะได้พระของขวัญมาไว้เดินวิชชาแก้โรคบ้าง ลองดูในเว็บลิงค์ที่ให้ไว้นะครับ ส่วน “ธาตุบุญ” ที่ต้องจ่ายเป็นค่ารักษา ก็ตามแต่เจ้าของสายวิชชาท่านจะกำหนดครับ แต่ถ้าเป็นบุคลากร หรือผู้ที่บริจาคให้โรงพยาบาลศิริราชแล้วได้พระของขวัญมา ก็จะมี “สิทธิ์” โดยชอบอยู่ในองค์พระของขวัญ ซึ่งจะมีผลในทางวิชชาครับ ดังฉะนี้.

ดูภาพพระของขวัญได้ที่ https://www.si.mahidol.ac.th/Th/activitydetail.asp?n_id=1924

หรือ Search เพิ่มเติมใน Google โดยใส่คำว่า “พระของขวัญวัดปากน้ำ รุ่นศิริราช”

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ปกิณกะ ตอน หยิบเครื่องทรงอัญมณี และได้มณีรังสี

บทความของเรานั้นมีความน่าสนใจ เหมือนรับประทานไวตามินอาหารเสริมที่ดีต่อใจใช่ไหมครับ ตอนก่อนผมแนะนำเรื่อง “ปุษยรังสี” ที่ได้จากการ “หยิบดอกไม้” ก็เลยขอเสริมเพิ่มอีกปริเฉท นั่นก็คือ “ทางลัด” วิธีการ “หยิบเครื่องทรงมณี” และได้ “มณีรังสี” แบบไม่เปลืองวิชชาครับ ท่านใดที่มีเครื่องประดับอัญมณี ไม่ต้องนำเพชรพลอยของท่านไปยิงเลเซอร์สลักชื่อนะครับ ผมเคยแนะนำว่า ถ้ามีใบรับรอง ownership คือกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ จากร้านเครื่องเพชรเครื่องพลอย อย่าง คาร์เทีย และคริสตี้ เราก็สามารถหยิบสมบัติผู้เลี้ยงออกมาได้

สำหรับบทความนี้เป็นการหยิบเครื่องประดับทิพย์ออกมา พร้อมมณีรังสีครับ สามารถทำได้ในกรณีที่ เครื่องประดับอัญมณี มีชื่อและนามสกุล ของบุคคลสลักเอาไว้ อย่างเช่นสร้อยเลสข้อมือทองคำประดับอัญมณี หรือแหวนนพเก้า แหวนเพชร แหวนพลอย ต่างๆ ที่นิยมสลักชื่อนามสกุลบุคคลเอาไว้ที่พื้นผิวด้านในของวงแหวน เราก็สามารถหยิบสมบัติผู้เลี้ยงออกมาได้ แล้วถ้าประกอบวิชชาเป็น ก็จะกลายเป็นเครื่องประดับทิพย์ของกายในวิชชา ปกติแล้ว กายในวิชชาได้เครื่องประดับไม่ง่ายนัก ถ้าทำด้วยวิชชา หรือทำแบบทำบุญ เหมือนการ “ตกผลึก” ของหินควอตซ์ต่างๆ ที่ใช้เวลานานมากกว่าสสารจะแข็งตัวกลายเป็นหิน แล้วมีส่วนที่มีคุณภาพดีพอจะใช้ได้ อยู่ในเนื้อก้อนควอทซ์ ฉันใดก็ฉันนั้น กว่ากายในวิชชาจะแกร่งกล้า ประดับประดา กายมนุษย์ก็ต้องบำเพ็ญวิชชา บำเพ็ญบุญงามความดี ตั้งเท่าไรต่อเท่าไร เพื่อให้แหวนมณีขึ้นสักวง แต่เครื่องประดับของกายในวิชชามักจะ “ส่งฤทธิ์ให้มีอานุภาพ” และ “มีวิชชาประจุอยู่” ครับ สามารถเดินวิชชาประกอบได้ ผู้ทรงวิชชาท่านจึงมักชอบใจกัน สามารถทำให้ “กายธรรม” กลายเป็น “กายพุทธราช” คือกายธรรมที่มีเครื่องประดับ เหนือชั้นกว่ากายธรรมทั่วไปในบางแง่มุม) และกอปรเป็น “มณีรังสี” ได้เช่นกันครับ

มณีรังสีนั้นก็เป็นเฉดสีคล้ายปุษยรังสีครับ เพียงแต่รังสีของมณีจะมีความเข้มข้นของลำแสงและเป็นลำแสงที่มีอานุภาพแลดูสดใสเด่นชัดมากกว่า ส่วนปุษยรังสี รัศมีสีดอกไม้ จะให้ความรู้สึกสดชื่นแจ่มใส น่าชื่นใจมากกว่าครับ ชอบแบบไหน ก็ลองเลือกดูนะครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ปกิณกะ เรื่อง “หยิบดอกไม้”

สนุกกับการช้อปปิ้งหยิบสมบัติผู้เลี้ยงกันเพลินเลยใช่ไหมครับ มาวันนี้ผมขอเสริมเรื่องสมบัติผู้เลี้ยงอีกปริเฉทหนึ่ง ก็คือเรื่อง "หยิบดอกไม้" ไม่ใช่ “เด็ดดอกไม้” นะครับ คือเวลาเรามอบดอกไม้ให้กันและกัน ในโอกาสต่างๆ เช่น วันขึ้นบ้านใหม่, วันเปิดกิจการ, วันคล้ายวันเกิด, วันฉลองความสำเร็จ, อย่างรับปริญญา, วันเจ็บไข้ได้ป่วย และแม้แต่ยามเสียชีวิต ที่ได้ดอกไม้เป็นพวงหรีด หรือช่อดอกไม้วาง ณ หลุมฝัง

ทราบไหมครับว่า ดอกไม้ที่จัดขึ้นเป็น “ระเบียบดอกไม้” เหล่านี้ ล้วนมีผู้เลี้ยงรักษาอยู่ แล้วเราก็สามารถ “หยิบดอกไม้” ออกมาได้ เหมือนกับที่เรา “หยิบสมบัติผู้เลี้ยง” ครับ  โดยต้องมีการเขียนชื่อนามสกุลของผู้รับดอกไม้เสียบปักไว้ที่ช่อดอกไม้ หรือแจกัน และกระเช้าดอกไม้ หรือเสียบนามบัตร ที่มีโลโก้ ตราสัญลักษณ์ ยกตัวอย่างเช่น “มอบแด่ คุณพิรจักร ทิศุธิวงศ์ ด้วยรักและห่วงใย จากแฟนคลับ” โดยไม่ลืมให้ “องค์บุษบาธร” จัดดอกไม้ให้ก่อน จากนั้นจึงนำไปมอบให้ผู้รับ ทั้งนี้ ผู้ที่มีชื่อนามสกุลนั้น สามารถ "หยิบส่วนรักษาทิพย์ของดอกไม้" จากผู้เลี้ยงได้ หลังจากหยิบมาแล้ว ก็นำมาประกอบวิชชา กอปรเป็น “ทิพยรังสี” คือเป็น “ปุษยรังสี” รัศมีสีสันของดอกไม้ แผ่ออกไปจากกาย พร้อมกับนำมาใช้ประกอบวิชชา ทำให้กายในวิชชา “หล่อสวยและงาม” ยิ่งขึ้นด้วย ทำแบบนี้ก็จะประหยัดวิชชา และธาตุบุญที่ต้องจ่ายให้ผู้เลี้ยงก็ไม่แพงมาก (มีผู้ทรงวิชชาได้ทดลองดูแล้วครับ สามารถให้ผลเป็นรังสี และความงามของกายเพิ่มขึ้น ซึ่งพวกเราขอความดีความชอบร่วมกัน ท่านใดสงสัยว่าจะทำอย่างไรในวิชชา ให้ถามๆ ท่านดูครับ ส่วนท่านอื่นใด สามารถนำไปใช้เป็นอื่นๆ ได้ ถ้านำมาเล่าสู่กันฟัง ก็จะแบ่งความดีความชอบให้ครับ)

ดอกไม้ก็มีทั้งดอกไม้สด ดอกไม้ประดิษฐ์ ดอกไม้หอม ดอกไม้ทั่วไป แต่ดอกไม้ที่ทั้งสวย หลากสีสัน และมีกลิ่นหอม จะดีกว่าครับ ถ้าจะทำบุญตามปกติเพื่อให้ได้ “ปุษยรังสี” บางทีไม่รู้ต้องทำบุญด้วยดอกไม้ตั้งกี่สวน ถึงจะได้ปุษยรังสีครับ แต่ถ้าทำกับผู้ทรงวิชชา ก็จะได้ง่ายขึ้น ถ้าใช้วิธีหยิบดอกไม้ ก็สะดวกดีเหมือนกันครับ เพราะผู้ทรงวิชชาท่านก็ไม่ได้ “เหนี่ยวรับ” กันบ่อยๆ เพราะท่านต้องหยุดเดินวิชชา เพื่อรับของถวาย บางท่านไม่สะดวก การหยิบดอกไม้จึงง่ายสำหรับทุกฝ่าย ยิ่งถ้าหากเราทำแบบมอบให้กันและกัน ไม่ใช่ให้ดอกไม้กับตนเอง ก็จะยิ่งดีครับ คือวันคล้ายวันเกิดเพื่อน เราก็นำดอกไม้ไปให้ แล้วเขาก็หยิบของเขาไป พอถึงวันเกิดเรา เขาก็ให้ดอกไม้เรา เราก็หยิบของเราครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

26 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง ผู้เลี้ยงการศึกษา

ชื่นใจไหมครับ? ผมประพันธ์บทความให้อ่านกันอย่างจุใจไปทั่วโลก กับสาระแบบเนื้อๆ ผสมน้ำซุปเน้น ทั้งอร่อยโอชาและมีประโยชน์ครับ ^^ บทความนี้จะขอ “ต่อยอด” เรื่องเทวดาผู้เลี้ยงผู้รักษา โดยเน้นเฉพาะเรื่อง “ผู้เลี้ยงการศึกษา” ซึ่งอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของใครต่อใครหลายๆ คนครับ

นอกจาก “บรรพบุรุษ” ซึ่งมักเป็นผู้เลี้ยงของ “วงศ์ตระกูล” คอยส่งเสริมลูกหลานในครอบครัววงศาคณาญาติที่ใช้นามสกุลนั้นๆ ให้มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ก็ยังมี “ผู้เลี้ยงการศึกษา” ซึ่งท่านคอยส่งเสริมสนับสนุนเป็นกำลังให้กับ “ลูกศิษย์” ครับ พูดง่ายๆ ก็คือ นอกจากจะมีเทวดาปู่ย่าตาทวด ก็มีเทวดาครูอาจารย์ ซึ่งอาชีพครูเป็นอาชีพที่แปลก คือครูนั้นมีกายปฏิภาคสำเร็จเป็นผู้เลี้ยงกันแทบทุกคนครับ

ยิ่งในยุคสมัยปัจจุบัน ที่ระบบการศึกษาจัดอยู่ในเกณฑ์ดี ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศได้รับการศึกษาตั้งแต่ยังเด็ก กระทั่งถึงชั้นอุดมศึกษา ประชาชนส่วนใหญ่จึงมักมี “ผู้เลี้ยงการศึกษา” คอยดูแลอยู่อย่างลับๆ ซึ่งผู้เลี้ยงการศึกษา มีตั้งแต่ ผู้ก่อตั้งสถาบันการศึกษา, อธิการบดี, คณะบดี, ศาสตราจารย์, รองศาสตราจารย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ด็อกเตอร์, อาจารย์, ครู รวมถึงบุคคลสำคัญที่สถาบันการศึกษา หรืออาคารเรียน ถูกตั้งชื่อเพื่อ “อุทิศให้” เช่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ และอื่นๆ

เวลาคนมีวิชชาท่านจะวัดกำลัง “ผู้เลี้ยงการศึกษา” ท่านจะดูว่า ตลอดชีวิตที่ได้รับการศึกษา บุคคลนั้นๆ มีครูที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้มากี่คน เช่น นับตั้งแต่อนุบาลถึงปริญญาเอก มีครูอยู่ 75 ท่าน แต่กำลังเลี้ยงจากครูเหล่านี้ อาจมีมากเพียง 8 ถึง 15% ที่จะเห็นผลในส่วนหยาบ (ซึ่งพอๆ กับบรรพบุรุษ ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตประมาณ 10 ถึง 18%) ซึ่งครูการศึกษาจะส่งวิชาเลี้ยงโดยมีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นนักเรียนที่ได้เกรด 3.0 หรือ เกรด B เป็นอย่างน้อย ในคาบวิชาที่สอน หรือจบการศึกษาด้วยเกรดเฉลี่ย 3.00 เป็นอย่างน้อย รวมถึงตั้งใจเข้าเรียนเป็นประจำ ไม่ขาดเรียนบ่อย แต่บางท่านก็มีเกณฑ์ที่แตกต่างกันไป ดังนี้แล้ว ครูการศึกษา ก็จะส่งวิชาเลี้ยงให้ เช่นคนที่เรียนวิชาบัญชี ครูก็จะส่งวิชาให้เป็นคนรอบคอบในเรื่องของการเงินและการใช้จ่าย คนเรียนวิทยาศาสตร์ เป็นคนที่คำนึงถึงเหตุผลของทุกสิ่ง คนเรียนสถาปัตยกรรม เป็นคนที่มีรสนิยมดีทางศิลปะ เป็นอาทิ

เราจะเห็นได้ว่า ถ้ายิ่งบุคคลมีครูมาก ก็มักจะเป็นการดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากมีครูจากหลากหลายสาขาวิชา ซึ่งความแรงของวิชาจากครู ขึ้นอยู่กับ “วิทยฐานะ” ของครูด้วย ถ้าหากครูเป็นศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ จะมีกำลังเลี้ยงมากกว่าปกติ เพราะครูจะมี “คทาวุฒิ” ไว้คอยส่งฤทธิ์

ส่วนเทคนิคในการได้รับการเลี้ยงวิชาจากครูมากเป็นพิเศษ ก็คือ เราต้องรู้จักตอบแทนครู เช่นทำบุญอุทิศให้ครู ในทำนองเดียวกันกับที่ทำบุญให้บรรพบุรุษ หรือนำดอกไม้ไปไหว้ครู ในวันสำคัญ ถ้าเป็นผู้ทรงวิชชา ก็สามารถใช้วิชชาตอบแทนครูในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่ล่วงลับไปแล้ว หรือยังมีชีวิตอยู่ หากครูพอใจ ซึ่งรวมไปถึงองค์ต้นวิชาความรู้และสายสืบทอดวิชาเรื่อยมา บรรดาครูก็จะประสิทธิ์วิชาความรู้ให้ “ศักดิ์สิทธิ์” ในตัวนักเรียน จะทำหน้าที่การงานใด ก็มีความรู้ความสามารถคล่องแคล่ว สายสืบทอดวิชา นั้นหมายถึง คณาจารย์ผู้รักษาวิชาต่อๆ กันมา ยกตัวอย่างเช่น เสด็จพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงคิดค้นระบบระเบียบภาษาไทยขึ้น พระองค์ทรงเป็นต้นวิชาความรู้ภาษานี้ และผู้ที่นำภาษาไทยมาถ่ายทอดสืบต่อกันมา นับตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จนถึงปัจจุบัน ล้วนเป็นผู้สืบทอดวิชา ส่วนครูที่มาสอนภาษาไทยเราในยุคปัจจุบัน เป็นครูผู้ประสาทวิชา ซึ่งถ้าเราบำรุงครู รู้จักตอบแทนพระคุณในรูปแบบต่างๆ สายวิชาของท่านก็จะพึงพอใจ และประสิทธิ์วิชาภาษาไทยให้เราเป็นพิเศษ

ดังนั้น การจะตั้งองค์กร เพื่อให้มีกำลังเลี้ยงรักษามาก เราควรเชิญบุคคลผู้มีวิทยฐานะดีมาร่วมบริหาร โดยพิจารณาถึงคณะผู้เลี้ยงประจำบุคคลนั้นๆ ซึ่งต้องดูไปถึงสถาบันการศึกษา และวิชาที่เรียน รวมถึงเกรดที่ได้ ก็จะพอประเมินได้ว่า บุคคลนั้นๆ มีผู้เลี้ยงการศึกษาหนุนหลังอยู่มาก เป็นกำลังที่ดีพอสำหรับองค์กร และยิ่งถ้าหากทำงานตรงกับสายวิชาความรู้ที่เรียนมา ก็จะเป็นการดีกว่า เพราะครูจะส่งวิชาให้ตรงสายงานได้เต็มที่ เป็นการเสริมแรงให้กับผู้เลี้ยงองค์กร มีแนวโน้มที่จะเจริญก้าวหน้าดีกว่า และได้สมบัติผู้เลี้ยงที่เลิศกว่า ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

22 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org   

 

นานาสาระ: ถาม-ตอบ สัพเพเหระกับพิรจักร

Q: ตั้งสูตรวิชชาเพื่อเบิกบุญแล้วได้บุญใหญ่ คอยนานกว่าเครื่องจะจ่ายหมด ทำอย่างไรดีนะ?

A:  ดังที่ผมได้ปรารภเอาไว้แล้วเรื่องบุญในวิชชา ว่าบุญที่เบิกจากทะเลบุญแล้วจ่ายผ่านเครื่องธาตุเครื่องธรรมนั้นดีกว่า ตรงที่มี “สิทธิ์” ครบถ้วน อีกทั้งได้รับการ “บ่ม” โดยธรรมภายในกาย กระทั่งถึงกายหยาบ สำนักวิชชาใด ที่ต้องคำนวณเบิกบุญที่ได้ ซึ่งเครื่องฯ ใช้ระยะเวลาหลายวัน ครั้นจะตัดหางบุญออก ก็เสียดาย อาจจะลองใส่สูตรคำนวณดังนี้ครับว่า (1) บุญก่อนทำให้ถวายพระพุทธเจ้า เป็นการใส่บาตรให้พูนเต็ม ก่อนเสด็จกลับ หลังทรงเสร็จกิจนิมนต์ (2) บุญขณะทำ เราเก็บเอาไว้เอง และ (3) บุญหลังจากทำให้ถวายพระพรหม และเหล่าเทพเทวา ที่มีส่วนในบุญ มาร่วมงาน และมาอนุโมทนาโดยนัยนี้ บุญที่ไหลมาจะมี 3 งบ ครับ

Q:  ต้องการหยิบสมบัติผู้เลี้ยงที่มีกำลังมาก ควรทำอย่างไร?

A:  เกณฑ์ในการพิจารณาขนาดองค์กร ว่าจะเรียกได้ จุลจักร, มหาจักร, บรมจักร, อุดมจักร, เอกอุดมบรมจักรฯ นั้นปกติผู้เลี้ยงท่านพิจารณาตามท่านเห็นสมควรครับ หยาบๆ อาจดูกันที่ (1) กำลังของผู้ก่อตั้ง (2) รายรับและเงินทุนที่มี (3) จำนวนสมาชิก (4) ขนาดกิจกรรม (5) สถานที่ทำการ (6) จำนวนและกำลังรักษาของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กร (7) จำนวนผู้ร่วมกิจกรรม (8) ฯลฯ ครับ

ซึ่งถ้าองค์กรจัดกิจกรรมแบบถ่ายทอดสด live ไปทั่วโลกก็ได้ ขนาดกิจกรรมจะใหญ่ขึ้นส่วนการจดทะเบียนองค์กร จะกำหนดตำแหน่ง และบทบัญญัติขององค์กร อย่างไรก็ได้ครับ แต่เหมือน ถ้วยโถโอชาม กับ ฝาปิด ต้องสมกันครับ ถ้าเรากำหนดตำแหน่งเว่อร์ๆ มากๆ ก็ทำได้ แต่ถ้าองค์กรยังมีขนาดเล็ก สมบัติที่เรียกได้ อาจจะนิดเดียวเพียงแต่สมบัตินั้นจะมีฤทธิ์ตามความเว่อร์ของบทบัญญัติ ซึ่งผู้เลี้ยงอาจจะตั้งราคาสูงขึ้น ไม่คุ้มกับการหยิบ

Q: อยากตั้งองค์กรเพื่อให้ได้สมบัติผู้เลี้ยงกับเขาบ้าง ควรทำอย่างไร?

A: ถ้าเป็นผู้ก่อตั้งองค์กร ก็มักจะมีกายปฏิภาคได้เป็นผู้เลี้ยงประจำองค์กรนั้นๆ ครับ โดยการจดทะเบียนจะจดเป็นมูลนิธิ หรือสมาคม ของประเทศไทยก็ได้ ส่วน การจดทะเบียนเป็นองค์กรนานาชาติแบบไม่แสวงกำไร หรือ NGO กับรัฐบาลสหรัฐฯ นั้น จะได้สถานภาพเป็น International NGO หากก่อตั้งและดำเนินการโดยชาวต่างประเทศผมได้พยายามหาทางสะดวกที่จะจดทะเบียนในประเทศไทย แต่ตัวบทกฎหมายมีข้อกำหนดพอสมควร ไม่ง่ายเหมือนของสหรัฐฯ ที่จดทะเบียนออนไลน์ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อจดแล้ว การเป็น NGO ของสหรัฐดูจะมีความเป็นสากลดีกว่า เพราะเอกสารต้องทำเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้ว และสมบัติผู้เลี้ยงที่ได้ ก็ไม่เหมือนกับของไทยเรา เพราะมีดีมีด้อยต่างกันไป แต่ถ้าจดเป็น NGO ของสหรัฐฯ แล้วมารับรองในประเทศไทยอีกที ก็จะดีมากๆ ครับ

Q:  เพราะเหตุใดการเรียกสมบัติผู้เลี้ยงจึงต้องจ่ายธาตุบุญ

A:  การเรียกหยิบสมบัติผู้เลี้ยงผู้รักษานั้น ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับเทวดาผู้เลี้ยงผู้รักษาที่ดูแลเราอยู่ครับ ถ้าเทวดาตกลงจะให้หยิบ ก็เป็นการสะดวก เพราะเทวดาก็ประสงค์จะได้บุญมาใช้ บางองค์เป็นทหารที่สู้รบในการศึก รักษาเอกราชประเทศชาติ เคยฆ่าคนตายไปมาก หากท่านพ้นหน้าที่รักษา อาจจะต้องเป็นไปตามยถากรรม ถ้าท่านได้บุญเป็นการแลกกัน ท่านก็ยินดีมาก กายผู้เลี้ยงบางองค์ เป็น “กายปฏิภาค” เป็นกายมิติของภพผู้เลี้ยง มีลักษณะเป็น “ก้ำกึ่งอรูปภพ” ไม่ใช่กายทิพย์เหมือนอย่างเทวดาบนสวรรค์ครับ บางท่านกายทิพย์ เสวยสุข เสวยทุกข์ อยู่ตามภพภูมิต่างๆ แต่กายมิติผู้เลี้ยงก็ทำงานเลี้ยงรักษากันไป แต่ผู้ทรงวิชชาบ้างท่านก็ชอบ ที่ท่านจะมีกายปฏิภาค ได้เป็นผู้เลี้ยงผู้รักษาครับ เหมือนได้มีตำแหน่งหน้าที่การงานเพิ่ม

Q:  อยากเรียกสมบัติผู้เลี้ยง แต่ผู้เลี้ยงเรียกแพง จะทำอย่างไรดี?

A:  ถ้าเราจะหยิบสมบัติผู้เลี้ยงชิ้นใหญ่ชิ้นสำคัญ แล้วต้องจ่ายธาตุบุญมาก เราอาจจะตราตั้งตำแหน่งและอันดับภายในองค์กรขึ้น แล้วแบ่งจำหน่ายให้แก่บุคคลต่างๆ เพื่อรวบรวมธาตุบุญให้ได้มากพอสำหรับหยิบครับ เช่น เราเป็น C.E.O. ของ NGO ที่ เข้าเป็นภาคี กับองค์การ UNESCO เราก็ตราตำแหน่งบริหารขึ้น 25 ตำแหน่ง แล้วเรียกเก็บธาตุบุญจากผู้ที่จะรับตำแหน่งคนละ 1 ล้าน เราก็จะได้ 25 ล้าน แล้วก็ค่อยไปเรียกหยิบสมบัติผู้เลี้ยงครับ

Q:  อยากจะหยิบสมบัติผู้เลี้ยงรักษาประจำโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ควรทำอย่างไร?

A:  ต้องเลือกโทรศัพท์ที่ทางบริษัทเจ้าของแบรนด์เปิดให้ลงทะเบียนความเป็นเจ้าของครับ หรือมิฉะนั้นก็ซื้อจากบริษัทโทรคมนาคมที่ให้โทรศัพท์มาพร้อมแพ็คเกจการใช้และซิมการ์ดครับ หยิบมาแล้ววิชชาหูทิพย์จะดีขึ้น “เครื่องกรรณ” (ชฎาของใบหู) ก็จะใหญ่ขึ้นดีขึ้นด้วยครับ เรื่องหยิบสมบัติผู้เลี้ยง “วัตถุประดิษฐ์” นั้น ขอให้เลือกที่ใช้ดีพอสมควรครับ เพราะเทคโนโลยี ก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทันสมัยขึ้นเรื่อยๆ แล้วของใหม่ๆ ก็มักจะแพงกว่า ถ้าเรียกบ่อยๆ ก็สิ้นเปลืองครับ.

Q:  เห็นว่าคู่สมรส เรียกหยิบแหวนและของคู่ จากทะเบียนสมรสได้ แล้วแฟนกัน ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสจะทำอย่างไร?

A:  แฟนกันก็ขึ้นทะเบียนได้ครับ โดยใช้บริการเว็บไซท์หาคู่ หรือนัดหมายออกเดท เมื่อจดทะเบียนกับเว็บไซท์ที่เป็นแพล็ทฟอร์มแล้ว ก็เรียกสมบัติผู้เลี้ยงออกมาครับ.

Q:  อยากเรียกหยิบสมบัติผู้เลี้ยง แต่ตอนนี้ธุรกิจกำลังแย่ ควรหยิบหรือไม่?

A:  การเรียกหยิบสมบัติผู้เลี้ยงควรเรียกตอนกิจการกำลังเจริญรุ่งเรืองครับ จะได้สมบัติขั้นใหญ่ ถ้ากิจการซบเซาลงแล้ว ให้ไต่ระดับทีละหน่อย เช่นกิจการพอประทัง ให้เรียกจักรผู้เลี้ยงขั้น “มหาจักร” มาใส่ พอดีขึ้นก็ใส่ “บรมจักร” ตามขั้น แล้วสมบัติผู้เลี้ยงจะออกแรงฉุด มนุษย์ก็ต้องทุ่มเทให้มากขึ้นเพื่อออกแรงส่ง จักรผู้เลี้ยงส่วนใหญ่จะมาตอนมีกิจกรรมธุรกิจใหม่ๆ หรือจังหวะความสำเร็จ เช่นเปิดธุรกิจใหม่ เปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ เปิดโปรโมชั่น เปิดกิจกรรมใหม่ๆ อย่างซัมเมอร์เซลล์ ฉลองครบรอบ 10 ปีกิจการ เทศกาลปีใหม่ เทศกาลตรุษจีน และอื่นๆครับ

Q:  จ่ายธาตุบุญไปเยอะแล้ว กับการเรียกสมบัติผู้เลี้ยง ทำอย่างไรจะมีธาตุบุญมากพอ?

A: การเรียกสมบัติผู้เลี้ยงนั้นต้องจ่ายธาตุบุญครับ ถ้าเรียกเยอะมันก็จ่ายเยอะ ธาตุบุญก็คล้ายๆ “เนื้อบุญ” หรือ “ส่วนที่เป็นบารมี” ถ้าประสงค์จะหาธาตุบุญเพิ่มนอกเหนือจากการทำบุญ ก็ให้ทำธุรกิจเป็น “ผู้ค้าธาตุ” ต้องรู้จักหาครับ ลำพังทำบุญมันได้แค่นั้น ผู้ค้าธาตุมีหลายแขนง เช่น นาย/นาง มณีกร, นาย/นาง สุวรรณกร, นาย/นาง รัตนากร, นาย/นาง รจนากร, นาย/นาง บุษบาธร, นาย/นา รัชดากร, นาย/นาง คหกร, วานิชกร และอื่นๆ

Q:  เปิดร้านขายทอง ทำอย่างไรจะมีทองคำมากในครอบครอง หยิบสมบัติผู้เลี้ยงอย่างไร?

A:  ห้างทองสบายมากเลยครับ ต้องเรียกจาก “ตั๋วทอง” ครับ

Q:  ถ้าร้านขายทองเรียกหยิบจาก ตั๋วทอง แล้วร้านขายอัญมณีจะทำอย่างไร?

A: ถ้าเพชรพลอยให้ไปขอใบรับรองหรือใบกรรมสิทธิ์เจ้าของผู้ครอบครองจากสถาบันอัญมณี, ศูนย์การประมูล หรือห้างอัญมณีชื่อดังอย่าง “คาร์เทีย” หรือ “คริสตี้” ครับ ซึ่งเขาจะขึ้นทะเบียนเจ้าของอัญมณีครับ.

Q:  อ่ะนะ.. แล้วกาแฟลดน้ำหนักล่ะ?

A:  ถ้ากาแฟลดน้ำหนัก ให้ไปจดสิทธิบัตรสูตรกาแฟครับ แล้วค่อยเรียกครับ

Q:  อยากจะเรียกสมบัติผู้เลี้ยงบ้านและคอนโดครับ.

A:  บ้านและคอนโดก็ชื่อตามโฉนดเลยครับ ไม่ใช่ทะเบียนบ้านอย่างเดียวนะครับ.

Q:  ถ้าอะไรๆ ก็หยิบสมบัติผู้เลี้ยงได้ แล้วประสบการณ์หรือขั้นสมาธิล่ะ?

A:  วิธีรักษาระดับประสบการณ์ธรรมะและลำดับขั้นธรรมที่บรรลุ ข้ามชาติสามารถทำได้โดยหยิบสมบัติผู้เลี้ยงจากใบรับรองการ “สอบอารมณ์” วิปัสสนากัมมัฏฐานที่ภาวนาจารย์หรือสำนักอบรมพระกัมมัฏฐานออกให้ครับ.

Q:  กำลังจะจัดตั้งองค์กร อยากจะขอคำแนะนำในทางวิชชาค่ะ

A:  ลำดับอำนาจการปกครององค์กรภายในวิชชา กำหนดได้ใน “แผนผังองค์กร” (organisation chart) ที่ประธานคณะกรรมการเซ็นรับรอง ส่วนสมบัติผู้เลี้ยงประจำองค์กรว่าใครจะได้อะไรนั้น กำหนดได้เป็นภาษาวิชชาในส่วนของ “รายละเอียดหน้าที่ประจำตำแหน่ง” (Job Description) โดยประธานกรรมการต้องเซ็นรับรองเช่นกัน

วิธีจะได้สมบัติผู้เลี้ยงขนาดใหญ่ที่มีกำลังมากมาเลี้ยงบุคคลหรือองค์กร ต้องรู้จักการ "ผูกสิทธิ์" ครับ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทจำกัด เราผูกกับทุนจดทะเบียน หรือมิฉะนั้นก็ผูกกับบุคคลที่มีวาสนาบารมีมากเพียงอย่างเดียวก็หาไม่ แต่เป็นคนที่มีกำลังเลี้ยงรักษาอยู่มาก เช่น เป็นเจ้าขุนมูลนาย, เป็นด็อกเตอร์, ศาสตราจารย์, ข้าราชการ, ทหาร, ตำรวจ, เจ้าสัวผู้มีตำแหน่งบริหาร, บุคคลในตระกูลที่โด่งดังและมีชื่อเสียง (ผู้รักษาประจำสกุลมีกำลังมาก) และอื่นๆ ต้องได้ท่านเหล่านี้มาดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารหรือกรรมการ

การผูกสิทธิ์ ขึ้นอยู่กับ บทบัญญัติขององค์กรที่มีมาแต่เริ่มแรกครับ คือประธานกรรมการมีอำนาจ หน้าที่ และสิทธิ์ ตามที่ผู้ก่อการตั้งองค์กรให้ไว้ โดยนับเป็น "สิทธิ์" ตรงที่ ประธานกรรมการ ลงนาม เมื่อคณะกรรมการ อนุมัติเห็นชอบ ส่วนวิธีผูกสิทธิ์กับดารา ประจำองค์กร อย่างเช่นมูลนิธิ และสมาคม ให้ตั้งต้นด้วย "ราศี" ขององค์กร นับแต่เริ่มตั้ง จากนั้นจึงผูกเข้ากับ "ราศี" ของผู้บริหาร แล้วทำ Zodiac Organisation Chart จากนั้นจึงลงนามรับรอง การผูกชะตาราศี ของผู้บริหาร เข้ากับพื้นดวงและราศีขององค์กร จากนั้นขอให้ภาคผู้เลี้ยง ส่งผู้แทน เข้ารักษาดวงดาว และเจ้าชะตา ขององค์กร และบุคคล ท่านใดจะกำหนดผูกสิทธิ์ของทีมงานและองค์กรเข้ากับดาราและราศีก็ได้นะครับ จะมีผลทางชะตาราศี เหมือนวางศิลาฤกษ์ครับ น่าสนุกดี ใครจะลองดูก็ได้ครับ

ผู้บริหารที่มีกำลังดาวอันทรงพลัง จะเป็นประโยชน์ เพราะจะดันให้องค์กรเข้าสู่ความเจริญก้าวหน้า โดยเราต้องเลือกผู้บริหารว่ามีชีวิตอยู่ในช่วง “ขาขึ้น” วิธีดูคนว่ากำลังอยู่ใน "ขาขึ้น" หรือไม่ ให้ดูภายนอกก็ได้ครับ เช่นธุรกิจ หน้าที่ การงาน ยศตำแหน่ง ที่กำลังดำรงอยู่ เงินในบัญชี การเดินสะพัดของบัญชี ไฟในการทำงาน และอื่นๆ ซึ่งท่านเหล่านี้ เมื่อเข้ามาอยู่ในองค์กร จะส่งเสริมกำลังเลี้ยงรักษา ให้องค์กรดีขึ้น และในขณะที่กำลังดีอย่างนี้ ให้รีบเรียกหยิบสมบัติจากผู้เลี้ยงมาเก็บไว้ เราก็จะรักษาความโชคดีเท่านั้นก็หาไม่ แต่รักษาสถานการณ์ "ขาขึ้น" ได้ไปเรื่อยๆ ยกเว้นจะมีอิทธิพลจากอย่างอื่น

สาเหตุที่ต้องเลือกคนมียศ มีตำแหน่ง มีฐานะ มีเครดิตความรู้ หน้าที่การงาน มาเข้าองค์กร ก็เพราะท่านเหล่านี้มีกำลังมากจากการได้รับการเลี้ยงการรักษา เช่นเป็นศาสตราจารย์ ก็มีผู้รักษาประจำมหาวิทยาลัยคอยส่งวิชชาหล่อเลี้ยง ถ้าเป็นคนธรรมดา ก็อาจจะมีน้อย เป็นแค่บรรพบุรุษธรรมดา แต่การเลือกคน ต้องเลือกคนที่กำลังอยู่ในภาวะรุ่งเรืองนะครับ ถ้าได้คนที่ชีวิตกำลังรุ่งเรือง และมียศชั้นขั้นฐานะ มาดำรงตำแหน่งในองค์กร กำลังของเขาจะฉุดองค์กรให้รุ่งเรืองตามไปด้วย แต่ไม่เสมอไป ขึ้นอยู่กับสัดส่วนที่มีอิทธิพลต่อชีวิตจริง เช่นดวงดาวมากสุดประมาณ 30% ครับ.

บทความสงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

22 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง พลังแห่งดาว

 

ผ่านพ้นไปหลายตอนกับเรื่องราวของสมบัติผู้เลี้ยง ซึ่งทั้งสนุก ท้าทาย และน่าลองทำดูใช่ไหมครับ ในวันนี้ผมขอนำเสนออีกเรื่อง ที่รับรองว่าทุกท่านจะไม่ผิดหวัง นั่นก็คือ “พลังแห่งดาว” ครับ

เมื่อเอ่ยถึงดวงดาว เราก็นึกถึงดวงดาวส่องสว่างบนท้องฟ้ายามค่ำคืน แต่เมื่อบอกว่าใครหรืออะไรเป็นดาว ก็หมายถึงว่าสิ่งนั้นหรือคนนั้นมีความโดดเด่นเป็นพิเศษเหนือคนทั่วไปครับ ในทางวิชชา “ดาว” แต่ละดวงล้วนมี “ภพ” ของตนเองซึ่งส่งพลังอำนาจ ให้เกิดคุณเกิดโทษ ตามผู้ประชุมขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพระนิพพาน หรือฝ่ายมารโลก ซึ่งต่างก็เล็งลักขณาต่อกันและกันเหมือน วางสนุ๊กฯบนโต๊ะสนุ๊กเกอร์ ที่สร้างความผันผวน ผันแปร ในชีวิต ให้ดี ให้ร้าย ไปต่างๆ นาๆ โดยมีอิทธิพลต่อชีวิตจริงประมาณ 8 - 25%

ดังที่ผมได้เคยเกริ่นไว้แล้ว ว่าดาวก็ประชุมขึ้นได้หลายทาง และมีหลายรูปแบบในเมืองมนุษย์ เช่น ดาราอิสริยยศ, ดาวประจำตำแหน่งหน้าที่การงาน, ดาวที่เป็นวัตถุมงคล, ดาวที่เป็นประกาศิต, ดาวที่เป็นสัญลักษณ์แทนชะตาราศี และอื่นๆ ซึ่งเราสามารถเสริมกำลังดาว ที่เป็นดาวเจ้าชะตา ประจำตัวของเราได้ แต่สำหรับบทความนี้ ผมขอนำเสนอ ดาวที่เป็นประกาศิต และการ “มอบดาว” ให้แก่กันและกัน

ด้วยความที่การเข้าเป็นเจ้าของภพดาวแต่ละประเภท เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก ดาราอิสริยยศ ก็ต้องเป็นผู้มีอำนาจใหญ่ในทางปกครองตราขึ้นและมอบให้, ดาวที่เป็นวัตถุมงคลก็ต้องอาศัยผู้ทรงวิชชาแก่กล้า, ดาวที่เป็นดวงดาวเจ้าชะตา ก็เป็นดาวที่พระนิพพาน และมารโลก ต่างๆ ส่งกำลัง ดูจะมีดาวที่เป็นประกาศิตนั่นเอง ที่ไม่ไกลเกินเอื้อม ซึ่งใครก็ตามที่เล่นดาวในรูปแบบของประกาศิต จะมีพลังพิเศษที่ส่งเสริมประกาศิต และสิ่งที่เนื่องด้วยประกาศิต เหมือนอย่างดาวที่ปรากฏบนหมวกของนางเงือก บนแบรนด์ ร้านกาแฟชื่อดังระดับโลกครับ และธงชาติของประเทศมหาอำนาจ ซึ่งผู้เล่นประกาศิต อาจจะเล่นดาวประกาศิตทรงดาวที่มีรูปแบบต่างๆ กันไป และมีสีสันที่ถูกโฉลก หรือถูกธาตุถูกธรรม อย่างดาวทอง ดาวเงิน ดาวแดง ดาวขาว ฯลฯ และเมื่อใช้ดวงตราประกาศิตเป็นที่รู้จักกันดีมีขั้นสูงแล้ว ดาวประกาศิตนั้นก็จะมีกำลัง “ภพเทพเทวา” ที่คอยส่งเลี้ยงรักษา ถึงขนาดที่ว่า แม้จะพิมพ์อยู่บนกระดาษส่งกระจายไปทั่ว หรือปรากฏอยู่บนหน้าจออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ก็ส่องรัศมีออกมาได้ ขนาดนั้นเลยครับ

อนึ่ง เมื่อเราได้เป็น “เจ้าของดาว” หนึ่งดวง หรือมากกว่าที่มีกำลังมากพอแล้ว ไม่ว่าจะโดยการเลื่อนขั้นประกาศิตการคว้าดาวของทิพย์มาใส่หรือการแลกซื้อดาวที่ประจุอยู่ในวัตถุมงคล เราก็สามารถ “สำแดงดาวเพื่อรับรอง” ต่อผู้อื่นได้ เหมือนคุณครูที่ให้ดาวนักเรียน โดยอาจจะมีดวงใหญ่ดวงเดียว อยู่บนหัวจดหมาย หรือหัวกระดาษ หรือดวงย่อมๆ ตั้งแต่ 1 ถึง 5 ดวง ณ ท้ายกระดาษ เหมือนอย่างการจัดอันดับโรงแรม, การให้คะแนนการบ้าน, การให้คะแนนรายงาน, การให้คะแนนความดีความชอบ, การเซ็นรับรองบันทึกชีวิตประจำวัน, การให้คะแนนผลงานต่างๆ ว่ากี่ดาวต่อกี่ดาว ไม่ว่าจะด้วย “ตราประทับ” หรือ “ติดสติ๊กเกอร์

การ “ให้ดาว” ในลักษณะอื่นๆ รวมถึงเอกสารจดหมาย, ใบประกาศนียบัตร, โล่ห์รางวัล และเหรียญรูปดาว หรือวัตถุทรงดาวสำหรับคล้องคอ อาจจะเป็นเหมือนการ รับรองเกียรติและ คุณธรรมและ คุณภาพของบุคคล, สินค้าหนังสือสถานที่ทางธรรมชาติวัดวาอารามร้านอาหารบริการ และอื่นๆ ซึ่งดาวที่เจ้าของดาวให้ในลักษณะนี้ จะมีของทิพย์สถิตอยู่ ซึ่งผู้รับดาว ก็สามารถ “เรียกดาว” มาสะสมได้ด้วย อย่างเช่นบนเล่มเอกสารสะสมบุญกองทุนนิธิ, ทุนภัตตาหาร และใบอนุโมทนาบัตร หรืออื่นๆ ถ้าหากผู้รับดาวมีดาวสะสมอยู่มาก ก็จะเป็น “กำลังทิพย์” ในวิชชาให้ได้ อย่างเช่นการนำดาวมาเติมดาวเจ้าชะตา เพื่อให้ชีวิตรุ่งเรือง หรือนำดาวมาประดับกายในวิชชาเพื่อให้กายมีกำลังมากขึ้น หรือนำดาวมาหนุนเสริมกำลังภพดาวประจำตำแหน่ง อย่างดาวยศเจ้าหน้าที่ทหาร, ตำรวจ และอื่นๆ เพื่อให้มียศตำแหน่งหน้าที่การงานสูงขึ้นได้อีก

เห็นได้ว่า การให้ดาวนั้นเป็นสิ่งที่สามารถทำกันได้ทุกคน แต่ความแตกต่างก็คือ “ความศักดิ์สิทธิ์” หรือ “ฤทธิ์” ของดาวที่ให้ ถ้าเป็นครูอาจารย์ ที่ให้ดาวในสมุดการบ้าน ก็มีกำลังมาจากดวงดาวประจำตัวครูอาจารย์ ซึ่งโดยมากจะเป็นดาวพฤหัสบดี หรือครูบางท่านก็มีดาราอิสริยาภรณ์ ส่วนข้าราชการที่ได้รับดาราอิสริยยศ ก็สามารถใช้ดารานั้นในการเอ่ยอ้างต่อผู้พิพากษา หากมีการดำเนินคดี แต่ถ้าเป็นผู้ทรงวิชชา ก็จะเห็นได้ว่า ดาวทั้งปวงเหล่านั้น ล้วนมี “ฤทธิ์” และสามารถนำมาใช้ในวิชชาได้ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

21 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: รวมปกิณกะ เรื่องสมบัติผู้เลี้ยง

"เช็คของขวัญ" หรือ "ดราฟท์เช็ค" มีสมบัติผู้เลี้ยงที่ดีกว่า "เช็คธรรมดา" เพราะเช็คของขวัญหรือดราฟท์เช็ค เป็นเช็คที่มีเงินพร้อมให้เบิกอยู่แล้ว ต่างจากเช็คสั่งจ่ายธรรมดา ที่ต้องรอเคลียร์ตัดบัญชีครับ เพราะ “สิทธิ์เต็มบริบูรณ์” ฉะนั้น สมบัติผู้เลี้ยงที่จะเรียกได้จากเช็คของขวัญ หรือดราฟท์เช็ค ก็จะดีกว่าเช็คธรรมดา ที่ยังไม่แน่นอนว่า จะเบิกเงินได้จริงหรือไม่ และเมื่อสมบัติผู้เลี้ยงประเภทนี้ส่งผล เราก็จะได้ “ตั๋วเงิน” สำหรับเบิกแลกเงินมา ขึ้นอยู่กับระบบระเบียบการเงินในยุคสมัยนั้นๆ ครับ ถ้าอยากจะทดลอง ลองซื้อเช็คของขวัญใส่ชื่อนามสกุลตนเองดูสัก 10,000 หมื่นบาท แต่อย่าเพิ่งนำไปเบิกเงิน แล้วหยิบสมบัติผู้เลี้ยงออกมาดูก็ได้ครับ ว่าอานิสงส์จะเป็นอย่างไร ข้อควรตระหนักคือ “ธาตุบุญ” ที่ต้องจ่ายผู้เลี้ยงอาจจะแพงลิบลิ่วเลยล่ะครับ แต่ก็น่าจะดีกว่าล็อตเตอรี่ที่ต้องเสี่ยงรางวัลนะครับ ดังฉะนี้.

แม้แต่พระพุทธรูป และถาวรวัตถุที่เราสลักชื่อจารึกผู้สร้าง และผู้รับการอุทิศ ก็ยังมีสมบัติผู้เลี้ยงครับ อย่างเช่นพระพุทธรูปที่จารึกนามผู้สร้างไว้ที่ฐาน ซุ้มประตูวัด บานหน้าต่างพระอุโบสถ เสาอาคาร สะพาน อาคาร ถนนหรือซอย ศาลาที่มีชื่อ ยานพาหนะ หรือแม้แต่ชื่อวัด บุคคลผู้มีชื่ออยู่สามารถหยิบสมบัติผู้เลี้ยงออกมาได้ โดยผู้เลี้ยงนั้นส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้เลี้ยงผู้รักษาประจำวัดหรืออารามนั้นๆ  ส่วนสมบัติผู้เลี้ยงของธรรมกายประจำตัว ที่ธรรมกายเจดีย์ ก็สามารถเอามาได้ด้วยเช่นครับ โดยท่านใดที่มีใบอนุโมทนาบัตรสร้างธรรมกายประจำตัว ณ ธรรมกายเจดีย์ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ของวัดธรรมกาย ท่านสามารถเอ่ยอ้าง เรียกสมบัติผู้เลี้ยงผู้รักษาจากวัดธรรมกายได้ครับ แต่ถ้าเรียกแล้วผู้เลี้ยงไม่ยอมให้ เราสามารถอาศัยอนุโมทนาบัตรในการฟ้องร้องภาคผู้เลี้ยง ซึ่งองค์ตุลาการภพผู้รักษาท่านจะตัดสินให้ ส่วนว่าได้สมบัติผู้เลี้ยงมาแล้วจะนำไปทำอย่างไรต่อไป ก็ตามอัธยาศัยของท่านครับ ดังฉะนี้.

อ่านเรื่องสมบัติผู้เลี้ยงมาถึงจุดนี้แล้ว มีหลายตอนในซีรี่ย์เดียวกันนี้ จะเห็นได้ว่า เราสามารถเรียกสมบัติผู้เลี้ยงได้จากทรัพย์สิน, สิ่งของ, วัตถุ, กรรมสิทธิ์, ลิขสิทธิ์, สิทธิบัตร และอะไรๆ ก็ตาม ที่เป็นของหยาบ หรือของละเอียด แล้วมีนาม/ชื่อ/นามสกุล ของบุคคล/คณะบุคคล/องค์กร/สถาบัน อยู่ ทั้งนี้รวมไปถึง ดวงตราประกาศิต, เครื่องหมายการค้า, โลโก้ และตราสัญลักษณ์ต่างๆ ที่จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ และลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตร และความเป็นเจ้าของ หรือถือครอง หรือครอบครอง ต่างๆ โดย บุคคล, คณะบุคคล, องค์กร, สถาบัน สามารถหยิบสมบัติผู้เลี้ยงได้ด้วยเช่นกัน เมื่อเราได้สมบัติผู้เลี้ยงมาแล้ว จะเป็นผลให้ในภพชาติเบื้องหน้า เราจะมีดวงตราประกาศิตในลำดับขั้นและกำลังที่ก้าวหน้า พอๆ กันกับที่เราได้อยู่ ณ ปัจจุบันนี้ ดังฉะนี้.

ส่วนใบอนุโมทนาบัตรที่ลงชื่อ-นามสกุล เจ้าภาพ พร้อมจำนวนเงินบริจาค แล้วมีการระบุคำให้พรเจ้าภาพ โดยมีลายเซ็นรับเงิน พร้อมสำแดงดวงตราประกาศิตของผู้ออกใบอนุโมทนาบัตร อย่างนี้ก็หยิบสมบัติผู้เลี้ยงได้ โดยเจ้าภาพ อาจจะเขียนคำว่า “สาธุ.. สาธุ.. สาธุ” 3 ครั้ง หรือ 7 ครั้ง พร้อมคำอธิษฐานของเราอยู่ใต้คำให้พร แล้วเซ็นลายเซ็นของเจ้าภาพเองกำกับไว้พร้อมประทับตราประกาศิต (ถ้ามี) จากนั้นจึงหยิบสมบัติผู้เลี้ยงที่เนื่องด้วยใบอนุโมทนาบัตรนั้นออกมา จะได้ “ดวงวาสนาศักดิ์สิทธิ์” ประดุจดังแก้วสารพัดนึกตามคำให้พร ซึ่งส่งกำลังโดยบุญที่เราได้จากการบริจาคนั้นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละสำนักด้วยครับ ถ้าเป็นสำนักวิชชา ก็อาจจะมีอะไรพิเศษๆ ให้ด้วย ดังฉะนี้.

แม้แต่พัสดุที่ส่งโดยไรเดอร์, บริษัทขนส่ง, และไปรษณีย์ ที่ระบุนามของบุคคล, องค์คณะ, องค์กร, สถาบัน สำหรับนำส่ง ไม่ว่าจะเป็นทางบก, ทางน้ำ, ทางอากาศ ก็มีสมบัติผู้เลี้ยงให้หยิบครับ ถ้าได้มาแล้ว วิชชาของ “ม้าแก้ว” ซึ่งเป็นดรรชนีชี้วัดประสิทธิภาพวิชชาขนส่งและคมนาคม จะดีขึ้นอีกครับ รวมถึงตั๋วรถไฟ, รถบัส, เครื่องบิน, เรือ และการเดินทางในรูปแบบอื่นๆ ดังฉะนี้.

สำหรับ "หนังสือ" ที่รวบรวมบรรจุองค์ความรู้อันมีค่าต่างๆ เราก็สามารถหยิบ "ดวงวิชา" จากผู้เลี้ยงผู้รักษาได้ ในกรณีที่หนังสือเล่มนั้นมีหน้าแผ่นที่ระบุว่า "มอบแด่..................." ครับ ถ้าเราเติมชื่อและนามสกุลชัดเจนลงไปแล้ว ผู้ที่มีชื่อก็สามารถที่จะหยิบดวงวิชาได้ครับ แต่สำหรับยุคสมัยปัจจุบัน มีเทคโนโลยีออนไลน์ แค่ใช้โปรแกรมระบุชื่อนามสกุลบุคคล หรือนาม ไว้บนหน้าแผ่นหนังสือออนไลน์ ก็ใช้ได้แล้วครับ.

Q: สมบัติผู้เลี้ยงที่หยิบได้ คือเราต้องใส่ชื่อเราลงไปหรือไม่?

A: ถ้าผู้เลี้ยงจะเปิดโอกาสให้ ผู้เลี้ยงจะเป็นฝ่ายกำหนดให้ใส่ชื่อได้เองครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิชชาที่ประชุมขึ้นแล้วส่งมา เหมือนหนังสือ ที่มีหน้าระบุคำว่า “มอบแด่.................” เพื่อให้ใส่ชื่อผู้รับหนังสือ ซึ่งก็ไม่ได้มีกันทุกเล่ม หรือเหมือนอย่างองค์กรทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน บางแห่งเปิดให้สมัครเป็นสมาชิก บางแห่งก็ไม่เปิด บางแห่งเปิดให้ร่วมหุ้น ในขณะที่บางแห่งไม่เปิดให้ สรุปก็คือในธาตุธรรมของเรา แทบจะทุกอย่างล้วนเป็นวิชชาทั้งหมด ในยุคที่สังคมมนุษย์ยังไม่เจริญ ก็มีแต่ต้นไม้ใบหญ้า พืช สวน ไร่นา วิชชาที่มีก็เป็นวิชชาพื้นๆ ส่วนเทคโนโลยี และวิวัฒนาการ ก็คือวิชชาที่ส่งมามากขึ้น มีการจัดระบบ ระเบียบ การบริหาร การปกครอง การกระจายอำนาจ ทั้งหมดนี้มีวิชชาอยู่เบื้องหลัง และถ้าภาคผู้เลี้ยงเปิดช่องให้ ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เราก็จะสามารถเรียกหยิบสมบัติผู้เลี้ยงผู้รักษาได้ ซึ่งโดยหลักๆ แล้วก็เป็นการ “ลงทะเบียน” โดยมี “นาม-ชื่อ-สกุล” ปรากฏครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

19 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง เรียก “วิชชาโอสถ”

ขอบคุณที่ติดตามนานาสาระ เนื้อหาเรื่องราวดีๆเด็ดๆ เกี่ยวกับโลกแห่งวิชชาครับ ในวันนี้ผมขอนำเสนอ “วิชชาโอสถ” นะครับ.. ท่านที่ติดตามผลงานประพันธ์ของผมเป็นประจำคงจะผ่านหูผ่านตามาแล้ว ที่ผมเคยนำเสนอว่า ผู้ทรงวิชชาจะสามารถเรียก “วิชชารักษาโรค” ในรูปแบบต่างๆ มา “เดินวิชชา” โดยแลกกับการจ่าย “ธาตุบุญ” ซึ่งน่าจะมีประสิทธิภาพในการรักษาประมาณ 50 – 75% เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยส่วนหยาบ 100% ครับ แต่ถ้าทำควบคู่กันไปทั้งหยาบและละเอียด ก็จะมีผลดีเยี่ยม

สำหรับ “วิชชาโอสถ” นั้นก็เป็นนวัตกรรมพัฒนาต่อยอด จากการเรียกวิชชารักษาโรค กล่าวคือ เราจะหยิบ “สมบัติผู้เลี้ยง” ที่เกิดขึ้นจากการซื้อยารักษาโรค... เอ๊ะ? แล้วจะทำยังไง? มีด้วยเหรอ? คำตอบ... มีสิครับ สังเกตไหมครับว่า เวลาเราไปพบแพทย์ หรือเภสัชกร แล้วแพทย์ หรือเภสัชกร สั่งจ่ายยาให้กับเรา บนซองยาจะมีการระบุชื่อนามสกุลของผู้ป่วย และชื่อยา รวมถึงปริมาณในการรับประทาน ส่วนเภสัชกรตามร้านที่เขียนบนซองพลาสติก จะไม่มี ยกเว้นบางร้านที่ใหญ่หน่อย แล้วใช้ระบบอันทันสมัย คือพิมพ์ฉลากติดบนซองพลาสติก ตามชื่อ-นามสกุล และข้อมูลของผู้ซื้อที่เป็น “สมาชิก” ของร้านขายยาครับ

ฉลากบนซองยาที่มีชื่อ-นามสกุล ของผู้ป่วยนี่ละครับ คือ “วิชชาโอสถ” ที่ผู้เลี้ยงผู้รักษาด้านการแพทย์และโอสถ ท่านส่งวิชชามาเลี้ยงผู้ป่วยในรูปแบบนั้น และถ้าหากผู้ทรงวิชชา เข้าไปพบ “ผู้เลี้ยงผู้รักษาโอสถ” เพื่อขอซื้อ “ดวงวิชชาโอสถ” (อาจอยู่ในรูปของ “แท่งยา”)  โดยอ้างถึงยาของท่านที่เราได้มา ซึ่งมีฉลากชื่อ-นามสกุล ของเราติดเอาไว้ เราก็จะมีสิทธิ์ ได้ “วิชชาโอสถ” นั้นๆ มาใช้ในทำนองเดียวกันกับสมบัติผู้เลี้ยงที่ต้องจ่าย “ธาตุบุญ” เช่นกันครับ วิธีใช้ดวงโอสถหรือแท่งยา ก็ต้องถามผู้เลี้ยงผู้รักษา เหมือนเราถามแพทย์และเภสัชกรนั่นล่ะครับ ว่ากินยาต้องกินอย่างไร และการใช้ดวงวิชชาโอสถนั้น ก็ต้องใช้ในส่วนละเอียด ควบคู่กับการรักษาและรับประทานยาของหยาบ เพื่อให้มีประสิทธิ์ภาพในการรักษาสูงสุด หายเจ็บ หายป่วย หายไข้ เฮงๆ รวยๆ ครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

19 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


ตัวอย่างหนังสือสัญญาประกอบการจดทะเบียนสมรส

การทำหนังสือสัญญาประกอบการจดทะเบียนสมรสด้วยภาษาวิชชา ที่จะให้ผลในการเลี้ยงรักษานั้น ปกติจะเอ่ยอ้าง "วงศ์ตระกูล" ได้ครับ หรือมิฉะนั้น ให้เอ่ยอ้าง "ครูพราหมณ์" ผู้ประกอบพิธีมงคลสมรสให้ ชาวพุทธที่สมรสกัน ไม่สะดวกอาศัยศักดิ์สิทธิ์ขององค์บาทหลวง ขอให้อาศัยศักดิ์สิทธิ์ของครูพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีได้ครับ.

สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

17 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

****************************************************************************

หนังสือสัญญาการจดทะเบียนสมรส

ด้วยศักดิ์สิทธิ์แห่งครูพรหมณ์ผู้ประกอบพิธี

(ด้วยสิทธิ์และอำนาจแห่งตระกูล “AAAAAAA” ซึ่งมีนาย JJJJJJJ KKKKKK เป็นต้นสกุล)

วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2565

หนังสือสัญญาฉบับนี้ ทำขึ้นระหว่าง นาย SSSSSSS AAAAAAA ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชนชาวไทยเลขที่ 4444444 ต่อจากนี้เรียกว่า “ฝ่ายชาย” และ นางสาว TTTTTTT BBBBBBB ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชนไทยเลขที่ 5555555 ต่อจากนี้เรียกว่า “ฝ่ายหญิง”

โดยทำสัญญา ณ บ้านเลขที่ 498 ttttt lllll nnnnnn wwwwww กรุงเทพฯ ได้ร่วมกันตกลงทำหนังสือสัญญาฉบับนี้ โดยมีถ้อยความดังต่อไปนี้

(1)      ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงยินดีจดทะเบียนสมรสร่วมกัน

(2)      ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงยินดีอยู่กินเป็นครอบครัวเดียวกัน แบบมีศีลเสมอกัน และทิฐิเสมอกัน

(3)      ฝ่ายชายเป็นสัมมาทิฐิบุคคลแต่เพียงส่วนเดียว

(4)      ฝ่ายหญิงเป็นสัมมาทิฐิบุคคลแต่เพียงส่วนเดียว

(5)      ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมีเจตนาจะรักษาศีล 5 ให้ครบถ้วนเป็นปกติ

ลงชื่อ ....................................... (พราหมณ์ผู้ประกอบพิธี)

ลงชื่อ ................................. (ฝ่ายชาย) ลงชื่อ ................................. (ฝ่ายหญิง)

ลงชื่อ ................................. (พยาน) ลงชื่อ .................................... (พยาน)

****************************************************************************


นานาสาระ: เรื่อง วิชชาเพื่อรักษาสถานภาพคู่รัก

ตามคำสอนในพระพุทธศาสนา บุคคลได้มาเป็นเนื้อคู่กัน ก็เพราะบุพกรรมที่เคยทำร่วมกันไว้ และการมีศีลเสมอกัน และทิฐิเสมอกัน ก็จะทำให้ชีวิตความรักยั่งยืนขึ้น ในแง่ของวิชชานั้น การจดทะเบียนสมรสภายใต้อำนาจการปกครองประเทศ จะส่งผลให้มีผู้เลี้ยงผู้รักษาประจำครอบครัวคอยดูแล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นญาติและบรรพบุรุษ เมื่อจดทะเบียนแล้วคู่สมรสสามารถหยิบ “สมบัติผู้เลี้ยงประจำครอบครัว” โดยมากจะเป็น “ของคู่อย่างแหวนหรือสายสร้อย” ขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยงในแต่ละเขตการปกครอง

ส่วนทะเบียนสมรสรุ่นใหม่ของประเทศไทยมี “ของมงคลห้าอย่าง” ที่ปรากฏภาพอยู่บนทะเบียนสมรส อันได้แก่ “พระสังข์” เป็นอาทิ ซึ่งคู่สมรสที่จดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว สามารถขอหยิบจากผู้เลี้ยงได้ คนละหนึ่งชุด โดยแลกกับธาตุบุญ (ยกเว้นพระครุฑ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจปกครองที่รับรองนิติกรรม) แต่ค่าใช้จ่ายเป็นธาตุบุญน่าจะพอดู ซึ่งของมงคลเหล่านี้ จะมีฤทธิ์ช่วยรักษา “ความรัก” ระหว่างคู่สมรส

อนึ่ง ถ้าคู่สมรสคู่เดียวกัน จดทะเบียนในหลายๆประเทศ และหยิบสมบัติผู้เลี้ยงออกมา ก็จะได้สมบัติของผู้เลี้ยงที่ส่งให้สถานภาพแห่งคู่ชีวิตมีความแน่นแฟ้นในวิชชา มากขึ้น คือได้เป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายอีก ซึ่งในปัจจุบันนี้มีบางประเทศ อย่างสหรัฐอเมริกา ที่เปิดให้คนทั่วโลกจดทะเบียนสมรสทางออนไลน์ และออกใบรับรองการสมรสให้ ยิ่งประเทศไหนออกทะเบียนสมรสที่มีคำอวยพรด้วยจะยิ่งดีมากในวิชชา เพียงแต่อาจจะเปลืองกำลังของผู้เลี้ยงครับ

การทำดังนี้ เหมาะสำหรับฆราวาส ที่ต้องการสถาบันครอบครัวที่มั่นคง และจะช่วยลดปัญหาการหย่าร้างได้มากขึ้น พร้อมกับลดปัญหาสังคมอันเกิดจากการหย่าร้าง อย่างเช่นปัญหาแม่เลี้ยงเดี่ยว คดีความฟ้องร้องแบ่งสินสมรส และเด็กกำพร้าครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

17 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง วิธีรักษาความดีข้ามภพข้ามชาติ

บทความก่อนๆ ของผมได้ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเรื่องการหยิบสมบัติผู้เลี้ยงเพื่อนำไปเก็บไว้ในสายธาตุสายธรรม อันจะเป็นอานิสงส์ส่งข้ามภพข้ามชาติ หากถามว่า แล้วทำอย่างไรจึงจะรักษาคุณธรรมความดีของตนให้ยั่งยืนข้ามชาติได้บ้าง จะต้องอาศัยสมบัติผู้เลี้ยงอะไร คำตอบคือไม่ใช่ “พระธรรมจักร” นะครับ เพราะพระธรรมจักรเป็นสมบัติผู้เลี้ยงที่ให้ “กำลังในการแสดงและเผยแพร่พระธรรม” ส่วนสิ่งที่สามารถส่งผลเป็นคุณธรรมความดีก็คือ "พระเกตุดอกบัวตูม" ซึ่งเป็น “วิสุทธิฤทธิ์” หากกายในวิชชา หรือกายสิทธิ์ของเรามีพระเกตุดอกบัวตูมขนาดใหญ่ ก็จะมีกำลังคุณธรรมหล่อเลี้ยงสายธาตุสายธรรมมาก หรือมิฉะนั้น หากประสงค์จะเป็นกายที่มีเพียงจอมกระหม่อม แต่ไม่มีพระเกตุ ก็สามารถแต่งเครื่องทรงอย่างมณีขาว มณีสี และเครื่องลดา หรือลังการ เพื่อให้สำเร็จเป็น “พระธรรมจักรพรรดิ” และ/หรือ “พระพุทธราช” ได้ ก็จะมี "ธรรมคุณ" หล่อเลี้ยงอยู่มาก ด้วยวิชชาของมณี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า สายธาตุสายธรรมของบุคคลนั้นยาว และ/หรือ กว้างเพียงใด (กายเถา กายชุด กายชั้น กายตอน กายภาค กายพืด) ทั้งนี้ เวลาบุคคลละสังขารแล้วเกิดใหม่ กายเหล่านี้จะส่งฤทธิ์มาหล่อเลี้ยงสายธาตุสายธรรมกระทั่งถึงกายมนุษย์ ส่งผลให้เป็น “ผู้ทรงธรรม” คือถึงพร้อมด้วยคุณธรรมความดีประจำใจมากกว่าปกติครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

16 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง ทางลัดวิธีขอ “จักรแก้ว” จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ทุกท่านที่ได้อ่านหัวข้อเรื่องอาจจะคิดว่า เฮ้ย! เอาอีกแล้วเหรอ เรื่องล่าสุดยังไม่ทันไร ก็มีเรื่องเด็ดๆ มาใหม่อีกแล้ว.. ก็นั่นสิครับ ผมเป็น “รจนาธร” ก็ทำตามหน้าที่ครับ ก็รจนาไปเรื่อยๆ ซึ่งใครอยากอ่านก็ต้องจ่าย “ธาตุบุญ” ถ้าอ่านแล้วชื่นใจ ก็ต้อง “ทิป” ตามธรรมเนียมโลกวิชชานะครับ ^^

เอาล่ะครับ มาเข้าเรื่องกันดีกว่า.. สายวิชชาใครๆ ก็รู้จัก “จักรแก้ว” ใช่ไหมครับ ซึ่งมีทั้งแบบที่เป็นของทิพย์ สำหรับเดินวิชชา และใช้เป็นอาวุธในญาณ ซึ่งวันนี้ผมจะแนะนำวิธีได้มาซึ่งจักรแก้วทิพย์เหล่านี้ ส่วนเรื่องจักรแก้วของผู้เลี้ยงผู้รักษา และจักรแก้วของหยาบของพระจักรพรรดิราช ผู้ปกครองจักรวาล จะขอพักไว้ ไม่กล่าวถึงในบทความนี้ครับ

จักรแก้วเป็นสมบัติของผู้ทรงวิชชา ที่ให้คุณให้โทษได้ คนมีวิชชาส่วนใหญ่มักจะมีติดตัวติดใจเอาไว้ เพื่อคุ้มครองป้องกันตน และใช้ประกอบวิชชา ซึ่งใช้กันได้ทั้งพระธรรมกาย และพระจักรพรรดิ โดยจักรแก้วนี้มีฤทธิ์ หากฟาดฟันไปที่ของทิพย์ใดๆ ของทิพย์นั้น ไม่ว่าจะเป็นกายทิพย์ เป็นวิมานสมบัติ เทวรถ แก้วมณี หรืออื่นๆ ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายได้ ผู้ครอบครองจักรแก้ว จึงควรเป็นผู้ทรงวิชชา ที่มีความชำนาญในการใช้จักรแก้วได้อย่างคล่องแคล่วในระดับหนึ่งก่อนแล้วครับ

สำหรับท่านที่ต้องการครอบครองจักรแก้วของทิพย์ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นผู้ศึกษาวิชชา ก็มักจะได้จากครูบาอาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชชาให้ ซึ่งวิธีได้มาซึ่งจักรแก้วก็มีหลายวิธี โดยจักรแก้วนี้จะมี “ภพนายช่าง” เป็นผู้ผลิต หรือผู้ทรงวิชชาที่ชำนาญเฉพาะด้านนี้จะประชุมสร้างขึ้นเองก็ได้ แต่เมื่อภพนายช่างหรือผู้ทรงวิชชาสร้างจักรแก้วขึ้นแล้ว ส่วนใหญ่ผู้ที่จะใช้ ก็ต้อง “จ่าย” ค่าผลิต โดยตกลงแลกเปลี่ยนกับภพนายช่างผู้สร้างจักรแก้ว ซึ่งโดยมากก็จ่ายเป็น “ธาตุบุญ” แล้วก็ชะลอลงมาใช้ในโลกมนุษย์ ผู้ทรงวิชชาบางท่านถึงกับ “ซ้อนจักรแก้วของทิพย์” ไว้ในจักรแก้วแกะสลัก เพื่อให้ลูกศิษย์บูชานำไปใช้ โดยสามารถดึงของทิพย์ที่ซ้อนไว้นำมาใส่ไว้ในกายวิชชาของแต่ละบุคคล ซึ่งจักรแก้วนี้ก็จะเป็นสมบัติติดตัวไป กล่าวคือ เกิดภพชาติใหม่ จักรแก้วก็ยังคงเก็บรักษาไว้อยู่ในสายธาตุสายธรรมของบุคคล ได้วิชชาอีกเมื่อไร ก็สามารถคว้าออกมาใช้ได้ ทุกท่านจึงควรตรวจดูก่อนว่า ตนเองมีจักรแก้วเก็บไว้อยู่ในสายธาตุสายธรรมหรือไม่ ถ้ามีก็สามารถคว้ามาใช้ได้ หากกายต้นสายธาตุสายธรรมท่านอนุญาตครับ

ถ้าหากยังไม่มีจักรแก้ว แล้วครูบาอาจารย์ก็ยังไม่สะดวก ไม่ว่าง หรือไม่มีเวลาหาจักรแก้วให้ โดยเฉพาะสำนักปฏิบัติที่มีลูกศิษย์มาก แล้วดูแลไม่ทั่วถึง ไม่สามารถให้ความเอาใจใส่เป็นรายเฉพาะบุคคลได้ เราก็ต้องรู้จักวิธีขวนขวายหาเอาเองครับ ซึ่งผมเองเคยได้จักรแก้วที่ซ้อนไว้ในจักรแก้วแกะสลัก เป็นจักรแก้วขั้น “จุลจักร” ราคา 500 บาท ซื้อมาจาก “ร้านคุณศิรประภา ท่าพระจันทร์” (https://www.youtube.com/watch?v=8UR1UxjTzxo) ร้านของเธออยู่ในตรอก ฝั่งซ้ายมือตรงทางออกของซอยที่จะทะลุออกไปทางเดินริมแม่น้ำ เป็นห้องกระจกเล็กๆ ติดแอร์ ซึ่งเธอมีจักรแก้วสีต่างๆ ขนาด “มหาจักร” จำหน่ายด้วย แต่ผมไม่ทราบว่าของหมดหรือยังนะครับ เพราะไม่ได้แวะเข้าไปดูในร้านนานแล้ว แต่ถ้าท่านใดจะลองแวะไปถามไถ่หรือ หาตามร้านค้าออนไลน์ก็น่าจะได้เหมือนกันครับ

ถ้าท่านไม่สามารถหาจักรแก้วดีๆ มาใช้เดินวิชชาได้ (เดินจักรแก้วแล้วใจจะมีฤทธิ์มีอำนาจขึ้นมา ซึ่งวิธีใช้จักรแก้วพร้อมทั้งรัตนะ 7 ก็มีอธิบายอยู่ใน “ตำรามรรคผลพิสดาร” นะครับ) ให้ท่านลองไปกราบพระพุทธรูปปาง “พระจักรพรรดิ” คือพระพุทธรูปทรงเครื่อง ที่เป็นพระประธาน และพระอันดับ ตามพระอุโบสถ และพระวิหาร ศาลา ตามวัดวาอารามต่างๆ จากนั้นจึงกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย “อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภควาฯ” ตามด้วย “นะโมตัสสะ ภควโตฯ” เป็นจำนวน 7 เที่ยว เมื่อสวดครบ 7 เที่ยวแล้ว ให้พักรอสักครู่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาพระประธานปางพระจักรพรรดิอยู่ จะถามความประสงค์เราว่าอยากจะได้อะไร ถ้า 7 เที่ยวแล้วท่านยังไม่ตอบรับ ให้สวดเพิ่มอีก 5 เที่ยว รวมเป็น 12 ถ้าท่านตอบรับ ให้กราบเรียนท่านว่า อยากจะซื้อจักรรัตนะโดยยินดีจ่ายเป็นธาตุบุญ หรือแลกกับของศักดิ์สิทธิ์อันเป็นทิพย์ที่เรามีเก็บไว้อยู่ในสายธาตุสายธรรม เมื่อกราบเรียนดังนี้แล้ว ท่านก็จะตกลงต่อรองราคากับเรา ว่าจะแลกเท่าไร แลกกับอะไร ขั้นใด เสร็จแล้วก็รับส่งของกัน เป็นอันจบพิธี ก็ให้กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยคือ “อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภควาฯ” อีกครั้งกระทั่งจบ เป็นอันเสร็จพิธี นี้เป็นวิธีพิเศษที่ผมค้นพบโดยบังเอิญครับ แต่ถ้าสวด 12 เที่ยวแล้วท่านไม่ตอบรับ ก็ให้สวดเพิ่มอีก 9 เที่ยว รวมเป็น 21 จบ ซึ่งถ้ายกนี้ท่านก็ยังไม่ตอบรับอีก ก็ให้กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย แล้วกราบลาครับ เพราะท่านอาจไม่ประสงค์จะตกลงอะไรด้วย เนื่องจากผู้ที่มาขอบางท่านก็อาจมีครูบาอาจารย์ที่ควบคุมกำกับดูแลอยู่ แล้วพระท่านก็ไม่ประสงค์จะก้าวก่ายน่ะครับ

สาเหตุที่ต้องกราบขอจากพระประธานปางพระจักรพรรดิ ก็เพราะมักจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในภาคจักรฯ รักษาอยู่ ไม่ว่าจะเป็น พระพุทธจักรฯ พระจักรพรรดิ พระพรหม เทวดา หรืออื่นๆ ซึ่งท่านมักจะมีจักรแก้วของทิพย์อยู่จำนวนหนึ่ง สำหรับใช้สอย บางพระองค์ก็มีมากเกินพอ และยินดีแลกครับ ส่วนทวยเทพเทวาท่านอื่นๆ อย่างพระศิวะ, พระแม่อุมา, พระนารายณ์, พระพิฆเนศ, พระพรหมตามศาลพระพรหม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพรหมที่โรงแรมเอราวัณ, พระโพธิสัตว์พระองค์ต่างๆ อย่างพระวัชระโพธิสัตว์เจ้า และพระศรีอริยเมตไตรย โดยเฉพาะพระองค์ที่มีหลายกร ถือของวิเศษหลายอย่าง ท่านเหล่านี้มักจะมีจักรแก้วอยู่ แต่รหัสที่จะใช้ในการกราบขอแลก อาจจะต้องเปลี่ยนจาก “นะโมตัสสะ ภควโตฯ” เป็นพระคาถาประจำตัวของแต่ละพระองค์ครับ

ท่านใดอยากจะลองวิธีนี้ดูก็ได้นะครับ อันที่จริงแม้แต่พระพุทธรูปปางภาคธรรม คือนุ่งห่มจีวรเรียบๆ บางทีท่านก็มีจักรแก้วอยู่เหมือนกันครับ แต่ปางพระจักรพรรดิจะมีเปอร์เซ็นต์สูงกว่า ซึ่งถ้าหากท่านใดแลกได้ ก็อย่าลืมแบ่งปันเรื่องราวเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ โดยอาจเริ่มทดลองทำกับพระพุทธรูปปางพระจักรพรรดิที่ประดิษฐานอยู่ที่ห้องพระภายในบ้าน หรือกราบขอจากรูปหล่อของหลวงพ่อสด ที่บูชามาจากวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ก็ได้ครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

15 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org        


นานาสาระ: เรื่อง ภาษาวิชชา กับบทบัญญัติการเลี้ยงรักษา

สืบเนื่องมาจากบทความก่อนๆ อันเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับผู้เลี้ยงผู้รักษา และสมบัติของผู้เลี้ยงผู้รักษา มีรัตนะ 7 ทั้งจักรรัตนะของทิพย์ และธรรมจักรของทิพย์ เป็นอาทิ ในบทความนี้ผมจะขอนำเสนอเพิ่มเติมเรื่อง “ภาษาวิชชา” ซึ่งมิได้มีไว้เพียงเพื่อสื่อสาร แต่สามารถกำหนดบทบัญญัติ ที่มุ่งหมายให้มีผลต่อส่วนละเอียดและส่วนหยาบแบบ “รับ-ส่ง เนื่องถึงกัน” กล่าวคือ การเลี้ยงและรักษาโดยภาคผู้เลี้ยงและเทวดาผู้เลี้ยงที่มีต่อส่วนหยาบของภพมนุษย์จะเป็นในลักษณะ “ศักดิ์, สิทธิ์ และอำนาจ แห่งวิชชา ที่ส่งลูก-รับลูก ต่อกันและกันกลับไปกลับมา ระหว่างผู้เลี้ยงผู้รักษากับมนุษย์” มิใช่ “การปกครองทางเดียวจากผู้มีอำนาจเบื้องบนลงสู่โลกมนุษย์เบื้องล่าง”

ยกตัวอย่างเช่น “จักรรัตนะของทิพย์” ที่ผู้เลี้ยงผู้รักษาส่งมาหล่อเลี้ยงประเทศชาติเป็น “มหาจักรฯ” แบบธรรมดา โดยมีผู้รักษาที่รับผิดชอบด้านพระพุทธศาสนา “ส่งวิชชา” เกื้อหนุนให้มีพระพุทธศาสนาประจำชาติในเมืองมนุษย์ อยู่เนืองๆ ประมาณ 20% และเมื่อประเทศนั้นๆ “รับวิชชา” แล้วดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ กระทั่งมีการบัญญัติพระพุทธศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ ดังนี้แล้ว บทบัญญัติก็ส่งผลให้ผู้เลี้ยงผู้รักษามี “ธรรมฤทธิ์” มากขึ้น แล้วสำเร็จเป็น “องค์พระพุทธจักรฯ” ประกอบกับ “จักรรัตนะของทิพย์” ที่รักษาประเทศชาติอยู่ ก็จะมีลวดลายกลีบบัวปรากฏขึ้น อันบ่งบอกถึง “อำนาจแห่งธรรม” นอกจากนี้ ยังจะมี “ธรรมจักรของทิพย์” ขนาดใหญ่เกิดขึ้น ประดิษฐานอยู่ใต้ศูนย์กลางพระพุทธศาสนา อย่างเช่นพระพุทธมณฑล หรืออื่นๆ ควบคู่กับจักรรัตนะ ที่ประดิษฐานอยู่ใต้ศูนย์กลางการปกครอง อย่างเช่นรัฐสภา หรืออื่นๆ โดยพระธรรมจักรก็จะมีคมใบมีดล้อมอยู่โดยรอบ แสดงถึงพระศาสนจักรที่มีอำนาจปกครอง ขึ้นมาในอาณาจักรนั้นๆ เพราะผู้เลี้ยงผู้รักษาประชุมขึ้นแล้วส่งมาให้ใช้

การที่ภพมนุษย์รับวิชชาในส่วนเอียดแล้ว แล้วดำเนินการในส่วนหยาบ ด้วยการตราบทบัญญัติต่างๆ ในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งมนุษย์ชนชั้นปรกครองมีอำนาจกระทำได้ ผู้เลี้ยงผู้รักษาก็จะให้สมบัติผู้เลี้ยงและส่งอำนาจเลี้ยงตามกฎหมายนั้นควบคู่กันไป อุปมาเหมือนประเทศหนึ่ง มีรัฐบาลที่มีอำนาจปกครอง แล้วรัฐบาลได้ก่อตั้งและให้อำนาจเทศบาล ในการปกครองท้องถิ่น เทศบาลก็อาศัยอำนาจนั้นในการออกบัญญัติของเทศบาล ซึ่งรัฐบาลก็ยอมรับในเทศบัญญัติเหล่านั้น และเมื่อรัฐบาลจะบริหารราชการหรือออกกฎหมายใดๆ ที่พาดพิงหรือเนื่องด้วยเขตเทศบาลนั้น ก็จะคำนึงถึงเทศบัญญัติ และปฏิบัติตามเทศบัญญัติ ยกเว้นแต่จะมีความจำเป็นต้องยุบ, เพิกถอน, หรือยกเลิก

ในทำนองเดียวกัน เราสามารถกำหนด รัฐธรรมนูญ, กฎหมาย, บทบัญญัติ, กฎระเบียบ, ข้อบังคับ, แนวทางปฏิบัติต่างๆ เป็นลายลักษณ์อักษร ด้วย “ภาษาวิชชา” (“รรงฆ์” อ่านว่า รังค์) ต่างๆ อย่างเช่น

(1)    “ไท้-รรงฆ์” (ภาษาของพระองค์ไท ซึ่งเป็นประดุจราชาศัพท์ของชาววิชชา),

(2)    “ธรรม-รรงฆ์” (ภาษาหลักของพระองค์ธรรม)

(3)    “ธาตุรรงฆ์” (ภาษาหลักของพระองค์จักรฯ)

(4)    “ปาลรรงฆ์” (ภาษาพระบาลี)

(5)    “ราชะรรงฆ์” (ภาษาของเมืองกษัตริย์ที่มีอิทธิพลมากในโลกอย่างภาษาอังกฤษ)

(6)    “พรัหมรรงฆ์” (ภาษาของท้าวพรหมและชาวพระพรหม)

(7)     “เทวรรงฆ์” (ภาษาของเทวดา)

(8)     “คามรรงฆ์” (ภาษาถิ่นของอาณาจักรต่างๆ ในเมืองมนุษย์ที่มีอารยธรรมเจริญอยู่ และกว้างขวางพอ)

(9)      อื่นๆ

การใช้ภาษาวิชชาเหล่านี้ ควรใช้ให้ตรงกับโอกาส และการเลี้ยงรักษา ดังนี้แล้ว ก็จะมีผลต่อวิชชาที่ผู้เลี้ยงผู้รักษาส่งมาเพื่อกำกับความเป็นไปในเมืองมนุษย์ ซึ่งสามารถทำให้มีประสิทธิภาพ และศักยภาพดีมากขึ้น อย่างเช่นการกำกับให้ประเทศชาติพัฒนาไปในทางเจริญ มีศีลธรรม เป็น “กุศลธรรมและสัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียว” เป็นต้น การใช้ภาษาวิชชาในกรณีนี้ เปรียบเสมือน “ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์” ซึ่งผู้ที่ทราบและชำนาญเท่านั้นจึงจะใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่นกรณีสร้างเว็บไซท์ อันเป็นเทคโนโลยีของโลกมนุษย์ ใครที่ไม่รู้ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่าง “ภาษา Html” (ภาษาเว็บ) เวลาสร้างเว็บไซท์ ก็ต้องใช้โปรแกรมอัตโนมัติเพื่อสร้าง ในการเลือกรูปภาพ ระบุข้อความ ตกแต่งรูปลักษณ์ แต่โปรแกรมเมอร์ หรือ “ชาวคณิตกร” ที่รู้ภาษาคอมพิวเตอร์ สามารถเข้าไปใน “หน้าอักขระภาษา” ของเว็บไซท์ เพื่อออกแบบและแก้โปรแกรมในระดับเบื้องหลังของเว็บไซท์ได้ ด้วยการใช้ภาษา Html คือภาษาพื้นฐานอันเป็นคำสั่งสร้างเว็บไซท์ ในการกำหนดให้มีสีสัน, มีข้อความ, มีรูปภาพ, มีขนาด, สำหรับแสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ตามแต่โปรแกรมเมอร์ หรือชาวคณิตกรจะกำหนด

การบัญญัติระบบระเบียบการ เป็นภาษาวิชชานั้นมีประโยชน์มาก เพราะภาษาวิชชามีความชัดเจนสำหรับโลกทิพย์ว่าภพมนุษย์ต้องการอะไร อย่างไร แบบไหน แค่ไหนในขอบเขตของวิชชา แล้วผู้เลี้ยงผู้รักษาโดยมากก็จะจัดสรรให้ตามนั้น อุปมาเหมือนการกำหนดสีที่จะใช้ผลิตเสื้อ หากกำหนดว่าต้องการธงชาติสีชมพู บทบัญญัติภาษากฎหมายธรรมดาอาจจะใช้คำว่า "สีชมพู" ในขณะที่ถ้าเป็นภาษาวิชชาก็จะระบุ "รหัสแพนโทน" ซึ่งเป็น “ตัวเลขรหัสของเฉดสี” เพื่อให้ทราบแน่ชัดตรงกันว่าสีชมพูเฉดไหน เป็นสีชมพูที่เราต้องการ เช่น “PANTONE 806 C” (แพนโทน แปด ศูนย์ หก ซี) แล้วก็จะเข้าใจตรงกันว่าเป็นสีชมพูเฉดไหน

ที่สำคัญคือ การใช้ภาษาวิชชาในบทบัญญัติต่างๆ ต้องไม่มีการหมกเม็ด หรือมีวัตถุประสงค์ชั่วร้ายแอบแฝง หรือมีวาระซ่อนเร้น แต่จะต้องโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ เพื่อมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขต่อทุกผู้ทุกคนที่อยู่ภายใต้วิชชาที่เลี้ยงรักษาให้มีสุขโดยทั่วกัน ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

15 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


Q: มีท่านถามผมประมาณว่า ผังที่เครื่องธาตุเครื่องธรรมตั้งให้ กับผังที่ผู้ทรงวิชชาตั้งให้ แตกต่างกันอย่างไร?

A: แป็บ.. นะครับ... อืมมมมมมม... ปิ๊ง.. ผังที่เครื่องฯ ตั้งให้นั้นประมวลตาม "กฎแห่งกรรม" ครับ เครื่องได้จำแนกธาตุ จำแนกธรรม ประมวลบุญกริยาวัตถุเป็นดวงๆ แล้วรายงานเครื่องฯเพื่อคำนวณเบิกจ่ายบุญ จากทะเลบุญตามความศักดิ์สิทธิ์ พร้อมนำบุญนั้นมาตั้งผังที่ตรงตามประเภทของกฎแห่งกรรม เช่น บุญจากการทำทานก็ให้รวย บุญจากการรักษาศีลก็ให้สวย บุญจากการแสดงธรรมและฟังธรรม ก็ให้ฉลาด ฯลฯ แต่ผังที่ผู้ทรงวิชชาตั้งให้ ส่วนใหญ่แล้ว.. ส่วนใหญ่นะครับ ไม่มีเวลาจะมาจำแนกแจกประเภทบุญประเภทกรรมให้ครับ ท่านก็เอาบุญมารวมๆ แล้วก็กระดิกจิตพรึ่บเป็นผังขึ้นมา แล้วท่านก็ไม่ได้คอยติดตามบังคับผังให้ "เป็น" คือสัมฤทธิ์ผล ยกเว้นจะติดตามและส่งผังกันอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้ "ผังเป็นจริง" ยิ่งถ้ามีคนมากๆ อย่างพิธีบูชาข้าวพระนั้น ไม่มีทางเลยครับ ที่ท่านจะมาใส่ใจเรื่องการตั้งผังให้อย่างเต็มที่ให้แต่ละคน อย่างดีก็ทำให้เจ้าภาพใหญ่ๆ แค่นั้นเองครับ ส่วนสำนักอื่น มีบางสำนักที่จัดพิธีในวิชชาแล้ว คำนวณจ่ายบุญ จ่ายสมบัติ ถึงขนาดตามสมบัติให้กระทั่งเข้ากระเป๋าเป็นที่เรียบร้อยแล้วค่อยปิดงานครับ ซึ่งนับเป็นแบบอย่างที่ดีครับ.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

13 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

 

Q: ถามว่าเครื่องตั้งผังให้ดีกว่ามั๊ย?

A: ผมว่ามันเหมือนเราใช้บริการของ "แพลทฟอร์ม" ที่เป็นแอพพลิเคชั่น อย่าง Line Man เมื่อเทียบกับวินมอเตอร์ไซค์ครับ ระบบมันมั่นคงและชัวร์กว่ามนุษย์ทำ โดยมากนะครับ หรือไม่ก็เหมือนวิชชาที่ “กายสิทธิ์” เดินให้ เมื่อเทียบกับผู้ทรงวิชชาที่เป็นมนุษย์เดินคือ ผู้ทรงวิชชาบางท่านอาจมีเผลอหลับ หรืออยากเข้าห้องน้ำ, หิว, เหนื่อย หรือเมื่อย ซึ่งมันมีผลต่อวิชชาที่กำลังทำอยู่ ส่วนกายสิทธิ์ท่านก็ทำวิชชาแม่นยำ เหมือนคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์อย่างนั้นเลยครับ แล้วยิ่งถ้าเป็นกายสิทธิ์ที่ตรัสขั้นสูงๆ บางพระองค์มีกำลังเดินวิชชาหนักแน่นเทียบเท่ามนุษย์ผู้ทรงวิชชาเลยครับ แต่ถ้าทำในลักษณะของ “คุมวิชชา” ไปตามระบบของกรรม ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างนี้ก็น่าจะดีกว่า แต่บางสำนักท่านก็มีเทคนิคในทางวิชชาที่ทำได้ดีและได้ผล แม้จะไม่ผ่านเครื่องครับ เป็นความลับทางวิชชาของแต่ละสำนักครับ.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

13 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 


Q&A: เรื่องทำบุญด้วยวิชชา

Q: มีผู้ถามผมเรื่องการทำบุญด้วยวิชชา ซึ่งผมอ้างว่าขาด "สิทธิ์" บางตัว แล้วมันไม่ขัดกันกับ "สมการบุญ" ของผมหรือ?

A: คำตอบ.. ในฐานะ "รจนาธร" ผมขอตอบแบบยังไม่เห็นวิชชานะครับว่า..

(1) ปกติแล้ว ในแต่ละพุทธันดร จะมีพระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นพระศาสดาประจำพุทธันดรนั้นๆ ตามธาตุธรรมท่านจัดสรรส่งมา ซึ่งแต่ละพระองค์ก็มีสังกัดภาค, วงศ์, องค์, สี, สาย มาแต่เดิมที

(2) ฉะนั้น “สิทธิ์” ในพระพุทธศาสนาก็ย่อมขึ้นอยู่กับพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดาในพุทธันดรนั้นๆ ในฐานะผู้แทนภาค, วงศ์, องค์, สี, สาย

(3) เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดาทรงแสดงธรรม แล้วมีผู้บรรลุธรรมได้บวชเป็นพระสงฆ์ และบรรพชาอุปสมบทอย่างถูกต้องสืบต่อกันมา พระสงฆ์เหล่านั้นล้วน "เชื่อมสิทธิ์" อยู่กับพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดาแม้ทั้งหมด และเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย สามารถ “ใช้สิทธิ์” ในพระศาสนา ตามพระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้ไว้ เช่นการบิณฑบาต การทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์ การทำสังฆกรรม และอื่นๆ  ส่วนสงฆ์ใดที่บวชโดยวิชชาและไม่เป็นไปตามพระธรรมวินัย ความเป็นสงฆ์ในพระศาสนานั้นๆ ก็ไม่สมบูรณ์

(4) ทีนี้เมื่อมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแต่ละครั้ง ภพท่านก็ประชุม “เขตพระนิพพาน” และ “ทักขิณาเขต” ถวายพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์พร้อมพระขีณาสพที่จะมีเกิดขึ้น และป้อนข้อมูลเข้าเครื่องธาตุเครื่องธรรมเพื่อกำหนด “ชุมสายบุญ” ทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น ภายใต้พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ เหมือน “อัพไลน์” ที่มี “ดาวไลน์” คือผู้ที่ทำบุญในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าแม้ทั้งหมด นับตั้งแต่ทรงตรัสรู้ธรรม กระทั่งหมดสิ้นอายุพระพุทธศาสนานั้นๆ

(5) ใครก็ตามที่ทำบุญกับพระสงฆ์ และพุทธบริษัท 4 ย่อมสืบเนื่องถึงกันกับพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดา ซึ่งเนื้อนาบุญแต่ละท่านล้วน "เชื่อมสิทธิ์" อยู่ในฐานะพระสาวก และพระสาวิกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือพระสงฆ์

(6) หากพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดา ทรงบัญญัติสิกขาบทเท่าไร กำหนดองค์สงฆ์เท่าไร กำหนดกฐินทาน กำหนดสังฆทาน ว่าอย่างไรๆ พุทธบริษัท 4 ย่อม เป็นไปตามสิทธิ์กำหนด รวมถึงการเยือนสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ว่าจะไม่ไปอบาย ก็เป็นสิทธิ์ที่พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดาทรง “ตรัสสิทธิ์” ให้เป็นไปได้

(7) ทีนี้ เมื่อพระสงฆ์ผู้ทรงวิชชาบังเกิดขึ้น เวลาจัดพิธี หรือทำบุญด้วยวิชชา ท่านก็โยงสิทธิ์ โยกสิทธิ์ และอำนาจ ไปมา เข้าวงศ์โน้น ต่อองค์นี้ เชื่อมสายโน้น ออกสีนั้น โดยนัยนี้ ก็จะ override พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดา อย่างเช่นพิธีบูชาข้าวพระของแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง

( 8 ) ดังนั้นแล้ว เมื่อทำบุญด้วยวิชชา แล้วเห็นในญาณว่าได้บุญมากอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วพระนิพพานประดังประดาบุญลงมาให้อย่างนั้นอย่างนี้ กระบวนการเกิดบุญ และ “กรรมวิถี” รวมถึงการ บ่มธาตุบุญให้เป็นบารมีสะสมอยู่ในตัว ก็ไม่ครบถ้วนกระบวนสิทธิ์ เหมือนอย่างทำบุญตามปกติ เพราะบุญที่ได้นั้น มิได้เบิกจาก “ทะเลบุญ” ผ่านเครื่องธาตุเครื่องธรรมโดยตรงซึ่งมีกฎแห่งกรรมเป็นโปรแกรมที่ใช้ปกครอง และ “ตั้งผังสำเร็จ” ให้แต่ละครั้งที่ทำบุญ พร้อมทั้งบังคับให้เกิดผลจริง แต่ส่วนใหญ่ ผู้ทรงวิชชาจะประมูลบุญลงมาแจกจ่ายเติมประจุลงดวงบุญ แล้วก็ตั้งผังกันเอาเองด้วยบุญที่ได้ ซึ่งผังสำเร็จที่ตั้งเองด้วยวิชชา กับเครื่องธาตุเครื่องธรรมตั้งใจ ก็ไม่เหมือนกัน

(9) ด้วยสาเหตุนี้ การทำบุญบูชาข้าวพระ จึงไม่ได้ส่งผลให้รวยมหาศาล เหมือนอย่างที่โฆษณาเอาไว้ แต่ถ้าจะคิดว่าเป็นการเจริญพุทธานุสสติ ก็ไม่ว่ากันครับ แต่เราก็เห็นแล้วว่า ผู้ที่ทำบุญบูชาข้าวพระมามากๆ ละโลกแล้ว เกิดใหม่แล้ว ที่เป็นมนุษย์ก็ยังไม่เห็นจะรวยครับ แถมยังติดบาป จากการรบกวนพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ในนิพพานที่ท่านจะเข้านิโรธสมาบัติเสวยเอกันตบรมสุข ต้องมาคอยกระดิกจิตรับประเคนกันอยู่เรื่อยๆ

(10) ถ้ามีวิชชาแล้วอยากทำบุญให้รวย ต้องทำอย่างสำนักวิชชาบางแห่งที่ยังคงยึดถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดา ด้วยยกย่องเชิดชูองค์สมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า สร้างพระเจดีย์สำคัญ ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ สูงเด่นเป็นสง่า ส่วนวิชชาก็จัดขึ้นเป็นองค์ประกอบร่วมกันตาม “สิทธิ์ในพระศาสนา” ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

(11)  อุปมาเหมือนคุณเป็นพระที่อยู่ในจังหวัดปทุมธานี แล้วคุณทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ แต่คุณไปเชิญเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่มาร่วมงาน หรือไม่ก็เชิญเจ้าคณะหนใต้มาเป็นประธาน ไม่ได้เชิญเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ครั้นจบพิธีแล้วคุณก็ไม่ได้ทำรายงานให้เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีทราบ คุณก็เลยไม่มีผลงานในสายตาของเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ซึ่งปกครองพวกคุณโดยตรง แล้วเวลามีการมอบรางวัล หรือแต่งตั้งพระสังฆาธิการ หรือเสนอชื่อรับยศตำแหน่ง เจ้าคณะเจ้าหวัดปทุมธานีก็ไม่ข้อมูลจะพิจารณาให้พวกคุณ พอเข้าใจไหมครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

13 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: Q&A

Q: เพราะเหตุใดกายสิทธิ์ที่ยังไม่มีวิชชา อย่างดวงแก้วจุยเจียขนาดเท่าแตงโมที่สหรัฐฯ จึงสามารถรับหน้าที่เป็น “กายสิทธิ์ผู้รักษา” ประจำประเทศได้?

A: ปกติแล้วของกายสิทธิ์ที่ทำหน้าที่เป็นประธานกายสิทธิ์คอยดูแลรักษาประเทศชาติ มักจะมีขนาดใหญ่ครับ อย่างเช่นดวงแก้วแตงโมของสหรัฐฯ, แท่งผลึกแก้วขนาดใหญ่อันเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของญี่ปุ่น, โคตรเพชรบนมงกุฎของสหราชอาณาจักร และหินดำแห่งนครเมกกะห์ ประเทศซาอุดิอะราเบีย ซึ่งของกายสิทธิ์เหล่านี้ “ภพผู้เป็นเจ้าของ” จะตกลงกันกับ “ผู้เลี้ยงผู้รักษาของประเทศ” ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในระดับสูง คือที่อยู่ใน “ภพ” ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า, พระจักรพรรดิ, หรือมาร (ถ้าเป็นฝ่าชั่ว) เมื่อตกลงผลประโยชน์กันได้แล้วก็จะ “จูงมาส่ง” คือดลจิตดลใจ ให้มีการขุดค้นพบ ตกแต่ง เจียระไน ซื้อขาย และนำส่งกระทั่งถึงประเทศที่หมายปลายทาง ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีองค์ประกอบในการเลี้ยงและรักษาครบชุดภาคส่วนต่างๆ ทั้งขนาดใหญ่ หรือขนาดหย่อน ที่ครอบคลุมไปถึง พระพุทธเจ้า พระจักรพรรดิ ภาคผู้เลี้ยง, เทวดา, บรรพบุรุษผู้รักษา, จักรแก้วทิพย์, ธรรมจักรทิพย์ (ถ้ามีพระพุทธศาสนา), ประธานกายสิทธิ์, รัตนะ 7 ของทิพย์, ศาลหลักเมือง (ของสหรัฐฯ เป็นเสา obelisk ส่วนนิวซีแลนด์มีเสา totem ของสหราชอาณาจักรเป็น stonehenge), และอื่นๆ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ล้วนส่งกำลังหล่อเลี้ยงความเป็นอยู่ของประเทศ ให้เจริญรุ่งเรืองมากบ้าง น้อยบ้าง ตามกำลัง และตามสัดส่วน เช่นภาคผู้เลี้ยงส่ง 20% เทวดาส่ง 15% จักรแก้วส่ง 40% กายสิทธิ์ส่ง 25% เป็นอาทิ สำหรับกายสิทธิ์ที่ได้รับเชิญมาเป็นประธานกายสิทธิ์ผู้รักษาของประเทศ ส่วนใหญ่แล้วจะถูกเก็บรักษาไว้ ณ เมืองหลวงของประเทศนั้นๆ และแม้จะไม่มีวิชชา หรือมีวิชชาน้อย ก็ยังมีกำลังทิพย์มากพอจะดลบันดาลความเจริญและความผาสุกให้กับประเทศ อุปมาเหมือน บุคคลปฏิบัติธรรมแล้ว เข้าถึงพระธรรมกาย หรือกายพระจักรพรรดิ มีเพียงวิชชา 3 วิชชา 8 เป็นพื้นฐานโดยอัตโนมัติ ก็พอทำงานทางจิตได้แล้วหลายอย่าง เหมือนอย่างการรักษาโรค ผู้ที่ได้ธรรมกายแล้วยังไม่มีวิชชา เวลาเจ็บป่วยก็อาจจะเข้ากลางละเอียดไปเรื่อยๆ แล้วกลั่นกาย รวมถึงอธิษฐานในละเอียด ให้หายป่วย แต่ถ้าเป็นผู้ทรงธรรมกายที่ได้วิชชาแล้ว ก็จะเข้าไปถึงแหล่งของโรค แล้วเดินวิชชาเก็บโรคในละเอียดอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ฉันใดก็ฉันนั้น กายสิทธิ์ที่ดูแลรักษาประเทศชาติบ้านเมือง แม้จะยังไม่มีวิชชา ก็ยังสามารถช่วยเหลือประเทศชาติได้ แต่ถ้ามีวิชชาก็จะยิ่งดีเข้าไปใหญ่ ซึ่งโดยมากแล้วกายสิทธิ์ระดับใหญ่ๆ ที่มาดูแลประเทศชาติ มักจะเป็นขั้น “พระบรมจักรฯ” เป็นอย่างน้อย สามารถรองรับวิชชาได้มาก หากจะมีผู้ทรงวิชชามาเติมวิชชาให้ ก็เหมือนซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งมีหน่วยความจำมากเป็นพิเศษ จะลงโปรแกรม ใส่ข้อมูล ก็รองรับได้มหาศาล ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

12 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ตอน.. พิรจักรคุยสัพเพเหระเรื่องกายสิทธิ์

หวังว่าทุกท่านคงอิ่มอร่อยกับบทความล่าสุดที่ผ่านมาของผม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกายสิทธิ์, พระธรรมจักรทิพย์, และจักรแก้วทิพย์ นะครับ ยิ่งท่านที่อ่านบทความเรื่อง “กายสิทธิ์พระจักรพรรดิ” มาแล้วด้วย ก็จะพอมีพื้นความรู้สำหรับทำความเข้าใจต่อยอดไปอีก สำหรับบทความนี้ จะเป็นการตอบปัญหาค้างคาใจหลายๆ ท่าน โดยเฉพาะท่านที่อยู่ในสายวิชชา ไม่ว่าจะเป็นภาคธรรม คือพระธรรมกาย, พระพุทธราช หรือภาคจักรฯ คือพระจักรพรรดิระดับชั้นและสีต่างๆ ครับ

ผมขอเริ่มจากประสบการณ์ของตนเองที่มีมาประมาณ 20 กว่าปี ในการเสาะแสวงหาของกายสิทธิ์มาเก็บไว้ในครอบครอง ซึ่งผมเริ่มต้นจาก “ลูกแก้วหินจุยเจีย” ซึ่งก็พบกับทั้งของจริง และของวิทยาศาสตร์ทำขึ้น (แก้วเลี้ยง) ซึ่งเรื่องของหินรัตนชาติประเภทต่างๆ และแก้วจุยเจีย เคยเฟื่องฟูมากในยุค พ.ศ. 2530 – 2540 ครับ เพราะมีการขุดเหมืองเสาะหา ซึ่งก็แปลกว่า โดยมากจะอยู่ในประเทศยากจน อย่างทวีปแอฟริกา และอเมริกาใต้ แล้วก็ถูกส่งมาขายยังประเทศที่เจริญแล้ว เหมือนอย่างดวงแก้วขนาดเท่าลูกแตงโม ที่อยู่ ณ แผนกอัญมณีของพิพิธพันธ์สมิธโซเนี่ยน กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งผมเอง และใครๆ อีกหลายท่านก็เคยไปเยี่ยมเยือน เพราะเป็นที่ล่ำลือกันว่า กายสิทธิ์ในลูกแก้วขนาดใหญ่นี้เอง ที่เป็นประธานกายสิทธิ์หล่อเลี้ยงรักษาประจำประเทศสหรัฐฯ เป็นของคู่บ้านคู่เมือง ถ้าจะเปรียบไป ก็เหมือน “พระแก้วมรกต” ของประเทศไทยอย่างนั้นเลยครับ

ทั้งนี้ผมเคย “ฟีเวอร์” เรื่องลูกแก้วจุยเจียอยู่หลายปี และเก็บสะสมหินจุยเจียในรูปแบบของลูกแก้ว, แท่งผลึก และพระพุทธรูปแกะสลักด้วย นอกจากนี้มาในช่วงหลังๆ ก่อนที่ผมจะมาบวชที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2555 – 2556 ผมก็เริ่มเก็บสะสมของกายสิทธิ์ประเภท “คดหิน” ประเภทต่างๆ โดยใช้จ่ายไปมากกับเรื่องของกายสิทธิ์ กระทั่งครูบาอาจารย์ทางวิชชา ที่ผมนำของไปให้ท่านดูอยู่เรื่อยๆ และกราบขอบารมีท่านช่วยกลั่น และสอนวิชชาให้กายสิทธิ์ ท่านปรามประมาณว่า ไม่จำเป็นต้องหามาเยอะๆ เพราะเราจะคุมไม่อยู่ ซึ่งในตอนนั้นผมเองก็ยังไม่รู้อะไรมากนัก คิดแค่ว่า มีแล้วจะเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย โชคดี มีลาภ แต่ครูวิชชาของผมท่านให้ข้อคิดประมาณว่า เรื่องของกายสิทธิ์นี้แล้วแต่คน บางคนได้กายสิทธิ์มาช่วย ชีวิตก็เจริญรุ่งเรือง ในขณะที่บางคนมีแล้วก็อย่างนั้นอย่างนั้น ผมมาได้ข้อคิดว่า คนเราถึงแม้มีของกายสิทธิ์ แต่ถ้าไม่มีบุญ ไม่ทำบุญรองรับ แม้มีกายสิทธิ์ก็ช่วยไม่ได้มากนัก ยิ่งมาตอนหลังๆ เพิ่งทราบว่า การซื้อกายสิทธิ์ต่อจากภพเจ้าของก็ยังต้องใช้ธาตุบุญจำนวนมาก  ประกอบกับเมื่อผมอิ่มตัวกับการสะสมของกายสิทธิ์ผมก็เลยยกหีบของกายสิทธิ์แทบทั้งหมดเป็นมรดกให้กับ “หลวงพ่อ” ซึ่งท่านมาเกิดเป็นหลานชายของผม แต่จะบอกว่ากายสิทธิ์ไม่มีคุณอะไรเลยก็ไม่ได้ เพราะผมได้อะไรดีๆ จากของกายสิทธิ์ กระทั่งเอ่ยบอกได้ว่า “มีไว้ ก็ดีกว่าไม่มี” แม้เราจะยังไม่มีวิชชาในการกำกับกายสิทธิ์ก็ตาม แต่ถ้ากายสิทธิ์อยู่กับผู้ทรงวิชชา ก็จะเป็นประโยชน์มากกว่า บางทีเราหาขอกายสิทธิ์มาได้เป็นร้อยๆ ชิ้น หากเจอของเด็ดๆ สักสองสามชิ้น ก็ถือว่าคุ้มแล้วครับ เพราะสามารถปรับปรุงพัฒนาสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางวิชชาได้มาก อย่างเช่นบางท่านมีวิชชาอยู่ขั้น “บรมพุทธจักรฯ” พอได้กายสิทธิ์ไป ก็ตรัสเป็น “ไพบูลย์พุทธจักรฯ” เรียกได้ว่ากระโดดข้ามขั้นไปหลายชั้นด้วยกายสิทธิ์นั้น ซึ่งถ้าทำวิชชาเองตามลำพังตลอดชีวิตก็อาจจะได้เพียงชั้น “อุดมพุทธจักรฯ” หรืออย่างดีก็ “เอกอุดมบรมพุทธจักรฯ” ครับ

สำหรับผู้ที่มีของกายสิทธิ์มากๆ จะได้ประโยชน์จากกายสิทธิ์ ถ้าหากมีวิชชามากพอจะควบคุม แต่ถ้าหากยังไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ก็อาจจะหาวัตถุมงคลที่สั่งวิชชาได้ อย่าง พระนั่งเมืองแก้ว, พระกริ่งสัมมาอะระหัง, และพระกริ่งไพลดำ ของวัดหลวงพ่อธรรมกายาราม มาคุมของกายสิทธิ์อีกต่อหนึ่ง แต่อาจจะต้อง “จ่ายค่าคุมวิชชา” ให้กับภพผู้เป็นเจ้าของ ในการเดินวิชชาของของกายสิทธิ์นั้น ถ้าจะให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ควรแยกสัดส่วนออกเป็นกลุ่มๆ เช่น หาโถแก้วเจียระไนที่มีฝาปิดมิดชิดมาหลายๆ ใบ ใบแรกใส่ของกายสิทธิ์ประเภทหินจุยเจีย ใบที่สองใส่คดไข่นก ใบที่สามใส่คดดักแด้ ใบที่สี่ใส่คดหอย จัดเป็นชุดๆ แบบแยกประเภท โดยในโถแต่ละใบ เราก็ใส่พระนั่งเมืองแก้ว, พระกริ่งไพลดำ, พระกริ่งสัมมาอะระหัง เอาไว้ โถละหนึ่งพระองค์ แล้วเวลาจะให้ท่านคุมวิชชา/เดินวิชชาให้ ก็เรียนให้องค์หัวหน้าแต่ละโถทราบ ไม่ว่าจะเป็นในสมาธิ (ถ้าพอมีวิชชา) หรือยกขึ้นจบอธิษฐาน (ถ้ายังไม่ได้ธรรม) ซึ่งโถแก้วในลักษณะนี้เรียกได้ว่าเป็น “ห้องวิชชา” ของกายสิทธิ์ แล้วเมื่อถึงวันพระ ก็ให้หาพวกมาลัยดอกมะลิสดแบบไม่แช่น้ำยา มาแขวนไว้บนฝาโถ เพื่อให้กายสิทธิ์ท่านได้พักเสวยกลิ่นดอกไม้

ว่าด้วยเรื่องของกายสิทธิ์นั้น มีครูวิชชาชี้แนะมาว่า ของกายสิทธิ์ชั้นเลิศอันดับต้นๆ ของโลกก็คือ “หินทิเบต” ที่ก้อนหินมีลักษณะเป็นตาๆ แล้วนิยมนำมาทำสร้อยข้อมือ มีทั้งของจริง ของปลอมอยู่เยอะมาก กายสิทธิ์ในหินทิเบตนั้น มีอิทธิคุณรุนแรง องค์กายสิทธิ์มีฉมวก โง้ง ง้าว อยู่บนเครื่องทรงเต็มไปหมด ใครๆ ก็อย่าได้ไปมีเรื่องมีราวกับกายสิทธิ์หินทิเบตเชียว แล้วพระลามะส่วนใหญ่ท่านก็มีหินทิเบตไว้ในครอบครองด้วยกันแทบทุกองค์ แต่ก็คงจะไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าท่านจะทะเลาะกัน เพราะต่างองค์ต่างก็มีหินทิเบต แต่แม้หินทิเบตจะดีเพียงใด ข้อควรคำนึงก็คือ ภพเจ้าของหินทิเบตไม่รับแลก หรือขายองค์กายสิทธิ์ให้ใคร จึงไม่สามารถ “เหน็บ” กายสิทธิ์เข้าไปเป็นของส่วนตัวในสายธาตุสายธรรมของผู้ครอบครองหินทิเบตได้ แม้ว่าจะซื้อหาหรือได้มาอย่างถูกต้องก็ตาม

สำหรับประเทศไทยเรา ก็มีของกายสิทธิ์ดีๆ อยู่หลายตระกูล ทั้งรัตนชาติ และคดหินต่างๆ ประเทศไทยเราก็มีมากพอดู แต่ที่พิเศษๆ ไม่ควรมองข้ามก็คือ “หินพระธาตุเขาสามร้อยยอด” ซึ่งมีหลายประเภท สำหรับงานหลากหลายอย่าง ทั้งด้านฤทธิ์ ด้านรบ ด้านสมบัติ ด้านความสวยงาม ด้านรักษาโรค และอื่นๆ ซึ่งหินพระธาตุเขาสามร้อยยอดนั้น ใช้งานง่าย และภพผู้เป็นเจ้าของก็ยินดีรับแลก คือยินยอมขายกายสิทธิ์ให้ แต่สนนราคาแพงลิบลิ่ว ซึ่งผู้ทรงวิชชาบางท่านต้องยอมถอดใจ แต่บางท่านที่ทำบุญด้วยวิชชาแล้วได้บุญมามหาศาล ไม่ว่าจะเป็น ฎิ๋งๆ ฆังๆ ฏาๆ ฏุ๋งๆ ซึ่งท่านที่หาบุญมาได้ก้อนมหึมาถึงขนาดพูดไม่ออกบอกไม่ถูก ต้องใช้คำแปลกๆเรียก ก็ยินดีจะแลกเพื่อ “เหน็บกายสิทธิ์” องค์เจ๋งๆ เข้าสายธาตุสายธรรมของตนไว้ เป็นกำลังในทุกชาติทุกภพ ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้ “ตรัสขั้นสูงในวิชชา” ได้อีกด้วย

ทุกวันนี้เราจะเห็นได้ว่าของกายสิทธิ์มีวางจำหน่ายเต็มไปหมด ทั้งในโลกออนไลน์, เว็บไซท์, เฟสบุ๊ค, ร้านค้า ซึ่งนำเสนอทั้งของจริงของปลอม แต่ของปลอมบางครั้งเราเรียกว่าเป็นของ “ทำเทียม” ซึ่ง “ผู้ค้า” ท่านอัดกายสิทธิ์ของท่านลงไปเอง ทั้งวัตถุมงคล พระเครื่อง รัตนชาติวิทยาศาสตร์ และคดหิน แต่กายสิทธิ์ที่พ่อค้าแม่ขายท่านอัดเข้าไปบางครั้งก็เป็นของดีพอควร เช่นครั้งหนึ่ง ผมได้ซื้อหินสีขาวที่แกะสลักเป็นทรงจักรแก้วขนาดเท่าเหรียญสิบบาทมา ดูแล้วก็ไม่น่าใช่หินจุยเจีย แม่ค้าเรียกราคาประมาณ 500 บาท ผมก็งงว่าทำไมขายแพงจัง เมื่อได้มาแล้วก็เก็บเอาไว้เล่นๆ เห็นว่าสวยดี แต่ต่อมาก็ยกถวาย “หลวงพ่อ” ซึ่งท่านมาเกิดเป็นหลานชายของผม หลังจากนั้นจึงทราบว่าภายในจักรแก้วแกะสลักนั้น แม่ค้าได้อัด “จุลจักรรัตนะของทิพย์” ใส่เอาไว้ ที่ของแพงหน่อย เพราะเธอคิดค่าวิชชาด้วย แบบนี้ก็มีเหมือนกันครับ  

ณ จุดนี้ ผมจึงขอเล่าถึงประสบการณ์ในการหาของกายสิทธิ์ว่า ปกติแล้วในแวดวงวิชชา จะมีตัวแทนจำหน่ายของกายสิทธิ์ วัตถุมีฤทธิ์ และทรงวิชชาว่า “พ่อค้าธาตุ / แม่ค้าธาตุ” ซึ่งท่านเหล่านี้ก็ค้าๆขายๆปะปนอยู่กับคนทั่วไป แต่ท่านมีวิชชา ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าเหล่านี้ ท่านจะมี “ชื่อธาตุ” อยู่ในทะเบียนผู้ค้าของโลกทิพย์ เป็นชื่อที่ไม่ซ้ำกันเลย แต่อาจพ้องเสียงฟังดูคล้ายๆ กันก็มีบ้าง แล้วถ้าเราซื้อของกายสิทธิ์จากท่าน ท่านก็จะชาร์จค่าสินค้าตามหลักการคือ หากขายของราคาแพงเป็นเงินตรา จะชาร์จ “ธาตุบุญ” ในวิชชา ไม่มากนัก แต่ถ้าท่านขายของราคาถูก หรือลดราคาให้เป็นเงินตรา จะชาร์จ “ธาตุบุญ” ในวิชชาเป็นจำนวนมาก ซึ่งท่านจะทำแบบนี้กับลูกค้าที่มีวิชชา โดยต้องต่อรองกันในใจ แต่ประโยชน์ที่จะได้จากการซื้อขายกับ “ผู้ค้า” ก็คือท่านจะรับรองสินค้าให้ และบางท่านก็นำสินค้ามาผ่าน “กรรมวิธีในวิชชา” บางอย่าง เช่นทำความสะอาด, เติมวิชชา, กำกับมนต์ ฯลฯ ทำให้ของกายสิทธิ์มีคุณเป็นพิเศษ แต่ก็ไม่เสมอไป ธรรมเนียมในการซื้อของกายสิทธิ์มีอยู่ว่า ถ้าเราไปถึงร้านแล้วสนใจชิ้นใด แต่ยังไม่ถึงกับอยากซื้อ อย่าจับของนั้นยกขึ้นแล้วถามราคา ให้ใช้นิ้วมือชี้ก็พอครับ ถ้าเราใช้มือจับของขึ้นมา แล้วถามราคา ถ้าทราบราคาแล้วไม่ซื้อ จะถือว่า “เสียมารยาท” และถ้าเป็นไปได้ ไม่พึงพูดต่อรองขอลดราคามูลค่าเงินตรา ถ้าจะต่อให้คุยในใจ เพราะการกดราคานั้นเข้าข่ายเสียมารยาท  แล้วถ้าหากของกายสิทธิ์ไปถึงมือผู้ทรงวิชชาแล้ว อาจจะเป็นผู้ซื้อเอง หรือครูวิชชาผู้ที่เราเดินของให้ หากท่านถูกใจและพอใจ ก็จะต้อง “ทิป” ให้กับ พ่อค้าธาตุ/แม่ค้าธาตุ ด้วย “ธาตุบุญ” ครับ

เมื่อจบเรื่อง “ผู้ค้า” แล้ว เราก็มาต่อกันที่เรื่องของ “คนเดินของ” ซึ่งเป็นคำถัดๆ มาจากหน้าที่สำคัญอย่าง “เดินวิชชา” และ “เดินงาน” คนเดินของเป็นคนที่พอมีวิชชา และดูของกายสิทธิ์เป็น ก็จะออกแสวงหาของกายสิทธิ์ เพื่อนำมาถวาย หรือมอบให้กับผู้ทรงวิชชา และรับ “กำเน็จรางวัล” เป็นการตอบแทน โดยผู้ทรงวิชชาอาจจะตอบแทนคนเดินของ ในรูปแบบของการ “เติมวิชชาให้” “เหน็บเงินใส่กระเป๋า (ตามสมบัติให้ใช้)” และ “ตอบแทนเป็นธาตุบุญ” หรือรูปแบบอื่นๆ ตามอัธยาศัย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วใครๆ อาจมองว่าหน้าที่เดินของไม่ใช่หน้าที่สำคัญ แต่สำหรับผู้ทรงวิชชาผู้ได้รับของกายสิทธิ์อันล้ำค่า โดยเฉพาะจากผู้เดินของที่ “ขึ้นชื่อลือชา” ว่าสายตาเฉียบคมกริบ เป็นนักช้อปปิ้งอันดับต้นๆ หามาได้แต่ของเด็ดๆ ผู้ทรงวิชชาท่านจะใช้คำว่า “ขอดูบ้าง” ซึ่งเป็นนัยยะอย่างสุภาพๆ แปลได้ว่า “อยากได้บ้าง” ซึ่งถ้าคนเดินของยินดี ก็จัดให้ตามระเบียบ

ข้อแนะนำสำหรับท่านที่กำลังแสวงหา และสะสมของกายสิทธิ์ก็คือ ถ้าเราทำเป็นงานอดิเรก ทำแล้วมีความสุข ก็ทำไปครับ บางทีก็ได้ของดีๆ มา ถ้าเราใช้เองไม่เป็น เราก็นำไปถวายพระสงฆ์ผู้ทรงวิชชา หรือผู้ทรงวิชชา ให้ท่านใช้ประโยชน์ บางทีท่านจะทำสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นได้ เช่นเก็บผังสงครามระหว่างประเทศ และสงครามโลก, คุมธรรมให้พระและญาติโยมที่มารักษาศีลปฏิบัติธรรม, รักษาโรคให้พระและญาติโยม, หรือตามสมบัติให้ญาติโยมที่กำลังเศร้าเสียใจกับธุรกิจที่ปิดตัวลง บ้างก็เป็นหนี้เป็นสิน เป็นสิน สิ้นเนื้อประดาตัว ซึ่งการทำเช่นนี้ ก็จะเป็นบุญอานิสงส์ติดตัวเราไปด้วย คือเราจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจลี้ลับมาช่วยเหลือ เมื่อคราวประสบเคราะห์ ตกทุกข์ได้ยากครับ ส่วนของกายสิทธิ์ที่มีเป็นกระตักๆ นั้น ถ้าดูแลไม่ทั่วถึง และไม่มีวิชชากำกับ ก็อาจจะไม่เป็นประโยชน์อะไรกับเจ้าของมากนัก แต่ครูวิชชาของผมก็สอนประมาณว่า กายสิทธิ์นั้นบางครั้งท่านก็ช่วยเรา แม้เราจะไม่มีวิชชา แต่ก็ช่วยแบบ ช่วยคนที่ยังไม่มีวิชชา ถ้าหากมีวิชชาแล้ว ของกายสิทธิ์เยอะ ก็ขอบอกเลยว่า อาจจะเปลืองวิชชามากครับ คือต้องกลั่นให้กายสิทธิ์สะอาด ต้องกลั่นให้กายสิทธิ์ละเอียด บางทีต้องหมดเปลืองวิชชา ประดา และบารมีไปมาก หรือนำมาแช่น้ำพระพุทธมนต์เพื่อล้างมลทิน แต่ก็ต้องจ่ายธาตุบุญให้ผู้รักษาน้ำมนต์อีก แล้วถ้าหากเหน็บกลับเข้าสายธาตุสายธรรมไม่ได้ ก็เท่ากับว่าเมื่อหมดอายุขัย ก็ต้องส่งต่อให้ผู้อื่น หรือมิฉะนั้นก็ถวายพระ ให้นำไปบรรจุในพระเจดีย์ หรือฐานพระพุทธรูป กลายเป็นกรุสมบัติพระศาสนาไป โดยที่เราอาจจะยังไม่คุ้มกับประโยชน์ที่จะได้จากกายสิทธิ์จำนวนมากๆ ที่เก็บสะสมไว้

บางท่านอ่านบทความมาถึงจุดนี้แล้วอาจจะบอกว่า อ้าว.. แล้วต้องทำยังไงล่ะทีนี้ ตกลงควรจะมีกายสิทธิ์ไว้เท่าไร คำตอบจากประสบการณ์ตรงของผมก็คือ ก็เลือกเก็บเฉพาะกายสิทธิ์ชิ้นเด็ดๆ ที่เข้ากับเราได้ดี ซึ่งคำว่าเข้ากับเราได้ดีนี้ มันจะมาตั้งแต่ตอน “แรกพบ” กายสิทธิ์ อย่างเช่นตอนไปเจอที่ร้าน หรือเปิดดูเว็บไซท์ แล้วเห็นกายสิทธิ์ จะรู้สึก “ชอบๆๆ” แล้วก็อยากได้ จึงค่อยไปซื้อมา แล้วตั้ง “ห้องวิชชา” ให้ท่านอยู่ แต่ถ้าจะซื้อแบบหว่านแห หรือกวาดไปทั้งร้าน ก็ไม่พึงทำครับ เพราะสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เนื่องจากยุคปัจจุบันนี้ กายสิทธิ์ออกมาจากที่ซ่อนเร้นเป็นจำนวนมาก เพราะถึงยุคสำคัญของธาตุธรรม เป็นยุคที่จ้าวธาตุ จ้าวธรรม องค์ธาตุ องค์ธรรม เจ้าวงศ์ เจ้าองค์ เจ้าสี เจ้าสาย อวตารมาเกิดเป็นมนุษย์จำนวนมากพร้อมบริวาร และท่านเหล่านี้ หากได้วิชชาแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะตรัสเป็น “เจ้าวิชชา” นำพาคนจำนวนมากเข้าถึงธรรม และเข้าถึงวิชชา กายสิทธิ์จึงออกมาจากที่เร้นที่ซ่อน เพื่อร่วมงานกัน และแบ่งสรรปันผลให้ภพผู้เป็นเจ้าของอย่างเป็นธรรมครับ ยกตัวอย่างเช่น “เหล็กไหล” ซึ่งเมื่อสมัยผมยังเป็นเด็กนั้นเคยไปเยือนวัดถ้ำตามภูเขาแล้วทราบว่าเหล็กไหลเป็นของหายาก กว่าจะใช้อาคมตัดเหล็กไหลได้ องค์หนึ่งๆ สนนราคาเป็นแสน แต่เดี๋ยวนี้เหล็กไหลเต็มไปหมด ราคาก็ลดลง

สำหรับกายสิทธิ์ประเภทที่ได้มาโดยไม่ต้องซื้อ แต่มาแบบพบเจอเอง หล่นอยู่ตามใต้ต้นไม้บ้าง อย่างคดผลไม้ต่างๆ เจอในผลไม้บ้าง อย่างคดเม็ดขนุนที่เจอในผลขนุน อย่างคดไข่นกที่เจอในรังนกในสวนหลังบ้านบ้าง กายสิทธิ์ที่มาหาเองเหล่านี้ถือเป็นสิ่งมงคล ซึ่งภพของท่านประสงค์จะมาช่วยงานเราโดยเฉพาะเจาะจง เป็นวาสนาสูงส่งที่ได้เจอกัน ให้เก็บรักษาไว้ประจำตัว และพยายามอย่าให้ หรือขายต่อให้ใครครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

11 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง กายสิทธิ์ต่างจากกายเทวดาอย่างไร?

 

ทั้งกายสิทธิ์ (กายทิพยนตร์) และกายเทวดา (กายเทพยดา) จัดเป็น "กายทิพย์" ด้วยกันทั้งคู่ คือมีสภาพอันเป็นทิพย์ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และจับต้องไม่ได้ด้วยกายมนุษย์ ยกเว้นบางท่านที่อาจจะเห็นหรือจับต้องได้เพราะมีคุณวิเศษบางประการ แต่ทั้งกายสิทธิ์และกายทิพย์คล้ายกันตรงที่มียนต์กลไกอะไหล่อยู่ข้างใน เหมือนกายมนุษย์ที่มีตับไตไส้พุง แต่เครื่องยนต์กลไกของกายสิทธิ์ด้วยกัน และกายเทวดาจะไม่เหมือนกัน เพราะกายสิทธิ์มีภพผู้เป็นเจ้าของเป็นผู้ผลิต หรือบ้างก็สั่งผลิตโดยภพนายช่าง ซึ่งเครื่องภายในแตกต่างกันโดย สเป็คอันเป็น โนว์ฮาว” (know-how) หรือ วิชาองค์ความรู้เฉพาะตัวของแต่ละภพ อุปมาเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีรุ่นและแบบต่างๆ ขึ้นอยู่กับภพผู้เป็นเจ้าของหรือภพนายช่างท่านจะออกแบบมา ส่วนกายเทวดาจะมียนต์กลไกอะไหล่เหมือนๆ กันแทบทั้งนั้น เฉกเช่นเดียวกับกายมนุษย์ ที่ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติพันธุ์ และศาสนาใด ก็ล้วนมีหัวใจอยู่ในอกข้างซ้าย มีตับ ไต ปอด ไส้ พุง ซึ่งจัดเรียงตำแหน่งอยู่ในตัวเหมือนๆ กันแทบทุกคน เป็นแบบแผน ยกเว้นบางคนที่ผิดปกติธรรมดา

กายสิทธิ์บางองค์มีอะไหล่เป็นล้านชิ้น ซึ่งบางคนฟังแล้วอาจคิดว่า จะมีน็อต มีสกรู มีเฟือง แต่ความจริงแล้ว อะไหล่ของกายสิทธิ์ก็เป็นดวงกลมๆ จานกลมๆ เหมือนแผ่นซีดี ซ้อนกันไป ซ้อนกันมา โดยความซับซ้อนของระบบและอะไหล่นั้นไม่เท่ากัน มีผลตอนเดินวิชชา บางองค์เครื่องดี เดินเครื่องนิ่งเฉียบฉิว บางองค์เดินวิชชาเร็วแรงนานต่อเนื่องแล้วเครื่องกระตุกกระตัก ต้องพักเป็นระยะๆ

ความแตกต่างนอกจากนี้คือก็คือ กายสิทธิ์ไม่มี "สายธาตุสายธรรม" เหมือนอย่างกายเทวดา ที่มี 18 กาย (ถ้านับรวมกายมนุษย์) คือมีกายภายในอันได้แก่ กายละเอียด, กายทิพย์, กายพรหม, กายอรูปพรหม, พระธรรมกาย, พระจักรพรรดิ ที่จะเข้าถึงได้ตามลำดับ เมื่อเลย 18 กายแล้วก็มี กายเถา กายชุด กายชั้น กายตอน กายพาก กายพืดเหมือนเส้นสายของลูกประคำ ที่เชื่อมต่อกันเป็นเส้นตรงจากหยาบถึงละเอียด จึงอาจกล่าวได้ว่า กายสิทธิ์เป็นกายเดี่ยวๆ ที่เดินวิชชาได้ในตัวเองอยู่แล้ว ซึ่งเทียบเท่าพระธรรมกาย หรือกายพระจักรพรรดิ (กายสิทธิ์ตรัสเป็นภาคธรรม หรือภาคจักรฯ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับวิชชาของผู้ทรงวิชชาที่เป็นเจ้าของ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นจักรพรรดิ เพราะเวลากายสิทธิ์กลายเป็นภาคธรรมขั้นสูงๆ หรือแม้แต่ภาคจักรฯ ที่ทรงธรรม อย่างพระธรรมจักรพรรดิแล้ว ผู้ที่ใช้วิชชากับกายสิทธิ์อาจจะรู้สึก เกรงใจเหมือนเราจะใช้พระอรหันต์ทำงานให้) โดยนัยนี้ กายสิทธิ์สามารถบรรลุธรรม, บรรลุวิชชาได้ และเลื่อนขั้นในวิชชาได้ด้วย คือเป็นกายภาคธรรม อย่างเช่นพระพุทธราช และกายภาคจักร อย่างเช่นพระบรมพุทธจักรพรรดิ ซึ่งแม้กายสิทธิ์จะเป็นกายทิพยนตร์ แต่ผู้ทรงวิชชาก็ต้องเคารพและให้เกียรติ

กายสิทธิ์ดำรงอยู่โดยตนเองตามลำพังก็หาไม่ เพราะมีสายควบคุมโดยภพผู้เป็นเจ้าของกำกับอยู่ ถ้าหากผู้ทรงวิชชาต้องการโยงสาย หรือเชื่อมเข้าสายธาตุสายธรรมของตน ก็ต้องจ่ายธาตุบุญหรือวิชชา หรือสิ่งแลกเปลี่ยนอื่นๆ กับภพแล้วผู้ทรงวิชชาจะต่อสายธาตุสายธรรมให้กายสิทธิ์ เพื่อเชื่อมกับสายธาตุสายธรรมของผู้ทรงวิชชาเองก็ย่อมได้ โดยอาจจะเชื่อม กายเถา กายชุด กายชั้น กายตอน กายพาก กายพืด ให้กายสิทธิ์ด้วย ถ้ามีวิชชามากพอ

ความแตกต่างระหว่างกายสิทธิ์กับกายเทวดาอีกประการก็คือ กายสิทธิ์ไม่มี "ชีวะ" คือไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดเหมือนอย่างกายเทวดา ยกเว้นแต่ผู้ทรงวิชชาจะเติมชีวะเข้าไป แล้วตั้งยนต์กลไกเชื่อมสายธาตุสายธรรม อย่างเช่นทำให้มี 18 กายครบถ้วน แล้วจึงส่งมาเกิดเป็นมนุษย์ ที่อยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม ตามการปกครองของเครื่องธาตุเครื่องธรรม นอกจากนี้ กายสิทธิ์ก็ไม่มี บุญบาปหรือมี กรรมเหมือนอย่างกายเทวดา และกายมนุษย์ แต่ถ้าผู้ทรงวิชชาใช้กายสิทธิ์ทำบาปในวิชชา เช่นจัดผังให้ประเทศสองประเทศรบกันในเมืองมนุษย์ บาปจะตกอยู่กับผู้ทรงวิชชา แต่เป็น บาปละเอียดในวิชชา ส่วนกายสิทธิ์ไม่ติดบาปติดกรรม แต่จะมีความผิดในรูปแบบของ สิทธิ์เหมือนถูก ขึ้นบัญชีดำโดยธาตุธรรม แล้วผู้ที่อาจจะต้องรับผิดชอบ ก็คือภพผู้เป็นเจ้าของกายสิทธิ์เอง ยกเว้นแต่สายควบคุมถูกตัดโยงไปใส่ผู้อื่นแล้ว ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

11 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่องพระธรรมจักร และจักรแก้ว เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

หัวข้อนี้ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับผู้ทรงวิชชาแทบจะทุกท่านครับ เพราะผู้ทรงวิชชาส่วนใหญ่จะอยู่ในแวดวงของพระพุทธศาสนา และพระธรรมจักร พร้อมทั้ง จักรแก้ว ก็สามารถให้ “คุณ” ในวิชชาได้มากน้อยต่างกันไป ซึ่งพระธรรมจักร และจักรแก้ว ที่เราเอ่ยถึงในที่นี้ จะไม่กล่าวถึงของหยาบที่จับต้องได้ครับ แต่เราจะกล่าวถึง “พระธรรมจักรทิพย์” และ “จักรแก้วทิพย์” ที่เป็น “สมบัติของผู้เลี้ยงผู้รักษา” ซึ่งมีมวลเป็นกึ่งๆ “สมบัติอรูปภพ” อันเป็นมิติของภพผู้เลี้ยงผู้รักษา ในขณะที่จักรแก้วสำหรับ “เดินวิชชา” หรือ “เข้าวิชชา” โดยพระจักรพรรดิ และพระธรรมกายนั้น ผมจะยังไม่ขอกล่าวถึงโดยละเอียดในบทความนี้

เริ่มจากพระธรรมจักร อันเป็นสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกขึ้นเปรียบกับกงล้อเกวียน ซึ่งในโลกทิพย์ก็ปรากฏมีอยู่จริง ถือเป็น “สมบัติผู้เลี้ยง” ประเภทหนึ่งที่มีไว้สำหรับ “ส่งกำลังบำรุงหล่อเลี้ยงธรรม” ประจำบุคคล, คณะบุคคล, หน่วยงาน, องค์กร, กระทั่งถึงประเทศชาติ และโลก โดยขึ้นอยู่กับยุคสมัย

ตามปกติแล้วพระธรรมจักรทิพย์ จะมีอยู่หลากหลายรูปแบบ ก็เหมือนพระพุทธรูปที่มีหลายปาง แต่มีลักษณะคล้ายๆ กัน คือ เป็น “กงล้อ” ที่ผู้เลี้ยงผู้รักษาพระศาสนา ส่งมาประจำบุคคล, คณะบุคคล, หน่วยงาน, องค์กร, และประเทศชาติ อย่างเช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระสงฆ์, พระภิกษุ, พระภิกษุณี, สามเณร, สามเณรี, อุบาสก, อุบาสิกา, วัด, สำนักสงฆ์ โดยใส่ไว้ในที่เฉพาะ เช่น ในสายธาตุสายธรรมของบุคคล หรืออย่างใต้พื้นพระอุโบสถ ใต้พระพุทธรูป ใต้พระเจดีย์

พระธรรมจักรนี้ หากใครหรือสำนักใดมีพระธรรมจักรทิพย์ขนาดใหญ่หล่อเลี้ยงอยู่ บุคคลหรือสำนักนั้นก็จะมีความ “อุดมธรรม” คือ “เจริญทางธรรม” มากเป็นพิเศษ และถ้าหากพระธรรมจักรหมุนขวา ก็จะธำรงไว้ซึ่งความเป็น “สัมมาทิฐิ” แต่ถ้าหมุนซ้ายก็จะเป็น “มิจฉาทิฐิ” พระธรรมจักรที่หมุนเร็ว หมายถึงกิจกรรมทางธรรมอัน “คึกคัก” หรือ “Activeness” ส่วนพระธรรมจักรที่หมุนช้า ย่อมหมายถึงความ “เฉื่อย” หรือ Idleness” ของกิจกรรมทางธรรม อย่างเช่นการเทศน์, การเรียน, การสอน, การประชุมสงฆ์, การสัมมนาอบรมพุทธบริษัท, การบรรพชาอุปสมบท

ถ้าหากพระธรรมจักรมี “ซี่กงล้อ” อยู่มาก จะบ่งบอกถึง “อรรถและธรรม” ที่มากมี เช่นการศึกษาพระบาลีประโยคสูงๆ, ศึกษาพระไตรปิฎก และพระอภิธรรม ถ้าศึกษาแค่นักธรรมตรี โท เอก เพียงเท่านั้น ซี่กงล้อของพระธรรมจักรทิพย์จะมีน้อย ส่วนพระธรรมจักรที่มี “ใบมีดคม” เรียงรายอยู่โดยรอบของขอบกงล้อ มักจะเป็น “พระศาสนจักร” ที่มี “อำนาจในการปกครอง” ซึ่งได้มาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือได้มาจากภาครัฐ หรือได้ตามกฎหมายของอาณาจักร เช่นเป็นเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด และพระอารามหลวง

พระธรรมจักรทิพย์นี้ ผู้เลี้ยงผู้รักษาจะประชุมส่งลงมาให้ เพื่อเป็นกำลังให้กับบุคคล หรือหน่วยงาน หรือองค์กร หรืออาณาจักร (ในกรณีมีพระพุทธศาสนาประจำชาติ) แต่กำลังของพระธรรมจักรจะ “หนุนเนื่อง” กันกับผู้เป็นเจ้าของ คือพระธรรมจักรก็ส่งฤทธิ์ให้เป็นไป และเมื่อทำตามอิทธิพลจากฤทธิ์นั้นแล้ว พระธรรมจักรก็มีกำลังมากขึ้น เหมือนคนเล่นฟิตเนส ยิ่งโยกเครื่องยกน้ำหนักบ่อยๆ กล้ามเนื้อก็ขึ้น มีเรี่ยวแรงกำลังวังชาดี เครื่องก็ไม่ฝืด แต่พอเลิกเล่น กล้ามเนื้อก็ฝ่อตัวลง เรี่ยวแรงก็ถดถอยลง เครื่องก็ขึ้นสนิมเพราะไม่มีใครใช้ พอจะกลับมายกใหม่ เครื่องมันก็ฝืด ต้องออกแรงฝืน สมบัติผู้เลี้ยงก็ทำงานในทำนองเดียวกัน คือเมื่อเขาส่งฤทธิ์แล้วก็ต้องใช้บ่อยๆ แล้วธรรมจักรทิพย์ก็จะมีกำลังดีขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเฉพาะพระธรรมจักรทิพย์เองที่เป็นสมบัติของผู้เลี้ยง จะมีกำลังส่งผลในส่วนหยาบประมาณ 30 – 45% ส่วนที่เหลือเป็นปัจจัยส่งผลอื่นๆ เช่นบุญบารมีของบุคคล, เทวดาประจำวัดวาอาราม และสำนัก, การอุปถัมภ์ และสนับสนุน โดยบุคคลผู้มีกำลัง, สติปัญญาสามารถในการบริหารงาน, และภูมิจิตภูมิธรรมที่เข้าถึง ฯลฯ

สำหรับ “จักรแก้ว” ที่เป็นสมบัติผู้เลี้ยงนั้น ไม่ได้เป็นสมบัติเฉพาะพระเจ้าจักรพรรดิราช ผู้ปกครองทวีปทั้ง 4 ซึ่งเป็นของหยาบที่จับต้องได้ แต่จักรแก้วที่เป็นสมบัติผู้เลี้ยงนั้นมีสภาพเป็น “ทิพย์” กึ่งๆ “สมบัติอรูปภพ” เท่านั้น โดยมีฟังก์ชั่นการทำงานคือ เป็นอุปกรณ์สำหรับส่ง “ฤทธิ์ทิพย์” หล่อเลี้ยงบุคคล และองค์กร ทำให้บุคคลและองค์กรมี “ฤทธิ์ สิทธิ์ อำนาจ” ในการทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นหน่วยงานราชการ และบุคคล/องค์กร ที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการ เช่น รัฐบาล, สภา, ศาล, กระทรวง, ทบวง, กรม, มหาวิทยาลัย, บริษัท, ห้าง, ร้าน, ธนาคาร, โรงแรม, โรงพยาบาล, โรงเรียน, ภาครัฐ, ภาคเอกชน และอื่นๆ หมายความว่า บุคคลหรือกิจการใดก็ตาม ที่มีกิจกรรมที่ต้องใช้อำนาจ ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจ, สั่งงาน, สั่งการ ในรูปแบบต่างๆ ล้วนมีจักรแก้วทิพย์ คอยส่งกำลังให้มีฤทธิ์, สิทธิ์, อำนาจ

จักรแก้วทิพย์ของผู้เลี้ยง ก็คล้ายพระธรรมจักรทิพย์ คือมีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ถ้าใหญ่มาก ก็มักจะเลี้ยงรักษาองค์กรใหญ่ๆ อย่างองค์การสหประชาชาติ หรือประเทศชาติ ประเทศใดมีจักรแก้วทิพย์ขนาดใหญ่หล่อเลี้ยง ประเทศนั้นจะเป็นประเทศมหาอำนาจ แล้วจักรแก้วทิพย์ก็มีทั้งแบบหมุนเร็ว หมุนช้า คือกิจกรรมภาครัฐ และเอกชนที่คึกคัก หรือซบเซา ถ้าจักรแก้วหมุนขวา ก็จะเป็นไปในทางชอบธรรม เป็นประเทศของคนที่ใช้อำนาจในทางที่เป็นคุณ ถ้าหมุนซ้ายก็มักจะใช้อำนาจไปในทางที่ผิดๆ ถ้าจักรแก้วทิพย์มีลายดอกบัว ก็มักจะเป็นประเทศที่มีพระพุทธศาสนาประจำชาติ ถ้าใบมีดของจักรแก้วมีมาก มักจะหมายถึงบุคคลหรือองค์กรหรือประเทศ ที่มีแสนยานุภาพมาก เฉียบขาด และรุนแรงกว่าทั่วไป ใครที่มีจักรแก้วทิพย์ขนาดใหญ่ หมุนเร็ว หมุนไปทางขวา และมีใบมีดมาก มีลวดลายมาก ก็มักจะเป็นผู้ที่เจริญรุ่งเรืองดีในทางโลก

สำหรับจักรแก้วทิพย์ที่ส่วนแหลมของคมมีดหมุนไปทางขวา ก็จะแรงกว่าประเภทที่สันของคมมีดหมุนไปทางขวาซึ่งปาดบาดไปไม่รุนแรงเท่า แต่ทิศทางของคมมีดนั้นไม่ใช่เครื่องตัดสินว่าจักรแก้วทิพย์เป็นของฝ่ายพระหรือฝ่ายมาร เพราะคมใบมีดทั้งสองแบบขึ้นอยู่กับว่าจะหมุนขวาหรือไม่ บางครั้งมองจากข้างหน้าเหมือนใบมีดจะหมุนซ้าย แต่ถ้ามองมาจากข้างหลังคือหมุนขวา จึงไม่สามารถตัดสินได้ ด้วยการดูภาพจักรแก้วทิพย์ที่เป็นภาพนิ่ง

ทั้งพระธรรมจักรทิพย์ และจักรแก้วทิพย์ นั้น มีอยู่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งผู้เลี้ยงผู้รักษาจะประชุมขึ้น โดยจะมี “ภพนายช่าง” เป็นผู้ประกอบส่วนสร้างขึ้น แล้วใส่ยนต์กลไกให้ทำงาน สร้างเสร็จแล้วก็ส่งลงมาให้ใช้ ถือเป็น “อุปกรณ์ทิพย์” อย่างหนึ่ง ซึ่งบุคคล หรือคณะบุคคล หรือองค์กร หรือประเทศ แม้แต่โลก ที่จะใช้พระธรรมจักรทิพย์ หรือจักรแก้วทิพย์ จะได้ใช้ประเภทใด ขนาดใด ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรหลายๆ อย่าง ตามแต่ผู้เลี้ยงผู้รักษาท่านจะพิจารณาให้อย่างเหมาะสม เช่นกำลังของพระพุทธเจ้าผู้ทรงก่อตั้งพระศาสนา, กำลังบุญบารมีของคนภายในประเทศ, กำลังของบรรพบุรุษผู้ก่อตั้งประเทศซึ่งเป็นผู้เลี้ยงผู้รักษาที่ใกล้ชิดอยู่กับโลก, กำลังของผู้ปกครองโลก อย่างพระเจ้าจักรพรรดิราช, พระราชา, ประธานาธิบดี, นายกรัฐมนตรี, ยุคสมัยของโลก ว่าเป็นยุคเสื่อม หรือเจริญ, และเทวดาประจำเมือง หรือองค์กร หรือบุคคล บ้างก็มีเฉพาะพระธรรมจักรทิพย์อย่างเดียว บ้างก็มีเฉพาะจักรแก้วทิพย์อย่างเดียว บ้างก็มีทั้งสองอย่าง ซึ่งยุคสมัยใดที่โลก, ประเทศชาติ, องค์กร, หน่วยงาน หรือบุคคล กำลังอยู่ในยุคเฟื่องฟู เจริญรุ่งเรือง อาจจะขอซื้อพระธรรมจักรทิพย์ และจักรแก้วทิพย์ อันเป็นสมบัติผู้เลี้ยงผู้รักษามาเก็บไว้ในสายธาตุสายธรรมของตนเองก็ได้ เพราะช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด ซึ่งพระธรรมจักรทิพย์ หรือจักรแก้วทิพย์ ที่กำลังทำหน้าที่อยู่ เป็นสเป็คที่ทำงานแรงกำลังดี และเข้ากันได้ดีมาก กับประเทศ, องค์กร, หน่วยงาน, คณะบุคคล หรือบุคคล เหมือนรถยนต์เช่าซื้อ (lease) ที่นำมาใช้แล้วขับขี่คล่องตัวดีมาก ถึงขนาดที่ต้องขอซื้อเพื่อให้ได้สิทธิ์ขาดในการครอบครองรถยนต์นั้น

ส่วนจักรแก้วทิพย์ ที่ผู้ทรงวิชชา มีไว้สำหรับ “เดินวิชชา” หรือ “เข้าวิชชา” นั้น เป็นคนละประเภทกับพระธรรมจักรทิพย์ และจักรแก้วทิพย์ ของผู้เลี้ยงผู้รักษา แต่โดยรูปลักษณ์ก็คล้ายๆ กัน ฟังก์ชั่นการทำงานก็คล้ายๆ กัน คือส่งฤทธิ์, ส่งอำนาจ, เลี้ยงกำลังวิชชา แต่จักรแก้วสำหรับเดินวิชชานั้น ใช้เป็นอาวุธได้ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ใครที่กำลัง “เดินจักรแก้ว” อยู่มักจะมีอารมณ์ “ดุดัน” เพราะฤทธิ์ของจักรแก้วหล่อเลี้ยงใจ ในขณะที่ ผู้ที่เดินวิชชาด้วย แก้วมณี, ขุนพลแก้ว, ขุนคลังแก้ว, นางแก้ว, ช้างแก้ว, ม้าแก้ว ก็จะมี “มโนรมณ์” ต่างๆ กันไป ตามแต่รัตนะแต่ละอย่าง ซึ่งถ้าสามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับโอกาสได้ก็คงจะดี แต่ผู้ทรงวิชชาส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกเดินจักรแก้วกัน แล้วถ้าจะถอดเปลี่ยนเป็นรัตนะอื่น ก็อาจจะสะดุดในวิชชา ก็เลยมักจะเป็นอย่างที่เป็นกันครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

10 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org  


นานาสาระ: เรื่อง การจดทะเบียน และได้มาซึ่งสมบัติผู้เลี้ยง

บทความก่อนๆ ของผมนั้น ได้ให้มโนทัศน์โดยรวม เกี่ยวกับการได้มาซึ่ง “สมบัติผู้เลี้ยงผู้รักษา” ซึ่งโดยมากแล้ว จะต้องอยู่บนพื้นฐานของ ศักดิ์, สิทธิ์, และอำนาจ ที่มีขึ้นนับจากรากฐาน คือบุคคลหรือคณะบุคคลผู้ใช้อำนาจการปกครองอาณาจักร และระบบระบอบการปกครองที่รองรับ ซึ่ง “ภพทิพย์” ท่านอำนวยการอยู่อย่างลับๆ และถ่ายทอดการบริหารจัดการกันลงมาตามลำดับ กระทั่งถึง “เทวดาผู้เลี้ยงผู้รักษา” สำหรับบทความนี้ จะขอแนะนำเพิ่มเติมต่อไป ในมิติต่างๆ แห่งการเรียกสมบัติผู้เลี้ยงอย่างง่ายๆ

สมบัติภาคผู้เลี้ยงที่อิงอยู่กับพระธรรมวินัย และบทบัญญัติของ “พระศาสนจักร” อย่างเช่นการตั้ง “คณะสงฆ์” ที่ประกอบไปด้วยพระภิกษุ หรือพระภิกษุณี จำนวน 4 รูป หรือมากกว่า และการตั้ง “คณะพุทธบริษัท” ที่มีสมาชิกเป็น พระภิกษุ, พระภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา อย่างละ 1 รูป/ท่าน เป็นอย่างน้อย โดยนัยนี้ คณะนั้นๆ จะสามารถเรียกสมบัติผู้เลี้ยงออกมาได้ในรูปแบบของ “พระธรรมจักร” ซึ่งมีอำนาจในทางธรรม

ส่วนการเรียกสมบัติผู้เลี้ยงที่อิงอยู่กับ “ภาครัฐ” คือ “อาณาจักร” มักจะได้สมบัติผู้เลี้ยงเป็น “จักรรัตนะ” ซึ่งมีผู้เลี้ยงรักษาประจำอยู่ อย่างเช่น รัฐบาล, สภา, ศาล, กระทรวง, ทบวง, กรม, กองทัพ, องค์กรภาครัฐ อย่างเช่น มหาวิทยาลัย, โรงพยาบาลรัฐ และองค์การมหาชนที่เคยเป็น หรือกำลังเป็น รัฐวิสาหกิจ ส่วนภาคเอกชนที่มีจักรรัตนะ ก็คือองค์กรที่ภาครัฐรับรองอย่างเช่น บริษัทเอกชน, บริษัทมหาชน, ธนาคาร, ห้างหุ้นส่วน, มูลนิธิ, สมาคม และอื่นๆ ต่างแต่เพียงว่า จักรรัตนะจะใหญ่หรือเล็ก, ฤทธิ์มากหรือน้อย, และมีอิทธิคุณอย่างไร เช่นจักรรัตนะของบริษัทจำกัดก็จะไม่เหมือนจักรรัตนะของกองทัพเรือ แต่มีความคล้ายกันคือ ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงรักษาให้อำนาจในการทำงาน โดยองค์กรขนาดใหญ่ มักจะมีจักรรัตนะที่ใหญ่กว่า แรงกว่า

สำหรับผู้ทรงวิชชา, กลุ่มบุคคล และคณะบุคคลที่ทำงานด้านพระพุทธศาสนา และสาธารณประโยชน์แบบไม่แสวงผลกำไร เดิมทีอาจอยู่ในรูปของกลุ่มและคณะที่ตั้งขึ้นมาอย่างลอยๆ ไม่มีกฎหมายรองรับ แต่กฎหมายเปิดช่องให้ทำได้ กลุ่มในลักษณะนี้ส่วนใหญ่แล้วจะไม่สามารถเรียก “จักรรัตนะ” จากผู้เลี้ยงได้ ยกเว้นในบางกรณี เช่นกลุ่มคน หรือคณะ หรือชมรม ที่อิงอยู่กับองค์กร เช่นชมรมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพราะปราศจาก “อำนาจแห่งอาณาจักร” ในการรับรอง ซึ่งทำให้การต่อยอดในวิชชานั้นไม่ง่ายนัก และผลที่เห็นได้ชัดในโลกภายนอกก็คือ ไม่เป็นที่ยอมรับนับถือ และไว้วางใจได้โดยสาธารณชนในวงกว้าง

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้ออกกฎหมายให้กลุ่ม หรือคณะบุคคล ที่ทำงานประเภทไม่แสวงผลกำไร สามารถ “ขึ้นทะเบียน” เป็น “NGO” (Non-Governmental Organisation) คือ “องค์กรบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ที่ทำงานแบบไม่แสวงหาผลกำไร” แต่กฎหมายได้ถูกคัดค้านโดยกลุ่ม NGO เพราะมีลักษณะของการจำกัดและควบคุมบังคับสิทธิ์ แต่การขึ้นทะเบียนกลุ่ม หรือคณะบุคคล ที่ทำงานประเภทไม่แสวงผลกำไร ในรูปแบบอื่นๆ ที่พอจะทำได้ในปัจจุบัน ก็คือการสมัครเข้าเป็น “เครือข่ายสภาวัฒนธรรม” ซึ่งกิจกรรมด้านศาสนาก็ยังนับว่าเข้าข่ายเป็นวัฒนธรรม โดยการรับสมัครนั้นมีกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้รับผิดชอบอนุมัติ และอนุญาตให้สมัครได้ทั้ง นิติบุคคล และไม่เป็นนิติบุคคล นอกจากนี้เรายังสามารถสมัครเป็นสมาชิก "ศูนย์คุณธรรม" ทั้งในนามบุคคล หรือองค์กรได้ที่ https://member.moralcenter.or.th/sign/sign-up-organize.html

ด้วยการรับรองสถานภาพของกลุ่มกิจกรรมไม่แสวงผลกำไรในลักษณะนี้ การเลี้ยงรักษาส่วนใหญ่ จะมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และสมบัติผู้เลี้ยงที่เรียกได้ ก็จะล้ำค่าขึ้น มีอานุภาพมากขึ้น แล้วยิ่งถ้าหากไปสมัครเป็นสมาชิกขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก และสมัครเป็นสมาชิกขององค์การสากล, หรือองค์กรประชาคม และองค์กรทางพระพุทธศาสนาอื่นๆ ต่อไปอีก ก็จะเรียกสมบัติผู้เลี้ยงออกมาได้อย่างดียิ่งขึ้น เพียงแต่อาจจะต้องจ่ายมากหน่อย ทั้งจ่ายเป็นเงินบริจาคสนับสนุน และจ่ายธาตุบุญ

ส่วนกลุ่ม และคณะบุคคลที่จะขึ้นทะเบียนกับกระทรวงวัฒนธรรมนั้น มีความสำคัญอยู่ที่ “ชื่อ” ซึ่งจะสัมพันธ์กันกับกฎระเบียบขององค์กร (เมื่อขึ้นทะเบียนแล้ว กลุ่มและคณะบุคคลจะได้รับการยกขึ้นเป็นองค์กร) ซึ่งหากผู้ทรงวิชชารู้จักการผูกสิทธิ์ที่ดี โดยอาจมีการใช้ภาษาวิชชาในการบัญญัติกฎระเบียบด้วย (ห้ามเปิดเผย เพราะอาจโดนแก้ทาง) เพียงเท่านี้ ก็จะกลายเป็นองค์กรที่มี “ตัวตน” อย่างมีนัยยะสำคัญในโลกวิชชาครับ

หมายเหตุ: ผมขอแนะนำ องค์ประกอบชื่อขององค์กรที่จะขึ้นทะเบียนดังนี้ครับ สาเหตุที่แนะนำให้ เพราะชื่อมีความสำคัญมาก ในการกำหนดบทบาท และขอบเขตการทำงาน ซึ่งบทบัญญัติกฎระเบียบที่จะตราขึ้นมารองรับ จะต้องสอดคล้องกัน ยกตัวอย่างเช่น ศูนย์ฯ, ชุมนุม, ชุมชน, ชมรม, สถาบัน, องค์คณะ, องค์กร, กองกิจการ, คณาธร, ธรรมกิจ, ธรรมาลัย, คณะหุ้นส่วนสังคม, สภาบุคคล, สภาสมาชิก, คณาจารย์, คณากร, สโมสร, สันนิบาต, สำนักงาน, พิทยาลัย, องค์กร, เครือข่าย, ภาคี, สหภาพ, สหการ, ประชาคม, สหภาคี, สหประชาคม, สิกขาลัย, โพธิยาลัย, บ้าน, สถาน, สภาโพธิสมาชิก, สภาโพธิสัตว์, สภาโพธิยาลัย, สภาวิชชาลัย, สภาเพื่อการศึกษา, สภาการ, กลุ่มอุบาสก, บ้านอุบาสก, กลุ่มอุบาสิกา, บ้านอุบาสิกา, บ้านกรีก, หอพุทธบริษัท, สภาพุทธบริษัท, ประชาคมพุทธมามกะ, สภาเยาวชน, สถานธรรมานุบาล, สถานอภิบาล, อาศรม, ปราการ, พุทธาคาร, สภาสังคม, คณะผู้ศึกษา, คณะศิษย์, วิสาหกิจ, สมาพันธ์, สหพันธ์, สมัชชา, แนวร่วม และอื่นๆ ซึ่งท่านสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไข และผสม หรือผสานคำขึ้นใหม่ ด้วยชื่อต่างๆ ที่ให้มาข้างต้นนี้

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

9 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

เครดิต / ลิ้งค์รายละเอียดการสมัครกับกระทรวงวัฒนธรรม:

http://www.culture.go.th/divi_network/ewt_dl_link.php?nid=42&filename=index


นานาสาระ:

Q: เราจะพิจารณาทราบได้อย่างไรว่า ของหยาบอะไรบ้างที่จะเรียกสมบัติผู้เลี้ยงออกมาได้?

A: ยศ, ศักดิ์, สิทธิ์, อำนาจ, เกียรติ, กรรมสิทธิ์, สิทธิพิเศษ, มูลค่า, ตำแหน่ง, ลำดับ, ขั้น, ชั้น, ฐานะ, ข้อมูล, ทะเบียน, รายละเอียด, อัตลักษณ์, สวัสดิการ, ชื่อ, รหัส, นิติกรรม, ประเภท, ขอบเขต, บทบาท, ลำดับ, อัตรา, หน้าที่, ขอบเขต, เงื่อนไข, รางวัลและการทำโทษ, สถานภาพ ของบุคคล และนิติบุคคล ทั้งปวง ที่มีการจดทะเบียน, สมัคร, ขึ้นทะเบียน, อนุมัติ, ยอมรับ, ยินยอม, อนุญาต, ออกคำสั่ง, ออกให้, ส่งมอบ/ส่งถึง, ตกลง, ปฏิเสธ, คัดค้าน, ประกาศ, ยกเลิก, หมดอายุ, ต่ออายุ, รับรอง, รับรู้, รับทราบ, เห็นชอบ, กำหนด, ระบุ, บ่งชี้, ตัดสิน, แก้ไข, เปลี่ยนแปลง, มอบหมาย, มอบอำนาจ, แต่งตั้ง, แจ้งเตือน, เรียกเก็บ, เรียกเข้ารายงาน, ตัดสิน, ตอบรับ, รายงาน, นำเสนอ, ลงคะแนน, ขอฝาก, ขอเบิก, ขอยืม, เปลี่ยน, แปลง, รักษา, ถ่ายโอน, ยึดริบ, เพิกถอน และอื่นๆ   

ดังกล่าวทั้งหมดข้างต้น ซึ่งตั้งอยู่บนธรรมเนียมปฏิบัติ, กฎระเบียบ, บทบัญญัติ, กฎหมาย, และรัฐธรรมนูญ อันเกิดจาก “สิทธิและอำนาจ” ที่กอปรมาจาก “อธิปไตย” หรือฐานะแห่ง “อาณานิคม” ในรูปแบบใด รูปแบบหนึ่ง ของระบอบการปกครอง ทั้งที่ปกครองตนเอง หรือถูกปกครอง โดยมีสถาบันที่ประกอบไปด้วยบุคคล หรือคณะบุคคล เป็นผู้นำที่มีศักดิ์, สิทธิ์, อำนาจ และหน้าที่ ในการกำหนดและบังคับใช้ธรรมเนียมปฏิบัติ, กฎระเบียบ, บทบัญญัติ, กฎหมาย และรัฐธรรมนูญนั้น บนรากฐานของอำนาจการปกครอง ที่พัฒนาก่อร่างสร้างขึ้นจาก อำนาจทางการทหารที่ต่อสู้รบราฆ่าฟันเพื่อครอบครองดินแดน, การอพยพมาก่อตั้งรกราก, การเจรจาต่อรองทางการทูตโดยสันติวิธี, การเจริญสัมพันธไมตรี และการมอบหมายให้อำนาจปกครอง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นไปตามอิทธิพลในส่วนละเอียด ระหว่างภาคผู้เลี้ยงฝ่ายพระ (พระนิพพาน) และภาคผู้เลี้ยงฝ่ายมาร (มารโลก) กิจกรรมทั้งปวงเหล่านี้ย่อมมี “ผู้เลี้ยงผู้รักษา” คอยเอื้ออำนวยการ กำกับการดูแลอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น

ดังนั้น สิ่งใดก็ตามที่มีผู้เลี้ยงผู้รักษาดูแลอยู่ บุคคลที่ถูกเลี้ยงรักษา ก็มีสิทธิ์ “เรียกสมบัติผู้เลี้ยง” มาครอบครองได้ทั้งนั้น ทั้งนี้รวมไปถึง บัตรประชาชน, ทะเบียนบ้าน, ใบขับขี่, หนังสือเดินทาง, ทะเบียนสมรส, โฉนดที่ดิน, ทะเบียนรถยนต์, สูติบัตร, ใบสุทธิสงฆ์, บัตรทำงานคนต่างด้าว, ใบทะเบียนพาณิชย์, หนังสือบริคณห์สนธิ, ใบปริญญาบัตร, ประกาศนียบัตร, ตราตั้งสมณศักดิ์, ตั๋วเครื่องบิน, ตั๋วโดยสารยานพาหนะต่างๆ, ใบรับ/ใบเสร็จ, บัตรเชิญ, ฎีกา, อนุโมทนาบัตร, บัตรลงคะแนนเสียง, เช็คและตั๋วเงินสั่งจ่าย, ลายเซ็น, ดวงตรา (ประกาศิต), หนังสือสัญญา, หนังสือสำคัญ, ใบถือหุ้น, กองทุนเพื่อการลงทุน, กรมธรรม์ประกันภัย, บัญชีเงินฝากธนาคาร, เช็คสั่งจ่ายเงิน, ทะเบียนโทรศัพท์เคลื่อนที่, เอกสารผู้ถือพันธบัตรรัฐบาล, ใบสลากออมสิน, ใบล็อตเตอรี่ที่ถูกรางวัลแล้วเขียนชื่อบุคคลไว้ด้านหลัง, บัตรเครดิต, บัตรเดบิต, บัตรสมาชิก, ลำดับชั้นของสมาชิกธุรกิจขายตรง, บัตรสวัสดิการ, ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพ และอื่นๆ

ทั้งหมดนี้ เป็นเสมือนอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ทั้งหลาย ที่สร้างขึ้นบน “รากฐาน” หลักเดียวกัน คือความเป็น “อธิปไตย” หรือ “อาณานิคม” ของประเทศชาติ ที่ผู้เลี้ยงผู้รักษา “ส่งวิชชาปลูกและเลี้ยงรักษา” ให้เกิดมี โดยพัฒนาการขึ้นมาได้ จากแผ่นดินชนถิ่นที่ไม่มีเจ้าของครอบครองอย่างเป็นทางการ มาเป็นประเทศที่มีระบบ ระบอบ และระเบียบ วัฒนธรรม ประเพณี และสังคมมนุษย์ ที่เต็มไปด้วยสรรพวิชชาจากองค์, วงศ์, สี, สายต่างๆ คอยเลี้ยงให้เป็นไปอยู่ อย่างไรก็ตาม ผู้เลี้ยงนั้นมีประจำการแทบจะอยู่กับทุกสิ่งทุกอย่าง และทุกหนทุกแห่ง แต่บทความนี้นำเสนอเฉพาะผู้เลี้ยงอย่างเป็นทางการ ซึ่งท่านมีสมบัติผู้เลี้ยงให้เรียกออกมาได้ ซึ่งอย่างน้อยที่สุด ก็จะเรียกได้เป็นเพียง “กระดุม” หรือ “ดุม” ส่วนผู้เลี้ยงอื่นๆ ที่ไม่สามารถให้สมบัติผู้เลี้ยงที่มีสาระสำคัญได้ หรือเรียกมาแล้วก็ไม่เป็นคุณ ไม่คุ้มค่า ก็จะไม่ขอเอ่ยถึงในที่นี้ อย่างเช่นบ่อนการพนันเถื่อน, แหล่งผลิตเหล้าเถื่อน, ตลาดมืดรับแลกเปลี่ยนเงินตรา, ล็อตเตอรี่ที่เขียนชื่อไว้ด้านหลังแต่ไม่ถูกรางวัล, ใบสั่งปรับทางจราจรที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นอาทิ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

7 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

หมายเหตุ:

- เรียกสมบัติผู้เลี้ยงจาก "ทุนนิธิ" มูลนิธิหลวงพ่อวัดปากน้ำ ได้ "ดวงโภคคัญญู" (บรม/มหา/จุล)

- เรียกสมบัติผู้เลี้ยงจากสมาชิกภาพชมรมศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ ได้ "สายวัษษุวาฏ" มีลักษณะเป็นสร้อยพระศอ

- เรียกสมบัติผู้เลี้ยงจากโฉนดทิพย์ที่ได้จากการทำบุญที่ดินถวายวัด ได้ "ดวงธรณินทร์" (บรม/มหา/จุล)

- เรียกสมบัติผู้เลี้ยงจากสมาชิกภาพเว็บไซท์ www.Meditation101.org ได้เครื่องทรง “ภิฏิกาญจน์” มีลักษณะเป็นเครื่องทรงทอง


นานาสาระ: ปกิณกะ เรื่อง การแปลงโฉนดที่ดินทิพย์ ให้เป็นที่ดินจริง

พวกเราชาวสายบุญที่ตระเวนไปทำบุญตามวัดต่างๆ บางท่านอาจจะเคยเจอวัดหรือสำนักปฏิบัติธรรมที่เรี่ยไรรับบริจาคซื้อที่ดิน ซึ่งเมื่อทำบุญแล้วทางวัดก็ออก “โฉนดทิพย์” โดยระบุชื่อผู้บริจาค จำนวนเงิน และขนาดที่ดินไว้ พร้อมกันนี้ เจ้าหน้าที่วัดก็เซ็นออกโฉนดพร้อมประทับตราอีกด้วย

ท่านรู้ไหมครับว่า โฉนดทิพย์ที่วัดออกให้นั้น ท่านสามารถเรียก “กรรมสิทธิ์ที่ดิน” จากผู้เลี้ยงผู้รักษาได้ ผลของการได้กรรมสิทธิ์ที่ดินในวิชชาซึ่งอาจอยู่ในลักษณะของดวงกลมใสที่ประจุวิชชาและพลังทิพย์อยู่ เรียกว่า “ดวงธรณินทร์” ก็คือ นับจากได้มา พลังทิพย์ก็จะเอื้อให้เราสามารถได้ครอบครองที่ดินของจริงในโลกมนุษย์ ทั้งในชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป โดยที่ดินจะมีขนาดตามแต่ผู้เลี้ยงผู้รักษาท่านจะคำนวณแบ่งให้ ซึ่งโดยมากแล้วจะพอๆกัน หรือตรงกันกับขนาดที่ระบุไว้ในโฉนดทิพย์

สาเหตุที่ผู้ทำบุญที่ดินแล้วได้โฉนดทิพย์มา จะสามารถเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินของจริงได้ ก็เพราะผู้เลี้ยงผู้รักษาของวัดท่าน "ให้" มิฉะนั้นแล้วจะไม่มีการออกโฉนดทิพย์ได้ แต่จะเป็นใบอนุโมทนาบัตรธรรมดา ในขณะที่โฉนดทิพย์จะส่งผลตามบุญกรรมและผังชีวิต ซึ่งยังไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับโปรแกรมกรรม และการบังคับให้เกิดผล ที่แทรกแซงกันและกันโดยธาตุธรรมทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายบุญ (พระนิพพาน) และฝ่ายบาป (มารโลก) เมื่อบุคคลอ้างโฉนดทิพย์เพื่อขอกรรมสิทธิ์ที่ดินจากผู้เลี้ยงผู้รักษา “ผู้เรียก” ก็ต้องจ่าย “ธาตุบุญ” พอสมควร เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่จะใช้ได้จริงในโลกมนุษย์ สิ่งนี้เกิดขึ้นได้เพราะผู้เลี้ยงมีวิชชาและสามารถให้ได้ในส่วนละเอียด จึงมีแผ่นโฉนดทิพย์เกิดขึ้นในส่วนหยาบ สำหรับออกให้กับผู้ทำบุญ

ในทางเทคนิคแล้ว อาจกล่าวได้ว่า วัดที่ออกโฉนดทิพย์นั้น “ยืนวิชชา” อยู่บนพื้นฐานของ “สิทธิ์” ใน “ทักขิณา” หรือ “นาบุญ” ซึ่งเมื่อเจ้าภาพทำบุญซื้อที่ดิน ก็เท่ากับเป็นการขยายขอบเขต “สิทธิ์” ในที่ดินให้กับวัด หรือ “สงฆ์” ในกรณีเป็นธรณีสงฆ์ นับเป็นอานิสงส์โดยตรงต่อผู้บริจาค เป็นเหตุให้ผู้เลี้ยงผู้รักษาที่มีวิชชามากพอ และยินดีที่จะตอบแทนเจ้าภาพในรูปแบบโฉนดที่ดินทิพย์นั้น สามารถคำนวณสิทธิ์ ทั้งในทรัพย์ที่บริจาค ในกรรมสิทธิ์ธรณีสงฆ์ที่เพิ่มขึ้น และผลตอบแทนโดยตรงตามกฎแห่งกรรม ซึ่งก็คือทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้น ทำบุญซื้อที่ดิน ก็จะได้ที่ดินไว้ครอบครอง โดยนัยนี้ ประกอบกับวิชชาของท่าน จึงก่อเกิดเป็น “กรรมสิทธิ์ทิพย์” สำหรับผู้บริจาคที่ประสงค์จะ “เรียก” จากผู้เลี้ยงผู้รักษา

การทำเช่นนี้ ก็จะ “เปลืองวิชชา” ของผู้เลี้ยงผู้รักษา ซึ่งท่านก็จะคิดค่า “ประชุมกรรมสิทธิ์ทิพย์” ซึ่งผู้เรียกจะต้องจ่ายอยู่ไม่น้อย วิธีนี้เหมาะสำหรับท่านที่มีธาตุบุญเหลือเฟือ และมีกำลังทรัพย์พอจะบริจาคซื้อที่ดินให้วัดด้วยครับ ซึ่งใครก็ตามที่ได้ครอบครองกรรมสิทธิ์ทิพย์ในที่ดินแล้วในวิชชา ส่วนหยาบก็จะตามมาภายหลัง คือมีเหตุในอันที่จะได้เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินของหยาบ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

7 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง ผู้เลี้ยงผู้รักษาปกครองกันอย่างไร?

ใกล้จะออกพรรษากันแล้วนะครับ และสิ่งที่เราๆ ท่านๆ รอคอยกันอย่างใจจรดใจจ่อ ก็คือบุญทอดกฐิน หรือผ้าป่าบริวารกฐิน ตามวัดต่างๆ ซึ่งบางท่านก็เป็นประธานเอก, ประธานรอง, ประธานร่วม, ประธานกอง หรือกรรมการสายต่างๆ หลายๆ วัดได้ตีพิมพ์ใบฎีกาแจ้งรายชื่อเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย

ท่านทราบหรือไม่ครับว่า ตำแหน่งแห่งกองบุญการกุศลเหล่านี้ เราสามารถ "เรียกสมบัติผู้เลี้ยง" ออกมาได้เช่นกัน ซึ่งสมบัติผู้เลี้ยงที่ได้จะอยู่ในข่ายของ "พระคลังรัตนะ" ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยงของแต่ละวัด หรือสำนักสงฆ์ ยิ่งถ้าหากเป็นอาวาสของผู้ทรงวิชชา ก็มักจะมีของพิเศษๆ ให้ตอบแทนความทุ่มเทเสียสละจากญาติโยมครับ 

ท่านใดที่เคยตั้ง "ทุนนิธิ" หรือ “กองทุนสาธารณกุศล” อย่างเช่นทุนนิธิของมูลนิธิหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ โดยเฉพาะท่านที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธาน, กรรมการ, เลขาธิการ, เหรัญญิก รวมถึง “สมาชิก” สมาคมการกุศลต่างๆ อย่างสมาคมศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านก็สามารถเรียกสมบัติผู้เลี้ยงออกมาได้เช่นกัน อาจจะได้ "สายเกียรติธรรม" หรือตามแต่ผู้เลี้ยงจะให้ โดยสายนี้มีลักษณะคล้าย สายเกียรตินิยม ที่บัณฑิตรับปริญญาเขาคล้องกันครับ

ท่านใดประสงค์จะพบครูบาอาจารย์ที่เคารพนับถืออีกในภพชาติต่อไป ไม่พลัดหลงกัน ก็ขอให้เรียกสมบัติผู้เลี้ยงนี้ออกมาครองไว้ ฤทธิ์ของสมบัติผู้เลี้ยงนี้จะนำพาให้ได้มาพบครูบาอาจารย์อีก โดยเฉพาะท่านที่ไม่ค่อยมียศตำแหน่งอะไร ก็ควรจะเรียกมาไว้บ้างครับ ส่วนท่านที่นอกจากจะไม่มียศฐานบรรดาศักดิ์ ตำแหน่งหน้าที่อะไร ไม่รู้จะเรียกสมบัติผู้เลี้ยงมาครองเหมือนคนอื่นๆ เขาได้อย่างไร ก็สามารถตั้งทุนนิธิ ทุนภัตตาหาร หรือสมัครเป็นสมาชิกองค์กรการกุศลต่างๆ หรือรับเป็นเจ้าภาพ ประธานลำดับขั้นต่างๆ หรือกรรมการ โดยเฉพาะองค์กรของผู้ทรงวิชชา ก็จะสามารถเรียกสมบัติผู้เลี้ยงได้ครับ เป็นอานิสงส์ติดตัวไปในวิชชา และภพชาติเบื้องหน้า เพราะกายในวิชชาของเราเอง คือกายที่คอยปกครองดูแลเราได้ด้วย ส่วนเทวดาผู้เลี้ยงนั้น ยังมีปรับ มีเปลี่ยนไป โยกย้ายไปตามภพชาติ และยุคสมัย

ทั้งนี้ไม่เว้นแม้แต่สมาชิกภาพขององค์กรทางธุรกิจ เช่นสมาชิก VIP ของบริษัทโทรคมนาคม, ห้างสรรพสินค้า, สถานีบริการน้ำมัน, ร้านอาหาร, สายการบิน และอื่นๆ ซึ่งสมาชิกภาพขององค์กรห้างร้านเหล่านี้ ก็ล้วนแล้วแต่มีผู้เลี้ยงรักษาอยู่เหมือนกัน และถ้าเราประสงค์จะเรียกสมบัติผู้เลี้ยง ก็ย่อมได้ อานิสงส์คือ เราจะเป็นผู้ที่ได้ “สิทธิพิเศษและส่วนลด” ในการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน แต่บางท่านก็อาจจะเห็นเป็นเรื่องไม่จำเป็น และสิ้นเปลือง “ธาตุบุญ” โดยใช่เหตุ แต่ถ้าท่านเป็นผู้ที่ไม่มียศชั้นฐานันดรศักดิ์ ตำแหน่งหน้าที่การงานอะไร หรือมีธาตุบุญเหลือเฟือ ก็ลองสมัครเป็นสมาชิกที่นั่นที่นี่ไว้เถิดครับ เผื่อว่าอาจจะเรียกสมบัติผู้เลี้ยงอะไรดีๆ มาเก็บไว้ได้บ้าง ดีกว่าอยู่ตัวเปล่าๆ

ว่าด้วยเรื่องสมบัติผู้เลี้ยงนั้น หากเราจะสาวไปถึงสาเหตุที่มา ก็ต้องขอบอกก่อนว่า โลกธาตุของเรานั้นท่านปกครองกันเป็นระบบครับ นับตั้งองค์พระต้นธาตุต้นธรรมลงมา ถึงพระพุทธเจ้าผู้ใหญ่ พระจักรพรรดิผู้ใหญ่ เป็นองค์กลางธาตุ องค์ปลายธาตุ กระทั่งถึงพระพุทธเจ้าผู้มาใหม่ พระจักรพรรดิผู้มาใหม่ พระอริยบุคคล อีกทั้งพระนิพพานและภพภูมิต่างๆ ท่านปกครองเลี้ยงดูในวิชชากันลงมาเป็นลำดับๆ ทั้งพรหมโลก, สวรรค์, โลกมนุษย์ เรื่อยไปกระทั่งถึงยมโลก และนรก

พระนิพพานก็ปกครอง, ควบคุม, กำกับ, ดูแล, สอดส่อง พยายามจะช่วยให้อยู่ดีมีสุข ส่วนมารโลก ก็ทำนองเดียวกัน เพียงแต่จะผลักดันให้ต้องทุกข์ได้โทษ ต่างฝ่าย ต่างแทรกแซงกันและกันอยู่อย่างนี้ครับ โลกมนุษย์เราก็เหมือนกัน ประเทศทุกประเทศ มีเทวดาผู้เลี้ยงผู้รักษา นับตั้งแต่พระพุทธเจ้า พระจักรพรรดิ คอยเลี้ยงคอยรักษา ไม่ว่าจะเป็นชาวพุทธหรือไม่ก็ตาม ต่างแต่เพียงว่าผู้รักษามีกำลังมากหรือน้อย ช่วยให้อยู่เป็นสุขมากหรือน้อย มีศีลมีธรรมกันมากหรือน้อยครับ ก็เหมือนตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านก็ทำตามหน้าที่ แม้แต่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชาชนเป็นชาวต่างศาสนาอยู่ส่วนหนึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดชาวพุทธที่ย้ายไปประจำอยู่ ก็ต้องทำงานคอยบำบัดทุกข์บำรุงสุขกันอยู่อย่างนั้น ส่วนเทวดาผู้เลี้ยงผู้รักษาที่อยู่ใกล้ชิดมนุษย์ ส่วนใหญ่จะเป็นนักบริหารปกครอง และผู้นำประชาชน ที่เคยทำหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชน เมื่อละโลกไปแล้ว ได้อานิสงส์ไปเกิดเป็นเทวดาผู้เลี้ยงประเทศ และเขตการปกครองของประเทศ และโดยทั่วไปแล้ว จะพ้นจากหน้าที่ ก็ต่อเมื่อความเป็นประเทศชาติได้สิ้นสุดลง จากนั้นเทวดาผู้เลี้ยงก็จะแยกย้ายกันไปยถากรรม บางท่านเป็นทหาร ตำรวจ ที่คุ้มครองอธิปไตยของชาติ ได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แต่ก็มีบุญจากการสร้างเสถียรภาพให้กับประเทศและประชาชน จึงได้มาเป็นเทวดาผู้เลี้ยง เพราะเหตุนี้ เทวดาผู้เลี้ยงส่วนใหญ่จึงมักยินดีที่จะมอบสมบัติผู้เลี้ยงให้กับผู้ทรงวิชชา เพื่อแลกกับ “ธาตุบุญ” เพราะพวกท่านจะสามารถใช้ธาตุบุญได้ หลังจากพ้นหน้าที่ผู้เลี้ยงผู้รักษาไปแล้ว อาจจะได้ไปเกิดใหม่เป็นเทวดา หรือเป็นมนุษย์ หรือแม้แต่สัตว์นรก ตามกรรมที่เคยทำไว้สมัยเป็นมนุษย์ ส่วนเทวดาผู้เลี้ยงอื่นๆ ก็อย่างเช่น ครู อาจารย์ บรรพบุรุษ ที่เนื่องกับองค์กร และกิจการ ทั้งภาครัฐ และเอกชน เคยเป็นครู เป็นบรรพบุรุษ ที่สอน หรือก่อตั้งกิจการ เมื่อละโลกไปแล้ว บุตรหลาน หรือศิษย์มารับช่วงดูแลกิจการ ก็จะมาช่วยเลี้ยงช่วยรักษากันไป ไม่เว้นแม้แต่บรรพบุรุษประจำตระกูล ของแต่ละ "นามสกุล" ด้วย

โดยภาพรวมแล้ว ประเทศแต่ละประเทศในโลก ก็ปกครองกันมาเป็นชั้นๆ โดยทั้งฝ่ายพระนิพพาน และมารโลก คือมีผู้เลี้ยงผู้รักษาทั้งฝ่ายบุญ (พระนิพพาน) และฝ่ายบาป (มารโลก) กล่าวคือ มีทั้งพระพุทธเจ้าผู้เลี้ยงผู้รักษา พระจักรพรรดิผู้เลี้ยงผู้รักษา เทวดาผู้เลี้ยงผู้รักษา พุทธเจ้ามารผู้เลี้ยงผู้รักษา จักรพรรดิมารผู้เลี้ยงผู้รักษา เทวดามารผู้เลี้ยงผู้รักษา โดยนัยนี้ นับตั้งแต่พระนิพพาน และมารโลก ลงมาเป็นชั้นๆ กระทั่งถึงรัฐบาล, รัฐสภา, ศาล, องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อ.บ.จ.) มาถึงองค์การบริหารส่วนตำบล (อ.บ.ต.) เลยครับ ซึ่งผู้รับผิดชอบดูแล ก็ส่งฤทธิ์เดช และอำนาจ คอยเกื้อกูลให้เจริญ ส่วนมารโลกก็ส่งให้เสื่อม แล้วฤทธิ์เดช พร้อมอำนาจนั้น ก็ส่งผลให้ประเทศมีอธิปไตย ประชาชนได้อยู่กันอย่างสันติ เท่าที่จะทำได้ หากจะถามว่า ทำไมพระนิพพานจึงต้องเข้าปกครองโลกมนุษย์ จะได้ประโยชน์อะไร ไม่เหนื่อยเปล่าหรือ? คำตอบก็คือ หากพระนิพพานไม่เข้าเลี้ยงรักษาโลกมนุษย์ ฝ่ายมารโลกก็อาจจะเข้ายึดแทน ทำให้กลายเป็นปัญหาต่อพระนิพพานในภายหลังได้ครับ

รัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร ศาล กองทัพ หน่วยงานราชการ วัด ศาสนสถาน สถาบันการศึกษา บริษัทมหาชน บริษัทเอกชน ธุรกิจห้างร้าน ที่ก่อตั้งขึ้นตาม “สิทธิ์และอำนาจตามกฎหมาย” ที่เกิดจาก “อธิปไตย” ของประเทศ ซึ่งเทวดาผู้เลี้ยงคอยส่งวิชชาให้มีขึ้น แล้วปกครองดูแลอยู่ โดยมีพระพุทธเจ้า พระจักรพรรดิ ในพระนิพพาน และภพภูมิต่างๆ เอื้ออำนวยอยู่อีกชั้น ก็กอปรเป็นอำนาจทิพย์ ที่เลี้ยงรักษามาเป็นลำดับๆ โดยนัยนี้นั้น นับตั้งแต่พระนิพพานลงมาถึงร้านกาแฟริมถนน ซึ่งปกติแล้วทุกลำดับชั้น ลำดับขั้น ทุกแห่ง ทุกหน ล้วนมีเทวดาภาคผู้เลี้ยงคอยปกครอง โดยมีทั้งประเภทที่มีชีวิตจิตใจ สามารถเวียนเกิด และประเภทที่เป็นกายสิทธิ์ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ด้วยเหตุนี้เอง สมบัติผู้เลี้ยงที่ถูกปรุงสร้างขึ้นด้วยวิชชาในโลกทิพย์ จึงเกิดขึ้น และเป็นของทิพย์ที่มีฤทธิ์เพื่อใช้ทำงานในการเลี้ยงรักษามนุษย์และสัตว์ ซึ่งเราสามารถเรียกสมบัตินี้มาใช้ได้ โดยแลกเปลี่ยนกับ “ธาตุบุญ” อันที่จริงแล้วสมบัติผู้เลี้ยงจะไม่มีรูปลักษณ์เหมือนของใช้สอยของมนุษย์ก็ได้ คือเป็นดวงกลมใสๆ ที่ประจุพลังทิพย์และวิชชาเอาไว้ แต่เพื่อประโยชน์และความสะดวกในการแยกแยะ ว่าอะไรเป็นอะไร จึงมีการปรุงสมบัติผู้เลี้ยงขึ้นเป็นชิ้นเป็นอัน เหมือนรัตนะ 7 ของพระจักรพรรดิในภพทิพย์ ซึ่งท่านก็สร้างขึ้นเป็นรูปเป็นร่างครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)

6 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: Q&A

Q: มีท่านถามผมประมาณว่า ในเมื่อผมอ้างถึงเครื่องราชฯว่าเป็นเครื่องแสดงลำดับศักดิ์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นเครื่องแสดงความดีความชอบ จะอธิบายได้อย่างไร?

A: คำตอบคือ เครื่องราชฯ ดูเหมือนจะมีการ "เทียบชั้น" กับระบบขุนนาง และศักดินา อยู่ด้วยครับ ซึ่งเดิมที เมื่อเครื่องราชฯ ถูกตราขึ้นในยุคสมบูรณายาสิทธิราช เครื่องราชฯ มีความสำคัญในการใช้เป็นเครื่องประกอบและบ่งชี้เกียรติยศ ชั้น ขั้น ศักดิ์ อย่างมีนัยยะสำคัญ เพิ่งจะมาเปลี่ยนในยุคหลังๆ เมื่อมีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย แต่วิชชาที่ประชุมเครื่องราชฯ ขึ้น ก็ยังมีฤทธิ์ที่จะส่งให้บุคคลได้ยศชั้นขั้นศักดิ์ โดยขึ้นอยู่กับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และระบอบการปกครอง เช่น ผู้ที่ได้รับพระราชทานดารานพรัตน์ มีศักดิ์เทียบเท่า "เจ้าพระยา" ผู้ที่ได้รับพระราชทานดาราตติยะจุลจอมเกล้าวิเศษ เทียบเท่า "พระยาโต๊ะทอง" ผู้ที่ได้รับพระราชทานดาราทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เทียบเท่า "พระยาพานทอง" ดังนี้ครับ.

Q: เพราะเหตุใด กำลังแห่งยศศักดิ์ในรูปแบบสมบัติผู้เลี้ยง ที่เรียกมาได้ จึงกลายเป็นยศศักดิ์ในภพชาติเบื้องหน้า?

A: คำตอบคือ ปกติแล้วเทวดาภาคผู้เลี้ยงประจำกายเรา ท่านจะทำหน้าที่ในการประสานงานกับภพภูมิผู้เลี้ยงผู้รักษาต่างๆ เพื่อเลี้ยงและรักษาเรา เช่นเมื่อเราทำงานเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย เทวดาผู้รักษามหาวิทยาลัยก็มอบ "คทาวุฒิ" ของทิพย์ให้กับผู้เลี้ยงประจำกายมนุษย์ ทำให้กายมนุษย์ได้ตำแหน่งทางวิชาการ อย่างเช่น “ศาสตราจารย์” แต่เมื่อเราพ้นจากตำแหน่ง เช่นลาออก หรือละสังขาร คทาวุฒินั้นก็ถูกส่งกลับคืนภพผู้เลี้ยงที่เป็นเจ้าของ แต่การ "เรียก" สมบัติผู้เลี้ยง เอามาใส่สายธาตุสายธรรมของเราเอง โดยจ่ายธาตุบุญเป็นค่าตอบแทนให้กับเทวดาผู้เลี้ยง ก็เท่ากับว่า สายธาตุสายธรรมของเราจะ "เลี้ยงตัวเอง" ด้วยคทาวุฒิดังกล่าว เมื่อเกิดในภพชาติใหม่ สายธาตุสายธรรมก็ส่งฤทธิ์เลี้ยง ด้วยของที่เรียกมาได้ ทำให้ได้เป็นศาสตราจารย์อีกครั้ง ขึ้นอยู่กับระบบระเบียบของการศึกษาในยุคนั้นๆ ซึ่งอาจมีชื่อเรียก และธรรมเนียมปฏิบัติ รวมถึงขอบเขตบทบาทหน้าที่ต่างกันไปครับ.

 

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

5 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ปกิณกะ เรื่องฤทธิ์ในวิชชาของ “ดาราอิสริยยศ”

ผมได้เคยรจนาบทความเกี่ยวกับดาราอิสริยยศเอาไว้แล้ว แต่ในบทความนี้ จะขอเสริมเรื่องการใช้ดาราเพื่อเสริมกำลังชีวิตครับ กล่าวคือ ดารานั้นมีลักษณะคล้าย “ดวงประลัยฤทธิ์” ที่ปลดปล่อยพลังงานออกมาเรื่อยๆ แต่ดาราก็มีทั้งแบบดาราทั่วไปที่ ล่องลอยตามภพ ที่ผู้ทรงวิชชาสามารถ “คว้า” มาใส่ตนเองในวิชชา หรือเป็นดาราที่ “ภพ” และ “ผู้ทรงวิชชา” ผลิตขึ้น สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนกันในวิชชาได้เช่นกัน หรือมีบางท่านนำมาซ้อนปลุกเสกลงในวัตถุมงคลของเมืองมนุษย์ แต่สำหรับบทความนี้ขอนำเสนอเฉพาะ “ดาราอิสริยยศ” ที่ภพผู้เลี้ยงผู้รักษาท่านประชุมขึ้น เพื่อแสดงลำดับเกียรติศักดิ์ของแต่ละอาณาจักร

ดาราอิสริยยศนั้น ก่อเกิดจากเทวดาผู้เลี้ยงผู้รักษาของอาณาจักรแต่ละแห่ง ซึ่งท่านดำริจะให้มีขึ้น จากนั้นจึงประมวลวิชชาเพื่อประชุมของละเอียด หรือของทิพย์ขึ้นก่อน แล้วของหยาบที่จับต้องได้จึงจะมีเกิดขึ้นตามมา โดยประมวลวิชชาจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรุงขึ้นในลักษณะ “ร่วมกัน” ทั้งสายสะพายและแพรแถบสีต่างๆ, รวมถึงมณี (ถ้ามี), บุคคลผู้เนื่องด้วยดารานั้นๆ (ในกรณีของดาราแห่งบุคคลสำคัญ อย่างเช่นพระราชา และพระราชินี), ตราประกาศิต, ตราศาสนจักร อีกทั้งลำดับศักดิ์, บทบัญญัติ และกฎหมาย ที่จะรับรองดาราอิสริยยศแต่ละดวง รวมถึงเทวดา และกายสิทธิ์ ที่จะประจำการรักษาดารานั้นๆ

ความเหมือน และความแตกต่างของดาราอิสริยยศกับดาราต่างๆในวิชชา ก็คือ ดาราทุกประเภทมีของละเอียดอันเป็นทิพย์ประจำอยู่ แต่ดาราอิสริยยศที่มีสิ่งประดับกายของหยาบนั้น ถ้าจะขอครอบครองของทิพย์ ก็จะต้อง “เรียก” จากเทวดาผู้เลี้ยงผู้รักษาประจำตัวบุคคล แล้ว “จ่ายธาตุบุญ” ให้เทวดาผู้เลี้ยง บุคคลจึงจะได้ดาราของทิพย์ อันมีกำลังและประเภท ตามดาราอิสริยยศของหยาบที่ตนมีอยู่ มาครอบครองในวิชชา ซึ่งผู้ทรงวิชชาท่านก็ว่ากันว่า ดาราตามธรรมชาติในวิชชาที่ล่องลอยไปมานั้น ก็กว่าจะคว้ามาได้ก็ไม่ง่าย ส่วนดาราที่เขาผลิตขายกันในวิชชา ก็มีฤทธิ์ แต่ไม่มีลำดับศักดิ์ประกอบ แล้วถ้าเราซื้อได้ คนอื่นเขาก็ซื้อหามาได้เหมือนอย่างเรา ส่วนดาราอิสริยยศนั้น มี “วิชชาศักดิ์” ประชุมรวมอยู่ ซึ่งถ้าหากเจ้าของเรียกมาจากผู้เลี้ยง แล้วเก็บรักษาไว้ในสายธาตุสายธรรมของตน ก็จะมีอานิสงส์ทำให้เป็นผู้ที่มี “ศักดิ์และเกียรติยศ” ในภพชาติต่อๆไปอีก ด้วยฤทธิ์ของดาราอิสริยยศของทิพย์ที่มีคอย “ส่งวิชชา” ให้เป็นไป ซึ่งประเด็นนี้ผมได้เคยรจนาไว้แล้ว แต่สาระสำคัญที่จะกล่าวถึงวันนี้ก็คือ การใช้ดาราในวิชชาในรูปแบบอื่นๆ อีก

นอกจากการนำดารามาประดับกายในวิชชา อย่างเช่นที่พระอุณาโลม, รัดเกล้า, ทับทรวง, หัวเข็มขัด, ธำมรงค์ หรืออื่นๆ เพื่อเสริมอิทธิฤทธิ์แล้ว ถ้าเราแบ่งดาราอิสริยยศของทิพย์มาใส่ไว้ใน “ดาวประจำตัว” หรือจะ “ตั้งภพ” สำหรับดารานั้นให้กลายเป็นดาวประจำตัว ก็จะเป็นคุณต่อชีวิตเจ้าของอีกเช่นกัน ซึ่งการนำดาราของทิพย์มาใส่ดาวเจ้าชะตาในวิชชาสามารถแบ่งกำลังดาราออกมาได้ ประมาณ 3 - 7 ครั้ง ถ้าดาวประจำตัวของผู้ทรงวิชชามี “กำลังดารา” แล้ว “กายในวิชชา” อย่างกายพระจักรพรรดิ และกายพระพุทธราช ก็มีด้วย จะทำให้บังเกิดเป็นฤทธิ์ที่แรงเนื่องถึงกัน

ส่วนสายสะพายที่มาพร้อมกับดาราอิสริยยศนั้น จะส่งอานิสงส์เป็นผ้าคลุมสี (cloak) ต่างๆ สำหรับกายในวิชชา โดยสีจะเป็นไปตามสีของสายสะพายประกอบดาราอิสริยยศ ซึ่งผ้าคลุมนี้จะทำให้เกิดอิทธิฤทธิ์ความรวดเร็วว่องไว ในการเหาะเหินเดินอากาศของกายในวิชชา ซึ่งถ้าถูกใจก็พึงสวมใส่ไว้ แต่ถ้าไม่ประสงค์จะเก็บรักษาไว้ก็สามารถนำไปแลกกับ “เจ้าสี” หรือ “องค์สี” ซึ่งมีสายธาตุสีตรงกับสีของสายสะพาย อาจจะแลกเปลี่ยนได้อะไรดีๆ กลับคืนมา อย่างเช่นมณีสีต่างๆ

นอกจากนี้ วิธีทำให้ดาราแรงขึ้น ก็คือเราสามารถ “จัดลักขณา” ของดวงดาวประจำตัวให้ตรงกับทิศของภพสี ที่ส่งวิชชาอันเป็นสีของสายสะพายและแพรแถบ หรือคำนวณจัดลักขณาตำแหน่งดาราให้เสริมกันและกัน ทั้งนี้อาจต้องใช้วิชาโหราศาสตร์เข้าช่วยด้วย ส่วนวิธีทำให้ดาราแรงขึ้นอีกวิธีที่เคยปรารภไว้แล้วคือการไต่ระดับดาราทีละขั้นแล้ว “เรียกส่วนละเอียด” จากผู้รักษาแบบจ่ายธาตุบุญทีละขั้นๆ จากล่างสุดขึ้นชั้นบนแล้ว “สะสมทบกำลังดารา” เข้าไว้ด้วยกันทีละชั้น ไปเรื่อยๆ ตราบกว่าจะได้ชั้นสูงสุด

ทว่า วิธีการอื่นๆ นั้นรวมถึงการ "ทรงมณี" ที่ตรงกับสีของสายสะพาย เช่น หากจะสวมผ้าคลุมสีเขียว ก็ทรงมณีลังการเพชรเขียว หรือลดามณีเขียว กายในวิชชาก็จะมีฤทธิ์วิชชาแรงมากขึ้น ส่วนการจัดลักขณาดาราก็อย่างเช่น บุคคลเกิดวันพุธ เป็นวันสีมงคลคือสีเขียว แล้วเราได้สายสะพายสีเขียวก็แบ่งดาราชั้นนั้นไปใส่ดาวเจ้าชะตาแดนเกิด สำหรับพระดารานพรัตน์นั้น มีวิธีใช้คือคำนวณองค์จักรราศีทั้ง 9 เพื่อเข้ารักษาดวงพระชะตา ตามกำลังดาราและลักขณา โดยผู้ทรงวิชชาอาจตั้งภพสำหรับมณีแต่ละดวงแล้วประชุมขึ้นโดยมีสีเขียวเป็นสียืนพื้นวิชชา เนื่องจากเป็นสีของสายสะพายและแพรแถบที่ร่วมปรุงวิชชาประชุมดาราอิสริยยศขึ้นมาแต่แรกเดิมที ก่อนจะมีของหยาบ

จะเห็นได้ว่า ดาราอิสริยยศนั้นเป็นสิ่งทรงคุณค่าในทางวิชชา นอกเหนือจากความภาคภูมิใจที่ได้มาด้วยความทุ่มเทเสียสละในรูปแบบต่างๆ และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของผู้สถาปนาดาราอิสริยยศแต่ละประเภทขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคคลสำคัญของพระอาณาจักร อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการใช้ดาราอิสริยยศในวิชชาก็คือความซื่อสัตย์และซื่อตรงต่ออาณาจักร เพราะผู้สถาปนาดารานั้น ท่านสามารถ “ตรัสสิทธิ์” เข้าระงับฤทธิ์ของดาราได้ หากผู้ทรงวิชชานำมาใช้ในทางที่ไม่สมควร ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

5 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง กายสิทธิ์หินจุยเจีย กับคดหิน ต่างกันอย่างไร?

 

อันที่จริง ผมได้เคยรจนารายละเอียดเรื่องกายสิทธิ์ประเภทต่างๆ ไว้ในบทความ กายสิทธิ์พระจักรพรรดิซึ่งมีความยาวพอสมควรครับ แต่นานาสาระ ฉบับนี้จะขอเล่าคร่าวๆ โดยเน้นไปที่การเปรียบให้เห็นความเหมือนหรือความแตกต่าง ระหว่างกายสิทธิ์ในหินจุยเจีย กับคดหินนะครับ

ในสายวิชชา ทั้งพระธรรมกาย และพระจักรพรรดินั้น ให้ความสำคัญกับกายสิทธิ์เป็นอันมาก เพราะกายสิทธิ์ที่ดี สามารถให้คุณต่อวิชชาได้ ซึ่งผมได้เคยตั้งชื่อนิยามคำว่ากายสิทธิ์คือทิพยะกลกายซึ่งท่านมีชีวิตจิตใจ แต่ไม่มีจิตวิญญาณ คือ กายเป็นที่ปราศจาก ชีวะไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด และอยู่ในสภาพอันเป็นทิพย์เท่านั้น ซึ่งกายสิทธิ์นั้นมีหลากหลายประเภท เหมือนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในเมืองมนุษย์ ที่มีหลายแบรนด์ หลายรูปแบบ

กายสิทธิ์ในหินจุยเจีย ที่นิยมนำมาเจียระไนเป็นลูกแก้วนั้น เป็นกายสิทธิ์ประเภท ปลูกเลี้ยงซึ่งภพเจ้าของธาตุ ท่านส่งกายสิทธิ์ลงมาอยู่ในเมืองมนุษย์ แล้ว บ่มธาตุอันเป็น เรือนหยาบคือหินแก้วจุยเจีย สำหรับใช้สิงสถิตกายสิทธิ์ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปนับร้อยๆ พันๆ ปี เรือนหยาบก็ตกผลึกเป็นแก้วใส ขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง ซึ่งกายสิทธิ์ที่ถูกส่งลงมาจากภพผู้เป็นเจ้าของ ก็อาศัยเป็นเรือน เมื่อมนุษย์ขุดค้นพบ ก็นำมาเจียระไนเป็นลูกแก้วบ้าง เป็นพีระมิดบ้าง เป็นพระพุทธรูปบ้าง และอื่นๆ

ส่วนคดหินกายสิทธิ์นั้น มีหลายประเภทเช่นกัน และแต่ละประเภท ก็มี ภพผู้เป็นเจ้าของแยกกันไป เช่นคดหินไข่นก ก็มีภพกายสิทธิ์สายไข่นกเป็นเจ้าของ คดหินเพชรตาแมว ก็มีภพกายสิทธิ์สายเพชรตาแมวเป็นเจ้าของ คดหอยหิน ก็มีภพกายสิทธิ์สายหอยหินเป็นเจ้าของ ซึ่งท่านแยกประเภทเป็น ตระกูลคดกายสิทธิ์ตาม เรือนหยาบที่ลงครอง และคดหินส่วนใหญ่จะแสดงปาฏิหาริย์คือ เมื่อกายสิทธิ์ถูกส่งลงมาจากภพ เพื่อสิงสถิตอยู่ในเรือนหยาบที่เป็นชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต พืช หรือผลไม้ สิ่งเหล่านั้นก็จะกลายสภาพเป็นของแข็งเหมือนก้อนหินในทันที ไม่ต้องรอเวลาแข็งตัวเหมือนฟอสซิล เช่นคดไข่นกคุ้มที่อยู่ในรังนกคุ้ม เดิมทีก็เป็นฟองไข่ที่เปราะแตกได้ แต่เมื่อภพส่งกายสิทธิ์ลงมาสิงสถิตในฟองไข่นกแล้ว ไข่ใบนั้นก็กลายเป็นของแข็งคล้ายก้อนหินทันที เป็นอิทธิฤทธิ์อย่างหนึ่งของท่าน และสาเหตุที่ต้องทำให้กลายเป็นหิน ก็เพื่อให้มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อม และเป็นเรือนหยาบที่เอื้อเฟื้อต่อการดำรงอยู่ของกายสิทธิ์ พกพาสะดวก เก็บรักษาง่าย ต่างจากแก้วจุยเจีย ซึ่งถ้าจะพกชิ้นใหญ่ หรือดวงใหญ่ติดตัว ก็เสี่ยงที่จะทำแตก

ทีนี้ก็มีผู้ถามว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าของชิ้นใดเป็นคดหินกายสิทธิ์ เป็นก้อนหินธรรมดา หรือเป็นฟอสซิลซากพืชซากสัตว์ คำตอบก็คือ ทั้งสามอย่างนี้มีรูปลักษณ์ภายนอกที่ใกล้เคียงกันมากครับ แล้วก็ยังมีคนทำคดหินปลอมออกมาขายอีกด้วย โดนหลอกไปตามๆ กัน แต่คนที่คุ้นเคยกับการสะสมคดหิน จะพอแยกแยะออกได้ด้วยตาเปล่า กล่าวคือ คดหินกายสิทธิ์ จะแลดู มีชีวิตชีวาและ “มีมนต์ขลัง” มากกว่าก้อนหิน และฟอสซิล ซึ่งคงรูปลักษณ์ของชิ้นส่วนพืช สัตว์ หรือผลไม้ แบบ กึ่งๆ หินแต่ก็พอแยกออกว่าเป็น พืช สัตว์ หรือผลไม้ โดยทรวดทรงที่เด่นชัด ส่วนผู้ทรงวิชชาก็อาจจะตรวจดูกายสิทธิ์ข้างในได้ ว่ามีกายสิทธิ์ครองอยู่ในเรือนหยาบ แต่แม้กระนั้นก็ยังมีการทำของปลอมมาหลอก คือซ้อนกายสิทธิ์ตัวปลอมเข้าไปในก้อนหิน หรือคดหินปลอม แบบนี้ก็มีเหมือนกัน แต่สำหรับฟอสซิลนั้น จะดูเป็น ซากพืช ซากสัตว์ติดอยู่ในเนื้อหิน ไม่เป็นชิ้นๆ อันๆ ตัวๆ เช่นคดไข่หินก็จะเป็นฟองรีๆ ออกมาเลย ไม่ติดอยู่ในเนื้อหินชั้นดินเหมือนอย่างฟอสซิลไข่ไดโนเสาร์ สำหรับแก้วจุยเจีย ก็มีทั้งของจริงตามธรรมชาติ และของเลียนแบบ คือแก้วจุยเจียประเภท “แก้วเลี้ยง” ซึ่งตรวจดูยาก ว่าเป็นของธรรมชาติ หรือของวิทยาศาสตร์ทำขึ้น แต่ถ้าเป็นคริสตัลหลอม หรือแก้วหลอม มักจะมีฟองอากาศเล็กๆ อยู่ข้างใน ซึ่งครูวิชชาบางท่านก็ไม่ถึงกับปฏิเสธแก้วหลอมหรือแก้วเลี้ยงซะทีเดียว เพราะแก้วเหล่านี้เป็นเสมือน “เรือนว่าง” ที่ท่านสามารถชะลอกายสิทธิ์เก่งๆ ลงมาจากภพ เพื่อซ้อนสถิตได้ตามใจชอบ ในระยะเวลาอันสั้น ไม่ต้องรอปลูกเป็นร้อยปี พันปี ซึ่งกายสิทธิ์ที่ครูวิชชา “อัดกายสิทธิ์” ลงไป บางทีก็อาจจะดีกว่า และเก่งกว่า กายสิทธิ์ประเภทเรือนจุยเจียปลูกเลี้ยงก็เป็นได้ แต่ไม่เสมอไป

ทีนี้ผู้ทรงวิชชาบางท่านก็อาจจะถามว่า แล้วกายสิทธิ์แบบไหนจะดีกว่ากัน ระหว่างหินจุยเจีย กับคดหิน ซึ่งคนที่ติดอยู่กับรูปลักษณ์ภายนอกอันสวยงาม อาจจะชอบจุยเจียมากกว่า เพราะใสเป็นแก้ว พาให้รู้สึกเย็นใจ สบายใจ และดูคล้ายธรรมะภายใน คือดวงธรรม หรือพระธรรมกาย พระจักรพรรดิ ที่ใสเย็นเป็นแก้วสว่าง โดยเฉพาะแก้วจุยเจียที่เจียระไนเป็นทรงกลม มักจะพาเข้าวิชชาได้คล่องแคล่ว เนื่องจากทรงกลมเป็นรูปสภาวธรรมของใจ แต่ถ้าเราจะพิเคราะห์กันถึงองค์กายสิทธิ์ที่อยู่ภายใน ที่ภพท่านส่งลงมา ก็ต้องขอบอกว่า กายสิทธิ์ในหินจุยเจีย กับคดหินกายสิทธิ์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ

เริ่มจากกายสิทธิ์ในหินจุยเจียก่อน ก็คือ กายสิทธิ์ที่ถูกส่งลงมาจากภพ เพื่อครองเรือนจุยเจียนั้น ส่วนมากจะมี วิชชาน้อย หรือไม่มีวิชชาเลย เพราะภพท่านส่งลงมาอย่างนั้น แต่โดยธาตุธรรมอาจจะเป็นกายสิทธิ์ระดับจุลจักรฯ มหาจักรฯ บรมจักรฯ ขั้นต่างๆ ที่มีกำลังมากน้อยไม่เท่ากัน สามารถช่วยดลบันดาลความสุขความเจริญ รวมถึงมรรคผล ให้กับเจ้าของได้ แม้จะมีวิชชาน้อย หรือไม่มีวิชชาเลย ซึ่งเราเปรียบวิชชาได้กับ ความรู้ซึ่งกายสิทธิ์อาจจะรู้มากรู้น้อย แต่ก็มีกำลังวังชาแรงมากน้อย เพื่อไปดลจิตดลใจผู้คน ให้มาซื้อขายกัน กระทั่งเป็นกำไรต่อผู้เป็นเจ้าของ แต่กายสิทธิ์จุยเจียนั้น เป็นที่ชอบใจของผู้ทรงวิชชา เหมือนคอมพิวเตอร์เครื่องเปล่าๆ ที่ลงโปรแกรมได้เต็มที่ตามความพอใจ แล้วก็พาเดินวิชชาตามสั่งโปรแกรม จึงเป็นการง่ายสำหรับท่าน โดยเฉพาะผู้ทรงวิชชาที่อยู่ในสายธาตุสายธรรมภาคขาว จะ ถูกธาตุถูกธรรมกับหินจุยเจียสีขาว เป็นอย่างยิ่ง

ส่วนคดหินกายสิทธิ์แต่ละตระกูลนั้น ภพผู้เป็นเจ้าของท่านจะส่งกายสิทธิ์ที่มีวิชชาอันเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัวของแต่ละตระกูล ลงมาอาศัยอยู่ในเรือนคดหิน เช่นคดหอยหิน มีคุณด้านคุ้มกันภัย คดไข่นก มีคุณด้านความอุดมสมบูรณ์ คดเม็ดขนุน มีคุณด้านความเกื้อกูลส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ซึ่งภพผู้เป็นเจ้าของท่านจะติดตั้งโปรแกรม คือวิชชา ไว้ในกายสิทธิ์แล้ว จึงค่อยส่งลงมา แต่ถึงแม้กระนั้น ก็ยังมีสายควบคุมพ่วงอยู่

เมื่อกล่าวถึงสายธาตุควบคุมกายสิทธิ์ ที่ภพผู้เป็นเจ้าของพ่วงเอาไว้ ผมก็ขอสรุปปิดท้ายว่า ทั้งกายสิทธิ์ในหินจุยเจีย และกายสิทธิ์ในคดหินนั้น ต่างก็มี ภพผู้เป็นเจ้าของดูแลอยู่ ซึ่งผู้ทรงวิชชามีสิทธิ์ใช้สอย ในการทำวิชชา แต่ยังไม่มีสิทธิ์ครอบครองส่วนละเอียด แม้ว่าท่านจะเป็นผู้จ่ายเงินซื้อหามา หรือได้มาโดยชอบธรรม เพราะภพผู้เป็นเจ้าของท่านประสงค์จะ “เรียกกลับภพ” เมื่อหมดเวลาปฏิบัติหน้าที่ เพื่อแบ่งเอาวิชชา บุญบารมี และส่วนอานิสงส์แห่งผลสำเร็จต่างๆ รวมถึงกายสิทธิ์ที่แก่กล้าขึ้นกลับไปเป็นของพวกท่าน  ยกเว้นแต่ผู้ทรงวิชชาจะตกลงกับภพผู้เป็นเจ้าของโดยจ่าย ธาตุบุญหรือ แบ่งวิชชาให้กับภพผู้เป็นเจ้าของ หรืออื่นๆ แล้ว ตัดสายควบคุมเพื่อ เหน็บกายสิทธิ์เข้าไว้ในสายธาตุสายธรรมของผู้ทรงวิชชา แล้วนำติดตัวไปใช้ต่อในภพชาติเบื้องหน้า ซึ่งเป็นที่นิยมทำกันในหมู่ผู้ทรงวิชชา ที่ได้พบกายสิทธิ์ที่ถูกใจ และทำงานละเอียดได้ดีกระทั่งคุ้นเคยกันมากแล้ว

กายสิทธิ์ทั้งประเภทเรือนหินจุยเจีย และเรือนคดหินนั้น มีประเด็นในเชิงวิชชาเบื้องต้นที่ต้องคำนึงถึง เมื่อได้มาใหม่ๆ คือ (1) ความสะอาด (2) ความละเอียด ซึ่งความสะอาดนั้น ผู้ทรงวิชชาจะต้องกลั่นให้สะอาด แต่มีทางลัดคือนำมาแช่น้ำพระพุทธมนต์ของสำนักครูวิชชา ซึ่งจะต้องจ่ายค่าเลี้ยงรักษาน้ำมนต์ด้วยธาตุบุญ แล้วกายสิทธิ์จะสะอาดขึ้นระดับหนึ่ง เหมาะสำหรับนำมากลั่นให้ละเอียดต่อไปครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

4 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง เพราะอะไรเทวดาจึงชอบเทียนขี้ผึ้งธรรมชาติ?

พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่นั้น แทบจะต้องใช้ธูปเทียนเกือบทุกพิธี แม้การจุดธูปเทียนในพิธีกรรมจะไม่ใช่แบบแผนธรรมเนียมมาแต่สมัยพุทธกาล แต่มีการจุดประทีปในรูปแบบต่างๆ เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งในยุคแรกๆ เดิมที ที่มีการใช้ธูปเทียนนั้น ธูปจะทำมาจากกำยาน หรือไม้หอม อย่างกฤษณา ส่วนเทียนทำมาจากขี้ผึ้ง แต่ในปัจจุบันนั้น ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวัสดุสำหรับผลิต มนุษย์ได้พัฒนาธูปที่ผสมน้ำหอม ส่วนเทียนก็ทำมาจากไขปิโตรเลียมผสมน้ำหอมเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ท่านรู้หรือไม่ว่า ในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่มีการอัญเชิญเทวดามาร่วมงาน อย่างการสวดเจริญพระพุทธมนต์, การหล่อพระ, การวางศิลาฤกษ์, การตัดลูกนิมิต, การยกฉัตร และช่อฟ้า, ทอดกฐิน, ทอดผ้าป่า รวมไปถึงการทำบุญบ้าน เทวดาท่านชอบใจเทียนที่ทำมาจากขี้ผึ้งแท้ มากกว่าเทียนไขปิโตรเลียม  สาเหตุเพราะการจุดเทียนขี้ผึ้งแท้นั้น จะทำให้เกิดแสงสว่างอันเป็นทิพย์ที่นุ่มนวลเนียนตาต่อทิพยจักขุของเทวดาทั้งหลาย และมีความ “เป็นพิษ” น้อยมาก ในขณะที่เทียนไขปิโตรเลียม ทั้งที่ผสมสี และผสมกลิ่นน้ำหอม จะมีไอพิษเผาผลาญออกมาด้วยระดับหนึ่ง และส่วนละเอียดของเปลวไฟก็ไม่มีแสงทิพย์อันนุ่มนวลละเอียดเนียนต่อตาทิพย์ของเทวดา สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ขี้ผึ้งที่เหล่าผึ้งผลิตมาสร้างรังผึ้งนั้นเป็นเชื้อเพลิงที่เผาผลาญแล้วก่อให้เกิดไฟทิพย์อันละเมียดละไมตามธรรมชาติ เนื่องจากมี “มวลธาตุส่วนละเอียด” อันรังสรรค์ตามธรรมชาติเพื่อให้เป็นเช่นนั้น เมื่อมวลธาตุส่วนหยาบของขี้ผึ้งถูกเผาผลาญให้หลอมละลายเพื่อเลี้ยงเชื้อไฟ ก็จะกลายเป็นน้ำมันที่หล่อเลี้ยงธาตุไฟ กอปรเป็นเปลวไฟส่วนหยาบอันสว่างไสว และมวลธาตุส่วนละเอียดก็เลี้ยงธาตุไฟ ให้เกิดรัศมีส่วนละเอียดอันนุ่มนวลเรืองรองออกมา และมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ อุปมาเหมือนการนำผลไม้ไปบูชาเซ่นไหว้พระภูมิเจ้าที่ตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งผลไม้ต่างๆ ก็มีส่วนหยาบที่มีความหวานอร่อยมากน้อยไม่เหมือนกัน ในขณะที่ส่วนละเอียดก็มีทิพยโอชารสไม่เท่ากัน ซึ่งพระภูมิเจ้าที่ลิ้มรสแล้ว ก็รู้สึกอิ่มทิพย์ เกิดมีรัศมีทิพย์เปล่งปลั่งมากบ้างน้อยบ้าง ถึงพร้อมด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งอย่างไม่เท่ากัน ส่วนเทียนไขปิโตรเลียม ซึ่งมนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมาผลิตเป็นเทียน ไม่มีอณูทิพย์นั้นตามธรรมชาติเหมือนอย่างขี้ผึ้งแท้ ที่เป็นราวกับวัสดุธรรมชาติสรรค์สร้าง ให้มีไว้สำหรับทำเทียน เหมือนอย่างแววหางนกยูง ที่ธาตุธรรมประชุมให้มีขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้ความสุขทางสายตาและความบันเทิงใจต่อผู้พบเห็น และยังสามารถนำไปใช้ทำประโยชน์กุศลต่างๆ เพราะเหตุนี้ ด้วยคุณลักษณะของเทียนขี้ผึ้งดังกล่าว จึงมักทำให้พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ใช้เทียนขี้ผึ้งธรรมชาติ มีความศักดิ์สิทธิ์ และสมบูรณ์แบบมากขึ้น อีกทั้งมีอานิสงส์ผลบุญที่เลิศล้ำกว่าอีกด้วย ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

นวัตกรธรรมเศรษฐศาสตร์ และองค์ธรรมวิศาสตร์

1 ตุลาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org    


นานาสาระ: เรื่องบุญบาปจากการเสียภาษี

การจัดเก็บภาษีโดยรัฐบาล แล้วนำไปใช้จ่ายในงานราชการ ทั้งทางดี และทางร้าย อย่างเช่นสร้างถนนหนทาง สะพาน โรงเรียน โรงพยาบาล ซึ่งมีทั้งคนดี อย่างพระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา เดินทางสัญจรและใช้สอย และคนร้าย อย่างมาเฟีย คนทุศีล โจร ต่างๆ นำไปใช้ มีผลให้ผู้เสียภาษีได้อานิสงส์ทั้งทางดี และทางไม่ดีบ้าง ขึ้นอยู่กับเจตนา รวมถึงการอนุโมทนายินดี ในการเสียภาษีของตนมากน้อยเพียงใด

โดยรวมแล้ว ผู้เสียภาษีตามกำหนดของรัฐบาล จะได้อานิสงส์คือ จะเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์สุข จากการใช้สอยสาธารณสมบัติต่างๆ ทั้งในเมืองมนุษย์ และโลกทิพย์ โดยจะได้อภิสิทธิ์ใช้ก่อน และใช้มากกว่า ผู้ที่ไม่ได้เสียภาษี หรือเสียน้อยกว่าที่ควรจะเป็น อีกทั้งยังมี "สิทธิ์" ที่ผู้อื่นติดค้าง ซึ่งถ้ารู้จักการใช้สิทธิ์ และ “เล่นสิทธิ์” ที่ได้ ก็จะเป็นประโยชน์ในทางวิชชาอีกด้วย ส่วนอานิสงส์ในโลกสวรรค์ก็คือ ผู้ที่เสียภาษีมาก อันเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจจะได้เป็นถึง “เจ้าสวรรค์” คือ หัวหน้าเทวดา (เจ้าสวรรค์สามารถมีได้หลายพระองค์ในสวรรค์ชั้นเดียวกัน และในเวลาเดียวกัน) ซึ่งอานิสงส์ของการเสียภาษีอย่างซื่อตรงนั้น มีลักษณะคล้ายการบำเพ็ญกุศลของ “มฆมานพ” หรือพระอินทร์ ซึ่งแม้จะไม่ใช่บุญในพระพุทธศาสนาโดยตรง แต่เป็นบุญสาธารณประโยชน์ ก็มีอานิสงส์ส่งผลให้ได้เป็น “ผู้นำ” ของผองชน ที่คอยปกครองและรับผิดชอบบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับมหาชน หรือปวงเทวดา แม้จะไม่ใช่ผู้ที่มีบุญบารมีมากที่สุด หรือวิมานใหญ่ที่สุดก็ตาม อุปมาเหมือนนายกรัฐมนตรี เมื่อเปรียบเทียบกับเจ้าสัวเศรษฐี

นอกจากนี้ ในทางบทบัญญัติของรัฐบาลแล้ว ผู้เสียภาษีจำนวนมากในประเทศไทย สามารถได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นดิเรกคุณาภรณ์ จัดเป็น "ดารา" ประเภทหนึ่ง ซึ่งทำให้มีฤทธิ์มากขึ้นในวิชชา ส่วนผลบุญจากการเสียภาษี ก็อย่างเช่น การมีส่วนแห่งความเป็นเจ้าของ ได้เป็นหุ้นส่วนที่ก่อให้เกิดรายได้ จากหน่วยงานภาครัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ อย่างเช่น สถานีบริการน้ำมัน, สายการบินแห่งชาติ, ธนาคารพาณิชย์ และอื่นๆ ซึ่งถ้าบุญจากการเสียภาษีส่งผล แล้วบุคคลนั้นๆ เข้าถือหุ้น บุญก็จะบันดาลให้กิจการเจริญก้าวหน้าดีกว่า

ส่วนผลเสียจากบาป ที่ได้จากเงินภาษี ยกตัวอย่างเช่น การเสียภาษีให้กับรัฐบาลแล้วรัฐบาลนำเงินไปก่อสงครามกับประเทศอื่น ซึ่งจะมีผลให้ผู้เสียภาษีได้ "วิบัติ" ติดตัวไป และวิบัติจะหนักมากขึ้นหากผู้เสียภาษีอนุโมทนายินดีกับรัฐบาลในการก่อสงคราม หรือชื่นชมสนับสนุนให้รัฐบาลทำเช่นนั้น รวมถึงการลงคะแนนเลือกตั้ง สนับสนุนให้รัฐบาลที่ตนชอบ มาก่อสงคราม แม้กระนั้น ผู้เสียภาษีพอจะหลีกเลี่ยงวิบัติเหล่านั้นได้ด้วยการ "เล่นสิทธิ์" ที่ได้จากการเสียภาษี โดยถือสิทธิ์เฉพาะในกิจการงานที่ดีของรัฐบาล และคืนสิทธิ์จากการกิจการงานที่เป็นโทษเป็นภัย ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการ “หักล้างสิทธิ์” ระหว่างสิทธิ์ในสิ่งดี และสิทธิ์ในสิ่งไม่ดี ดังฉะนี้ครับ.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

Dhammonomics Inventor & Dharma Wizard

29 กันยายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ:

Q&A: เรื่อง การเหน็บเหรียญกษาปณ์ทองคำใส่กระเป๋าในวิชชา

Q: เพราะเหตุใด การนำเหรียญกษาปณ์ทองคำทิพย์ในโลกวิชชามาเหน็บใส่กระเป๋ากายมนุษย์ จึงได้อานิสงส์แรง และแน่นอนกว่าธาตุสมบัติทั่วไป?

A: เหรียญกษาปณ์ทองคำและเงินมี "สิทธิ์" บางตัว ที่ภาคทอง และภาคเงิน ประชุมขึ้นร่วมกันกับภพผู้เลี้ยงเหรียญ และเทวดาพระคลังผู้รักษาประจำเขตอาณาจักรหนึ่งๆ ซึ่งในทางวิชชาจะมีชื่อเฉพาะ แต่ผมขอเรียกตามภาษาบ้านๆ ว่า “กรรมา-สิทธิ์” อุปมาคล้ายเซ็นสั่งจ่ายเช็คด้วยสองลายเซ็นพร้อมดวงตราประทับ แล้วเซ็นสลักหลังให้โอนการเบิกจ่าย หรือเบิกโดยผู้ถือ ประกอบกับ "ดวงตราประกาศิต" ด้วย ซึ่งมีผลต่ออานิสงส์ที่เครื่องภพจะคำนวณจ่าย และเพราะเหรียญที่ใช้ตอนทำบุญ มี "กายสิทธิ์" จากภาคเงิน และภาคทอง ที่คอยรักษาความล้ำค่าประจำอยู่ จึงนับเป็น "ฤทธิ์" ที่มากขึ้นของธาตุสมบัติ อุปมาเหมือน "กายสิทธิ์" ที่ลงรักษาเรือนหยาบประเภทคดหิน และเหล็กไหล เช่นเม็ดขนุนกายสิทธิ์ คดหอย คดดักแด้ คดไข่นก คดไข่ไก่ และอื่นๆ ซึ่ง "ศักดิ์สิทธิ์" ลงมามากกว่าปกติ เพราะพร้อมด้วย สิทธิ์, กายสิทธิ์, กรรม, ประกาศิต, วิชชา และอื่นๆ ซึ่งประชุมของหยาบขึ้น แล้วกลายเป็นสมบัติทิพย์ที่มีอานุภาพมาก และเมื่อต้องการจะหยิบของทิพย์นั้นกลับลงมาเหน็บใส่กระเป๋ากายมนุษย์ในโลกมนุษย์ ก็จะมีความ "แน่น" ของธาตุสมบัติที่มากกว่า โดยมีกายสิทธิ์เร้นอยู่ในภพประจำเหรียญทิพย์แต่ละเหรียญ เมื่อถูกหยิบมาใส่กายมนุษย์แล้วก็มีพลังงานแรงในการดึงดูดสมบัติ เปรียบเหมือนตั้งผังวิชชาแน่นๆ ให้ได้สมบัติโดยจ่ายบุญด้านสมบัติโดยตรงเพื่อเลี้ยงผังนั้นมากเป็นพิเศษ แต่ในกรณีนี้ทำงานโดยกายสิทธิ์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ถ้าคว้าลงมาจากเมืองพระนิพพาน ก็จะเป็นพระพุทธจักรฯ ด้านสมบัติ ซึ่งท่านคอยทำหน้าที่ตามสมบัติส่งมาถึงผู้เป็นเจ้าของ ตราบกว่าจะหมดกำลังธาตุสมบัติลง หรือตามสมบัติมาได้ครบจำนวนที่สิทธิ์ไว้ ในทำนองเดียวกันกับที่พญานาคแต่ละองค์มีเพชรพญานาคเป็นสมบัติ เพชรพญานาคเหล่านั้นมี “ทิพยะนาคะจักรฯ” และ “นาคะกายสิทธิ์” รักษาอยู่ข้างใน คอยดลบันดาลความสมบูรณ์พูนสุขให้กับพญานาคตนนั้นๆ ตามกำลังวาสนาบารมีครับ.

Q: การทำบุญด้วยเหรียญทองคำ จะได้อานิสงส์ให้ได้รับเหรียญทองคำหรือไม่?

A: ไม่เสมอไปครับ ขึ้นอยู่กับอธิษฐาน หรือวิชชา เหมือนคนใส่บาตรด้วยอาหาร แต่กรรมส่งผลให้รวยทรัพย์ อีกทั้งอายุ วรรณะ สุขะ พละ รวมๆ กันไป ซึ่งจะไม่เกิน “งบประมาณ” ของพลังธาตุสมบัติที่เหน็บมาใส่ครับ.

Q: การซื้อเหรียญทองคำ และเหรียญเงิน มาทำบุญ จะทราบได้อย่างไร ว่าเหรียญใด เป็นโลหะเงิน โลหะทอง หรือโลหะนิกเกิ้ล?

A: เหรียญกษาปณ์บางเนื้อโลหะดูคล้ายๆ กัน โดยเฉพาะเหรียญที่ขัดเงาแล้ว เหรียญนิกเกิ้ลบางเหรียญดูคล้ายโลหะเงิน ส่วนเหรียญโลหะเงินก็มีทั้งประเภท เนื้อเงิน 99.99% และหย่อนกว่านั้น เช่น 96.5% วิธีสังเกตง่ายๆ เบื้องต้น คือดู "มูลค่าหน้าเหรียญ" ซึ่งมีมูลค่าสูงตามยุคสมัยแต่ละรัชกาล เหรียญโลหะเงินส่วนใหญ่ ของสมัยใหม่หน่อยในยุครัชกาลที่ 9 มักจะมีมูลค่าหน้าเหรียญหลักร้อยบาท เช่นเหรียญ 150 บาท เหรียญ 300 บาท เหรียญ 600 บาท ซึ่งมูลค่าหน้าเหรียญนี้จะประทับเป็นตัวอักษรและตัวเลขนูนต่ำอยู่บนหน้าเหรียญ ส่วนเหรียญเงินรุ่นใหม่ๆ ในรัชกาลปัจจุบัน อาจจะมีมูลค่าหน้าเหรียญถึงหลัก 1,000 บาท ส่วนเหรียญทองคำ จะมีมูลค่านับพัน นับหมื่น เช่น 3,000 บาท 6,000 บาท 15,000 บาท เป็นอาทิ ส่วนเหรียญนิกเกิ้ลส่วนใหญ่จะมีมูลค่าหน้าเหรียญเพียงหลักสิบเป็นส่วนใหญ่ครับ เช่น 20 บาท ทั้งนี้ การทำบุญด้วยเหรียญ ควรระบุบนซองด้วยว่าเป็นเหรียญเนื้อโลหะเงิน และทองคำ เพื่อความสะดวกต่อทางวัดในการนำไปใช้ประโยชน์ บางแห่งไม่สะดวกจะนำไปหล่อพระ เพราะไม่แน่ใจว่าเป็นโลหะเงิน หรือโลหะนิกเกิ้ล (โลหะนิกเกิ้ลไม่เหมาะต่อการนำไปหลอมเพื่อหล่อพระ) ส่วนเหรียญกษาปณ์ปลอมนั้นก็ต้องพึงระวัง ถ้าเป็นไปได้ให้ซื้อเหรียญที่มีใบรับรองประกอบ ซึ่งจะเป็นบัตรแผ่นพับเล็กๆ ที่แนบมาพร้อมกับกล่องใส่เหรียญ แต่ถ้าอย่างไร ควรจะซื้อเหรียญจากร้านหรือบุคคลที่เชื่อถือได้ หรือจะซื้อจากกรมธนารักษ์โดยตรง เมื่อมีการออกเหรียญใหม่ในแต่ละครั้งก็ได้ ดังนี้ครับ.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

Dhammonomics Inventor & Dharma Wizard

28 กันยายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ:

เรื่อง การเหน็บสมบัติทิพย์ใส่กระเป๋าด้วยวิชชา

จากบทความที่ผ่านๆ มา เรื่องการทำบุญด้วยเหรียญกษาปณ์เงิน และกษาปณ์ทองคำ ซึ่งบันดาลให้เกิดเป็น “ภูเงิน.. ภูทอง..” และอื่นๆ อย่างภูแก้ว ภูเพชร ภูพลอย ซึ่งเป็นสมบัติในวิชชานั้น เราทราบแล้วว่าสมบัติในวิชชาเหล่านี้มี “สภาพคล่อง” ในการใช้สอย ต่างจากสมบัติทิพย์ในสวรรค์ ที่เกิดขึ้นเพื่อเฉพาะบุคคลเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ทรงวิชชาส่วนใหญ่ มีวิธีมอบสมบัติให้ผู้อื่น เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ไม่ให้ติดค้างสิทธิ์ หรือตกรางวัลให้กัน ด้วยวิธีที่เรียกว่า “เหน็บใส่กระเป๋า

การเหน็บใส่กระเป๋านั้น ไม่ได้หมายความว่าผู้ทรงวิชชาหยิบเงินใส่กระเป๋าเสื้อ หรือกระเป๋ากางเกงของใคร แต่เป็นการหยอด “ธาตุสมบัติ” ที่ผู้ทรงวิชชาได้มาจากการทำบุญต่างๆ นำไปใส่ไว้ในกายของผู้รับ เป็นผลให้ผู้รับได้รับทรัพย์สมบัติด้วยวิถีทางใด วิถีทางหนึ่ง ในลักษณะของ “อายตนะสมบัติดึงดูด” โดยนัยนี้ ผู้ทรงวิชชาจะต้องเสียธาตุสมบัติของตน และส่วนใหญ่แล้ว จะต้องใช้มากหน่อย เพื่อให้ผู้รับได้ทรัพย์จำนวนน้อยกว่าสัดส่วนที่ผู้ทรงวิชชาจะพึงได้ตามกฎแห่งกรรม ยกตัวอย่างเช่น ผู้ทรงวิชชาทำบุญถวายสังฆทาน 100 บาท อานิสงส์คือจะได้ทรัพย์ในภพชาติถัดๆ ไปทั้งสิ้น จำนวน 2000 บาท แต่ผู้ทรงวิชชานำธาตุสมบัติที่ได้นี้มาเหน็บใส่กระเป๋าให้กับผู้อื่น จึงใช้ธาตุสมบัติไป 500 บาท เป็นเหตุให้ผู้รับมีทางมาแห่งสมบัติจำนวนเพียง 200 – 350 บาท

ส่วนคำแนะนำให้ลองทำบุญด้วยเหรียญกษาปณ์เงิน และกษาปณ์ทองคำนั้น มีความแตกต่างจากการทำบุญด้วยธนบัตร และเหน็บใส่กระเป๋าด้วยบุญจากการบริจาคธนบัตรคือ การคำนวณธาตุบุญจากการบริจาคธนบัตรเพื่อเหน็บใส่กระเป๋านั้น จะคาดการณ์ให้ได้ตัวเลขมูลค่าทรัพย์อย่างแน่นอนที่ผู้รับจะได้นั้น ไม่ค่อยจะแน่นอน อาจจะมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง คือเหน็บแล้วได้น้อยกว่า หรือมากไป กว่าที่ตั้งใจจะให้ และกำลังอายตนะธาตุสมบัติ ที่จะดึงดูดทรัพย์เข้ามาสู่ผู้รับ ก็อาจจะไม่แรงพอ เมื่อเทียบกับเหรียญกษาปณ์เงินและทองคำ ซึ่งผู้ทรงวิชชาบางท่านจำเป็นจะต้อง “ย้ำในวิชชาให้แน่นๆ” เสริมเข้าไปด้วย

สำหรับเหรียญกษาปณ์เงิน และทองคำนั้น มีมูลค่าที่แน่นอนอยู่ในวิชชา และเมื่อคำนวณจ่าย ก็จะได้จำนวนที่แน่ชัด ว่าต้องเหน็บหรือหยอดใส่ให้กี่เหรียญเงิน กี่เหรียญทอง นอกจากนี้ กำลังดึงดูดสมบัติ ของเหรียญเงิน และเหรียญทองคำทิพย์ ที่หยิบมาจากคลังเก็บรักษา ก็มีฤทธิ์มากกว่าปกติ มีผลให้การส่งผลเป็นทรัพย์สมบัตินั้น จะประสบความสำเร็จมากกว่า ส่วนการเหน็บที่ทำแล้ว ทรัพย์ไม่เกิดขึ้น หรือเกิดน้อย ท่านเรียกว่า “เหน็บไม่ติด” ทำให้สิ้นเปลืองวิชชาและธาตุสมบัติไป

อย่างไรก็ตาม เหรียญเงิน และเหรียญทอง อันเป็นทิพย์ที่กล่าวถึงในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงสมบัติในสวรรค์ แต่เป็นสมบัติในวิชชา อุปมาเสมือนเครื่องประดับของ “พระจักรฯ” ซึ่งบำเพ็ญบุญบารมีในโลกมนุษย์ หรือภพภูมิต่างๆ แล้วเครื่องประดับอันล้ำค่าบังเกิดขึ้นทีละเล็กละน้อย อย่างเช่นเครื่องทรงลดา และมณีลังการ ทั้งที่สวมใส่อยู่ หรือเก็บรักษาไว้ ฉันใดก็ฉันนั้น เหรียญเงิน และเหรียญทอง อีกทั้งเพชรพลอย อัญมณี รัตนชาติ หินมีค่าต่างๆ ซึ่งเป็นทรัพย์ในวิชชา จะบังเกิดขึ้นอยู่ในสถานที่เฉพาะของสายธาตุสายธรรม ซึ่งถ้าเป็นของภาคขาว ฝ่ายสัมมาทิฐิ จะเรียกว่าเป็น “เมืองพระนิพพาน” ก็ได้ เหมือนบำเพ็ญบารมีแล้ว มีปราสาทราชวังของเมืองพระนิพพานบังเกิดขึ้นเป็นที่ประทับนั่นเอง

ส่วนทว่า การทำบุญด้วยเหรียญกษาปณ์เงิน และกษาปณ์ทองคำ จะบังเกิดเป็นเหรียญเงิน เหรียญทองคำทิพย์ ในวิชชามากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น เนื้อนาบุญ, ประกาศิต, วิชชา, จำนวนและคุณลักษณะของเหรียญ, ความบริสุทธิ์ของเนื้อโลหะ, มูลค่าในวิชชาของเหรียญ, ความบริสุทธิ์ของส่วนละเอียดภายในเหรียญ และอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม การหยิบเหรียญเงิน เหรียญทองคำ จากภูเงิน ภูทอง ในเมืองพระนิพพาน มาเหน็บใส่กระเป๋าผู้อื่น ก็จะต้องมีการตกลงกับสายธาตุสายธรรมของผู้เป็นเจ้าของเหรียญด้วย และจะเหน็บใส่กระเป๋าของกายมนุษย์คือตนเองนั้นก็ย่อมได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ถวายเหรียญกษาปณ์ทองคำ 1 เหรียญเป็นสังฆทาน เพื่อนำไปหล่อพระพุทธรูป ได้อานิสงส์มีเหรียญทองคำเกิดขึ้นในวิชชาจำนวน 30 เหรียญ ก็แบ่งเก็บรักษาไว้ 10 เหรียญ เหน็บใส่ให้กายมนุษย์ของตนเอง 10 เหรียญ และเหน็บใส่ให้ผู้อื่น 10 เหรียญ เมื่อธาตุสมบัติดึงดูดทรัพย์มาให้แล้ว ก็นำไปทำบุญต่ออีก ในทำนองเดียวกันเรื่อยไป ดังนี้แล้ว สมบัติก็จะไม่หมดไป

จะเห็นได้ว่า การเหน็บธาตุสมบัติอย่างเหรียญกษาปณ์เงิน และทองคำของทิพย์มาใส่ตนและผู้อื่น เป็นทางลัดในการส่งผลของกรรม อาจกล่าวได้ว่า เป็นการเร่งการส่งผล ให้เกิดในปัจจุบัน เหมือนการนำ “ทรัพย์อนาคต” มาใช้ก่อน และการเหน็บธาตุสมบัติใส่กระเป๋านั้น ไม่ว่าจะได้ทรัพย์ตามจำนวนที่มุ่งหมายหรือไม่ก็ตาม อย่างน้อยธาตุบุญก็จะหล่อเลี้ยงให้ผู้รับมีลาภในรูปแบบต่างๆ มาหล่อเลี้ยง ตราบกว่าธาตุสมบัติจะหมดกำลังลง ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

Dhammonomics Inventor & Dharma Wizard

28 กันยายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง “วิธีตรวจนิมิต” ว่าเป็นสิ่งจริงหรือไม่

“นิมิต” ก็คือสิ่งที่ผู้เจริญสมาธิภาวนาเห็นในญาณ หรือตาทิพย์ บางทีเห็นเป็นปราสาทราชวัง, ทิพยสมบัติ, ทวยเทพเทวดานางฟ้า, ทรัพย์สินล้ำค่า, วิวทิวทัศน์ ต้นไม้ใบหญ้า หรือแม้แต่กระทั่งพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ และเหล่าเทพพรหม สิ่งที่เป็นข้อกังขากันมากในหมู่นักปฏิบัติก็คือ “สิ่งที่เห็นนั้นเป็นสิ่งจริงหรือนิมิตเลื่อนลอย” ซึ่งสายปฏิบัติอย่างสายพระจักรพรรดิ, สายมโนมยิทธิ, และสายพระธรรมกาย ที่มีอภิญญาสามารถทัวร์นรกสวรรค์อยู่เป็นประจำ ก็คงเป็นที่สงสัยกันว่า ท่านเห็นของจริงหรือไม่ ซึ่งบทความนานาสาระนี้มีคำตอบครับ

ในการปฏิบัตินั้น นิมิตที่เห็นมีทั้งของจริง และของปรุงแต่ง ซึ่งของปรุงแต่งบางครั้งก็ถูกสร้างมโนภาพขึ้น เพื่อกำหนดจิตกำกับไว้เป็น “บริกรรมนิมิต” คือหลักสำหรับจับอารมณ์ ซึ่งเมื่ออารมณ์เป็นสมาธิมั่นคงแน่วแน่แล้ว ภาพที่จะเห็นต่อไป อย่างการทัวร์นรกสวรรค์ก็จะเป็นของจริงได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น การตรวจภาพในสมาธิว่าเป็นนิมิตปรุงแต่ง หรือภาพของจริงที่เห็นด้วยตาทิพย์ เราสามารถทำได้ด้วยการ “ตรวจอณูของภาพ” โดย “แยกธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ” ซึ่งถ้าหากเรานั่งสมาธิเห็นเทวดา สนทนาปราศรัยกันไป เราอาจจะขอผ้าทิพย์, เครื่องประดับทิพย์, หรือใบไม้ทิพย์ ที่เห็นมา “ตรวจแยกธาตุ” ซึ่งถ้าแยกธาตุแล้ว กลายเป็น ดินทิพย์ น้ำทิพย์ ลมทิพย์ ไฟทิพย์ อากาศทิพย์ ก็พอจะสรุปได้ว่า ภาพที่เห็นเป็นเทวดาองค์จริงมาสนทนากับเรา และเพื่อเป็นการสอบทานต่อไป เราสามารถนำ “ธาตุน้ำทิพย์” ที่แยกออกมา ไปดับ “ธาตุไฟทิพย์” ในอณูผ้าที่เราแยกธาตุ ถ้าดับได้ ก็แสดงว่าอณูธาตุที่ตรวจเห็นนั้นเป็นของจริง แต่ถ้าหากแยกธาตุไปแล้ว ถึงที่สุดกลายเป็น “หมอกควัน”, “ไอ” หรือ “ว่าง” ก็เท่ากับว่า นิมิตนั้นเป็นสิ่งปรุงแต่ง ฟุ้งซ่าน หรือวิปัสสนูปกิเลส ซึ่งการปรุงแต่งก็อาจจะเกิดจากอารมณ์และใจของผู้ปฏิบัติเอง หรือภาคมารสร้างขึ้น หรือผู้ปฏิบัติอื่นๆ สร้างขึ้น เพื่อ “หลอกรู้หลอกญาณ” ให้สำคัญผิดกันไป  นอกจากนี้ เรายังสามารถ “ถ่ายภาพด้วยญาณ” ต่อภาพที่เห็นในสมาธิ แล้วนำภาพญาณนั้นมาตรวจได้อีก เช่นตรวจถอยกลับไปว่าสิ่งที่ปรากฏในภาพมาจากไหน มาเพราะอะไร ถ้าเป็นภาพหลอกรู้หลอกญาณ ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงภาพนิ่ง หรือภาพคลิปเคลื่อนไหวสั้นๆ ถ้าตรวจเกินเลยจุดเริ่มต้นของคลิปภาพ ก็จะถึงที่สุด แล้วหมดภาพแค่นั้น ในขณะที่ของจริงจะเป็นเรื่องเป็นราวย้อนถอยกลับไปได้ไม่สิ้นสุด

ส่วนการถ่ายภาพญาณ ทั้งนิมิต หรือภาพจริง หรือการพิสูจน์เรื่องราวใดๆ เช่นภาพอดีตที่ค้นเจอ ว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ เราสามารถ “กรอภาพ” ย้อนถอยกลับไป และ ต่อไปข้างหน้า กลับไปกลับมา เพื่อดูว่าตรงความจริงหรือไม่ ถ้าตรงความจริง จะต้องเห็นตรงกัน ทั้งของหยาบ และของละเอียด เช่น เห็นคุณ C มาทำบุญที่วัดในวันอาทิตย์ที่ 1 โดยสวมเสื้อผ้า และเครื่องประดับ อย่างนั้น อย่างนี้ เมื่อนั่งสมาธิ แล้วเห็นภาพคุณ C เข้าประชุมกับผู้คิดคดกบฏ ในวันศุกร์ที่ 6 ก็ต้องตรวจภาพที่เห็นย้อนถอยกลับไปถึงวันอาทิตย์ที่ 1 เพื่อดูว่า ภาพที่เห็นในญาณ ตรงกับภาพที่กล้อง CCTV บันทึกไว้ในวันอาทิตย์ที่ 1 หรือไม่ ถ้าภาพที่เห็นในญาณ ตรวจถอยกลับไปไม่มีสะดุดเลย แล้วหยาบกับละเอียดตรงกันในวันอาทิตย์ที่ 1 ก็พอจะมั่นใจได้ว่า สิ่งที่ตรวจพบเป็นเรื่องจริง  

นอกจากนี้ ถ้าภาพที่เห็นในญาณ มีลักษณะ “สมจริง” มาก ประกอบกับพอมีหลักฐานของหยาบ ให้เชื่อถือได้ ก็ให้นำหลักฐานที่เห็นในภาพญาณ มา “จับตรวจ” โดยถือเอาไว้ในมือ แล้ว “กรอภาพ” ที่เนื่องด้วยวัตถุหลักฐานนั้น อย่างเสื้อผ้า หรือรถยนต์ที่ขับ กลับไปกลับมา ซึ่งถ้าหากหยาบละเอียดตรงกัน ก็มั่นใจได้มากขึ้น ว่าเป็นเรื่องจริง

แต่ถ้าหากเกิดไม่มั่นใจว่า การตรวจหลักฐานของหยาบจะถูกหลอกรู้หลอกญาณด้วยหรือไม่ ก็ให้ “รู้แจ้งเห็นแจ้ง” ในญาณ เป็นฉากๆ ในแต่ละระยะๆ แล้วถ่ายภาพไว้ จากนั้นจึงตรวจแบบวิดิโอ แล้วนำภาพมาทาบกัน ถ้าตรวจถูกต้อง ภาพทุกภาพ จะซ้อนกันสนิท ไม่มีแตกต่าง ส่วนภาพในญาณที่สงสัยว่า ถูกส่งมาหลอกรู้หลอกญาณ หรือไม่ ก็ให้ถ่ายภาพไว้ แล้ว “ตรวจดูแหล่งที่มาของภาพ” ว่า วิดิโอ หรือภาพนิ่งในญาณนั้นๆ มาจากไหน มาจากเจ้าตัวผู้เห็นเอง หรือมาจากใครอื่น โดยเราอาจจะทำเงื่อนไว้ ก่อนตรวจ ว่าถ้าภาพเป็นสิ่งที่เราเห็นเอง ด้วยญาณของเราเอง ก็ขอให้เงื่อนเป็นอย่างนั้น แต่ถ้าภาพเป็นสิ่งที่ผู้อื่นใส่มา ก็ขอให้เงื่อนเป็นอย่างอื่น

วิธีผูกเงื่อนในการตรวจด้วยญาณ: สมมติว่า ตรวจด้วยพระธรรมกาย ก็เริ่มจากดวงวิมุติญาณทัสสนะ แล้วแจ้งไปตามลำดับ ลำดับ ทีละภาพ ละภาพ พอตรวจเสร็จ ก็ตรวจถอยกลับ ทีละภาพ ละภาพ ตามลำดับ ภาพจะต้องมาจากดวงวิมุติญาณทัสสนะ เท่านั้น ถ้ามาจากแหล่งอื่น หรือดวงวิมุติถูกปน เพราะมีคนละเอียดกว่า หลอกรู้หลอกญาณใส่ ให้ตรวจ "ความละเอียด" ของภาพ ว่าเท่ากันกับกายธรรมที่เราใช้ตอนตรวจหรือไม่ ความละเอียด เป็นสิ่งที่เลียนแบบกันยาก ในระยะเวลาการตรวจช่วงสั้นๆ ครับ ดังฉะนี้.


บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

นักวิชชาการ / นักวิจัยธรรมเศรษฐศาสตร์

14 กันยายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org  


นานาสาระ: ปกิณกะ เรื่อง ภูทอง ภูเงิน ภูเพชร ภูแก้ว ภูพลอย

“ภูสมบัติ” นั้นเป็นสินทรัพย์ในวิชชาครับ ซึ่งผู้ที่ "เล่น" แล้วสะสมได้ ก็จะมีสมบัติแต่ละประเภทกองๆ ไว้เป็นภูเขา แต่ไม่ใช่สมบัติของเทวดา ภูเขาเหล่านี้ ผู้ทรงวิชชา หรือผู้ทรงคุณท่านสามารถนำมาจับจ่าย ใช้สอย แลกเปลี่ยน ส่งต่อ ค้ำประกัน หรือส่งลงมาให้กายมนุษย์เพื่อแปรสภาพเป็นสมบัติให้ใช้สอยได้ ดังที่เคยกล่าวไว้แล้วในเรื่องเครื่องประดับของกายธรรม (ในกรณีของพระพุทธราช) หรือกายจักรฯ ว่ากว่ากายมนุษย์จะบำเพ็ญบารมี แล้วเครื่องประดับปรากฏเกิดขึ้นสำหรับกายในวิชชานั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย ต่างจากกายทิพย์หรือเทวดา ที่ทำปุ๊บ ก็ขึ้นปั๊บ แต่ในยุคที่มีเจ้าธาตุเจ้าธรรม องค์ธาตุองค์ธรรม และผู้ทรงวิชชาอยู่มาก ในโลกมนุษย์ เรื่องสมบัติในวิชชาก็เป็นเรื่องง่ายขึ้น ฉันใดก็ฉันนั้น ภูสมบัติ ในภพวิชชา ก็มีความยาก ความง่ายในการเกิดขึ้น แบบไม่เสมอไป และโดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่มีภูสมบัติอยู่ในภพวิชชา ก็มักจะเป็น “ผู้ใหญ่” ระดับเจ้าธาตุ เจ้าธรรม องค์ธาตุ องค์ธรรม ที่อยู่กันมานาน เกิดกันมาหลายรอบ เคยเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระจักรพรรดิราช มาหลายหน สั่งสมบุญมาเนิ่นนาน กระทั่งสมบัติในวิชชากองเป็นภูเขา แม้บางท่านจะดูราวกับเป็นกระยาจกอยู่ในเมืองมนุษย์ แต่บางท่านเหล่านี้กลับมีภูสมบัติอยู่มาก ก็เพราะกายเจ้าของธาตุธรรมนั้นต้องการ “เล่น” เหมือนกับมาลงทุนทำงานในเมืองมนุษย์ ยิ่งอยู่อย่างจำกัด แล้วได้ทำบุญ ก็จะได้อานิสงส์มาก เหมือนมหาทุคตะที่ได้ฝนรัตนชาติ แต่ก็ไม่เสมอไป บางท่านมีความพร้อมมาก และได้ทำบุญมาก ก็ยิ่งได้มากเข้าไปอีก เหมือนอย่างมหาอุบาสิกาวิสาขาครับ ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

7 กันยายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ปกิณกะ เรื่องทำบุญด้วยเหรียญกษาปณ์

วิธีดูเหรียญกษาปณ์สำหรับนำไปทำบุญ เพื่อให้ได้อานิสงส์มาก

(1) ดูที่เนื้อโลหะ ว่าเป็นทองคำ หรือเงิน โลหะล้ำค่าจะให้อานิสงส์มากกว่า

(2) ดูที่เปอร์เซ็นต์ทองคำ หรือเปอร์เซ็นต์เงิน ถ้าเป็น 99.99% จะดีมาก

(3) ดูที่ภาพบุคคลสำคัญบนหน้าเหรียญ (ถ้ามี) ถ้าเป็นผู้มีอำนาจและทรงคุณจะดีมาก

(4) ดูที่ดวงตราประกาศิต คือดวงตราสัญลักษณ์บนหน้าเหรียญ (ถ้ามี) ดวงตราที่ขั้นสูงและเป็นใหญ่ มักจะดีกว่า

(5) ดูที่มูลค่าหน้าเหรียญที่หน่วยงานผู้ออกเหรียญกำหนดไว้ เช่นเป็นเหรียญ 50 บาท 100 บาท 500 บาท 1000 บาท มูลค่ามากจะดีกว่า

(6) ดูที่ขนาดและน้ำหนักของเหรียญ เหรียญขนาดใหญ่และหนักกว่า มักจะดีกว่า

(7) ดูที่มูลค่าในวิชชาของเหรียญ ซึ่งภพผู้ส่งวิชชาสร้างเหรียญ ได้กำหนดเป็นอัตราเอาไว้ เป็นตัวแปรที่สามารถนำมาเข้าสูตรวิชชาคำนวณได้เลย เพื่อให้ทราบอานิสงส์ที่แน่ชัด เช่น ทำบุญด้วยเหรียญกษาปณ์ทองคำ 1 เหรียญ ซึ่งภพฯได้กำหนดมูลค่าไว้ที่ 832 ผู้ทรงวิชชาสามารถนำค่านี้มาคำนวณในวิชชาได้ และสรุปออกมาว่า นำเหรียญทองคำ 1 เหรียญมาถวายเป็นสังฆทาน จะส่งอานิสงส์ให้ได้รับ 446 เหรียญทอง ตลอดช่วง “กรรมานิสงส์” เป็นอาทิ

อย่างไรก็ตาม เหรียญกษาปณ์บางเหรียญ เป็นเหรียญโบราณ หรือเป็นเหรียญรุ่นเก่า มูลค่าหน้าเหรียญอาจจะน้อยมาก เช่น 1 บาท แต่โดยน้ำหนักแล้วมีน้ำหนักมาก และเหรียญมีขนาดใหญ่ อย่างเงินพดด้วง อานิสงส์จึงไม่น้อยกว่าเสมอไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา ทั้งนี้เพราะการนำเหรียญกษาปณ์ไปทำบุญ เรามักไม่คำนึงถึงมูลค่าทางการสะสม บางอย่างจัดเป็นวัตถุโบราณ มีราคาสูงตามท้องตลาดนักสะสม แต่มูลค่าในวิชชาไม่มากครับ.

 

บทความสงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

5 กันยายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง “การเข้ากลาง” ในสายธรรมกาย คือ “ฌาน” หรือไม่?

เป็นที่สงสัยกันมานานนะครับ แม้แต่ในหมู่ลูกศิษย์สายธรรมกายด้วยกันเองที่คร่ำหวอดปฏิบัติมานาน ว่าพระธรรมกายคืออะไร ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งผมได้เคยอธิบายไว้พอสังเขปแล้ว ในวันนี้จะขอหยิบยกเรื่อง “การเข้ากลาง” มาอธิบายกัน ในฐานะที่ผมเป็น “นักวิชชาการ” ครับ

การเข้าละเอียด หรือ “ดับหยาบไปหาละเอียด” ในสายวิชชาธรรมกายนั้น ไม่ใช่การเข้าฌานโดยตรง แต่เป็นการดำเนินจิตเข้าสู่หนทางสายกลาง เพื่อ “เจริญมัชเฌนธรรม” แปลง่ายๆได้ว่า “ธรรมารมณ์จากการยังจิตให้ไม่ตึงไม่หย่อน” ซึ่งมีความละเอียดลุ่มลึกตามลำดับ แล้วเรามักได้ยินครูผู้สอนแนะนำอยู่บ่อยๆ ว่า ให้วางใจหยุดนิ่ง อยู่ที่ศูนย์กลางกาย จรดใจเข้าไปในกลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ไปเรื่อยๆ

มัชเฌนธรรมที่เกิดขึ้นระหว่างการทำใจให้หยุดนิ่ง ณ กลางของกลาง ก็เป็นธรรมอันน่าเป็นสุข มีลักษณะคล้าย “วิปัสสนูปกิเลส” ต่างกันแต่เพียงว่า วิปัสสนูปกิเลส คือการที่จิตของผู้ปฏิบัติไปเกาะเกี่ยวอยู่กับประสบการณ์และอารมณ์ที่เกิดขึ้นในสมาธิ กระทั่งกลายเป็นอุปสรรคต่อการเกิด “มรรคสมังคี” แต่มัชเฌนธรรมก็มีลักษณะใกล้เคียงกันอย่างนั้น ตราบเท่าที่จิตของผู้ปฏิบัติยังคงดำเนินเข้ากลางของกลางเรื่อยไป ไม่แวะติดข้องขัดอยู่กับอารมณ์ผลพลอยได้ของมัชเฌนธรรมตลอดข้างทางสายกลาง ซึ่งก็คล้ายๆ อารมณ์ของฌาน ที่มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา

อย่างไรก็ตาม “มัชเฌนธรรม” ที่เจริญขึ้นจากการเข้าละเอียดในสายวิชชาธรรมกาย ก็ยังไม่นับเป็นการเข้าฌาน เพราะในสายวิชชาธรรมกายนั้น มีวิธีการเข้าฌานอีกแบบ นั่นก็คือ เมื่อเข้าถึงกายภายใน หรือพระธรรมกายองค์ใดองค์หนึ่ง ที่มี “แผ่นฌาน” เป็นแผ่นรองประทับนั่งแล้ว ก็ให้พระธรรมกายซึ่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับผู้ปฏิบัติ กำหนดจิตแนบแน่นอยู่ ณ กลางแผ่นฌานที่รองนั่งอยู่ของพระธรรมกายองค์นั้นๆ ถ้ากำหนดโดยรูปของแผ่นฌาน ก็เป็นการ “เจริญรูปฌาน” ของธรรมกาย ถ้ากำหนดความว่างอยู่ ณ กลางแผ่นฌาน ก็เป็นการ “เจริญอรูปฌาน” ของธรรมกาย หลายท่านอาจแปลกใจ ว่าทำไมต้องมีแผ่นฌานเป็นฐานรองนั่งติดมาด้วย ซึ่งในทางเทคนิควิชชา เราอธิบายได้ว่าเป็นเสมือน “อะไหล่” อย่างหนึ่งที่ติดมาพร้อมกับกายธรรมหรือพระธรรมกายนั้น และไม่ใช่นิมิต อุปมาเปรียบเทียบได้กับ กายมนุษย์ที่มีลูกสะบ้าอยู่ที่ข้อเท้า เพื่อช่วยในการทรงตัว และเคลื่อนไหว ฉันใดก็ฉันนั้น พระธรรมกาย ก็มีแผ่นฌาน ที่ดูคล้ายแผ่นซีดีกลมๆ มีความหนาประมาณหนึ่งคืบ รองรับเป็นที่ประทับนั่งอยู่ สำหรับใช้เข้าฌาน

สำหรับที่สงสัยกันอีกไม่น้อยก็คือ “พระธรรมกายอรหัต” ที่บุคคลเข้าถึง หมายความว่าบุคคลนั้นๆ บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้วหรือไม่ รวมถึง พระธรรมกายโคตรภู หยาบ/ละเอียด, พระธรรมกายโสดาบัน หยาบ/ละเอียด, พระธรรมกายสกิทาคามี หยาบ/ละเอียด, พระธรรมกายอนาคามี หยาบ/ละเอียด, พระธรรมกายอรหัต หยาบ/ละเอียด ที่เข้าถึง หมายถึงผู้ปฏิบัติได้เป็นพระอริยบุคคลแล้วหรือไม่?

คำตอบในทาง “ธรรมะเทคนิค” ก็คือ พระธรรมกายเหล่านี้จัดเป็น “กายพระอริยเจ้า” อันเกิดจาก “มรรคสมังคี” ตามแต่ละลำดับขั้น ที่ทำให้มนุษย์ผู้ปฏิบัติเข้าถึงกลายเป็น “โคตรภูพระอริยบุคคล” นับตั้งแต่ โคตรภูพระโสดาบัน, โคตรภูพระสกิทาคามี, โคตรภูพระอนาคามี, และโคตรพระภูอรหัต ตราบเท่าที่มนุษย์ผู้ปฏิบัตินั้นยังไม่ตัดสละกิเลสสังโยชน์ให้กายมนุษย์เป็นการถาวร การอธิบายความนับเริ่มจาก พระธรรมกายโคตรภู หยาบ/ละเอียด คือกาย “อารยเจ้า” แต่ยังไม่ใช่ “อริยเจ้า” เพราะพระธรรมกายโคตรภู ไม่สามารถใช้ละกิเลสสังโยชน์ให้กายมนุษย์ได้ด้วยประการใดๆ ยกเว้นแต่ผู้ปฏิบัติจะมีเทคนิควิธีการพิเศษ ซึ่งบางท่านอาจทำได้ เหมือนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ลบไวรัสคอมพิวเตอร์ บางคนไม่มีโปรแกรมป้องกันไวรัสสำหรับลบ แต่รู้เทคนิควิธีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ลบไวรัสได้ ด้วยคำสั่งปฏิบัติการพื้นฐานธรรมดา

ส่วนพระธรรมกายโสดาบันหยาบ/ละเอียด นั้น ตัวตนของท่านเองเป็นพระอริยเจ้าโดยแท้ โดยที่ขั้น “หยาบ” คือ “มรรค” หมายถึง พระธรรมกายนั้นเป็นกายที่ “ทรงธาตุ” เพื่อการสลัดตัดกิเลสสังโยชน์ได้ ส่วนพระธรรมกาย “ละเอียด” คือ “ผล” หมายถึง พระธรรมกายนั้นเป็นกายที่ “ทรงธรรม” อันเมื่อกิเลสสังโยชน์ได้ถูกละไปแล้ว (มีลักษณะคล้าย อินทรีย์ 5 / พละ 5 หรือ เบญจศีล / เบญจธรรม ที่คล้ายกันและคู่กัน แต่มีนัยยะแยกต่างหากกันโดยปริเฉท)

ดังนี้แล้ว หมายความว่า พระธรรมกายอริยเจ้า นั้นโดยตัวตนของท่านเอง ท่านเป็นพระอริยเจ้า แต่ถ้าผู้ปฏิบัติเข้าถึงไม่อาศัยพระธรรมกายอริยเจ้านั้น ตัดสละกิเลสสังโยชน์ให้กายมนุษย์ กายมนุษย์ก็ยังเป็นปุถุชนอยู่เหมือนเดิม เพราะพระธรรมกายที่เข้าถึง ก็เลื่อนเข้า เลื่อนออก มีเจริญ มีเสื่อม มีเห็น มีเข้าถึง มีเป็น มีไม่เห็น ไม่ถึง ไม่เป็น เมื่อใดที่เข้าถึงพระธรรมกายอริยเจ้า ก็เสวยอารมณ์เป็นสุข กิเลสสังโยชน์เบาบาง หรือไม่มีเลย ราวกับว่าได้เป็นพระอริยเจ้าแล้ว แต่เมื่อ “เสื่อมจากละเอียด” แล้ว “เลื่อนถอยออกจากพระธรรมกายอริยเจ้า” กายมนุษย์ก็พ้นจากอารมณ์เป็นสุขอย่างพระอริยเจ้านั้น แล้วกิเลสสังโยชน์ก็เข้าเกาะกุมใจดังเดิม

ดังนั้น “พระธรรมกายโสดาบัน” ที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำให้กายมนุษย์ได้อย่างยั่งยืนเป็นการถาวรแล้ว จึงทำให้มนุษย์ผู้นั้นเป็น “พระโสดาบันบุคคล” อย่างสมบูรณ์ ด้วยวิชชา ทั้งหยาบและละเอียด คือในวิชชาก็เป็นพระโสดาบัน และหยาบภายนอก ก็เป็นพระโสดาบัน ไม่มีเสื่อมถอย เหมือนตอนเป็นโคตรภูพระโสดาบัน แต่การจะทำเช่นนี้ได้ นอกจากจะกอปร “มรรคสมังคี” โดยพระธรรมกายอริยเจ้าแล้ว ผู้ปฏิบัติก็จำต้องมีบุญบารมีที่ถึงพร้อมด้วย เช่น หากจะสละกิเลสสังโยชน์เบื้องสูงเบื้องต่ำได้ทั้งหมด เพื่อบรรลุเป็นพระอรหัต ก็ต้องบำเพ็ญบารมีมาอย่างน้อย 100,000 กัป แต่โดยทั่วไป ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่สามารถบรรลุเป็นพระโสดาบันกันได้แทบทั้งนั้น ยกเว้นบางท่าน

คำอธิบายทำนองเดียวกันนี้ ใช้ได้กับ พระธรรมกายสกิทาคามี, พระธรรมกายอนาคามี, และพระธรรมกายอรหัต ทั้งหมดนี้คือการอธิบาย “ธรรมะเทคนิค” ในแง่ของ “มรรคผล” ในสายวิชชาธรรมกาย แต่ในการ “เจริญวิชชา” ไม่ว่าจะเป็นวิชชา 3, วิชชา 8, วิชชามรรคผลพิสดาร, วิชชาธรรมกาย และอื่นๆ ล้วนเริ่มต้นจาก “พระธรรมกายโคตรภู” ซึ่งเป็นพระธรรมกายองค์แรกสุดที่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงในเส้นทางสายกลาง เพราะการเจริญวิชชา ต้องอาศัยกายธรรม คือพระธรรมกาย ซึ่งมียนต์กลอะไหล่และฌาน สำหรับใช้ทำวิชชา เช่นการระลึกชาติ การตรวจด้วยตาทิพย์ ฟังด้วยหูทิพย์ อ่านใจ หยั่งรู้วาระจิต ซึ่งพระธรรมกายส่วนใหญ่ทุกองค์สามารถทำได้ ต่างว่ามากน้อยด้วยกำลังบุญบารมี และความละเอียดของธรรมกาย โดยเริ่มต้นที่ธรรมกายโคตรภูบุคคลชั้นแรกสุด ซึ่งยังละสังโยชน์ให้ผู้ปฏิบัติไม่ได้ ส่วนกายอื่นๆ นับตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์, กายพรหม, กายอรูปพรหม ก็พอ “ใช้วิชชา” ได้ แต่ถ้าจะให้ยืนยันชัดเจนว่า “ทำวิชชา” ได้ ก็ยังไม่พึงจัดเข้าประเภททำวิชชา เพราะถ้าจะทำวิชชา ก็ควรจะมีตำรามรรคผลพิสดารเป็นบรรทัดฐาน ซึ่งผู้ปฏิบัติต้องได้ครบทั้ง 18 กาย หรือเข้าถึงพระธรรมกายโคตรภูอารยบุคคลเป็นอย่างน้อย ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

นักวิชชาการ (Vijja Scholar) และธรรมวิศาสตร์ (Dharma Wizard)

27 สิงหาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


Q&A: จะไปนิพพานแล้วทำไมยังต้องขวนขวายทำทาน?

พระอรหันต์ท่าน "หมดกิเลส" เท่าๆ กันครับ แต่ "ทรงคุณ" ต่างกัน หากเราบำเพ็ญทานบารมี มีบารมีสมบัติมาก แม้เมื่อเข้านิพพานไปแล้ว เราก็ยังเป็นที่พึ่งให้กับคนข้างหลังได้ เหมือนพระสีวลี องค์พระอรหันต์ ผู้เข้านิพพานไปแล้ว แต่พุทธศาสนิกชนก็ยังเคารพนับถืออยู่มิรู้ลืม ยังคงหล่อรูปเหมือนไว้กราบไหว้บูชา ด้วยหวังว่าจะอาศัยบารมีสมบัติของท่าน ในการยังลาภให้เกิดขึ้น เพื่อไม่อดอยาก ลำบากกันครับ ซึ่งถ้าเรามีรูปเหมือนของท่านแล้วบรรจุพระธาตุของท่านเอาไว้ และชะลอท่านลงส่วนด้วย ก็จะเป็นการ “ศักดิ์สิทธิ์” ขึ้นมา แล้วบารมีแห่งโภคทรัพย์ของท่านก็จะหล่อเลี้ยงให้อุดมสมบูรณ์ แต่เราอาจจะต้องจ่ายธาตุบุญค่าลงส่วนด้วยนะครับ และ/หรือ จะอนุโมทนาบุญกับทานบารมี และบุญบารมีทุกอย่าง รวมถึงตำแหน่งเอตทัคคะด้านลาภของท่าน เราก็จะได้ส่วนแห่งบุญกันไปอีกครับ และดีที่ท่านมีทั้ง “โลกุตรสมบัติ” และ “โลกียสมบัติ” ท่านใดจะใช้วิธีการนี้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์องค์อื่นๆ ดูบ้างก็ได้นะครับ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

17 สิงหาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org     

 

 

นานาสาระเรื่อง ศีล และความอุดมสมบูรณ์แห่งบุญเขต

ชาวพุทธส่วนใหญ่เข้าใจกันดีว่า พระสงฆ์นั้นคือ เนื้อนาบุญ อันเลิศ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงให้หลักการคำนวณอานิสงส์บุญ ในการทำบุญกับบุคคลต่างๆ ตั้งแต่สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ไม่มีศีล มนุษย์มีศีล กระทั่งถึงพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ และพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สังฆทาน วิหารทาน ธรรมทาน เป็นอาทิ

อย่างไรก็ตาม มีบางท่านเข้าใจผิดว่า บุญเขตจะอุดมสมบูรณ์ได้นั้น ต้องขึ้นอยู่กับ ศีล ของเนื้อนาบุญ กล่าวคือ ทำบุญกับพระภิกษุ ได้บุญมากกว่าสามเณร เพราะพระภิกษุมีศีล 227 ข้อ ในขณะที่สามเณรมีศีลเพียง 10 ข้อ ซึ่งอันที่จริงแล้ว ความอุดมสมบูรณ์ของบุญเขต จะเป็นไปตามหลักการคำนวณสัดส่วนอานิสงส์บุญ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ไว้ คือทบขึ้นขั้นละ 100 เท่าตัว โดยไม่ได้คำนึงถึง สิกขาบท เพียงอย่างเดียวเป็นหลัก มิฉะนั้นแล้ว ก็เท่ากับว่า การทำบุญกับพระภิกษุณี ซึ่งมีศีล 311 ข้อ จะได้บุญมากกว่าทำกับพระภิกษุ

ทั้งนี้ การคำนวณความอุดมสมบูรณ์ของบุญเขต คือพระภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญนั้น จะขึ้นอยู่กับ พรหมจรรย์ 10 ประการ โดยที่ แต่ละท่านจะมีความอุดมสมบูรณ์มาก หาก อยู่จบพรหมจรรย์ คือมีมรรคผลอันอุดม โดยมีพรหมจรรย์ 10 ประการ เป็นส่วนร่วมประกอบ มากน้อย ตามแต่ละท่าน ทั้งนี้ พรหมจรรย์ 10 ประการนั้นได้แก่:

1. ทาน การให้ การบริจาค การเสียสละ

2. เวยยาวัจจะ การขวนขวายในกิจพระพุทธศาสนา

3. เบญจศีล มีศีล 5 เป็นปกติ

4. เมตตาอัปปมัญญา มีเมตตาจิต และพรหมวิหารธรรม

5. เมถุนวิรัติ งดเว้นการเสพเมถุน

6. สทารสันโดษ ความสันโดษ พึงพอใจตามมีตามได้

7. วิริยะ ความพากเพียรในพระธรรมวินัย

8. อุโบสถ มีศีล 8 เป็นปกติ หรือในวันธรรมสวนะ

9. อริยมรรค ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 ตาม ศีล สมาธิ ปัญญา

10. ศาสนา นับถือพระพุทธศาสนา

(Credit: พรหมจรรย์ 10 ประการ - https://Dhamma.Mthai.Com)

ซึ่งถ้าหากพรหมจรรย์ 10 ประการ ครบถ้วนสมบูรณ์มาก ทั้งพระภิกษุ และพระภิกษุณี ก็จะเป็นเนื้อนาบุญอันเลิศ และเมื่อรวมตัวกันเป็นคณะสงฆ์แล้ว บุญเขตก็จะทั้งกว้างใหญ่ และอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งใครทำบุญด้วย ก็จะได้บุญมาก ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

17 สิงหาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง ปกิณกะ อานิสงส์ถวายเหรียญกษาปณ์

ผมได้ยินเสียงแว่วจากน้องๆ ทีมงาน มาเล่าให้ผมฟังว่า การถวายสังฆทานด้วยเหรียญกษาปณ์ (กหาปณะ) โลหะเงินตามคำแนะนำของผมนั้น ได้มีผู้ลองทำตาม ทั้งถวายเหรียญกษาปณ์โลหะทองคำ และโลหะเงิน ซึ่งเมื่อได้ถวายแล้ว จึงมีการตรวจดูอานิสงส์แห่งบุญ โดยไปดูที่วิมานบนสวรรค์ก่อน จึงพบว่า ในวิมานของผมมีเหรียญกษาปณ์ของทิพย์ที่ส่องรัศมี “เสนกฤทธิ์” อยู่ ในขณะที่ของท่านอื่นส่งรัศมี “แพรวพราวระยิบระยับ” ออกมา

ทั้งนี้ เมื่อผู้ตรวจได้นำเหรียญกษาปณ์เงินของทิพย์ ที่มีดวงตราสัญลักษณ์ ณ หน้าเหรียญ (ไม่มีภาพบุคคล) มาอธิษฐานขอสมบัติอันเป็นทิพย์ เหรียญก็จะกลายสภาพเป็นทิพยสมบัติตามใจปรารถนา เช่นขออาภรณ์ทิพย์ และเครื่องประดับกาย ก็จะได้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย แต่ถ้าขอมรรคผล ก็จะรู้สึกสบายอกสบายใจ ถ้าขอเทวรถ ก็จะได้ยานพาหนะ ถ้าขอรัศมี กายทิพย์ก็สว่างขึ้น เป็นอาทิ

ความแตกต่างระหว่าง สมบัติทิพย์ที่เกิดขึ้นจากเหรียญกษาปณ์เงิน และเหรียญกษาปณ์ทองก็คือ เหรียญกษาปณ์ทองจะกลายเป็นทิพยสมบัติที่ล้ำค่ากว่า แต่เหรียญกษาปณ์เงินในวิมานของผม มีลักษณะแปลกกว่าใครอื่นคือ ทิพยสมบัติที่ขอได้ จะดู “เลิศเลอ” กว่าของคนอื่น เมื่อตรวจดูเหตุ ก็พบว่าเป็นเพราะใช้ “ดวงตราประกาศิต” ประกอบการถวาย และยังขึ้นอยู่กับลำดับขั้นของดวงตราประกาศิต (ตราสัญลักษณ์) ที่ปรากฏอยู่บนหน้าเหรียญอีกด้วย ซึ่งถ้าหากมีดวงตราประเภท “พระมงกุฎ” ก็จะดีเด่นเป็นพิเศษ ยิ่งไปกว่านั้น ทิพยอาภรณ์ที่ขอได้ ก็ยังมีดวงตราประกาศิต เหมือนเสื้อผ้าแบรนด์เนม หรือเทียบได้กับเสื้อผ้ามีราคาอย่างโปโล หรือกระเป๋าหลุยส์วิตตอง ที่มีโลโก้ เป็นลวดลาย

อนึ่ง ทิพยสมบัติที่อธิษฐานขอได้จากเหรียญกษาปณ์ทองคำทิพย์ และเหรียญกษาปณ์เงินทิพย์นั้น จะคงอยู่ได้นานระยะหนึ่ง แล้วก็จะหายไป เช่นอธิษฐานขอเทวรถคันใหม่ ก็จะได้ตามที่ขอ แต่ใช้ได้ 6 – 7 วันในเมืองสวรรค์ แล้วเทวรถก็จะอันตรธานไป แต่เมื่อเทียบระหว่างเหรียญทองคำ กับเหรียญเงิน อานิสงส์เหรียญทองคำจะได้มากกว่า ดีกว่า และนานกว่า แต่ไม่เสมอไป แม้สมบัติจะอยู่ได้เพียงระยะหนึ่ง แต่สมบัติทิพย์คือเหรียญกษาปณ์วิเศษเหล่านั้น ก็เป็นประดุจแก้วสารพัดนึก ที่ใช้ในสวรรค์อย่างไม่มีหมด ตลอดอายุทิพย์ของเทวดาผู้เป็นเจ้าของ

ต่อจากนั้น น้องๆ ได้ไปเยี่ยมชม “ขุมสมบัติ” ของแต่ละท่านในคณะ ก็พบว่าคลังสถานที่เก็บสมบัติของผู้ทำบุญด้วยเหรียญกษาปณ์นั้น มีเหรียญทองคำ เหรียญเงิน ใส่หีบอยู่มากมาย ได้มาจากการทำบุญด้วยตนเอง และการเป็นผู้ดำริการณ์ แนะนำให้ผู้อื่นทำตาม จึงได้ส่วนแบ่งมามากมาย รอคอยวันส่งผลกลายเป็นสมบัติในเมืองมนุษย์ให้ได้ใช้สอย ดังฉะนี้.

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

16 สิงหาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org




นานาสาระ: เรื่อง โอชารสของอาหารและเครื่องดื่ม

 

ท่านใดที่ชอบ ทำอาหาร หรือ ขายอาหาร อย่าพลาดบทความนี้ครับ! ผู้ที่ทำอาหารเลี้ยงคนในครอบครัวหรือจำหน่ายนั้น ควรรู้จักเรื่อง “โอชารส” ของอาหาร ซึ่งเป็นส่วนละเอียดอันเป็นทิพย์ของอาหารที่เรารับประทาน คือกลิ่นทิพย์ และรสทิพย์ คล้ายๆ กับกายสิทธิ์ที่อยู่ในดอกไม้ หรือว่าน และสมุนไพร ซึ่งมีผลต่อรสชาติ รวมถึงสูตรอาหารและเครื่องดื่มที่มีครูเจ้าของวิชา คอยเติมวิชาหรือเสกให้ ถ้าอาหารมีโอชารสอันเป็นทิพย์อยู่น้อย เวลารับประทานส่วนหยาบของอาหารจะรู้สึกจืดชืด คล้ายอาหารเซ่นไหว้ผี ที่ผีกินส่วนละเอียดและโอชารสไปแล้ว พอผู้เซ่นไหว้ นำอาหารนั้นมารับประทาน ก็จะรู้สึกว่าไม่ค่อยอร่อย เหมือนตอนปรุงเสร็จใหม่ๆ ส่วนอาหารที่บวงสรวงเทวดา หรือไหว้พระพุทธฯ นั้นส่วนใหญ่ท่านจะไม่เสวยกัน เพียงแต่ใช้นิ้วแตะ รับถวายแค่นั้น อย่างไรก็ตาม เทวดาและผู้ทรงวิชชาสามารถเติมโอชารสให้อาหารได้ ด้วยการปรุงรสทิพย์ในญาณ เหมือนเรื่องของมหาทุคตะปรุงปลาถวายพระพุทธเจ้า แล้วเทวดาลงมาเสริมเติมโอชารสให้ ภัตตาหารจึงมีกลิ่นหอมและรสชาติดีเยี่ยม ดังนี้แล้ว ผู้ที่รับประทานอาหารนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ทรงวิชชา ที่อายตนทิพย์เปิดกว้าง ก็จะสัมผัสรับรสแห่งโอชารสได้มากเป็นพิเศษ ทำให้อาหารนั้นมีอานิสงส์มากขึ้น ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

10 สิงหาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง “ดวงสุริยะกานต์” คืออะไร?

 

“ดวงสุริยะกานต์” คือ “แก้วพระอาทิตย์” มีลักษณะเป็นดวงกลมสว่างไสว เป็นเสมือนหลอดไฟที่ทำให้พระอาทิตย์สว่างรุ่งโรจน์ไปทุกสารทิศ ซึ่งพระอาทิตย์นั้น ในทางกายภาพ หรือส่วนหยาบ มีลักษณะเป็นดวงดาวที่เผาไหม้ไปเรื่อยๆ และส่องแสงมาพร้อมกับความร้อนไปทั่วระบบสุริยะจักรวาล รวมถึงโลกของเรา โดยมีอายุการทำงานจำกัด นับตั้งแต่ก่อเกิดเป็นสุริยะจักรวาลขึ้น กระทั่งถึงระบบสุริยะดับสลาย ในสภาพอันเป็นทิพย์นั้น ดวงอาทิตย์คือ “เทวรถ” ที่ติดตั้งดวงสุริยะกานต์อยู่ แล้วสุริยะเทพบุตรก็ขับเทวรถหมุนเวียนรอบภูเขาสิเนรุ ซึ่งอยู่ ณ ใจกลางจักรวาลไปเรื่อยๆ และแสงอาทิตย์จากดวงสุริยะกานต์นี้เองที่เหล่าทวยเทพเทวดาในสวรรค์ชั้นที่ 1 (จาตุมหาราชิกา) และชั้นที่ 2 (ดาวดึงส์) ท่านได้อาศัยใช้ประโยชน์

เรื่องของส่วนหยาบคือดวงอาทิตย์ที่เผาไหม้ และส่วนละเอียดคือเทวรถพระอาทิตย์ ที่สัมพันธ์กันแบบนี้ ก็คล้ายๆ กับมนุษย์ที่มีกายหยาบเป็นเรือน โดยมีวิญญาณครองอยู่ ซึ่งวิญญาณนั้นไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกับส่วนหยาบเสมอไป บางคนส่วนหยาบหน้าตาขี้เหร่ แต่กายละเอียดหรือวิญญาณเป็นเทวดาสวยงาม ในขณะที่บางคน กายหยาบดูหล่อดูงาม แต่กายละเอียดหรือวิญญาณ เป็นอมนุษย์ หรือปิศาจ นี้คือลักษณะของความเป็นทิพย์ ที่เนื่องๆ กันกับส่วนหยาบ

ดวงแก้วสุริยกานต์ของทิพย์นั้นถูกประชุมขึ้นโดยภพผู้เป็นเจ้าของ ในทำนองเดียวกันกับภพแก้วมณี, ภพรัตนะ 7, และภพกายสิทธิ์อื่นๆ โดยดวงสุริยะกานต์จะมีกำลังส่องสว่างคล้าย “ประดารัศมี” คือแผ่แสงสว่างออกไปเรื่อยๆ ตลอดเวลา แบบไม่มีวิชชาใดๆ แล้วก็ชาร์จตัวเองไปในตัว โดยไม่ต้องเติมพลังงาน คล้ายรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันที่มีแบตเตอรี่ชาร์จตัวเองได้ในขณะวิ่ง แต่ดวงสุริยะกานต์จะมีอายุการใช้งานมากน้อยไม่เท่ากัน แม้จะผลิตมาจากภพเดียวกัน จะว่าไปก็คล้ายหลอดไฟในเมืองมนุษย์ ที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดมาว่าอายุการใช้งานเท่าไร แต่พอเอาเข้าจริงๆ บางหลอดก็ใช้งานได้นาน บางหลอดก็ใช้งานได้ไม่นาน แม้จะยี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกัน กำลังเท่ากัน

ดวงแก้วสุริยะกานต์บางดวงก็สามารถใช้ได้นานถึง “อนันตา” คืออยู่มาตั้งแต่เริ่มมีพระอาทิตย์ในธาตุธรรม แล้วกระทั่งถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่เสีย แต่ก็ไม่เสมอไปทุกดวง ในทำนองเดียวกัน ดวงจันทระกานต์ ของพระจันทร์ และดารารัตน์ ของเหล่าดวงดาว ก็คล้ายกับดวงสุริยะกานต์ เพียงแต่รัศมีที่ก่อกำเนิดจากดวงรัศมีเหล่านี้มีลักษณะแตกต่างกันไป คือนวลเย็นกว่า และหย่อนกว่าโดยความไกลของรัศมี ซึ่งท่านใดสนใจจะซื้อดวงสุริยะกานต์, จันทระกานต์, และดารารัตน์ มาใส่กายเพื่อเพิ่มรัศมี หรือใช้ส่วนตัวในวิมาน หรืออื่นๆ สามารถติดต่อขอซื้อได้จากภพเจ้าของ ซึ่งมีทั้งแบบของใหม่ และของมือสองที่เคยผ่านการใช้แล้ว โดยเสนอขายที่ราคา “ธาตุบุญ” ถึงหลักพันล้าน

หลายท่าน อาจสงสัยว่า ทำไมจึงจะมีการซื้อขาย ดวงสุริยะกานต์, จันทระกานต์ และดารารัตน์ได้ จะเป็นการสมควรหรือ แล้วถ้าหากนำมาใส่กายให้มีรัศมีมาก จะเป็นเรื่องที่ยอมรับได้หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ว่าจะเป็นภพดวงสุริยะกานต์, ภพแก้วมณี, ภพรัตนะ 7, ภพกายสิทธิ์ ท่านทำงานเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่โลกธาตุ แต่ถ้ามีสินน้ำใจตอบแทนให้บ้าง ก็ถือเป็นเรื่องสมควรทางโลกวิชชา โดยเฉพาะกับผู้ทรงวิชชา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีมาก เพราะใครๆ ก็ต้องการ “ธาตุบุญ” เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ เพราะธาตุบุญ เป็นเสมือน “เงินสด” ที่สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนสิ่งต่างๆ กันในโลกวิชชา แม้อาจจะไม่ได้ทุกอย่าง แต่ก็ได้เป็นส่วนใหญ่ ส่วนการนำธาตุบุญไปซื้อดวงสุริยะกานต์ ก็เป็นเสมือนการนำความดีที่เราทำไว้ ไปแปรเปลี่ยนเป็นดวงรัศมีตามใจเราปรารถนา ซึ่งถ้าหากผู้ซื้อเป็นผู้ทรงวิชชา ก็จะสามารถควบคุมความสว่างของรัศมี ให้มากหรือน้อย เป็นไปตามสมควรในแต่ละสมาคมเพื่อเป็นการแสดงความเคารพในสถานที่ได้ ดังฉะนี้.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

10 สิงหาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่องทางลัดวิธีตรัส “รัศมี” ขั้นสูง

ดังที่ได้เคยกล่าวถึงแล้วในบทความก่อนๆ และบทความอื่นๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่า “รัศมี” มีความสำคัญเพียงใดสำหรับทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระขีณาสพ, พระพรหม, เทวดา รวมถึงมนุษย์ อย่างผู้ทรงวิชชา และผู้ทรงคุณ ซึ่งผมขอย้ำซ้ำอีกครั้งว่ารัศมีกายอย่างรัศมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, กายมนุษย์, และกายอันเป็นทิพย์ทั้งหลาย รวมถึงกายพระจักรพรรดิ และพระธรรมกาย เป็นหนึ่งในบรรดาเครื่องบ่งบอก “ภูมิจิตภูมิธรรม” หลายๆ อย่าง ของบุคคลนั้นๆ

ใครก็ตามที่มีรัศมีมาก ที่เห็นได้มาแต่ไกล ก็จะพาให้เป็นที่เคารพนับถือ และเป็นที่เชื่อว่าได้บำเพ็ญบุญบารมีมาดีมากพอ ซึ่งบุคคลที่มีรัศมีกายอันเป็นทิพย์มาก ก็มักจะได้รับสิทธิพิเศษโดยพฤตินัยหลายๆ อย่าง ในสังคมแห่งโลกวิชชา หรือสังคมเทวดา เหมือนอย่างห้างสรรพสินค้า ที่จัดเตรียมบริเวณที่จอดรถ “ซูเปอร์คาร์” ไว้คอยอำนวยความสะดวกเป็นพิเศษ ฉันใดก็ฉันนั้น กายอันเป็นทิพย์ ที่มีรัศมีมาก มักจะได้ที่นั่งในเทวสภาอยู่ด้านหน้า ส่วนที่นั่ง “องค์ปาฐก” นั้นยิ่งแล้วใหญ่ กล่าวคือ ถ้าองค์ปาฐกจะมานั่งหน้าสุดเพื่อแสดงธรรม หรือนำประชุม หรือนั่งเป็นลำดับเกียรติ แล้วรัศมีกายน้อย ก็แทบจะไม่มีโอกาสได้นั่ง เพราะจะ “อายรัศมี” ทนอยู่กันไม่ได้ ต้องย้ายที่นั่งไปโดยปริยาย แบบแทบจะไม่ต้องมีใครไล่ใครเชิญ

อย่างที่ผมเคยรจนาไว้ในบทความก่อนๆ คือ เทวดา หรือกายอันเป็นทิพย์นั้น บางครั้งท่านก็ “ข่ม” กันอยู่ในทีด้วยรัศมี ยิ่งถ้าหากเราต้องพบเจอ หรือเข้าสมาคมที่มี “เทวบุตรมาร” คือเทวดา, กายธรรม หรือกายจักรพรรดิ ที่เป็นมิจฉาทิฐิ คือเป็นพาล หากเรา หรือเทวดาพระอริยบุคคลมีรัศมีน้อยกว่า ก็ต้องยอมหลีกให้ ซึ่งสถานการณ์แบบนี้ต้องยอมรับว่า “ทำใจได้ยาก” ดังนั้น ดีที่สุด จึงควรมีมากเอาไว้ก่อน เมื่อมีแล้วจะอยู่อย่างสงวนท่าที หรือข่มเทวบุตรมารที่ไหน ก็ค่อยว่ากัน

            การทำบุญให้ได้รัศมีมากนั้น ก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วในหมู่ชาวพุทธ ว่าต้องถวายประทีปโคมไฟ จุดไฟส่องสว่างบูชาพระรัตนตรัย แต่ใครๆ ก็คงทราบกันดีว่า หากผมรจนาบทความใดในนานาสาระ ก็จะต้องมีเทคนิควิธีการพิเศษๆ มาแบ่งกัน ซึ่งในโอกาสนี้ผมขอนำเสนอวิธีการพิเศษในการ “ตรัสรัศมี” ขั้นสูง อย่าง “สุริยะประภา” “จันทระประภา” และ “ดารารัศมิ์” ด้วยทางลัดดังนี้ครับ:

(1) ทำบุญให้พระอาทิตย์, พระจันทร์, ดวงดาว ในรอบโคจร เช่นบริจาคค่าไฟฟ้าหรืออื่นๆ ให้กับทางวัดในนามพระอาทิตย์, พระจันทร์, ดวงดาว อย่างสุริยะเทพบุตร, จันทรเทพบุตร ในจักรวาลนี้ และ/หรือ ทุกจักรวาล แล้วขออนุโมทนากับท่านในการโคจรให้แสงสว่าง โดยอาจเขียนลงกระดาษแล้วเผาฝากพระเพลิงนำไปแจ้ง

(2) จ่ายธาตุบุญให้พระอาทิตย์, พระจันทร์, ดวงดาว เพื่อโคจรในนามผู้จ่าย ในฐานะ “สปอนเซอร์” โดยอาจเลือกวันสำคัญ อย่างเช่นวันวิสาขบูชา, วันมาฆบูชา, วันอาสาฬหบูชา วันคล้ายวันเกิดผู้ทรงคุณ และวันพระจันทร์เต็มดวง หรืออื่นๆ

(3) เช่าหรือขอยืม แก้วสุริยกานต์, จันทรกานต์, ดารากานต์ (มีลักษณะเป็นลูกแก้วสว่าง อุปมาเหมือนหลอดไฟ ของพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดวงดาว) ซึ่งท่านมีสำรองอยู่หลายดวง นำมาซ้อนจุดประทีปโคมไฟ เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในพิธีกรรม และการบูชาสักการะต่างๆ

(4) "จุดตะวัน" “จันทรา” และ “ดารา” ด้วยวิชชา เพื่อให้พระอาทิตย์ พระจันทร์ และดวงดาว ส่องแสงสว่างอันเป็นคุณต่อโลกและจักรวาล ยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อผู้ทรงคุณ เทพเทวา พร้อมทั้งมวลมนุษย์ และสัตว์ทั้งหลาย ในแต่ละวัน

(5) อื่นๆ อย่างเช่น เช่า, ขอยืม, ซื้อ แก้วรัศมี แก้วรังสี ที่มีรัศมีสว่าง อย่างเช่นแก้วสุริยกานต์, แก้วจันทรกานต์, และแก้วดารากานต์ นำมาใส่ไว้ในกายอันเป็นทิพย์ หรือกายมนุษย์ เพื่อให้เกิดรัศมี

ด้วยวิธีการทั้งหลายที่ผมได้เสนอแนะมาในบทความนี้ บุคคลจะสามารถตรัสรัศมีขั้นสูงได้โดยเร็ว แต่ท่านทั้งหลายต้องพึงตระหนักว่า เหล่าเทพเทวาท่านคาดหวังว่า ผู้ที่มีรัศมีมากนั้น จะต้องเป็นผู้ทรงคุณที่บำเพ็ญบุญบารมีมาดีแล้ว ถ้าหากบุคคลได้รัศมีมากแล้วประพฤติตนไม่เหมาะสม หรือทำตัว “กร่าง” หรือ “อวดเบ่ง” ไปทั่ว ก็จะกลายเป็น “พาล” ที่เหล่าเทพเทวาต่างพากันอิดหนาระอาใจ ไม่อยากคบหาสมาคมด้วย ดังนั้น รัศมีสว่างๆ รังสีสวยๆ จึงควรคู่กับคุณงามความดีของบุคคลผู้เป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพกายใด ดังฉะนี้.

 

บทความสงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

7 สิงหาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง ขั้นตอนการถวายเหรียญกษาปณ์ทองคำ/เงิน เป็นสังฆทาน


วันนี้ผมได้ไปกราบถวายเหรียญกษาปณ์เงินเป็นสังฆทาน ณ พระวิหาร โรงพยาบาลสงฆ์ กรุงเทพฯ โดยกราบอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุทรงเป็นพระประมุขสงฆ์ ได้ถวายเหรียญโลหะเงิน 1 เหรียญ ได้อานิสงส์ประมาณ 129,673 เหรียญ โดยเคลียร์สิทธิ์และคำนวณปิดวิชชาแล้วครับ ทั้งนี้ผมขอฝากทรัพย์ส่วนละเอียดอ นเป็นทิพย์ไว้ในภพยังไม่เบิกมาใส่กายมนุษย์  อย่างไรก็ตาม ผมขอรจนาขั้นตอนการทำบุญเอาไว้เผื่อจะมีท่านใดนำไปปรับใช้ดังนี้ครับ:

1. หาเหรียญกษาปณ์โลหะทองคำ/โลหะเงิน ที่มีมูลค่าหน้าเหรียญที่กำหนดโดยกระทรวงการคลัง เช่นเหรียญละ 100 บาท (ไม่ใช่ราคาซื้อขายเหรียญ)

2.  เหรียญที่มีภาพของบุคคลสำคัญ จะต้อง เคลียร์สิทธิ์โดยจ่ายบุญธาตุส่วนหนึ่ง แต่มักจะได้บุญมากขึ้นอีกส่วนหนึ่ง เพราะมีดวงตรา ประกาศิตหรือตราสัญลักษณ์

3.  เหรียญที่ไม่มีภาพของบุคคลสำคัญนั้น ไม่ต้องเคลียร์สิทธิ์ ยกตัวอย่างเช่นเหรียญรูป หมีแพนด้าของประเทศจีน เหรียญรูป ใบเมเปิ้ลของประเทศแคนาดา แต่ตราสัญลักษณ์จะติดไปในทิพยสมบัติ

4.  เมื่อซื้อเหรียญมาได้แล้ว ให้นำมาทำความสะอาด โดยแช่ในน้ำยาทำความสะอาดโลหะทองคำ และโลหะเงิน หรือใช้กรรมวิธีปลอดภัยอื่นๆ ที่มีแนะนำอยู่ในโซเชียลมีเดียและโลกออนไลน์ ถ้าต้องการหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำยากัดเนื้อโลหะทองคำและโลหะเงิน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

5.  นำเหรียญโลหะทองคำและโลหะเงินมาให้ นายสุวรรณกรและ/หรือ นายรัชดากรเช็ดด้วยญาณ ให้ส่วนละเอียดเกลี้ยงสะอาด โดยต้องจ่ายธาตุบุญเป็นค่ากำเน็จ หากไม่ทราบว่าจะติดต่อได้อย่างไร ให้ข้ามไปข้อ 6.

6.  นำเหรียญไปแช่ในน้ำพระพุทธมนต์ โดยเลือกแหล่งน้ำมนต์ที่ชำนาญและถูกธาตุถูกธรรม เช่นน้ำมนต์ขององค์ธาตุ องค์ธรรม ฝ่ายทอง นำมาแช่เหรียญโลหะทอง และน้ำมันขององค์ธาตุ องค์ธรรม ฝ่ายเงิน นำมาแช่เหรียญโลหะเงิน แต่ถ้าไม่สะดวก ก็หาแบบเอนกประสงค์แทน โดยในการแช่น้ำมนต์นั้น ให้เทน้ำอบไทยลงไปก่อน แล้วตามด้วยน้ำเปล่า จากนั้นจึงปิดท้ายด้วยน้ำมนต์ เพื่อประหยัดน้ำมนต์ หรือจะใช้น้ำมนต์ล้วนๆ ก็ได้ เป็นระยะเวลาประมาณ 30 นาที โดยจะต้องจ่ายธาตุบุญค่าฤทธิ์น้ำมนต์ด้วย หากไม่มีน้ำอบไทยผสม ให้ข้ามไปข้อ 7

7.  นำดอกไม้หอมอย่างเช่นดอกมะลิสด ดอกจำปี ดอกจำปา ดอกกุหลาบ มาโปรยใส่เหรียญ เพื่อให้กายสิทธิ์เสวยกลิ่นให้อิ่มเอมก่อน เป็นระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง

8.  นำเหรียญมาเช็ดให้แห้ง แล้วบรรจุเหรียญลงในถุงซิปล็อค ถ้าผู้ถวายมีดวงตราประกาศิต ให้ติดดวงตราประกาศิตไว้บนถุงซิปล็อค

9.  นำเหรียญมาอธิษฐานจิตตามความปรารถนา โดยเน้นเรื่องสมบัติ เพื่อให้กรรมานิสงส์ส่งผลแบบถูกธาตุถูกธรรม คือทำบุญเรื่องสมบัติ ก็ขอให้ได้สมบัติ ผลานิสงส์จะส่งเต็มที่กว่า การอธิษฐานนั้น ต้องมีความรอบคอบ โดยอาจขอให้ผู้ทรงวิชชาตรวจคำอธิษฐานให้ และถ้าหากรู้จักผู้ทรงวิชชาท่านใด ที่เป็นองค์ธาตุองค์ธรรมภาคทอง/ภาคเงิน สามารถจับเหรียญแล้วเติมกายสิทธิ์ เติมธาตุ เติมธรรม ให้ได้ ก็จะยิ่งดี เพราะเหรียญจะล้ำค่ามากขึ้นในส่วนละเอียด

ตัวอย่างคำอธิษฐาน (สามารถนำไปปรับใช้ได้): เผดียง! เผดียง! เผดียง! ด้วยผลานิสงส์แห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำในครั้งนี้ ขอจงดลบันดาลให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ที่มั่งคั่งไปด้วยทรัพย์สมบัติอันเป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพานและวิชชาจรณะอันครบถ้วนสมบูรณ์ และประโยชน์สุข ในฝ่ายกุศลาธรรมสัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียวต่อข้าพเจ้า โดยง่าย โดยเร็วพลัน ยิ่งๆ ขึ้นไป และตลอดไปเทอญ นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ ผนวก! ผนวก! ผนวก!

ถ้าอธิษฐานยาวกว่าและขอมากกว่านี้ก็ได้ แต่กำลังบุญอาจจะหมดไปกับคำอธิษฐาน อาจทำให้ได้สมบัติโดยตรงน้อยลง และขอให้อธิษฐานกับเหรียญก่อนเข้าพิธีถวาย โดยอาจอธิษฐานซ้ำๆ 3 ครั้ง เพื่อที่ว่า เมื่อเวลาร่วมพิธีแล้วพระให้พร เราก็จะอธิษฐานเพียงแค่ว่า ขอให้คำอธิษฐานที่ข้าพเจ้าอธิษฐานไว้กับเหรียญนี้ จงสำเร็จสมปรารถนา แม้ครั้งที่ 1, 2, 3 เพราะถ้าอธิษฐานยาวเกินไปตอนรับพรอาจจะอธิษฐานให้จบไม่ทัน

10.  เมื่ออธิษฐานกับเหรียญในถุงซิปล็อคแล้วให้นำเหรียญบรรจุลงในซองสวยงาม ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้ซองกลิ่นหอม เหมือนซองการ์ดเชิญงานแต่งงาน โดยเขียนระบุหน้าซองว่า กราบน้อมถวายเหรียญกษาปณ์โลหะทองคำ/โลหะเงินแท้ เป็นสังฆทาน โดยมีพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นพระประมุขสงฆ์ กราบถวายโดย ชื่อ-สกุล

11.  ประทับตรา หรือติดสติ๊กเกอร์ดวงตราประกาศิตลงบนหน้าซองก่อนใส่เหรียญ และถ้าหากเหรียญมีตลับอคริลิคใสใส่มา ให้ถอดออก เพราะบางวัดใช้วิธีหย่อนซองลงตู้สังฆทาน ถ้าเหรียญบรรจุตลับอคริลิคจะทำให้หยอดตู้ลงไปไม่ได้ เพราะความหนาของซอง

12.  บรรจุทรัพย์ธนบัตรลงไปในซองพร้อมเหรียญ เผื่อว่าจะมีค่าใช้จ่าย หรือค่าดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับเหรียญนั้น เช่น 100 บาท

13.  เตรียมซองเพิ่มเติมอีก 2-3 ซอง โดยประทับดวงตรา หรือติดสติ๊กเกอร์ดวงตราประกาศิต เผื่อไว้เป็นค่ากำเน็จพิธีกรรม เช่นถวายส่วนตัวพระผู้รับสังฆทาน และทิปพิธีกรนำถวายสังฆทาน ตามแต่ละวัดจะจัดไว้ต่างกันไป

14.  นำซองบรรจุเหรียญกษาปณ์ เดินทางไปยังวัด หรือสำนักสงฆ์ แล้วทำพิธีถวายสังฆทาน โดยให้เลือกวัด หรือสำนักสงฆ์ที่มีพระเจดีย์ และสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุอยู่ด้วย หากสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเป็นคนละแห่งกับสถานที่ถวายสังฆทาน ให้ไปยังพระเจดีย์ หรือสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุก่อน แล้วจุดธูปเทียน ถวายพวงมาลัย ดอกไม้ แต่ถ้าหากสถานที่ทางวัดไม่สะดวก เราอาจจัดพิธีถวายสังฆทานเองที่บ้าน โดยประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้บนโต๊ะหมู่บูชา แล้วกราบอาราธนาพระสงฆ์มารับสังฆทานที่บ้าน หรือที่ทำงาน หรือสถานที่จัดงาน แล้วโยงสายสิญจ์จากผอบพระบรมสารีริกธาตุไว้กับจุดรับประเคน โดยกราบเรียนให้ทางวัดทราบว่าเป็นการถวายสังฆทาน ซึ่งของถวายตกเป็นของสงฆ์ คือของส่วนรวมของพระ ขอให้ทางพระสงฆ์ส่งตัวแทนมารับสังฆทาน รวมถึงเหรียญกษาปณ์โลหะทองคำและโลหะเงิน แต่อาจจะมีซองปัจจัยส่วนตัวให้ด้วย

15.  กราบทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังนี้ว่า

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)

สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ )

พุทธัง อาราธนานัง, ธัมมัง อาราธนานัง, สังฆัง อาราธนานัง, ทุติยัมปิ พุทธัง อาราธนานัง, ทุติยัมปิ ธัมมัง อาราธนานัง, ทุติยัมปิ สังฆัง อาราธนานัง, ตะติยัมปิ พุทธัง อาราธนานัง, ตะติยัมปิ ธัมมัง อาราธนานัง, ตะติยัมปิ สังฆัง อาราธนานัง.. ข้าพระพุทธเจ้า ชื่อ-สกุล ขอน้อมกราบอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุ ทรงรับเป็นพระประมุขสงฆ์ ในพิธีถวายสังฆทานที่ข้าพเจ้าจะได้เข้าร่วมพิธีในวันนี้ โดยข้าพเจ้าขอกราบอาราธนาพระขีณาสพของพระองค์ด้วย และกราบขอให้พระองค์ทรงมีพระกรุณารับเป็นประมุขสงฆ์ในพิธี กระทั่งพิธีกรรมแล้วเสร็จ ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบอาราธนาดังนี้ แม้ครั้งที่ 1, 2, 3!” 

ส่วนทว่า ผู้ทรงวิชชาท่านใด จะใช้วิธีในวิชชา หรืออื่นๆ ก็ย่อมได้ ท่านใดจะกราบถวายแบ่งธาตุบุญให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือคณะสงฆ์ หรือเจ้าพิธี หรือใครอื่น ก็ตามแต่ละท่าน แต่ละสำนัก

16.  เมื่อกราบอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จะกราบอาราธนาพระอรหันต์และพระขีณาสพด้วยก็ได้ โดยระบุไว้ในคำกราบทูลว่าขอกราบทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระขีณาสพ

17.  ครั้นกราบทูลอาราธนาแล้ว ให้เดินทางไปยังสถานที่ถวายสังฆทาน ให้กราบพระประธาน กราบพระสงฆ์ แล้วประกอบพิธีตามปกติ โดยอาจอาราธนาศีลก่อน (ถ้ามีขั้นตอนนี้) ตามด้วยกล่าวคำถวายสังฆทาน เสร็จแล้วนำซองเหรียญกษาปณ์หย่อนลงในตู้ปัจจัยสังฆทาน หรือประเคนซองบรรจุเหรียญกษาปณ์ โดยถวายเฉพาะซอง หรือวางบนผ้าไตรจีวร ภาชนะบรรจุเครื่องสังฆทาน พร้อมพวงมาลัยดอกไม้ ดอกบัว และอื่นๆ เมื่อประเคนแล้ว ให้รับพรพระ โดยกรวดน้ำ อุทิศบุญให้ตนเองและผู้อื่น พร้อมกับอนุโมทนาบุญกับตนเองด้วย แล้วอธิษฐานจิตซ้ำอีกครั้งขณะกำลังรับพรพระว่า ขอให้คำอธิษฐานที่ข้าพเจ้าได้อธิษฐานไว้กับวัตถุทาน คือเหรียญกษาปณ์โลหะทองคำ/โลหะเงิน จงสัมฤทธิผล แม้ครั้งที่ 1, 2, และ 3

18.  เมื่อจบพิธีถวายสังฆทานแล้ว ให้กราบพระสงฆ์ แล้วกราบพระประธาน

19.  นำน้ำที่กรวดไว้ไปเทใต้ต้นไม้ พร้อมทั้งกล่าวว่า ขอฝากพระธรณีด้วยเทอญ!การทำเช่นนี้ จะช่วยให้พระธรณีมีกำลังขึ้น แล้วภัยพิบัติเกี่ยวกับแผ่นดินจะน้อยลงหรือหมดไป

20.  เดินทางกลับไปยังพระเจดีย์หรือสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แล้วสวดปิดพิธี โดยกราบทูลขอบพระทัยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงพระกรุณารับเป็นพระประมุขสงฆ์ พร้อมทั้งพระขีณาสพ ในพิธีถวายสังฆทาน จากนั้นจึงสวด อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ) สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)

21.  ขอให้ครูวิชชาช่วยกรุณาตรวจให้ว่า การทำบุญถวายเหรียญกษาปณ์โลหะทองคำ/โลหะเงินในครั้งนี้ ได้อานิสงส์เพียงใด ให้ถ่ายภาพเหรียญ และพิธีถวายสังฆทานไว้ สำหรับสร้าง วิดิโอกรรมนิมิตประกอบดนตรีส่วนตัว เอาไว้ชมเพื่อตรึกระลึกนึกถึงบุญได้ทุกเมื่อ โดยจะอุทิศบุญให้ตนเอง และอนุโมทนาบุญกับตนเองกี่ครั้งก็ได้ พร้อมทั้งไม่ลืมที่จะแชร์ภาพให้หมู่ญาติมวลมิตรได้ชม และอนุโมทนากัน ดูทีไร ก็ชื่นใจทุกครั้ง ดังฉะนี้.

 

หมายเหตุ:

ขั้นตอนและวิธีการนี้ ใช้ได้กับอัญมณีต่างๆ เช่นกัน เนื่องจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามพระรับและจับของมีค่า บางคราวอาจจะสะดวกกว่า ถ้าเราหยอดลงตู้รับบริจาค แต่ก็แล้วแต่ทางวัดจะจัดพิธีรับไว้ด้วยครับ

ส่วนการทำบุญด้วยเหรียญกษาปณ์ เนื้อโลหะต่างๆ ทั้งทองคำ เงิน และอื่นๆ สามารถคำนวณปิดวิชชาสรุปเป็นยอดผลานิสงส์ได้ง่าย เพราะ “ผู้รักษาภพเหรียญ” ท่านกำหนด “มูลค่าธาตุ” ของเหรียญแต่ละเหรียญไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้ทรงวิชชาจึงสามารถนำค่าที่กำหนดนั้นมาเป็นตัวแปรในการคำนวณวิชชา แล้วสรุปยอด “กรรมานิสงส์” ได้ง่ายขึ้นครับ.

 

บทความสงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

6 สิงหาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


Q&A: ทำบุญด้วยเหรียญโลหะธรรมดาได้บุญมากน้อยอย่างไร?

การทำบุญด้วนเหรียญนิกเกิ้ลหรือโลหะธรรมดาก็ได้บุญครับ เพราะบางเหรียญมีดวงตราประกาศิต คือโลโก้ และมีมูลค่าหน้าเหรียญสูง เช่น 20 บาท 50 บาท ซึ่ง “ภพผู้รักษาเหรียญ” ท่านก็กำหนด “มูลค่าธาตุ” ไว้เหมือนกันกับเหรียญโลหะทองคำ และโลหะเงิน แต่บางคนอาจจะคิดว่าเล่นแล้วไม่คุ้มครับ เพราะเมื่อจ่ายค่ากำเน็จในระหว่างขั้นตอนการถวายแล้ว ก็อาจจะเหลืออานิสงส์น้อย ประกอบกับเหรียญบางเหรียญก็มีราคาสูงเพราะมีคุณค่าทางการสะสม ซื้อสามสี่เหรียญก็เท่ากับเหรียญโลหะเงินแล้วครับ

ระหว่างเหรียญโลหะธรรมดา กับเหรียญโลหะทองคำ และโลหะเงินนั้น ทองคำกับเงิน จะมี “สิทธิ์ในวิชชา” กำกับอยู่ ซึ่งภพผู้เป็นเจ้าของท่านดูแลให้ ส่งผลถึง “ราคา” ของเหรียญ เช่น เหรียญ 10 บาท เมื่อเวลาผ่านไปกลายเป็นเหรียญเก่า และมีอัตราเงินเฟ้อ มูลค่าเหรียญอาจอยู่ที่ประมาณ 25 บาท แต่ถ้าเป็นเหรียญทองคำ ที่มูลค่าเหรียญ 3000 บาท เมื่อเวลาผ่านไป แม้จะมีเงินเฟ้อ แต่คุณค่าและราคาทองคำและเงินก็ทำให้เหรียญเป็นที่นิยม ราคาไม่ตก แต่ขึ้นสูงอยู่เรื่อยๆ เช่นเป็น 50,000 บาท ซึ่งสัดส่วนมากกว่าเหรียญโลหะธรรมดาครับ

เรื่องทำบุญด้วยเหรียญเงินเหรียญทองแล้วอานิสงส์เหรียญเงินทองจะเฟ้อนั้นขออย่าได้กังวลครับ เพราะเหรียญมีมูลค่าหน้าเหรียญเป็นหลักประกันชั้นแรก แต่ก็เหมือนโลกปัจจุบันคือทองคำมีราคาสูงขึ้นตามเงินเฟ้อหนีกันไปเรื่อยๆ ครับ ส่วนเหรียญทองก็ไม่เคยด้อยค่า เพราะความต้องการของตลาดมีมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นยุคที่มีประชากรโลกอยู่ 500 ล้านคน มีเหรียญทองอยู่ 10 ล้านเหรียญ ความต้องการ (demand) ก็อยู่ที่ 1 ต่อ 50 และเมื่อเวลาผ่านไป 1000 ปี มีเหรียญทองอยู่ 100 ล้านเหรียญ แต่ประชากรโลกเพิ่มเป็น 5000 ล้านคน ความต้องการ (demand) ก็อยู่ที่ 1 ต่อ 50 อีกทั้งยังมีความต้องการทองคำในรูปแบบต่างๆ เช่นนำไปทำแผงวงจรอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ และนำไปใช้ทำทองคำสำรอง ณ ธนาคารแห่งชาติของประเทศต่างๆ ทำให้ความต้องการ และราคาทองคำไม่ด้อยค่าลง แม้อานิสงส์จะส่งให้บุคคลมีเหรียญทองคำมาก แล้วมาอยู่ร่วมสังคมโลกเดียวกัน

อนึ่ง การทำบุญด้วยเศษเหรียญบ่อยๆ เป็นประจำ ก็จะมีอานิสงส์คือเวลาทำงานได้สมบัติ ก็จะได้เป็นเหรียญ เหมือนเครื่องซักผ้าอัตโนมัติหยอดเหรียญ หรือเครื่องขายน้ำดื่ม และอาหาร แบบตู้หยอดเหรียญ ตู้เติมเงิน ถึงเวลาก็ต้องมานับเหรียญกัน ประมาณนี้ครับ.

 

บทความสงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

7 สิงหาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง ผลิต “กรรมนิมิต” ด้วยตนเอง

จากคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้เราทราบว่า บุญที่เกิดจากการทำกรรมดีนั้นเกิดขึ้น 3 วาระ ด้วยกัน คือ (1) ก่อนทำบุญ (2) ขณะทำบุญ และ (3) หลังจากทำบุญ กล่าวคือ ก่อนทำบุญเราก็เริ่มจากความคิดว่าจะทำ แล้วก็พูดหรือชักชวนใครไปทำบุญ แล้วก็ลงมือจัดเตรียมความพร้อม เช่นแต่งตัว ล้างรถ เบิกเงิน ซึ่งบุญก่อนทำบุญจะได้ประมาณ 15 – 30% ส่วนขณะทำบุญมักจะได้บุญแรงที่สุด คือขณะเวลาที่บุญกำลังจะสำเร็จ เช่นเดินทางถึงวัด ยกถุงข้าวสารเข้าไปในศาลา แล้วประเคนถวายพระเป็นสังฆทาน ได้บุญอีกประมาณ 100% สำหรับบุญหลังจากทำบุญ ก็คือประโยชน์ที่เกิดขึ้นหลังจากได้ทำบุญแล้ว เช่นถวายข้าวสารในวันที่ 5 แล้วทางวัดก็นำข้าวสารมาหุงเลี้ยงพระ เป็นระยะเวลา 21 วัน นับจากถวาย บุญก็เกิดขึ้นตลอดเวลาระหว่างที่ข้าวสารได้กลายเป็นภัตตาหารเลี้ยงพระ หากได้สร้างอาคารสถานที่ บุญก็จะเกิดขึ้นตลอดเวลาในช่วงอายุการใช้งานอาคารสถานที่นั้น นอกจากนี้ บุญที่เกิดขึ้นหลังทำ ยังรวมถึงบุญจากการตรึกระลึกนึกถึงอย่างพึงพอใจ สุขใจ หรือชื่นใจกับบุญที่ได้ทำไป ได้บุญเพิ่มอีกประมาณ 5 – 30%

ภาพแห่งบุญทั้ง 3 วาระ นี้ ล้วนถูกเก็บบันทึกไว้ภายในใจเรา ในรูปของ “นิมิต” และเมื่อบุคคลจะละสังขาร “กรรมนิมิต” ก็จะเกิดขึ้นเหมือนฉายวิดิโอส่วนตัว คือภาพของเหตุการณ์หรือสิ่งที่เนื่องด้วยกรรมดีกรรมชั่วที่เราได้ทำไว้ ทั้งก่อนลงมือทำ ระหว่างลงมือทำ และหลังลงมือทำแล้ว เช่น หากเราขนข้าวสารไปถวายวัด กรรมนิมิตของเราอาจจะเป็นภาพต้นข้าว, ถุงข้าวสาร หรือโถใส่ข้าวสวย สำหรับพระฉัน ซึ่งถ้าหากกรรมนิมิตฝ่ายบุญมีน้อย ในขณะที่กรรมนิมิตฝ่ายบาปมีมาก อย่างเช่นภาพเบ็ดตกปลา หรือสร้อยทองของมีค่าที่เคยขโมยเขามา จิตใจของบุคคลที่กำลังจะละสังขาร ก็จะหดหู่มัวหมอง แต่ถ้ากรรมนิมิตฝ่ายบุญมีมาก ก็จะชื่นใจ เบิกบานใจ ถ้าหากมีทั้งสองอย่าง ก็จะสลับผสมๆ กันไป แล้วกรรมนิมิตก็จะมีผลต่อ “คตินิมิต” คือภาพเนื่องด้วยที่หมายปลายทางหลังวิญญาณถอดออกจากร่าง ว่าจะไปเสวยสุขในสวรรค์และสุคติภูมิ หรือเสวยทุกข์ในนรกและทุคติภูมิ ดังนั้นแล้ว ความดีความชั่ว ทั้งก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ พร้อมทั้งกรรมนิมิต และคตินิมิต จึงทำงานสัมพันธ์กัน

อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีของโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งคนส่วนใหญ่มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนกันแทบทุกคน เราสามารถเพิ่มบุญจากการ “สร้างกรรมนิมิต” ด้วยตนเองได้ โดยการ ถ่ายภาพ สิ่งของทำบุญ อย่างดอกไม้ ซองทำบุญ ของถวาย ต้นกฐิน ต้นผ้าป่า ผ้าไตรจีวร โบสถ์ ศาลา เจดีย์ ที่เราสมทบเงินสร้าง งานบุญพิธี รวมถึงภาพตนเองขณะทำบุญไว้ ด้วยโทรศัพท์สมาร์ทโฟน แล้วใช้สัญญาณบลูทูธส่งภาพขึ้นจอโทรทัศน์ หรือแท็บเล็ท เพื่อชมภาพบุญกุศลของตนเอง ในรูปแบบของสไลด์โชว์ (slide show) ประกอบดนตรี เพื่อสร้างความบันเทิงบุญ อาจหาญร่าเริงบันเทิงใจ อยู่ได้เสมอๆ โดยเมื่อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนนั้นหน่วยความจำเต็ม เราก็เพียงแต่เปลี่ยนเมโมรี่การ์ด (memory card) ใหม่ แล้วเก็บรักษาของเดิมไว้ สำหรับใช้เปิดชม ในยามที่จิตใจซึมเศร้า หดหู่ ท้อแท้ และเบื่อหน่าย เป็นทุกข์ การชมภาพบุญเหล่านี้ จะทำให้เราชื่นใจ อาจหาญ ร่าเริง และมีกำลังใจ สามารถทำให้บุญเกิดขึ้นเพิ่มเติมฟรีๆ ประมาณ 5 –  30% อีกกี่ครั้งก็ได้ และเมื่อบุญเกิดขึ้น เราก็สามารถอุทิศบุญให้กับตนเอง และ/หรือ ผู้อื่น และอนุโมทนาบุญกับตนเอง อีกกี่ครั้งก็ได้ โดยไม่มีจำกัด เพื่อให้ได้บุญเพิ่มเติมฟรีๆ อีก 5 – 20% ขึ้นอยู่กับ “กำลังของขณะจิต” ที่เกิดขึ้น พร้อมกับสร้างความคุ้นเคยในการเห็น “กรรมนิมิต” ฝ่ายบุญอยู่เนืองๆ บ่อยๆ ซึ่งการทำเช่นนี้จะมีผลต่อ กรรมนิมิต และ คตินิมิต ตอนจะละสังขาร จริง เพราะใจคุ้นเคยอยู่กับบุญมากกว่า ส่งผลให้มีแนวโน้มว่าจะได้ไปสุคติภูมิโลกสวรรค์มากกว่า ดังฉะนี้.


บทความสงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

4 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง สังฆทาน V.S. ปาฏิปุคคลิกทาน

“สังฆทาน” ก็คือการถวายทานแด่หมู่สงฆ์ ซึ่งมีสมาชิกอย่างน้อย 4 รูป หรือมากกว่า ส่วน “ปาฏิปุคคลิกทาน” คือการทำทานกับพระภิกษุ หรือพระภิกษุณี เป็นรายบุคคล รูปเดียวหรือมากกว่า ซึ่งทั้งสองแบบได้ “เนื้อบุญ” (ธาตุบุญ) และ “น้ำบุญ” (ธารบุญ) มากน้อยต่างกันไป

“เนื้อบุญ” คือ “ธาตุบุญ” ขึ้นอยู่กับ “พละ 5 ของผู้ให้” ในเชิงสัมพันธ์กันกับ “ธรรมของผู้รับ” กล่าวคือ หากผู้ให้ใช้พละ 5 (ปัญญา, ศรัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ) มาก ในการทำบุญกับผู้รับที่มีธรรม (ศีล, สมาธิ, ปัญญา) มาก ในขณะที่ปัจจัยร่วมอื่นๆ (เจตนาในการทำทาน และคุณภาพ / ปริมาณของวัตถุทาน) เท่ากัน ผู้ให้จะได้ธาตุบุญมากกว่าปกติ ทั้งในสังฆทาน และปาฏิปุคคลิกทาน หากใช้พละ 5 มาก แต่โดยทั่วไปแล้ว ปาฏิปุคคลิกทาน และสังฆทาน ที่มีปัจจัยร่วมทั้งหลายเท่ากันนั้น ปาฏิปุคคลิกทานจะได้เนื้อบุญหรือธาตุบุญ หย่อนกว่าสังฆทานอยู่บ้าง เหตุเพราะการทำบุญกับคณะพระสงฆ์ที่มีหลายรูป จะต้องขวนขวายมากขึ้น ในขณะที่การทำสังฆทานนั้นได้ “น้ำบุญ” คือ “ธารบุญ” มากกว่าปาฏิปุคคลิกทานหลายเท่าตัว เมื่อปัจจัยร่วมอื่นๆ ทั้งหมดเท่ากัน เหตุเพราะในส่วนของผู้รับคือ “ทักขิณาเขต” คือ “ความกว้างของเนื้อนาบุญ” มีมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก “ธรรมของผู้รับ” มีมากและ “ธรรมของผู้ให้” ก็มีมากด้วย ว่าโดย ศีล, สมาธิ, ปัญญา, มรรค, และผล

ในแง่ของผลานิสงส์นั้น ทานที่ถวายแบบเจาะจงจะได้ลาภเกิดขึ้นเฉพาะตน มาจากบุคคลเช่นลูกค้าหรือนายจ้างที่มีอำนาจตัดสินใจด้วยตนเองตามลำพัง ในขณะที่สังฆทานจะได้ลาภจากมติของคณะบุคคลเช่นกรรมการบริหาร หรือผู้แทนคณะกรรมการ แต่ลาภที่ได้จะมี “สิทธิ์ใช้สอย” มากกว่า เช่นได้เงินดอลลาร์สหรัฐที่สามารถใช้ได้ในหลายประเทศ หรือเช็คธนาคารที่สั่งจ่ายได้ในวงกว้าง และมีหลายธนาคารทั่วโลกเปิดรับ

เงินดอลลาร์สหรัฐนั้นเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง เพราะประชาชนจ่ายภาษีมาก แล้วรัฐบาลสหรัฐใช้จ่ายเงินภาษีในการเอื้อเฟื้อพระสงฆ์ทุกนิกายที่อยู่ในประเทศ ส่วนคนจ่ายภาษีก็ได้ “กรรมานิสงส์” ไปกับการใช้จ่ายของข้าราชการทั้งหมด แต่ผลกรรมจะหนักจะเบาขึ้นอยู่กับว่าอนุโมทนาพลอยยินดียินร้ายด้วยมากน้อยเพียงใด เหมือนกรณีทำแท้งถูกหรือผิดกฎหมายของสหรัฐ หรือการชุมนุมประท้วงต่อต้านการทำสงคราม นอกจากนี้ การนิมนต์พระสงฆ์มาฉันที่บ้าน และใส่บาตรพระบิณฑบาต อานิสงส์ส่งให้ผู้ทำบุญได้ลาภ แต่ต้องเดินทางจึงจะได้ ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็มักจะต้องเดินทางอยู่บ้าง เพื่อออกไปทำงาน และการนิมนต์พระมาสวดทำบุญบ้านแล้วถวายทาน ใช่ว่าเราต้องพูดพร่ำมากจึงจะได้ลาภ แต่เราจะได้ลาภมากกว่าเพราะได้ “กล่าวธรรมภาษิต”

กรรมนั้นส่งตามเหตุปัจจัย ถ้าบุคคลไม่รู้กรรมก็จะเป็นเสมือนคนหลงทาง เหมือนเรื่องในพระไตรปิฎกที่ชายคนหนึ่งไม่ค่อยทำบุญ แต่ได้เคยให้ท่อนอ้อยแก่เด็กไปรับประทานด้วยวิธีการเขวี้ยงไปข้างหลัง อย่างรำคาญใจ เมื่อชายผู้นี้ละโลกแล้วก็ไปเกิดเป็นเปรตอยู่ในไร่อ้อย เป็นอยู่อย่างอดอยาก มีอ้อยอยู่ในไร่มากมาย แต่หยิบกินไม่ได้ ต่อมาพระอรหันต์ผ่านมา เปรตจึงเข้าไปกราบเรียนถามว่า กรรรมอะไรจึงต้องเป็นเช่นนี้ พระอรหันต์จึงแนะนำให้หยิบท่อนอ้อยโดยใช้มือคว้าเอาจากข้างหลัง จึงสามารถหยิบมากินได้ และพ้นจากความทุกข์ทรมานหิวโหย

ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าบุคคลล่วงรู้กรรมดีกรรมชั่วของตน ก็จะสามารถหาวิธีทำการงานต่างๆ เพื่อให้บุญส่งผลมากขึ้น และบาปส่งผลได้โดยยาก ยกตัวอย่างเช่น หากบุคคลทราบว่าตนเคยถวายทองคำสร้างพระเจดีย์ หรือพระพุทธรูป หากทำธุรกิจเกี่ยวกับทองคำ เช่นเปิดร้านทอง หรือเปิดโรงเรียนสอนทำเครื่องทอง ก็จะมีโอกาสก้าวหน้าในการงานได้ดีกว่า ในขณะที่หากทราบว่าตนเคยทำบาปอะไร ยกตัวอย่างเช่น ค้าขายอาวุธสงคราม ก็ควรหลีกเลี่ยงอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอาวุธที่ใช้ในการประหัตประหารกัน อย่างทหาร หรือตำรวจ เพราะจะมีสิทธิ์เสียชีวิตด้วยอาวุธได้ง่ายกว่า ดังฉะนี้.

 

สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

1 สิงหาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: วิธีเล่นประกาศิตให้ได้ธาตุมาก

 

“ประกาศิต” เป็นศัพท์เทคนิคทางวิชชา หมายถึง “โลโก้” หรือ “ตราสัญลักษณ์” ของหยาบ ที่มีขั้นตำแหน่ง ตามที่เหล่าเทพผู้ดูแลระบบประกาศิตท่านจะกำหนด ส่วนประกาศิตของทิพย์ จะเป็นคล้ายๆ เหรียญพลังงาน ที่เทพเทวาท่านปรุงขึ้นแล้วหย่อนใส่ไว้ในตัวมนุษย์ เวลาออกงานพิธีทำความดี ซึ่งใครที่มีสะสมมาก ก็มักจะมีเกียรติมากกว่าคนทั่วไป ด้วยฤทธิ์ของประกาศิตทิพย์นั้น ซึ่งจะว่าไปก็คล้ายๆ กับ “กายสิทธิ์” ที่สะสมอยู่ในตัวมนุษย์ ต่างเพียงที่ว่า ประกาศิตไม่ได้อยู่ในรูปของกาย

สำหรับดวงตราประกาศิตของหยาบ ปกติแล้วการเล่นประกาศิตจะได้ "บุญทิพย์" หรือ “น้ำบุญ” มากกว่าปกติ ซึ่งเหมาะกับภพภูมิเทวดา เพราะเป็นบุญที่เบาและเทวดาสามารถนำไปใช้ได้เลย แม้ไม่มีวิชชา แต่ผู้ทรงวิชชาทั้งหลายท่านก็อาจจะไม่นิยมเล่นกัน เพราะต้องคอย “ตรัสคาถา” เวลาเล่น และส่วนหนึ่งก็คือ “ธาตุบุญ” คือ “เนื้อบุญ” ที่ได้จากการเล่นประกาศิตนั้นไม่มาก โดยทั่วไปจะได้ประมาณ  0.5 ถึง 2 ใน 10 ส่วน ของบุญทั้งหมด

ผมจึงขอเสนอแนะวิธีเล่นประกาศิต ให้ได้ธาตุบุญมาก ก็คือ การอดออมทรัพย์เพื่อ "ประมูลประกาศิต" มาใช้ ยกตัวอย่างเช่น การทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์ แล้วอดออมประหยัด ไม่ใช้จ่ายไปกับปัจจัย 4 เพื่อให้ได้ทรัพย์มากพอจะ "ประมูลประกาศิต" โดยจ่ายเงินให้เจ้าของประกาศิต เพื่อขออนุญาตนำดวงตราประกาศิตขั้นสูงมาใช้ในงานพิธี แต่ถ้าดวงตราประกาศิต เป็นของตนเอง ก็จ่ายตนเอง แล้วนำทรัพย์นั้นไปทำบุญเพิ่มอีกที เหมือนมหาอุบาสิกาวิสาขา ที่จ่ายทรัพย์ซื้อชุดมหาลดาปสาธน์ของตนเอง แล้วนำทรัพย์นั้นไปทำบุญ หรือทำบุญ "ประกอบการเล่นประกาศิต" เช่นทำบุญด้วยทรัพย์ที่ทำงานหามาได้ด้วยความยากลำบากและอดออมอยู่นาน เพื่อประกอบการสำแดงประกาศิต ไม่ว่าจะเป็นของตนเอง หรือผู้อื่น เป็นค่าเล่น ดังนี้แล้ว ประกาศิตก็จะมีอานิสงส์เป็นธาตุบุญ มากขึ้น โดยจะได้มากขึ้นประมาณ 4 ถึง 6 ใน 10 ส่วน ของบุญทั้งหมด

การปรารภเหตุแห่งดวงตราประกาศิต เพื่อทำบุญเพิ่มแบบนี้ มีอานิสงส์คือ เวลาจะได้ทรัพย์ จะได้แบบ “โดดเด่น มีเกียรติ และเป็นที่นิยม” ตาม “คุณลักษณะ” ของดวงตราประกาศิต อีกทั้งจะได้มาก และได้เพิ่ม พร้อมกับเกียรติและความนิยมนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านที่จำหน่ายสินค้าแบรนด์เนม หากผลิตสินค้ามีแบรนด์เนมเป็นของตนเอง กิจการจะรุ่งเรือง และทำเงินได้มากกว่าการผลิตแบบไม่มีแบรนด์จำหน่าย หรือประเภท OEM ยกตัวอย่างเช่น บุคคลก่อตั้งธุรกิจผลิตเสื้อผ้า ซึ่งปกติแล้วผลิตแบบไม่มีแบรนด์จำหน่าย ก็พอมีกำไร แต่เมื่อกิจการมาถึงยุครุ่นลูกหลาน ที่มีบุญจากการทำบุญด้วยดวงตราประกาศิต ก็สามารถผลิตสินค้าแบรนด์ตนเองอย่าง เสื้อโปโล ตราหงส์คู่ แล้วขายได้กำไรมากกว่า คือทำกำไรได้มากกว่ากิจการธุรกิจในยุคก่อนที่ผลิตแบบไม่มีแบรนด์ คือเป็นสินค้า OEM  นั่นเอง ดังฉะนี้.

 

สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง “สังฆทาน” ในทรรศนะแห่งวิชชา

“สังฆทาน” คืออะไร? เมื่อพูดถึงสังฆทาน บางท่านนึกถึงถังพลาสติกสีเหลืองๆ ที่บรรจุของจิปาถะจัดเรียงให้ดูแน่นๆ ปิดด้วยฟิลม์พลาสติกใส เหมือนอย่างกระเช้าของขวัญ โดยมีพระพุทธรูปเรซิ่น และผ้าสบง อยู่ข้างบน ส่วนใหญ่จะมีกล่องกระดาษ หรือเศษกระดาษบรรจุอยู่ในถัง แล้วเรียงสิ่งของไว้ด้านบนให้ดูพูน ดูแน่นน่าซื้อ ทั้งนี้ สังฆทาน เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก ว่ามีราคาแพง ในขณะที่ของที่ใส่มาไม่มีคุณภาพ หรือหมดอายุ บทความนี้จึงขอนำพาทุกท่านมารู้จักกับ “สังฆทาน” ในทรรศนะแห่งวิชชา ว่าทำบุญอย่างไรจึงจะเป็นสังฆทานที่ได้บุญ และอานิสงส์มาก

เจตนา

สังฆทาน จะเป็นสังฆทานที่บริบูรณ์ และเอื้อให้เกิดบุญกุศลมาก ถ้าหากองค์ประกอบของสังฆทานครบถ้วน รวมไปถึงเจตนาในการถวาย ถ้าหากบุคคลตั้งใจจะถวายสังฆทาน ต้องพึงตระหนักว่า วัตถุทานของถวายนั้น ควรตกเป็นของส่วนรวม และพระภิกษุที่เราจะประเคนถวาย ก็ไม่เลือกเฉพาะเจาะจง ว่าต้องเป็นพระที่เป็นประธานสงฆ์ พระที่อายุมาก หรือพระที่ดูเคร่งขรึม แต่ถวายแบบรวมๆ ไป องค์ไหนสะดวก ก็ประเคนองค์นั้น หากท่านมารับสังฆทานในนามสงฆ์ แล้วเจตนาของเราก็ทำไปเพื่อคณะสงฆ์ส่วนรวม โดยอาจระบุไว้บนหน้าซอง หรือเอ่ยวาจากราบเรียนพระภิกษุผู้รับทานได้ทราบว่า ของถวายเป็นสังฆทาน ไม่เฉพาะเจาะจงให้ภิกษุรูปใด ยกเว้นในกรณีที่เป็นเจ้าประกาศิต ซึ่งมีธรรมเนียมอยู่ว่า ต้องถวายวัตถุทานกับประธานสงฆ์ พิธีจึงจะสมบูรณ์และมีผลมากโดยประกาศิต แต่ถ้าเจ้าประกาศิตเป็นเพียงผู้ร่วมงาน ก็ขอให้พิจารณาตามสมควร  

ผู้ถวายทาน

ในการถวายสังฆทาน โดยมีตัวแทนคณะสงฆ์มารับของถวาย จำนวน 1 รูป หรือมากกว่า ผู้ถวายสังฆทาน จะเป็นพระภิกษุ หรือฆราวาสก็ย่อมได้ แต่หากผู้ถวายสังฆทานเป็นพระอริยบุคคล อานิสงส์แห่งบุญที่จะได้ก็จะมากยิ่งขึ้น รวมถึงการที่ “สงฆ์” ถวายแด่ “สงฆ์” กล่าวคือ พระภิกษุสงฆ์คณะหนึ่ง ถวายสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์อีกคณะหนึ่ง โดยอาจจะถวายโดยตัวแทนสงฆ์กับตัวแทนสงฆ์ด้วยกัน ก็จะมีอานิสงส์มาก และยิ่งถ้าหากสมาชิกของคณะสงฆ์เป็นพระอริยบุคคลด้วยกัน ผลบุญก็จะไพศาล เหมือนเรื่องในสมัยพุทธกาล ที่พระอรหันต์สร้างกุฏิเพิงใบไม้ถวายกันและกัน เพื่ออุทิศบุญให้วิญญาณญาติจากอดีตชาติ มีอานิสงส์เป็นวิมานอันใหญ่โตสวยงาม  ส่วนพระภิกษุ ที่จะถวายทานวัตถุแด่ “สงฆ์” ในองค์คณะของตน หรือที่อื่น ก็ย่อมได้เช่นกัน เหมือนเรื่องราวในพระไตรปิฎก ที่มีพระภิกษุรูปหนึ่งชอบ “สละลาภ” ที่ตนได้มาจากการบิณฑบาต และอื่นๆ ให้ตกเป็น “ของสงฆ์” ด้วยอานิสงส์นี้ ทำให้ได้เกิดเป็นเจ้าชายในชาติถัดมา

อนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่า “วิหารทาน” มีผลมากกว่า “สังฆทาน” โดย “ธรรมทาน” มีผลมากกว่า “วิหารทาน” ดังนี้แล้ว หากผู้ถวายสังฆทาน ถวายเป็นทรัพย์ จะระบุบนซองว่าขอถวายสังฆทาน เพื่อสร้างอาคารสถานที่ ถาวรวัตถุ อย่างโบสถ์ ศาลา วิหาร กุฏิ หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการแปลและตีพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับภาษาต่างๆ อย่างภาษาอังกฤษ, จีน, สเปน, ฝรั่งเศส อานิสงส์แห่งสังฆทานก็จะทับทวีมหาศาล เพียงแต่อานิสงส์แตกต่างกันคือ ถวายเงินสด ก็จะได้เป็นทรัพย์ สร้างถาวรวัตถุ ก็จะได้สมบัติเป็นอสังหาริมทรัพย์ ส่วนธรรมทาน ก็จะได้ปัญญา กล่าวคือได้บุญมากน้อย ไม่เท่ากัน และผลานิสงส์ก็ต่างกัน

ผู้รับทาน

สังฆทานนั้น เป็นการทำทานกับหมู่สงฆ์ โดยตามพระธรรมวินัยแล้ว พระพุทธเจ้าทรงกำหนดว่าต้องมีพระภิกษุอยู่ในคณะจำนวน 4 รูป หรือมากกว่า ซึ่งบางวัดจะมอบหมายให้พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมานั่งรับสังฆทานจากญาติโยม เป็นการได้รับมอบฉันทะโดยพระสงฆ์ในคณะที่ท่านสังกัดอยู่ และเมื่อญาติโยมทำบุญกับพระรูปเดียวนั้น ก็เท่ากับว่าได้ทำทานกับพระภิกษุในคณะทั้งหมดทุกรูปในคราวเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมานั่งครบทุกรูปเพื่อรับสังฆทาน ยกเว้นในบางพิธีอย่างเช่นทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานศพ หรือพิธีถวายภัตตาหาร ซึ่งพระจะมานั่งตามอันดับ เพื่อรับของถวาย ในกรณีนี้ ก็จะดีกว่าพระที่มารูปเดียว แต่มีเงื่อนไขว่า ของถวายต้องตกเป็นของสงฆ์ คือของกลาง มิใช่ของถวายเข้าส่วนตัว แต่ก็มียกเว้นว่า สงฆ์มีมติให้รับของถวายเป็นของส่วนตัวได้ แต่โดยความสมบูรณ์แห่ง “องค์ประกอบสังฆทาน” แล้ว ก็ถือว่ายังไม่บริบูรณ์เต็มที่ แต่ถ้าญาติโยมเกิดคิดมาก กังวลอีกว่า ถวายส่วนรวมแล้ว ก็เกรงใจพระสงฆ์ที่ไม่ได้อะไรเป็นของตนเอง ก็ขอให้จัดไว้ 2 ชุด คือชุดแรกถวายเป็นของส่วนรวมคือคณะสงฆ์ 1 ซอง และชุดที่สองคือประเคนเป็นของส่วนตัวของพระภิกษุแต่ละรูป

อนึ่ง การถวายสังฆทานกับพระอริยบุคคลนั้นมีอานิสงส์มากกว่าการถวายสังฆทานกับสมมติสงฆ์ ยกตัวอย่างเช่น พระภิกษุ 4 รูป ซึ่งผู้รับถวายเป็นสมมติสงฆ์ คือปุถุชน ที่ยังไม่บรรลุมรรคผล กับพระภิกษุ 4 รูป ผู้รับถวายเป็นพระอริยบุคคล ขั้นต่างๆ จะได้อานิสงส์แห่งบุญมากกว่า ในกรณีที่เหตุปัจจัยร่วมต่างๆ ในการถวายสังฆทานนั้นเสมอเหมือนกัน นอกจากนี้ วัดที่มีจำนวนพระภิกษุไม่ครบ 4 รูป อาจ “เผดียงสงฆ์” โดยอาจเป็นคณะสงฆ์ทั้งหมดประจำตำบล อำเภอ หรือจังหวัด แล้วขอ “มติสงฆ์” ให้มอบหมายภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง หรือมากกว่าในวัดแต่ละแห่ง เป็น “ตัวแทนสงฆ์ในการรับสังฆทานแล้วแบ่งลาภแด่สงฆ์” ดังนี้แล้ว แต่ละวัดก็จะสามารถรับสังฆทานได้ และมีสิทธิ์ในการจัดสรรของถวาย ซึ่งการทำเช่นนี้ก็เท่ากับว่า “ทักขิณาเขต” หรือเนื้อนาบุญ กว้างออกไป กล่าวคือ ทำกับพระรูปเดียว เท่ากับทำกับพระทั้งตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ โลก หรือ โลกธาตุ

การมอบหมายตัวแทนสงฆ์ นี้เป็นประโยชน์ทั้งในระดับประเทศ ระดับโลก และยิ่งๆ ขึ้นไป ซึ่งข้าพเจ้าเคยเสนอไว้ว่า เราสามารถตั้ง “กองทุนมหาสังฆทานโลก” และ “กองทุนมหาสังฆทานแห่งชาติ” (เขต, ตำบล, อำเภอ, จังหวัด, ภูมิภาค) โดยประสานงานกับเครือข่ายองค์กรสงฆ์ต่างๆ ทั่วโลก เพื่อขอมติในการจัดงานบุญพิธี และแต่งตั้งผู้ดูแล เป็นบุคคลหรือองค์คณะ เพื่อรับบริจาคทรัพย์เป็นสังฆทาน โดยทรัพย์และของบริจาค ตกเป็น “ของสงฆ์” ในเขตหนึ่งๆ ทั้งประเทศ และทั้งโลก หรือโลกธาตุ ยกตัวอย่างเช่น ทำบุญ 100 บาท กับกองทุนมหาสังฆทานแห่งชาติ ซึ่งมหาเถรสมาคม เป็นผู้ดูแล และทำบุญ 1000 บาท กับกองทุนมหาสังฆทานโลก ซึ่งองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก เป็นผู้ดูแล ก็เท่ากับได้ทำบุญกับพระภิกษุทั่วประเทศไทยจำนวน 100 บาท ในคราวเดียว หรือทำบุญกับพระสงฆ์ทั่วโลกทุกนิกายจำนวน 1000 บาท ในคราวเดียว แต่การจะทำเช่นนี้ได้ ต้อง “เผดียงสงฆ์” ขึ้นให้ได้ก่อน เพื่อขอ “มติสงฆ์” และขอ “ตัวแทนสงฆ์” เป็นผู้ดูแล และผู้รับ และผู้จัดแบ่งสรร บริหารจัดการ สินทรัพย์สังฆทานนั้น ดังนี้แล้ว ทักขิณาเขต คือเขตแห่งเนื้อนาบุญก็จะกว้างใหญ่ไพศาล ยิ่งกราบอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเป็นองค์แทนในการรับถวาย ก็เท่ากับว่า ได้ถวายมหาสังฆทานโดยมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระประมุข

วัตถุทาน

แท้จริงแล้วสังฆทานก็คือทานที่ทำกับคณะสงฆ์โดยรวม โดย “ทานวัตถุ” ที่นำมาถวาย จะเป็นปัจจัย 4 หรือทรัพย์สินสิ่งของต่างๆ อันสมควรต่อ “สมณบริโภค” เช่นผ้าเช็ดตัว, อาหารสด/แห้ง, สบู่แชมพูยาสีฟัน, เครื่องคอมพิวเตอร์, ไฟฉาย, หลอดไฟ, ผ้าไตรจีวร หรือแม้แต่กระทั่ง รถยนต์ เครื่องบิน และอื่นๆ  ซึ่งในบรรดา “อามิสทาน” ของควรถวายได้ทั้งปวงนั้น ไม่มีอะไรประเสริฐไปกว่า “รัตนะ 7” อันมี “จักรแก้ว” เป็นประธาน

สำหรับสังฆทานแบบถังพลาสติกที่บรรจุของจิปาถะนั้น บางครั้งก็เป็นภาระสำหรับพระสงฆ์ เมื่อพบว่าของที่บรรจุอยู่ข้างในนั้น อาจถึงขั้นเรียกได้ว่า ไม่ต่างอะไรกับ “ขยะ” ซึ่งพระสงฆ์ต้องเสียเวลาคัดแยก นำไปทิ้ง และแบ่งสรรนำไปบริจาคต่อ เป็นการสิ้นเปลืองทรัพย์ของผู้ถวายอย่างน่าเสียดาย แม้จะทำด้วยความศรัทธาและสบายใจ แต่ผลกรรมก็อาจจะไม่ค่อยดีนัก ส่วนพระพุทธรูปเรซิ่นที่นำมาถวาย ก็สร้างความลำบากใจให้กับพระสงฆ์ เพราะจะทิ้งก็ไม่ได้ จะนำออกมาตั้งให้ญาติโยมกราบไหว้บูชาก็ไม่สมควร เพราะด้อยคุณภาพ ติดกากเพชรเต็มไปหมด แลดูไม่สงบจิตสงบใจ ไม่น่าเลื่อมใส และไม่ได้ผ่านการปลุกเสก จะส่งต่อให้วัดอื่น ใครอื่น ก็ไม่เหมาะสม จึงต้องเก็บรักษาไว้อย่างนั้น ส่วนผ้าสบงที่ใส่มาด้วย ก็ใช้นุ่งห่มไม่ได้ เพราะเนื้อผ้าแย่ จึงทำได้เพียงใช้เป็นผ้าเช็ดทำความสะอาด

ดังนั้น ในแง่ของวัตถุทาน ผู้ถวายจึงไม่ควรสร้างภาระให้กับพระสงฆ์ เพราะถวายของด้อยคุณภาพ แต่อาจจะจัดสังฆทานเอง โดยการซื้อภาชนะ แล้วบรรจุของใช้ที่หาซื้อจากร้านสะดวกซื้อต่างๆ และแยกประเภทให้ดี เช่นผงซักฟอก ไม่ควรรวมกับน้ำดื่ม หรืออาหารแห้ง อย่างใบชา แต่ถ้าเห็นว่าไม่สะดวกสบาย จะบูชา “สังฆทานเวียน” ที่จัดไว้ให้ตามวัด ก็จะเป็นการสะดวกที่สุด โดยเลือกชุดสังฆทานที่ถูกใจ แม้บางท่านอาจจะคิดว่ายังไม่สมกับศรัทธาที่มี ข้าพเจ้าจึงขอเสนอว่า ถ้าประสงค์จะทำด้วยศรัทธาที่มาก ก็ขอให้จัดชุดสังฆทานเองจะดีกว่า จะได้บุญเต็มๆ ทุกขณะจิต นับตั้งแต่ดำริริเริ่มและขวนขวายซื้อหามาจัด กระทั่งประเคนถวาย แล้วตรึกระลึกนึกถึงกุศลนั้น แต่ถ้าต้องการความสะดวก สังฆทานเวียน จัดว่าเหมาะสม เพราะได้อานิสงส์เป็นทรัพย์และเนื่องด้วยวัตถุสิ่งของในเวลาเดียวกัน หากผู้ถวายไม่คิดกังวลมากไป ว่าจะได้บุญน้อย แต่ถ้าบางท่านจะถวายทรัพย์อย่างเดียวก็ได้ เพราะทรัพย์ก็เป็นประดุจแก้วสารพัดนึก ที่ทางพระสงฆ์จะนำไปแปรเปลี่ยนเป็นสิ่งใดก็ได้อยู่แล้ว

บทสรุป

สังฆทานนั้นเป็นบุญที่ทำได้ง่าย และไม่จำเป็นต้องมีพิธีรีตองอะไรมาก โดยจะทำตามลำพัง หรือเป็นหมู่คณะก็ได้ ในขณะที่อานิสงส์แห่งบุญก็ไม่น้อย และการทำสังฆทานก็ไม่ “ติดค้างสิทธิ์” เหมือนอย่างทอดกฐินสามัคคี และทอดผ้าป่าสามัคคี ที่ต้องมีประธาน มีกรรมการ  แต่อานิสงส์ก็จะกอปรเป็น “บริษัทบริวาร” ที่ผูกพันธะกัน ในการเสวยผลบุญ การทำบุญสังฆทานก็สามารถสร้างบริวารสมบัติได้ หากทำเป็นหมู่คณะ และเป็นบุญที่ทำได้เรื่อยๆ ทุกวัน ๆ อานิสงส์ก็จะทำให้ทรัพย์เกิดขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเดี๋ยวนี้มีผู้ทรงวิชชา สามารถคำนวณได้ว่า ทำบุญสังฆทาน 100 บาท จะส่งเป็นอานิสงส์ตอบกลับมาจำนวนเท่าไร เมื่อคิดเป็นเงินปัจจุบัน และจะได้มรรคผลนิพพานเมื่อไรในอนาคต แน่นอนว่า การทำบุญที่ถูกต้องนั้น เราไม่ได้ทำเพื่อสั่งสมกิเลส แต่ทำเพื่อตัดกิเลส ไม่ว่าจะในวันนี้ หรือวันข้างหน้า เมื่อบารมีครบถ้วน 1 แสนกัป เป็นอย่างน้อย แต่ระหว่างทางก่อนจะได้มรรคผลเป็นพระอรหันต์ เราก็จำเป็นต้องสั่งสมบุญกุศล ที่จะเอื้อเฟื้อก่อให้เกิดสมบัติ สำหรับเลี้ยงตนเอง และผู้อื่น ไม่ให้ขาดแคลน และสามารถทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้ยิ่งๆ ขึ้นไป กระทั่งถึงภพชาติสุดท้าย ก็ได้เป็นพระอรหันต์ที่มีลาภมาก เหมือนพระสีวลี หรือพระอรหันต์จากตระกูลผู้ดี อย่างพระยสะกุลบุตร ผู้ร่ำรวยทั้งโลกียทรัพย์ และโลกุตรทรัพย์ ต่างจากพระอรหันต์บางรูปที่ต้องเป็นอยู่อย่างอดอยาก แม้จะหมดกิเลสเหมือนๆกัน นั่นเอง ดังฉะนี้.

สงวนลิขสิทธิ์ โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

27 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง วิธีทำบุญปลูกวิมานแก้ว

“วิมาน” นั้นคืออาคารที่พักอาศัยของกายทิพย์กายละเอียดในสวรรค์, พรหมโลก, และแม้กระทั่งเมืองนิพพาน ประเภทที่มีปราสาทราชวัง เทวดาที่มีวิมานโอฬารงดงามกว่าเทวดาทั่วไป จะมีตำแหน่งเจ้าประกาศิตในสวรรค์ เรียกว่า “เจ้าพิมาน” ซึ่งเป็นที่นับถือของเทวดาทั้งหลาย ด้วยบุญกรรมที่ทำมาดี ให้ได้ทิพยสมบัติเป็นวิมานใหญ่โตสวยงาม

วิมาน หรือ พิมาน ของเทวดานั้น แบ่งเป็น 3 ระดับหลักๆ ตามบุญที่ทำมา คือ (1) วิมานแก้ว (2) วิมานทอง (3) วิมานเงิน (4) วิมานโลหะและวัสดุอื่นๆ เช่นศิลา โดยแต่ละวัสดุของวิมานก็มีลักษณะแตกต่างกันไปอีก เพราะทำบุญกรรมมาไม่เหมือนกัน โดยวิมานที่วัสดุมี “กายสิทธิ์” มาก จะให้สุขมากกว่า ซึ่งกายทิพย์ กายละเอียด สามารถสัมผัสรับรู้ได้

สำหรับวิมานแก้วนั้น นับถือกันว่าเป็นวิมานที่เลิศกว่าเหล่าอื่น แต่ไม่เสมอไป บางทีวิมานแก้วลายทอง หรือวิมานทองประดับแก้วและอัญมณี ก็สวยกว่า แต่โดยภาพรวมแล้ว วิมานแก้ว ถือเป็น “วิมานเกรด A” ซึ่งเนื้อแก้วก็มีหลายแบบ อย่างไรก็ตาม หากบุคคลคิดจะ “ทำบุญปลูกวิมานแก้ว” ก็สามารถทำบุญในรูปแบบดังต่อไปนี้:

(1) ทำด้วยวิชชา

(2) บริจาคอวัยวะและโลหิต

(3) บำเพ็ญบารมีด้วยความเสียสละชีวิตและความเป็นอยู่

(4) นำรัตนชาติ และ/หรือ หินมีค่ามาแกะสลักเป็นเรือนบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ, พระธาตุ, และวัตถุมงคลอย่างพระพุทธจักรฯ หรือสร้างห้องวิชชาให้ส่วนละเอียดในวัตถุมงคลเดินวิชชา

(5) นำรัตนชาติมาหลอม สร้างเรือนบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ, พระธาตุ, และวัตถุมงคลอย่างพระพุทธจักรฯ หรือสร้างห้องวิชชา

(6) ทำบุญด้วยเครื่องแก้วคริสตัล / นำแก้วคริสตัลทั้งแบบธรรมชาติและเลี้ยง มาหลอมสร้างเรือนบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ, พระธาตุ, และวัตถุมงคลอย่างพระพุทธจักรฯ หรือสร้างห้องวิชชา

(7) ถือศีลและทานอาหารเจ หรือมังสวิรัติตลอดชีวิต ฯลฯ

วิมานแก้วนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นวิมานของเทวดาในระดับพระอริยบุคคลชั้นสูง และพระโพธิสัตว์ผู้ใหญ่ที่บารมีมากๆ ซึ่งอันที่จริงแล้วชาวพุทธเราก็ไม่ควรยึดติดอยู่กับทิพยสมบัติ แต่แม้กระนั้น ผู้บำเพ็ญบารมีทั้งหลายก็ควรคำนึงถึงความสุขที่แท้จริงอันยั่งยืน นั่นก็คือพระนิพพาน และนิพพานสมบัติ ซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางของชาวพุทธทั้งหลาย เพียงแต่ระหว่างทางก่อนจะถึงที่หมาย เราก็ควรมีความพร้อมในด้านต่างๆ มากพอ เพื่อรักษาเกียรติภูมิ มิให้เทวดามิจฉาทิฐิเหล่าใดเข้ามาข่ม แต่เพื่อให้ได้อยู่สมกับความดีที่ทำ ว่าทำดีแล้วได้ฐานะอันประเสริฐกว่าผู้ประมาททั้งหลาย ดังฉะนี้.

 

สงวนลิขสิทธิ์โดยพิรจักร ทิศุธิวงศ์

26 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง เพิ่มธาตุในการอนุโมทนากับตนเอง


ผมได้ลองอุทิศบุญตนเอง และอนุโมทนาบุญกับตนเองแล้วครับ ได้บุญเพิ่มอีกมาก แต่ปกติแล้ว บุญจากการอนุโมทนาที่มีผู้อุทิศให้นั้น "ธาตุบุญ" อาจจะไม่มากเท่าบุญที่ทำเอง ผมจึงคิดหาวิธี "เพิ่มธาตุบุญจากการอนุโมทนา" ยกตัวอย่างเช่นเราทำบุญไว้มากที่วัด H ถ้าจะอุทิศและอนุโมทนาบุญกับตนเอง ก็ให้เดินทางไปที่วัด H อย่างเช่นเดินเท้าไป หรือปั่นจักรยานไป แล้วก็ไปเอ่ยอ้างอธิษฐานจิตขออุทิศบุญและอนุโมทนาบุญกับตนเองบนธรณีสงฆ์ของวัด H ดังนี้แล้ว จะได้ธาตุมากจากการอุทิศและอนุโมทนาบุญ

ส่วนอีกวิธีที่สะดวกขึ้นอีกก็คือ นำทรัพย์ที่อดออม หามาได้จากน้ำพักน้ำแรง จากการทำงาน มาทำบุญเป็นค่า "อุทิศ/อนุโมทนาบุญ" ณ วัด H แบบเอ่ยอ้างแล้วหยอดตู้ อย่างเช่นทำงานได้เงินวันละ 500 บาท ก็อดออมค่าอาหารมาทำบุญ 500 บาท ดังนี้แล้วจะได้ธาตุมากจากการอุทิศและอนุโมทนากับตนเอง อนึ่ง การอุทิศและอนุโมทนาบุญกับตนเองแบบนี้ สามารถทำได้บ่อยๆ เรื่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก ทุกเมื่อ โดยเฉพาะเวลาที่เรารู้สึกปีติยินดีในกองบุญการกุศลที่ได้ทำไว้ ชื่นใจเมื่อไร ก็อุทิศให้ และอนุโมทนากับตนเองได้เสมอ โดยอาจทำด้วยวิธีเพิ่มธาตุตามที่แนะนำไว้ก็ได้ครับ

ตัวอย่างคำอุทิศ/อนุโมทนาบุญ กับตนเอง:

“นะโมฯ (3 จบ) ข้าพเจ้า นาย V ขอเอ่ยอ้างตรึกระลึกนึกถึงบุญกุศลคุณงามความดีทั้งปวง ทุกสิ่ง ทุกประการ เป็นบุญกริยาวัตถุทั้งหมด ที่ได้ทำ ณ วัด H แห่งนี้ ในปัจจุบันชาติของข้าพเจ้า และขออุทิศบุญนั้นแด่ตัวของข้าพเจ้าเอง คือ นาย V นามสกุล Z ดังนี้ แม้ครั้งที่ 1, 2, 3 พร้อมกันนี้ ข้าพเจ้า นาย V นามสกุล Z ขออนุโมทนาสาธุการ กับการอุทิศบุญให้ตนเองดังกล่าวนั้น.. สาธุ อนุโมทามิ แม้ครั้งที่ 1, สาธุ อนุโมทามิ แม้ครั้งที่ 2, สาธุ อนุโมทามิ แม้ครั้งที่ 3, ด้วยผลานิสงส์แห่งบุญทั้งปวงที่ได้ ขอจงดลบันดาลให้เกิดเป็นประโยชน์สุข มรรคผล นิพพาน วิชชา จรณะ อันครบถ้วนสมบูรณ์ ในฝ่ายกุศลาธรรมา สัมมาทิฐิ แต่เพียงส่วนเดียว สำหรับข้าพเจ้า โดยง่าย โดยเร็วพลัน อย่างยั่งยืนยิ่งๆขึ้นไป ตลอดไปเทอญ นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ!

 

สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง มาทอดผ้ากฐินถวายพระพุทธเจ้ากัน

วิธีทอดกฐินถวายพระพุทธเจ้าก็คือ ให้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุลงในพระพุทธรูปขนาดใหญ่หน่อยก่อน จากนั้นจึงอาศัยวิชชากราบทูลอาราธนาองค์สมเด็จพระพุทธโคดมผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดาในพุทธันดรปัจจุบันลงซ้อนสถิต แล้วประดิษฐานพระพุทธรูปไว้หัวแถวอาสน์สงฆ์ หรือเป็นองค์พระประธาน ณ เบื้องหลังอาสน์สงฆ์ ก่อนเริ่มพิธีให้กราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ทรงเป็นประมุขของสงฆ์ในการรับผ้ากฐิน เมื่อรับกฐินแล้ว ให้สงฆ์มีมติน้อมกราบถวายผ้าไตรจีวรแด่พระพุทธเจ้า แล้วนำไปห่มพระพุทธรูปนั้น เหมือนการห่มผ้าไตรจีวรแด่องค์พระพุทธเมตตาที่เมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย

ส่วนพระสงฆ์จะทอดกฐินเองก็ต้องระวังกฐินเดาะ คือผิดกติกา สามารถทอดได้กับวัดอื่นที่ท่านไม่ได้จำพรรษาอยู่ พระพุทธเจ้าก็มิได้ทรงห้ามพระทอดกฐินผ้าป่า แต่โดยวัฒนธรรมแล้วพระก็ไม่ควรแย่งบุญญาติโยม ถ้าจะทำ น่าจะทำในนามคณะโดยมีพระขึ้นชื่อเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ เวลาทอดน่าจะให้โยมประเคนแล้วโยงสายสิญจน์มาให้พระภิกษุผู้เป็นเจ้าภาพ แต่ถ้าพระสงฆ์คุ้นเคยกัน จะจัดพิธีถวายผ้ากฐินเป็นการภายในก็ได้ โดยอาจจะตกลงว่าสลับกัน คือวัด B รับกฐินจากพระวัด C แล้วพระวัด C รับกฐินจากพระวัด B เพราะโดยเนื้อแท้แล้ว การถวายผ้ากฐิน ก็คือการถวายผ้าเพียงเท่านั้น ส่วนทรัพย์และอื่นๆ จัดเป็นบริวารกฐิน

การทำบุญแล้วกุศลกรรมส่งผลให้ได้เป็นเจ้าของกิจการ แต่บางครั้งต้องประสบภาวะขาดทุนในธุรกิจมีได้หลายสาเหตุ เช่นทำบุญจ่ายเช็คหรือตั๋วเงินแล้วเช็คเด้ง, วัดจัดงานแล้วขาดทุน คือลงแรงจัดงานกับค่าใช้จ่ายไม่คุ้มยอดบริจาค และเกิดจากความผันผวนเพราะบุญบาปที่มาตัดรอน โดยมีกำลังของฝ่ายพระกับมารทั้งระดับ มหภาคและจุลภาค ที่ประชันฤทธิ์กันอยู่ สลับกันให้ผล

“หุ้นบุริมสิทธิ์” เป็นสิทธิ์ในกองการบุญกุศลของผู้ร่วมทำบุญด้วยทรัพย์ ส่วน “หุ้นลม” เกิดจากบางคนใส่ชื่อในบัญชีรายนามเจ้าภาพมาแล้วหรือปวารณาว่าจะทำแล้วแต่ไม่จ่ายเงิน หรือจ่ายน้อยกว่าอัตรากำหนด แต่มีแต่ชื่ออยู่ในใบฎีกากฐิน ยกตัวอย่างเช่น ทางวัดหรือคณะเจ้าภาพกำหนดว่าต้องทำคนละ 1000 บาท จึงจะได้ใส่ชื่อ แต่พอเอาเข้าจริงๆ ก็หยอดไปเพียงสิบยี่สิบบาท หรือไม่ทำเลย ก็จะได้หุ้นลม ซึ่งมีเงินปันผลมากหรือน้อย หรือไม่มีเลย ในระหว่างที่ตนถือหุ้นอยู่ ซึ่งบุญกรรมของแต่ละบุคคลก็จะฉุดจะดึงจะดัน กำไร หรือขาดทุนของกิจการอยู่ในตัว ถ้าได้คนที่ไม่เคยทำบุญร่วมกองการกุศลนั้นๆ มา ถือหุ้น อาจมีผลทำให้กำไรของบริษัทน้อยลง แต่ก็ไม่เสมอไป ขึ้นอยู่กับการเล่นสิทธิ์

เรื่องระยะเวลาหรืออายุของธุรกิจนั้น อันที่จริงแล้วบุญก็ส่งผลไปเรื่อยๆ ซ้ำๆ ซ้อนๆ คละๆ กันไปไม่เป็นที่แน่นอนตายตัวเสมอไป เพราะพระกับมารแข่งกันส่งวิชชา แต่ตามโปรแกรมกฎแห่งกรรมแล้วมันจะขึ้นอยู่กับกองกุศลที่ทำ เช่นทำครั้งเดียวได้ไปห้าร้อยชาติ เงื่อนเวลามันทับทวีไปตามกรรม และจะทยอยส่งผล หรือแย่งกันส่งผล ขึ้นอยู่กับแรงอธิษฐาน ความแรงของบุญ ประเภทของกรรม เช่นทำเป็นประจำ และลำดับก่อนหลัง รวมถึงวิชชาของพระที่เป็นเนื้อนาบุญ และวิชชาของเจ้าภาพเอง แต่โดยลักษณะแห่งกรรมแล้ว ถ้ากองการกุศลเป็นอะไร มันก็จะส่งเป็นสิ่งนั้น เช่นทอดกฐินสามปีต่อเนื่องกันเพื่อสร้างอุโบสถให้เสร็จ มาทอดทีไรก็สมทบสร้างอุโบสถ เวลากรรมส่งผลมันก็นานขึ้น คือจะได้ทำธุรกิจก่อสร้างคอนโด หรือบ้านจัดสรร อยู่ระยะใหญ่ๆ ส่วนประเภทธุรกิจที่เปลี่ยนไปมา ซื้อๆขายๆ ก็คือเปลี่ยนกองการกุศลเรื่อยไป ปีนี้ทอดกฐินสร้างกุฏิวัดนี้ ปีต่อไปทอดกฐินซื้อที่ดินวัดโน้น ปีต่อมาทอดกฐินสร้างโรงเรียน รายได้และธรรมชาติของธุรกิจก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทำนองนี้ครับ

การที่สำนักคลองสามทำบุญมาก สร้างโน่นสร้างนี่ บุญมันก็พอได้ แต่มันไม่ใช่ธรณีสงฆ์ครับ ลักษณะนี้เป็น Case Study ที่ดี คือองค์กรของผู้รับบริจาค ไม่ใช่วัด หรือสำนักสงฆ์ แต่รับในนามมูลนิธิ หรือสมาคม ซึ่งเจ้าภาพก็ไม่ทราบรายละเอียดในการใช้จ่าย เผลอๆ ชื่อเจ้าของทรัพย์สินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ระดมทุนบริจาคมากลับตกเป็นของฆราวาสซะอีก แต่เวลาบอกบุญก็บอกในนามวัด และกิจกรรมบุญ ก็เป็นกิจกรรมในนามวัด อย่างทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ทำสังฆทาน โดยพฤตินัยแล้ว จะดูกันที่ใบเสร็จรับเงิน หรืออนุโมทนาบัตรครับ

ในการเป็นหุ้นส่วนกองการกุศล ถ้าผู้ถือหุ้นรายใหญ่เทขายหุ้นแล้วกระทบรายย่อยก็เป็นสิทธิ์ของเขาครับ เพราะเขาถือหุ้นบุริมสิทธิ์ซึ่งมี “สิทธิ์” จากการทำกองการกุศลนั้น ในฐานะประธาน เป็นกรรมการ เป็นผู้บริจาครายใหญ่ ในเกมกรรมสิทธิ์ก็มักจะเป็นอย่างนี้แหละครับคืออิงกัน โยงกันไปมา ต่อกันและกันครับ ถ้าคุณตกลงที่จะทำบุญแบบคณะก็ต้องยอมรับสภาพ มิฉะนั้นก็ไปถวายสังฆทานหรือใส่บาตรด้วยตนเองตามลำพัง ไม่ติดสิทธิ์ใครครับ

วิธีที่จะเล่นหุ้นให้กำไร ก็ต้องรู้จักการ “เล่นสิทธิ์” เวลาทำบุญครับ คือเราต้องรู้จักผูกเงื่อน แก้เงื่อน แลกเปลี่ยน คืน แปรสภาพ หรือแม้แต่ยุบ และยกเลิก ถ้าทำบุญแล้วคืนสิทธิ์ทั้งหมดไม่เหลือติดค้าง เวลาได้หุ้นมาก็จะขายได้เงินก้อนใหญ่ แล้วก็พ้นวาระบุญกรรมส่งผลนั้นไป แต่ถ้ายินดีถือสิทธิ์ไว้ ก็เก็บกินเงินปันผล แต่ถ้าชอบซื้อมาขายไป เปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ ก็คืนสิทธิ์ไป ขอสิทธิ์มา เปลี่ยนสิทธิ์กันไปมา ยกตัวอย่างเช่น เห็นใครทำบุญเสร็จแล้วก็อยากได้บุญด้วย ก็ใส่ซองสมทบกับผู้นั้นไป อันนี้ก็ได้สิทธิ์มา ถ้าเปลี่ยนสิทธิ์ไป ก็ยกตัวอย่างเช่นประธานท่านบอกบุญกรรมการกฐินสร้างศาลามา 1000 ก็บริจาคไป 1000 แต่ระบุว่าทำบุญทุกบุญกับทางวัด หรือมีคนฝากเงินเราไปทำบุญกฐินสร้างถนน 500 เราก็สมทบไปอีก 500 แล้วถือวิสาสะนำไปแบ่งทำกฐินตกค้าง 10 วัด วัดละ 100 หรือเวลามีประธานกฐินมาบอกบุญเราก็ทำไป 200 เสร็จแล้วเราก็บอกบุญกลับคืน เพราะเราก็เป็นประธานกฐินเหมือนกัน ก็ได้มา 150 แลกกัน โดยนัยนี้ สิทธิ์มันก็เปลี่ยนไป แปรไป  ซึ่งในลักษณะนี้จะเป็นพวกบริษัทโฮลดิ้งส์ ถ้าประสงค์จะทำบุญกับคณะกฐินผ้าป่า ก็ต้องเลือกประธานที่มีจริยธรรม แล้วมีแนวโน้มว่าจะทำได้มาก จัดพิธีแล้ววัดไม่ขาดทุน หรือเครดิตดี เช็คไม่เด้ง ดูไปถึงประธานร่วม ประธานกองว่ามีกำลัง และต้องระวังคนที่คิดไม่ซื่อ ทั้งในวิชชา และนอกวิชชาครับ

บทความนี้เป็นบทความสงวนลิขสิทธิ์ ท่านใดที่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ กรุณาจ่ายค่าลิขสิทธิ์ด้วยการ (1) โหวตให้ผู้แต่งได้เลื่อนขั้นในวิชชา เป็นองค์ "อัษษะวฑี" (2) แบ่งธาตุบุญที่ได้จากการใช้ประโยชน์ (3) บริจาคเข้าองค์กรการกุศลที่ข้าพเจ้าสนับสนุนอยู่ โดยอาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่าครับ. 

สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่องกรรมทอดกฐิน กับการบินไทย

บุญทอดกฐิน ที่วัดต่างๆ นิยมทำกัน คือมีประธานใหญ่ทอดกฐิน, ประธานร่วม, ประธานรอง, และมีประธานกอง อานิสงส์คือ จะมีบริษัทแม่ ที่ประธานใหญ่เป็นผู้ก่อตั้งและ/หรือบริหาร ส่วนประธานร่วมจะเป็นบริษัทภาคี ถ้ายกตัวอย่างเป็นบริษัทการบินไทย ถ้าประธานกฐินใหญ่ มีประธานใหญ่ร่วมอีกหลายประธาน ก็จะมีลักษณะคล้าย "กลุ่มบริษัทแนวร่วม" เหมือนอย่าง Star Alliance ของสายการบิน ที่มีการบินไทย และสายการบินอื่นๆ เป็นภาคีเดียวกัน แต่ประธานกฐินใหญ่อาจจะเกิดก่อน และเป็นโต้โผใหญ่ในการเป็นมูลเหตุให้เกิดแนวร่วม แล้วประธานรอง ก็เป็นบริษัทอันดับรองในการบริหาร อย่างเช่น CFO หรือประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน หรือบริษัทที่ถูกจ้างมาบริหารในอันดับรองๆ ประธานกองจะได้เป็นบริษัทในเครือเหมือนอย่างไทยสมายล์ หรือนกแอร์ ไทยคาร์โก้ ของการบินไทย ส่วนผู้บริจาคทั่วไปก็เป็นผู้ถือหุ้น

ถ้าตามปกติแล้ว “ผ้าป่า” ได้บุญน้อยกว่า “กฐิน” ครับ เพราะผ้าป่าไม่มีอานิสงส์ที่พระสงฆ์จะได้ เหมือนการรับผ้ากฐิน แต่ไม่เสมอไป เพราะปัจจัยร่วมในสมการบุญมันหลากหลายตามวาระโอกาส ถ้าผ้าป่านำไปสร้างอุโบสถ สร้างเจดีย์ ถือเป็นวิหารทาน อานิสงส์จะมาก เพราะเป็นทั้งสังฆทานและวิหารทานไปในตัว ถ้านำไปทำธรรมทาน อย่างการพิมพ์หรือแปลพระไตรปิฎก อานิสงส์ก็จะยิ่งใหญ่ แต่ไม่ใช่ฝ่ายทรัพย์สมบัติ แต่เป็นคุณสมบัติคือสติปัญญา แต่ถ้าตัวแปรทุกอย่างเท่ากันและเหมือนกัน การทอดกฐินจะมีอานิสงส์ใหญ่กว่าผ้าป่า เพราะอานิสงส์กฐินที่พระจะได้ตามพระวินัย แต่ก็มีอานิสงส์บางด้านที่ผ้าป่าดีกว่า เช่นได้ลาภก้อนใหญ่เมื่อไรก็ได้ ไม่ต้องรอโบนัสประจำปี ไม่จำกัดลาภด้วยกาลเวลา รวมถึงบางคราวคณะสงฆ์ผู้รับผ้าป่าเป็นคณะใหญ่กว่า คณะที่รับผ้ากฐิน อานิสงส์จึงไม่เท่ากัน

การทอดกฐินเป็นกาลทาน มีเพียงปีละครั้ง อานิสงส์คือ จะได้ลาภก้อนใหญ่ปีละหน อย่างเช่นโบนัสประจำปี หรือเงินปันผลประจำปี แต่ตลอดทั้งปีก็มีรายได้จากการทำกิจการ ถ้าหากมีตำแหน่งทำงาน แต่ไม่เสมอไป ส่วนกิจการ ถ้าเนื่องด้วยผ้า ก็จะก้าวหน้าดีกว่าอย่างอื่นแต่ถ้าทำบุญด้วยทรัพย์ เป็นบริวารผ้ากฐิน ก็จะเป็นแก้วสารพัดนึก ก็คือแปลงเป็นอะไรก็ได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่า ทางวัดจะนำปัจจัยบริวารกฐินไปก่อสร้างหรืออะไรอื่นๆ เช่นทำถนน ทำระบบไฟฟ้า หรือซื้อที่ดิน อานิสงส์ก็จะแตกต่างไปอีก โดยรวมแล้ว ถ้าดำริเรื่องผ้า เช่นโรงงานทอผ้า ผลิตเสื้อผ้าแบรนด์เนม ผลิตผ้าห่ม ผลิตเครื่องนอน ฯลฯ กิจการก็จะเจริญดีกว่าทำอย่างอื่น ส่วนผ้าป่าหางกฐิน ก็ได้เป็นบริษัทผู้รับเหมาช่วง อย่างเช่นบริษัทซ่อมแซมเครื่องบิน บริษัททำความสะอาดล้างเครื่องบิน บริษัทเติมน้ำมันเครื่องบิน ถ้าเปรียบเทียบไปก็ประมาณนี้ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีประธานใหญ่เริ่มก่อน แต่ก็ไม่เสมอไปเช่นกัน

ถ้าผู้ที่เป็นประธานใหญ่ทอดกฐิน คิดจะยึดสมบัติของประธานร่วม ประธานรอง ประธานกอง และบริวารกฐิน ก็ไม่สามารถทำได้โดยตรงครับ เพราะไม่ใช่บุญของท่าน ยกเว้นแต่จะมีการ "เล่นสิทธิ์" ไว้ให้ทำได้ เหมือนอย่างบางสำนักที่ใช้ซองทำบุญ และใบรับเงินระบุประมาณว่า "บูชาธรรมประธานสงฆ์ เพื่อนำใช้ตามความประสงค์ของประธานสงฆ์" ถ้าเป็นดังนี้ ประธานสงฆ์ก็จะมีสิทธิ์ทำตามประสงค์ คือตามใจชอบทั้งในวิชชาและภายนอก ด้วยการยึดบุญ ยึดหุ้น และยึดกิจการของผู้อื่นที่เนื่องด้วยกองบุญกองกุศลนั้น แต่ถ้าเป็นตามธรรมดาเหมือนวัดอื่นๆ เมื่อบุญกรรมให้ผล อย่างดีประธานเจ้าภาพก็ยุบหรือขายบริษัทแม่ไป แล้วบริษัทลูกก็แยกตัวกันออกไป ยกตัวอย่างเหมือน บางกิจการ ที่เถ้าแก่ใหญ่ผู้ก่อตั้งธุรกิจได้เสียชีวิตลงแล้วลูกชายรับกิจการมาทำต่อ ลูกน้องก็พากันแยกย้าย ลาออกกันไปส่วนหนึ่ง หรือเถ้าแก่ขายธุรกิจให้ผู้อื่น ลูกน้องที่เคยทำงานก็ไม่อยากทำงานต่อ ก็ลาออกกันไป เป็นลักษณะนี้ครับ

การทำบุญทอดกฐินแล้วได้เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ (ฝ่ายหญิง) หรือผ้าไตรจีวรเนรมิตสำหรับบวช (ฝ่ายชาย) จัดเป็น "อัศจรรย์" อย่างหนึ่งครับ ซึ่งโปรแกรมกฎแห่งกรรมท่านตั้งไว้อย่างนั้น เหมือนมหาทุคตะ ถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้า ได้อานิสงส์เป็น "ฝนรัตนชาติ" ถามว่า ถวายภัตตาหาร แล้วทำไมได้เพชรพลอย มันไม่สมเหตุสมผลหรือ คำตอบคือ เรียกว่า "อัศจรรย์" หรือ "มหัศจรรย์" หรือ “อภิมหัศจรรย์” ครับ มีอยู่ 3 ขั้น ซึ่งมีเหตุปัจจัยหลายอย่าง เช่นพระท่านให้พรว่าให้ได้ หรือจัดให้ได้ ด้วยฤทธิ์ ด้วยบุญ ด้วยกรรม ด้วยเทวฤทธิ์ หรือด้วยสิทธิ์ จะว่าไม่มีเหตุผลก็ไม่เชิงครับ ส่วนการทอดกฐินแล้วได้เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ ก็เหมือนการไปเยือนสังเวชนียสถาน 4 ตำบล แล้วพ้นอบาย ถือเป็น "สิทธิ์" ที่กำหนดไว้มาแต่เดิมที หาใช่องค์สมเด็จพระพุทธสมณโคดมทรงกำหนด แต่ทุกพุทธันดรก็เป็นมาอย่างนี้ เหมือน "พุทธประเพณี" ที่สถานที่ตรัสรู้เป็นที่เดียวกันหมด สำหรับพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ในภัทรกัปป์ปัจจุบัน ดังฉะนี้ บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ ผู้อ่านสามารถตอบแทนได้ด้วยการ (1)  โหวตขั้นในวิชชาให้ผู้แต่ง (2) แบ่งบุญธาตุที่มี หรือที่ได้จากการศึกษาหรือใช้บทความนี้ ให้ผู้แต่ง และ (3) บริจาคเข้าองค์กรการกุศลที่ผู้แต่งสนับสนุนอยู่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่าครับ.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


สวัสดีครับทุกท่าน

นานาสาระ เป็นที่ถูกอกถูกใจกันมากนะครับ ซึ่งผมได้จดลิขสิทธิ์ไว้แทบทั้งหมด ท่านใดประสงค์จะใช้ประโยชน์จาก "นวัตกรรมบุญและวิชชา" ของผม สามารถใช้ได้โดยมีข้อแลกเปลี่ยนดังนี้ครับ

(1) โหวต เลื่อนขั้นให้กับผมเป็นองค์ "อิษษะวฑี / อิษษิวฑา"

(2) แบ่งเปอร์เซ็นต์อานิสงส์ที่ได้จากการใช้นวัตกรรม

(3) ทำบุญกับองค์กรการกุศลที่ทางผมสนับสนุนอยู่ด้วยทรัพย์

โดยอาจจะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเป็นแพ็คเกจควบบางอย่างก็ได้ครับ สามารถตกลงกับองค์พระจักรพรรดิ ตามที่มีรูปหล่ออยู่ด้านบนหน้าเพจนานาสาระครับ. ^^

- พิรจักร ทิศุธิวงศ์


นานาสาระ: เรื่อง ทำบุญกับพระพุทธเจ้าในยุคปัจจุบัน

การทำบุญให้กรรมดีส่งผลมากนั้น ไม่เกี่ยวกับได้ปริมาณบุญมากอย่างเดียว แต่จะต้องทำใน "ทักขิณาเขต" โดยพิจารณาดังนี้คือ (1) เป็นสงฆ์ (2) เป็นพระอริยบุคคล (3) เป็นบรรพชิต (4) เป็นผู้ทรงวิชชา ซึ่งถ้าหากมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง หรือมากกว่า หรือทั้งหมด ก็จะทำให้ “บุญเขต” อุดมสมบูรณ์

การทำบุญกับคณะสงฆ์ ที่มีสมาชิกเป็นบรรพชิต ผู้เป็นพระอริยบุคคลที่ทรงวิชชานั้นมีอานิสงส์มาก เพราะทักขิณากว้างและ “อุดมสิทธิ์” การที่เราทำบุญด้วยวิชชา แล้วยังไม่รวยเหมือนอย่างที่ควรจะเป็น หรือเหมือนอย่างที่เห็นในวิชชาว่าสมบัติมีมากมาย ก็เพราะทักขิณาขาด "สิทธิ์" บางประการ แต่ก็จะได้อานิสงส์ในวิชชามาก เช่นได้บุญในวิชชามาก, ได้รัศมี, ได้กลิ่นทิพย์, และได้ทิพยสมบัติ

ในเชิงวิชชา เวลาเราทำบุญ เราจะได้แผนผังชีวิตจากเครื่องธาตุเครื่องธรรม ซึ่งเติมบุญใส่ไว้ในแผนผัง ให้แผนผังทำงาน ประกอบกับคำนวณพลังงานบุญจ่ายอีกส่วนหนึ่งมาเก็บไว้ในดวงบุญ แต่บุญจากวิชชานั้นแตกต่างจากการทำบุญธรรมดาคือ อาจจะมีแผนผังที่แรงมากหรือน้อย และบุญที่เติมในผังแน่นมากหรือน้อย หรือได้บุญมาก แต่ไม่ได้แผนผังที่มีกำลังธาตุดีพอ

มีท่านอุปมาเฉลยประมาณว่า หาก “ธาตุบุญ” ที่เติมแผนผังรวย มีเท่ากับ “เกลือหนึ่งกำมือ” การทำบุญธรรมดานั้นเราได้น้ำสะอาดหนึ่งแก้วสำหรับใส่เกลือในหนึ่งกำมือนั้น แต่การทำบุญด้วยวิชชา ทำให้ได้น้ำหนึ่งเหยือก ใส่เกลือในหนึ่งกำมือเท่ากัน ดังนี้แล้วธาตุบุญได้ประมาณเท่าเดิม แต่น้ำมากขึ้น เปรียบเทียบได้กับ “บุญพิธีบูชาข้าวพระ” ของท่านแม่ชีทองสุข สำแดงปั้น ซึ่งท่านเป็นผู้ดำริริเริ่ม และทำเรื่อยมา แต่แม้กระนั้น เมื่อท่านมาเกิดใหม่ในปัจจุบันชาติ ฐานะของท่านก็ยังปกติธรรมดา ยังไม่ได้เป็นเศรษฐี อย่างที่ควรจะเป็น

ส่วนใหญ่แล้ว บุญในวิชชาจะขาด "ทักขิณาธาตุ" ซึ่งเนื่องด้วยสิทธิ์ในพระศาสนา ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน และทรงผูกสิทธิ์ไว้ กำหนดให้ทำในบุญเขต จัดเป็นบุญในพระศาสนาตามพุทธกาลปัจจุบัน ซึ่งองค์สมเด็จพระพุทธโคดมทรงเป็นประธานในฐานะพระศาสดา และได้ทรงยกให้ “สังฆทาน” เป็นยอดของอามิสทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสังฆทานนั้นเป็นไปเพื่อการสร้างวิหารแด่สงฆ์ผู้จรมาจากทิศทั้ง 4 (ยกตัวอย่างเช่นพระพุทธมณฑล ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับพระสงฆ์โดยทั่วไป) และโรงพยาบาลสงฆ์, มหาวิทยาลัยสงฆ์, และธรรมทานต่างๆ

ทั้งนี้ สังฆทานอันมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระประมุข จะมีอานิสงส์มากกว่าสังฆทานธรรมดา ในปัจจุบันมีวิธีทำได้คือ ให้กราบทูลอาราธนาอัญเชิญ “พระบรมสารีริกธาตุ” มาประดิษฐานในบุญพิธี เป็นประธานการทำบุญโดยถือว่า มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระประมุขของสงฆ์ ไม่ว่าจะบรรจุอยู่ในผอบเจดีย์ หรือพระเกตุของพระพุทธรูป เมื่อคณะสงฆ์นั่งอันดับแล้ว ให้โยงสายสิญจ์จากพระพุทธรูปมายังคณะสงฆ์ที่เผดียงขึ้นเป็นสงฆ์ มิได้นิมนต์เฉพาะเจาะจง ดังนี้แล้ว เท่ากับเป็นการทำบุญกับพระสงฆ์โดยมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระประมุข ซึ่งคำนวณได้เป็นบุญเขตแห่งทักขิณาอันกว้างใหญ่ขึ้น

ส่วนการถวายมหาสังฆทานหลายพันหลายหมื่นวัดนั้น จะได้บุญมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับว่านิมนต์สงฆ์ หรือนิมนต์เฉพาะเจาะจง มีความเป็น "สงฆ์" มากน้อยเพียงใด ถ้า "เผดียงขึ้นเป็นสงฆ์" ทักขิณาก็จะกว้างใหญ่และได้บุญ ได้อานิสงส์มาก ซึ่งหากจะทำ ก็มีวิธีง่ายๆ เพียงให้ฝ่ายทายก ทายิกา กราบทูลองค์ผู้ปกครองสงฆ์ อย่างมหาเถรสมาคม แล้วให้มหาเถรสมาคมมีคำสั่งเผดียงสงฆ์ขึ้น เพื่อให้สงฆ์ส่งตัวแทนมารับสังฆทาน โดยอาจจะเป็นที่หอประชุมมหาวิทยาลัย หรือพระพุทธมณฑล แล้ววัตถุทานตกเป็นของสงฆ์ จากนั้นจึงมอบหมายให้สงฆ์มีมติแต่งตั้งผู้แบ่งลาภที่เกิดขึ้น ทำให้เป็นการสะดวกต่อทายกทายิกา และได้บุญมากที่ส่งผลานิสงส์ได้มากจริง

ท่านใดประสงค์จะทำบุญสังฆทานด้วยเหรียญกษาปณ์ทองคำ และ/หรือ เงิน หรือจะเป็นแท่งหรือรูปพรรณ วิธีทำง่ายๆ คือทำเป็นสังฆทานครับ แต่วัดบางวัดเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ไม่ให้พระจับทองคำ แล้วเราก็ไม่ทราบว่าพระรูปใด หรือคณะใด ยึดถือพระวินัยเคร่งครัดขนาดไหน ถ้าเป็นดังนี้ เรามีวิธีทำง่ายๆ คือเลือกวัดที่มีตู้สังฆทาน หรือขันสังฆทานให้หย่อน หรือหยอดปัจจัย มีหลายวัดที่ทำอย่างนี้ครับ เช่นโรงพยาบาลสงฆ์ กรุงเทพฯ ที่พระวิหาร มีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐาน และมีตัวแทนสงฆ์มารับสังฆทาน โดยมีตู้ให้หยอดซองปัจจัยสังฆทาน (ในกรณีถวายแด่สงฆ์) โดยตู้อยู่ข้างๆ ที่นั่งพระภิกษุตัวแทนสงฆ์ครับ โดยนัยนี้ พระท่านก็ไม่ต้องจับทองคำหรือเงิน และก็รับไว้โดยสงฆ์ เพราะตกลงในตู้ หรือขัน แต่ผู้ถวายควรเขียนแจ้งให้เหรัญญิกทราบว่าเป็นทองคำหรือเงินแท้ และมีเจตนาถวายให้เป็นของสงฆ์ ให้สงฆ์ตกลงว่าจะทำอย่างไรต่อไปครับ ส่วนว่าหากทางวัดมีพระเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ก็ขอให้สงฆ์สวดกำหนดเขตให้พระเจดีย์เป็นเขต “ทำสังฆกรรม” แล้วอาศัยเขตนั้นในการรับสังฆทาน ดังฉะนี้ครับ.

 

สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: เรื่อง วิธีปลงอาบัติให้ตก

“อาบัติ” คือความผิดทางพระวินัยของภิกษุ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้บัญญัติ แต่ก็ได้ทรงเปิดช่องไว้ก่อนดับขันธ์ปรินิพพาน ว่าให้สงฆ์ยกเลิกอาบัติเล็กน้อยได้ อย่างไรก็ตาม สงฆ์แต่ละนิกาย และคณะก็ยังมีความแตกต่างในศีลสิกขาบท บ้างก็ยังคงเคร่งครัดกับพระวินัยดุจดังเดิมเหมือนสมัยพุทธกาล บ้างก็ปรับเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม พระภิกษุที่ต้องอาบัติ แล้วปลงไม่ตก ยังพอมีวิธีแก้ไขดังนี้:

(1) ปลงอาบัติกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือพระบรมสารีริกธาตุ ที่บรรจุอยู่ในพระพุทธรูป พระสถูป หรือพระเจดีย์

(2) ปลงอาบัติกับพระอรหันต์ คือพระอรหันตธาตุ อย่างเช่นพระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งอาจะมีพระธาตุบรรจุอยู่ในรูปหล่อพระมหาอัครสาวกเบื้องซ้ายขวา แล้วอาจจะปลงอาบัติกับรูปหล่อนั้นด้วยอาการนั่งกระหย่ง โดยอาจจำเป็นต้องจ่ายธาตุบุญ

(3) ปลงอาบัติกับพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่

(4) อยู่ปริวาสกรรมโดยพระอรหันต์สวดให้

(5) ลาสิกขาแล้วบวชใหม่

(6) บรรพชาเป็นสามเณร ขอศีล ขอนิสัยใหม่อีกครั้ง แล้วบวชเป็นภิกษุใหม่อีกครั้งในนิกายเดิม หรือนิกายใหม่ หรือประเทศเดิม หรือประเทศใหม่

(7) อยู่ในเพศบรรพชิตแล้วบวชเข้านิกายใหม่ เป็นพระในนิกายใหม่

(8) อยู่ในเพศบรรพชิตแล้วบวชเข้านิกายใหม่ แล้วบวชกลับเข้านิกายเดิมอีกที

(9) บวชเข้านิกายใหม่ หรือนิกายเดิม ในสังกัดการคณะสงฆ์ต่างประเทศ ที่อาจจะมีนิกาย หรือไม่มีนิกาย แล้วจะบวชกลับคืนนิกายเดิม หรือนิกายใหม่ ประเทศเดิมหรือไม่ก็ได้

(10) การบวชใหม่ จะเป็นสีมาเดิม/สีมาใหม่ พระอุปัชฌาย์เดิม/พระอุปัชฌาย์ใหม่ ประเทศเดิม/ประเทศใหม่ นิกายเดิม/นิกายใหม่ ฉายาเดิม/ฉายาใหม่ นับพรรษาเดิม/นับพรรษาใหม่ เครื่องบวชเดิม/เครื่องบวชใหม่ ให้พิจารณาตามเห็นสมควรครับ

 

สงวนลิขสิทธิ์ เท่าที่จะสามารถจดลิขสิทธิ์และสงวนได้โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: ได้บุญฟรี 20%

การอุทิศบุญ และอนุโมทนาบุญ เป็นวิธีการได้บุญตามบุญกริยาวัตถุ 10 ประการ ซึ่งปกติแล้ว พุทธศาสนิกชนจะอุทิศบุญให้ผู้อื่น และอนุโมทนาบุญกับผู้อื่น ซึ่งกรรมจะส่งผลให้ได้มีส่วนร่วมเสวยอานิสงส์กับเจ้าของบุญในรูปแบบต่างๆ แบบมี “เงื่อนสิทธิ์ติดค้าง” ตามที่ได้นำเสนอแล้วในบทความก่อนๆ อย่างไรก็ตาม ท่านรู้หรือไม่ว่า เราสามารถได้ “บุญฟรี” เพิ่มเติม จากการทำบุญแล้วอุทิศให้ตนเอง แล้วก็อนุโมทนาบุญกับตนเองด้วย

การทำบุญแล้วอุทิศบุญให้กับตนเอง จะทำให้จิตเป็นกุศลเพิ่มเติม และมีอานิสงส์คือผู้อุทิศบุญให้ตนเองอนุโมทนา จะมีสิทธิ์และอำนาจในการเลือกหรือแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นหัวหน้างานผู้บริหาร หรือเจ้าหน้าที่ ในธุรกิจกิจการที่เกิดขึ้นเพราะอำนาจแห่งบุญของตนนั้น

ส่วนการทำบุญแล้วอนุโมทนาบุญกับตนเองก็ได้บุญเพิ่ม อานิสงส์คือได้ทำงานให้กิจการของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น คุณบีก่อตั้งบริษัทมหาชน แล้วตนเองมีตำแหน่งเป็นซีอีโอกินเงินเดือนอีกที พร้อมถือหุ้นด้วยต่างหาก

การทำบุญแล้วอุทิศบุญให้ตนเอง จากนั้นจึงอนุโมทนากับตนเอง ก็จะ “ครบวงจร” วาระแห่งกรรม ทำให้ได้บุญเพิ่มฟรีๆ โดยรวมประมาณ 20% ของทั้งหมด โดยไม่ติดค้างใคร หากบุญนั้นเป็นของผู้ทำบุญแบบไม่ติดสิทธิ์ ดังฉะนี้.

สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

 นานาสาระ: เรื่อง ทางลัดสู่การตรัส “อัสนีย์”

[1]  โลกแห่งวิชชานั้นกว้างใหญ่กว่าที่เราเคยคิด และมีอะไรที่หลากหลายซับซ้อนซ่อนเงื่อน ที่จอมยุทธ์แห่งโลกวิชชาทั้งหลายต้องเรียนรู้ หลายท่านแสวงหาความสุขสงบกับการทำบุญ และประพฤติธรรม ในขณะที่โลกแห่งความเป็นจริงอาจไม่สวยงามราบรื่นเสมอไป เพราะยุทธจักรบางครั้งก็มีภัยอันตรายจากวิชชาและผู้ทรงวิชชา ที่บ้างก็ต้องต่อกรกันตรงๆ หรือบ้างก็เล่นเกมเล่นกลกันอย่างแปลกๆ และแน่นอนว่า หากเราต้องเผชิญหน้ากับ “ศึก” ในวิชชา เราก็ต้องมีความพร้อมแบบ “พอตัว”

[2]  ในบรรดาพลังอำนาจในการสู้ศึกแห่งโลกวิชชา “อัสนีย์” ก็คือสายฟ้าฟาด เกิดจากพลังไฟฟ้าอันรุนแรง ที่สามารถทำลายศัตรูผู้รุกรานได้ เหมือนคนโดนไฟดูด หรือฟ้าผ่าเข้าใส่ ก็ช็อครุนแรงหมดสติ ถึงขั้นเสียชีวิต ฉันใดก็ฉันนั้น พลังอสนีบาต สามารถทำให้เครื่องยนต์กลไกของกายผู้รุกรานเสียหาย มะล็อง มะแล็ง รวนๆ แล้วก็พังได้

[3]  ส่วนใหญ่แล้วพลังอัสนีย์ในโลกแห่งวิชชานั้นเกิดจากอำนาจญาณที่ประจุเข้าในอาวุธอย่าง “วัชระ” หรือ Dorje” ของพระลามะชาวทิเบต ซึ่งใช้ประกอบการทำสมาธิในพิธีกรรม และเป็นเครื่องป้องกันตัวจากเหล่ากายละเอียดที่เป็นอันตราย รวมถึงหมู่มารผู้คุกคามทั้งหลาย ไม่เพียงแต่องค์พระลามะเท่านั้น ที่รู้จักและใช้วัชระ แต่ชาวพุทธไทย ก็ยังรู้จักการสร้างวัตถุมงคลอย่าง “วชิราวุธ” ซึ่งมีการปลุกเสกด้วยอำนาจฌาน และญาณวิชชา เชื่อกันว่าเป็น “ของดี”สำหรับป้องกันตัวในยามจำเป็น

[4]  อย่างไรก็ตาม การ “ตรัสอัสนีย์” นั้นเดิมที ผู้ทรงวิชชา หรือผู้บำเพ็ญ อย่างพระดาบส นักพรต พระฤาษี และนักบวชผู้แสวงหาพลังอำนาจจากสายฟ้าฟาด จะต้องเจริญวิชาอยู่กับสายฟ้าที่ฟาดลงมา หรือแลบแปลบปลาบอยู่ในหมู่เมฆ ด้วยจังหวะเพียงสั้นๆ ในช่วงที่พลังงานไฟฟ้าธรรมชาตินั้นเกิดขึ้น และเมื่อสั่งสมได้มากพอ ก็สามารถ “ตรัสอัสนีย์” มีฤทธิ์อำนาจดุจมนุษย์ไฟฟ้า สามารถสั่งสายฟ้าฟาดใส่ผู้อื่นได้ ราวกับ “ปิกกาจู” ในการ์ตูนเรื่อง “โปเกมอน”

[5]  แต่ด้วยยุคสมัยปัจจุบันที่เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า การ “ตรัสอัสนีย์” ก็พลอยสะดวกสบายยิ่งขึ้นตามไปด้วย ซึ่งผู้ทรงวิชชาทั่วๆไป สามารถตรัสอัสนีย์ได้ด้วยการ “ทำบุญค่าไฟฟ้า” ถวายแด่วัดวาอาราม  สำนักผู้ทรงวิชชา ผู้ทรงวิชชาท่านต่างๆ พระอริยบุคคล และสาธารณชน โดยอาจจะทำเป็นประจำ มากบ้างน้อยบ้าง แล้วอธิษฐานให้ได้ตรัสอัสนีย์ หรือประชุมบุญเนื่องด้วยไฟฟ้านั้น เพื่อตรัสอัสนีย์ แต่ต้องพึงสำรวมระวังว่า การที่บุคคลได้อำนาจแห่งอัสนีย์นั้น อาจจะเป็นคุณเป็นโทษต่อทั้งตนเองและผู้อื่น รวมถึงวิธีการใช้อย่างไร จึงจะเป็นไปตามใจปรารถนา ไม่เผลอช็อตไฟฟ้าใส่ใครโดยเผอเรอ และการตรัสอัสนีย์ ควรจะเป็นไปในลักษณะใด จึงจะอยู่อย่างสงบได้ในโอกาสอันควร และเก็บพลังนั้นไว้สำหรับยามจำเป็นเท่านั้น

[6]  ทั้งนี้ หากบุคคลตรัสอัสนีย์ และใช้ “วชิราวุธ” หรือ “วัชระ” ประกอบด้วยแล้ว ก็จะเกิดอานุภาพอันรุนแรงมหาศาล เพราะสามารถ “ชาร์จประจุไฟฟ้า” จากฝ่ามือเข้าสู่องค์วชิราวุธ หรือวัชระนั้น กระทั่งพลังอัดแน่น แล้วค่อยกระแทกใส่ศัตรู หรือจะปล่อย “อสนีบาต” ฟาดใส่ศัตรูโดยไม่ต้องเข้าถึงตัวก็ย่อมได้

[7]  การตรัสอัสนีย์นั้น เป็นสิ่งที่ง่ายสำหรับเทคโนโลยียุคปัจจุบัน หากบุคคลทำบุญค่าไฟฟ้า หรือสร้างระบบไฟฟ้า ถวายหม้อแปลงไฟฟ้า หรือสร้างโรงไฟฟ้าสถานีย่อย ก็จะมีวาสนาในการได้ตรัสอัสนีย์ ซึ่งการที่ข้าพเจ้านำเรื่องการตรัสอัสนีย์มาเสนอนี้ ก็ใช่ว่าประสงค์จะสร้างความเดือดร้อนให้กับบุคคลต่างๆ แต่ในยามที่จำเป็นจริงๆ เหมือนอย่างเมื่อพระพุทธเจ้าต้องทรงสู้รบกับพญานาคราช หรือยักษ์ พระองค์ก็จำเป็นต้องใช้ฤทธิ์รุนแรงให้การทรมานเขาเหล่านั้น เพื่อให้คลายจากมิจฉาทิฐิ แล้วกลับตัวกลับใจมาเป็นคนดี แต่ถ้าบุคคลนำฤทธิ์ที่ได้มาใช้อย่างไม่ถูกต้อง หรือไม่สมควร ก็ย่อมเป็นการก่อเวรก่อภัยโดยไม่จำเป็น และอาจไม่เป็นอันอยู่สุขได้ โดยเฉพาะหากนำไปทำร้ายคนดีมีศีลมีธรรม ก็จะเป็นกรรมหนัก แม้ผู้ใช้จะมีวิชชาก็ตาม ดังฉะนี้.


สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 


นานาสาระ: เรื่อง ทำบุญอย่างไรให้ได้เป็น “เจ้าสมบัติ”

พวกเราคงได้เคยชมภาพยนตร์ หรืออ่านนิทาน เกี่ยวกับขุมสมบัติ ที่บรรจุใส่หีบ แล้วบรรทุกลงเรือสำเภา หรือซ่อนเก็บไว้ในถ้ำ กระทั่งมีนักล่าสมบัติเข้าไปภพ ในนั้นมีเหรียญทองคำบริสุทธิ์ และเหรียญเงินจำนวนมาก น่างับซะเหลือเกินใช่ไหมครับ วันนี้ผมจึงขอหยิบยกเรื่องการนำ “เหรียญกษาปณ์ทองคำและเงิน” หรือวัตถุโลหะล้ำค่าแทนเงินตรา อย่างทองพดด้วง และเงินพดด้วง มาทำบุญหล่อพระ หรือสร้างถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนา อย่างยอดฉัตร หรือผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุกันครับ

เหรียญกษาปณ์ทองคำและเงินส่วนใหญ่จะผลิตโดยประเทศที่มีระบบการเงินและการคลังที่ดีมากพอ ซึ่งในสมัยโบราณ เหรียญกษาปณ์ทองคำและเงินมีบทบาทมาก เพราะถูกใช้ในการซื้อขายสินค้าโดยทั่วไป เพราะเป็นหลักประกันทางมูลค่าที่คงเส้นคงวา ต่างจากในปัจจุบันที่มีการซื้อขายเพื่อสะสม และลงทุน มิได้มีไว้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า แม้เหรียญจะมี "มูลค่าหน้าเหรียญ" ตามสกุลเงิน เช่นเหรียญละ 50 หรือ 100 ดอลลาร์ แต่ก็ไม่มีใครนำมาซื้อสินค้ากัน

การนำเหรียญกษาปณ์ทองคำและเงินมาหล่อพระ หล่อยอดฉัตร หล่อเจดีย์ หล่อผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรือบรรจุในพระเจดีย์ หรือในพระพุทธรูป มีอานิสงส์พิเศษกว่าการใช้ทองรูปพรรณหรือทองคำแท่งเล็กๆ คือ (1) เหรียญส่วนใหญ่มีดวงตราประกาศิต (2) เหรียญมีกายสิทธิ์ของเงินสกุลที่มีวิชชาติดมาด้วยจากภพเหรียญซึ่งเป็นผู้ประชุมเหรียญขึ้นในวิชชา (3) เหรียญมีกายสิทธิ์จากภพเจ้าของธาตุคือภาคทองและภาคเงิน (4) เหรียญมีความสวยงามดูล้ำค่าตามการออกแบบ และเป็นที่ระลึกถึงบุคคลสำคัญ อย่างพระมหากษัตริย์ หรือ ประธานาธิบดี หรือสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่บนหน้าเหรียญ (5) เหรียญมีมูลค่ามากกว่าทองคำและเงินด้วยน้ำหนักที่เท่าๆกัน ด้วยค่ากำเน็จ และมูลค่าตามท้องตลาดในฐานะของสะสม (6) เหรียญมีราคาหน้าเหรียญสูง ตามกำหนดโดยเงินสกุล (7) เหรียญเป็นหลักประกันทางการเงินอันมั่นคง เพราะโลหะล้ำค่าอย่างทองคำและเงินนั้นมีอยู่อย่างจำกัดในโลก ทำให้มูลค่าที่แท้จริงของเหรียญไม่ “เฟ้อหรือฝืด” ไปตามสภาวะเศรษฐกิจ (8) เหรียญอยู่ในรูปลักษณ์ที่เป็นที่นิยมของคนทั่วโลกและถือกันว่าเป็นของมงคลนำโชค สามารถใช้เป็นของขวัญ ของรางวัล และใช้เป็นสินสมรสได้ (9) เหรียญทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง สามารถขาย และแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้โดยง่าย

ด้วยคุณลักษณะเหล่านี้ ทำให้การหล่อพระด้วยเหรียญกษาปณ์ทองคำและเงิน ทำให้มีผลานิสงส์มาก เป็นกุศลกรรมฝ่ายสมบัติโดยตรง และมีผลคือจะทำให้บุคคลร่ำรวยด้วยกษาปณ์ทองคำ และกษาปณ์เงิน ซึ่งเป็นโลหะล้ำค่าแทบจะในทุกยุคทุกสมัย และเป็นทรัพย์สากลที่เป็นที่ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไป อานิสงส์จะส่งให้ได้เป็น “เจ้าศฤงคาร” หรือ “เจ้าสมบัติ” เหมือนอย่างท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ที่มีเงินมากพอจะปูแผ่นดินเพื่อซื้อที่สร้างวัด ทั้งนี้การเลือกหาเหรียญกษาปณ์ทองคำและเงินมาทำบุญจะต้องคำนึงถึงเปอร์เซ็นต์ทองและเงิน ว่าบริสุทธิ์มากน้อยเพียงใด เพราะจะทำให้อานิสงส์ไม่เท่ากัน อีกทั้งจะต้องพิจารณารูปลักษณ์ของเหรียญ เพราะอาจทำให้ “ติดสิทธิ์” ในกรณีมีภาพบุคคลหรือตราสัญลักษณ์ประจำบุคคล สำนักวิชชาจึงจำเป็นต้อง “จ่าย” แลกสิทธิ์ เพื่อเคลียร์สิทธิ์ต่อกันและกัน นอกจากนี้ ทางสำนักวิชชายังสามารถคำนวณวิชชาแจ้งให้เจ้าภาพทราบด้วยว่า ด้วยบุญที่ทำด้วยเหรียญกษาปณ์ทองคำและเงินนี้ จะส่งผลานิสงส์ผลกุศลกรรมให้ได้เหรียญกษาปณ์กลับคืนมาจำนวนกี่เหรียญ ตลอดระยะของการส่งผลกรรม และจะมีบุญได้มรรคผลขั้นใด ในเวลานานอีกประมาณเท่าใด นับจากวันที่ทำบุญ

ผมเองเคยทำบุญหล่อพระด้วยเหรียญกษาปณ์ทองคำอยู่หนึ่งครั้งครับ สมัยนั้นมีการบอกบุญหล่อ “หลวงพ่อสดทองคำ” แต่เหรียญไม่ได้ถูกนำไปหล่อ แต่ถูกนำไปตีราคา แล้วราคานั้นทางสำนักคิดเป็นทรัพย์สมทบการหล่อ แต่นี้ไม่ใช่ประเด็นที่ผมอยากจะเอ่ยถึง แต่ขอเล่าถึงเหรียญว่าเหรียญที่เคยได้มานั้นดูงามล้ำค่า เข้าใจถึงอารมณ์เวลามีคนได้เหรียญทองคำหรือเหรียญเงินแล้วนำมา “กัด” หรือ “งับ” เล่น เพราะเหรียญเป็นทองคำบริสุทธิ์ 99.99% และด้วยความรู้สึกว่างามล้ำค่า เพราะเหรียญมีวิชชาและกายสิทธิ์ เวลาเรานำไปทำบุญ เราจึงรู้สึกว่า เราได้สละสินทรัพย์อันเลิศ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนความศรัทธามั่นในพระพุทธศาสนา ความประทับใจนั้นยากจะลืมเลือน และนี่เองคือสิ่งที่เรียกว่า "บุญ" ที่ทำด้วยความตั้งใจมากๆ เพราะต้องจ่ายทรัพย์มากกว่าปกติ เพื่อซื้อเหรียญกษาปณ์ซึ่งมีราคาแพงกว่าทองคำที่มีน้ำหนักเท่าๆกัน

 

หมายเหตุ: ถ้าหากท่านใดจะทำบุญด้วยเหรียญกษาปณ์ทองคำและเงิน อย่าลืมชำระส่วนละเอียดให้สะอาดสะอ้านด้วยญาณ หรือจะแช่น้ำพระพุทธมนต์ก่อนนำไปถวายก็พอได้ครับ ส่วนท่านใดประสงค์จะเป็นเจ้าภาพหล่อพระและหลวงพ่อสด สามารถติดต่อเป็นเจ้าภาพหลักหรือเจ้าภาพสมทบได้ ที่ “หอขาว” ณ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ หากเป็นเจ้าภาพหลัก ท่านสามารถถวายเหรียญกษาปณ์เงินหรือทองคำ เพื่อหล่อพระที่ท่านเป็นเจ้าภาพได้ ณ โรงหล่อครับ หรือจะหล่อพระและถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาตามวัดวาอาราม และสำนักต่างๆ ตามกฎกติกา และระเบียบพิธีของแต่ละแห่งครับ ดังฉะนี้.

 

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

21 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 (ฉบับแรก)

22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม)

www.Meditation101.org



นานาสาระ: เรื่อง "ซื้อผู้เลี้ยง" และกายสิทธิ์ภาคผู้เลี้ยงผู้รักษา

ท่านที่ติดตามผลงานของผมอยู่เป็นประจำ คงจะได้อุดหนุน “นวัตญาณกรรม” ทางวิชชาและวิชาต่างๆ อย่างเช่นการเรียกสมบัติผู้เลี้ยง โดยแลกกับธาตุบุญ หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งการจะทำเช่นนี้ เราก็ต้อง "จ่าย" โดยตกลงกันกับองค์ภาคผู้เลี้ยง ซึ่งเราทราบว่า ชีวิตของเราจะเจริญมากหรือน้อย มีส่วนสำคัญขึ้นอยู่กับภาคผู้เลี้ยง ถ้าชีวิตของคนที่เจริญมากๆ เป็นเศรษฐี เป็นคหบดีมหาศาล เป็นบรรพชิตมหาศาล เป็นผู้นำการปกครอง ทั้งฝ่ายราชอาณาจักร อาณาจักร และศาสนจักร บุคคลสำคัญของโลก ของประเทศ หน่วยงาน องค์กร องค์การต่างๆ และของภพ ทั้งหยาบและละเอียด ส่วนใหญ่ท่านจะมีภาคผู้เลี้ยงขั้นใหญ่ๆ อย่างพระบรมจักรฯ พระอุดมจักรฯ พระอเนกอุดมบรมจักรฯ หรือยิ่งกว่า

ซึ่งจากการนำเสนอว่า เราสามารถเรียกสมบัติจากท่านได้โดยแลกเปลี่ยนกับประโยชน์ต่างๆ เช่นธาตุบุญ ผมจึงพัฒนา “นวัตญาณกรรม” นำเสนอมาถึงขั้น "ขอ ซื้อ-ขาย องค์ภาคผู้เลี้ยงผู้รักษา" ของบุคคล ครอบครัว วงศ์ตระกูล องค์คณะ หน่วยงาน องค์กร เขตการปกครอง โลก จักรวาล ภพภูมิ และอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน โดยเราเลือกพระองค์ที่มีกำลังมากน้อยตามต้องการตามกำลังค่าใช้จ่าย และ/หรือ เลี้ยงเราขณะชีวิตกำลังรุ่งโรจน์ หรือเคยรุ่งโรจน์ หรือมาจากแหล่งอื่นที่ศักยภาพสูงมากน้อยต่างกันไป ซึ่งแม้ว่าค่าตัวจะแพงหรือถูก หากเรามีกำลังจ่าย มันก็คุ้มแสนคุ้ม ยิ่งเดี๋ยวนี้มีผู้ทรงวิชชาอยู่มาก ทั้งจ้าวธาตุ จ้าวธรรม จอมธาตุ จอมธรรม องค์ธาตุ องค์ธรรม การจะทำบุญแล้วได้ธาตุบุญมากพอซื้อตัวภาคผู้เลี้ยงมาเก็บไว้เป็นของเราเอง ก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินไป อุปมาเหมือนบริษัทรับทำบัญชี ซึ่งซื้อตัวข้าราชการกรมสรรพากรมาเป็นเจ้าหน้าที่ประจำบริษัท ซึ่งมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับกฎหมายด้านภาษีอากร สามารถทำประโยชน์ให้บริษัทได้มาก

เมื่อเรามีเทวดาหรือกายสิทธิ์ภาคผู้เลี้ยงผู้รักษา ที่ซื้อมาประจำตัว หรือคณะ หรือองค์กรหรือเขตการปกครอง หรือโลก หรือจักรวาล หรือภพ หรือโลกธาตุ ของเราแล้ว เราสามารถอัพเกรดท่านได้อีกด้วย ตามวิธีอัพเกรดกายสิทธิ์ที่ข้าพเจ้าได้เคยนำเสนอไว้แล้วในบทความอื่นๆ ก่อนหน้า รวมถึงเราสามารถเก็บรักษาท่านเอาไว้ในสายธาตุสายธรรม ที่เรียกว่า “ขึ้นชั้น” ให้ท่านคอยส่งวิชชากำกับการเลี้ยงรักษาเราเป็นการเพิ่มเติมจากผู้เลี้ยงผู้รักษาพระองค์ใหม่ที่จะเข้ามาประจำการแทนที่ ดังนี้แล้ว จะสามารถรับประกันความเจริญรุ่งเรืองของชีวิตได้มากอีกประมาณ 20 – 45% หรือมากน้อยกว่านี้ โดยเทียบกับภาพรวมทั้งหมดครับ ซึ่งข้าพเจ้าขอจดลิขสิทธิ์วิธีการนี้ด้วยครับ

หากท่านใดประสงค์จะซื้อวิธีการนี้และวิธีการอื่นๆ ก่อนหน้านี้ไปใช้ประโยชน์ กรุณาติดต่อองค์พระสุพัฒน์จักรพรรดิ ตามภาพที่แสดงไว้ด้านบนเว็บเพจนี้ เพื่อตกลงค่าธรรมเนียม หรือไลเซนส์ ในรูปแบบต่างๆ เช่นการจ่ายธาตุบุญ การบริจาคเข้าองค์กรการกุศลที่เราสนับสนุนอยู่ การแชร์บทความให้กับเพื่อนๆ ในแฟนเพจ หรือการตอบแทนในทางวิชชาต่างๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือร่วมกัน เพื่อแลกกับไลเซนส์ครับ ดังฉะนี้.

 

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org




นานาสาระ: เล่าเรื่อง “บุญสิทธิ์” กับเคล็ดลับทำบุญให้รวยเพราะเล่นหุ้น

[1] ดังที่ข้าพเจ้าได้เคยอธิบายไว้แล้วว่า เวลาบุคคลทำบุญ เทวดาภาคผู้เลี้ยงจะรายงานข้อมูล กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ป้อนเข้าเครื่องธาตุเครื่องธรรม เพื่อคำนวณตั้งแผนผังอานิสงส์แห่งกรรมดี และเบิกจ่ายบุญอันพึงได้ สำหรับหล่อเลี้ยงแผนผังให้เป็นจริงในอนาคต ทั้งนี้โปรแกรมกฎแห่งกรรม ซึ่งเป็นโปรแกรมระบบพื้นฐานการทำงานของเครื่องธาตุเครื่องธรรม จะทำงานบนบรรทัดฐานคือ “ประกอบเหตุเยี่ยงไร ก็ได้รับผลเยี่ยงนั้น”

[2]  ทั้งนี้แล้ว เมื่อบุคคลทำบุญ จึงมี “เงื่อนไขพันธะแห่งบุญนั้นๆ” ซึ่งในที่นี้เราเรียกว่า “สิทธิ์” ซึ่งโดยมโนทัศน์แล้ว ก็คล้ายๆ “ลิขสิทธิ์” หรือ “สิทธิบัตร” ที่ทำให้ผู้ถือหรือครอบครอง มีสิทธิ์อันชอบธรรมในการแสวงหาผลประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ ฉันใดก็ฉันนั้น “สิทธิ์แห่งบุญ” หรือ “บุญสิทธิ์” ก็คือเงื่อนไขพันธะแห่งกรรมที่ผูกพันอานิสงส์ ตามแผนผังที่เครื่องธาตุเครื่องธรรมกำหนดขึ้น

[3]  ยกตัวอย่างเช่น บุคคลฝากเงินทำบุญไปกับญาติธรรมที่มาเรี่ยไรบอกบุญ เครื่องธาตุเครื่องธรรมจ่ายบุญธาตุให้ผู้ทำบุญ และกำหนดแผนผังให้ผู้ทำบุญร่ำรวยขึ้น โดยมี “สิทธิ์” ติดค้างอยู่ที่ผู้บอกบุญ เพราะถ้าเขาไม่มาบอก ก็จะไม่ได้ทำบุญ กล่าวคือ เมื่อถึงวาระกรรมส่งผล ด้วยสิทธิ์ติดค้างนั้น หากผู้ทำบุญจะรวยขึ้นมา ก็ต้องได้สมบัติผ่านมือญาติธรรมผู้นั้น ไม่สามารถรับเองได้โดยตรง อย่างเช่น สินค้าฝากขายแบรนด์ต่างๆ ในร้านสะดวกซื้อ ถ้าทางผู้ผลิตจะเปิดจำหน่ายขายเองก็ไม่ถนัด แต่ถ้าผลิตแล้วนำไปฝากขายตามร้านสะดวกซื้อ แล้วรับเงินรายได้ผ่านร้านสะดวกซื้อ ก็จะได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ หรือเหมือนบริษัทรับผลิตเสื้อผ้าแบบ OEM ให้กับสินค้าแบรนด์เนม ซึ่งถ้าจะผลิตแบรนด์ตนเองก็ขายไม่ค่อยได้ ต้องรับจ้างผลิตให้แบรนด์ต่างประเทศ ถึงจะมีกำไรดี นี้เป็นตัวอย่างการทำงานของ “บุญสิทธิ์” ที่ติดค้างกันและกันอยู่ในแผนผังตามโปรแกรมกฎแห่งกรรม

[4] เมื่อเราทราบดังนี้แล้ว แน่นอนว่า คนส่วนใหญ่ทำบุญก็หวังจะเป็นอิสระทางการเงินและสมบัติ ไม่มีใครอยากติดค้างสิทธิ์กับใคร การทำบุญระหว่างผู้ทรงวิชชาจึงสามารถ “เล่นสิทธิ์” กันได้ เช่น “โอนสิทธิ์” และ “คืนสิทธิ์” ซึ่งการเล่นสิทธิ์นั้น บางท่านก็ไม่นับเข้าว่าเป็นวิชชา แต่เป็นเสมือนภาษาโปรแกรมของ “กรรมพันธะ” เหมือนเราซื้ออีบุค หรือหนังสืออิเลคทรอนิคส์ หรือภาพถ่าย คลิปวิดิโอ แอพพลิเคชั่นโทรศัพท์สมาร์ทโฟน หรือแม้แต่ซอฟท์แวร์ และแพลทฟอร์มต่างๆ แล้วผู้ผลิตหรือผู้สร้างเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่งหน้าจอแจ้งว่ามีรายละเอียดภาระผูกพันทางลิขสิทธิ์กันอย่างไรบ้างกับผู้ใช้งาน  ซึ่ง “บุญสิทธิ์” ก็เป็นทำนองเดียวกันอย่างนั้น

[5] ด้วยเหตุนี้ เวลาทำบุญ ผู้ทรงวิชชาสามารถตกลงกันและกันได้ว่า จะโอนสิทธิ์ แลกสิทธิ์ ระงับสิทธิ์ หรือคืนสิทธิ์ ต่อกันและกันได้ เป็นการกำหนดโปรแกรมแผนผังด้วยวิชชาแบบปลายทาง กล่าวคือ หากสำนักวิชชาจะรับเงินบริจาคจากผู้บริจาครายใดรายหนึ่งเป็นจำนวนมากๆ เพื่อสร้างศาลา ก็จะติดค้างสิทธิ์บุคคลผู้นั้นเป็นอันมาก กลายเป็นหนี้บุญคุณก้อนใหญ่ เมื่อกรรมส่งผล บุคคลผู้บริจาคนั้นก็จะมีบทบาทสำคัญและอิทธิพลต่อสำนักวิชชา ซึ่งบางสำนักก็กังวลหรือไม่สะดวกใจ ผู้ทำบุญจึงสามารถแลกสิทธิ์ เพื่อมอบสิทธิ์ติดค้างคืนให้กับทางสำนัก แล้วขอแลกเปลี่ยนเป็นสิทธิ์อย่างอื่น หรือโอนสิทธิ์จากตน ไปยังคนใกล้ชิดของสำนักวิชชา อย่างสมประโยชน์ หรือระงับสิทธิ์ คือไม่ให้ภาระผูกพันนั้นทำงานตามกฎแห่งกรรม เพื่อแลกกับประโยชน์ใดอื่น หรือคืนสิทธิ์ คือมอบสิทธิ์กลับคืนให้กับทางสำนัก ดังนี้แล้ว เมื่อถึงวาระกรรมส่งผล บุคคลที่เป็นผู้บริจาค ก็จะพ้นจากภาระผูกพันในการส่งผลของกรรม

[6] ยกตัวอย่างเช่น ทางสำนักวิชชาจะจัดให้มีการทอดกฐินสามัคคีเพื่อสร้างศาลา แล้วมีเจ้าภาพรายใหม่ท่านหนึ่งจองเป็นประธานเอก แล้วเจ้าภาพรายใหม่นี้ก็ตั้งต้นกฐินส่งไปตามสถานที่ต่างๆ หลายแห่ง เพื่อระดมทุนรับบริจาค เมื่อถึงวันจะทอดกฐินก็ไปรับต้นกฐินซึ่งมีประชาชนผู้ร่วมบริจาคทรัพย์ติดต้นกฐินกลับมา เมื่อถึงวันงานก็นำผ้ากฐิน พร้อมต้นกฐินไปประเคนถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ณ สำนักวิชชา ด้วยมือของตน เป็นอันเสร็จสิ้นการทอดกฐินสามัคคี ดังนี้แล้ว เมื่อกรรมส่งผล เจ้าภาพรายใหม่ท่านนี้จะได้เป็นประธานบริษัทมหาชน แล้วประชาชนที่ทำบุญติดต้นกฐิน จะได้เป็นผู้ถือหุ้น มีรายได้จากเงินปันผล เวลาประชาชนจะได้ทรัพย์มา ก็ต้องได้เพราะเจ้าภาพรายใหม่นั้นทำหน้าที่ประธาน

[7] ถ้าหากมีการเล่นสิทธิ์ อย่างการโอนสิทธิ์ หรือคืนสิทธิ์ กรรมผูกพันระหว่างบุคคลเหล่านี้ก็เป็นอันผันแปรไปหรือหมดไป โดยการคืนสิทธิ์นี้สามารถทำได้โดยผู้ทรงวิชชาที่ชำนาญเรื่องสิทธิ์ แล้วจะสามารถทอนค่าสิทธิ์กลับคืนเป็นธาตุบุญได้อีกประมาณ 20% เพิ่มเติมจากปริมาณบุญสุทธิ ฉะนั้น เมื่อกรรมส่งผล ก็จะมีการขายแล้วโอนหุ้นไปยังผู้อื่นแล้วกำไรเงินสดเพิ่ม หรือบริษัทมอบหุ้นให้พนักงาน แล้วซื้อคืนหุ้นในราคาสูงกว่าปกติ หรือเปลี่ยนมือผู้บริหาร ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายใหม่ หรืออาจถึงขั้นขายกิจการได้กำไรเงินก้อนโต หรือควบรวมกิจการ หรือเลิกกิจการ แล้วขายทรัพย์สิน ได้กำไรมาแบ่งกัน ทั้งนี้เป็นเพราะ “บุญสิทธิ์” ที่คอยกำกับภาระผูกพันระหว่างฝ่ายต่างๆ ในวาระแห่งกรรม ได้มีการผันแปรและ/หรือหมดไปนั่นเอง ดังฉะนี้.


โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง กลิ่นทิพย์ รัศมีทิพย์ และเสียงทิพย์ ของกายมนุษย์

[1] สังคมมนุษย์ยุคปัจจุบันนั้น มีเรื่องราวเกี่ยวกับ “ทิพย์ๆ” อยู่มากมาย แต่ท่านรู้หรือไม่ว่า “ความเป็นทิพย์” บางอย่างนั้นมีติดตัวมนุษย์อยู่จริง และสามารถสัมผัส รับรู้ได้โดยผู้ทรงวิชชา ที่มีหูทิพย์ ตาทิพย์ ฯลฯ และพระภูมิเจ้าที่ เทวดา ผีสาง นางไม้ ทั้งบนผืนโลก และบนสรวงสวรรค์ ซึ่งในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะขอเอ่ยถึง กลิ่นทิพย์, รัศมีทิพย์, และเสียงทิพย์ ของกายมนุษย์ ซึ่งทำให้เป็นที่ประทับใจ และยินดี ของกายทิพย์ กายละเอียดทั้งหลาย ที่ได้ประสบพบเห็น

[2]  ในกายมนุษย์นั้น มีดวงสภาวธรรมหนึ่ง ในบรรดาอะไหล่ทั้งหลาย อย่างดวงศีล ดวงปัญญา ดวงบุญ ดวงบารมี และอื่นๆ นั่นก็คือ “ดวงสุคนธา” ซึ่งเป็นดวงบรรจุภัณฑ์ที่ทำหน้าที่เก็บสะสม “ไอหอม” โดยมีระดับขั้นต่างๆ จากน้อยไปมาก เฉกเช่นเดียวกับดวงบารมี ที่มีแก่มีอ่อน นับตั้งแต่ สุคนธา, เสาวคนธ์, สุวคนธ์, และ รสสุคนธ์ และในดวงสุคนธานี้มียนต์กลไกทิพย์ที่เรียกว่า “เครื่องสุคนธา” ซึ่งทำหน้าที่ปรุง “มวลมโนรส” ให้เป็นกลิ่นต่างๆ ที่รับรู้ได้ด้วยใจ เรียกว่า “หอมใจ”

[3]  เครื่องสุคนธาจะทำงานเมื่อ (1) บุคคลทำบุญด้วยของหอม เช่นดอกไม้สด อย่างดอกมะลิ จำปี จำปา ปีบ กุหลาบ น้ำอบ น้ำปรุง ธูปหอม เทียนหอม กำยาน (2) ประพฤติธรรม อันประกอบด้วย ศีล, สมาธิ, ปัญญา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือศีล และการกล่าวสัมมาวาจา จะมีผลด้านกลิ่นทิพย์เป็นอันมาก) (3) การละเว้นอธรรม อย่างเช่นการดื่มสุรา การเสพเมถุน การพูดคำหยาบ ซึ่งจะมีผลทำให้กายไม่มีกลิ่นทิพย์ที่เหม็น (4) วจีกรรม ซึ่งอาศัยลมหายใจ ในการเปล่งออกเสียง แล้วเสียงนั้น สร้างความสุขสบายใจให้ผู้อื่น (5) วิชชา คือการอาศัยความรู้เกี่ยวกับญาณ เพื่อปรับปรุงกลิ่น เช่นการกลั่นดวงสุคนธาให้สะอาดมีอานุภาพมากขึ้น รวมถึงมรรคผล (6) การอธิษฐานจิต คือการใช้บุญกำหนดแผนผังให้เป็นไปตามปรารถนา

[4]  โดยปกติแล้ว บุคคลทำบุญอย่างไร ก็จะได้กลิ่นทิพย์แผ่ออกมาอย่างนั้น มากบ้าง น้อยบ้าง ตามบุญที่ทำไว้ เช่นทำบุญหรือบูชาพระด้วยดอกจำปา ก็จะมีกลิ่นทิพย์หอมกลิ่นเดียวกับดอกจำปา เพียงแต่จะประณีตกว่า ละเอียดละเมียดละมัยกว่า ส่วนการรักษาศีล ประพฤติธรรม จะทำให้มีกลิ่นหอมสะอ้านๆ เป็นที่โปร่งใจ สบายใจ ส่วนการละเว้นอธรรม ก็จะทำให้ไม่มีกลิ่นเหม็น ซึ่ง “ดวงเหม็น” ก็เป็นอะไหล่อีกอย่าง ที่คอยสร้างและเก็บกลิ่นทิพย์ที่เหม็น แผ่ออกไปจากกายมนุษย์ เปรียบเสมือน “ต่อมเหม็น” ที่มีติดตัวสัตว์บางประเภท

[5]  หากบุคคลรักษาศีลดี ประพฤติธรรมโดยชอบ ก็จะมีกลิ่นสะอ้านเป็นพื้น และเมื่อทำบุญด้วยของหอม ก็จะมีกลิ่นหอมจากดวงสุคนธาเสริมเพิ่มขึ้นมา ทำให้หอมใจมาก และสบายจมูก ไม่หอมปนกลิ่นสาบสาง หรือหอมตุๆ อย่างคนทุศีล ที่ทำบุญด้วยของหอม เหมือนเข้าห้องน้ำต่อจากบุคคลเพิ่งถ่ายหนักเสร็จ โดยในห้องน้ำมีกระปุกเจลหอมระเหยปรับอากาศกลิ่นดอกไม้วางอยู่ แม้เราจะได้กลิ่นหอม แต่ก็มีความเหม็นที่รับรู้ได้อยู่ในตัวไปพร้อมๆ กัน

[6]  อย่างไรก็ตาม การทำบุญด้วยของหอม เพื่อให้ดวงสุคนธาผลิตและส่งไอกลิ่นหอมแผ่ซ่านออกมาจากกายนั้น ปกติแล้วจะได้คราวละเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าทำกับพระอริยบุคคล หรือผู้ทรงวิชชา ก็จะมีอานิสงส์มากแบบฉับพลัน คือทำปุ๊บ กลิ่นทิพย์ก็แผ่กว้างออกมาในเวลาไม่นาน

[7]  ในแง่ของวจีกรรม เครื่องสุคนธานั้น จะปรุงกลิ่นตามเหตุและปัจจัยที่บุคคลประกอบขึ้น ทำให้มีกลิ่นไปต่างๆ นาๆ ตามเหตุที่ทำเอาไว้ ยกตัวอย่างเช่น พระที่ชอบเทศน์ขำขัน แต่เป็นอรรถเป็นธรรม ดวงสุคนธาจะปรุงกลิ่นหอมอมเปรี้ยว เหมือนสเปรย์ปรับอากาศกลิ่นผลไม้รวม หรือมิกซ์เบอรี่ ส่วนคนที่พูดจาไพเราะช่างจำนรรจา จะมีกลิ่นหอมหวาน อย่างเช่นดอกลิลลี่ หรือดอกซากุระ ส่วนบางคนที่ทำบุญแล้ว อธิษฐานให้มีกลิ่นหอม ก็จะได้เมื่อกรรมส่งผล ขึ้นอยู่กับว่าการตั้งแผนผังด้วยโปรแกรมกรรมนั้น ตรงกับการกระทำหรือไม่ เช่นถวายดอดบัวแด่พระสงฆ์ แล้วอธิษฐานขอให้กลิ่นกายหอมเหมือนดอกบัวที่ถวาย เหตุที่ประกอบไว้ กับผลกรรมที่ขอก็จะตรงกัน และมีผลมากกว่า

[8]  กลิ่นหอมทิพย์นี้ มีผลทำให้ผู้ได้กลิ่นเบิกบานใจ หรือสงบใจ หรือชื่นใจ แตกต่างกันไป ทำให้มีผลในทางวิชชา คือใจเป็นสุข สามารถเข้าวิชชาได้ง่ายและราบรื่น ซึ่งผู้ทรงวิชชาบางท่าน ที่ประสาทรับรู้ไว จะได้กลิ่นสาบสาง หรือกลิ่นเหม็น ของคนทุศีล เมื่อเข้ามานั่งใกล้ๆ กันในบุญพิธี บางท่านอาจถึงขั้นต้องลุกเดินหนี ไปนั่นที่อื่น เพราะรบกวนสมาธิในขณะประกอบพิธีงานบุญ ซึ่งมนุษย์ส่วนใหญ่แล้วจะมีกลิ่นกายเหม็น และไม่พึงประสงค์ต่อเทวดาจากบนสวรรค์ ที่ลงมาร่วมงานบุญตามคำเชิญและการบวงสรวง เพราะร่างกายมนุษย์มีปฏิกูลบรรจุอยู่ และยิ่งถ้าหากมนุษย์ทุศีลด้วย กายมนุษย์ก็จะมีกลิ่นทิพย์ที่เหม็น ทำให้เทวดาไม่กล้าเข้าใกล้ เพราะเทวดาคุ้นกับการเสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ที่มีแต่ความหอมหวนสว่างไสว พอได้กลิ่นอับ กลิ่นสาบสักเล็กน้อย ก็รู้สึกว่าจะทนได้ยาก ยกเว้นเทวดาชั้นต้น ประเภทพระภูมิเจ้าที่ ซึ่งคุ้นเคยกับมนุษย์บนผืนโลก

[9]  สำหรับ “รัศมีทิพย์” นั้น ก็เป็นทำนองเดียวกันกับกลิ่นทิพย์ คือมี “ดวงรัศมี” ประจำอยู่ในแต่ละกาย ทั้งกายธรรม และกายจักรพรรดิ มีลักษณะคล้ายหลอดไฟแรงเทียน ที่มีไส้หลอดไฟคอยส่องสว่าง แล้วมีพลังงานจ่ายเลี้ยง เพื่อให้ทำงาน โดยรัศมีทิพย์ จะเกิดจากมูลเหตุหลักๆ คือ (1) บุญที่สั่งสมไว้มาก ล้นออกมาเป็นรัศมี ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงที่ได้บุญมาใหม่ๆ (2) ธรรมที่ประพฤติ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มีอานิสงส์ทำให้รัศมีทิพย์สว่างขึ้น (3) การละเว้นอธรรม ซึ่งส่งผลให้รัศมีกายดับ หรือขมุกขมัว (4) กรรมดีด้านแสงสว่าง เช่นบูชาพระรัตนตรัยด้วยการจุดเทียน จุดประทีป โคมไฟ ทำบุญค่าไฟฟ้า หลอดไฟ ไปถึงการอนุโมทนากับพระอาทิตย์ พระจันทร์ หมู่ดาวสว่าง ที่เป็นคุณ และการ “จ่าย” หรือ “สนับสนุน” พระอาทิตย์ พระจันทร์ และหมู่ดาวสว่างที่เป็นคุณ ให้ทำหน้าที่ส่องสว่างเพื่อยังคุณประโยชน์ให้เกิดขึ้น (5) วิชชา ซึ่งเป็นความรู้ในการเพิ่มรัศมีทิพย์ด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ รวมถึงมรรคผล (6) การอธิษฐานจิต คือการใช้บุญกำหนดแผนผังให้เป็นไปตามใจปรารถนา

[10]  ดวงรัศมีนั้น ก็มี “เครื่องรัศมี” ที่ปรุงความสว่างให้มีคุณลักษณะแตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัยในข้อ (1) ถึง (6) ในแต่ละบุคคล โดยที่ผู้ทำบุญเนื่องด้วยสี เช่นดอกไม้หลากสี ธงหลากสี เสื้อผ้าหลากสี ผลไม้หลากสี รุ้งกินน้ำ และอื่นๆ ก็จะเป็นมูลเหตุ ให้เครื่องรัศมีปรุงเป็น “รังสี” คือรัศมีสีต่างๆ ที่จะติดตัวผู้กระทำไปในแต่ละกายจากละเอียดถึงหยาบ ในทำนองเดียวกันกับดวงสุคนธา และดวงรัศมีก็มีขั้นต่างๆ จากน้อยไปมากเหมือนกัน เช่น จุลรัศมี, มหารัศมี, บรมรัศมี, อุดมรัศมี ซึ่งโดยมากแล้วจะวัดกันโดยระยะทางและความแรง ของรัศมีทิพย์ที่แผ่ออกไปจากกายของบุคคล ตั้งแต่อาภา, ประภา, ประภัสสรา ส่วนรังสีถือเอาตามสีสันของรัศมีที่แผ่ออกไป เช่น สุวรรณรังสี สัตรังสี อเนกรังสี อนันตรังสี หากบุคคลประพฤติธรรมดี แล้วทำบุญด้านแสงสว่างและสี รัศมีก็จะสวยเด่นมากยิ่งขึ้น อุปมาเหมือนการนำผ้าขาวสะอาด (มีศีล) มามัดย้อมสี (ทำบุญด้วยสี) ก็จะได้ผ้าลายที่สีสวยกว่า (รังสี)

[11]  ทั้งกลิ่นและรัศมีทิพย์นั้นมีผลต่อวิชชา เพราะกลิ่นดี รัศมีสวยๆ มีผลต่อใจของผู้เป็นเจ้าของและผู้ประสบพบเห็น อีกทั้งทำให้ใจสงบสบายเป็นสุข เหมาะต่อการเจริญวิชชา และยังมีตำแหน่งเจ้าประกาศิตของเทวดา และตำแหน่งที่นับถือกันในวิชชา ว่าเป็น “เจ้า” หรือ “จอม” สุคนธา/รัศมี/รังสี เป็นที่เคารพนับถือ ยกย่อง และให้เกียรติกันอีกด้วย อนึ่ง กลิ่นทิพย์อันหอม และรัศมีที่แผ่กว้างนั้น หากแผ่ออกมาพร้อมกันด้วยแล้ว ยิ่งเป็นที่ประเสริฐ คือทั้งสว่าง และทั้งหอมในเวลาเดียวกัน ส่วนบางท่านก็มีรัศมีที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการที่ “อายตนะ” ในการเห็น เกิดตรงกันกับคลื่นความถี่รัศมีที่แผ่ออกมา ทั้งนี้รวมถึงกลิ่นทิพย์ ซึ่งบางครั้งก็เกิดขึ้นได้เพราะผู้ทรงวิชชา “เปิดรัศมี” คือการ “เปิดอายตนะ” ให้รับรู้กันได้ แต่บางครั้งก็เป็นเรื่องบังเอิญ อย่างเช่นตอนตื่นนอนใหม่ๆ อารมณ์ใกล้เคียงใจเป็นสมาธิอ่อนๆ

[12]  มีผู้ทรงวิชชาบางท่าน พยายามที่จะแก้หรือดัดแปลงเครื่องรัศมี และเครื่องสุคนธา ทำให้เครื่องเสีย หรือบกพร่อง เดินเครื่องสะดุด ทำให้กายเสียหายหรือชำรุดบกพร่อง เป็นอันตรายต่อชีวิตและความเป็นอยู่ เพราะเครื่องในไส้ทำงานเชื่อมโยงถึงกันเป็นระบบ หรือบางท่านพอจะแก้เครื่องได้ แต่รัศมีและกลิ่นก็แปลกๆ ทำให้ผู้ทรงวิชชาอื่นๆ ขำขัน ว่าโกงรัศมีกับกลิ่นทิพย์ การแก้หรือดัดแปลงเครื่องจึงเป็นปัญหา ประกอบกับเครื่องนั้นติดตั้งอยู่เฉพาะกายหนึ่งๆ ไม่ได้ติดไปทุกกายเหมือนการได้รัศมีและกลิ่นทิพย์ตามธรรมชาติ

[13]  นอกจากดวงสุคนธา และดวงรัศมีแล้ว มนุษย์เรายังมี “แก้วเสียงทิพย์” คือส่วนละเอียดของ “เครื่องออกเสียง” ที่สถิตอยู่ ณ กล่องเสียงของแต่ละคน โดยแก้วเสียงทิพย์จะทำงานควบคู่ไปกับกล่องเสียง เหมือน “ใจ” ที่ทำงานสัมพันธ์ควบคู่กันไปกับ “อวัยวะหัวใจ”

[14]  บุคคลที่ทำกรรมดีด้านเสียงมา อย่างเช่นการพูดไพเราะ และกล่าววาจาสุภาษิต จะมีกล่องเสียงและแก้วเสียงทิพย์ที่ดี ทำให้มีเสียงไพเราะ แต่กล่องเสียงและแก้วเสียงทิพย์จะต้องเข้ากันได้ดี เหมือนเบ้าเตาหุงอาหาร ต้องวางหม้อแกงได้เหมาะสมพอดีกัน ถ้าเบ้าเตาใหญ่ แต่หม้อแกงใบเล็ก พอวางลงก็เอียงข้างไป ฉันใดก็ฉันนั้น กล่องเสียงของกายมนุษย์ เป็นเสมือนเบ้า ที่จะต้องสวมแก้วเสียงทิพย์ได้พอดิบพอดี จึงจะออกเสียงอย่างไพเราะได้เข้ากัน ส่วนบุญจากการใช้เสียงทำความดีเป็นประจำ และวิชชา จะสามารถทำให้แก้วเสียงทิพย์ดีขึ้นได้ในปัจจุบัน แต่ถ้าหากกล่องเสียงยังเป็นของเดิมตามที่ได้ยามเกิดนั้นไม่ค่อยดี เสียงก็จะไม่ดีขึ้นเสมอไป เพราะแก้วเสียงทิพย์ กับกล่องเสียง ยังไม่เข้ากัน เพราะกล่องเสียงนั้นยังต้องเป็นไปตามบุพกรรมและสังขารที่เจริญและเสื่อมตามวัย

[15]  แก้วเสียงทิพย์นั้นเป็นอะไหล่ยนต์ทิพย์ของกายมนุษย์ ที่สายธาตุสายธรรมสามารถเรียกเก็บกลับคืนได้ยามละสังขาร เช่นเดียวกับดวงใจ ดวงบุญ ดวงบารมี ดวงรัศมี ดวงสุคนธา รัตนะ 7 ของทิพย์ และอื่นๆ  แล้วถ้าธาตุธรรมจะส่งกายมนุษย์ลงมาเกิดใหม่อีกครั้ง ก็สามารถประชุมใส่อะไหล่เหล่านี้ กลับลงมาใช้อีกครั้งได้ ถ้าบุคคลมีกล่องเสียงดี และแก้วเสียงทิพย์ดี ก็จะมีเสียงไพเราะที่รับฟังได้ด้วยโสตประสาทของมนุษย์ และทิพยโสตของกายทิพย์ กายละเอียดทั้งหลาย เพราะคลื่นเสียงที่เปล่งออกมา มีความสงบ และเย็น เหมือนระลอกน้ำชุ่มเย็นในทะเลสาบที่สายลมพัดพากระทบฝั่ง ต่างจากผู้ที่กล่าววาจาทุภาษิตหรือโกหกอยู่เป็นประจำ ซึ่งจะมีคลื่นเสียงที่หยาบ คล้ายคลื่นความถี่ต่ำ ที่รบกวนโสตประสาทเทวดา ราวกับคลื่นอันรุนแรงของทะเล ที่ถาโถมเข้าสู่หน้าผา

[16]  อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมนุษย์มีหลายภาษา บางคนสามารถพูดภาษาหนึ่งได้อย่างไพเราะน่าฟัง ในขณะที่พูดอีกภาษาหนึ่งแล้วเสียงไม่เพราะ ทั้งนี้เพราะแต่ละคนมีกล่องเสียงและแก้วเสียงทิพย์ ที่สามารถพูดภาษาที่มีลักษณะการออกเสียงและเปล่งเสียงต่างๆ ได้ไม่เหมือนกัน บางคนจึงพูดภาษาไทยได้เพราะ ในขณะที่บางคนพูดภาษาอังกฤษแล้วฟังไพเราะกว่าภาษาไทย

[17]  มีผู้ทรงวิชชาอยู่บ้างบางท่านที่พยายามจะดัดแปลงแก้ ดวงสุคนธา ดวงรัศมี และแก้วเสียงทิพย์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ในภายหลัง แต่ข้าพเจ้ามีวิธีแก้ไข ด้วยการ “เปลี่ยนอะไหล่” เหล่านี้ โดยอาจแลกหรือจ่าย หรืออื่นๆ อย่างเช่น เปลี่ยน หรือแลก ดวงสุคนธา และดวงรัศมี รวมถึงดวงเหม็น และดวงรัศมีอธรรม ต่างๆ ซึ่งวิธีการเหล่านี้ เป็นวิธีการที่ข้าพเจ้าสงวนลิขสิทธิ์ไว้ แต่ก็อาจจะเป็นที่ขำขันและดูถูกดูแคลนของผู้ทรงวิชชาท่านอื่นๆ เมื่อทราบว่า มีการโกงสุคนธา และรัศมี หรือแก้วเสียงทิพย์กัน ดังฉะนี้.


โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


ปกิณกะความเรื่องรัศมีทิพย์ของกายมนุษย์:

มีอยู่วันหนึ่งผมจะเข้านอน ได้วางนาฬิกาปลุกเอาไว้ใกล้ๆ โดยนาฬิกาปลุกนี้มีพรายน้ำด้วย ในขณะที่แสงไฟปิดหมดนานแล้ว และห้องก็มืด ผมนอนไปได้สักพัก ก็หันมาดูนาฬิกา ปรากฏว่าพรายน้ำสีเขียวส่องสว่างอยู่พอควร ผมจึงนึกแปลกใจ ว่าห้องก็มืดนานแล้ว แล้วแสงพรายน้ำมาจากไหน จึงทราบว่า สารเรืองแสงบนหน้าปัดนาฬิกา ดูดซับรัศมีที่แผ่ออกจากร่างกายผมไปเก็บไว้ขณะผมนอนอยู่ เมื่อดูดรัศมีมากพอ จึงสะท้อนออกมาได้

ในโอกาสที่ใจของผมเผลอๆ ไม่ได้ตั้งใจ เมื่อปิดไฟในห้องเพื่อเข้านอน ช่วงระหว่างสายตากายมนุษย์หยาบกำลังปรับตัวเข้ากับความมืด ผมก็มักจะเห็นรัศมีของตนเองเป็นมวลนวลๆ แผ่ออกจากกายเป็นระลอกๆ ถี่ๆ เหมือนตอนถ่ายภาพจอคอมพิวเตอร์แล้วเห็นหน้าจอส่งแสงออกมาแบบถี่ๆ ครับ และถ้าหลับตาลงให้สนิท แล้วนำฝ่ามือมาอังที่บริเวณดวงตา ผมก็จะสัมผัสได้ถึงพลังและรัศมีที่แผ่ออกจากฝ่ามือมากระทบดวงตา สิ่งเหล่านี้ทำให้ผมมั่นใจว่า รัศมีทิพย์นั้นมีจริง และเป็นแรงบันดาลใจให้ผมรจนาบทความเรื่องรัศมีทิพย์ขึ้น

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผมเคยถูกฝ่ายสำนักคลองสาม "เก็บรสสุคนธ์" มาแล้ว ผมจึงดำริที่จะนำรัศมีทิพย์ กลิ่นทิพย์ เสียงทิพย์ และอะไหล่ทิพย์ส่วนใหญ่ต่างๆ ไปประชุมรวมเก็บไว้กับกายในละเอียดๆ ของสายธาตุสายธรรม เพราะถ้าเก็บไว้กับกายมนุษย์ ก็อาจจะโดนรังแกอีกครับ ที่เหลืออยู่กับกายมนุษย์นั้นผมจะพยายามให้มีเพียงส่วนน้อย เมื่อเทียบกับกายในวิชชา ซึ่งจะมีเป็นส่วนใหญ่ครับ.

 

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง “บริวารบุญ” ในทรรศนะของวิชชา

ชาวพุทธส่วนใหญ่คงได้เคยฟังพระเทศน์เรื่อง “บริวารบุญ” ซึ่งมีเนื้อหามาจากพระไตรปิฎกว่า หากบุคคลชักชวนผู้อื่นทำบุญ ก็จะทำให้มีพวกพ้องมาก และได้เป็นผู้นำหมู่คณะ เป็นเหตุให้มีชาวพุทธจำนวนไม่น้อย ที่สนุกสนานกับการเรี่ยไรเชิญชวนญาติมิตรมาร่วมการบุญการกุศลกับตน เวลามีการทำบุญเช่นหล่อพระพุทธรูป ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สร้างวัด สร้างศาสนสถาน ฯลฯ

ทั้งนี้ การจะทำหน้าที่ผู้เรี่ยไร แล้วได้เป็นผู้นำด้วยนั้น ผู้เรี่ยไรจะต้องเป็นหัวหน้าของงานบุญพิธีนั้นด้วย เช่นเป็นประธานทอดกฐิน แล้วนำซองออกเรี่ยไร ดังนี้แล้ว ก็จะได้เป็นผู้นำ ที่มีบริวารบุญ ซึ่งในที่นี้ มิได้หมายถึงผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเสมอไป แต่เป็นพรรคพวกเพื่อนพ้อง ญาติมิตร ซึ่งต่างคน ต่างก็ร่ำรวย เพราะทำบุญมาด้วยกัน ไม่ใช่ว่ามาเกิดเป็นข้าทาสบริวารเสมอไป

สำหรับคนที่ออกเรี่ยไรรับเงินบริจาคโดยไม่ได้เป็นหัวหน้างานบุญและไม่ทำทานเอง จะอยู่ในฐานะ “ผู้นำบุญ” หรือ “ผู้ประชาสัมพันธ์บุญ” ซึ่งเมื่อกรรมส่งผล ก็จะมีลาภจากการเป็นนายหน้า หรือเป็น “โบรคเกอร์” ซึ่งแนะนำให้ผู้อื่นลงทุน ได้กำไร แล้วตนเองเก็บส่วนแบ่งค่านายหน้า แต่ถ้าผู้นำบุญ หรือผู้ประชาสัมพันธ์บุญได้รับเงินเดือนหรือส่วนแบ่งจากการออกเรี่ยไรรับบริจาค ก็จะมีลาภในการทำหน้าที่นายหน้าโดยตนเองต้องจ่ายเงินเพื่อทำหน้าที่นั้นๆ เช่นค่าธรรมเนียมใบอนุญาต หรือหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ คนออกเรี่ยไรรับบริจาคจะได้เป็นผู้นำถ้าหากเขาหรือเธอได้เป็นประธานในบุญพิธีด้วย มิฉะนั้นก็ได้เป็นเพียงผู้ประสานงาน แต่มีหลายกรณี เพราะขึ้นอยู่กับว่า คนที่มาทำบุญด้วย มีบุญมากกว่า หรือน้อยกว่าผู้บอกบุญ

สำหรับสมบัติอันเป็นทิพย์นั้น ผู้ที่เป็นหัวหน้าการทำบุญ ซึ่งออกเงินทำบุญ และออกเรี่ยไรรับบริจาคด้วยตนเอง จะได้บุญไปเต็มๆ และอานิสงส์ก็คือจะทำให้ได้เกิดเป็นผู้นำผองชน ที่มีทรัพย์สมบัติ และมีบริษัทบริวาร สมัครพรรคพวก เพื่อนพ้อง ญาติมิตร เป็นผู้มีบุญด้วยกัน เป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าเป็นประธานบุญพิธีที่ถูกเชิญมาเป็นเกียรติ แล้วประธานไม่ได้บริจาคสมทบ ก็จะได้เป็นผู้นำ ที่ไม่ร่ำรวย สำหรับทิพยสมบัติ ก็จะมีวิมานเป็นของตนเอง โดยบริวารในวิมานก็มีทั้งที่เป็นกายสิทธิ์ และเป็นมนุษย์ หรือสัตว์มาเกิดเป็นบริวาร (ในกรณีที่ผู้ร่วมทำบุญกับหัวหน้าบุญ มีบุญไม่มากพอ)

ส่วนบริวารสมบัติอีกประเภท ที่จะมาเกิดเป็นข้าทาสบริวาร ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือคนรับใช้ มักจะมาจากบุญช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสต่างๆ เช่นคนป่วยอนาถา คนยากจน กระยาจก คนพิการ คนขาดการศึกษา คนชรา เด็กกำพร้า คนและสัตว์ร่อนเร่และอื่นๆ ซึ่งผู้ที่ทำบุญกับบุคคลต่างๆ ลักษณะดังที่กล่าวมานี้ มักจะได้ผู้ที่ตนเคยช่วยเหลือไว้ มาเกิดเป็นข้าทาสบริวารคอยรับใช้ เพื่อตอบแทนพระคุณ แต่ผู้ที่ทำบุญกับผู้ด้อยโอกาสเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะมีเมตตากรุณาเอ็นดูเกื้อกูลผู้อื่น จึงไม่ปฏิบัติต่อผู้ด้อยโอกาสอย่างข้าทาสบริวาร ยกเว้นบางท่าน และเมื่อต่างคนต่างละโลกไป ผู้ด้อยโอกาสก็มักจะมาเกิดเป็นบริวารในวิมานของผู้ทำบุญสาธารณกุศลเหล่านั้น โดยเป็นบริวารที่มาจากอัตภาพแห่งการเป็นมนุษย์ มิใช่กายสิทธิ์

ถ้าบุคคลทำบุญได้ตำแหน่งประธาน, รองประธาน หรือกรรมการ หรืออื่นๆ จากทางวัดหรือองค์กร หรือคณะ แห่งบุญพิธี บุคคลจะลองหยิบสมบัติผู้เลี้ยงเนื่องด้วยตำแหน่งนั้นออกมาก็ย่อมได้ แต่ต้องหยิบหรือเรียกมา ก่อนงานเลิก คือในขณะกำลังมีตำแหน่งอยู่ในบุญพิธี เช่นขณะพระให้พร ดังฉะนี้.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

17 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง การอนุโมทนาบุญมีผลอย่างไรในทางวิชชา?

การอนุโมทนาบุญนั้นเป็นหนึ่งในบุญกริยาวัตถุ หรือทางมาแห่งบุญ 10 ประการ ซึ่งหลายท่านอาจสงสัยว่า บุญที่ได้จากการอนุโมทนา โอนมาจากเจ้าของบุญหรือไม่ ถ้ามีคนอนุโมทนากันมากๆ บุญของเจ้าของบุญจะไม่หมดไปหรือ?

ในทางวิชชานั้น ทั้งการอุทิศบุญ และการอนุโมทนาบุญ เป็นการกระทำกาย วาจา ใจให้เป็น “กุศลเพิ่มเติม” นั่นหมายความว่า มีจิตเป็นบุญให้ผู้อื่นมาร่วมยินดี (อุทิศบุญ) และมีจิตชื่นชมในบุญของผู้อื่น (อนุโมทนาบุญ) เป็นเหตุให้ได้บุญเพิ่มเติม เพราะเครื่องธาตุเครื่องธรรม นำ input คือกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เกิดจากการอุทิศบุญ และอนุโมทนาบุญนั้น มาคำนวณจ่ายบุญเพิ่มเติมอีก แต่บุญจะไม่แรงและแน่น เหมือนอย่างเนื้อบุญที่ได้ขณะทำบุญด้วยตนเอง  ทั้งนี้แตกต่างกันกับการ “แบ่งบุญ” ซึ่งทำกันในวิชชา เป็นการโอนเนื้อธาตุบุญให้กันและกันแบบหมดพร่องจากบุคคลหนึ่ง ไปเสริมเพิ่มให้อีกบุคคลหนึ่ง

สำหรับอานิสงส์ในทางวิชชาของผู้อนุโมทนาบุญนั้น โดยปกติแล้วจะส่งผลให้ผู้อนุโมทนาได้เป็น “บริวารบุญ” ของเจ้าของบุญ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ

(1)    อนุโมทนาเองแบบลอยๆ ได้เป็นบริวารแบบทั่วไป

(2)    อนุโมทนากับเจ้าของบุญ แล้วเจ้าของบุญตอบรับด้วยกายกรรม วจีกรรม และ/หรือ มโนกรรม ในรูปแบบใดๆ ซึ่งจะทำให้การอนุโมทนาบุญครบวงจร แต่กุศลจะแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความตั้งใจ และการเปล่งวาจา และการแสดงออกท่าทาง เช่นพนมมือรับ พร้อมกล่าว “สาธุครับ/ค่ะ” หรือถ้อยคำอื่นๆ และท่าทางอื่นๆ ที่ตอบรับการอนุโมทนานั้น

การอนุโมทนาทั้งสองประเภท จะส่งผลให้ผู้อนุโมทนาได้ไปเสวยสุขในวิมานและทิพยสมบัติของเจ้าของบุญในฐานะบริวาร แต่ไม่เสมอไป เพราะถ้าผู้อนุโมทนาก็มีบุญที่ทำเอาไว้เองมากพอ ก็จะมีวิมานและทิพยสมบัติเป็นของตน และมีส่วนของทิพยสมบัติและวิมานสมบัติที่ได้มาจากการอนุโมทนานั้นด้วย แต่อยู่ในวิมานของตนเองอีกเป็นการเพิ่มเติม

สำหรับส่วนหยาบหรือภายนอกนั้น การอนุโมทนาอยู่ฝ่ายเดียว โดยเจ้าของบุญไม่ได้รับรู้รับทราบ หรือตอบรับ เมื่อกรรมส่งผล เจ้าของบุญได้อานิสงส์เป็นเจ้าของกิจการธุรกิจ ส่วนผู้อนุโมทนาได้ทำงานเป็นลูกจ้างให้กับเจ้าของบุญ คือเจ้าของกิจการ ลูกจ้างหรือผู้อนุโมทนา จะมีเงินรายได้จากการทำงานให้ ในฐานะลูกจ้าง

การอนุโมทนาโดยร่วมบริจาคสมทบ จะทำให้ผู้อนุโมทนาได้เป็นหุ้นส่วนในกิจการ และมีตำแหน่งหน้าที่การงานอยู่ในกิจการด้วย โดยมีรายได้ทั้งจากการทำงานและเงินปันผลหุ้น

การอนุโมทนาอย่างเดียว โดยเจ้าของบุญรับทราบและกระทำสาธุการ ผู้อนุโมทนาจะได้ตำแหน่งสูงขึ้น ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าของกิจการ เช่นเป็นที่ปรึกษา หรือผู้ช่วย หรือกรรมการ ผู้อนุโมทนาจะมีรายได้จากการทำหน้าที่ประจำตำแหน่งที่เนื่องด้วยเจ้าของกิจการนั้น

การบริจาคสมทบแล้วอนุโมทนาโดยเจ้าของบุญรับทราบและกระทำสาธุการตอบ ผู้อนุโมทนาจะได้เป็นกรรมการผู้ถือหุ้น มีเงินปันผลหุ้นให้ใช้จ่าย และมีตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงกว่าพนักงานทั่วไป ซึ่งใกล้ชิด และเนื่องด้วยเจ้าของกิจการ เช่นกรรมการบริหาร

อานิสงส์ดังกล่าวมาข้างต้นนี้ อาจไม่ตรงตามนั้นเสมอไป เพราะมีเหตุปัจจัยส่งผลอื่นๆ ร่วมด้วย เช่นผู้อนุโมทนามีบุญใหญ่ๆ ที่ทำไว้เอง และเคยเป็นประธานงานบุญด้วยตนเอง โดยอธิษฐานมาว่าให้ได้เป็นผู้นำ หรือเป็นใหญ่ในงาน จึงไม่จำเป็นว่าจะต้องมาเป็นบริวารให้กับใครอื่น แต่อาจอยู่ในลักษณะผู้ถือหุ้น ที่ไม่ได้ร่วมบริหาร เช่นบริษัทโฮลดิ้ง ดังฉะนี้.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

17 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org     


นานาสาระ: เรื่อง การอธิษฐานขณะทำบุญนั้นถูกหรือผิด?

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า “บุญ” ที่เกิดขึ้นในใจเรานั้น เกิดขึ้นได้ 3 ระยะ คือ (ก) ก่อนทำ (ข) ขณะทำ และ (ค) หลังทำ โดยที่ส่วนใหญ่แล้ว บุญจะเกิดมากที่สุดในขณะทำ เพราะความครบถ้วนของวงจรการทำบุญ อย่างเช่นในกรณีของการทำทาน ผู้ให้ได้ส่งมอบทานวัตถุ และผู้รับได้รับไว้แล้ว และตลอดทั้ง 3 ระยะ (จะว่าตลอดเวลาก็ย่อมได้) เทวดาผู้เลี้ยง (ภาคผู้เลี้ยง) จะรายงาน กายกรรม, วจีกรรม, มโนกรรม ในแต่ละระยะเพื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องธาตุเครื่องธรรม ซึ่งประมวลข้อมูลป้อนเข้าทั้งหมด แล้วคำนวณกำหนดแผนผังของกรรมที่จะส่งผล และเบิกจ่ายบุญส่งกลับมาเก็บไว้ในตัวบุคคลผู้ทำบุญ

สำหรับการทำทานนั้น โดยปกติแล้วบุญจะเกิดขึ้นมากที่สุดขณะกำลังทำทาน เช่นขณะที่ก้อนข้าวตกลงสู่บาตรพระ หรือขณะเครื่องสังฆทาน วางลงบนผ้ารับประเคนของพระ ทั้งนี้วงจรการทำงาน input และ output ของภาคผู้เลี้ยง ที่สืบเนื่องไปถึงเครื่องธาตุเครื่องธรรม จะทำงานด้วยความรวดเร็วมาก ในกรณีปกติ จะใช้เวลาเพียงประมาณ 3 วินาที เป็นระลอกๆ แต่ถ้าเป็นบุญใหญ่มากๆ ก็จะใช้เวลามากกว่านั้น ซึ่งเราสามารถเปรียบเทียบเครื่องธาตุเครื่องธรรมได้กับ ซุปเปอร์เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ที่เป็นหัวใจของระบบ Big Data System ที่ปกครองโลกธาตุ หากเพียงแต่เราส่งข้อความผ่านแอพพลิเคชั่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ข้อความจากเครื่องผู้ส่งในประเทศไทย ก็สามารถไปถึงเครื่องผู้รับในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ภายในระยะเวลาเพียง 1 ถึง 2 วินาที เท่านั้น

ส่วนการอธิษฐานขณะทำบุญนั้น เป็นสิ่งพึงทำ เพราะในการทำบุญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำทาน เครื่องธาตุเครื่องธรรมจะประมวล “มโนกรรม” ของผู้ทำด้วย เพื่อกำหนดตั้งแผนผังชีวิตซึ่งเป็นผลของกรรม ซึ่งแผนผังจะทำงานได้ด้วยพลังงานบุญที่ใส่ไว้ให้คอยหล่อเลี้ยงอยู่ ดังนั้นแล้ว หากผู้ทำบุญ “อธิษฐาน” ด้วยความคิด, คำพูด, และการกระทำ ก็จะเป็นมโนกรรม, วจีกรรม, และกายกรรม ที่เครื่องธาตุเครื่องธรรมจะควบรวมเข้าสู่การประมวลผล แล้วตั้งโปรแกรมให้เป็นไปตามที่เราอธิษฐานขอ มีความ “แรง” ของแผนผังมากที่สุด โดยไม่ต้องเปลืองวิชชาตั้งแผนผังเองมากนัก ประจวบเหมาะกับการเบิกบุญมาเติมแผนผังชีวิต ซึ่งจะทำให้มีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการอธิษฐานด้วยวิชชา หรืออำนาจแห่งสมาธิจิตที่แน่วแน่ ยกตัวอย่างเช่น การทำทานแล้วไม่อธิษฐานขออะไรเลย เมื่อบุญส่งผลก็เกิดมารวย แต่มีเรื่องเดือดร้อนไม่สบายใจเรื่อยๆ แต่ถ้าอธิษฐานกำกับขอว่า ให้หมดทุกข์ หมดกิเลส ก็จะเกิดมารวย แล้วไม่ค่อยมีทุกข์อะไร กระทั่งเมื่อถึงที่สุด ก็ยังได้เป็นพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสซะอีก เหมือนพระสีวลี ผู้เป็นอรหันต์ที่มีลาภมาก

อย่างไรก็ตาม เมื่อเราอาศัยจังหวะในขณะทำบุญ ที่เครื่องธาตุเครื่องธรรมทำงานเต็มที่ที่สุด เพื่อประมวลกายกรรม, วจีกรรม, และมโนกรรม ของเรา เพื่อตั้งแผนผังชีวิตตามโปรแกรมกรรม เราควรตรวจก่อนว่าได้บุญสุทธิเท่าไร และควรจะใช้บุญเท่าไรไปกับการอธิษฐานตั้งแผนผัง ส่วนคำอธิษฐานจะเป็นอธิษฐานบารมี ก็ต่อเมื่อเราอธิษฐานในสิ่งที่เป็นโลกุตระ ทั้งนี้ ทั้งนั้น หากเราอธิษฐานมากๆ ก็จะใช้บุญไปมากขึ้นกับคำอธิษฐาน และถ้าหากเราอธิษฐานแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ บ่อยครั้งที่จะทำให้แผนผังชีวิตเกิดความบกพร่อง เช่นอธิษฐานเป็นประจำว่า ให้สวย ให้รวย สุดท้ายเลยได้เป็นนางงาม ที่ร่ำรวยเพราะได้เป็นเมียน้อยของอาเสี่ย หรือคำอธิษฐานบางอย่างก็หักล้างกันเอง เช่นเบื่อหน่ายชีวิตครอบครัว จึงขอให้ได้อยู่เป็นโสดไปตลอดชีวิต แต่ก็อธิษฐานอีกด้วยว่า ขอให้ได้พบเนื้อคู่ ที่รักกันไปจนวันตาย

เราจะเห็นได้ว่า การทำบุญนั้น เราได้บุญมาจำนวนหนึ่ง เหมือนทำงาน แล้วได้เงินค่าแรง แล้วก็ขึ้นอยู่กับเราว่า เราจะนำเงินจำนวนนั้น แบ่งไปใช้จ่ายทำอะไรบ้าง บางคนอธิษฐานขอแต่เรื่องใหญ่ๆ ขอมากๆ กระทั่งบุญหมดเปลือง บางครั้งเป็นคำอธิษฐานปลายเปิด เหมือนไม่มีจุดสิ้นสุด แล้วก็ไม่ถึงกับเป็นจริงขึ้นมาได้เลย เช่นอธิษฐานขอให้ได้สมบัติจักรพรรดิ ซึ่งโปรแกรมก็ตั้งแผนผังให้ โดยจะได้ใน 12 ชาติข้างหน้า แต่ระหว่างชาตินี้ ไปถึงชาติที่ 11 บุญก็ไม่มากพอจะเลี้ยงให้เป็นเศรษฐี ครั้นจะเร่งให้เร็ว ก็ได้เพียงเล็กๆ น้อยๆ การอธิษฐานที่ดี และประสบความสำเร็จ จึงอาจจะไม่มีสูตรเฉพาะตัว แต่ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล เหมือนทำงานแล้วได้ทรัพย์มา ก็ต้องรู้จักแบ่งสรรใช้จ่าย ตามอัธยาศัยของตน ว่าประสงค์จะทำอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นทางโลก คือ “โลกียะ” และทางธรรม คือ “โลกุตระ” นั่นเอง.  

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

17 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง ปีนักษัตรมีจริงหรืองมงาย และมีผลอย่างไรต่อชีวิตของเรา?

ปีนักษัตร คือ “องค์เจ้าชะตาในรอบ 12 ปี” ซึ่งแต่ละปี มีสัตว์ประจำนักษัตรเป็นสัญลักษณ์ตัวแทน เริ่มตั้งแต่ หนู, วัว, เสือ, กระต่าย, งูใหญ่, งูเล็ก, ม้า, แพะ, ลิง, ไก่, สุนัข, และ สุกร โดยที่แท้จริงแล้วเหล่าสัตว์นักษัตรคือเทพเซียน (เทวดาถือพรต) หรือเทพเทวา ประจำสัตว์แต่ละตระกูล ที่สามารถแปลงร่างได้ อันที่จริงก็แปลงได้หลายๆ อย่าง แต่สามารถจำแลงแปลงกายเป็นร่างสัตว์ที่ถนัดหรือเป็นวาสนาสืบมา เหมือนอย่างพญานาคตัวผู้ ที่สามารถแปลงเป็นมนุษย์ชายหรือหญิงก็ได้ แต่ถ้าจะให้แปลงถนัดๆ ก็แปลงเป็นชายซึ่งตรงกับเพศแห่งอัตภาพของตน หรือเปรียบได้กับ พญานกยูง ในป่าหิมพานต์ ที่สามารถแปลงร่างเป็นคน หรือเป็นเทวดาชั้นแรกๆ ได้ แต่ถ้าจะคืนร่างเดิมก็ต้องอยู่ในรูปของนกยูง หรือมิฉะนั้น ก็เปรียบได้กับองค์ช้างอาราวัณ ซึ่งเป็นพาหนะขององค์พระอินทร์ ที่ร่างปกติเป็นเทพบุตร แต่สามารถจำแลงกายเป็นช้างทรง ตามความคุ้นกับอัตภาพเดิม เมื่อสมัยเป็นช้างอยู่ในโลกมนุษย์ ได้ทำความดี เป็นวาสนาติดตัวมา

ฉันใดก็ฉันนั้น เทพเทวาประจำปีนักษัตร ก็ได้ชื่อว่าเป็นเทพประจำสัตว์แต่ละชนิดซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของแต่ละปีนักษัตรในรอบ 12 ปี โดยมีหน้าที่ “รักษาลักขณา” ประจำปีเข้าประจำการของตน โดยที่ปีนักษัตรของโลกมนุษย์ในแต่ละจักรวาล ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเหมือนกัน เพราะในโลกมนุษย์ของจักรวาลอื่น อาจมีระบบปฏิทิน และการคำนวณดวงดาว ชะตาราศี รวมถึงปีสัตว์นักษัตรที่ไม่เหมือนกัน แต่ถ้ามี ก็อาจจะเป็นสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่จะซ้ำ หรือไม่ซ้ำ กับจักรวาลของเราก็ได้

เรื่องลักขณาในทางวิชชานั้น เป็นเรื่องของอิทธิพลของดวงดาว ชะตา ราศี ที่ส่งผลต่อกันและกัน ในทางดีบ้าง ร้ายบ้าง เป็นคุณ เป็นโทษ ต่อกัน ซึ่งมีสาเหตุจากพลังอำนาจของดวงดาว ซึ่งมีเจ้าของ หรือผู้ควบคุมอยู่ เป็นภาคต่างๆ ภพต่างๆ ภูมิต่างๆ ทั้งพระ ทั้งมาร ทั้งฝ่ายดี ฝ่ายชั่ว ฝ่ายกลางๆ ไม่ดี ไม่ชั่ว คอยดลบันดาลให้เป็นไป อุปมาเหมือนลูกสนุกเกอร์หลายสี แทนดวงดาวแต่ละดวงที่มีแต้มไม่เท่ากัน และลักขณาของลูกสนุกเกอร์ ก็คือตำแหน่งที่วางอยู่ของแต่ละลูก ที่ทำมุม, เปิดทาง, เบี่ยงเข้า, เบี่ยงออก, กีดกัน, กำบัง กันและกันอยู่ ขณะที่ผู้เล่นสนุกเกอร์ กำลังจะเล็งแทงสนุกเกอร์ในเกมนั้นๆ ที่มีดวงดาวทั้งหมดจัดวางตำแหน่งอยู่บนโต๊ะสนุกเกอร์นั้น เรียกได้ว่าเป็นการ "เล็งลักขณา"

ส่วนเทพนักษัตรซึ่งมีสัญลักษณ์สัตว์ประจำปี ก็จะคอยเฝ้ารักษาลักขณา เหมือนเปลี่ยนเวรยามประจำการในแต่ละปี เมื่อเปลี่ยนชุดผู้รักษาการณ์ นโยบายในการควบคุมดูแล, อำนาจ, อัธยาศัย, วาสนา, กำลัง, บารมี, สิทธิ์, ฤทธิ์, ความถนัด และวิธีการที่มี ก็แตกต่างกันไป แล้วบางที ผู้รักษาการณ์ หรือเทพเทวาประจำดาวแต่ละดวงก็ เกื้อกูล หรือเขม่นกัน กลายเป็นปีส่งเสริม หรือ ปีชง ที่ส่งผลต่อมนุษย์ในโลกซึ่งมีดวงชะตาราศีต่างกันให้ดีให้ร้ายไปต่างๆ นาๆ โดยมีผลประมาณ 10 – 35% ของทั้งหมด

เปรียบเสมือนมนุษย์อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจัดสรร บางคนชอบทีมลิเวอร์พูล บางคนชอบทีมแมนยู ก็ติดสติกเกอร์ไว้ท้ายรถ พอขับไปถึงประตูเข้าออกหมู่บ้าน ประตู A ร.ป.ภ. ชุดแรกเชียร์ลิเวอร์พูล พอเห็นลูกบ้านแฟนคลับลิเวอร์พูลมา ก็ดีใจ กุลีกุจอ ต้อนรับเป็นอย่างดี แต่พอลูกบ้านแฟนคลับแมนยูมา ก็เปิดประตูกั้นให้แบบเสียไม่ได้ แต่พอขับไปออกประตู B ซึ่ง ร.ป.ภ. ไม่เชียร์ฟุตบอล แต่ชอบเล่นตะกร้อ ก็ไม่สนใจว่าใครจะเป็นแฟนคลับทีมไหน ก็เปิดประตูให้เป็นอย่างดี เหมือนกันทุกคนทุกคัน แต่พอปีถัดมา กรรมการหมู่บ้านจัดสรร จัดจ้างบริษัท ร.ป.ภ. ชุดใหม่เข้ามาทำงาน รสนิยม และอัธยาศัยในการดูแลลูกบ้าน ของ ร.ป.ภ. ชุดใหม่ ประจำแต่ละประตูทางเข้าออกหมู่บ้าน ก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ดังฉะนี้ครับ.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

13 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง การแต่งกายไปทำบุญ กับตำแหน่งเจ้าพัสตราภรณ์

ดังที่ข้าพเจ้าได้เคยรจนาความถึงตำแหน่งเจ้าประกาศิต หรือตำแหน่งเทวดาผู้โดดเด่นในสวรรค์ ประเภทต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “เทพพัสตราภรณ์” คือเทวดาผู้มีเสื้อผ้าอาภรณ์ทิพย์สวยงามน่าตื่นตาตื่นใจแก่ผู้พบเห็น ด้วยลีลามาดมั่นใจ ในการปรากฏกายต่อสาธารณชน เพราะเสื้อผ้าอาภรณ์ที่เป็นอาหารตาทิพย์นั้น น่าชื่นชมกว่าใคร และเนื่องในโอกาสวันอาสาฬหบูชาที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งพุทธศาสนิกชนได้ไปทำบุญกันอย่างคึกคัก ข้าพเจ้าขอรจนาบอกเล่าเสริมถึงเรื่องอานิสงส์การแต่งกายไปทำบุญเพิ่มเติมอีกพอสังเขป

จากบทความก่อนๆ เราทราบว่า เจ้าพัสตราภรณ์ คือเทวดาที่เคยถวายผ้าไตรจีวรแด่พระภิกษุสงฆ์ ทั้งผ้ากฐิน หรือผ้าป่า หรือทำบุญด้วยเครื่องนุ่งห่มแด่ชนทั้งหลาย ทั้งผู้มีวิชชา ไม่มีวิชชา มีศีล หรือไม่มีศีล อานิสงส์ส่งให้ไปเกิดในสวรรค์ มีตำแหน่งเป็น “เจ้าประกาศิต” ด้าน “พัสตราภรณ์” คือเทวดาผู้เลิศด้านเสื้อผ้าอาภรณ์อันเป็นทิพย์ อันสวยงาม เลิศหรู น่ารัก น่าดู น่าชม น่าพิสมัย กว่าเทพเหล่าใดอื่น ราวกับนายแบบ นางแบบ ที่ออกงานเดินโชว์ท่ามกลางสายตาทิพยจักขุหรือ “เทวดามุง” ได้อย่างไม่อายใคร

แต่นอกจากการทำบุญด้วยผ้าแล้ว ยังมีอีกวิธีการหนึ่งในการ “ตรัสพัสตราภรณ์” หรือ “ได้ตำแหน่งเจ้าพัสตราภรณ์” ไปอย่างชิลๆ นั่นก็คือการแต่งกายให้สุภาพหรืองดงามอย่างเหมาะสม เพื่อไปทำบุญที่วัดวาอาราม หรือออกงานการกุศลต่างๆ ทั้งนี้เราสามารถเปรียบเทียบได้กับการเป็น “สมณเทวา” หรือเทวดาที่เป็นพระภิกษุ สามารถเป็นได้ด้วยอานิสงส์แห่งการทรงจำพระปาฏิโมกข์ คือวินัยของพระสงฆ์ หรือจะเป็นด้วยการทรงวิชชา แล้วบวชในวิชชา ก็ย่อมได้ ฉันใดก็ฉันนั้น เจ้าพัสตราภรณ์ ก็เป็นได้ทั้งจากมนุษย์ผู้ทำบุญด้วยผ้าอย่างเอกอุ หรือเป็นมนุษย์ผู้สวมเสื้อผ้าอย่างสุภาพ หรือแต่งอย่างงดงามเหมาะสมไปร่วมทำบุญทำกุศลในงานบุญพิธีต่างๆ เป็นการให้เกียรติสถานที่ และเจ้าของบุญพิธี

ทั้งนี้เจ้าพัสตราภรณ์ประเภทที่อุบัติขึ้นจากอานิสงส์การแต่งกายไปทำบุญ มีหลายประเภทด้วยกัน เช่น (ก) เจ้าสุพัสตราภรณ์ คือเทวดาที่สมัยเป็นมนุษย์ แต่งกายสุภาพ นุ่งห่มมิดชิด ปิดคลุมเรียบร้อย ไปทำบุญ ดังเช่นชาวไทยสมัยโบราณ หรือตามต่างจังหวัด ที่นุ่งขาวห่มขาว พาดสไบเฉวียงบ่า หวีผมมัดเป็นมวย นุ่งผ้าถุงยาวเลยแข้ง ดูสงบตาสงบใจ เสื้อผ้าสะอาด รีดเรียบร้อย ไปทำบุญ หรือมิฉะนั้นก็เป็นครู นักเรียน ข้าราชการ ที่แต่งชุดเครื่องแบบไปทำบุญ (ข) เจ้าวิไลพัสตราภรณ์, เจ้าพิไลพัสตราภรณ์, เจ้าวิลาสพัสตราภรณ์, และ เจ้าพิลาสพัสตราภรณ์ คืออันดับแห่งเทพพัสตราภรณ์ เรียงจากขั้นต้น ไปขั้นสูง ซึ่งเสื้อผ้าอาภรณ์อันเป็นทิพย์ ดูหรูหรางดงาม อลังการ น่าตื่นเต้น หรือโฉบเฉี่ยว เฟี้ยวฟ้าว ราวกับออกงานแฟชั่นโชว์ ของเทวดาที่สมัยเป็นมนุษย์ แต่งกายสวยงดงามดึงดูดสายตาผู้อื่น ทั้งเครื่องทอง เครื่องเพชรเม็ดโตๆ ราวกับตู้เพชรเคลื่อนที่ เหมือนอย่างมหาอุบาสิกาวิสาขา ใส่ชุดมหาลดาปสาธน์ไปออกงานทำบุญ ฉันใดก็ฉันนั้น มนุษย์ที่จะเป็นเทพพัสตราภรณ์ประเภทนี้ก็เอาใจใส่เสื้อผ้าชุดทำบุญ โดยชุดที่ใส่ก็สั่งตัดโดยดีไซเนอร์ ทั้งแบรนด์ดังๆ ราคาแพง หรือช่างตัดให้เฉพาะ ด้วยผ้าเนื้อดี หลากสีสัน ออกแต่ละงานไม่ซ้ำชุด ซ้ำสีกัน แล้วแต่งหน้าทำผมทรงหวือหวา น่าดูน่าชม หรือไม่ก็แต่งชุดไทยยุคสมัยต่างๆ ประณีต สวยงาม เข้าทรวด เข้าทรง เปิดตรงนั้น ปิดตรงนี้ ประเภทชุดประจำชาติของมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ยังต้องหลีกทางให้ ซึ่งแม้จะยั่วกิเลสผู้อื่น แต่ด้วยความตั้งใจในการแต่งเนื้อแต่งตัวไปทำบุญ ก็ยังพอมีอานิสงส์ ผนวกกับบุญที่ทำ และด้วยความที่ส่วนใหญ่เป็นคุณหญิงคุณนาย คุณชายคุณท่าน ผู้อยู่ในสังคมชนชั้นสูง ฐานะมีอันจะกิน ได้ทำบุญกุศลบริจาคมากกว่าคนทั่วไป ได้เป็นประธานบุญพิธี บางทีมีผู้ถ่ายภาพลงหนังสือพิมพ์ หรือออกข่าว เป็นที่ยกย่องชื่นชมสำหรับผู้พบเห็น และเป็นการประชาสัมพันธ์การกุศลไปในตัว ทำให้ผู้คนหันมาทำบุญกันมากขึ้น ด้วยอานิสงส์นี้ ก็ทำให้ได้ตำแหน่งเจ้าพัสตราภรณ์ขั้นต่างๆ ตามลำดับ

นอกจากอานิสงส์อันเป็นทิพย์สำหรับเจ้าพัสตราภรณ์แล้ว ผู้ที่ขวนขวายแต่งกายสะอาดสุภาพเรียบร้อย หรืองดงามสวยงามหรูหราวิจิตร ไปทำบุญอยู่เสมอๆ ก็จะมีอานิสงส์คือ เมื่อถึงคราวจะมีพิธีการ หรือบุญพิธี งานเฉลิมฉลอง หรืองานสังคมอะไรเกี่ยวกับตน อย่างเช่นงานวันเกิด งานบวช งานสมรส หรือแม้แต่งานศพ ก็จะเป็นผู้ที่ได้รับการให้เกียรติจากผู้อื่นเป็นพิเศษ ผู้ร่วมงานก็จะแต่งตัวสุภาพเรียบร้อย สวยงาม มาร่วมงานเพื่อเทิดเกียรติ เป็นที่น่าประทับใจ น่าดูน่าชม น่าชื่นใจ หรือบุญหนักมากเข้า ก็จะมีคนสวมใส่เสื้อผ้าเฉพาะแบบหรือเฉพาะสี เนื่องในโอกาสเทศกาลอันเนื่องด้วยบุคคลนั้นๆ อย่างเช่นนางนพมาศ ในวันลอยกระทง ที่ประชาชนจัดขบวนแห่เป็นพิธีที่มีเครื่องแต่งกายโดยเฉพาะ ดังฉะนี้แล.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

13 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง ฝากเงินไปทำบุญ ได้บุญมากหรือน้อย?

หลังจากที่เราได้ศึกษาเรื่องโปรแกรมกฎแห่งกรรมกันมาพอสมควร โอกาสนี้ข้าพเจ้าขออ้างถึงกรณีควรศึกษาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในหมู่ชาวพุทธ เช่น การฝากเงิน หรือทรัพย์สินสิ่งของไปทำบุญ ว่าจะได้บุญหรือไม่ หรือว่าได้มาก ได้น้อย และมีผลกรรมเป็นอย่างไร

เมื่อเราไม่สะดวกที่จะไปทำบุญด้วยตนเอง แล้วมีคนมาเรี่ยไรบอกบุญ เราอาจจะฝากซองไป หรือเหน็บธนบัตร ไว้กับต้นผ้าป่า ต้นกฐิน ซึ่งชาวพุทธไทยนิยมทำกัน การทำเช่นนี้ จะทำให้ผู้บริจาคทำบุญ “ติดค้างสิทธิ์” ต่อผู้ที่มาเชื้อเชิญ หรือทำหน้าที่นำส่งทรัพย์ให้กับทางวัด หรือเป็นผู้ประเคนถวายปัจจัย และต้นผ้าป่า ต้นกฐิน เหล่านั้นให้กับทางวัด ยกเว้นแต่จะใช้วิชชา “คืนสิทธิ์” คงค้าง ซึ่งผู้ทำบุญอาจจะต้องจ่ายธาตุบุญส่วนหนึ่ง เพื่อเคลียร์หนี้สิทธิ์ (หนี้บุญคุณ)

ดังนี้แล้ว หากเราไม่เคลียร์หนี้สิทธิ์ จะมีผลให้ เวลากรรมส่งผล ถึงคราวที่เราจะได้ทรัพย์สมบัติ เราจะต้องได้มาเพราะบุคคลที่เราติดค้างสิทธิ์ หรือผ่านมือบุคคลที่เราติดค้างสิทธิ์นั้นๆ เช่น คุณ A มาเรี่ยไรบอกบุญ แล้วเราก็นำธนบัตร 1,000 บาท ติดต้นผ้าป่า ของคุณ A เมื่อถึงวันบุญพิธีคุณ A ก็นำต้นผ้าป่าไปประเคนถวายพระสงฆ์ ดังนี้แล้ว เมื่อถึงคราวบุญส่งผล ในขณะที่บุคคลเป็นพนักงานบริษัท แล้วบริษัทออกโบนัสประจำปีให้ 50,000 บาท ที่เกิดจากทำบุญผ้าป่านั้น เราก็จะได้โบนัสผ่านมือคุณ A คือบริษัทมอบหมายให้คุณ A เป็นผู้มอบเช็คโบนัสให้

นอกเหนือจากนี้ ยังมีกรณีที่คล้ายๆ กัน อย่างเช่นการมอบหมายให้ลูกจ้าง เช่นแม่บ้าน ตื่นแต่เช้ามาทำกับข้าว ใส่บาตรแทนเจ้านาย ซึ่งต้องออกไปทำงานแต่เช้า แต่เจ้านายได้ให้เงินค่ากับข้าวใส่บาตรไว้ ซึ่งแม่บ้านซึ่งเป็นลูกจ้าง ก็ใส่บาตรตามมอบหมายเป็นประจำทุกวัน เมื่อกรรมส่งผล เจ้านายก็จะได้โภคทรัพย์สมบัติมาอยู่ในความครอบครองและมีอำนาจในการใช้สอยทรัพย์สมบัติ โดยมีลูกจ้างเป็นผู้สร้างรายได้ให้ แบบรับค่าแรงตอบแทน  ทั้งนี้เป็นเพราะตอนประกอบกุศลกรรมที่เป็นเหตุ เจ้านายจ่ายค่าแรงให้ลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างทำหน้าที่ใส่บาตร จึงถือว่ายังอยู่ในหน้าที่นั้น แต่ถ้าหากเป็นการมอบหมายให้ทำบุญนอกเหนือเวลาทำงาน เจ้านายก็จะติดค้างสิทธิ์

อย่างไรก็ตาม วิธีการปรับปรุงการทำบุญในกรณีเช่นนี้ ผู้ทำบุญพึงทราบว่า หากเราต้องไหว้วานใครทำบุญแทนเรา หรือถวายทรัพย์สินสิ่งของให้กับพระ หรือวัด แทนเรา เราควรมอบค่าใช้จ่าย หรือค่าจ้าง หรือให้ทิป ในการทำบุญให้ด้วย เช่นสมทบค่ารถ และค่าเดินทาง ประมาณ 100 – 500 บาท โดยเฉพาะในการทำบุญใหญ่ๆ ที่เราต้องรบกวนผู้ทำบุญแทนมากๆ เช่นถวายข้าวสาร 1 กระสอบใหญ่ นอกจากนี้ เรายังควรเขียนชื่อ-นามสกุล ของเราเอง ไว้บนซองทำบุญที่จะฝากไป หรือเหน็บซองไว้กับต้นผ้าป่า ต้นกฐิน หรือบรรจุภัณฑ์ของสิ่งของทำบุญ เพื่อระบุตัวตนของเราอย่างชัดเจน เป็นเหตุให้ เวลากุศลกรรมส่งผล รายรับที่จะเกิดขึ้น ก็จะเกิดขึ้นเพื่อเราโดยเฉพาะ และกรรมสิทธิ์ในรายรับก็จะเป็นของเราตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ต้องรอผ่านมือใคร เพื่อระบุให้ในการแบ่งสรร

อนึ่ง ในยุคสมัยปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าล้ำสมัย เราสามารถทำบุญเข้าบัญชีธนาคารของวัด และองค์กรศาสนา รวมถึงองค์กรสาธารณกุศล ต่างๆ ได้ด้วยตนเองโดยสะดวก ไม่ต้องผ่านมือใครอื่น ซึ่งถ้าหากเราเลือกที่จะทำเช่นนี้ ก็มิควรลืมระบุไว้ในช่องบันทึกข้อมูลระหว่างการโอนเงินหรือจ่ายเงินทางออนไลน์ว่า โอนเงินทำบุญอะไร แล้วระบุชื่อนามสกุล ผู้บริจาค ในกรณีชื่อเจ้าของบัญชีออนไลน์แบงค์กิ้งแตกต่างกัน หรือแจ้งทางวัดผ่านแอพพลิเคชั่น ให้ออกใบอนุโมทนาบัตร ระบุชื่อนามสกุล เราให้ด้วย เพื่อให้การทำบุญสมบูรณ์ครบถ้วนกระบวนการ เป็นการล็อคกระบวนการส่งผลของกรรมไว้ว่า เมื่อบุญจะส่งผลให้เกิดรายได้ ก็จะต้องเกิดขึ้นเพื่อเป็นของเราโดยบริบูรณ์ ดังฉะนี้แล.

หมายเหตุ: การพิจารณาว่าบุคคลผู้รับฝากท่านใด จึงจะเข้าข่ายเป็นส่วนหนึ่งของผู้รับทาน มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคือ จะต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของ “ผู้รับ” และ/หรือ “คณะผู้รับ” ตามตกลง โดยนิตินัย หรือพฤตินัย แต่ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของ “ผู้ถวาย” ก็ยังไม่ถือว่า ทรัพย์ของถวายเป็นอันรับไว้แล้วโดยเนื้อนาบุญ แต่ไม่เสมอไป เพราะยกเว้นแต่ผู้มีสิทธิ์ และ/หรือ อำนาจหน้าที่ในการรับทาน จะกำหนดไว้.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

13 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง ทำบุญสังฆทานอย่างไรจึงจะรวย

จากบุญกริยาวัตถุ 10 ประการ ชาวพุทธส่วนใหญ่ทราบว่า การ “ทำทาน” จะทำให้รวย และมีโภคทรัพย์สมบัติมาก แต่แม้ในการทำทานด้วยกัน เราต้องดูว่า บุญที่จะทำ เป็นบุญที่ให้ประโยชน์ต่อผู้รับเป็น อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ บริวารสมบัติ ธรรมสมบัติ ลาภ ยศ สรรเสริญ หรือ มรรคผล  ซึ่งถ้าจะทำบุญให้รวยต้องเลือกทำบุญที่จะเป็นประโยชน์ด้าน ทรัพย์สมบัติ โดยตรง เช่นการถวายทรัพย์ให้เป็นสังฆทาน หรือปัจจัยบริวารกฐิน ผ้าป่า ถ้าถวายทรัพย์ซื้อพระไตรปิฎกเป็น คุณสมบัติ คือมีปัญญา ถวายทรัพย์หล่อพระพุทธรูปเป็น ธรรมสมบัติ ปล่อยสัตว์ปล่อยโคกระบือ เป็น อภัยทาน ได้อานิสงส์เป็น อายุ

อย่างไรก็ตาม บุญต่างๆ นั้น ส่งผลเป็นทรัพย์ได้ทั้งนั้น เพียงแต่จะส่งตรงเต็มๆ หรือส่งโดยอ้อม อุปมาเหมือนเรารับประทานวิตามิน ถ้าทานวิตามินรวม 1 เม็ด มีส่วนผสมของวิตามินซีจำนวน 20 มิลลิกรัม แต่ถ้าทานวิตามินซีล้วนๆ 1 เม็ด ก็ได้วิตามินซี 500 มิลลิกรัม ฉันใดก็ฉันนั้น หากเราเปรียบเทียบวิตามินซีกับบุญที่ทำให้รวย การทำทานด้านทรัพย์สมบัติโดยตรง จะทำให้รวยได้มากกว่า เวลาโปรแกรมกฎแห่งกรรมเขาคำนวณเซ็ตส่งแผนผังรวยให้ เราก็มีค่าตัวแปรที่สูงขึ้นในด้านทรัพย์สมบัติ เพื่อการคำนวณนั้น (ดูสมการบุญจากการทำทานประกอบในเพจธรรมเศรษฐศาสตร์ ของ www.Meditation101.org)

ถ้าบุคคลทำบุญเพราะหวังจะรวย การถวายเงินเป็นสังฆทานนั้นดีมากๆ เพราะเป็นกรรมด้านสมบัติโดยตรง และไม่ทำให้พระภิกษุอาบัติ เหมือนกับการถวายส่วนตัวให้กับพระรวมถึงสามเณร ยกเว้นท่านจะมีไวยาวัจกรช่วยจับถือทรัพย์ให้ สังฆทานนั้นพระไม่ติดอาบัติเพราะหยอดตู้ได้ หรือพระที่รับมาในนามตัวแทนคณะสงฆ์ คือสงฆ์มีมติหรือกำหนด คือตกลงให้มารับ เป็นอันว่าสงฆ์ให้จับหรือให้รับเงินโดยไม่ผิด แต่เงินที่รับมาต้องตกเป็นของสงฆ์ ยกเว้นว่าสงฆ์จะตกลงกันอีก ว่ารับแล้วให้เก็บเข้าเป็นของส่วนตัวได้ แม้แต่ สังฆทานเวียน ก็เป็นกรรมด้านสมบัติที่ดี เพราะญาติโยมนำทรัพย์มาหยอดตู้ทำบุญ แล้วนำของถวาย อย่างเช่นผ้าไตรจีวร และถังสังฆทานมาประเคน ส่วนทรัพย์ในตู้ก็ให้กรรมการวัดนำไปนับแล้วเข้าบัญชีธนาคาร

การถวายสังฆทานกับพระภิกษุจำนวน 4 รูปหรือมากกว่า โดยทรัพย์และของถวายตกเป็นของพระภิกษุแต่ละรูป นั้นจัดเป็นสังฆทานเหมือนกัน แต่ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ถวายว่าประสงค์จะถวายเจาะจงหรือไม่ บางคนถวายสังฆทานแต่เลือกถวายเฉพาะกับพระที่ดูเคร่ง ซึ่งโดยนิตินัยเป็นสงฆ์ แต่โดยพฤตินัยไม่เป็นสงฆ์ และทรัพย์ไม่ได้ตกเป็นของสงฆ์ส่วนกลางซึ่งทักขิณาจะกว้างกว่า คือเป็นสังฆทานแบบไม่บริบูรณ์ แต่ก็มีข้อยกเว้นตามที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ คือถ้าหากสงฆ์ตกลงกันส่งภิกษุตัวแทนไปรับสังฆทาน แล้วเก็บของถวายไว้เป็นของส่วนตน ก็ยังนับว่าเป็นสังฆทาน ยกตัวอย่างเช่น พระในวัดมี 12 รูป ญาติโยมนิมนต์ทำบุญบ้าน 9 รูป พระในวัดจึงตกลงกันว่าจะส่งพระภิกษุรูปใดเป็นตัวแทนไปสวดในงานทำบุญบ้าน แล้วก็ตกลงกันว่า หากได้รับของถวายแล้ว ก็ให้พระภิกษุแต่ละรูปใน 9 รูปนั้น เก็บไว้เป็นของตน ดังนี้ก็ยังนับว่าเป็นสังฆทาน แต่ถ้าผู้ถวายประสงค์จะทำบุญแล้วถวายสังฆทานอย่างบริบูรณ์ ควรจัดเป็น 2 ชุด คือถวายพระสงฆ์แต่ละรูปเป็นของเฉพาะท่าน แล้วมีชุดสังฆทานแยกต่างหาก แล้วกราบเรียนพระว่า มีถวายแยกต่างหากที่จะตกเป็นส่วนกลางของสงฆ์ครับ

กุญแจสำคัญในการทำบุญให้รวยคือการรู้จักประกอบเหตุทำบุญ เพื่อให้กรรมส่งผลได้ตามที่เราต้องการ โดยคำนึงว่า บุญที่เราทำให้ประโยชน์ด้านใด ซึ่งโปรแกรมกฎแห่งกรรม ทำงานอย่างซับซ้อนแยบยล แต่โดยสรุปแล้วคือ ทำอย่างไรก็ให้ผลอย่างนั้น ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากของถวายเป็นอย่างไร อานิสงส์ที่จะเกิดขึ้นก็เป็นอย่างนั้น ถวายสังฆทาน ทำให้พระสงฆ์มีทรัพย์สินใช้ทำประโยชน์ โดยไม่ติดอาบัติ เราเองก็จะรวยเพราะกรรมนั้น โดยไม่มีมลทิน แต่ที่สำคัญคือ ไม่ลืมทำกรรมเพื่อ “ธรรมสมบัติ” ที่จะนำมาซึ่งมรรคผลที่ง่ายดาย รวดเร็ว และยั่งยืน กระทั่งถึงพระนิพพาน อันเป็นสุขตลอดไปครับ ดังฉะนี้.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

12 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

Q&A: อานิสงส์จากการทำบุญแล้วพระสงฆ์อาบัติเป็นอย่างไร?

การทำบุญแล้วส่งผลให้พระภิกษุต้องอาบัติ หรือผิดพระธรรมวินัย จะเป็นผลให้ เวลาจะได้อานิสงส์แห่งบุญ ก็จะมีมลทินความผิดมากหรือน้อย ติดมาด้วยครับ ยกตัวอย่างเช่นการถวายผ้าไตรจีวรพร้อมทรัพย์เป็นเงินสดเป็นสังฆทาน เวลาบุญส่งผล เช่นบุคคลเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ หน่วยงานรัฐบาลจัดสรรงบประมาณค่าชุดเครื่องแบบมาให้สำหรับใส่ออกงานรัฐพิธี แต่งบประมาณเกิดหมด จึงมีความจำเป็นต้อง “โยกงบ” นำเงินจากงบค่าอุปกรณ์สำนักงานมาจ่ายค่าเสื้อผ้าเครื่องแบบให้แทน ก็มีความผิดทางวินัยอยู่ในทีดังนี้ครับ

ส่วนการถวายปัจจัยบริวารผ้ากฐิน หรือผ้าป่า สามัคคี ก็จะมีผลคือ เวลาจะได้สมบัติ มักจะต้องได้เนื่องด้วยผ้า เช่นได้เงินปันผลจากหุ้นกิจการโรงงานทอผ้า หรือบริษัทจำหน่ายเสื้อผ้า แต่ถ้าเงินทำบุญเป็น “บริวาร” กฐิน หรือผ้าป่า เราก็จะได้สมัครพรรคพวกเป็นองค์คณะเวลาได้ทรัพย์อานิสงส์ แต่จะติดค้างว่า จะต้องมีประธานกฐิน หรือผ้าป่า เป็นผู้นำ จึงจะได้ทรัพย์อานิสงส์ ยกเว้นแต่จะ “คืนสิทธิ์” ให้กันและกัน ก็จะเป็นอันไม่ผูกเงื่อนติดค้างกัน

ถ้าจะว่าไปแล้ว ตามวัฒนธรรมชาวพุทธไทย การทำบุญถวายสังฆทานตามวัด เป็นการทำบุญที่สะดวกและได้อานิสงส์โดยรวมง่าย และดีที่สุด เมื่อทางวัดนำทรัพย์เงินสดที่มีสภาพคล่องสูง ไปใช้จ่ายทั้งก่อสร้าง ภัตตาหาร ยานพาหนะ ค่ารักษาพยาบาล ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และอื่นๆ เป็นแก้วสารพัดนึก โดยพิธีกรรมไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องสิ้นเปลืองเตรียมการกันเหน็ดเหนื่อยมาก และพิธีถวายสังฆทานก็ไม่จำเป็นต้องมีประธาน หรือกรรมการ ใครอยากทำเมื่อใด ก็ได้ มี “อธิปไตย และเสรี” ในสมบัติผลานิสงส์เป็นของตน ดังฉะนี้ครับ.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

12 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


Q&A: บุญในวิชชา ดีกว่าหรือด้อยกว่า บุญที่ได้ตามกฎแห่งกรรมปกติอย่างไร?

บุญในวิชชา ณ ที่นี้ ขออ้างถึงบุญที่ใช้วิชชาแต่งเสริมเติมวิธีการ ทำให้ได้บุญมาก ซึ่งมีอยู่หลายวิธี เช่นประมูลบุญ ทับทวีบุญ คำนวณบุญ แช่อิ่มในทะเลบุญ เติมประดาบุญให้กันและกัน เล่นประกาศิต และอื่นๆ ซึ่งผู้ทรงวิชชาอาจจะรู้สึกตื่นตาตื่นใจ กับบุญเหล่านั้นที่มีมากและดูด้วยตาทิพย์แล้วเหมือนจะนำมาซึ่ง "สมบัติใหญ่" ทั้งนี้เพราะในโลกทิพย์ มีการแสดงผลแห่งกรรมดี อย่างเกินควรเกินค่า ยกตัวอย่างเช่น ทำบุญด้วยสร้อยคอทองคำ แล้วเห็นภูเขาทองอยู่ในวิมาน ก็นึกว่า จะร่ำรวยมหาศาล ซึ่งถ้าอยู่ในโลกทิพย์ก็เป็นเช่นนั้น แต่เมื่ออยู่ในเมืองมนุษย์ ทิพยสมบัติ หรือสมบัติในวิชชา จะประชุมขึ้นเป็นธาตุในโลกมนุษย์ ที่อาจจะไม่มากเท่าในสวรรค์ หรือโลกวิชชา เหมือนเรามีก้อนโคตรทองอยู่ในสวรรค์ เมื่อส่งลงมาในเมืองมนุษย์ ก็กลับกลายเป็นเพียงก้อนทองทิพย์ก้อนเล็กๆ เท่านั้น การทำวิชชาคำนวณสมบัติเดี๋ยวนี้ จึงมีการคำนวณว่า จะกลายเป็นทรัพย์ในเมืองมนุษย์ ณ วันเวลาปัจจุบัน จำนวนเท่าใด เช่นทำบุญ 100 บาท อานิสงส์แห่งกรรม จะส่งเป็นเงินรายได้รวมกันทั้งหมดทุกชาติแล้วประมาณ 4,562 บาท ส่วนการใช้วิชชาเพิ่มบุญ ก็เป็นประโยชน์คือ ยังคงเป็นไปตามสมการบุญ ที่มีส่วนทำให้ค่าตัวแปรคือ ผู้รับบริสุทธิ์มากขึ้นเพราะทำวิชชา จึงฉุดให้ผลรวมบุญมีมากขึ้น หรือการใช้ดวงตราประกาศิต ที่คำนวณแล้ว มีเนื้อบุญเพิ่มอีก 1.5 - 2 ใน ประมาณ 10 ส่วนของทั้งหมด ซึ่งก็นับว่ามากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ หรือทำบุญแล้ว “คืนสิทธิ์” ให้ผู้รับ เป็นอันไม่ติดค้างหนี้บุญคุณ ก็จะได้เนื้อบุญทอนกลับมาอีกมาก ซึ่งการจะทำเช่นนี้ได้ ก็ต้องทำด้วยวิชชา การคืนสิทธิ์จากการทำบุญนั้น อุปมาเหมือน การ “จ้างออก” ให้กับพนักงานบริษัท ซึ่งโดยปกติแล้ว พนักงานจะได้รับเงินเดือนจำนวนหนึ่งเป็นประจำทุกเดือน แต่เมื่อพนักงานยินดีเกษียณก่อนหมดอายุทำงาน บริษัทก็จะจ่ายเงินก้อนใหญ่ให้เป็นการชดเชย ฉันใดก็ฉันนั้น การทำบุญแล้วคืนสิทธิ์ ซึ่งเปรียบเสมือนหนี้บุญคุณต่อผู้รับ ก็จะทำให้ผู้ทำบุญได้บุญก้อนใหญ่อีก โดยหมดพันธะกับผู้รับในบุญที่ทำไป อย่างไรก็ตาม บุญในวิชชา มีประโยชน์ตรงที่จะนำมาใช้ในวิชชา เหมือนได้ไอน้ำมา ก็นำมาขับเคลื่อนมอเตอร์พลังขับดันไอน้ำ ถ้าอุปมาไอน้ำเหมือนสมบัติในสวรรค์ หรือในวิชชา หากเราต้องการใช้เป็นน้ำดื่ม ไอน้ำก็ต้องควบแน่นกลับคืนเป็นหยดน้ำในเมืองมนุษย์ก่อน จึงจะดื่มได้

แม้บุญในวิชชา อาจจะไม่ส่งอานิสงส์แรงเหมือนบุญที่ทำเองด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ประกอบกันครบถ้วน แต่การศึกษาวิชชาและทำวิชชานั้น มีประโยชน์ตรงที่ เราจะสามารถ แทรกแซงกลไกชีวิต และกฎแห่งกรรมได้ระดับหนึ่ง และเราก็มีความรู้และความเข้าใจ ในการหาบุญเพิ่มอย่างมีประสิทธิภาพตามกฎแห่งกรรม ในขณะที่การทำวิชชาบางอย่างก็ทำให้เสียบุญ แต่เมื่อถึงคราวจำเป็น เราก็ต้องใช้ อย่างเช่นหลวงพ่อสดเก็บสงครามโลกครั้งที่ 2 และผู้ทรงวิชชาเก็บผังสงครามโลกครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นคุณประโยชน์ใหญ่ต่อมวลมนุษย์ ดังฉะนี้ครับ.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

11 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง “จ้าวสี” กับ “สีมงคลประจำวัน”

ท่านที่ติดตามเว็บไซท์ www.Meditation101.org คงพอจะทราบความเป็นมาของธาตุธรรมกันแล้ว ซึ่งโดยหลักๆ จะมี ภาคทอง ภาคขาว ภาคเงิน ภาคทองชมพู ภาคดำ และภาคเทา ซึ่งองค์พระต้นธาตุต้นธรรมของแต่ละภาค นับเป็น “บรรพบุรุษ” ของธาตุธรรมในลำดับประมาณ 1.1 ถึง 1.6 โดยที่ “องค์พระบรมธาตุ” คือผู้ให้กำเนิดธาตุธรรมต่างๆ (อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความกำเนิดธาตุธรรม) นับเป็นลำดับที่ 0.1 ที่เกิดขึ้นจากความ “ว่าง” โดยบังเอิญ  ส่วนลำดับถัดๆ มาที่ 0.2 ถึง 1.0 ก็เป็นองค์ธาตุองค์ธรรมเก่าๆ ที่ไม่ถึงกับมีกำลังพอจะตั้งภาค อุปมาเหมือนชนเผ่าที่อยู่กันตามใจชอบ ไม่ได้มีการตั้งรกรากสร้างเมือง สร้างระบบระเบียบการปกครอง กระทั่งมีบุคคลในชนเผ่าที่มีความรู้ความสามารถเกิดขึ้น มารวบรวมพวกพ้องตั้งนครขึ้น แล้วสถาปนาตนเองเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ คอยบริหารจัดการความเป็นอยู่ให้ผู้อื่น องค์พระต้นธาตุต้นธรรมก็เป็นเยี่ยงนั้น ส่วน “จ้าวสี” คือธาตุธรรมที่เกิดในภายหลัง นับอันดับความเก่าของธาตุได้ประมาณลำดับที่ 2.7 ถึง 3.45 (นับจากองค์พระบรมธาตุที่นับเป็น 0.1) จ้าวสีนั้นเป็นธาตุธรรมที่พัฒนาการมาจากภาคขาวเป็นส่วนใหญ่ อุปมาเหมือนแสงสีขาวที่ส่องเข้าไปในปริซึมแล้วแตกออกเป็นลำแสงสีต่างๆ ซึ่งจ้าวสีก็มีทั้งภาคจักรฯ และภาคธรรม คอยส่ง “วิชชาสี” และควบคุมสีของตนให้มีบทบาทในธาตุในธรรม โดยองค์คณะของสี จะนับเป็น “ภพ” มิได้นับเป็น “ภาค” ยกเว้นบางสี ที่ก่อร่างสร้างตัวเติบใหญ่ กระทั่งตั้ง “ภาค” เป็นของตนเองได้สำเร็จ ด้วยกำลังวิชชา และกำลังธาตุกำลังธรรมที่มากพอ แต่อาจจะไม่ถึงกับ “ตั้งเครื่องธาตุเครื่องธรรม” เหมือนอย่าง ภาคขาว และภาคดำ  

ดังนี้แล้ว เราจะทราบได้ว่า สีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกมนุษย์ ล้วนเกิดจากวิชชาที่มาจากภพสี แต่อาจมีการผสมผสาน แทรกแซง ปะปนกันและกันไปต่างๆ นาๆ เหมือนดั่ง สีชมพูอ่อน ที่มักใช้คู่กับสีฟ้าอ่อน โดยที่สีชมพูหมายถึงเด็กหญิง และสีฟ้าอ่อนหมายถึงเด็กชาย สีดำสำหรับแสดงความสุภาพ หรือไว้ทุกข์ สีขาว สื่อถึงความบริสุทธิ์ สีเขียว หมายถึงสิ่งแวดล้อม สีแดงหมายถึงสถาบันชาติ สีเหลืองหมายถึงประชาชน และอื่นๆ ทั้งนี้รวมไปถึง “ฉัพพรรณรังสี” ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, รุ้ง 7 สี, มณีนพรัตน์ คืออัญมณีนิยมจัดชุด 9 สี, สายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์สีต่างๆ, รวมถึง สีมงคลประจำวัน ซึ่งปรากฏการณ์แห่งการใช้สี ที่มีนัยยะสำคัญต่างๆ เหล่านี้ เป็นความจงใจของภพสี ที่ส่งวิชชาของตนมา ให้เป็นไปในเมืองมนุษย์ เหมือนเทวดาที่ท่านอยู่ว่างๆ ท่านก็ตั้งระบบระเบียบมาดูแลมนุษย์ มีการจัดเทวดามารักษามนุษย์ผู้ทรงคุณ คอยดูแลบ้านเมือง มีพระภูมิเจ้าที่ คอยรายงานความดีของมนุษย์ ตามเขตปกครองต่างๆ ทั้งๆ ที่เป็นเทวดาจะอยู่เฉยๆ อย่างสุขสบายก็ได้ แต่ท่านก็หางานทำตามอัธยาศัย เผื่อว่าจะได้บุญไปด้วย ดีกว่าอยู่เปล่าๆ ฉันใดก็ฉันนั้น จ้าวสี ก็ปกครองภพสี ให้ส่งวิชชาสี มาหล่อเลี้ยงมนุษย์ ให้เป็นไปต่างๆ นาๆ ซึ่งบ้างก็ร่วมมือกัน บ้างก็แทรกแซงกันและกัน บ้างก็ให้คุณ บ้างก็ให้โทษ เพราะองค์สี ที่ส่งวิชชา ก็มีต่างจิตต่างใจกันไป ก็เหมือนนักการเมืองในประเทศ ที่มีนายกรัฐมนตรีคนเดียวกัน รัฐมนตรีและข้าราชการบางคนก็ยอมรับนับถือ รัฐมนตรีและข้าราชการบางคนก็คิดแย่งเป็นใหญ่ หรืออยากทำตามใจตนเองมากกว่า หรือแม้แต่บางคนก็คิดอยากไปฝักใฝ่ฝ่ายอื่น แม้จะอยู่ประเทศเดียวกัน ภพเดียวกัน มีผู้นำ คือจ้าวสีองค์เดียวกัน ฉันนั้น

สำหรับใจความสำคัญของบทความนี้ ซึ่งข้าพเจ้าก็จงใจเขียนความเกริ่นยืดยาว เพื่อปูพื้นความรู้ และสร้างความเข้าใจ ซึ่งอาจจะสนุกกว่าใจความที่แท้จริง นั่นก็คือเรื่อง “สีมงคลประจำวัน” ซึ่งบางท่านอาจมองว่าเป็นเรื่องงมงาย แต่แท้จริงแล้วก็เป็นอีกหนึ่งในวิชชาของภพสี กล่าวคือ มนุษย์ หรือ สัตว์ ที่สวมใส่เสื้อสีประจำวันคือ (1) วันอาทิตย์ สีแดง (2) วันจันทร์ สีเหลือง (3) วันอังคาร สีชมพู (4) วันพุธ สีเขียว (5) วันพฤหัสบดี สีส้ม (6) วันศุกร์ สีฟ้า และ (7) วันเสาร์ สีม่วง จะเป็นสิริมงคลต่อผู้สวมใส่ เพราะภพสี จะส่งวิชชามาหล่อเลี้ยง ในฐานะที่เป็นพรีเซนเตอร์ให้กับสีของท่าน วิชชาของภพสี ก็จะดลบันดาลให้ผู้สวมเสื้อสีมงคลประจำวันนั้น “โชคดี” โดยมีผลประมาณ 7 ถึง 16.47% ของชีวิตประจำวัน เริ่มตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น ถึงพระอาทิตย์ตกดิน โดยเฉพาะถ้าหากบุคคลผู้สวมใส่เป็นผู้ทรงวิชชา ก็จะรับวิชชาได้มาก แต่ผู้ทรงวิชชาบางท่านก็สังกัดสีของตน จึงอาจจะไม่สะดวกใจที่จะสวมเสื้อสีอื่น ยกเว้นแต่เมื่อถึงวันที่เป็นวันประจำสีของตน ก็น่าจะสวมใส่ไว้ เพื่อให้ “ถูกธาตุ” หรือ “ถูกโฉลก” นั่นเอง ดังฉะนี้.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

9 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง วิธี “รวย” ด้วยวิชชา

ดังที่เราทราบกันแล้วว่า กลไกการทำงานของกรรมเป็นอย่างไร บุญมาจากไหน และอานิสงส์แห่งบุญกุศล ส่งผลในลักษณะของการสร้างโปรแกรมแผนผังชีวิต ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานบุญ และพลังงานบาป โดยมีการแทรกแซงระหว่างธาตุธรรมแต่ละฝ่ายอยู่เนืองๆ ทำให้เรารู้ว่า แผนผังชีวิตที่ “โปรแกรมกฎแห่งกรรม” สร้างขึ้น เพื่อกำหนดให้เรารวยนั้น ถูกเก็บสะสมอยู่ในตัวเราที่เวียนว่ายตายเกิด และเมื่อเรารวยตามแผนผังชีวิตนั้นแล้ว พลังงานบุญที่ถูกสะสมไว้ก็ถูกใช้ไป ทำให้ “บุญเก่า” พร่องลงไปเรื่อยๆ หรือบางท่านถูกผู้มีวิชชาอันธพาล ใช้วิชชาลบล้างแผนผังชีวิตที่ดี อย่างเช่นบารมีสมบัติ ก็จะทำให้ชีวิตอับจนลง 

เรามีวิธีแก้ไขด้วยวิชชา คือการเติมบุญบารมีใหม่เข้าไปใน “รอยธาตุเดิม” (มีลักษณะเป็นดวงกลมที่มีแผนผังและพลังงานบุญจ่ายเลี้ยงแผนผังนั้นซ้อนๆ กันเป็นชั้นๆ) ที่พร่องลดลงไป เพื่อให้พลังงานบุญ ส่งกำลังให้กับแผนผังรวยที่ยังคงเหลืออยู่  โดยบุญที่จะใช้เติม จะต้องเป็นบุญจากการทำทาน ซึ่งให้ผลานิสงส์เป็นสมบัติ และความร่ำรวยด้วยเหมือนกัน และถ้าเราสามารถเติมบุญให้ “ถูกธาตุ” กล่าวคือ รอยธาตุเดิมจากการใส่บาตร ก็นำบุญใส่บาตรมาเติม รอยธาตุเดิม จากการทำสังฆทาน ก็นำบุญจากการทำสังฆทานมาเติม รอยธาตุเดิมจากการสร้างวิหารและวัด ก็นำบุญจากการสร้างวัดมาเติม ก็จะเชื่อมเข้ากันสนิทดีกว่า

อีกวิธีก็คือ เราสามารถตรวจดูกรรมเดิม แล้วให้เทวดาภาคผู้เลี้ยงเดินวิชชาถอยหลัง เพื่อเก็บแผนผังและบุญส่วนที่พร่องแล้วออกไป จากนั้นจึงประชุมบุญขึ้นใหม่ โดยอาจเป็นบุญใหม่ที่เราเตรียมไว้ หรือเบิกจากทะเลบุญ (ในกรณีธาตุธรรมเห็นควร) แล้วให้ภาคผู้เลี้ยงเดินหน้าวิชชา เพื่อประมวลกรรมที่ทำเอาไว้ขึ้นใหม่อีกครั้ง แล้วส่งพลังงานบุญ พร้อมทั้งแผนผังอานิสงส์แห่งกรรม เชื่อมเรียงกลับเข้าไปในดวงบารมีสมบัติใหม่อีกครั้ง โดยเราอาจจะต้อง “จ่ายค่าดำเนินการ” ให้กับเทวดาภาคผู้เลี้ยง ซึ่งเราไม่ต้องกังวลว่าเทวดาภาคผู้เลี้ยงถอยวิชชากลับแล้วจะสะดุด เพราะท่านรับวิชชาส่งกลับไปมาตลอดเวลาอยู่แล้ว เพียงแต่เราอาจเพิ่ม “รัตนะ 7” ให้ท่านใช้ทำงาน ดังนี้แล้ว บุญทำกรรมเก่าซึ่งสามารถส่งผลในชาติปัจจุบัน ที่กำลังจะหมดแรงส่ง ก็จะกลับมามีกำลังส่งอีกครั้ง ด้วยแผนผังชีวิตร่ำรวยของเดิม แต่ใช้บุญใหม่ในการชาร์จส่งกำลัง

การใช้วิชชาเติมรอยธาตุเดิมของบารมีสมบัตินั้น อุปมาเหมือน การทำบุญทำทานข้ามภพข้ามชาติ เป็นเสมือน “หิมะ” ที่ตกโปรยปรายลงมาเรื่อยๆ กระทั่งเกาะตัวรวมกันแน่น กลายเป็นผืนแผ่นน้ำแข็งอยู่บนยอดภูเขาในฤดูหนาว และการที่บุญส่งผลตามแผนผัง แล้วบุญหมดไป ก็อุปมาเหมือนแสงแดดได้ละลายแผ่นน้ำแข็งนั้นให้บางลงในฤดูร้อน กลายเป็นสายน้ำไหลออกไป การเติมบุญในรอยธาตุเดิม จึงเปรียบเทียบได้กับการน้ำก้อนน้ำแข็งจากที่อื่นมาปูบนแผ่นน้ำแข็งธรรมชาตินั้น แล้วให้ความเย็นหรือโปรยเกล็ดเกลือ เพื่อให้แผ่นน้ำแข็งธรรมชาติที่เกิดจากหิมะโปรยปรายมาแต่เดิม กับก้อนน้ำแข็งของใหม่เชื่อมติดเป็นก้อนเดียวกันนั่นเอง

ส่วนอีกวิธีที่จะทำให้ได้อานิสงส์ทรัพย์สมบัติ และหรืออื่นๆ โดยเร็ว สะดวก ง่ายขึ้น ต้องตรวจกรรมก่อน ว่าเรามีกรรมดีใดที่ถึงวาระจะให้ผล จากนั้นให้ส่วนหยาบหรือกายมนุษย์ทำตามแผนผัง เช่นเห็นในแผนผังว่าจะรวยเพราะเข้าหุ้นทำการค้ากับเพื่อนที่ชื่อคุณบี ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำธุรกิจรถยนต์ ก็ให้ไปทำตามนั้น เพื่อเอื้อเฟื้อให้บุญส่งผลตามนั้น คือไปติดต่อคุณบี ชักชวนทำธุรกิจรถยนต์ด้วยกันที่จังหวัดเชียงใหม่ หรือตรวจดูว่าเคยทำบุญอะไรไว้เช่นถวายทองคำจำนวนมากสร้างเจดีย์ ก็ให้เปิดร้านขายทอง หรือเคยถวายรถม้าให้กับวัด ก็ทำธุรกิจเกี่ยวกับยวดยานพาหนะ จะรวยง่ายขึ้น

สำหรับในเชิงวิชชา ถ้าจะเอาทรัพย์อานิสงส์บุญแบบเร็วๆ จะต้องคำนวณตั้งแต่แรกขณะทำบุญ โดยผู้ทรงวิชชาควรใช้ประดาบุญที่ได้ คำนวณตั้งแผนผังให้เจ้าภาพได้ทรัพย์และร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยคำนวณว่าจะได้จำนวนเท่าไรต่อเงินบริจาคหนึ่งบาท ซึ่งเดี๋ยวนี้ผู้ทรงวิชชาทำบุญได้บุญมากแต่เป็นบุญใหม่ ถ้าเราไม่คำนวณไว้แต่แรก เราก็ต้องใช้ประดาตามสมบัติในภายหลังอยู่ดี การเตรียมวิชชา คำนวณบุญ แล้วตั้งแผนผังผลกรรม ในเวลาจะทำบุญนั้น เป็นสิ่งที่สะดวกกว่า เพราะไม่ต้อง “รื้อวิชชา” หรือ “รื้อกรรม” ออกมาแก้ เหมือนอย่างวิธีที่ให้เทวดาภาคผู้เลี้ยงเดินวิชชาถอยหลัง แล้วเดินหน้ากลับคืน แต่เป็นการประมวลบุญขึ้นในขณะทำบุญ แล้วเติมกลับเข้าดวงบุญบารมีสมบัติ โดยเสริมควบคู่ไปพร้อมๆ กับการทำงานของกฎแห่งกรรม ทั้ง “รอยเดิมของดวงธาตุ” ที่เคยส่งผลแล้ว และจะส่งในปัจจุบันชาติ และอนาคตกาลใกล้ๆ และ “ดวงธาตุใหม่” สำหรับส่งผลในภพชาติอนาคตกาลทั้งใกล้และไกล ทั้งนี้ผู้ทรงวิชชาจะต้องหมดเปลืองบุญในการทำเช่นนี้ แต่เราสามารถคำนวณบุญเพื่อตั้งแผนผัง เผื่อไว้ว่าให้กำไรบารมีธาตุต่อๆ ไปอีก ไม่มีหมดสิ้น เหมือนการอธิษฐานว่าให้รวย แล้วได้ใช้ทรัพย์ทำบุญต่อไป โดยไม่ลืมอธิษฐานหรือตั้งแผนผังชีวิตว่า “ให้รวยแล้วได้ทำบุญอีกเรื่อยไป” ต่อไปอีก อย่างไม่รู้จบ โดยไม่ลืมที่จะกำหนดผังให้ส่งผลถึง “มรรคผลนิพพาน” ด้วย ดังฉะนี้.

สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่องการแก้คำสาป

เวลาอยู่ในวิชชา หรือนอกวิชชา แล้วมีใครตำหนิสาปแช่งเรา หรือตรัสในสิ่งที่ไม่เป็นคุณต่อเรา ให้กล่าวคำผวนของคำว่า "สาธุ" อย่างเช่น “สูธะ” สามครั้ง หรือเจ็ดครั้ง เพื่อเป็นการแก้ทางครับ.

สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


Q&A: การบูชาข้าวพระ กับการถวายภัตตาหารให้พระสงฆ์ขบฉัน ได้บุญต่างกันอย่างไร?

บุญจากการบูชาบุคคลที่ควรบูชานั้นจัดอยู่ในบุญกริยาประเภทการทำความเคารพประพฤติอ่อนน้อม มีอานิสงส์ของกรรมทำให้เกิดในตระกูลสูงและฐานะสูงอย่างเช่นท้าวเทวราชา พระมหากษัตริย์ และพระเจ้าจักรพรรดิราช แต่ต้องระวัง ถ้าหากผู้ที่เราทำความเคารพบูชาบางท่าน เป็นผู้ที่มีวิชชา หรือวิชา สามารถ “ปรก” เราได้ ท่านอาจจะทำให้เราอยู่ในกำกับการของท่านโดยไม่รู้ตัว เราจึงควรบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุของพระอรหันต์ และพระอริยบุคคลชั้นสูง เพื่อความปลอดภัย อย่างพระธาตุเจดีย์ตามสถานที่ต่างๆ

มีหลายท่านสงสัยว่า การนำสำรับอาหารหวานคาวไปถวายบูชาพระประธาน กับนำไปใส่บาตร จะมีบุญมากน้อย และอานิสงส์ต่างกันอย่างไร คำตอบก็คือ การนำอาหารไปบูชา จะได้อานิสงส์แห่งความเคารพ กรรมจะส่งผลให้ ยามใดที่เราจะรับประทานอาหาร ก็จะมีการจัดประเคนหรือถวายอย่างดี และเวลาจะได้ลาภอะไร ก็จะได้มาอย่างสุภาพ และอย่างเคารพนับถือ มิใช่ได้มาอย่างกระแทกกระทั้น ชิงชังเข้าใส่ ส่วนผู้ที่นำอาหารหวานคาวใส่บาตร จะได้อานิสงส์เป็นความสูงส่งเช่นกัน ถ้าหากใส่บาตรด้วยความเคารพ แต่อานิสงส์โดยตรง คือจะได้ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ ซึ่งเป็นอานิสงส์ที่เด่นชัดกว่าการถวายแบบบูชาซึ่งไม่มีการขบฉันกันจริงๆ

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

5 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

Q&A: ทำไมต้องอาศัยภาพเงาในกระจกเพื่อทำวิชชา?

การเดินวิชชาด้วยภาพเงาในกระจกนั้นเป็นเพราะต้องมีกำหนดนิมิตอะไรสักอย่างในการทรงวิชชา ถ้ากำหนดความว่างเปล่า ก็เดี๋ยวกลายเป็นอรูปฌานไป อุปมาเหมือนภาพถ่ายหลวงพ่อสดที่มีอานุภาพ ดูราวมีชีวิตจริง ให้คุณได้จริง แม้เป็นเพียงภาพ ถ้าจะใช้วิธีติดรูปภาพที่อัดกายสิทธิ์ไว้ บนผนังทั่วห้องก็ได้ แต่ไม่สะดวกเหมือนใช้กระจกเงา ที่ดูกลมกลืนราวกับว่าเป็นวัสดุตกแต่ง

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

5 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

Q&A: ทำไมกายสิทธิ์ต้องเสวยกลิ่นดอกไม้เมืองมนุษย์ ทำไมไม่เสวยกลิ่นดอกไม้ทิพย์?

เรื่องกายสิทธิ์เสวยกลิ่นหอมนั้น เป็นเพราะกายสิทธิ์มีลักษณะคล้ายกระแสไฟฟ้า “เพียโซอิเลคทริค” ในเมืองมนุษย์ ส่วนกลิ่นหอมของดอกไม้ทางกายภาพนั้นเป็น “เคมี” แต่ส่วนละเอียดของเคมีนั้นเป็น “ทิพย์” คล้ายอนุภาคไฟฟ้าประจุไอ-ออนที่สามารถชาร์จเติมกำลังให้เพียโซอิเล็ทริคได้ 

อันที่จริงผู้ทรงวิชชาจะใช้กลิ่นทิพย์ก็ได้ แต่จะเปลืองวิชชาในการหาหรือปรุง ถ้าบูชาด้วยดอกไม้เมืองมนุษย์ก็ง่ายดีกว่า และเป็นกรรมดีติดตัวไปด้วย กายสิทธิ์บางพระองค์ที่อยู่ในระดับขั้น “พระพุทธจักรฯ” นั้น ให้อานิสงส์แรงมาก กล่าวคือ หากบุคคลนำดอกไม้หอมอย่างดอกมะลิ จำปี จำปา มาโปรยรอบๆ เรือนของกายสิทธิ์ อานิสงส์ที่ได้ก็จะมีกลิ่นทิพย์หันหอมสดชื่น (ถ้าถวายดอกไม้สด) แผ่ออกมาจากกายมนุษย์ ซึ่งเป็นกลิ่นที่เหล่าเทวดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระภูมิเจ้าที่ รุกขเทวา ในเมืองมนุษย์สามารถรับรู้ได้ และชื่นชมพอใจ เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่ที่ไม่มีศีล หรือมีศีลไม่ครบ มักจะมีกลิ่นเหม็น รบกวนการรับรู้ของเทวดา โดยเฉพาะเทวดาที่มาจากสวรรค์ชั้นสูงๆ.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

5 กรกฎาคม พ.ศ. 2565


นานาสาระ: เรื่อง ห้องกระจกสำหรับทำวิชชา

มีท่านถามผมมาประมาณว่า ทำอย่างไรกายสิทธิ์จะเดินวิชชาได้แรงขึ้น ซึ่งผมเคยรจนาอธิบายไว้ในบทความก่อนหน้าว่า “กายสิทธิ์” ซึ่งมีลักษณะเป็น “ทิพยนต์” นั้น เดินวิชชาได้ อย่างมนุษย์ แต่ความหนักแน่น และความแรงของวิชชา ปกติแล้วจะด้อยกว่า ทั้งนี้เพราะปกติแล้ว “กายมนุษย์” จะมี “ไส้อะไหล่” เรียงรายกันอยู่ เป็นสิบแปดกาย แถว เถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด เชื่อมถึงกันตามระดับความหยาบ ความละเอียด และเมื่อซ้อนรวมกันเพื่อเดินวิชชา จะมีลักษณะคล้าย ปุยหิมะ ที่เรียงรายเกาะอยู่บนกิ่งไม้ เมื่อรูดมารวมกันแล้วบีบให้แน่น เป็นกลุ่มเป็นก้อน ก็จะมีน้ำหนัก และมีมวลแข็ง ซึ่งหากกลิ้งลงไปตามพื้นเอียง ก็จะเกาะตัวเป็นก้อนหิมะก้อนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และมีกำลังสามารถก่อให้เกิดแรงที่มากขึ้นได้

สำหรับ “กายสิทธิ์” นั้น อุปมาเหมือน เครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ หรือ “ทิพยนต์” ที่มีอะไหล่ แต่ไม่มีไส้กายอื่นๆ ซ้อนอยู่ ยกเว้นแต่ผู้ทรงวิชชาจะทำไว้ ซึ่งโดยส่วนมากจะพ่วงการควบคุมอยู่กับผู้ผลิต หรือผู้ควบคุม แต่ก็มีบ้างที่ตัดขาดออกจากกำกับการ ซึ่งกายสิทธิ์นั้น เป็นเสมือนคอมพิวเตอร์ที่ทำงานด้วยความแม่นยำสูง แต่อยู่ในสภาพเป็นทิพย์เท่านั้น และไม่มีความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า อ่อนเพลีย ง่วงงุน เหมือนมนุษย์ผู้ทำวิชชา จึงเดินวิชชาได้เร็วกว่าและต่อเนื่องยาวนานกว่า (ไม่เสมอไป) อย่างไรก็ตาม กายสิทธิ์ที่อุปมาเหมือนเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์นั้น มีระบบยนต์กลไกต่างกันไป คุณภาพจึงไม่เท่ากัน กายสิทธิ์บางพระองค์เดินวิชชาช้าเร็วไม่เท่ากัน และเมื่อเดินวิชชามากๆ กายสิทธิ์บางองค์เครื่องร้อน หรือสะดุด กระตุก กระเพื่อมในวิชชา เป็นระยะๆ ทำให้มีผลถึงวิชชาได้ ซึ่งผู้เป็นเจ้าของควรจะนำดอกไม้สดหอมๆ มาโปรยรอบๆ เรือนหยาบของกายสิทธิ์ เพื่อให้กายสิทธิ์ได้เสวย “สุคนธรส” คือเสพกลิ่นหอมแล้วพักเครื่องบ้าง

สำหรับวิธีการที่ผมเสนอและขอจดลิขสิทธิ์ ในการเพิ่มกำลังวิชชาของกายสิทธิ์ หรือแม้แต่ผู้ทรงวิชชา ก็คือ การติดตั้ง “กระจกเงา” ไว้ภายในโรงงานทำวิชชา ห้องทำวิชชา อาคารทำวิชชา หรือ ห้องวิชชา เป็นมุมสะท้อนกันไปมา เพื่อให้เกิดเงาภาพ ของวัตถุกายสิทธิ์ และ/หรือ บุคคลผู้ทรงวิชชา สะท้อนเข้าไปในกระจกเป็นทิวแถว ราวกับปาฏิหาริย์กายได้ เมื่อถึงเวลาทำวิชชา ผู้ทำวิชชาก็สามารถเผดียงซ้อนส่วนละเอียดเข้าไปในเงาภาพเหล่านั้น มากบ้าง น้อยบ้าง หรือกระทั่งถึงที่สุดของกระจก แล้วเดินวิชชาพร้อมๆ กัน ซึ่งถึงแม้ว่า วิชชาของเงาภาพในกระจก อาจจะไม่แรงเท่ากับกายมนุษย์ หรือกายสิทธิ์องค์จริง ทำได้ แต่เมื่อควบกำลังรวมเข้าด้วยกันแล้ว ก็มีความแรงของวิชชา มากกว่าปกติ เหมือนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทหนึ่ง ที่นำกระจกมาสะท้อนภาพดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดกำลังแสงสว่างและกำลังความร้อนทับทวีขึ้น แล้วใช้พลังงานที่เกิดขึ้นมารวมกันเพื่อผลิตไฟฟ้าที่ได้มากกว่าการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์จากท้องฟ้าตามธรรมชาติเพียงดวงเดียว ดังฉะนี้.

สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

5 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง - ปกิณกะตราพระครุฑพ่าห์

อ้างถึง บทความเกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ กับกำลังรัตนะทั้ง 7 ที่ผมได้เคยรจนาความไว้ วันนี้ จะขอเสริมเรื่องการปกครองของหน่วยงานภาครัฐ กับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นตราต่างๆ ครับ

ปกติแล้ว เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้น “ดิเรกคุณาภรณ์” ที่มีดวงตราพระครุฑพ่าห์ (พระครุฑสยายปีก) นั้น เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับผู้ทำความดีความชอบด้วยกองการสาธารณกุศล แต่หากบุคคลที่ได้รับเป็นผู้บริหารหน่วยงานราชการ หรือบริษัทห้างร้าน ที่ได้รับพระราชทานตราพระครุฑพ่าห์ (Royal Warrant) เหมือนอย่างห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล และธนาคารพาณิชย์ต่างๆ  อย่างเช่นธนาคารไทยพาณิชย์ฯ ก็จะดีมากครับ เพราะมีผลอย่างยิ่งในทางวิชชา แม้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นตรานี้ จะจัดอยู่ในลำดับหลังๆ แต่ก็เป็นการ “ถูกโฉลก” หรือ "ถูกธาตุถูกธรรม" เหมือนเจ้าสีแดง ได้เพชรแดง เจ้าสีเขียว ได้มรกต ครับ แต่กลับกลายเป็นว่า ข้าราชการส่วนใหญ่ ที่ทำงานในหน่วยงานที่ใช้ตราราชการแผ่นดินพระครุฑนั้น มักจะได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก และ/หรือ มงกุฎไทย เป็นส่วนใหญ่

นอกจากนี้ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ยังมี “คุณ” ต่อหน่วยงานราชการ หรือองค์กรในสังกัด เช่น ดาราจุลจอมเกล้า กับโรงเรียนนายร้อย จ.ป.ร., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ส่วนหน่วยงานภาครัฐที่มีตราช้างอย่าง กทม. จะไปด้วยกันได้ดีกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก ซึ่งมีตราช้างเหมือนกัน เฉกเช่นเดียวกับกองทัพบก ทัพเรือ ซึ่งมีดวงตราพระมงกุฎ จึงเข้ากันดีกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชุดมงกุฎไทย และเหรียญตราอย่างเหรียญจักรพรรดิมาลา ส่วนเหรียญตราอื่นๆ ก็มี “คุณ” ต่อสายงานด้วย แต่จะหย่อนกว่าดาราอิสริยาภรณ์ ซึ่งผู้รับพระราชทานต้องรู้จักนำมาใช้ในวิชชาด้วยครับ ดังนี้.

สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

26 มิถุนายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง ความพิเศษของสมบัติเทวดาผู้เลี้ยง

ตามที่ผมได้เคยรจนาไว้ก่อนหน้านี้นะครับว่า บุคคล และนิติบุคคล ในเขตการปกครองด้วยอำนาจรัฐต่างๆ ภายในโลกของเรานี้ ต่างก็ล้วนมีเทวดารักษา ซึ่งในภาษาวิชชาเราเรียกว่า “ผู้เลี้ยงผู้รักษา” โดยที่เทวดานั้น อาจเป็นกายสิทธิ์ หรือกายที่มีชีวิตจิตใจ

มีหลายท่านได้ทดลองเรียกสมบัติผู้เลี้ยงมาครองแล้ว โดยส่วนใหญ่ก็ต้องแลกกับ “ธาตุบุญ” ประเด็นของบทความนี้ก็คือ ทำไมบางท่านเรียกสมบัติผู้เลี้ยงได้อย่างดี ในขณะที่ท่านอื่นได้อย่างด้อย ผมจึงขออธิบายความว่า สมบัติผู้เลี้ยงนั้น ถูกปรุงขึ้นด้วยฤทธิ์จากภพผู้เลี้ยงผู้รักษา โดยให้ตาม “สิทธิ์และอำนาจ” ที่มีใน “เขตเลี้ยงรักษา” ของภพมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะของการ “เอื้อกันและกัน” ระหว่างส่วนหยาบ และส่วนละเอียด กล่าวคือ ผู้เลี้ยงผู้รักษาส่งฤทธิ์ ให้ผลเป็นจริง 25 – 60% ในเมืองมนุษย์ ส่วนมนุษย์ขวนขวายดิ้นรนเองด้วย และปัจจัยร่วมส่งผลอื่นๆ ด้วย เช่นบุญบารมี, วิชชา, กำลังของภพทั้งฝ่ายดีฝ่ายชั่ว, กรรม, ประกาศิต, และวิชาความรู้ ฯลฯ ก็จะหนุนส่งความเจริญก้าวหน้าอีก 30 – 70% ส่งผลให้ภพผู้เลี้ยงรักษาและสมบัติผู้เลี้ยงรักษา มีฤทธิ์อำนาจเพิ่มขึ้นเข้าด้วยกันอีกเป็นเงาตามตัว

เคล็ดลับในการเรียกสมบัติผู้เลี้ยงที่เนื่องด้วยสิทธิ์และอำนาจของหน่วยงาน องค์กร บุคคล หรือนิติบุคคล เพื่อให้ได้สมบัติผู้เลี้ยงอย่างดีพิเศษนั้น จะต้องอิงอยู่กับสิทธิ์และอำนาจของ หน่วยงาน, องค์กร, บุคคล, นิติบุคคล ที่ปกครองเขตเลี้ยงรักษาหนึ่งๆ ในขณะนั้นอยู่ เช่นการเป็นวัดที่มีสถานภาพเป็นพระอารามหลวง, การได้รับพระราชทานตราตั้งห้างพระครุฑพ่าห์ (Royal Warrant), การสมัครเข้าเป็นภาคีสมาชิกองค์การและองค์กรใหญ่ระดับภูมิภาคและระดับโลกอย่าง UN, UNESCO, WHO, EU, ASEAN, WTO, หอการค้า (Chamber of Commerce), การอยู่ในพระอุปถัมภ์ หรือ [Royal] Patronage, การได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ในกรณีมีราชวงศ์) และดาราอิสริยาภรณ์ (ในกรณีไม่มีราชวงศ์) ในประเทศต่างๆ เป็นบำเน็จสำหรับองค์กร หรือผู้นำองค์กร, และการเป็นสมาชิกองค์กร, หน่วยงาน, มูลนิธิ, สมาคม ซึ่งมีสิทธิ์และอำนาจตามบทบัญญัติตามกฎหมาย ด้วยอำนาจอนุมัติที่ได้จากภาครัฐ และสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันชาติ, ศาสนา, และพระมหากษัตริย์

สมาชิกภาพ และสิทธิ์ และ/หรือ อำนาจ ที่บุคคล และนิติบุคคล ได้เพิ่มเติม จากบุคคล และ/หรือ นิติบุคคล เหล่านี้ จะทำให้มีขอบเขตของสิทธิ์ และอำนาจ ที่มากขึ้นในบางเรื่อง หรือลดลงในบางด้านขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ และสิ่งนี้ก็จะส่งผลให้ ภพผู้เลี้ยงผู้รักษา สามารถคำนวณกำลังหล่อเลี้ยง และปรุงสมบัติผู้เลี้ยงผู้รักษา มาช่วยเอื้ออำนวยการให้แด่ บุคคล และ/หรือ นิติบุคคล ได้ดีขึ้น และมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร (CEO) ห้างสรรพสินค้า ที่ได้รับตราตั้งห้างพระครุฑพ่าห์ เมื่อเทียบกับห้างอื่นที่ไม่มีตราพระครุฑพ่าห์ ห้างที่มีตราพระครุฑพ่าห์ ส่วนใหญ่จะมีสิทธิ์ และอำนาจ รวมถึงสมบัติผู้เลี้ยงที่ดีกว่า แต่ไม่เสมอไป เพราะยังมีเหตุปัจจัยส่งผลอื่นๆ อีกด้วย แต่ถ้าหากตัวแปรทุกอย่างเท่ากันหมด บริษัทห้างร้านที่มีตราพระครุฑพ่าห์ ก็จะดีกว่าครับ นั่นหมายความว่า ความเป็นไปต่างๆ ในเมืองมนุษย์ มิได้เป็นเพราะเทวดาฟ้ากำหนด 100% แต่เนื่องกันและกันมากน้อยต่างกันไป กล่าวคือเทวดาก็ทำให้ชีวิตมนุษย์ดีขึ้นได้ ในขณะที่มนุษย์ก็ทำให้กำลังเทวดา และสมบัติผู้รักษาดีขึ้น ดังฉะนี้.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

26 มิถุนายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง มณฑลแห่งพระนิพพาน (The Sphere of Nirvana)

เรื่องพระนิพพาน เป็นเรื่องที่ชาวพุทธนิกายเถรวาทตั้งประเด็นถกกันเป็นอันมาก เพราะพระไตรปิฎก หรือคัมภีร์นิกายเถรวาท ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพระนิพพาน อย่างจำกัด และดูคลุมเครืออยู่บ้าง ในขณะที่ คัมภีร์ของมหายาน และวัชรยาน แสดงเอาไว้อย่างชัดเจน และสอดคล้องกันดี แถมยังสามารถวาดออกมาเป็นภาพ Mandala (พระพุทธมณฑล) ได้อีกด้วย

การที่พระไตรปิฎกของนิกายเถรวาท ระบุคุณลักษณะของพระนิพพานเอาไว้นั้น ผมขออธิบายในเชิงวิชชาว่า พระนิพพานมีหลายรูปแบบ ตามอัธยาศัยของผู้ที่จะเข้าไปประทับอาศัยอยู่ ซึ่งจะเป็นไปตามวาสนาบารมี, กรรมที่บำเพ็ญไว้, และต้นสังกัดสายธาตุสายธรรมที่สั่งส่งลงมาเกิด มีการ เรียกกลับคืน สู่ภพภูมิที่มา ในขณะที่บางท่านที่หมดกิเลสแล้ว ก็เข้านิพพานของส่วนรวม ตามระบบกลไกปกติของภพ

การศึกษาเรื่องพระนิพพาน โดยพิจารณาครอบคลุมถึง คัมภีร์ของฝ่ายมหายาน และวัชรยาน จะช่วยให้เกิดองค์ความรู้ที่กว้างขึ้น เหมือนชาวพุทธไทยนิกายเถรวาทจะสังคายนาพระไตรปิฎก ก็ต้องนำพระไตรปิฎกของพม่า กัมพูชา และศรีลังกา ฉบับภาษาบาลีมาเปรียบเทียบกัน เพื่อดูว่า มีอะไรขาดตกบกพร่อง มีอะไรเกิน หรือไม่ ในทำนองเดียวกัน การศึกษาพระนิพพาน โดยแสวงหาองค์ความรู้จากคัมภีร์พุทธศาสนานิกายอื่นประกอบ ก็จะช่วยได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคัมภีร์ของเถรวาทไม่ชัดเจนมากพอ

สำหรับในเชิงวิชชานั้น พระนิพพานมีหลายแบบ เหมือนพระอุโบสถ ที่บางวัดกำหนดด้วยพื้นที่ของถ้ำ บางแห่งกำหนดเอาลานกว้างที่มีสีมา และหลายๆ แห่งก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคาร ในทำนองเดียวกัน พระนิพพาน ก็มีทั้งแบบที่โล่งกว้าง หรือปราสาทราชวัง แต่ทั้งนี้ พระนิพพานทุกแห่ง ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพใด จะมีคุณลักษณะ 3 ประการหลัก เหมือนๆ กัน คือ (1) สะอาดบริสุทธิ์ไม่มีมลทิน และผู้ประทับในนิพพานก็ไม่มีกิเลสมลทิน (2) เป็นสุขอย่างยิ่ง ไม่มีความทุกข์เจือปน และ (3) เมื่อเข้าไปประทับแล้ว ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกก็ได้

ส่วน ปราสาทวิชชา ซึ่งเป็นที่ประทับของหลวงพ่อสดฯ ในสภาพกายทิพย์หรือ “สมณะเทวา” นั้น ก็คือ วิมานทิพย์ประเภทหนึ่งที่สำเร็จขึ้นด้วยแก้วของเมืองนิพพาน จัดเป็น นิพพานสมบัติซึ่งยังบรมสุขให้เกิดขึ้น ต่อผู้ประทับอาศัยทำวิชชา ประดุจดังว่าประทับอยู่ในเมืองนิพพาน ต่างเพียงว่า ปราสาทวิชชานั้นสามารถเคลื่อนย้าย ไปประดิษฐานอยู่ตามภพภูมิต่างๆ ตามใจปรารถนาของเจ้าของ เพื่อประโยชน์ในการบำเพ็ญวิชชา และบารมีต่อไป โดยยังไม่ถึงกับต้องกลับเข้าไปอยู่ในพระนิพพาน เหมือนพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์โดยทั่วไปครับ.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

16 มิถุนายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง องค์วัษฯ และ ปริญญะกิจจานาม


ตามที่ข้าพเจ้าได้โพสต์ทางเฟสบุ๊ค และรจนาไว้ในหน้าเว็บนานาสาระ ของ Meditation101.org ไว้ว่า การนับลำดับขั้น (hierarchy) ของบุคคลต่างๆ ทางวิช(ช)า นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ เช่นนับถือตามตำแหน่งประกาศิต ผู้เป็น “เจ้า” สวรรค์ในประเภทต่างๆ เช่นเจ้าวิจิตรา, เจ้าพัสตรา, เจ้าจริยา หรือนับตามความนับถือเป็นใหญ่ทั้งในโลกวิชชาและโลกสวรรค์ อย่าง เจ้าเวฆินทร์ และเจ้าเมฆินทร์ หรือจะนับถือตามลำดับขั้นของความยิ่งใหญ่ในโลกแห่งสายวิชชา เช่น จุลจักรฯ, มหาจักรฯ, บรมจักรฯ ฯลฯ ในโอกาสนี้ ข้าพเจ้าขอรจนาถึง ตำแหน่ง “องค์วัษฯ” ซึ่งนับถือกันว่าเป็น “ปริญญะกิจจานาม” (work achievement accredition) ซึ่งหมายความว่า บุคคลนั้นๆ เป็นผู้ทรงคุณ อันมี “กิจ” เป็นที่ยอมรับนับถือของผู้ทรงคุณอื่นๆ ทั้งหลาย โดยผลงาน ไม่ว่าจะเป็นในทาง “งาน” หรือ “วิชชา” หรือ “วิชา” ซึ่งการใช้ตำแหน่งเรียก “องค์วัษฯ” นี้ มีลักษณะคล้ายการเรียกชื่อปริญญาพร้อมอักษรย่อ ต่อท้ายชื่อและนามสกุลของบุคคล เพื่อบ่งบอก ระดับและประเภทของความรู้ที่เรียนจบจากสถาบันอุดมศึกษา อย่างเช่น “ศศ.บ” คือ ศิลปศาสตร์บัณฑิต “ศศ.ด." คือ ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ในทำนองเดียวกัน ผู้ทรงคุณในโลกแห่งวิชชา มีการเรียกขาน “ปริญญะกิจจานาม” ตามลำดับขั้นต่างๆ ดังนี้:

(1A) องค์อิษษี คือบุคคลผู้ครองธรรมอันชอบแล้ว ไม่ว่าจะโดยมรรคผล หรือเป็นนักบุญ

(1B) องค์อิษษา คืออเสขะบุคคล คือผู้ที่ยังไม่ครองธรรมอันแน่นอนอย่างยั่งยืน

(2A) องค์วษิฑา คือองค์วัษฯ ผู้เป็นใหญ่ขั้นสูงสุด มีกิจอันเป็นคุณประโยชน์ได้รับการยอมรับนับถืออย่างมากในบรรดาผู้ทรงคุณมากถึง 50,000 คน/คณะ

(2B) องค์วษา มีผู้ทรงคุณยอมรับนับถือผลงานอันสำเร็จแล้วมากถึง 6,000 – 10,000 คน/คณะ

(2C) องค์วษี มีผู้ทรงคุณยอมรับนับถือผลงานอันเป็นที่ประจักษ์มากถึง 2,000 – 4,000 คน/คณะ

(2D) องค์วษิ เป็นที่ยอมรับนับถือโดยผู้ทรงคุณ 500 – 1,000 คน/คณะ

(2E) องค์วษะ เป็นที่นับถือกันโดยทั่วไปโดยเบื้องต้น

(3) ประเภทของสาขาแห่งกิจอันเป็นที่โดดเด่น เช่น “บารมีเด่น” “บารมีธาตุ” “บารมีธรรม” และ “บารมีวิชชา” ฯลฯ

 

โดยนัยนี้ บุคคลผู้ทรงคุณหนึ่งๆ เมื่อมีกิจ อันเป็นที่ประจักษ์ยอมรับนับถือในหมู่ผู้ทรงคุณด้วยกัน ไม่ว่าจะโดย “วิชชา” “วิชา” หรือ “งาน” ก็จะมี “ปริญญะกิจจานาม” เป็นที่เรียกขาน เช่น “องค์อิษษีวษา บารมีเด่น” หรือ “องค์อิษษาวษี บารมีวิชชา” คล้ายๆ คุณลักษณะทางการศึกษาที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้พ่วงท้ายหลังชื่อและนามสกุลบุคคล ในยามที่ต้องมีการเอ่ยอ้างถึงอย่างเป็นทางการ เช่นในงานประชุม หรือการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังในการมาก่อนมาหลัง หรือการให้เกียรติกันก่อนหลัง หรือการทำความเคารพกันและกัน ดังฉะนี้.


หมายเหตุ: มีท่านสงสัยถามว่า ในเมื่อเป็นผู้ทรงคุณแล้ว เพราะเหตุใดจึงยังต้องเจ้ายศเจ้าอย่าง แสวงหาตำแหน่งให้เป็นที่ยอมรับนับถือ คำตอบคือ อารมณ์จะคล้ายๆ ตำแหน่งเอตทัคคะ ของพระอริยบุคคล ซึ่งเป็นไป “โดยสมควร” คือ สมกับความทุ่มเทเป็นพิเศษที่ได้ทำเอาไว้มากกว่าใครอื่น นอกจากนี้ หากผู้ทรงคุณมีตำแหน่ง ท่านก็สามารถข่มบุคคลที่ควรข่มเอาไว้ได้ แต่ปกติแล้วผู้ทรงคุณด้วยกันจะแสดงออกอย่างให้เกียรติกันและกันแบบ “ถ่อมตัวไว้ก่อน” เป็นปกติ แต่เมื่อพบกับบางท่านที่อาจเป็นพาลชน อย่างเช่นเทวบุตรมาร อย่างท้าววัสวตี การที่เรามีตำแหน่งใหญ่พอ ก็จะสามารถดำรงอยู่อย่างสมควรได้ ไม่ต้องให้ความเคารพก่อน หรือหลบหลีกให้เมื่อเคลื่อนผ่านครับ. 

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

4 มิถุนายน 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง “เถ้าอัฐิ” กับ “บุญมหาอานิสงส์สุดท้าย”

ประเพณีทางพระพุทธศาสนาของไทย นิยมเผาร่างผู้เสียชีวิต แล้วอัฐิที่เหลือก็นำไปโปรยลงแหล่งน้ำบ้าง เก็บใส่โกศอัฐิบ้าง แต่เมื่อวันเวลาผ่านพ้นยุคสมัยไป ลูกหลานคนรุ่นใหม่ ที่ไม่รู้จักมักคุ้นกับปู่ย่าตาทวด ก็อาจจะไม่ประสงค์ที่จะเก็บรักษาอัฐิ

ผมจึง innovate ไอเดีย solution เรื่องอัฐิของชาวพุทธว่า เราสามารถ นำเถ้าอัฐิและอังคารที่เหลือจากการฌาปนกิจ ไปผสมปูนแล้วปั้นเป็นสิ่งมงคลสำหรับบูชาพระพุทธรูปได้ครับ เช่นฐานพระพุทธรูป และดอกไม้ดอกบัวปูนปั้น หรือจะปั้นเป็นธรรมจักร, ต้นโพธิ์, ต้นไม้ สำหรับบูชาพระ

โดยนัยนี้ ผู้เสียชีวิตจะได้บุญมหาอานิสงส์เพิ่ม ตลอดอายุการใช้งานของถาวรวัตถุนั้น ดีกว่าเก็บใส่โกศตั้งไว้เฉยๆ เพราะส่วนของร่างกายถูกนำไปใช้สร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา แต่เราอาจจะจัดสถานที่ประดิษฐานหรือติดตั้งไว้ต่างหาก ไม่ปะปนกับสถานที่บูชาพระซึ่งญาติธรรมทั่วๆ ไปจะมากราบไหว้บูชาครับ เพราะญาติโยมทั่วไป ก็คงไม่คุ้นกับการมากราบไหว้และเข้าชมงานปูนปั้นอัฐิผู้อื่น

ที่สำคัญ ขอให้ระมัดระวัง อย่าได้นำ อัฐิมาผสมปูนปั้นเป็นพระพุทธเจ้า แล้วนำมาให้ญาติโยมอื่นๆ กราบไหว้นะครับ แม้จะได้บุญบารมีมาก เพราะไม่สมควร แต่จะเป็นอย่างไรอื่น ต้องให้ครูบาอาจารย์ท่านชี้แนะให้เป็นรายๆ ไปครับ อย่างเช่นกรณีของพระธรรมกายประจำตน ถ้าหากนำอัฐิของพระสงฆ์มาปั้นเป็นรูปพระสงฆ์รูปนั้นเอง แล้วให้ญาติโยมกราบไหว้บูชา แบบนี้ก็ไม่ผิดครับ นอกจากนี้ก็ยังสามารถผสมปูนหรือวัสดุต่างๆ อย่างเช่นเรซิน เพื่อปั้นหรือหลอมเป็นวัตถุสิ่งต่างๆ ตามคติธรรมทางพระพุทธศาสนา อย่างเช่นพระสถูปเจดีย์ หรือนำเถ้าอังคารของพระอริยบุคคลมาหล่อปูนเป็นช่อฟ้า ได้ตามประสงค์ครับ.

 

สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

2 มิถุนายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

นานาสาระ: เรื่อง บุญหัวกะทิ หรือบุญที่มีธาตุมาก


"บุญหัวกะทิ" นั้นก็คือบุญที่ควบแน่นเป็นบารมีได้อย่างสัมบูรณ์กว่า และมีอานิสงส์แรงกว่าตามกฎแห่งกรรมครับ ซึ่งก่อนอื่นผมขอเอ่ยอ้างก่อนว่า “เครื่องธาตุเครื่องธรรม” อันเป็นประดุจคอมพิวเตอร์ server ที่ควบคุมความเป็นไปในวัฏสงสาร ด้วยโปรแกรม “กฎแห่งกรรม” จะประมวลข้อมูลป้อนเข้าหรือ input จากกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของมนุษย์และสัตว์ ตามคุณลักษณะ และปริมาณ ว่าดีมากดีน้อย ทำมากทำน้อย และบ่อยครั้งกว่า หรือนานมากน้อยกว่า ดังนั้น ถ้าฟังก์ชั่นของบุญมีตัวแปรคือ ดีมาก ทำมาก ผนวกกับเวลา ที่นานมาก และบ่อยมาก เวลาเครื่องคำนวณบุญจ่ายกลับมา ก็จะได้มากและได้อย่างดีเป็นเงาตามตัว เป็นบุญที่มีเนื้อแน่น อุปมาเหมือนกับ “น้ำหัวกะทิ” ที่เข้มข้น เมื่อเปรียบเทียบกับ “น้ำหางกะทิ” อย่างเช่นบุญจากการอนุโมทนาที่ทำอย่างสบายๆ

ดังนั้น ถ้าหากเรามีเงินสองก้อน ก้อนแรกคือได้มาจากการถูกล็อตเตอรี่ ที่ไม่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจมากนัก หรือเงินที่ได้จากการเล่นการพนัน หรือเงินของขวัญจากผู้อื่น กับก้อนที่่สองที่ได้มาจากการทำงาน หามาอย่างยากลำบาก ถ้าจะใช้ทำบุญ เราควรใช้เงินที่ได้จากการการทำงานด้วยความวิริยะอุตสาหะ ไปทำบุญ ทำทาน จะได้บุญมาก และเป็นบุญเนื้อแน่น มี "ธาตุบุญ” มาก ส่วนเงินที่ได้มาอย่างง่ายๆ เมื่อเอาไปทำบุญแล้ว อานิสงส์น้อยกว่า แม้จะมากกว่า (แต่ไม่เสมอไป)

ส่วนว่าทำไมเราจึงต้องทำบุญ หรือแสวงหาบุญหัวกะทิ จะไม่เป็นการโลภมากหรือ ก็ขอตอบว่าในโลกธาตุนั้น ปกติแล้วบุญจะเป็นเสมือนพลังงาน อุปมาได้กับ “เงินสด” ที่ใช้จ่าย แลกเปลี่ยนนำมาซึ่งความประเสริฐกว่าของชีวิต แม้แต่การจะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ก็ต้องมีบุญสะสมมากพอ ส่วนการแสวงหาบุญ ทั้งหัวกะทิ หางกะทิ ก็มีเคล็ดลับอยู่ว่า ให้เราสั่งสมบุญโดยมุ่งหมายอานิสงส์ทางธรรม คือ “มรรคผล นิพพาน” เป็นหลัก แทนที่จะมุ่งแสวงหาอานิสงส์ทางโลก คือความร่ำรวย ความสวย ความหล่อ แต่เพียงเท่านั้นครับ.

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

29 พฤษภาคม 2565

www.Meditation101.org


รัศมีชนิดต่างๆ

(1) “สุริยะรังสี” แลดูเจิดจ้า เหมือนพระอาทิตย์ยามเที่ยงวัน เกิดจากบุญญาธิการหลายๆ อย่างรวมกัน และทำบุญด้วยแสงสว่างอย่างเอกอุ รวมถึงการบรรลุธรรม และวิชชาอันเลิศ หรือสั่งสมบารมีหลายอย่างมาเนิ่นนานพอ

(2) “จันทระรังสี” แลดูนวลแจ่มเย็นสงบตา เหมือนพระจันทร์เต็มดวงที่ทรงกลดเป็นรัศมีวงกว้าง กลางค่ำคืน

(3) “สุวรรณรังสี” แลดูอร่ามเรืองรอง ดุจดวงอาทิตย์อุทัยทอแสงสีทองในยามเช้าจับขอบห้วงฟ้า อันกว้างไกล เกิดจากการทำบุญเนื่องด้วยทองคำแท้ หรือมีวิชชามากพอ

(4) “มณีรังสี” แลดูสีสันสดใส เหมือนแสงไฟแห่งอัญมณีอันแวววาว เกิดจากการทำบุญเนื่องด้วยอัญมณีและรัตนชาติ

(5) “รัชตะรังสี” แลดูสีเรืองเงินยวง ราวผิวน้ำกระทบแดด แลดูดารดาษระเรื่อเป็นที่งดงาม

(6) “ดารารัตน์รังสี” แลดูโดดเด่น เปล่งประกายแฉกฉูดฉาดดุจดาวประกายพรึก เป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจ

(7) “ปุษยารังสี” แลดูสีสันสดสวยน่าชื่นบานใจ เหมือนทุ่งดอกไม้ยามผลิบาน ซึ่งบ้างก็เกิดขึ้นพร้อมกลิ่นหอม เกิดจากการทำบุญเนื่องด้วยดอกไม้

หมายเหตุ: รังสีแต่ละประเภทมีด้วยกันหลายขั้น คือ

     (A)  รังษิเมฆินทร์ / รังสิเมฆินทร์ 

     (B)  รังษิเวฆินทร์ / รังสิเวฆินทร์

     (C)  รังษิยะประภา / รังสิยะประภา

     (D)  รังษิยะอาภา / รังสิยะอาภา

     (E)  รังษิยาภา / รังสิยาภา

     (F)   รังษิยา / รังสิยา

     (G) รังษี / รังสี

     (H)  ประภัสสรา

     (I)     ประภา

     (J)   อาภา

     (K)  ภา

 

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

วิธีเล่นประกาฯ ให้เป็น "มณีรังสี" และ "สุวรรณรังสี" และ "รัชตะรังสี"

(1) สำแดงดวงตราประกาศิต ในการ “จัดซื้อ” อัญมณี, ทองคำ, เงิน, ทองคำขาว เพื่อจัดสร้างถาวรวัตถุ และ/หรือ วัตถุมงคลทางวิชชาและพระพุทธศาสนา เช่นยอดพระเจดีย์, เครื่องทรงพระพุทธรูป, ผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ ฯลฯ

(2) สำแดงดวงตราประกาศิต ในการ “ถวาย” อัญมณี, ทองคำ, เงิน, ทองคำขาว เพื่อจัดสร้างถาวรวัตถุและ/หรือ วัตถุมงคลทางวิชชาและพระพุทธศาสนา

(3) จัดหาวัตถุหรือภาพของ อัญมณี, ทองคำ, เงิน, ทองคำขาว มา แล้วเช็ด อัญมณี, ทองคำ, เงิน, ทองคำขาว เช็ดให้สะอาดในญาณ (ถ้าทำได้) และ/หรือ แช่ในน้ำมนต์ จากนั้นจึงทำวิชชาประกอบ แล้วถ่ายภาพ จากนั้นจึงนำสีจากภาพ อัญมณี, ทองคำ, เงิน, ทองคำขาว มาสร้างเป็นภาพดวงตราประกาศิต แต่ละสีละสี จากนั้นจึงใช้ดวงตราประกาศิตในการทำบุญทำกุศลสร้างบารมีคุณงามความดี

(4) จัดหาวัตถุหรือภาพของ อัญมณี, ทองคำ, เงิน, ทองคำขาว มา แล้วเช็ด มณี, ทองคำ, เงิน, ทองคำขาว ให้สะอาดในญาณ (ถ้าทำได้) และ/หรือแช่ในน้ำมนต์ จากนั้นจึงทำวิชชาประกอบ แล้วถ่ายภาพ จากนั้นจึงนำภาพของอัญมณี, ทองคำ, เงิน, ทองคำขาว ในรูปลักษณ์ต่างๆ นั้น มาประกอบดวงตราประกาศิต เพื่อสำแดงเป็นภาพในการทำบุญทำกุศลสร้างบารมีคุณงามความดี



 

จดลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

ณ วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


Q&A: เพราะเหตุใด “พลอยสตาร์” จึงมีความล้ำค่าในเชิงวิชชา?

ก่อนอื่นต้องแยกแยะก่อนว่า “สตาร์” หรือ “ดารา” (ดาว) นั้นเป็นดาราในวิชชา ซึ่งเป็นของทิพย์ มีลักษณะเป็นภพทิพย์ที่มีกำลัง ส่วนอีกอย่างก็คือ “ดารา” ของหยาบ เหมือนดาวพระศุกร์ เราเห็นเป็นดาวดวงเล็กบนท้องฟ้า แต่เมื่อดูของหยาบ เป็นดาวพระเคราะห์ดวงใหญ่ ซึ่งมีทั้งของหยาบ และของทิพย์ปรากฏอยู่ต่างกัน ดารานั้น ยิ่งถ้าหากมีแสงเปล่งออกไปในวงกว้าง ก็ถือว่ามีกำลังมาก และยิ่งถ้าหากมีแฉกของแสงมากหลายแฉก ก็ถือว่ามีฤทธิคุณมาก ส่วนพลอยที่มี “สตาร์” คือแสงส่องกระทบเป็นรูปดาวแฉกนั้น จัดเป็น “รัศมีของพลอย” หรือ “รัศมีของมณี” ซึ่งเริ่มตั้งแต่ “วาว” คือแสงเลื่อมบนตัวพลอย กระทั่งเป็น “สกาว” คือแสงที่กระทบพลอยแล้วส่องออกมาโดยยังไม่มีแฉก และเป็น “ดาว” คือแสงกระทบพลอยแล้วส่องออกมาเป็นรูปดาวแฉก โดยที่พลอยซึ่งมีสตาร์ หรือรัศมีดาวดวงใหญ่และมีแฉกมาก ก็ถือกันว่าเป็นของดีทั้งในแง่คุณภาพและราคาของพลอย รวมถึงอิทธิคุณในทางวิชชา หากนำไปใช้เดินวิชชา (กสิณอัญมณี) ซึ่งอัญมณีปกติทั่วไปจะมีกายสิทธิ์สถิตอยู่ด้วย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางวิชชาได้ ดังเช่นบางท่านสามารถ "เด็ดดาว" จากอัญมณี ไปใส่ไว้ในกายวิชชาของตนได้ ดังนี้.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

1 เมษายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

Q&A: การหล่อพระพุทธรูปปางกายมหาบุรุษ กับปางพระจักรพรรดิให้อานิสงส์ต่างกันอย่างไร?

          การหล่อพระพุทธรูปนั้นมีด้วยกันหลายแบบ โดยหลักคือ แบบที่มีส่วนของผู้ทรงคุณซ้อนอยู่ และอีกแบบคือไม่มีส่วนซ้อน แต่อาจมีเทวดาเฝ้ารักษา พระพุทธรูปที่มีส่วนซ้อน ยกตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปของสมเด็จองค์ปฐมบรมครู ซึ่งสมเด็จองค์ปฐมทรงลงสถิตในพระพุทธรูป ตามสัดส่วนมากบ้างน้อยบ้าง เช่น 20% หรือ 50% ของตัวตนของท่าน ตามแต่จะปาฏิหาริย์ออกมา กับอีกแบบคือสร้างแบบไม่มีวิชชา ก็สร้างเป็นพระพุทธรูปโดยไม่มีส่วนตัวตนของเจ้าของหุ่นซ้อน แต่อาจมีการเชิญเทวดาลงรักษา อานิสงส์ก็จะต่างกัน เหมือนสร้างพระเจดีย์แล้วประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กับไม่ได้บรรจุ

            ดังนี้แล้ว พระพุทธรูปประเภทที่มีส่วนซ้อนอยู่ ก็มักจะให้อานิสงส์ผลบุญมากกว่า ซึ่งปกติแล้วคนทั่วไปสร้างพระเป็นพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ เช่นพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ของกัปปัจจุบัน พระพุทธรูปก็ดูเหมือนๆ กัน ดูเผินๆ แยกแยะไม่ออก ว่าองค์ใดเป็นองค์ใด แต่ถ้าซ้อนส่วน คืออาราธนาพระพุทธเจ้าทรงปาฏิหาริย์กายลงสถิต ก็จะดูกันที่ส่วนว่า พระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระพุทธเจ้าองค์นั้น องค์นี้ และยิ่งถ้าหากลงส่วนมาก ปกติแล้วอานิสงส์บุญจากการสร้างก็จะมากขึ้นด้วย ยกเว้นบางพระองค์จะเชิญลงมาซ้อน ก็ต้องจ่าย “ธาตุบุญ” เป็นค่าตอบแทน ซึ่งเมื่อท่านลงซ้อนแล้ว ท่านก็จะบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับวัดวาอาราม นำความสุขความเจริญมาสู่สำนัก และปัดเป่าทุกข์ภัยให้กับผู้มากราบไหว้บูชา ทั้งนี้ผู้จัดสร้างก็อาจจะกำไรบุญจากโครงการ หรือระดมทุนทรัพย์ ระดมคน ทำกิจกรรม ประโยชน์ที่ได้ รวมถึงการสร้างชื่อเสียง ได้มาคุ้มค่าพอกับธาตุบุญที่จ่ายไป

            ส่วนพระพุทธรูปจะเป็นปางกายมหาบุรุษ หรือปางพระจักรพรรดิ โดยปกติแล้ว สร้างปางกายมหาบุรุษจะได้บุญที่สะอาดสุขุมนุ่มนวลมากกว่า สาเหตุเพราะกายมหาบุรุษนั้นกราบไหว้บูชา เพ่งพิศแล้วทำให้รู้สึกสงบจิตสงบใจ ชุ่มเย็น ในขณะที่ปางพระจักรพรรดิ ทำให้เกิดรู้สึกสูงส่ง เลิศล้ำ เลอค่า และดูมีฤทธิ์มากกว่า บุญจากการสร้างพระปางพระจักรพรรดิ จึงมักเป็นบุญที่มีฤทธิ์แรง ประกอบกับปางพระจักรพรรดิมีรายละเอียดของเครื่องประดับมากกว่า สร้างยากกว่า   แต่อานิสงส์จะส่งอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับพระพุทธรูป ว่าเป็นหุ่นของใคร และส่วนของใครลงซ้อนสถิต ผู้ลงซ้อนทรงคุณด้านใด มียศศักดิ์ใดในธาตุในธรรม และซ้อนลงกี่ส่วน ซึ่งเป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางอานิสงส์ต่อไปอีก ไม่ได้หมายความว่า สร้างพระจักรพรรดิแล้วจะรวยกว่าปางมหาบุรุษเสมอไป เพราะถ้าหากส่วนที่ลงสถิต มีกำลังด้านสมบัติด้อย หรือเป็นผู้มีฤทธิ์น้อย อานิสงส์อาจจะไม่มาก ส่วนบางองค์อาจจะสร้างหุ่นประดับประดาน้อย แต่ส่วนที่ลงสถิตเป็นพระพุทธจักรพรรดิ ผู้ยิ่งยง มีกำลังมาก และลงส่วนมาก ก็จะมีอานิสงส์มาก ดังนี้.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

1 เมษายน พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง ภพทั้ง 7 ผู้ประชุมสายสั่งวิชชา

ดังที่ข้าพเจ้าได้เคยรจนาความไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า ดวงปฏิทัย, ปฏิทัยยะ, และบริพรรดิ มีความสำคัญในแง่ของศักดิ์, สิทธิ์, และอำนาจ ในการประชุม, สั่ง, กำกับ, และเปิดเผยวิชชา ในหมู่องค์คณะผู้ทรงวิชชา ไม่ว่าจะเป็นสายธรรม อย่างพระธรรมกาย หรือสายพระจักรพรรดิ ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงผู้ที่ “ศักดิ์สิทธิ์” ดวงปฏิทัย, ปฏิทัยยะ, และบริพรรดิ ขึ้นในทั้ง 7 ภพหลักๆ (อาจมีนอกเหนือจากนี้ซึ่งมิได้นับเป็นหลัก) ได้แก่ (1) มงกุฎ (2) มณี (3) เทพา (4) ดารา (5) ประกา (6) หัตถา และ (7) ธาตุธรรมา ซึ่งแต่ละภพก็มีผู้ดูแลรักษาและคอยอำนวยการให้ “ผู้เล่น” โดยที่ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่เล่นได้ จะต้องจ่าย “ธาตุบุญ” เป็นการแลกเปลี่ยน

(1)  สำหรับภพมงกุฎนั้น หากผู้ใดได้รับสถาปนาดวงตรามงกุฎ หรือครอบครององค์มงกุฎ อย่างใดอย่างหนึ่งที่มีบทบัญญัติแห่งอำนาจรับรอง จะสามารถเรียก ปฏิทัย, ปฏิทัยยะ, และ บริพรรดิ จากภพมงกุฎได้ โดยขึ้นอยู่กับลำดับชั้นของพระมงกุฎ เช่นพระมงกุฎชั้นเอก, มหามงกุฎ, จุลมงกุฎ เป็นอาทิ แต่ภพมงกุฎจะคิด “ธาตุบุญ” เป็นค่าเรียกแพงมากเป็นพิเศษ อีกทั้งดูจะเป็นการยากสำหรับคนสามัญทั่วไป ที่จะได้มงกุฎ ยกเว้นแต่จะเล่นในวิชชา

(2)  มณีคือการบำเพ็ญบารมีด้านมณี หรือเพชรนิลจินดา เรียกว่าเล่นมณี รวมถึงเล่นแก้ว เช่นทำบุญประดับพระพุทธรูป พระเจดีย์ หรือผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยอัญมณีสีต่างๆ ถวายดวงมณีบรรจุพระพุทธรูป และพระเจดีย์ ฯลฯ กระทั่งตรัส มณียา, จอมมณี, เจ้ามณี ตามลำดับ ก็จะสามารถขอดวง “ปฏิทัย(ยะ)” และ “บริพรรดิ” ได้ หรือถวายมณีแด่เจ้าสี ด้วยมณีที่มีสีตรงกับเจ้าสีนั้น ครบทั้ง 22 สี โดยมีขนาด 5 กะรัตเป็นอย่างน้อย (ได้ปฏิทัย และปฏิทัยยะ) หรือ 3 กะรัตเป็นอย่างน้อย (ได้บริพรรดิ) แต่จะต้องเลือกเข้าสังกัดสีใดสีหนึ่งเป็นทางการ และต้องจ่าย “ธาตุบุญ” เป็นค่าเรียกด้วย

            (3)  เทพาฯ ได้แก่ เหล่าเจ้าวงศ์ เจ้าองค์ เจ้าสาย ซึ่งทรงวิชชา แล้วตั้งคณะแห่งตนขึ้น จัดให้มีการเข้าสังกัด เพื่อบ่มบำเพ็ญ โดยเทพาฯรับเป็นผู้เลี้ยงวิชชา และ/หรือ วิชา เพื่อให้สมาชิกที่มาเข้าสังกัดมีอินทรีย์แก่กล้า ทำกิจสำเร็จลุล่วงดังใจหมาย โดยเหล่าเทพาฯ อย่างเช่นพระยูไล พระโพธิสัตว์กวนอิม พระวัชระปาณี พระตาระสีต่างๆ ฯลฯ จะจัดลำดับชั้นของสมาชิก และผู้ที่มีผลงานกระทั่งได้เลื่อนขึ้นชั้นสูง ก็จะได้รับ ปฏิทัย, ปฏิทัยยะ, และบริพรรดิ ตามลำดับศักดิ์ โดยต้องจ่าย “ธาตุบุญ” เป็นการแลกเปลี่ยนด้วยเช่นกัน

(4) ดารา คือการเล่นดาราในวิชชา ได้แก่การเก็บและส่งดาราของทิพย์ หรือหากเป็นดาราในโลกมนุษย์ ก็ได้แก่ดาราอิสริยาภรณ์ ซึ่งหากผู้เล่นสามารถได้รับดาราอิสริยาภรณ์ในราชวงศ์เดียว 7 ดวงต่างประเภท (มีสายสะพาย หรือรองสายสะพาย) หรือต่างราชวงศ์รวมกัน 12 (มีสายสะพายหรือรองสายสะพาย) เป็นอย่างน้อย ก็จะขอเรียก ปฏิทัย, ปฏิทัยยะ, หรือบริพรรดิ แห่งดาราได้ตามแต่กรณี

(5) ประกาศิต ถือได้ว่าเป็นการเล่นที่ได้ยากที่สุด ในบรรดาภพทั้งหลายที่ประชุมปฏิทัย, ปฏิทัยยะ, และบริพรรดิ ให้ได้ เพราะผู้เล่นจะต้องรับ-ส่ง ประกาศิต ด้วยการเล่นในวิชชา หรือเล่นด้วยรูปลักษณ์ภายนอก กระทั่งขั้นของประกาศิตไต่ขึ้นชั้นสูงนับร้อยชั้น ซึ่งบางชั้นก็ขึ้นได้ยากมาก แต่ถ้าเล่นได้สำเร็จ ก็จะได้ทั้งยศประกาศิต คือยศที่เหล่าเทพเทวดานับถือ รวมถึงสิทธิพิเศษต่างๆ จากเทพผู้รักษาประกาศิต รวมถึงศักดิ์ สิทธิ์ และอำนาจ แห่งปฏิทัย, ปฏิทัยยะ, และบริพรรดิ ในเวลาเดียวกัน โดยต้องเล่นกระทั่งถึงขั้น “ไผท” สำหรับ ปฏิทัย และปฏิทัยยะ หรือหย่อนลงมา สำหรับ บริพรรดิ แต่การเรียกนั้นไม่ต้องจ่าย “ธาตุบุญ” เพียงแต่เวลาร่วมบุญพิธีแล้วเล่นประกาศิตได้บุญมา จะมีสิทธิ์เลือกว่าจะแบ่งกำไรบุญให้เทพผู้รักษาประกาศิตด้วยหรือไม่ นอกจากนี้ การสำแดงประกาศิต ยังเป็นการทับทวีอานิสงส์ ยกตัวอย่างเช่น หากบุคคลเล่นมณีโดยสำแดงดวงตราประกาศิตร่วมด้วย ไม่ว่าจะในวิชชา หรือรูปลักษณ์ภายนอก อานิสงส์ที่ได้ ก็จะมากกว่าปกติ ราวกับว่ามีผู้ทรงวิชชาคอยคุมวิชชาให้เป็นการส่วนตัว

(6) หัตถา/บาทา คือการแสดงรอยพิมพ์ฝ่ามือหรือฝ่าเท้า เป็นรอยประทับในวิชชาหรือด้วยรูปลักษณ์ภายนอก ในการสำแดงวิชชา หรือสำแดงงาน ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น, ส่วนรวม และสรรพสัตว์ อีกทั้งเป็นการสำแดงแสนยานุภาพ และกำลังแห่งพระหัตถ์ หรือพระบาท ว่าเป็นสิริมงคล นำมาซึ่งชัยชนะ และความสำเร็จ โดยแบ่งเป็น 6 ขั้นหลัก ได้แก่ (ก) เอกภุชงค์ (ข) สรณังกร () เทพากร () ปกรณัมม์ () ทินกร/รวิกร  () ษัมภุฌิห์ ซึ่งในยุคสมัยที่เทคโนโลยียังไม่เจริญ ผู้เล่นอาจจะประทับรอยหัตถ์ หรือบาท ไว้บนกระดาษ แผ่นไม้ ก้อนหิน หรืออื่นๆ อย่างเช่นในวิชชา เพื่อเป็นการประกาศชัยและความสำเร็จของงานให้แพร่หลาย แต่ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเจริญมาก เพียงแค่โพสต์ภาพในโซเชียลมีเดีย ไม่กี่วินาทีก็เห็นกันได้ทั่วโลก ทำให้ได้เลื่อนขั้นสะดวกขึ้น แต่การเล่นหัตถาและบาทา ก็ไม่ง่าย เพราะจะต้องมีผลงานที่สำคัญจริงๆ ในการประกาศศักดาด้วยหัตถ์และบาทของตน ซึ่งการเล่นหัตถาและบาทาเช่นนี้ ภพจะส่งฤทธิ์ให้มือและเท้าที่ใช้ประกาศศักดา มีฤทธิ์มาก จะหยิบจะจับทำอะไร ก็สำเร็จ อีกทั้งรอยประทับฝ่ามือและฝ่าเท้าก็มีฤทธิ์มีอานุภาพด้วย

(7) ธาตุธรรมา ก็คือองค์พระต้นธาตุต้นธรรม เจ้าธาตุ เจ้าธรรม ภาคต่างๆ เช่นภาคทอง ภาคขาว ภาคเงิน ภาคอัพยากฤต ภาคแดง (ได้ยกระดับขึ้นจาก “ภพ” เจ้าสีเป็น “ภาค” แล้ว) ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นผู้ปกครอง “ภาค” ของตนด้วยอำนาจสูงสุด และมีสิทธิ์และสามารถในการประชุมสาย ปฏิทัย(ยะ), บริพรรดิ, อฑิทัย, ฑินวราห์, อธิวราห์, สุวราห์, วราห์ ซึ่งเป็นสายควบคุมกำกับวิชชา มอบให้ผู้นำและบุคลากรในสายธาตุสายธรรมของตน หรือผู้ที่ท่านไว้วางใจ เพื่อดูแลการเดินวิชชา และการเดินงาน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นการให้ตามหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยที่สมาชิกอันดับต้นๆ มักจะได้ขั้นสูง แล้วลดหลั่นลงมาตามลำดับ ส่วนองค์ “เจ้าสี” ก็สามารถจัดอยู่ในกลุ่มของธาตุธรรมา โดยเจ้าสีส่วนใหญ่มักจะมี “ดวงบริพรรดิ” ในการปกครองวิชชาสมาชิกประจำสีแห่งตน ยกเว้นบางท่านที่อาจได้สูงกว่านี้

ตามปกติแล้ว ผู้เดินวิชชา หรือผู้เดินงาน ที่ได้อำนาจสั่งกำกับการ เป็นดวง ปฏิทัย, ปฏิทัยยะ, และบริพรรดิ อาจจะมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็เพียงพอ แต่ในกรณีที่บุคคลต้องการมีอำนาจที่ครอบคลุม ก็อาจจะมีทั้ง “ปฏิทัย” และ “ปฏิทัยยะ” คู่กัน ในบุคคลคนเดียว ทั้งนี้ แต่ละภพที่ประชุม ปฏิทัย, ปฏิทัยยะ, และบริพรรดิให้ ก็จะมีคุณลักษณะพิเศษแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่โดยรวมแล้วจะเป็นอำนาจการควบคุมวิชชาและงานประกอบวิชชาขององค์คณะ แต่ถ้าบุคคลใดสามารถครอบครอง ปฏิทัย และ/หรือ ปฏิทัยยะ จากภพทั้ง 7 ได้ครบถ้วน บุคคลนั้นย่อมอาจได้รับการขนานนามว่าเป็น “เจ้าธาตุ” ซึ่งแม้จะไม่ใช่พระต้นธาตุต้นธรรมมาแต่กำเนิด แต่ก็ถือได้ว่ายิ่งใหญ่ในภพทั้งปวง ดังฉะนี้.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

31 มีนาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง “ปฏิทัย” คืออะไร?

“ปฏิทัย” คือดวงแห่งศักดิ์, สิทธิ์, และอำนาจ ในการปกครองสายวิชชา และงานที่มีวิชชากำกับ เรียงลำดับตามขั้นคือ ปฏิทัย, ปฏิทัยยะ, บริพรรดิ, อฑิทัย, ฑินวราห์, อธิวราห์, สุวราห์, วราห์ ซึ่งผู้ที่จะสั่งวิชชาในองค์คณะผู้ทรงวิชชา หรือเปิดเผยความลับแห่งโลกวิชชา ก็ต้องมีศักดิ์, สิทธิ์, และอำนาจเหล่านี้ ตามลำดับมากน้อย ซึ่งปกติแล้วพระต้นธาตุต้นธรรม เจ้าวงศ์ วรงค์ องค์ สาย จะประชุมขึ้นแล้วมอบให้กับบุคคลระดับผู้นำ ในสายธาตุสายธรรมของตน เพื่อให้กำกับดูแลความเป็นไปของวิชชา และงานในความรับผิดชอบ

อย่างไรก็ตาม นอกจากพระต้นธาตุต้นธรรมแล้ว ก็ยังมีผู้ทรงคุณท่านอื่นๆ อีก ที่สามารถประชุมขึ้นแล้วมอบให้ได้ เช่นพระยูไล, พระกวนอิมอวโลกิเตศวร, องค์พระวัชรปาณี, พระตาระสีต่างๆ, พระอนุตตรธรรมมารดา (อี๋ก้วนเต้า) ฯลฯ ซึ่งท่านเหล่านี้มีบทบาทเป็นเสมือน “เทพผู้เลี้ยงเทพเซียนและพระโพธิสัตว์” คือทำหน้าที่พี่เลี้ยง คอยเกื้อหนุนให้พระโพธิสัตว์ และ/หรือ บุคคลผู้บำเพ็ญตน ที่มาเข้าสังกัดท่าน (เหมือนนักศึกษาและคณาจารย์มาสังกัดมหาวิทยาลัยดังๆ) แล้วทำหน้าที่ในวิชชา หรือในงาน เพื่อประโยชน์สุขแด่ผู้อื่นคือสรรพสัตว์ กระทั่งประสบความสำเร็จถึงเป้าหมายที่ตนตั้งใจ แล้วจะได้เลื่อนขั้นมาตามลำดับ โดยแบ่งเป็น ฝ่ายขวา โดยมากคือฝ่ายวิชชา ฝ่ายซ้าย โดยมากคือฝ่ายงาน ไล่ตามลำดับๆ และชั้นๆ ข้างขวา ข้างซ้าย ถือเป็น Panel บุคลากรของท่าน และเมื่อทำผลงานได้ ก็จะได้เลื่อนชั้นเข้าใกล้องค์ประธานสูงสุดขึ้นไปเรื่อยๆ และเมื่อได้อยู่ชั้นสูงแล้ว องค์ประธานจะมอบ “ดวงบริพรรดิ” หรือ “ดวงปฏิทัยยะ” หรือ “ดวงปฏิทัย” ให้ตามลำดับ โดยผู้รับจะต้องจ่ายธาตุบุญ เป็นค่ากำเหน็จ

ถ้าหากผลงานของผู้เข้าสังกัด ถึงเลยขั้นองค์ประธานแล้วก็จะกลายเป็น “องค์ไท” ขึ้นชั้นขึ้นหิ้งไป ไม่ต้องเลื่อนลำดับไปมาอีก ซึ่งในโลกวิชชามีกันหลายแบบ หลายธรรมเนียมนิยม ซึ่งเทพผู้ใหญ่ทำกัน ไม่เว้นแม้แต่องค์พ่อศิวะ กับองค์พระแม่อุมา และองค์พระพิฆเนศ ก็มี Panel เปิดให้บุคคลมาเข้าสังกัดแล้วบำเพ็ญตนขึ้นชั้นมาเป็น “ปางหนึ่ง” ของท่านเช่นกัน แต่บำเหน็จ และกำเหน็จ ก็จะไม่เหมือนกันเสมอไป ส่วนการเล่นประกาศิต ถ้าหากเล่นได้ขั้นสูงพิเศษ คือขั้น “ไผท” ก็จะสามารถแลก “ปฏิทัย” หรือ “ปฏิทัยยะ” ได้ในทำนองเดียวกันครับ.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

29 มีนาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

Q&A: มีท่านถามผมประมาณว่า การที่ผมแนะนำให้อาศัยบารมีของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันในการเลี้ยงวัด แล้วเพราะเหตุใดยังมีวัดทั่วไป ที่ยังมั่งมี หรือขาดแคลนต่างกันไป?

คำตอบคือ สมเด็จองค์ปฐมบรมครูฯ นั้นทรงเปรียบเสมือน "ประธานาธิบดี" ของพระพุทธศาสนา ส่วนองค์สมเด็จพระพุทธโคดม ทรงเป็นประดุจ "นายกรัฐมนตรี" ของพระพุทธศาสนาในพุทธกาลปัจจุบัน ส่วนพระสงฆ์องค์เณร วัดวาอารามต่างๆ ทุกนิกาย ทั่วโลก ก็อยู่ภายใต้การหล่อเลี้ยงของสมเด็จพระพุทธโคดม ซึ่งทรงอาศัยพระบารมีประจำวงศ์ (พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้ว จะได้รับสายบุญ “สุรฆา” คอยประดาเลี้ยง สามารถเป็นอยู่ใช้บุญได้ โดยไม่ต้องทำบุญเองอีก แต่บุญจากสายสุรฆานั้น ธาตุบุญจะไม่แน่นเหมือนบุญที่บำเพ็ญสั่งสมเองขณะเป็นมนุษย์ ส่วนพระอรหันต์จะได้สายบุญ “ระฆา” ซึ่งหย่อนกว่า)  และส่วนกลางของพระนิพพานในการเลี้ยงแบบรวมๆ โดยที่พระสงฆ์องค์เณร ก็มีบุญบารมีเฉพาะตน ท่านใดมีทานบารมีมาก ก็มีลาภมาก เหมือนพระสีวลี ท่านใดมีทานบารมีมาน้อย หรือมีกรรมเก่า ก็มีลาภน้อย อย่างไรก็ตาม พระสงฆ์องค์เณรก็ยังมีสิทธิ์ตามพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา เมื่อบวชแล้ว มีสิทธิ์บิณฑบาต และรับถวายปัจจัย 4 เป็นการอาศัยพระธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระพุทธโคดม ในการยังชีพ ส่วนว่าจะบิณฑบาตได้มากได้น้อย ได้ของดีมาก หรือดีน้อย ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

สำหรับการที่ผมแนะนำสำนักวิชชา ให้ผูกสิทธิ์ไว้กับองค์สมเด็จพระพุทธโคดม ซึ่งทรงเป็นพระศาสดาพระองค์ปัจจุบัน ก็เพราะผมเห็นว่า บางสำนักวิชชา หมดเปลืองบุญบารมีไปมาก กับการตามสมบัติ บางสำนักถึงขั้นขาดทุนบุญบารมี เพราะประกาศตนเป็นเอกเทศในวิชชา คือขึ้นต่อผู้ทรงวิชชาท่านอื่นๆ ภายในวิชชาของธาตุธรรม โดยมิได้นับถือองค์สมเด็จพระพุทธโคดมฯ เป็นประมุข และแยกการปกครองในวิชชาออกไปต่างหาก โดยนัยนี้ การหล่อเลี้ยงสมบัติจากวงศ์ขององค์สมเด็จพระพุทธโคดม และพระนิพพาน ซึ่งดูแลพุทธกาลปัจจุบันก็อาจจะไม่เต็มที่ ทำให้หนักแรงในวิชชาในการแสวงหาทรัพย์กันเองด้วยวิชชาในสายธาตุสายธรรมเฉพาะของตนครับ.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

28 มีนาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

Q&A: การบูชาข้าวพระพุทธ กับการถวายภัตตาหารให้พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ขบฉัน มีอานิสงส์เหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร?

การถวายภัตตาหารที่พระพุทธเจ้าทรงขบฉันจริง กับการถวายภัตตาหารเพื่อบูชาพระพุทธรูป ที่มิได้ทรงขบฉัน มีอานิสงส์เหมือนกัน ตรงที่สูตรแห่งบุญซึ่งคำนึงถึง (1) ความบริสุทธิ์ของผู้ให้ (2) ความบริสุทธิ์และจำนวนของผู้รับ (3) คุณภาพและปริมาณของวัตถุทานหรือวัตถุบูชา และ (4) ความบริสุทธิ์และความแรงกล้าของเจตนา แต่ความแตกต่างของผลานิสงส์คือ การบูชาที่มิได้ขบฉันจริง จะไม่ส่งผลเป็น อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ สำหรับผู้ถวายครับ.

 

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

16 มีนาคม 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง เปิดโรงงานทำวิชชาที่บ้าน และการแลกกายสิทธิ์กับภพเจ้าของ

ท่านที่เป็น “คอวิชชา” ไม่ว่าจะสายพระจักรพรรดิ หรือสายพระธรรมกาย คงจะคุ้นเคยกันดีกับคำว่า “กายสิทธิ์” ซึ่งข้าพเจ้าให้คำแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “Transcendroid” (Transcendent + Droid) หรือภาษาไทยว่า “ทิพยะกลกาย” ซึ่งมีอยู่ในโลกธาตุมากมายหลากหลายชนิด หลายประเภท ที่มีกำลัง และคุณวิเศษต่างๆ กันไป (หากไม่เคยทราบมาก่อน กรุณาอ่านบทความเรื่องกายสิทธิ์พระจักรพรรดิ) กายสิทธิ์นี้เอง ที่เป็นเครื่องทุ่นแรง ให้กับผู้ทำวิชชา เพราะกายสิทธิ์ไม่เหน็ดเหนื่อย หรือง่วงหงาวหาวนอนเหมือนมนุษย์ที่ทำวิชชา (มนุษย์ทำวิชชาแล้วจะรู้สึก “เหน็ด” ในใจเมื่อละเอียดที่ประดาไว้หมดเปลืองไปกับการเดินวิชชา) อย่างไรก็ตาม กายสิทธิ์ที่เดินวิชชามากๆ เข้าวิชชาทั้งที่เร็ว และแรง และนานเกินไป รวมถึงวิชชาที่ทำยากๆ ก็อาจจะทำให้กายสิทธิ์ “เครื่องลั่น” มีอาการกระตุกกระตัก ทำให้วิชชาสะดุด บางพระองค์ถึงกับ “เครื่องร้อน” ซึ่งผู้เป็นเจ้าของควรนำดอกไม้สดที่มีกลิ่นหอม อย่างเช่นดอกมะลิ ดอกจำปี ดอกจำปา มาเลี้ยงกายสิทธิ์ เพราะเมื่อกายสิทธิ์เสวยกลิ่นหอมของดอกไม้แล้ว จะรู้สึกอิ่มเอิบแช่มชื่นใจขึ้น แต่ในขณะเสวยกลิ่นดอกไม้ กายสิทธิ์จะต้องชะลอ หรือหยุดเดินวิชชาไปพักหนึ่ง การเลือกกายสิทธิ์มาใช้ จึงควรคำนึงถึงประสิทธิภาพของกายสิทธิ์ที่สถิตอยู่ภายในเรือนหยาบด้วย มิใช่การมองแต่เพียงรูปลักษณ์ของตัวเรือนที่ดูสวยงามเท่านั้น

            ดังที่ข้าพเจ้าได้เคยรจนาไว้แล้วในบทความก่อนๆ ว่า กายสิทธิ์โดยทั่วไปนั้นมักจะเดินวิชชาเบากว่ากายมนุษย์ผู้ทรงวิชชา กล่าวคือ กายสิทธิ์ 100 พระองค์ อาจจะมีกำลังในวิชชาเทียบเท่ากับมนุษย์ผู้ทรงวิชชา 5 ท่าน แต่แม้กระนั้นก็ยังนับว่าเป็นประโยชน์ต่อบุคคลผู้เป็นเจ้าของกายสิทธิ์ ซึ่งเมื่อสะสมกายสิทธิ์มากเข้า ก็สามารถตั้ง “ห้องวิชชา” ไว้ที่บ้านได้ ห้องวิชชานั้นเป็นเสมือน “โรงงานทำวิชชาส่วนตัว” ที่บ้าน โดยบุคคลผู้เป็นเจ้าของสามารถหาภาชนะอย่างเช่นโถแก้วคริสตัล หรือตู้กระจก มาบรรจุกายสิทธิ์ โดยมีวัตถุมงคล อย่างประเภทครูวิชชา (ล็อคเก็ต และรูปเหมือน) หรือกายสิทธิ์พิเศษ ที่มีสิทธิ์ ศักดิ์ และอำนาจในวิชชา สามารถ “สั่งวิชชา” กายสิทธิ์ด้วยกันได้ ทั้งนี้บุคคลจะต้องระมัดระวังในการคัดแยกวัตถุมงคลที่เป็นกายสิทธิ์เป็นกลุ่มๆ เพราะบางพระองค์ไม่ประสงค์จะเดินวิชชาร่วมกันกับกายสิทธิ์ที่มาจากสำนักอื่น หรือประเภทอื่น ส่วนใหญ่แล้ว วัตถุมงคลประเภทกายสิทธิ์จากสำนักหนึ่ง หรือประเภทเดียวกัน ควรจะถูกจัดรวมเข้าไว้ด้วยกัน โดยไม่ปะปนกับวัตถุมงคลประเภทกายสิทธิ์ของสำนักอื่น เพราะวัตถุมงคลของสายวิชชาส่วนใหญ่ ยังคงเชื่อมสายวิชชากับทางสำนักผู้ปลุกเสก ซึ่งส่งวิชชาหล่อเลี้ยงต่อเนื่องอยู่ หากบุคคลประสงค์จะตัดสายวิชชานี้ออก ก็จะต้องเจรจาตกลงกับสำนักผู้เป็นเจ้าของเพื่อ “จ่ายบุญธาตุ” แลกกับการตัดสายวิชชา แล้วได้กายสิทธิ์มาอยู่ในความปกครอง 100% ซึ่งมีราคามากน้อยต่างกันไป ตามแต่จะตกลงกัน

         สาเหตุที่ “ห้องวิชชา” ควรเป็นภาชนะแก้วคริสตัลที่มีฝาปิด หรือตู้กระจก ก็เพราะจะสามารถ “ปิดผนึกห้องวิชชา” ให้มิดชิด และเป็นสัดเป็นส่วนได้ดีกว่า โดยภาชนะนั้นก็จะมีกายสิทธิ์ลงซ้อนรักษาด้วย หรือจะบรรจุวัตถุกายสิทธิ์ไว้ในถุงผ้า แล้วใส่ไว้ใต้ฐานพระพุทธรูปที่ทรงวิชชา อย่างเช่นรูปหล่อพระพุทธจักรพรรดิ หรือรูปเหมือนครูบาอาจารย์ผู้ทรงวิชชาก็ได้ ส่วนการเดินวิชชาของกายสิทธิ์ภายในห้องวิชชาส่วนตัว ก็จะต้องมีค่าใช้จ่าย กล่าวคือ ปกติแล้วบุคคลผู้เป็นเจ้าของกายสิทธิ์ จะต้องติดต่อครูวิชชาหรือกายสิทธิ์องค์ประธานในห้องวิชชานั้นๆ ซึ่งเป็นกายสิทธิ์ ที่มีศักดิ์ สิทธิ์ และอำนาจในวิชชา สามารถสั่งวิชชาได้ โดยกำหนดว่าจะให้เดินวิชชาช่วยเหลือในเรื่องใด แล้วตกลงค่าใช้จ่ายเป็น “จำนวนบุญธาตุ” ซึ่งอาจมีการวางมัดจำ แล้วจ่ายครบเมื่อเกิดผลสำเร็จ

           สำหรับผู้ทรงวิชชาซึ่งเป็นเจ้าของกายสิทธิ์ ที่ใช้กายสิทธิ์กระทั่งคุ้นเคยกันดีแล้ว มีความประสงค์จะนำกายสิทธิ์มาเข้าสายธาตุสายธรรมของตน ก็จะต้องติดต่อ “ภพผู้เป็นเจ้าของ” ว่าจะขอตัดสายควบคุม เพื่อได้กายสิทธิ์มาเป็นเอกเทศเฉพาะตน โดยจ่ายบุญธาตุเป็นการแลกเปลี่ยน ซึ่งภพผู้เป็นเจ้าของก็จะตกลงค่าใช้จ่าย พร้อมนัดหมายตัดสายควบคุมเพื่อส่งมอบ มิฉะนั้นแล้ว กายสิทธิ์ที่บุคคลแสวงหามาได้ และอยู่ในครอบครองส่วนใหญ่ หากไม่แลกกับภพผู้เป็นเจ้าของ เมื่อบุคคลละโลกไป กายสิทธิ์ก็จะตกเป็นของผู้อื่น สืบทอดต่อกันไป แต่ถ้าหากแลกกับภพผู้เป็นเจ้าของ แล้วส่งกายสิทธิ์ที่ตัดสายควบคุมออกแล้วนั้น เข้าสู่สายธาตุสายธรรมของบุคคล ก็จะเป็นการนำเอากายสิทธิ์ที่ทรงคุณวิเศษนั้น ติดตัวตามไปด้วยข้ามภพข้ามชาติ อย่างไรก็ตาม การทำเช่นนี้ ใช่ว่าจะทำกันได้ง่ายๆ แม้บุคคลจะมีบุญธาตุมากพอจ่าย ทั้งนี้ก็เพราะ “ธาตุ” ในตัวบุคคลนั้น มีมาก มีน้อย พอจะรองรับกายสิทธิ์ที่จะส่งเข้าไปใส่ ได้มากน้อยไม่เท่ากัน อุปมาเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีช่องเสียบอุปกรณ์เสริม (USB Port) มากน้อยไม่เท่ากัน บางคนมีธาตุมาก สามารถแลกกายสิทธิ์มาใส่ได้มากหลายพระองค์ ส่วนคนที่ธาตุน้อย ก็จะใส่ได้เพียงไม่กี่พระองค์ รวมถึงมีข้อคำนึงถึงทางเทคนิควิชชาอื่นๆ อีก  ดังนั้น ผู้ทรงวิชชาบางท่านจึงไม่นิยมที่จะแลกกายสิทธิ์มาใส่ในตัว ประกอบกับผู้ทรงวิชชาบางท่านมีความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ประสงค์จะนำสิ่งปรุงสร้างขึ้นจากใครอื่น เข้ามาปะปนในสายธาตุสายธรรมของตัว ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ในภายหลัง จึงไม่นิยมใช้วิธีการดังกล่าว ดังฉะนี้.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

16 มีนาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


Q&A: เพราะเหตุใดการหล่อพระด้วยโลหะชนิดต่างกันจึงมีอานิสงส์ไม่เท่ากัน?

สาเหตุที่โลหะต่างชนิด มีอานิสงส์ผลบุญมากน้อยไม่เท่ากันในการหล่อพระ ก็เพราะเครื่องธาตุเครื่องธรรม มีโปรแกรมกฎแห่งกรรม ที่คำนวณตาม "ธาตุ" ซึ่งเครื่องธาตุเครื่องธรรมรู้จัก "ธาตุ" ทุกชนิดที่มีอยู่ในภพ เหมือนเราเรียนเคมี แล้วรู้ว่าธาตุแต่ละชนิดมีชื่อเรียก มีสูตรอย่างไร แล้วเวลาเรานำธาตุแต่ละอย่างไปทำบุญ ไม่ว่าจะหล่อพระ หล่อฉัตรยอดเจดีย์ หรืออะไร เครื่องธาตุเครื่องธรรมก็จะนำธาตุนั้นๆ มาคำนวณ ตามสูตรวิชชา ตามคุณค่า, คุณภาพ, คุณลักษณะ, คุณประโยชน์, มูลค่า และปริมาณ (Quality & Quantity) ซึ่งโลหะแต่ละชนิดก็มีภพที่เป็นเจ้าของผู้ส่งวิชชาปรุงขึ้น แล้วใส่กายสิทธิ์จากภพของตนสถิตย์อยู่ ทำให้เกิดคุณเกิดโทษแตกต่างกันไป แล้วโปรแกรมกรรม ก็จะประมวล Input ทุกอย่างเข้าด้วยกัน ทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม กรรมก่อนทำ กรรมขณะทำ กรรมหลังทำ ผู้ให้ ผู้รับ เจตนา และวัตถุทาน พิธีกรรม กายสิทธิ์ รวมถึงเวลา ส่วนหยาบ ส่วนละเอียดทั้งหลาย และวิชชา เพื่อเบิกจ่ายบุญ แล้วตั้งโปรแกรมกฎแห่งกรรม เพื่อกำหนดการรับอานิสงส์ผลบุญ

นับเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ใจ ว่ากรรมส่งผลแม่นยำ แม้ว่าบุคคลจะถวายทองปลอม เพื่อหล่อพระ เมื่อละโลกไปแล้ว ได้เป็นเทวดา ก็จะมีเครื่องประดับสีทอง ที่แลดูไม่อร่ามสดใส และไม่ก่อให้เกิดความสุขความน่าเพลิดเพลินใจ เหมือนอย่างคนที่ทำบุญด้วยทองคำแท้ แล้วเทวดาด้วยกันท่านมีตาทิพย์ ท่านเห็นกันแล้วก็มองออก รู้ด้วยอีกว่าเป็นทองปลอม โดยเฉพาะเทวดาที่มีบุญด้านทิพจักขุมาก พอมองปั๊บก็ทราบว่าสมัยเป็นมนุษย์ทำบุญด้วยทองจริงหรือทองปลอม อารมณ์ก็จะคล้ายๆ กับสาวๆ ที่ถือกระเป๋า “หลุยส์วิตตอง” ของแท้ ที่จะดูมาดมั่น มากกว่าคนที่ถือกระเป๋าก็อป ไม่ว่าจะก็อปเกรดเอ หรือเกรดบีก็ตามครับ

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าเจ้าภาพที่ทำบุญด้วยแท่งทองเหลืองจะไม่มีเครื่องประดับของจริงไว้ใส่ตอนเป็นเทวดา เพราะภพเทวดาท่านจะปรุงสมบัติให้โดยรวมอยู่แล้ว เหมือนอย่างในพระไตรปิฎกเรื่องมหาทุคตะถวายภัตตาหาร แด่พระพุทธเจ้า ได้อานิสงส์เป็นฝนรัตนชาติ เป็นที่น่าสงสัยว่าทำไมถวายภัตตาหารแล้วได้เพชรได้พลอยเป็นผลานิสงส์ เนื่องจากเครื่องธาตุเครื่องธรรมคำนวณส่งผลให้แบบโอเวอร์ สำหรับผู้ที่ทำบุญแบบทุ่มเทอย่างมากกับเนื้อนาบุญอันเลิศ ฉันใดก็ฉันนั้น เจ้าภาพผู้ทำบุญหล่อพระด้วยแท่งทองเหลือง ก็จะมีเครื่องประดับดีๆ สวมใส่ มีเพชรพลอยประดับทองรูปพรรณ เพียงแต่ถ้าหล่อด้วยทองคำแท้ เครื่องประดับจะแลดูอร่ามตา “จับใจ” ผู้พบเห็นมากเป็นพิเศษครับ.

 

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

14 มีนาคม 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง เคล็ดลับการทำบุญหล่อพระ

การ “หล่อพระ” นั้นมีวิธีการหลายรูปแบบ ตามแต่จะจัดขึ้นโดยสำนักผู้หล่อ เจ้าภาพบางท่านนิยมทำบุญเพื่อรับ “แท่งโลหะ” หรือ “แผ่นโลหะ” มาเขียนชื่อ ก่อนส่งมอบให้เจ้าหน้าที่พิธีการหล่อพระนำไปหย่อนลงเบ้าหลอม เพื่อเทลงหุ่นแบบ แต่บางท่านก็นิยมทำด้วยการบริจาคทรัพย์เพียงอย่างเดียว ในขณะที่บางท่านนิยมนำทองคำในรูปแบบทองคำแท่งหรือทองรูปพรรณ หรือโลหะมีค่าอื่นๆ มาร่วมหล่อ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะได้เททองก่อน โดยเฉพาะที่ลงในส่วนพระเศียร

การหล่อพระโดยที่เจ้าภาพมีส่วนในความเป็นเจ้าของเนื้อโลหะ หรือเนื้อปูนและวัสดุหล่อพระต่างๆนั้น จะมีอานิสงส์ที่ “ศักดิ์สิทธิ์” มากกว่าการทำบุญด้วยทรัพย์เพียงอย่างเดียว ซึ่งศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นประโยชน์อย่างมากในกรณีที่จะทำให้ “คำอธิษฐาน” ของเจ้าภาพส่งผลเป็นจริง โดยเฉพาะคำอธิษฐานที่ขอให้ผู้หล่อพระ “มีส่วนในธรรมและวิชชาที่พระพุทธเจ้าหรือพระสงฆ์ที่จะหล่อรูปเหมือนขึ้นนั้น ทรงเข้าถึง” แม้จะไม่เสมอไป เพราะเจ้าภาพ หรือสำนักบางแห่งมีวิชชา สามารถคุมวิชชาได้โดยไม่ต้องทำแบบนี้ แต่ถ้าจะเปรียบเทียบระหว่างการหล่อแบบมีโลหะเขียนชื่อ หรือทองคำแท่งสลักชื่อ หรือแม้แต่สลักดวงตราประกาศิต (โลโก้ประจำบุคคลหรือองค์กร) ก็จะเป็นอานิสงส์ใหญ่มากขึ้น (โดยขึ้นอยู่กับลำดับขั้นของประกาศิตที่เทพผู้ดูแลรักษากำหนดไว้) เพราะการจาร, เขียน, หรือสลัก ชื่อ-นามสกุล ลงไปบนเนื้อโลหะสำหรับหล่อพระ ก็นับว่าเป็นมโนกรรม และกายกรรม คือความตั้งใจที่แรงกล้ามากขึ้นในการทำบุญ อุปมาการถวายโลหะที่มีชื่อแล้วหย่อนลงเบ้า เหมือนถวายภัตตาหารแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ แล้วทรงเสวยภัตตาหารนั้น กลายเป็นพระโลหิต (เลือด) เป็นพระมังสะ (เนื้อ) แห่งพระวรกาย ในขณะที่การถวายทรัพย์หล่อพระเพียงอย่างเดียว อุปมาเหมือนถวายสำรับภัตตาหารบูชาข้าวพระพุทธรูป ซึ่งพระพุทธรูปมิได้ฉันภัตตาหาร เพียงแต่ทรงรับการบูชาเท่านั้น (ในกรณีที่พระพุทธรูปมีส่วนละเอียดซ้อนสถิต) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเทคนิคในทางวิชชาของสำนักและเจ้าภาพด้วย ซึ่งมักจะคำนวณวิชชา เนื่องด้วยโลหะสำหรับหล่อ และมูลค่าของทรัพย์ ที่เจ้าภาพทำบุญมา สำหรับเฉลี่ยแบ่งบุญที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องกังวลว่าโลหะที่เขียนชื่อถวายไปนั้นจะเหลือเฟือสำหรับการหล่อ เพราะสำนักส่วนใหญ่จะเทน้ำโลหะหลอมที่เหลือลงในแบบแท่งโลหะ สำหรับนำไปใช้หล่อในครั้งต่อๆ ไป โดยที่บุญบารมีที่จะเกิดขึ้นต่อเจ้าภาพก็ได้คิดคำนวณปิดงบให้แล้วอย่างยุติธรรม ในกรณีนี้อาจจะดูคล้าย “สังฆทานเวียน” แต่เจ้าของแท่งโลหะจะได้บุญกับการหล่อพระครั้งต่อๆไปอีกด้วย ยกเว้นแต่ทางสำนักจะคำนวณวิชชาปิดงบบุญให้แล้ว นอกจากนี้ หากเจ้าภาพ จาร, เขียน, หรือสลัก ชื่อ-นามสกุล ของบุคคลที่ตนประสงค์จะอุทิศ หรือแบ่งบุญให้ด้วย ก็จะเป็นบุญที่ใหญ่มากพอ ในการส่งไปให้ถึง ณ ภพภูมิต่างๆ ที่ผู้ล่วงลับไปแล้วอาศัยอยู่ คล้ายจะเป็นการทำบังสุกุลไปในตัว ซึ่งสำนักวิชชาหลายแห่งจะเอื้อเฟื้อในการส่งบุญให้ด้วย โดยไม่จำเป็นต้องกรวดน้ำอีก แต่เจ้าภาพควรระบุไว้ด้วย ว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรกับเจ้าภาพ เช่นเป็นลุง เป็นหลาน หรืออื่นๆ เพราะบางท่านมีชื่อ-นามสกุล ซ้ำกันกับผู้อื่นหลายท่าน

ดังนั้น หากเจ้าภาพจะทำบุญหล่อพระให้ได้อานิสงส์สูงสุด จึงควรมีทั้งโลหะสำหรับเททอง ที่เขียนชื่อ หรือสลักชื่อและดวงตราประกาศิต และบริจาคทรัพย์ร่วมเป็นค่าใช้จ่ายในการหล่อพระนั้นด้วย ดังนี้แล้วจะได้อานิสงส์แรงมากเป็นพิเศษ ที่ทำให้คำอธิษฐานศักดิ์สิทธิ์ ได้บุญที่ “แน่น” มีคุณภาพมาก และได้ปริมาณผลบุญตอบแทนมากไปพร้อมๆ กัน ซึ่งทางสำนักที่หล่อพระมักจะกำหนดอัตราไว้แล้ว ว่าบริจาคเท่านั้น เท่านี้ ได้แท่งโลหะ ขนาดเล็กใหญ่ ต่างๆ กันไป เคล็ดลับคือให้ “บริจาคเกินอัตราที่กำหนด” สักหน่อย เช่น ทองเหลืองแท่งเล็ก 300 บาท ก็ให้บริจาค 399 บาท เพื่อสมทบค่าใช้จ่ายในพิธีหล่อพระด้วย ดังนี้แล้ว เวลาจะได้ผลานิสงส์แห่งบุญ ก็จะได้แบบเกินๆ ล้นๆ ได้มากกว่าที่คาดคิดไว้อยู่เสมอครับ.

หมายเหตุ: หากท่านสนใจซื้อทองคำสำหรับหล่อพระโดยยิงเลเซอร์ ชื่อ-นามสกุล และดวงตราประกาศิต หรือโลโก้ของเจ้าภาพ กรุณาดูเว็บไซท์ของห้างทอง ฮั่ว เซ่ง เฮง ตามเว็บลิงค์ด้านล่างนี้

https://www.huasengheng.com/product-gold/gold_laser/

(ทาง Meditation101.org และผู้รจนาบทความนี้ มิได้มีส่วนรายได้ในการซื้อขายทองคำของท่านแต่อย่างใด) 

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

14 มีนาคม 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่องการ รับ-ส่ง ดวงตราประกาศิต บนใบอนุโมทนาบัตร

หลายท่านคงทราบจากบทความก่อนๆ ของข้าพเจ้าแล้วว่า “ประกาศิต” ประเภท “ดวงตรา” หรือโลโก้ นั้นมีลำดับขั้น และประเภท ตามที่เทพผู้รักษาประกาศิตจัดระบบระเบียบไว้ และการทำบุญโดยสำแดงดวงตราประกาศิตที่ใช้ในทาง “ให้คุณ” นั้นจะมีอานิสงส์มากไปกว่าการทำบุญแบบธรรมดาทั่วไปที่ไม่สำแดงตราประกาศิต โดยขึ้นอยู่กับขั้นของดวงตราประกาศิตนั้น อย่างไรก็ตาม เทพผู้รักษาดวงตราประกาศิต ท่านก็มีกติกาอยู่ว่า เมื่อมีการสำแดงดวงตราประกาศิตแบบ “ส่ง” มา หากผู้รับดวงตราประกาศิต ก็มีดวงตราประกาศิตเป็นของตนเองด้วย ก็ให้สำแดงดวงตราประกาศิตของตนเพื่อ “รับ” ในพิธีการนั้นๆ

เราจะเห็นได้ว่า ในพิธีต่างๆ จะมีดวงตราประกาศิตสำแดงตามจุดต่างๆ เช่นป้ายประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ โบรชัวร์ โพสต์ข่าวสาร หน้าเว็บ ซองทำบุญ ตู้รับบริจาค รวมถึงใบอนุโมทนาบัตร ซึ่งถ้าหากผู้ทำบุญ นำธนบัตรใส่ซองทำบุญแล้วประทับดวงตราประกาศิตของตนเองลงบนหน้าซองแล้วจึงถวาย โดยทางองค์กรการกุศล ออกใบอนุโมทนาบัตร หรือใบเสร็จรับเงิน ตอบรับ โดยสำแดง (แสดง) ดวงตราประกาศิตขององค์กรการกุศล อยู่บนใบอนุโมทนาบัตร หรือใบเสร็จรับเงินนั้นแล้ว ผู้บริจาคสามารถได้บุญมากขึ้นอีกด้วยการ “เซ็นรับ” และ “ประทับตรา” ดวงตราประกาศิตของตน ลงบนลายเซ็น ณ ใบอนุโมทนาบัตร หรือใบเสร็จรับเงิน โดยระมัดระวังมิให้คร่อมทับดวงตราประกาศิตขององค์กร และลายเซ็นเหรัญญิก ผู้รับเงิน ดังนี้แล้วผู้บริจาคก็จะได้บุญเพิ่มมากขึ้นอีก 10 – 35% หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับลำดับขั้นของดวงตราประกาศิต และธรรมเนียมที่เจ้าของดวงตราประกาศิตสามารถปฏิบัติตามระเบียบของเหล่าเทพผู้รักษาดวงตราประกาศิต กล่าวคือ หากปฏิบัติได้ถูกต้อง และ “สมควร” ตาม “ธรรมเนียม” หรือ “ระเบียบพิธี” เป็นที่พึงพอใจของเหล่าเทพแล้ว ก็จะได้รับดำเนินการให้เกิดเป็นผลานิสงส์มากขึ้น ทั้งนี้รวมถึงการ "ประทับหมึกพิมพ์ภาพฝ่ามือทั้งสองข้างเอาไว้บนใบอนุโมทนาบัตร" แล้วประกาศทางโซเชียลมีเดีย หรือประกาศในวิชชา เพื่อให้ได้ขั้น "-กร" เป็นเกียรติแห่งความ "ทรงคุณ" และเป็นกำลังของผู้ที่จะหยิบจะจับ จะทำอะไรแล้วประสบความสำเร็จ หรือมีฤทธิ์มีอานุภาพด้วยหัตถ์ทั้งสองข้างทั้งสำหรับกายมนุษย์และกายในวิชชา

อย่างไรก็ตาม บุญจากการเล่นประกาศิตนั้นมีลักษณะคล้าย “บุญจากการอนุโมทนา” แต่ไม่เสมอไป เพราะบางครั้งได้มากกว่าอนุโมทนาธรรมดาถึง 3 เท่า ยกเว้นการอนุโมทนาในวิชชา แต่ถ้าอนุโมทนาด้วยประกาศิตในวิชชา ก็จะได้มาก 3 – 5 เท่าของการอนุโมนาธรรมดาทีเดียว ส่วนอานิสงส์จากประกาศิตก็มีมากไปกว่าเรื่องบุญ เช่นเรื่องลำดับเกียรติในสวรรค์ และอานิสงส์รางวัล รวมถึงสิทธิพิเศษต่างๆ จากเทพผู้รักษาประกาศิต และ “เทคนิคการเล่น” อีกหลายรูปแบบ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้เล่น เช่นหากเทวดาประสงค์จะอนุโมทนาบุญ ก็ให้อนุโมทนากับดวงตราประกาศิต ไม่ต้องรบกวนผู้ทำบุญ โดยที่เทวดาเองก็จะได้บุญมากไปกว่าอนุโมทนาตามปกติ และ “ผ่อนแรง” ผู้ทรงวิชชาในการคำนวณบุญไปจ่ายแจกเทวดาผู้มาร่วมงาน (เทวดาชอบบุญที่แบ่งให้มากกว่าบุญอุทิศ) รวมถึงการ เล่นประกาศิต “ผนวก” กับวิชชา ในการ “ตั้งส่งตั้งรับ” ในบุญพิธี เพื่อให้ได้อานิสงส์มากเป็นพิเศษ เป็นอาทิ ดังฉะนี้.

รจนาและลิขสิทธิ์โดย ฝ่ายพิรจักร ทิศุธิวงศ์

2 มีนาคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: ชาวพุทธจะหล่อพระไปเพื่ออะไร?

การ “หล่อพระ” นับเป็นกิจกรรมทางศาสนาที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย โดยพุทธศาสนิกชนนิยมทำพิธีหล่อพระพุทธรูป และรูปเหมือนของพระสงฆ์ ผู้เป็นที่เคารพนับถือ ซึ่งการหล่อพระนั้นก็มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยโบราณ โดยพุทธศาสนิกชนอาจจะหล่อด้วยโลหะล้ำค่า โลหะธรรมดา หรือแกะสลักจากหินชนิดต่างๆ เช่นหยก หินอ่อน หินทราย รวมถึงไม้ และรัตนชาติ

ในทางวิชชานั้น การสร้างพระ นิยมทำด้วยพุทธศิลป์ คือรังสรรค์ให้พระพุทธรูปมีลักษณะคล้ายงานศิลปะ ไม่นิยมสร้างให้เหมือนจริง ด้วยเหตุผลคือ สร้างให้พอทราบและบ่งบอกถึงตัวตนภายในละเอียดหรือภายในวิชชาเท่านั้น ไม่นิยมสร้างให้เหมือนองค์จริงที่มีชีวิต เหมือนรูปปั้นและรูปแกะสลักของยุคกรีกโรมัน ที่ดูเหมือนมนุษย์มีชีวิต และ “เหมือนตรงกันกับส่วนละเอียด” ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัย มิให้ “ตามเจอ” ตัวตนภายในวิชชาโดยง่าย หากมีผู้ไม่หวังดี

อนึ่ง การสร้างพระนั้น บุญกุศลมิได้ขึ้นอยู่กับรูปลักษณ์และขนาดของพระพุทธรูปที่สร้างเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับ “ส่วนละเอียด” ในวิชชาที่ลงซ้อน พระพุทธรูปบางองค์อาจจะสร้างอย่างหรูหราสวยงาม แต่ส่วนละเอียด “ลงส่วน” น้อย เช่น 20% หรือ 50% หรือเป็นผู้มีอานุภาพน้อยมาซ้อนสถิต หรือไม่มีการซ้อน มีเพียงเทวดารักษา บุญบารมีที่ได้ก็จะแตกต่างกันออกไป แต่บางแห่งสร้างด้วยรูปลักษณ์ที่ดูเรียบง่าย แต่ซ้อนส่วนละเอียดที่มีอานุภาพมาก ผู้สร้างจึงได้บุญบารมีมากตามไปด้วย อุปมาเหมือนการสร้างวิมานเรือนหยาบให้พระพุทธเจ้ามาสถิต ซึ่งอันที่จริงท่านก็ไม่ได้ลงมาซ้อนเป็นพระพุทธรูปทั้งองค์ แต่จะมีบางตำแหน่งของพระพุทธรูป ซึ่งส่วนนั้นมักจะเป็นส่วนบนบริเวณพระเศียร ที่ส่วนละเอียดจะลงซ้อนสถิต พระพุทธรูปบางองค์ดูรูปลักษณ์ภายนอกเหมือนเป็นผู้ที่มีอานุภาพน้อย แต่เมื่อดูกายที่ซ้อนสถิตภายใน เป็นผู้ที่มีอานุภาพมาก สวยงามมาก ยกตัวอย่างเช่นสมเด็จองค์ปฐมบรมครูฯ ที่อาจะมีผู้สงสัยว่า สร้างเหมือนพระพุทธชินราช แล้วจะทราบได้อย่างไรว่า เป็นสมเด็จองค์ปฐมฯ หรือเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั่วไป คำตอบก็คือ ต้องดูที่ส่วนละเอียดว่าเป็นใครมาจากไหนเท่านั้น แต่สำนักผู้สร้างพระพุทธรูปบางแห่งก็ให้ความชัดเจนด้วยการสลักชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปอะไร หรือชื่อพระพุทธรูปว่าอย่างไรบริเวณฐานของพระพุทธรูป

การร่วมหล่อพระพุทธรูปด้วยโลหะล้ำค่าอย่างเช่นทองคำ เงิน และนาค ก็จะส่งอานิสงส์ให้ผู้ถวายมี “บารมีทอง” ติดตัวไป เมื่อบุญส่งผล จะทำอะไรที่เนื่องด้วยทองคำ ก็จะทำแล้ว “ขึ้น” แต่ก่อนจะนำทองคำไปหล่อ ก็ควรชำระส่วนละเอียดของทองคำด้วยญาณเสียก่อน โดยอาศัย “พระสุวรรณกร” เป็นผู้ชำระในญาณ แต่ถ้าหากไม่รู้จักพระสุวรรณกร ก็สามารถนำทองคำมา “แช่น้ำมนต์” ของสำนักผู้ทรงวิชชา ก่อนนำมาหล่อก็ได้ ส่วนการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ บริเวณพระเกตุของพระพุทธรูปก็นับว่าเป็นสิ่งประเสริฐมาก และมีอานิสงส์คือ จะทำให้มีสติปัญญาเป็นเลิศ และเป็นปัญญาบริสุทธิ์ และเสมือนหนึ่งว่าได้ทำให้พระพุทธรูปนั้น เป็นพระพุทธรูปที่มีชีวิต แต่ต้องระมัดระวังว่าไม่สำคัญผิดใส่พระธาตุของพระอรหันต์ลงไป ซึ่งต้องรู้จักคัดแยก โดยอาจอาศัยผู้ทรงญาณในการช่วยคัดแยก

ในส่วนของ “พระเนตร” ของพระพุทธรูป ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่จะใช้ “นิล” และ “เปลือกหอยมุก” ในการทำส่วนพระเนตรดำ และพระเนตรขาว ขอแนะนำว่า ให้นำ “นิล” นั้นไปชำระส่วนละเอียดและกลับธาตุกลับธรรมในญาณเสียก่อน เพราะกายสิทธิ์ในนิลส่วนใหญ่เป็นของภาคมาร โดยอาจแช่นิลในน้ำมนต์ เช่นน้ำมนต์ของวัดศีรษะทอง เพื่อให้กายสิทธิ์ในนิล ที่ส่วนใหญ่เป็นฝ่ายมาร ได้กลับเป็นฝ่ายดี เหมือนพระองคุลีมาลย์กลับใจ ซึ่งหลายวัดหลายสำนักมีปัญหาเสื่อมทรามก็เพราะกายสิทธิ์ในนิล ที่สถิตอยู่ ณ พระเนตรของพระประธาน และพระพุทธรูปในวัดนั่นเอง ในขณะที่กายสิทธิ์ในเปลือยหอยมุกสีขาวช่วยสร้างคุณ แต่มักจะแก่กล้ายังไม่เท่ากัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธรูปที่สร้างแบบทั่วๆไป ไม่มีการซ้อนส่วนในวิชชา ก็อาจจะไม่มีใครคอยกำกับกายสิทธิ์นั้นๆ ให้อยู่ในความปกครอง

สำหรับการสร้างพระพุทธรูปโดยไม่คำนึงถึงวิชชา ก็จัดว่าเป็น “พุทธานุสสติ” หรือ “สังฆานุสสติ” ซึ่งสร้างให้มีลักษณะมหาบุรุษครบถ้วน และเป็นไปตามศิลปะวัฒนธรรมของท้องถิ่น ตามยุคสมัย ส่วนรูปเหมือนพระสงฆ์นิยมสร้างให้เหมือนจริง ก็จะได้บุญบารมีตามปกติแบบทั่วไป ดังฉะนี้.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

2 มีนาคม พ.ศ. 2565

www.meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง - ทำบุญใส่ชื่อในรูปแบบต่างๆ

(1) ทำบุญใส่ชื่อ-นามสกุล ตนเองคนเดียว

ตนเองมีสิทธิ์ใช้สอยทรัพย์ได้เต็มที่ ทรัพย์ที่เกิดเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของชื่อและนามสกุลเพียงคนเดียว

(2) ทำบุญใส่ชื่อ-นามสกุล สามี/ภรรยา บุตร/ธิดา และครอบครัว

เจ้าของเงินบริจาคเป็นผู้ได้มาซึ่งทรัพย์ แต่ผู้มีชื่อ-นามสกุล เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์เบิกใช้ทรัพย์ สมาชิกครอบครัวมีสิทธิ์ร่วมใช้สอยร่วมกัน คล้าย "กงสี"

(3) ทำบุญใส่ชื่อ-นามสกุล ระบุว่า "อุทิศแด่..."

เจ้าของชื่อ-นามสกุล เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ ผู้รับการอุทิศ มีสิทธิ์ร่วมใช้สอย

(4) ทำบุญด้วยทรัพย์ตนเอง แต่ใส่ชื่อ-นามสกุล ผู้อื่น ไม่ใส่ชื่อ-นามสกุล ตนเอง

ทรัพย์อานิสงส์ที่เกิดขึ้นเป็นของผู้บริจาค แต่สิทธิ์ในการเบิกใช้สอย เป็นของเจ้าของชื่อ นามสกุล ที่ระบุไว้ตอนบริจาค

(5) ทำบุญไม่ใส่ชื่อ ไม่ใส่นามสกุล หรือไม่ประสงค์ออกนาม

ทรัพย์ที่เกิดขึ้นเป็นของผู้บริจาค ถ้าจะอุทิศแบ่ง ต้องกรวดน้ำหรืออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลอีกที เวลาบุญส่งผลานิสงส์ ทรัพย์อาจเกิดขึ้นแบบไม่มีชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์ เช่นเศรษฐีที่รวยอย่างลับๆ

(6) ทำบุญแล้วใส่ดวงตราประกาศิต แต่ไม่ใส่ชื่อ-นามสกุล

อานิสงส์สูงขึ้นตามขั้นของดวงตราประกาศิต ตามที่ประกาศใช้ดวงตราประกาศิตไว้แล้ว เจ้าของทรัพย์มีสิทธิ์ในทรัพย์ผลานิสงส์เต็มที่ ร่ำรวยมั่งคั่ง เป็นที่รู้จักกันในนามประกาศิต เช่น แบรนด์นาฬิกาโรเล็กซ์ โด่งดัง แต่เจ้าของแบรนด์ไม่เป็นที่รู้จัก แต่แบรนด์นั้นจะทำให้ร่ำรวย

(7) ทำบุญแล้วใส่ดวงตราประกาศิต และใส่ชื่อ นามสกุล

อานิสงส์สูงขึ้นตามขั้นของประกาศิต และเจ้าของดวงตราประกาศิต มีสิทธิ์ในทรัพย์อานิสงส์เต็มที่ และเป็นที่รู้จักในชื่อ-นามสกุล คือ โลโก้ก็ดัง ชื่อก็ดัง แบรนด์ก็ทำให้ร่ำรวย เจ้าของแบรนด์ก็ร่ำรวย เหมือนแบรนด์แอปเปิ้ล กับคุณสตีฟ จ็อบส์

(8) ทำบุญแล้วระบุว่า “บูชาธรรมบุคคลต่างๆ โดย...

มีอานิสงส์คล้ายการ “ติดกันเทศน์” คือจะมีส่วนในธรรมของบุคคลที่ผู้บริจาคเอ่ยอ้างบูชา และผู้บริจาคจะได้ทรัพย์ผลานิสงส์มาเมื่อบุคคลที่ผู้บริจาคเอ่ยอ้างบูชานั้นๆ “สำแดงธรรม” แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าเป็น “ธรรม” อะไร จะเป็นสุข เป็นทุกข์ ยาก ดี มี จน ไปตามธรรมของบุคคลผู้รับการบูชา หากระบุอีกว่า “เพื่อนำไปใช้ตามความประสงค์ของบุคคลตามระบุ” ทรัพย์ผลานิสงส์ก็จะผูกพันอยู่กับผู้ที่ถูกเอ่ยอ้างว่าให้นำไปใช้ตามความประสงค์ กล่าวคือ เมื่อทรัพย์ผลานิสงส์เกิดขึ้น เพราะผู้บริจาคแล้ว ผู้ที่สามารถใช้ตามความประสงค์จะเป็นผู้กำหนดว่าจะแบ่งให้เท่าไร และใช้สอยอย่างไรตามใจชอบ โดยผู้บริจาคไม่มีสิทธิ์ตัดสินใจเองในเบื้องต้น

หมายเหตุ: การทำบุญโดยระบุชื่อ-นามสกุล ให้ผู้อื่น หรือระบุว่า “อุทิศแด่.. “ บุคคลต่างๆ นั้น เป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปในตัว ช่วยประหยัดแรง และประหยัดเวลา ในการกรวดน้ำ ซึ่งบางครั้งก็ถึง บางครั้งก็ไม่ถึง แต่ถ้าเกรงว่า ชื่อ-นามสกุล จะมีการใช้ซ้ำกัน ให้ระบุเพิ่มเติมว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรกับผู้บริจาค เช่น “อุทิศให้นาง xxx (น้าสาว ของผู้บริจาค)” เป็นอาทิ.

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

19 กุมภาพันธ์ 2565

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง วิธีตรวจสอบว่าใครเป็นพระอริยบุคคลขั้นใด

เรื่อง "กายธรรม" ที่เปรียบได้กับ "กายธรรมสิทธิ์" ที่สถิตย์อยู่ในพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุของพระอริยบุคคลนั้น มีด้วยกันแทบทั้งนั้นครับ โดยพระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกิทาคามี และพระโสดาบัน จะมี "กายธรรมสิทธิ์" สถิตย์อยู่ในพระธาตุ มากน้อย แก่อ่อน ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอุปนิสัยวาสนาบารมีและธรรมที่บำเพ็ญมามากน้อยเด่นด้อยไม่เท่ากัน สาเหตุที่ผมเรียกกายในพระธาตุว่าเป็น "กายธรรมสิทธิ์" ก็เพราะยังไม่ถึงกับเป็น "กายธรรม หรือ ธรรมกาย" โดยตรง และไม่ได้เป็น "กายสิทธิ์" เหมือนที่สถิตย์อยู่ในคดหิน แร่ควอทซ์ เหล็กไหล อัญมณี และโลหะมีค่าอย่างทองคำ และเงินครับ

กายสิทธิ์ในพระธาตุของพระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกิทาคามี และพระโสดาบัน ส่วนใหญ่จะปรากฎอยู่ใน "ภาคธรรม" ครับ น่าจะเป็นสิ่งที่มีอยู่ในโลกมนุษย์ แล้วพอจะเทียบเคียงกับ "พระธรรมกายอรหัต, พระธรรมกายอนาคามี, พระธรรมกายสกิทาคามี, และพระธรรมกายโสดาบัน" ได้ โดยที่กระดูกอัฐิของพระอริยบุคคลจะสะสมบ่มตัวเป็นคล้าย "ธรรมธาตุ" ที่มีอนุภาคธรรมสถิตย์อยู่ และถ้าหากสงสัยว่าบุคคลใด เป็นพระอริยบุคคลขั้นใด เราสามารถทำสมาธิแล้วถาม “กายธรรมสิทธิ์” ในพระธาตุได้ครับ.

สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

10 กุมภาพันธ์ 2565

Meditation101.org


พระธรรมกายคือใคร ในทรรศนะของพิรจักร?

“กายธรรม” หรือ “พระธรรมกาย” ไม่ใช่ “นิมิต” หรือ “รูปฌาน” แต่เป็น “รูปกาย” ที่เข้า “รูปฌาน” และ “อรูปฌาน” ได้ทั้งสองอย่าง เหมือนเทวดา หรือกายมนุษย์ ที่เข้ารูปฌานเป็นอารมณ์ได้ และอรูปฌานเป็นอารมณ์ได้ โดยที่ตัวของเทวดาและกายมนุษย์ก็ไม่ได้หายไปไหน วิธีเข้าอรูปฌานของกายธรรม ก็ทำได้โดยกำหนด “ว่าง” ลงไปในกลางแผ่นฌานที่ประทับอยู่ แต่นักปฏิบัติบางท่านอาจจะทำสมาธิเห็น “ธรรมกาย” ที่ยังมีสภาพเป็น “นิมิต” อยู่ เหมือนสายปฏิบัติอื่นๆ ที่นั่งสมาธิเห็นพระพุทธเจ้า เห็นเทวดานางฟ้า มีทั้งที่เป็นตัวตนรูปกายทิพย์มีชีวิตจิตใจของจริง และที่เป็นนิมิตเลื่อนลอยไม่มีชีวิตจิตใจ

ส่วนว่า พระธรรมกาย ไม่ใช่นิมิต และไม่ใช่ รูปฌาน แต่เป็น “รูปกายทิพย์-ธรรม” นั้นพอจะเปรียบเทียบได้กับ กายทิพย์ของพระพุทธเจ้า ที่สถิตอยู่ในพระบรมสารีริกธาตุที่กระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ   มีภาวะคล้ายความเป็นพระธรรมกาย และพอจะยกเทียบเคียงให้เห็นได้ แต่ประเด็นนี้คงจำเป็นเฉพาะกับชาวพุทธนิกายเถรวาทเท่านั้น ส่วนชาวพุทธนิกายมหายาน ของชาวจีน และชาวพุทธนิกายวัชรยาน ของชาวทิเบต มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพระธรรมกายเป็นอย่างดี แต่อาจจะมีมิติที่แตกต่างกันในรายละเอียด

ส่วนสาเหตุที่เรามีพระธรรมกายก็เพราะ “ภพผู้เป็นเจ้าของธาตุธรรม” ท่านจะต้องต่อยนต์กลไก มีไส้ มีอะไหล่ เป็นกาย เป็นดวง มีบุญ มีบาป มีธรรม มีกรรม มีกิเลส ตั้งเครื่องเสร็จสรรพ ตอนจะสวมขันธ์ลงมาเกิด เหมือนจะถามว่า ทำไมกายมนุษย์ต้องมีตับไตไส้พุง ฉันใดก็ฉันนั้น กายมนุษย์ก็มีวิญญาณสวมครอง ซึ่งมีเครื่องยนต์กลไกอันเป็นทิพย์อยู่ภายใน

 “พระธรรมกาย” นั้นหากคงอยู่ตามปกติ ไม่มีวันเสื่อม ยกเว้นบุคคลเสื่อมจากธรรมะ และเสื่อมจากวิชชา หรือเสื่อมจากจรณะ 15 มีฌานเป็นอาทิ ก็จะถดถอยจากพระธรรมกายไป คือจากที่เคยเห็น ก็ไม่เห็น จากที่เคยเป็น ก็ไม่เป็น หรือเห็นๆ หายๆ เป็นบ้างไม่เป็นบ้าง แต่พระธรรมกายนั้นยังไม่เที่ยง หากมีการรบกันในธาตุในธรรม อย่างธรรมกายฝ่ายมารที่เพลี่ยงพล้ำก็ยังแตกสลายได้ จึงยังไม่จัดว่าเที่ยงแท้

ผู้ที่เข้าถึงพระธรรมกายยังไม่จัดว่าเป็นพระอริยบุคคล ถ้าหากยังไม่ “ละสังโยชน์” กล่าวคือ การเข้าถึงกายธรรมอรหัต ทรงสภาวธรรมของพระอรหันต์ ไม่มีกิเลสในพระธรรมกายเลย แต่พอถอยออกจากธรรมะ กิเลสก็เกาะกุมกลับคืนดังเดิม จึงยังไม่จัดว่าเป็นพระอริยบุคคล แต่ได้ขึ้นชื่อว่า ทรงอารมณ์ของพระอรหัตได้ แต่ถ้าหากเข้าถึงพระธรรมกายโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหัต แล้วอาศัยพระธรรมกายนั้นละสังโยชน์ ตรัสเป็นพระอริยบุคคลตามชั้นต่างๆ อย่างถาวร จึงจัดว่าเป็นพระอริยบุคคลแล้ว โดยนัยนี้ กายมนุษย์จะเป็นพระอรหัตด้วย ไม่ได้เป็นเฉพาะพระธรรมกาย

พระธรรมกายโคตรภู กับพระธรรมกายโสดาบัน มีความแตกต่างกันคือ โดยทางเทคนิควิชชา พระธรรมกายโคตรภู มีขนาดไม่แน่นอน เล็กบ้างใหญ่บ้าง ตามกำลังจรณะ 15 อันมีฌานเป็นอาทิ และบุญบารมีของเจ้าของ รวมถึงครูบาอาจารย์ที่คุมธรรมให้ และพระธรรมกายโคตรภูยังมีกิเลสสังโยชน์ครบถ้วนที่ถูก “ทับข่ม” เอาไว้ ในขณะที่พระธรรมกายโสดาบันไม่มีสังโยชน์เบื้องต่ำ และพระธรรมกายโสดาบันก็มีขนาดที่แน่นอน คือหน้าตักกว้าง 5 วา

พระธรรมกายทั้งหมดล้วนมี ฌาน เป็นองค์ประกอบครับ เพราะพระธรรมกายปกติประทับนั่งบนแผ่นฌาน (สายปฏิบัติอื่นอาจเห็นเป็นดวงกลม หรือเป็นกลุ่มแสงก็ได้) แล้วถ้าเราจะเข้าฌานเพิ่มต่อไป ก็สามารถทำได้ด้วยการกำหนดจิตลงไปในแผ่นฌาน แล้วฌานจะแน่นขึ้น โดยนัยนี้ พระธรรมกายมี ดวงธรรม (มัชเฌนธรรม), ดวงศีล, ดวงสมาธิ, ดวงปัญญา, ดวงวิมุติ, ดวงวิมุติญาณทัสสนะ และมีตาทิพย์ หูทิพย์ อภิญญาจิตต่างๆ ทั้งหมดนี้คือ “วิชชาและจรณะ” ที่รวมอยู่ในพระธรรมกาย ที่สำคัญคือ พระโลกุตระธรรมกาย คือ พระธรรมกายโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และอรหัต สามารถละกิเลสสังโยชน์ของกายมนุษย์ได้จริง ตามลำดับขั้นของแต่ละกาย และทำให้กายมนุษย์กลายเป็นพระอริยบุคคลแต่ละชั้นได้จริงตามลำดับ หากว่ามี “บุญบารมีถึงพร้อม” กล่าวคือ จะเป็นพระอรหันต์ ต้องมีบารมีอย่างน้อย 1 แสนกัป ส่วนพระโสดาบัน กับพระสกิทาคามี ส่วนใหญ่เป็นกันได้โดยแทบจะทั่วไป ถ้าเข้าถึงพระโลกุตระธรรมกาย แล้วดำริถึงพร้อมว่าจะตัดกิเลสสังโยชน์

การเข้าถึงพระธรรมกายขั้นต่างๆ แล้วทรงอยู่ในอริยะสภาวะนั้นได้จัดเป็น “มรรคสมังคี” แต่จะตัดกิเลสได้ บุญบารมีต้องมากพอ มิฉะนั้นก็ทรงอยู่อย่างนั้น แล้วพอถอนสมาธิ ก็ถอยกลับคืนสู่ความเป็นโลกียะ ดังเดิม หรือยืนพื้นอยู่ที่ระดับโคตรภู

พระธรรมกายอนาคามีเป็นพระอริยบุคคล แต่กายมนุษย์ยังไม่เป็น เหมือนมนุษย์คนหนึ่ง นั่งสมาธิได้ฌาน แล้วไปเที่ยวพรหมโลก ได้พบพระพรหมอนาคามี ได้ไปอยู่ในทิพยวิมานของท่าน แล้วได้รวมร่างกับท่าน ได้สัมผัสรับรู้ถึงสภาวะธรรมของท่านอันเป็นสุข พอฌานของกายมนุษย์หมด ก็อำลาจากกันถอยกลับคืนโลกมนุษย์ โดยที่กายมนุษย์ยังไม่ได้เป็นพระอนาคามีเลย ต่อเมื่อกายมนุษย์รวมร่างกับพระพรหมอนาคามีอีกครั้ง แล้วท่านสอนวิธีละกิเลสสังโยชน์ ซึ่งท่านทำเป็น กายมนุษย์ก็หมดกิเลสสังโยชน์ กลายเป็นพระอนาคามี โดยพระพรหมอนาคามีก็ยังอยู่ โดยที่แท้แล้ว กายพรหมอนาคามีนั้น ก็สมมติในที่นี้ว่าเป็นกายภาคหนึ่งของมนุษย์นั้นเอง แต่ในกรณีนี้เราเปรียบเทียบกายพรหมอนาคามี กับพระโลกุตรธรรมกายต่างๆ

กายมนุษย์ เข้าถึงพระธรรมกายแล้ว สามารถไปท่องเที่ยวเมืองนิพพาน พรหมโลก สวรรค์ นรก ต่างๆ ได้ เพราะพระธรรมกายมีองค์ฌานครบถ้วน สามารถเลือกได้ว่าจะเข้าออกฌานใด หากเข้าฌานแล้วลับไปในรอยต่อระหว่างรูปฌานและอรูปฌาน เหมือนขณะที่พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพาน ก็จะสามารถเข้าไปเยือนพระนิพพานได้ ดังฉะนี้.

สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (นักวิชชาการ)

10 กุมภาพันธ์ 2565

www.meditation101.org


Q&A: หากเราตกลงแลกเปลี่ยนได้มาซึ่ง “บุญฆายะปริสันเธียะ” ซึ่งเป็น “หัวบุญชั้น 1” ที่แก่กล้าอุดมแน่นไปด้วยธาตุแล้ว บุญชนิดนี้ต่างจากบุญที่เราทำเองอย่างไร แล้วทำอย่างไรจึงจะแปลงเป็นบุญของเราเองได้อย่างสนิทแนบแน่น?

บุญฆายะปริสันเธียะที่เราได้จากการทำบุญด้วยตนเอง ก็เหมือนเราเป็นคนไทยทำงานที่เมืองไทยแล้วได้เงินบาทเป็นค่าจ้างครับ ส่วนบุญฆายะปริสันเธียะจากผู้อื่น ที่เราได้มาจากการตกลงแลกเปลี่ยนกับสิ่งใดๆ เช่นงานหรือวิชชา นั้นเหมือนเราเป็นคนไทย ทำงานในเมืองไทย แล้วได้ "เงินสกุลต่างประเทศ” มาเป็นค่าตอบแทนครับ ซึ่งเมื่อเรารับเข้ามาเก็บไว้ในตัวเราเองแล้ว บุญนี้จะอยู่ในตัวเราแบบไม่ค่อยแน่นเหมือนบุญที่เราทำเองได้เอง แต่วิธีที่จะแปลงบุญให้แน่นอยู่ในตัวเราได้ก็คือ นำบุญไปใส่ไว้ในกายของเราเองที่อยู่ในรูปของภาคผู้เลี้ยง (ไม่ใช่เทวดาผู้เลี้ยงประจำตัว) แล้วดูดซับผสานบุญให้สนิทกับตัว ก่อนคืนกายกลับเป็นกายทิพย์ เพื่อส่งบุญคืนไปยังกายต้นสายธาตุสายธรรม ซึ่งท่านสามารถจ่ายบุญที่กลืนแล้วลงมาเลี้ยงกายมนุษย์ปลายทางได้ใหม่ในภายหลัง

ส่วนวิธีจะได้กายผู้เลี้ยงก็ไม่ยาก เพียงแค่บริจาคเงินซื้อที่ดินเพื่อปลูกป่าที่สก็อตแลนด์ในโครงการ The Established Title ก็จะได้เป็น Lord / Lady คือศักดินา ที่จะทำให้ตัวเรามีกายผู้เลี้ยงเกิดขึ้น ในสายธาตุสายธรรม

อีกวิธีในการได้กายภาคผู้เลี้ยงเป็นตัวของเราเอง ก็คือการ "เปิดเว็บไซท์ และโซเชียลมีเดีย" ที่เป็นชื่อ ชื่อกลาง และนามสกุลเต็ม เป็นของเราเอง ไม่ว่าจะภาษาไทยหรืออื่นๆ เช่น "www.พิรจักร_ทิศุธิวงศ์.com

มิฉะนั้น ก็ตั้งกิจการ สร้างวัด สร้างอาคาร สถานที่ สวนสาธารณะ สถานที่สาธารณประโยชน์ รวมถึงมูลนิธิ สมาคม ทรัสต์กองมรดก บริษัท โดยมีชื่อ ชื่อกลาง และนามสกุล เต็มของเรา เป็นชื่ออาคารสถานที่หรือองค์กรหรือกิจการนั้นๆ ครับ.

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์บางส่วนโดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

23 มกราคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


Q&A: ทำบุญออนไลน์อย่างไรจึงจะได้ “ธาตุ” มาก?

คำตอบคือ ท่านที่เคยอ่านบทความก่อนๆ ของผม คงพอทราบว่า “บุญ” นั้นจัดเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง ซึ่งบุญมีความเข้มข้น มากน้อยต่างกันไป ตาม “ธาตุ” ที่ผสมอยู่ในบุญ ซึ่งธาตุในปริมาณบุญจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความทุ่มเทพากเพียร ในการบำเพ็ญบุญกริยาวัตถุ โดยทุ่มเท ทั้ง กาย, วาจา, และใจ ดังนั้น ใครก็ตามที่เพียรพยายามวิริยะอุตสาหะมากในการทำบุญ พลังงานบุญที่ได้ก็จะมี “ธาตุ” หนาแน่น สามารถ “ตกผลึก” กลายเป็นบารมีได้มาก และได้ดีกว่า

อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดบางอย่าง เช่นการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด และความสะดวกสบายที่เทคโนโลยีสมัยใหม่เอื้ออำนวย การทำบุญออนไลน์นั้น ปกติแล้ว จะได้ธาตุในบุญไม่มากนัก เพราะความสะดวก และความอุตสาหะแห่งกาย, วาจา, และใจ ที่ไม่มาก เราก็มีวิธีทำบุญออนไลน์ให้ได้ธาตุในบุญมาก ดังนี้คือ

(1) ทำบุญหลังจากที่เราทำงาน กล่าวคือ เมื่อเราทำงานหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต ได้เงินมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นงานที่ต้องออกเรี่ยวแรงมากๆ หรืองานที่สบายอย่างงานอ็อฟฟิส เมื่อได้ทรัพย์ตอบแทนการทำงานแล้ว ก็ให้รีบโอนเงินทำบุญออนไลน์ โดยอ้างถึงความทุ่มเทที่เกิดจากการทำงานนั้น

(2) ทำบุญโดยชดเชยด้วยกำลัง หมายความว่า แทนที่เราจะใช้ทรัพย์ไปกับการแสวงหาความสุข สนุก สบาย เราก็นำเงินจำนวนนั้น มาทำบุญออนไลน์แทน เช่น การเดินทางไปที่ทำงาน ซึ่งปกติไปด้วยรถแท็กซี่ ใช้เงินค่าโดยสาร 60 บาท เราก็เปลี่ยนเป็นนั่งรถเมล์ไปแทน ซึ่งจ่ายค่าโดยสาร 13 บาท แล้วเราก็นำเงินส่วนต่างอีก 47 บาท โอนทำบุญออนไลน์ในทันที หรือการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ในวันอาทิตย์ ซึ่งปกติจะใช้เงินมื้อละ 200 บาท เราก็ประหยัดไว้ โดยรับประทานอาหารตามสั่งธรรมดา 50 บาท แล้วนำเงินอีก 150 บาท โอนทำบุญออนไลน์ในทันที การทำลักษณะนี้จะทำให้ได้บุญมากขึ้นหลายเท่าตัว และเป็นบุญที่มี “ธาตุ” มาก บุญที่มีธาตุมากนี้เอง เป็นบุญที่มีกำลังแรงมาก ไม่อาจถูกตัดรอนได้ง่ายๆ เมื่อส่งผลครับ.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

21 มกราคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


Q&A: สมบัติของเทวดาผู้เลี้ยงคืออะไร?

คำตอบคือ ก่อนอื่นขอเอ่ยอ้างถึงการค้นพบด้วยการปฏิบัติเจริญวิชชาว่า มนุษย์แต่ละคนล้วนมี “เทวดาผู้เลี้ยง” (ภาษาวิชชาเรียกว่า “ภาคผู้เลี้ยง” ภาษาถิ่นเรียกว่า “เทวดาประจำตัว”) ซึ่งเทวดาผู้เลี้ยงมีหลายแบบ ต่างก็มีอาวุธและสมบัติสำหรับใช้ทำหน้าที่ส่งเสริมชีวิตมนุษย์ที่ตนดูแลอยู่ให้รุ่งเรืองเจริญก้าวหน้า (ในกรณีเป็นผู้เลี้ยงฝ่ายดี) หรือตกต่ำ (ในกรณีเป็นผู้เลี้ยงฝ่ายชั่ว) ซึ่งสมบัติเทวดาผู้เลี้ยงเหล่านั้นจะ “เนื่อง” อยู่กับยศชั้นขั้นฐานะของมนุษย์ เช่นศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย มี “คทาวุฒิ” บรรณาธิการหนังสือมี “หูกคัมภีร์” แพทย์และเภสัชกรมี “หม้อยา” ฯลฯ

ซึ่งสมบัติเทวดาผู้เลี้ยงเหล่านี้มี “ฤทธิ์” ในการส่งเสริมมนุษย์ ให้มีความรู้ความสามารถ กระทั่งได้ยศชั้นขั้นฐานะต่างๆ โดยอาจมีส่วนส่งผล 20 – 60% ของทั้งหมดในความเป็นจริง ในขณะที่ส่วนที่เหลือขึ้นอยู่กับบุญบารมี, กรรม, กายสิทธิ์, และวิชชา ซึ่งสมบัติเทวดาผู้เลี้ยงนี้ เป็นของทิพย์ที่มีไว้สำหรับ “ส่งฤทธิ์” ให้ดีร้ายไปต่างๆ นาๆ อุปมาเหมือน คลื่นความถี่ของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่ส่งกำลังเชื่อมกับของหยาบในเมืองมนุษย์อย่างเสาสัญญาณโทรศัพท์ และอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ และตัวมนุษย์เอง หรือเหมือนอย่าง คลื่นไมโครเวฟ ที่มองไม่เห็น แต่มีผลต่อของหยาบ ในทำนองเดียวกัน การเกิดขึ้นแห่งของทิพย์  อย่างเช่นดอกบัวต้นกัปป์ ก็เป็นนิมิตหมายที่เนื่องด้วยสิ่งที่จะเกิดต่อไปในโลกมนุษย์ หรือเหมือนแจกันกิ่งหลิวของพระแม่กวนอิมที่ส่งเป็นความเมตตาการุณย์ที่มนุษย์สามารถสัมผัสรับรู้ได้ แม้ในความเป็นจริง จะไม่มีดอกบัว หรือแจกกันกิ่งหลิวของจริง เกิดขึ้นให้มนุษย์จับต้องก็ตามที.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

21 มกราคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


Q&A: ทำบุญออนไลน์มีอานิสงส์อย่างไร?

คำตอบคือ เมื่อบุญส่งผล จะได้ทรัพย์แบบสะดวกรวดเร็วง่ายดาย โดยที่ไม่ต้องทำงานหนัก เพราะเนื้อนาบุญได้รับเงินแบบที่ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยเตรียมงานและจัดงาน หรือหมดเปลืองเวลาไปกับขั้นตอนการรับสิ่งถวาย และใช้จ่ายสิ้นเปลืองไปกับพิธีกรรม แต่ปริมาณบุญที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นกุศลมากน้อย เร็วช้าต่างกับการเดินทางไปร่วมพิธีทำบุญด้วยตนเอง ประกอบกับ องค์ประกอบในการทำทาน คือ วัตถุบริสุทธิ์ เจตนาบริสุทธิ์ ผู้ให้บริสุทธิ์ และผู้รับบริสุทธิ์ ซึ่งการทำบุญออนไลน์นั้น ความมุ่งมั่น และเจตนาอันแรงกล้าในการทำบุญ อาจจะหย่อนกว่าการไปด้วยตนเอง แต่อานิสงส์แห่งความสะดวกรวดเร็ว ก็เป็นสิ่งดี

อย่างไรก็ตาม บุญที่ได้จากการทำบุญออนไลน์เดี๋ยวนี้ผู้ทรงวิชชาสามารถคำนวณได้แล้วครับ ว่าส่งผลเป็นเท่าไรต่อเงินบริจาค 1 บาท เมื่อเทียบกับไปถวายด้วยตนเอง และเร็วช้ากว่ากันเท่าใด และถ้าหากทักขิณา หรือผู้รับบริจาคมีวิชชา ก็สามารถคำนวณจ่าย โดยหักค่าแรงและค่าใช้จ่ายทั้งปวงอันเกี่ยวกับขั้นตอนของงานพิธีกรรม แล้วชดเชยให้เป็นปริมาณบุญที่มากขึ้น ซึ่งผู้ทรงวิชชาที่ชำนาญการคำนวณสามารถทำได้ครับ

อานิสงส์ทำบุญออนไลน์นั้นยกตัวอย่างเช่น รายได้จากการขายแอพพลิเคชั่น หรือการขายเกมออนไลน์ อย่างแองกรี้เบิร์ด และอื่นๆ ถ้าเป็นยุคที่เทคโนโลยียังไม่เจริญก้าวหน้า ผลบุญที่ได้ก็ยังส่งแบบสบายๆ เช่นมีสวนผลไม้ที่อุดมสมบูรณ์ไม่ต้องดูแลรักษาอะไรมากแล้วเปิดให้คนเข้าไปเลือกรับประทานเป็นบุฟเฟต์ผลไม้โดยคิดค่าผ่านประตูครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

21 มกราคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org

 

 

Q&A: ทำบุญกับสำนักคลองสามตั้งมากมาย ทำไมยังไม่รวยเร็ว รวยแรง?

การทำบุญแบบตัดใจถวายทันทีที่สำนักคลองสาม แล้วไม่ได้อานิสงส์เร็วทันใจ เพราะทักขิณามีปัญหา หรือมีข้อขัดข้องทางวิชชาครับ กล่าวคือทีมทำวิชชาเอาละเอียดไปใช้คือดึงบุญของเจ้าภาพผู้บริจาคซึ่งเป็นศิษย์วัดไปใช้ ส่วนทักขิณามีปัญหาก็เป็นเพราะเวลาศิษย์วัดทำบุญ จะต้องถวายผ่านท่านผู้นำ ซึ่งหน้าซองรับบริจาคที่ทางสำนักเตรียมไว้ และใบ[เสร็จ]รับเงิน ระบุประมาณว่า “บูชาธรรมฯ เพื่อนำไปใช้ตามความประสงค์ฯ” ก็คือถ้าจะได้อานิสงส์แห่งผลบุญก็จะต้องได้ผ่านท่านผู้นำนั้น ถ้าท่านไม่ให้ก็ไม่ได้ และท่านก็มีสิทธิ์ในการเข้ากำกับการทั้งหยาบละเอียด

เงื่อนนี้เองครับที่ทำให้ติดหล่มกันอยู่ในวิชชา เพราะประการแรกคือ "ธรรม" ที่บูชา ว่าเป็น กุศล และ/หรือ อกุศล ส่วน "นำไปใช้ตามความประสงค์" ก็คือตามใจปรารถนาของท่าน ไม่ว่าหยาบหรือละเอียด ใช้ในทางบุญ หรือในทางบาป สิทธิ์ไปติดค้างอยู่ที่ท่าน ถ้าจะได้ ก็ต้องได้เพราะท่านหรือผ่านท่าน โดยที่ท่านก็เป็นคนที่เลือกที่รักมักที่ชังอย่างมากด้วย แต่ก็เป็นสิทธิ์ของเหล่าศิษย์ครับ ถ้าเต็มใจจะผูกเงื่อนเอาไว้ดังนั้น เมื่อกรรมส่งผล อานิสงส์จะมีลักษณะคือ ท่านผู้นำจะเป็นเจ้าของกิจการ และ/หรือ เจ้าของกงสี ผู้มีสิทธิ์ใช้จ่ายทรัพย์ตามใจชอบ และถ้าหากเจ้าภาพผู้บริจาค จะได้ทรัพย์อันเป็นผลแห่งบุญ ท่านผู้นำก็จะเป็นผู้ตัดสินใจ ว่าจะให้ใคร หรือไม่ให้ใคร และให้เท่าไร ตามประสงค์ แม้ว่าผู้บริจาคจะสามารถทำงานให้กับกงสี หรือกิจการ ก่อให้เกิดรายได้ มากหรือน้อยตามกำลังบุญก็ตามครับ.  

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

21 มกราคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org



Q&A: เราจะสามารถเรียกดวงตราประกาศิต ในรูปแบบของสมบัติเทวดาผู้เลี้ยงได้หรือไม่?

อ้างถึงเรื่องการเรียก สมบัติเทวดาผู้เลี้ยง (ของทิพย์) ที่เนื่องด้วย “ยศชั้นขั้นฐานะ” ของบุคคล มีผู้สงสัยว่า เราจะสามารถเรียก “ดวงตราประกาศิต” ที่มีลำดับขั้นต่างๆ จากเทวดาผู้เลี้ยง เพื่อรักษาเกียรติคุณแห่งดวงตราประกาศิตนั้น เอาไว้ได้หรือไม่? (ดวงตราประกาศิตหรือ “โลโก้” มีลำดับขั้น ที่นับถือกันโดยเหล่าเทพเทวา ตาม “คุณ” ที่มี และ “ความแพร่หลาย” ในการใช้)

คำตอบคือ ปกติแล้วเทพผู้ดูแลรักษาดวงตราประกาศิตจะมีของทิพย์เก็บไว้อยู่แล้ว แต่เนื่องจากดวงตราประกาศิตมีจำนวนมาก และบ้างก็ดูคล้ายๆ หรือดูซ้ำๆ กัน เทพผู้ดูแลรักษาประกาศิต ก็ไม่ได้มีหน้าที่ ในการส่งมอบดวงตราของทิพย์ให้กับเจ้าของที่เวียนว่ายตายเกิดไปตามภพภูมิ ซึ่งจะใช้ดวงตรานั้นซ้ำอีกครั้งหรือไม่ ก็ยังไม่แน่นอน

แต่วิธีหนึ่งในการเรียก "ดวงตราประกาศิต" ในรูปแบบของสมบัติเทวดาผู้เลี้ยงคือ ทำให้เป็น "เหรียญทอง" และเหรียญลำดับต่างๆ เหมือนเหรียญรางวัล และเหรียญการแข่งขันกีฬา ซึ่งสามารถทำได้ เช่นเดียวกับกองจัดการประกวดและแข่งขันต่างๆ อย่างเหรียญทองคณิตศาสตร์โอลิมปิค เหรียญรางวัลโนเบล เหรียญเกียรติคุณองค์การสหประชาชาติ และอื่นๆ นอกจาก "เหรียญทอง" "เหรียญเงิน" "เหรียญบรอนซ์" ที่สามารถเล่นประกาศิต ได้ ก็ยังมี "ธง" หรือ "ตุรงค์" (เหมือนธงโอลิมปิค) และ "พัด" (เหมือนพัดรองกาชาด) ที่สามารถใช้กับประกาศิต โดย "เล่นมิติ" ของสิทธิ์และอำนาจ ตามกรอบของตัวบทกฎหมาย ที่ให้สิทธิ์และอำนาจ แก่องค์กร หน่วยงาน หรือบุคคลที่เป็นผู้สถาปนา หรือกำหนดสิ่งเหล่านั้นให้เกิดมีขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่ “สมบัติของทิพย์” จะเกิดขึ้นเพื่อส่งฤทธิ์ ให้กับ เหรียญ พัด และธง ต่างๆ เหล่านั้น ทั้งนี้จะต้องมีการ “ผูกสิทธิ์และอำนาจ” เข้ากับดวงตราประกาศิตที่ขึ้นทะเบียน เพื่อกำกับ เหรียญ พัด ธง และอื่นๆ ด้วย.

ส่วนหนึ่งสงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

Partially Copyrighted by Pirajak Tisuthiwongse

20 มกราคม พ.ศ. 2565

www.Meditation101.org


Q&A: องค์พระกวนอิมพันกรมีจริงไม่?

มีจริงครับ แต่เป็นคนละพระองค์กับองค์พระอวโลกิเตศวร แต่ท่านนับถือกันว่าเป็นพระแม่กวนอิมเหมือนกัน แต่ต่างภาค ต่างปาง เนื่องจากมีบุคคลที่ประทับใจเรื่องราวขององค์ดั้งเดิมแล้วเกิดศรัทธา จึงบำเพ็ญพรต สร้างความดี ขอเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิม หรือเข้าใจว่าตนเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิม เช่นองค์ประทับทรง ที่ถือศีล กินเจ ช่วยเหลือผู้อื่น เมื่อละโลกแล้ว ประกอบกับคุณความดีที่มี จึงได้สำเร็จเป็นเทพเซียน หรือพระโพธิสัตว์ ที่ชื่อพระกวนอิม โดยพระกวนอิมองค์ดั้งเดิมอาจจะรับเข้าคณะของท่านด้วย ทั้งนี้ องค์พระกวนอิมพันกรทรงมีของวิเศษมาก แต่จะใช้ได้มากน้อยก็ขึ้นอยู่กับกำลังบุญบารมี ถ้าใช้มากใช้บ่อยก็หมดเปลืองมากครับ โดยการแสดงพระกรนับร้อยนับพันก็เป็นการปาฏิหาริย์พระกร คล้ายช้างเอราวัณ ที่มี 33 เศียร น่ะครับ.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

12 มกราคม พ.ศ. 2565

www.meditation101.org

 

Q&A: พระเยซูมีจริงหรือไม่และเป็นอย่างไรในทรรศนะของชาววิชชา?

พระเยซูท่านจัดได้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งสาเหตุที่เรียกท่านว่าเป็นพระโพธิสัตว์ก็เพราะทรงมี “โพธิจิต” แม้จะไม่ได้มุ่งหวังจะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต แต่ทรงหวังจะได้อยู่เป็นอมตะสุขในสวรรค์ กับพระบิดร ก็คือพระพุทธเจ้าองค์บรมธาตุ ผู้เป็นต้นกำเนิดธาตุทั้งปวงในตลอดหมดสากลโลก และในทางวิชชานั้นพระเยซูจัดว่าท่านเป็น “จ้าวสีมุก” ซึ่งแม้จะไม่ใช่สีหลัก แต่ก็มีความโดดเด่นเฉพาะตัว โดยธรรมที่ปรุงเป็นมโนรส และธาตุที่คงความสะอาดสวยงามล้ำค่าอย่างกลมกลึงระดับหนึ่ง ท่านมีวิชาประกอบสมาธิที่เรียนมา ท่านสามารถไถ่บาปได้โดยทำคล้ายการปลงอาบัติของชาวพุทธ แต่ท่านหมดเปลืองบุญบารมีที่สั่งสมไปมากกับการไถ่บาปคล้ายกับการที่ชาวพุทธแก้กรรม หรือที่ชาววิชชาใช้ละเอียดและบุญในการแก้ผังวิบากกรรมนั่นเอง แต่ท่านมีบุญจากการที่สาวกในศาสนาของท่านทำความดีการกุศลช่วยคนเจ็บ คนป่วย คนจน คนไม่มีการศึกษา ท่านจึงได้บุญในฐานะต้นบุญ เท่าที่ผมทราบ ผู้ที่เป็นนักบุญในศาสนาของท่าน จะได้รับ “สายบุญสันวิวัฏฐายี” ซึ่งเป็น “ปุญญาภิสัณธาน” ที่พลังงานบุญไหลมาเรื่อยๆ ในขณะนี้ทั้งองค์พระแม่มารี และพระเยซูมีตำแหน่งเป็น "องค์ไท" คือผู้เป็นใหญ่แห่งสวรรค์ ไม่อยู่ใต้การปกครองของใคร และทรงมีตำแหน่งอื่นๆอีก เช่น “เจ้าเวฆินทร์” รวมถึง “เจ้าประกาศิต” ประเภทต่างๆ และท่านมีภพของท่านเองอยู่ต่างหาก และมีหลายปาง หลายภาค กระจัดกระจายกันอยู่ในภพภูมิต่างๆ เนื่องจากมีหลายคนบำเพ็ญเป็นพระแม่มารี และพระเยซูครับ.

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

12 มกราคม พ.ศ. 2565

www.meditation101.org

 

Q&A: พระยูไลมีจริงหรือไม่และเป็นอย่างไรในทรรศนะของชาววิชชา?

องค์พระยูไล ทรงเป็นพระบรมพุทธเจ้าผู้ใหญ่ในเมืองนิพพาน ทรงเต็มอิ่มกับการเสวยบรมสุข แต่ด้วยพระมหากรุณาในสรรพสัตว์จึงปาฏิหาริย์ “สัมโภคกาย” ออกมาช่วยเหลือมนุษย์และสัตว์ ทรงมีภพเป็นของพระองค์เองเช่นกัน แต่ทรงประทับและไปมาหาสู่กับแดนสุขาวดี ซึ่งเป็นภพพิเศษที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อรองรับเวไนยสัตว์ผู้มีจิตเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ ธรรมาจารย์ และท่องคาถาที่กำหนดตามกติกา กุศลนั้นก็จะนำไปสู่สุคติก่อน คือสามารถเข้าภพสุขาวดี ที่ยั่งยืนกว่าสวรรค์ ไม่ต้องตกนรก หรือเกิดในอบาย แล้วไปฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า อย่างองค์พระยูไล และพระโพธิสัตว์ต่างๆ ในแดนสุขาวดี เพื่อกล่อมเกลาอุปนิสัยใจคอ เลี้ยงไว้ในแดนสุขาวดี ไม่ให้ตกต่ำระกำทุกข์ แต่พอจะเป็นสุขอย่างพระนิพพานกลายๆประเภทเมืองเวียงวัง แม้จะไม่ถึงขั้นเป็นเอกันตบรมสุขในพระนิพพานแท้ๆ ซึ่งผมได้เคยเรียนให้ทราบแล้วว่า ดินแดนสุขาวดี เป็นภพพิเศษที่องค์พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ผู้สร้างขึ้น ใช้กำลังบุญบารมี และกำลังวิชชา และจะคงอยู่ตราบเท่าที่ท่านเหล่านั้นยังพอมีกำลังส่งเลี้ยงภพ ส่วนรูปกายพระองค์จริงขององค์พระยูไลก็สวยงามสง่ามีลักษณะมหาบุรุษครบถ้วน แต่แสดงพระองค์ตามวัฒนธรรมของผู้เข้าเฝ้าเหมือนองค์พระอินทร์ที่มีหลายรูปลักษณ์แสดงให้ถูกอัธยาศัยแด่ผู้พบเห็นและโอกาสครับ พระยูไลก็ทรงมีหลายภาค หลายปางเช่นกัน เพราะมีผู้บำเพ็ญเป็นพระยูไล พระโพธิสัตว์และผู้ทรงวิชชาบางท่านก็บำเพ็ญบารมีในโลกมนุษย์ เมื่อละโลกไปแล้ว สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในโลกวิชชา และโลกทิพย์ มีรูปกายเป็นลักษณะมหาบุรุษ โดยที่ยังไม่เคยตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในเมืองมนุษย์ก่อนที่จะได้รูปกายมหาบุรุษของพระพุทธเจ้าอันเป็นทิพย์นั้น ซึ่งก็เป็นความสามารถและวาสนาบารมี และวิชชาเฉพาะตัวครับ.

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

12 มกราคม พ.ศ. 2565

www.meditation101.org

 

Q&A: เพราะเหตุใดสมบัติของผู้เลี้ยงจึงไม่อยู่ในรูปของดวงกลมที่ส่งฤทธิ์เหมือนดวงธรรม ดวงบุญ?

คำตอบคือสมบัติของผู้เลี้ยงมีทั้ง “รูปลักษณ์” (form) และ หน้าที่การใช้สอยเพื่อทำงาน (function) เหมือนรัตนะ 7 (จักรแก้ว, แก้วมณี, ขุนพลแก้ว, ขุนคลังแก้ว, นางแก้ว, ช้างแก้ว, และม้าแก้ว) ที่มีรูปลักษณ์และมีหน้าที่ใช้งาน โดยมีลักษณะเชิงสัญลักษณ์ ยกตัวอย่างเช่น ม้าแก้ว ไม่ใช่ม้าสำหรับขี่เสมอไป แต่เป็นตัวแทนวิชชาและวิทยาการเกี่ยวกับการส่งกำลังในญาณให้รวดเร็วว่องไว และในหยาบหมายถึงระบบระเบียบการคมนาคมสัญจร ทั้งทางด่วน รถไฟฟ้า ยวดยานพาหนะ รถเก๋ง รถมอเตอร์ไซค์ จักรยาน ล้วนอยู่ในความอำนวยการของ “ม้าแก้ว” ทั้งสิ้น โดยสมบัติของผู้เลี้ยงจะต้องหยิบจับต้องเพื่อแสดงและใช้สอย และบ่งบอกนัยยะแห่งลำดับความสำคัญ และอานุภาพที่มี เช่นผู้ที่ได้ “คทาศาสตราจารย์” เวลาเข้าประชุมก็ถือไปด้วย (การประชุมมีหลายแห่ง นับตั้งเมืองพระนิพพาน แดนสุขาวดี พรหมโลก สวรรค์ชั้นต่างๆ กระทั่งถึงภพซ้อนภพในเมืองมนุษย์ อย่างเมืองลับแล) ซึ่งการจัดประชุมก็ดูว่าใครใหญ่กว่า สว่างกว่า ก็เลิศกว่ากัน แล้วผู้พบเห็นก็จะตระหนักและนับถือตามลำดับ บางครั้งจะใช้คทาสำแดงสิทธิ์ก็ต้องจับวาดเหวี่ยงไปมา หรือชี้ออกไป ท่านใดเคยชมภาพยนตร์จีน คงพอนึกออกถึงบรรยากาศเวลา “เทพเซียน” ประชุมในท้องพระโรงของ “องค์เง็กเซียนฮ่องเต้” ซึ่งเป็นพระราชาแห่งสวรรค์ ใครบำเพ็ญความดีแบบใดมา เนื่องด้วยอะไร ก็ถือของวิเศษมาเข้าประชุม เช่นเก๋งพระเจดีย์จำลอง, แส้สำหรับปัดแมลง, ยู่อี่, ดอกบัว, ลูกท้อ, ม้วนคัมภีร์, พัด, กระจก, ตะกร้าดอกไม้, ดาบ ฯลฯ ซึ่งในบางโอกาส จะมีการประชุมอย่างนี้ ตามภพภูมิต่างๆ ครับ 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

12 มกราคม พ.ศ. 2565

www.meditation101.org


Q&A: เครื่องทรงพระจักรพรรดิ และพระพุทธราช พระธรรมราช มาจากไหน?

อ้างถึงความก่อนหน้าเรื่องชฎาและเครื่องประดับของกายในวิชชา ที่มีรายละเอียดโดยคร่าว และคำอธิบายเปรียบเปรยนั้น มีท่านสงสัยว่า เครื่องประดับเหล่านั้นมาจากไหน แล้วทำไมชฎาจึงเป็นเครื่องประดับที่มีอัญมณีวิชชาเกิดขึ้นได้ยาก

คำตอบก็คือ กายแต่ละกายของบุคคล นับตั้งแต่กายมนุษย์ กายวิญญาณ กายเทวดา กายพรหม กายธรรม (ธรรมกาย) กายจักรพรรดิ นั้นล้วนแต่มี “ผู้รักษา” ซึ่งเป็น “กายสิทธิ์” ประจำการคอยเลี้ยงรักษาอยู่ ยกเว้นบางท่านที่เป็นบุคคลสำคัญ หรือมีความพิเศษ ก็อาจจะมีกายอื่นๆ อย่างพระธรรมกาย พระจักรพรรดิ หรือพระพุทธเจ้า คอยดูแลรักษา และกายประจำการเหล่านี้ ทำงานเป็นทอดๆ เชื่อมโยงกับ กายผู้สั่ง กายผู้ส่ง กายผู้บังคับ กายผู้ปกครอง เป็นลำดับๆ ไปจนถึงกายผู้ปกครองใหญ่ในวิชชา เหมือนโลกมนุษย์ที่มีนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ทำงานเชื่อมโยงกันเป็นทอดๆ แบ่งอำนาจลงมาตามลำดับสายการปกครอง โดยที่ในสายการปกครองนี้ ก็มีแหล่งในการประชุมผลิต รัตนะ 7 รวมถึงเครื่องทรงต่างๆ ในทำนองเดียวกันกับที่ กายสิทธิ์ทิพยจักรฯ สร้างเครื่องประดับและทิพยสมบัติให้กับเทวดา และ กายสิทธิ์พรหมจักรฯ สร้างเครื่องประดับและพรหมสมบัติให้กับพระพรหม แต่ด้วยความรวดเร็วในการประชุมขึ้น เราอาจใช้คำว่า “เนรมิต” ก็ได้ในบางโอกาส

ดังนี้แล้ว หมายความว่า กายพระจักรพรรดิ หรือพระธรรมกายในตัวเราก็ตาม ล้วนมีกายผู้ปกครองซ่อนอยู่ในสายธาตุสายธรรม ซึ่งกายเหล่านี้เอง ที่จะคอยตรวจตราดูความเป็นไป แล้ว “ส่ง” และ “สั่ง” และ “เลี้ยง” ด้วยธาตุ และธรรม อย่าง ศีล สมาธิ ปัญญา และพลังงานบุญ รวมถึงเครื่องประดับประจำกายอันพึงได้ตามสมควร เหมือนอย่างสำนักนายกรัฐมนตรี ที่มีอำนาจอนุมัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้กับข้าราชการ และบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ ทั้งผู้มีผลงาน อายุงาน และบริจาคการกุศล ซึ่งการอนุมัติก็ทำเรื่องขอตามลำดับขั้นเป็นทอดๆ โดยที่ผู้เลี้ยงที่เราสามารถขอเครื่องทรงจากยศชั้นขั้นฐานะโดยเรียกจาก “จักรรัตนะของทิพย์” ที่ผู้เลี้ยงมีอยู่ในครอบครองสำหรับใช้ทำงาน ก็เป็นส่วนหนึ่งของสายปกครองธาตุธรรมที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ ยกเว้นเครื่องทรงและเครื่องประดับหลายอย่าง ที่บุคคลได้มาโดยการแลกเปลี่ยน แสวงหา รวมถึงขั้นซื้อขาย ซึ่งมิได้มาจากผู้เลี้ยงโดยตรง

ส่วนอัญมณีวิชชาที่ขึ้นบนชฎาได้ยากง่ายไม่เท่ากัน ก็เพราะชฎาอาจจะเรียกได้ว่าเป็นเครื่องประดับชิ้นสำคัญที่สุดของกายพระจักรพรรดิ และเป็นของประดับเศียร ซึ่งส่วนเศียรก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของร่างกาย และเป็นฐานที่ตั้งของอายตนะ ซึ่งมีกลไกอันซับซ้อนอยู่ ผู้เลี้ยงจึง “ส่ง” อัญมณีมาประดับชฎาโดยไม่ง่ายนัก ยกเว้นผู้ทรงวิชชา และ/หรือ วิชา บางท่าน ที่สามารถเป็นอยู่ได้โดยออกจากการปกครองของผู้เลี้ยง แล้วประดับเครื่องทรงเองตามใจชอบ อนึ่ง อัญมณีที่มีวิชชาสถิตอยู่นั้น ปกติแล้วจะมี “น้ำหนัก” ในญาณ เมื่อนำมาประดับเครื่องทรง ผู้สวมใส่จะรู้สึกหนักขึ้น ถ้ากำลังธาตุไม่พอ ก็จะไม่สามารถรับน้ำหนักได้ไหว โดยเฉพาะส่วนของชฎา ซึ่งจะทำให้เศียรหนักขึ้น ยากต่อการเคลื่อนไหว ยกเว้นในบางกรณี คือมีอัญมณีที่ไม่มีวิชชาประดับอยู่

เครื่องทรงที่ประดับกายในวิชชา และที่เรียกได้จากสมบัติเทวดาผู้เลี้ยง เป็นสิ่งที่ติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ แต่ไม่จัดว่าเป็นทรัพย์สินติดตัวของกายมนุษย์ เราอาจเรียกได้ว่าเป็นบุญซึ่งอยู่ในรูปของ “ของวิเศษ” ที่เก็บสะสมไว้ภายในสายธาตุสายธรรม และเมื่อเราเวียนว่ายตายเกิด หรือแม้แต่เข้าพระนิพพาน ของวิเศษอันเป็นทิพย์เหล่านี้ ก็สามารถนำมาใช้ส่งฤทธิ์ให้คุณประโยชน์ต่างๆ ได้ เหมือนอย่าง “รัตนะ 7” เปรียบเสมือน “กายสิทธิ์” ที่สะสมอยู่ในตัว ซึ่งได้มาจากการทำกิจการงานต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น นักดนตรี ที่ฝึกเล่นเปียนโนกระทั่งชำนาญ ระหว่างที่เล่นเปียนโน ภพกายสิทธิ์ก็ส่งกายสิทธิ์มาสะสมไว้ในตัว คอยส่งฤทธิ์ให้เกิดความชำนาญในการเล่น เมื่อละโลกไปแล้ว ไปเกิดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเทวดา อย่างคนธรรพ์ หรือมนุษย์ ก็จะเล่นดนตรีเก่งนับตั้งแต่เยาว์วัย จึงเป็นที่มาของคำว่า “อัจฉริยะ” ในด้านต่างๆ ซึ่งแท้จริงแล้วส่วนใหญ่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นความชำนาญที่สะสมข้ามภพข้ามชาติ

ส่วนผู้ที่ได้ยศชั้นขั้นฐานะ ยกตัวอย่างเช่นเป็น “ศาสตราจารย์” แล้วได้เรียกสมบัติจากผู้เลี้ยงที่เนื่องด้วยตำแหน่งศาสตราจารย์นั้น เมื่อได้มาเก็บไว้ในสายธาตุสายธรรมแล้ว ครั้นได้เวียนว่ายตายเกิด มาเกิดใหม่เป็นมนุษย์ ก็มีแนวโน้มมากที่จะได้เป็นครูเป็นอาจารย์เหมือนอย่างเคย ด้วยฤทธิ์แห่งของวิเศษอันเป็นทิพย์ ที่ชักจูงให้เป็นไป ซึ่งของวิเศษจากเทวดาผู้เลี้ยง สำหรับผู้ที่มีตำแหน่งทางวิชาการอย่างศาสตราจารย์ก็คือ “ไม้คทา” เป็นอาทิ ดังฉะนี้แล.

 

ผู้ทรงวิชชา และพิรจักร ทิศุธิวงศ์

11 มกราคม พ.ศ. 2565

www.meditation101.org   


Q&A: เพราะเหตุใดการมีมณีขึ้นที่หมวกจึงมีผลในทางวิชชา?

ผู้รจนาความขอเปรียบเทียบกับ meditation headband คือ รัดเกล้าสมาธิน (หากไม่เคยรู้จัก กรุณาค้นหาใน Google ด้วยคำว่า “Meditation Headband”) ซึ่งปล่อยคลื่นที่มีผลต่างๆ นาๆ ต่อศีรษะ โดยที่ศีรษะมีฐานที่ตั้งของอายตนะสำหรับสัมผัสรู้บรู้ต่างๆ ในทำนองเดียวกัน มณีในวิชชาก็ปล่อยคลื่นสีคลื่นแสงให้อิทธิคุณต่างๆ อยู่บนชฎา

ทั้งนี้ขออธิบายเพิ่มเติมความเดิมตามที่เคยเปรียบเทียบกายธรรมกับตำรวจ ส่วนกายจักรฯเหมือนทหาร ต่างก็มีพื้นความรู้วิชชาบางส่วนที่คล้ายคลึงกันที่โรงเรียนนายร้อยสอน แต่อาวุธใช้คนละประเภท ตำรวจไม่ถนัดใช้อาวุธสงครามหนัก และตำรวจก็มีเครื่องแบบที่มีรายละเอียดขององค์ประกอบน้อยกว่าทหาร วิชาความรู้มีทั้งที่เหมือนและต่างกัน ซึ่งเครื่องประดับก็บ่งบอกถึง การผ่านการฝึกอบรม การผ่านสมรภูมิ ลำดับขั้นชั้นยศในด้านต่างๆ ซึ่งเครื่องประกอบยศแต่ละชิ้นล้วนหมายถึงสิ่งที่ต่างกันไปในแต่ละท่าน ดังเช่นกายพระพุทธราช พระธรรมราช และพระจักรฯ ซึ่งมีเครื่องประดับมากน้อยไม่เหมือนกัน

ส่วนทว่าในเมื่อมณีมีฤทธิ์แล้วทำไมจึงใช้กันเฉพาะในหมู่กายจักรฯ คำตอบคือ พระจักรฯ มีรัตนะเจ็ดเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น “สัตตรัตนะธรรม” (ธรรมอันเป็นเครื่องอยู่ทั้ง 7 ประการตามประเภทของรัตนะ 7) และ/หรือ “สัตตรัตนะธาตุ” (รัตนะ 7 ทั้งของจริงที่จับต้องได้ และของทิพย์ที่มีอยู่ในครอบครอง) อัญมณีวิชชา จัดอยู่ในประเภทแก้วมณี ซึ่งนอกเหนือจากรูปลักษณ์ (form) ที่ใช้ประดับให้สวยงาม ก็ยังมีหน้าที่สำหรับใช้สอย (function) สำหรับเดินวิชชาสี วิชชาแสง ปรุงเป็นมโนธรรม และมโนรส มโนฤทธิ์ แห่งวิชชานั้นๆ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

11 มกราคม พ.ศ. 2565

www.meditation101.org


นานาสาระ: เรื่องการเรียกมณีประดับชฎาทิพย์ (หมวกพระจักรฯ และหมวกพระพุทธราช)

บางท่านคงจะเห็นกันมาว่า รูปหล่อพระจักรพรรดิบางพระองค์มีหมวกสวยงามยอดสูงใหญ่โต ซึ่งพระจักรพรรดินั้นมีเครื่องทรงที่นับถือกันว่าสำคัญอยู่ที่ชฎาหรือหมวกนั่นเองครับ ซึ่งชฎาแต่ละแบบก็มีนัยยะต่างกันไปทั้งในแง่ของวิชชา (ละเอียด) และภายนอก (หยาบ) ซึ่งผมไม่ขอเอ่ยถึงในที่นี้  เพราะมีความหลากหลายนานัปการ

สำหรับ  "ชฎาประดับอัญมณี" ของทิพย์ สำหรับฝ่ายธรรม และฝ่ายจักรฯ นั้นโดยปกติแล้วจะได้มาด้วยวิชชา ซึ่งหากมีอัญมณีขึ้นมาก ก็จะมี “วิชชาสี” “วิชชาแสง” “อิทธิคุณแห่งสีแสง” และความ “ล้ำค่า” มากตามไปด้วย ซึ่งท่านว่ากันว่า พระจักรฯ นั้นกว่าจะได้เครื่องประดับแต่ละอย่างละอย่าง หรือมีมณีและดาราขึ้นแต่ละเม็ดแต่ละดวงนั้นก็ไม่ง่าย เหมือนบุคคลมีกายมนุษย์หยาบ และกายละเอียด กายในวิชชา ไล่ลึกเข้าไป อย่างพระธรรมกาย กายมนุษย์ทำบุญ ได้ยศถาบรรดาศักดิ์แต่งเครื่องทรงมากเพียงใด กายละเอียด และกายในวิชชา ก็ไม่ค่อยจะเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก ยกเว้นแต่จะมีวิชชาสามารถทำได้ หรือด้วยวิธีการทางลัดที่ผมเคยเสนอไว้แล้ว คือแลกของทิพย์กับเทวดาผู้เลี้ยง โดยหยิบออกมาจากจักรรัตนะ ประจำผู้เลี้ยงแต่ละบุคคลแล้วนำไปสวมใส่ให้กับกายในวิชชา อย่างพระธรรมกายนั่นเอง เพื่อสำเร็จเป็น “พระธรรมราช” และ “พระพุทธราช” ที่มีอานุภาพมากขึ้น

สำหรับโอกาสนี้ ผมจะนำเสนอเรื่องการเรียกมณีมาประดับชฎาของทิพย์ ซึ่งจะให้ “คุณ” ต่างๆนาๆ กับบุคคล โดยวิธีแรกคือ สามารถเรียกได้จาก "จักรมณีทิพย์" หรือถ้าเรามี “จักรรัตนะของทิพย์” แล้วเราสามารถประดับมณีที่จักรรัตนะของทิพย์ได้ จะครบตามสี หรือบางส่วน และ/หรือมี “จักรรัตนะประจำสี” เราก็สามารถประชุมเรียก ชฎาทิพย์ประดับอัญมณีตามสีใดสีหนึ่ง หรือมากกว่าได้ หรือจะใช้วิธี "เรียก/แลก วงชฎา" แต่ละขั้นๆ กับจักรรัตนะประจำสี หรือองค์สี หรือเจ้าสี หรือผู้ที่มีในครอบครองก็ได้ โดยให้กายในวิชชาทรงชฎาของทิพย์อยู่ แล้วประทับอยู่บนจักรรัตนะนั้น เพื่อประชุมมณีขึ้น เข้าที่ชฎาทิพย์ หรือจะหย่อนชฎาทิพย์ทั้งองค์ หรือทยอยบางส่วนลงไปภายในจักรมณี แล้วประชุมเรียกมณีขึ้นที่ชฎา ส่วนการเรียกประชุม จะสั่งด้วยสิทธิ์ หรือจะใช้ "คทาจักรฯ" "คทามณี" "คทาจินดา" ฯลฯ เพื่อสั่ง ก็ย่อมได้

ส่วนวิธีการอื่นๆ ในกรณีที่บุคคลไม่มี จักรมณีทิพย์ อยู่ในความครอบครอง หากจะเรียกชฎาทิพย์ประดับมณีออกมาจากจักรรัตนะของผู้เลี้ยง ต้องมีฐานันดร ประกอบกับเครื่องราชฯ หรือดาราอิสริยาภรณ์ประเภท “มณี” เช่น “มณีดารานพรัตน์” ซึ่งบางประเทศอาจจะมี รวมถึงประเทศไทยด้วย สาเหตุที่ชฎาทิพย์มีอัญมณีขึ้นได้ก็เพราะต้องพอมีของหยาบเนื่องกัน โดยที่ในละเอียดได้ “ศักดิ์และสิทธิ์” ลงมาก่อนแล้ว แล้วประชุมขึ้นด้วยสิทธิ์และอำนาจที่มากพอ และเทวดาผู้เลี้ยงยินดีให้ตามตกลงแลกเปลี่ยน

เครื่องราชฯชั้นดารานพรัตน์นั้นเทียบได้กับตำแหน่งเจ้าพระยา หากผู้ครอบครองมีฐานันดรสูงพอ เช่นมียศประกาฯหรือดวงตราประจำพระองค์เป็นตราชฎา ก็จะมี “สิทธิ์ร่วม” มากพอจะเรียกได้ ส่วนสาเหตุที่ดารานพรัตน์ส่งผลให้เกิดมณีที่ชฎาทิพย์ ก็เพราะชฎาทิพย์เป็นองค์ประชุมรวมเครื่องทรง พอสวมชฎาแล้ว เครื่องทรงก็เกิดขึ้น เหมือนหมวกของพระเอกการ์ตูนยุคเก่าเรื่องปาร์แมน ซึ่งเมื่อนำหมวกมาสวม ก็จะมีผ้าคลุมเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และมีพลังวิเศษเกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ไม่เสมอไป เพราะเครื่องประดับบางอย่าง ก็แยกต่างหากออกจากชฎา อย่างเช่นเครื่องทรง “มณีลังการ”

สำหรับปุถุชนที่ไม่มีจักรมณีทิพย์ และไม่มีเครื่องราชฯ ประเภทมณี วิธีเรียกมณีขึ้นที่ชฎาทิพย์นั้นทำได้หลายแนวทาง โดยอาจตั้งองค์กร หรือหน่วยงานขึ้น แล้วกำหนดบทบัญญัติเป็นวิชชา เพื่อกำหนด “ลำดับเกียรติ” (ในกรณีเป็นภาคเอกชน ไม่นิยมเรียกลำดับยศศักดิ์) เหมือนอย่างที่กองประกวดนางงามทำกัน คือมีตำแหน่ง และมีสายสะพาย มีมงกุฎ หรือเหมือนธุรกิจขายตรง ที่มีชั้นอัญมณี แสดงลำดับเกียรติ สูงขึ้นไปจนถึง “มงกุฎทูต” อย่างเช่นบริษัทแอมเวย์ ซึ่งนับถือได้ว่าเป็นมงกุฎของนักค้าขาย เปรียบได้กับพระคลังแก้วชั้น “โภไฆ” และ “โภฆัง” ซึ่งมีชฎาสวม แม้จะเป็นรัตนะเจ็ด แต่มีศักดิ์ใหญ่ถึงขั้นได้สวมชฎา แต่การทำเช่นนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า “ทุนในละเอียด” หรือ “ทุนในวิชชา” ของผู้ก่อตั้งมีมากพอจะจัดสรรให้เกิดขึ้นหรือไม่

ดังที่เคยกล่าวไว้แล้วว่า ชฎาทิพย์กับสมบัติในวิชชานั้นอุปมาเป็นคล้ายของกายสิทธิ์ที่ส่งฤทธิ์ให้คุณต่างๆนาๆ เหมือนของวิเศษหรือไอเทมในเกม แม้กระทั่งช้างและม้า ก็มีชฎาได้ เพราะบางองค์มีฐานันดร อย่างช้างเผือกคู่เมือง ดังที่ท่านเรียกกันว่า “ยศช้าง ขุนนางพระ” แต่ทั้งนี้ก็มีกรณีอื่นๆ อีก อย่างเช่นรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ซึ่งจัดอยู่ในประเภทสายงานของม้าแก้ว ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคมนาคมสัญจร หรือรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ที่จัดอยู่ในสายงานของขุนพลแก้ว แต่ก็ไม่เสมอไปเพราะมีความหลากหลายซึ่งยังมิได้กล่าวถึงในครอบคลุมทั้งหมดในบทความนี้ครับ

 

บทความและวิธีการที่นำเสนอนั้น สงวนลิขสิทธิ์ โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

10 มกราคม พ.ศ. 2565

www.meditation101.org


Q&A: ทำอย่างไรจึงจะเรียกมณีขึ้นชฎาโดยไม่ต้องใช้สิทธิ์มาก?

คำตอบคือ ผมได้ให้แนวทางไว้แล้วว่า ให้เขียนบทบัญญัติผสมผสานภาษาวิชชา คล้ายการตั้งกองประกวดมิสยูนิเวอร์ส หรือธุรกิจขายตรงแบบแอมเวย์ แต่ให้เราผนวกการใช้ "ประกาศิต" แบบมีดวงตราประกอบ ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมาย แล้วตราขึ้นเป็นคำแบบเลี่ยงบาลีคือ "มณีจุลฎา" "มณีมหาฎา" "มณีปรมาฎา" โดยหลีกเลี่ยงการใช้คำว่ามงกุฎหรือภาพมงกุฎของไทยโดยตรง แล้วจำแนกว่าเป็นมณีอะไร สีอะไร ชั้นใด มีลำดับเกียรติว่าอย่างไร จากนั้นจึง "ยกกระบัตร" กำหนด โดยคำนวณกำลังในการเลี้ยงรักษา กำลังบุญบารมี กำลังวิชชา กำลังประกาศิต กำลังกายสิทธิ์ กำลังทรัพย์ส่วนหยาบ กำลังความรู้ความสามารถส่วนหยาบ ฯลฯ แล้วตั้งองค์กร หรือหน่วยงานขึ้นมารองรับ ไม่ว่าจะโดยเนติพิสิทธิ์ (Charter), Royal Patronage ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน หรือภาครัฐ

 

Q&A: กำลังในละเอียดไม่พอส่งให้เป็นให้ไป หมายถึงอย่างไร?

อ้างถึงการที่ผมแนะนำให้ใช้ภาษาวิชชาในการยกกระบัตร ประกอบประกาศิต เพื่อให้ได้สมบัติผู้เลี้ยงนั้น ผมขออธิบายว่า ภาษาวิชชา เปรียบเสมือน "ภาษารากฐานคอมพิวเตอร์" เช่นภาษาปาสคาล ในขณะที่ภาษากฎหมาย ซึ่งเป็นรากฐานของการเขียนยกกระบัตร เป็นภาษาแอพพลิเคชั่น หรือภาษาโปรแกรม เช่นคำสั่งต่างๆ ในปุ่มของโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด และไมโครซอฟท์อ็อฟฟิส เมื่อเราใช้ภาษานี้ในการกำหนดสิ่งต่างๆ ก็มีผลให้แอพพลิเคชั่น และโปรแกรม ทำงานตามคำสั่ง มีผลไปต่างๆ นาๆ

ดังที่ผมยกตัวอย่างเช่น เราใช้โปรแกรมสร้างภาพสามมิติ มาวาดรูปมงกุฎ กระทั่งแล้วเสร็จ จากนั้นจึงสั่งเครื่องพิมพ์สามมิติ พิมพ์ออกมาเป็นวัตถุที่จับต้องได้ การที่วิชชา หรือทุนในละเอียดไม่พอจะทำให้สิ่งที่ยกกระบัตรเป็นไปตามที่เขียน ก็เปรียบเสมือนว่า เราใช้โปรแกรมสร้างภาพสามมิติ ซึ่งโปรแกรมเมอร์เขียนด้วยภาษาซี หรือภาษาปาสคาล ซึ่งอุปมาเหมือนภาษาวิชชานั้น แต่กำลังไม่พอ คือ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ มี RAM หรือ Processor ที่กำลังประสิทธิภาพไม่มากพอจะ render ภาพที่เสร็จสมบูรณ์ออกมาได้สำเร็จ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ที่ใช้ทำงานนั้นแบตเตอรี่ไม่พอทำงานให้เสร็จครับ

นอกจากนี้ แม้ละเอียดจะมีมากพอสร้างของทิพย์ การที่ผมอุปมาว่า กำลังในวิชชาไม่พอส่ง ให้เป็นไปตามที่ยกกระบัตร ก็เหมือนกับว่า เราใช้โปรแกรมสร้างภาพสามมิติ ที่โปรแกรมเมอร์เขียนขึ้นด้วยภาษาซี หรือภาษาปาสคาลอันเป็นภาษารากฐานนั้น สร้างภาพเสร็จแล้ว แต่เครื่องพิมพ์สามมิติกลับมี "วัสดุสำหรับพิมพ์สามมิติ" ไม่เพียงพอ ก็คือม้วนเส้นพลาสติก เมื่อไม่พอ ก็พิมพ์ออกมาไม่ได้ หรือไม่เสร็จ จึงไม่เป็นจริงในโลกภายนอก หรือเป็นได้ไม่นานแล้วก็มีอันจะต้องล่มสลายไปครับ.

สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

10 มกราคม พ.ศ. 2565

www.meditation101.org

 

 


นานาสาระ: เรื่องเคล็ดลับในการเรียกชฎาและเครื่องทรง

ขอขอบคุณทุกท่านที่อุดหนุนซื้อ "งาน" ในวิชชาต่างๆ ของผมไปใช้นะครับ ในวันนี้ ผมมา "บอกงาน" เพิ่มเติมคือ ท่านใดที่มี "ยศชั้นขั้นฐานะ" อันเป็นที่ยอมรับนับถือ และ/หรือ รับรองตามกฎหมาย และ/หรือ กฎระเบียบ โดยบุคคล หรือองค์กร ไม่ว่าจะเป็นชาติ ศาสน์ สถาบัน ภาครัฐและภาคเอกชน ท่านสามารถ "เรียกเครื่องทรง" ขึ้นมาจาก "จักรรัตนะ" ของผู้เลี้ยงประจำตัวท่านได้ เพื่อประดับประดา “กายในวิชชา” ของท่าน ให้ “ทรงคุณ” ยิ่งๆ ขึ้นไป

อาทิเช่น ตำแหน่งของผู้ขายตรงอันมีองค์กรเอกชนรับรองตามกฎหมาย ได้แก่เข็มทอง เข็มทับทิม เข็มมรกต เข็มเพชร และลำดับชั้นต่างๆ ขององค์กร อย่างแอมเวย์, นิวสกิน, เอมสตาร์, กิฟฟารีนและอื่นๆ, ดวงตราประกาศิต (โลโก้) ประจำตำแหน่ง, เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และดาราอิสริยาภรณ์ ของประเทศต่างๆ, มงกุฎและสายสะพายนางงาม, นางนพมาศ, นางสงกรานต์ ฯลฯ, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ, ประกาศนียบัตรต่างๆ, เกียรตินิยมต่างๆ, ตำแหน่งทางวิชาการ, ตำแหน่งทางการคณะสงฆ์, วุฒิการศึกษา, อนุปริญญา, ปริญญาตรี, โท, เอก, ตำแหน่งกิตติมศักดิ์, ตำแหน่งคณะบดี, อธิการบดี, ราชบัณฑิต, ยศทหาร, ยศตำรวจ, ยศครูอาจารย์, ยศข้าราชการ, ผู้พิพากษา, ตำแหน่งของพนักงานรัฐวิสาหกิจ, ตำแหน่งทางการเมือง อย่าง ส.ส., ส.ว., ประธานสภา, ประธานศาลฯ, รัฐมนตรี, นายกรัฐมนตรี, ผู้นำองค์กรและหน่วยงาน, ประธานาธิบดี, เลขาธิการ, เลขานุการ, ทูต และอื่นๆ ในทำนองเดียวกันที่นอกเหนือจากนี้ ทั้งภายในประเทศไทย และต่างประเทศ โดยมีหลักการคือ เป็น “ยศชั้นขั้นฐานะ” อันได้รับการรับรอง และ/หรือ ยอมรับนับถือ จากภาครัฐ และ/หรือ ภาคเอกชน โดยมีตัวบทกฎหมาย, กฎระเบียบ, หรือธรรมเนียมปฏิบัติ รองรับเป็นลำดับชั้น ภายใต้การเอื้ออำนวยการของ “เทวดาผู้เลี้ยง” ซึ่งดูแลรักษาแต่ละประเทศ หรือสหภาพของกลุ่มประเทศ หรือสหประชาชาติอยู่

ทั้งนี้เราสามารถเอ่ยอ้างถึงยศชั้นขั้นศักดิ์เหล่านั้นเพื่อ "ประสิทธิ์" ไปยัง "จักรรัตนะ" ของ "ผู้เลี้ยงประจำตัว" เพื่อ "เรียกชฎา และ/หรือ เครื่องทรง" ขึ้นมาครอง โดยต้องจ่ายบุญธาตุให้ “เทวดาผู้เลี้ยง” ครับ  การอาศัยยศชั้นขั้นฐานะของมนุษย์ ในการเรียกชฎาและเครื่องทรงจากผู้เลี้ยง แล้วจ่ายค่าเรียกนั้น อุปมาเหมือนบุคคลศึกษาจบชั้นปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย แต่เมื่อจะออกงานรับปริญญา หรือมอบปริญญา ก็ต้องหาซื้อ “ครุยปริญญาเอก” ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มาสวมใส่ โดยมีค่าใช้จ่าย แต่ถ้ายังไม่สำเร็จชั้นปริญญาเอก ก็ไม่สามารถซื้อมาใส่ได้ครับ

ข้าพเจ้าขอบอกงานดังนี้ ท่านใดจะลองทำ สามารถทำได้ โดยจ่ายค่าบอกงานให้ข้าพเจ้าครับ ขอขอบพระคุณ.

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

www.meditation101.org

หมายเหตุ: ข้าพเจ้า, พิรจักร ทิศุธิวงศ์, ขอจดลิขสิทธิ์วิธีการดังกล่าวข้างต้นรวมถึงส่วนขยายต่อเนื่องอันพึงมีนับจากนี้

เพิ่มเติมเนื้อหาในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564


นานาสาระ: เรื่องเขตสิทธิ์

เขตคืออะไร? เขตคือ boundary” หรือ “กรอบกำหนดของพื้นที่และ/หรือสถานที่” ซึ่งอาจอยู่ในรูปของภพมนุษย์ หรือภพทิพย์ เขตทุกเขตในโลกล้วนมีผู้เลี้ยงผู้รักษาครับ ยกตัวอย่างเช่น เขตการปกครอง อย่างตำบล อำเภอ เขตที่ทำการหน่วยงานราชการ และเอกชน เขตที่ดิน เขตปลอดบุหรี่ เขตอภัยทาน เขตพุทธาวาส ซึ่งเป็นเขตที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตามกฎหมาย ซึ่งมีพระพุทธเจ้าในภาคผู้เลี้ยงผู้รักษาดูแลอยู่ และในวิชชานั้น “สิทธิ์” จะเต็มมากกว่าเขตสำนักสงฆ์

สำหรับผู้เลี้ยงผู้รักษาประจำเขตนั้น อาจกล่าวได้ว่าผู้เลี้ยงผู้รักษามีหลากหลายครับ แต่โดยนัยยะทั่วๆไปก็คือ เป็นกายเทวดาผู้เลี้ยง หรือเป็นกายปาฏิหาริย์แบ่งภาคออกไปเพื่อทำกิจในการเลี้ยงรักษาวิช(ช)าให้กับ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ยศ ชั้น ขั้น ฐานะ และองค์กร องค์คณะ คล้ายๆ กับคำสอนเรื่อง "ตรีกาย" ของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ที่สอนว่าพระพุทธเจ้าทรงปรากฏในหลายภาคครับ  

ว่าด้วยเรื่องเขตของพระพุทธเจ้านั้น สังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มีผู้รักษาสิทธิ์ตามพระพุทธดำรัส โดยเฉพาะพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงฝังตั้งเสาหินไว้ ให้อาศัยเสาหินนั้นตั้งเขตสิทธิ์ขึ้น เพื่อเรียกองค์รักษาสิทธิ์ โดยหยาดน้ำ จุดเทียนฤกษ์ หรือจุดธูป บอกพระธรณี พระเพลิง พระพาย ให้แจ้งต่อ “องค์รักษาสิทธิ์” ว่าเราได้ไปแสวงบุญตามพุทธดำรัส การประชุมองค์สิทธิ์ที่เสาอโศกของสังเวชนียสถาน 4 ตำบล สามารถทำได้เพื่อรายงานตัวต่อองค์สิทธิ์ว่าได้มาถึงแล้ว และเมื่อรายงานตัวครบ 4 สถาน ก็ไม่ต้องไปอบาย ส่วนใครจะเล่นสิทธิ์อื่นๆ อย่างเช่นขอไม่ไปอบายกี่ภพกี่ชาติแลกกับสิทธิ์หรืออื่นๆ หรือจะขอจำลองสังเวชนียสถาน 4 ตำบลไว้ในประเทศตนเอง ก็ต้องมาขอสิทธิ์โดยแลกกับอะไรอื่น ซึ่งการจำลองสังเวชนียสถาน 4 ตำบล สามารถทำได้หากประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ในอาคารจำลองครับ แต่ต้องผูกสิทธิ์ด้วยครับ

นอกเหนือจากเขตของพื้นที่แล้ว อินเตอร์เน็ตก็มีขอบเขตเช่นกัน ซึ่งเราสามารถอาศัยเขตออนไลน์ในการต่อยอด เพื่อก่อตั้ง “สถานที่ออนไลน์” ซึ่งผู้เลี้ยงอินเตอร์เน็ตท่านก็ทำโครงข่ายในวิชชาให้เราผูกสิทธิ์ได้ เหมือนเว็บไซท์เป็น “คลาวด์” เมื่อเทียบกับหน้าร้านตามห้างสรรพสินค้าที่เป็นเสมือน “ทะเลสาบ” ที่จับต้องได้

ส่วนการ Charter หรือ “นิติประสิทธิ์” เพื่อกำหนดสิทธิ์และอำนาจเป็นกรณีพิเศษ ในการทำกิจ ไม่ว่าจะ on-line หรือ off-line หรือ on-vijja หรือ off-vijja ก็สามารถทำได้หลายรูปแบบ คล้ายการ “ประกันตัว” ซึ่งบางคนใช้ที่ดินใช้หลักทรัพย์ บางคนใช้ตำแหน่งประกันตัวก็ได้ โดยในการทำ Charter ด้วยที่ดิน ให้ระบุและผูกอาณาเขตของที่ดินเข้ากับองค์กรหรือหน่วยงาน ที่ถูก Charter หรือมีสิทธิ์และอำนาจในการ Charter โดยระบุว่า “headquarted at” โดยในวิชชานั้นให้เรียกพระธรณีขึ้นมาผูกสิทธิ์โดยการหยาดน้ำเรียก อาจจะเป็นน้ำพระพุทธมนต์หรืออื่นๆ ครับ แต่การ Charter จะได้ผล เต็มในวิชชา หรือหย่อนในวิชชา ขึ้นอยู่กับสาเหตุหลายประการ และแตกต่างกันตามกฎหมายท้องถิ่น ประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ สามารถทำ Royal Charter ได้ หรือทำ Royal Patronage หรือได้รับพระราชทาน "ตราครุฑ" หรือ “ตราราชการ” ของราชวงศ์ หรือราชอาณาจักรที่ปกครองเขตอยู่ สำหรับประเทศที่ยังมีระบบศักดินา ทั้ง Lord / Lady ซึ่งมีศักดินา ก็สามารถทำ Charter เขตได้ง่ายขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับว่ากฎหมายเอื้อเฟื้อมากน้อยเพียงใด เพราะในบางประเทศ ระบอบกษัตริย์และศักดินากลายเป็นเพียงสิ่งที่นับถือกันในนาม แต่ไม่มีสิทธิ์และอำนาจจริงมากนักตามกฎหมาย

สำหรับวิธี Charter หรือ เนติประสิทธิ์ ด้วยธรณีสงฆ์ มีความสมบูรณ์มากน้อยต่างกันไป เช่น เป็นเจ้าคุณหรือไม่ เป็นพระสังฆาธิการหรือไม่ เป็นเจ้าคณะเขตหรือไม่ มีองค์กรตามกฎหมายรองรับ อย่างมูลนิธิ สมาคม องค์กรในพระราชูปถัมภ์ หรือทรัสต์ ฯลฯ การได้มาซึ่งที่ดินแล้วผูกสิทธิ์ในวิชชาสามารถทำได้หลายรูปแบบเช่นจดทะเบียนที่ดินเป็นธรณีสงฆ์แล้วอปโลกน์คณะสงฆ์ขึ้นมากำกับการ หากมีพระราชาคณะก็ผูกสิทธิ์ตามที่ได้รับอำนาจไว้ ในใบตราตั้ง เช่นระงับอธิกรณ์ ฯลฯ

หลายท่านคงสนใจเรื่องที่ผมแนะนำให้บริจาคซื้อที่ดินแล้วเป็น lord/lady ของ Scotland เพื่อประโยชน์ทางวิชชา วิธีการอื่นๆก็คือ ได้มาซึ่งที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองแล้วผูกสิทธิ์ในวิชชา ในกรณีที่กฎหมายของประเทศเอื้อเฟื้อ หรือได้มาซึ่งที่ดินแล้วตั้งเป็นประเทศเหมือนหลายๆประเทศที่มีเพียงพื้นที่เล็กๆเท่าหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ แล้วค่อยกำหนดสิทธิ์และอำนาจตามขอบเขตครับ

เรื่องการ Charter โดยราชอำนาจแห่งตราพระมงกุฎ เกล้ากระผมขอเปรียบเทียบกับ หมวก ของ Dukedom ที่ลดหลั่นลงมาเป็นชั้นๆ และอยู่ในกำกับการตามลำดับลงมาอยู่แล้ว ใครก็ตามที่ได้ตรามงกุฎก็เหมือนตำรวจได้ยศและปกครองกันตามยศตำรวจซึ่งให้คุณให้โทษโดยผู้บังคับบัญชาคือมงกุฎใหญ่ ถ้าไม่รับตรามงกุฎ ก็เหมือนแม่ค้าประชาชนมาขายส้มตำไก่ย่างอยู่หน้าสถานีตำรวจ ซึ่งตำรวจสั่งแม่ค้าให้ซ้ายหัน ขวาหันก็ไม่ได้ แต่สั่งซื้อส้มตำได้ และแม่ค้าส้มตำก็ไม่ได้อยู่ในระเบียบของตำรวจ ยกเว้นอำนาจของตำรวจ ที่สามารถปฏิบัติต่อแม่ค้าได้ เช่นตรวจค้น และจับกุมในกรณีทำผิดกฎหมาย

เครื่องราชชั้นมงกุฎไทยนั้นแม้จะเป็นตรามงกุฎแต่โดยคุณแล้วเป็น "ดารา" ซึ่งจะส่งฤทธิ์ กล่าวคือทำให้ชฎาของกายในวิชชามีฤทธิ์แรงมากขึ้น ชฎาเป็นที่เก็บวิชชา เหมือนเราครอบครูด้วยหัวโขน วิชชาจะแรงขึ้น

ตรามงกุฎไทยของเครื่องราชฯมีลักษณะคล้ายตรากระทรวง ทบวง กรม อย่างเช่นศุลกากรและอื่นๆครับ เป็นสิทธิ์คล้ายๆ Charter ที่พระมหากษัตริย์ให้ไว้ หรือเหมือนอย่างตรากองทัพเรือ ซึ่งเลียนแบบมาจากสถาบันต่างประเทศที่ให้ตราราชการที่เป็น crown แต่เมืองไทยใช้ตราครุฑ ซึ่งแม้จะเป็นตรามงกุฎแต่กลับอยู่ในกำกับของพระราชอำนาจ และไม่มีพระราชอำนาจมอบให้ผู้รับเครื่องราชชั้นมงกุฎไทยเหมือนอย่างสายสะพายสีเหลืองครับ แต่เครื่องราชชั้นมงกุฎไทยมีขั้นสูงขั้นต่ำเรียงกัน เปรียบเทียบได้กับตราหมวกของ Dukedom ที่ลดหลั่นลงมาตามลำดับ โดยที่ Duke Lord จะเป็นเชื้อพระวงศ์ หรือพลเรือน ก็ได้ แต่ Duke Lord ของไทยเป็นแบบมีเขตก็ได้ หรือไม่มีเขตก็ได้

ทั้งนี้ตราชฎาที่เป็นโลโก้นั้น มีการรับรองขอบเขตสิทธิ์ ศักดิ์ และอำนาจไม่เหมือนกันครับ ตราชฎาของสถาบันมี "ราชอำนาจ" กำกับตามกฎมณเฑียรบาลและกฎหมายอื่นๆ ส่วนตรากระทรวงทบวงกรมที่มีชฎาไม่ใช่พระราชอำนาจโดยตรง ส่วนผงชูรสตราชฎาไม่มีราชอำนาจกำกับเลยในทำนองเดียวกับตรามงกุฎนางงาม ราชอำนาจที่เทวดาผู้เลี้ยงรับรองอยู่โดยยืนตามกฎหมายนี้เองเป็นความแตกต่างของชฎาครับ ส่วนเครื่องราชชั้นช้างเผือกจะทำให้มีพละมาก จัดเป็นช้างแก้วครับ

สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

17 ธันวาคม พ.ศ. 2564

www.meditation101.org


นานาสาระ: เรื่องการประชุมเผดียงผู้เลี้ยงและ/หรือผู้รักษาในรูปแบบต่างๆ

การประชุมองค์นักษัตร ต้องมีองค์ประชุมเป็นคนในราศีนั้นๆ หรือนักษัตรนั้นๆ ให้ครบถ้วน แล้วค่อยเรียก "ผู้เลี้ยง" และ/หรือ “ผู้รักษา” ครับ ในทำนองเดียวกันกับ "องค์จักรราศี"

สำหรับวิธีอาราธนาองค์สมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า และผู้ทรงคุณ ซึ่งอาจอยู่ในภาคผู้เลี้ยง/ผู้รักษา หรืออื่นๆ ด้วยวิธีการ "สวดญัตติอ้างพัทธสีมาของโบสถ์หรืออุโบสถ แล้วอ้างถึงการได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาจากองค์พระมหากษัตริย์หรือภาครัฐ ซึ่งกำหนดเขตพุทธาวาสตามพระธรรมวินัย" เมื่อผดุงแล้ว จึงเผดียงองค์ผู้รักษาเขตพุทธาวาสแห่งพระอุโบสถนั้นๆ ขึ้นครับ โดยการอ้างถึงสีมาและวิสุงคามสีมานั้น อาจจะคล้ายๆกันกับวิธีสวดผูกพัทธสีมาครับ ซึ่งรูปแบบการอาราธนานั้นอาจทำได้หลายลีลา ตามความถนัดและธรรมเนียม เช่นการปาดอกมะลิเจ็ดกำมือไปที่สีมา และกลางพระอุโบสถ คล้ายเรื่องในพระไตรปิฎก หรือการจุดธูป 7 ดอก ฝากพระพายช่วยอาราธนา หรือจุดเทียนฤกษ์ ฝากพระเพลิงช่วยอาราธนา หรือหยาดน้ำลงสีมาแต่ละสีมากระทั่งครบถ้วน แล้วหยาดน้ำลงกลางพื้นพระอุโบสถ ฝากพระธรณีช่วยอาราธนาครับ

ผู้ที่จะสามารถสวด (ด้วยกายภายนอก) หรือตรัสสิทธิ์ (ภายในวิชชา) เพื่อกราบอาราธนาประชุมองค์ผู้เลี้ยงและ/หรือผู้รักษาขึ้นในพระอุโบสถ ต้องเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ประจำอาราม หรือเป็นผู้ได้รับมอบหมาย หรือผู้ที่ไม่ถูกจำกัด หรือไม่สมควรอย่างภิกษุทุศีล หรือภิกษุต้องอาบัติปาราชิก หรือติดอาบัติร้ายแรงซึ่งยังปลงอาบัติไม่ตก ซึ่งอาจทำได้ในรูปแบบของคำสั่งตามอำนาจกฎหมายและกฎระเบียบ หรือตามพระธรรมวินัยครับ

ดวงตราประกาศิต หรือ Logo ก็มีเทวดาผู้เลี้ยงและ/หรือผู้รักษานะครับ แต่มีหลายประเภท ทั้งที่ขึ้นทะเบียน และไม่ได้ขึ้นทะเบียน ทั้งแบบส่วนบุคคล หรือองค์คณะ หรือนิติบุคคล ทั้งแบบมีสิทธิ์, ลำดับฐานะ, ศักดิ์, และอำนาจ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมด หรือไม่มี เมื่อเรียกแล้วก็จะมีผลต่างกันไปครับ โดยผู้เรียกจะต้องเป็นเจ้าของประกาศิต หรือผู้มีอำนาจในการใช้ประกาศิตนั้นๆ ในขณะปัจจุบัน แต่ถ้าเจ้าของ หรือผู้มีอำนาจใช้ ยังไม่ถนัดวิชชา ก็สามารถ "มอบอำนาจ" ให้ผู้ทรงวิชชาเรียกให้ครับ

นอกจากนี้ การเรียกผู้เลี้ยงผู้รักษา นอกจากเราจะเรียกเพื่อขอรับสมบัติในวิชชา เราสามารถเรียกเพื่อมอบสมบัติให้ผู้เลี้ยงใช้ด้วยก็ได้ เพื่อเป็นกำลังให้กับผู้เลี้ยง เช่นมอบสมบัติ เครื่องทรง ให้ผู้เลี้ยงใช้สอย ให้มีฤทธิ์ส่งเลี้ยงมากขึ้น หรือมอบบุญธาตุ สายอธิฆา สายสุรฆา ทรัพย์ และของขวัญ ให้ผู้เลี้ยงเป็นรางวัลในการทำหน้าที่ หรือเติมวิชชาให้ผู้เลี้ยง ให้กายสิทธิ์ หรืออื่นๆ ส่วนผู้ที่มีอำนาจและมีสติปัญญาสามารถมากพอทั้งทางโลกและทางวิชชา อาจถึงขั้นสามารถ “เปลี่ยนองค์ผู้เลี้ยง/ผู้รักษา” ได้ครับ.

ส่วนทว่า สมบัติของผู้เลี้ยงมีอะไรบ้าง ส่วนใหญ่แล้วจะเนื่องด้วยบุญกรรมที่บุคคลทำเอาไว้ และลำดับชั้นขั้นฐานะที่มี เช่น ครูอาจารย์ สามารถเรียก “ไม้คทา” สำหรับประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ดีขึ้นได้ ส่วนนักขายตรง สามารถเรียก “กายสิทธิ์ขุนคลังแก้ว” ออกมาใช้ เพื่อส่งเสริมหน้าที่การค้าขายให้รุ่งเรือง หรือทหารตำรวจสามารถเรียก “จักรรัตนะ” ซึ่งเป็นของกายสิทธิ์สำหรับส่งฤทธิ์ส่งอำนาจวาสนา นอกจากนี้ก็ยังมีรัตนะ 7 และอื่นๆ ครับ.

 

สงวนลิขสิทธิ์เพิ่มเติมจากความเดิมโดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

15 ธันวาคม พ.ศ 2564 ตามวันเวลาประเทศไทย

www.meditation101.org


นานาสาระ: เรื่องการเผดียงองค์แห่ง “พระรัตนตรัย”

อ้างถึงบทความก่อนๆ เรื่องการเรียกสมบัติจากเทวดาผู้เลี้ยง ซึ่งผมได้แนะนำวิธีเรียกผู้เลี้ยงประจำ “คณะสงฆ์” และ “พุทธบริษัท 4” ในวันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการเรียก “ผู้เลี้ยง” ประจำ “พระรัตนตรัย” ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการ ประดิษฐาน (1) พระบรมสารีริกธาตุเป็นองค์แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (2) พระไตรปิฎกฉบับที่ได้รับการรับรองโดยองค์กรและหน่วยงานภาครัฐอย่างมหาเถรสมาคม หรือสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือพระราชบัญญัติอันเป็นตัวบทกฎหมาย และ (3) พระสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นภิกษุสงฆ์ และ/หรือ ภิกษุณีสงฆ์ เมื่อประชุมได้ครบ 3 ประการดังนี้แล้ว จึงเอ่ยอ้างสิทธิ์อัญเชิญ “ผู้เลี้ยง” ขึ้นมาได้ครับ

อนึ่ง การจัดถวายสังฆทานโดยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นพระประมุข ก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน ด้วยการอาศัยพระบรมสารีริกธาตุ เป็นประธาน และมีคณะสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ เป็นองค์อันดับ แต่การจะทำเช่นนี้ได้ต้องอาศัยการ “เผดียง” ตามพระธรรมวินัยโดยอาจสวดญัตติ เป็นมติสงฆ์ หรือกำหนดตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรตามกฎระเบียบอำนาจกฎหมายและกฎระเบียบของประเทศที่รองรับอยู่ครับ


สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

15 ธันวาคม พ.ศ. 2564

www.meditation101.org


นานาสาระเรื่องการประชุมเรียกสมบัติจากเทวดาผู้เลี้ยง

ดวงตราโลโก้ของสมาชิกสถาบันที่มีชฎาอยู่ สมาชิกสถาบันฯ สามารถเรียกชฎาของทิพย์ขึ้นมาครองได้ เพราะเทวดาผู้เลี้ยงท่านให้ศักดิ์และสิทธิ์ไว้ แต่ต้องขึ้นทะเบียนตามกฎมณเฑียรบาลหรือกฎหมาย อุปมาเหมือนผ้ายันต์ของกุมารทองน้องไข่ ที่เจ้าของผ้ายันต์สามารถเรียกกายทิพย์น้องไข่ออกมาช่วยงานได้โดยมีผ้ายันต์เป็นของหยาบที่ผูกโยงของละเอียดด้วยสิทธิ์ที่ผู้สร้างกำกับไว้

สำหรับพระอริยบุคคลขั้นต่างๆนั้น หากจะเรียกเครื่องทรงและสมบัติจากเทวดาผู้เลี้ยงน่าจะต้องมีการรับรองตามกฎหมายของราชอาณาจักรก่อนครับ ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติ หรือกฎระเบียบของสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือมติมหาเถรสมาคม มิฉะนั้นแล้วอาจต้องอาศัยองค์กรพุทธสากลอย่างองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) และองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (ย.พ.ส.ล.) หรืออื่นๆ ที่มีบทบัญญัติรองรับ รวมถึงสมาชิกภาพครับ

สมบัติที่ประชุมเรียกได้จากเทวดาผู้เลี้ยงอย่างเช่น ชฎา เครื่องทรง คทา และรัตนะ นั้นสามารถนำติดตัวข้ามภพข้ามชาติไปได้ ใครที่เคยมียศชั้นขั้นฐานะ เมื่อเกิดใหม่ก็จะมีแนวโน้มว่าจะได้ยศชั้นขั้นฐานะต่างๆอีกเพราะเครื่องทรงและสมบัติทิพย์ส่งฤทธิ์ คล้ายสมบัติของเหล่าเทพเซียนที่มีฤทธิ์และให้คุณ อย่างเช่นแจกันน้ำมนต์ของพระโพธิสัตว์กวนอิม หรือพระโพธิสัตว์กวนอิมปางพันกร ที่ถือสมบัติทิพย์หลากหลายสำหรับช่วยเหลือสรรพสัตว์ หรือพระพรหมหลายกรที่ถือของวิเศษหลายอย่าง แต่สิ่งเหล่านี้จัดเป็น "บุญและบารมี" ที่อยู่ในรูปลักษณ์ของวัตถุ ซึ่งติดตามตัวบุคคลไปอย่างเช่นบุญบารมีและวิชชาจรณะ โดยไม่ขัดต่อคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในส่วนของพระพุทธศาสนา บทบัญญัติขององค์กรพระพุทธศาสนาที่จะมีผลต่อการประชุมเรียกเครื่องทรงและสมบัติทิพย์จากผู้เลี้ยงยกตัวอย่างเช่น "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีมรรคผลเป็นแก่นสาร แบ่งตามลำดับขั้นของภูมิจิตภูมิธรรมจากประเสริฐมากถึงหย่อนกว่าดังนี้คือ...พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกทาคามี พระอรหันต์ และฌานลาภีบุคคล สำหรับท่านผู้มีสถานภาพแห่งการเป็นพระภิกษุตามพระธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าในพุทธกาลปัจจุบัน โดยทรงสมณศักดิ์ตามกฎมหาเถรสมาคม และกฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสมณฐานะอันทรงเกียรติภูมิ และทรงไว้ซึ่งจรณะ15 ประการอันเป็นเครื่องก่อเกิดวิชชา 8 ประการ ซึ่งเป็นประดุจเครื่องแสดงฐานะอันเลิศแห่งสมณวิสัย ที่มีอาสวักขยญาณเป็นที่สุด โดยมีคุณความเป็นเลิศในด้านต่างๆกัน ดุจพระเอตทัคคะเจ้าทั้งหลาย" ถ้อยคำอันเป็นบทบัญญัติจะเป็นจริงในโลกวิชชาตามฤทธิ์ของเทวดาผู้เลี้ยง แต่ถ้ารจนาให้มากเกิน ก็จะหมดเปลืองกำลังของเทวดาผู้เลี้ยง อาจถึงขั้นไม่พอดูแลให้ทั่วถึง จึงควรรจนาให้พอสมควร

ตำแหน่งทางการบริหารปกครอง และ "สมาชิกภาพ" ขององค์กร ภาครัฐ ภาคเอกชน สามารถประสิทธิ์ประชุมเรียกสมบัติผู้เลี้ยงได้เช่นกันครับ สำหรับ ภาคเกษตรฯ ขอให้เรียกจาก "สหกรณ์" ในชุมชน โดยสหกรณ์สามารถกำหนดบทบัญญัติได้ในทำนองเดียวกันกับของการคณะสงฆ์ ส่วน "ชมรม" “สมาคม” และ “มูลนิธิ”ก็ทำได้เช่นกัน แต่ต้องรู้วิธีเขียนบทบัญญัติ เพื่อกำหนด สิทธิ์ ศักดิ์ และอำนาจ

การตั้ง "ชมรม" ไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนกับทางราชการครับ แต่เราสามารถ "อ้างอิง" ชมรมของเรากับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อย่างเช่นสถาบันการศึกษาวัดวาอารามมูลนิธิสมาคมเว็บไซท์หรือกิจการร้านค้าธุรกิจ แล้วดำเนินการเป็น CSR ทั้งนี้อาจบันทึกลงนามโดย Notary Public หรือ Memorandum of Understanding ครับ

ท่านที่บริจาคทรัพย์ซื้อที่ดินสำหรับปลูกต้นไม้กับ The Established Title ของ Scotland เพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรเป็น Lord / Lady ก็สามารถอาศัย Lordship Title ในการกำหนดสิทธิ์ ศักดิ์ บทบาท และหน้าที่ แบบ on vijja / off vijja ได้ครับ

อีกวิธีที่ทำได้ก็คือ ใช้ “โครงการ หรือ องค์กร ในอุปถัมภ์ของบุคคล” (Project or Entity Under an Individual / Entity Patronage) ครับ คือ หรือ โครงการ หรือ องค์กร ชาร์เตอร์ด (chartered) โดย บุคคล หรือนิติบุคคล

"องค์คณะสงฆ์" ที่มีภิกษุ/ภิกษุณี รวมกัน 4 รูปเป็นอย่างน้อย สามารถสวดญัตติ เป็นมติสงฆ์ เพื่ออ้างสิทธิ์ ในการทำบทบัญญัติของ entity ได้เช่นกัน ในการประชุมสมบัติผู้เลี้ยงด้วย "คณะสงฆ์" นั้น ถ้าทำโดยไม่มีคำสั่งหรืออำนาจของพระสังฆาธิการ หรือการคณะสงฆ์รับรอง ก็อาจจะเรียกได้เป็น "ธรรมจักร" แต่ถ้ามีคำสั่งพระสังฆาธิการ หรือการคณะสงฆ์รับรอง อย่างเช่นคำสั่งเจ้าอาวาส คำสั่งพระอธิการของสำนักสงฆ์ ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติอย่างถูกต้อง ฯลฯ ก็น่าจะเรียกได้ทั้งธรรมจักร และจักรรัตนะ

ในกรณีของ "พุทธบริษัท 4" เราสามารถประชุมภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ได้ แต่ในส่วนของอุบาสก อุบาสิกา จะทำได้ผ่าน "ไวยาวัจกรฝ่ายชาย" และ "ไวยาวัจกรฝ่ายหญิง" ซึ่งมีกฎระเบียบของการคณะสงฆ์รองรับ ในส่วนที่ไม่มีกฎหมายรองรับ แต่มีพระธรรมวินัย ก็คือการ "ปวารณาเป็นโยมอุปัฏฐาก" ซึ่งทำได้เฉพาะอุบาสก อุบาสิกา เมื่อปวารณาตามพระธรรมวินัย/แล้ว หรือเป็นอุบาสก/อุบาสิกา ด้วยการขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก พร้อมทั้งรักษาคุณสมบัติของอุบาสก/อุบาสิกา ตามพุทธดำรัสอย่างครบถ้วน ก็จะสามารถ "ประชุมพุทธบริษัท 4" เพื่อเรียกสมบัติผู้เลี้ยง ผ่านจักรรัตนะ และ/หรือ ธรรมจักร ได้ โดยอาจทำแบบรวม หรือแบบผ่านตัวแทนสงฆ์ครับ การอ้าง "ประชุมพุทธบริษัท 4" เพื่อเรียกสมบัติผู้เลี้ยง ขอให้อ้าง "พระวินัยปิฎก" ฉบับของมหาวิทยาลัย หรือฉบับ Royal Patronage ที่หน่วยงานภาครัฐหรือการคณะสงฆ์ให้การรับรอง อนึ่ง ควรต้องอ้างด้วยว่าพระธรรมวินัยเป็นพระศาสดาแทนเมื่อพระตถาคตทรงปรินิพพานแล้ว

วิธีประชุมพุทธบริษัท 4 คือ ขอให้นิมนต์พระภิกษุณีจากพระอารามของท่าน ซึ่งท่านอุปสมบทจากสังฆมณฑลต่างประเทศ มาร่วมประชุมพุทธบริษัท 4 ทั้งนี้เพราะ โดยองค์สงฆ์ ภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ ก็ถือเป็นต่างคณะกันอยู่แล้ว แม้ไม่แยกนิกายครับ ฐานะของภิกษุ และภิกษุณี ส่วนใหญ่จะมีกฎหมายของแต่ละประเทศรองรับ ส่วน "อุบาสก" "อุบาสิกา" เป็นไปตามพระธรรมวินัย ในบางประเทศอาจจะมีกฎหมายรับรอง แต่ประเทศไทยผมไม่แน่ใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเราเพียงแต่กำหนด Definition of Terms ใน Statute ของวัด, มูลนิธิ, สมาคม, มหาวิทยาลัยสงฆ์ ว่า ภิกษุคือใคร ภิกษุณีคือใคร อุบาสกอุบาสิกา คือใคร เพียงเท่านี้ ก็ "อปโลกน์พุทธบริษัท 4" ขึ้นมาให้สอดคล้องกับพระธรรมวินัยได้ โดยไม่ขัดต่อกฎระเบียบของมหาเถรสมาคม และกฎหมายของประเทศ


สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

12 – 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564

www.meditation101.org


* ท่านที่ประสงค์จะใช้วิธีการของพิรจักร ในการเรียกสมบัติของเทวดาผู้เลี้ยง

กรุณาติดต่อพระสุพัฒน์จักรพรรดิ ซึ่งมีภาพแสดงอยู่ด้านบนของหน้าเว็บไซท์นี้


นานาสาระ: เรื่องวิธีเก็บรักษาดวงประกาศิต

ดวงประกาศิตที่ได้จากองค์เทพสามารถเก็บไว้ในแก้วมณีและรัตนะต่างๆสำหรับใช้สอย และ/หรือ รักษาไว้ครับ ทั้งนี้รวมถึงอื่นๆที่เสริมเพิ่มเติมเนื่องด้วยวิธีการนี้ครับ สาเหตุที่ให้เก็บดวงประกาศิตไว้ในแก้วมณีและรัตนะก็เพื่อความสะดวกและประโยชน์ในการใช้สอย, เคลื่อนย้าย, และรักษา เพราะดวงประกาศิตที่เก็บรักษาไว้ในแก้วมณีหรือรัตนะ จะไม่หกตกหล่นเมื่อเกิดเหตุอันไม่สมควรครับ

สงวนลิขสิทธิ์ โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

www.meditation101.org




นานาสาระ: เรื่องมงกุฎนางงามในวิชชา

เรื่องมงกุฎนางงามนั้น ผมขออธิบายคร่าวๆ ว่า สรรพสิ่งและสรรพสัตว์ในโลกธาตุทั้งหมดล้วนเป็นไปตาม "วิชชา" ของฝ่ายต่างๆ เหมือนในหนังเรื่อง "แมททริกซ์" ครับ อุปมาได้ว่า ทุกอย่างในคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น เคอร์เซอร์ แป้นพิมพ์ ปุ่มเว้นวรรค เม้าส์ วินโดวส์ โปรแกรม โน้ทแพด ล้วนแต่มีการทำงานที่เกิดจากโปรแกรมที่เขียนขึ้น มงกุฎนางงามก็เช่นกันครับ "ภพมงกุฎ" ท่านชะลอให้เกิดขึ้นจริงในโลกมนุษย์ แล้วก็ “มีสิทธิ์มีศักดิ์” กำกับ ตามวิชชาที่ส่งมาครับ ส่วนการประสิทธิ์ต่อจักรรัตนะ เพื่อชะลอมงกุฎของทิพย์ ก็เหมือนสร้างภาพด้วยโปรแกรมสามมิติ แล้วพิมพ์ออกมาด้วยเครื่องพิมพ์ 3D ครับ ของที่พิมพ์ออกมาจับต้องได้ก็ใช้ในโลกมนุษย์เป็นมงกุฎที่นางงามประกวดชนะแล้วเอาไปสวมใส่ ส่วนภาพ 3D ที่เขียนขึ้นด้วยโปรแกรมก็เอาไปใช้ใน Metaverse ซึ่งอุปมาดุจ “โลกวิชชา” อันเป็นทิพย์ครับ ส่วนสาเหตุที่ภพเจ้าของวิชชาท่านส่งมาก็เพื่อ "ความบันเทิง" ใจของมนุษย์ครับ เหมือนเทพคนธรรพ์ (นักดนตรีและนักฟ้อนรำ) ที่ถูกกำหนด ให้รื่นเริงบันเทิงอยู่อย่างนั้นในสวรรค์ครับ.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

www.meditation101.org


นานาสาระ: เรื่องเคล็ดลับในการเรียกชฎาและเครื่องทรง

ขอขอบคุณทุกท่านที่อุดหนุนซื้อ "งาน" ในวิชชาต่างๆ ของผมไปใช้นะครับ ในวันนี้ ผมมา "บอกงาน" เพิ่มเติมคือ ท่านใดที่มี "ยศชั้นขั้นฐานะ" อันเป็นที่ยอมรับนับถือ และ/หรือ รับรองตามกฎหมาย และ/หรือ กฎระเบียบ โดยบุคคล หรือองค์กร ไม่ว่าจะเป็นชาติ ศาสน์ สถาบัน ภาครัฐและภาคเอกชน ท่านสามารถ "เรียกเครื่องทรง" ขึ้นมาจาก "จักรรัตนะ" ของผู้เลี้ยงประจำตัวท่านได้ เพื่อประดับประดา “กายในวิชชา” ของท่าน ให้ “ทรงคุณ” ยิ่งๆ ขึ้นไป

อาทิเช่น ตำแหน่งของผู้ขายตรงอันมีองค์กรเอกชนรับรองตามกฎหมาย ได้แก่เข็มทอง เข็มทับทิม เข็มมรกต เข็มเพชร และลำดับชั้นต่างๆ ขององค์กร อย่างแอมเวย์, นิวสกิน, เอมสตาร์, กิฟฟารีนและอื่นๆ, ดวงตราประกาศิต (โลโก้) ประจำตำแหน่ง, เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และดาราอิสริยาภรณ์ ของประเทศต่างๆ, มงกุฎและสายสะพายนางงาม, นางนพมาศ, นางสงกรานต์ ฯลฯ, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ, ประกาศนียบัตรต่างๆ, เกียรตินิยมต่างๆ, ตำแหน่งทางวิชาการ, ตำแหน่งทางการคณะสงฆ์, วุฒิการศึกษา, อนุปริญญา, ปริญญาตรี, โท, เอก, ตำแหน่งกิตติมศักดิ์, ตำแหน่งคณะบดี, อธิการบดี, ราชบัณฑิต, ยศทหาร, ยศตำรวจ, ยศครูอาจารย์, ยศข้าราชการ, ผู้พิพากษา, ตำแหน่งของพนักงานรัฐวิสาหกิจ, ตำแหน่งทางการเมือง อย่าง ส.ส., ส.ว., ประธานสภา, ประธานศาลฯ, รัฐมนตรี, นายกรัฐมนตรี, ผู้นำองค์กรและหน่วยงาน, ประธานาธิบดี, เลขาธิการ, เลขานุการ, ทูต และอื่นๆ ในทำนองเดียวกันที่นอกเหนือจากนี้ ทั้งภายในประเทศไทย และต่างประเทศ โดยมีหลักการคือ เป็น “ยศชั้นขั้นฐานะ” อันได้รับการรับรอง และ/หรือ ยอมรับนับถือ จากภาครัฐ และ/หรือ ภาคเอกชน โดยมีตัวบทกฎหมาย, กฎระเบียบ, หรือธรรมเนียมปฏิบัติ รองรับเป็นลำดับชั้น ภายใต้การเอื้ออำนวยการของ “เทวดาผู้เลี้ยง” ซึ่งดูแลรักษาแต่ละประเทศ หรือสหภาพของกลุ่มประเทศ หรือสหประชาชาติอยู่

ทั้งนี้เราสามารถเอ่ยอ้างถึงยศชั้นขั้นศักดิ์เหล่านั้นเพื่อ "ประสิทธิ์" ไปยัง "จักรรัตนะ" ของ "ผู้เลี้ยงประจำตัว" เพื่อ "เรียกชฎา และ/หรือ เครื่องทรง" ขึ้นมาครอง โดยต้องจ่ายบุญธาตุให้ “เทวดาผู้เลี้ยง” ครับ ข้าพเจ้าขอบอกงานดังนี้ ท่านใดจะลองทำ สามารถทำได้ โดยจ่ายค่าบอกงานให้ข้าพเจ้าครับ ขอขอบพระคุณ.

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

www.meditation101.org

หมายเหตุ: ข้าพเจ้า, พิรจักร ทิศุธิวงศ์, ขอจดลิขสิทธิ์วิธีการดังกล่าวข้างต้นรวมถึงส่วนขยายต่อเนื่องอันพึงมีนับจากนี้

เพิ่มเติมเนื้อหาในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564

 

 

นานาสาระ: เรื่อง “ยศทิพย์”

ท่านที่ติดตามนานาสาระเท่าที่ผ่านมา คงอดสงสัยไม่ได้ว่า เพราะเหตุใดในโลกทิพย์จึงมีการจัดแบ่งชนชั้น “ยศทิพย์” อย่างหลากหลายมิติ เช่น เจ้าเวฆินทร์, เจ้าประกาศิต, และ เจ้าลังการ ทำไมไม่รวมนับเข้าด้วยกันแล้วแบ่งลำดับอย่างเป็นเอกภาพ ซึ่งข้าพเจ้าขออธิบายชี้แจงว่า ภพทิพย์นั้นมีความหลากหลายมาก ทั้งพระพุทธเจ้าที่ยังแวะมาโปรดสรรพสัตว์ ทั้งพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ ทั้งพระโพธิสัตว์ เทพเซียน พระพรหม เทวดา ยักษ์ นาค ครุฑ คนธรรพ์ การที่จะบรรลุข้อตกลงยอมรับนับถือเหมือนๆ กันได้ ก็อาจจะยังไม่ใช่เรื่องง่าย สำหรับยศทิพย์ ที่มีการนับถือแตกต่างกันโดยประเภท ก็มีลักษณะคล้ายการประชุมผู้นำในโลกมนุษย์ กล่าวคือบางครั้ง จัดลำดับผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นพระมหากษัตริย์ อย่างเช่นตามงานราชพิธีใหญ่ๆ ของประเทศผู้ทรงอิทธิพล อย่างงานอภิเษกสมรสของเจ้านายเชื้อพระวงศ์ ที่เชิญแขกเหรื่อมาเป็นพระมหากษัตริย์ประเทศราชต่างๆ บางงานเป็นงานประชุมประธานาธิบดี ผู้นำประเทศ บางงานเป็นงานประชุมนายกรัฐมนตรี บางงานเป็นงานประชุมสุลต่าน ในขณะเดียวกันกับที่ สุลต่านบางท่านก็เป็นพระมหากษัตริย์ และ/หรือ เป็นนายกรัฐมนตรี ไปในตัว ฉันใดก็ฉันนั้น “ยศทิพย์” อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันในโลกทิพย์และโลกวิชชา ก็มีได้หลากหลาย ซึ่งก็มีซ้ำซ้อนกันบ้างในบางประเภท อย่างเช่นเจ้าพัสตราภรณ์ ซึ่งเป็นเจ้าประกาศิต ก็เข้าข่ายเป็นเจ้าพัสตราลังการได้เช่นกัน ในขณะที่ เจ้ามยุรเวฆินทร์ ก็สามารถเป็นเจ้ามยุรลังการได้ ดังฉะนี้.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

29 พฤศจิกายน 2564

www.meditation101.org


นานาสาระ: เรื่องเชื้อไวรัสโควิดมาจากไหน?


เชื้อโรคที่เป็นพิษเป็นภัยต่อมนุษย์และสัตว์แทบทั้งหมดนั้น ฝ่ายมารโลกเป็นผู้ปรุงเชื้อโรค และอาการเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา โดยอาศัย ดิน (ของแข็ง) น้ำ (ของเหลว) ลม (พลังขับเคลื่อน) ไฟ (อุณหภูมิ) อากาศ (ก๊าซและช่องว่าง) กอปรขึ้นเป็น "เชื้อ" ด้วย "วิชชา" จากนั้นจึงกำหนดโปรแกรมในการเกิดโรค ด้วยกฎแห่งกรรม เช่นกรรมเสพกามเมถุนมากเกินเหตุ ก่อให้เกิดเชื้อมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยมีพลังงาน "บาป" เป็นพลังในการทำงานของเชื้อที่กำหนดโดยกรรม ภายใต้พันธุกรรมที่มีรหัสที่ถูกตั้ง “ค่าพื้นฐาน” เอาไว้นับตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา อันโปรแกรมกฎแห่งกรรมกำหนดขึ้นจากกรรมเก่าที่ติดตัวมา ทั้งนี้ มนุษย์ทุกคนมี "สายธาตุสายธรรม" เชื่อมอยู่กับเครื่องธาตุเครื่องธรรมของพระนิพพาน และของมารโลก เหมือนเครือข่ายคลื่นโทรศัพท์เซลลูล่าร์ (Cellular) ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่มองด้วยตาทิพย์จะเห็นเป็นโครงข่ายของคลื่นความถี่เชื่อมถึงกัน ส่วนฝ่ายมารโลก ส่งเชื้อโรคมาสู่มนุษย์ด้วยสายธาตุสายธรรมนั้น ตามกลไกการทำงานของเครื่องธาตุเครื่องธรรมฝ่ายบาป ถ้าอุปมา เชื้อโรค เหมือนไวรัสคอมพิวเตอร์ มารก็คือโปรแกรมเมอร์ผู้สร้างเชื้อ และพลังงานบาปที่ใช้ดำเนินงานไวรัสคอมพิวเตอร์ก็คือไฟฟ้า ในขณะที่ตัวมนุษย์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ (User Station) ส่วนโปรแกรมที่ใช้สร้างเชื้อก็คือ “วิชชา” อย่างภาษา C และภาษาปาสคาล ซึ่งกำหนดการทำงานของโรคบนระบบปฏิบัติการ (operation system) คือกฎแห่งกรรมครับ ที่ฝ่ายพระนิพพาน กับฝ่ายมารโลก วางกรอบตกลงกันไว้ แต่ต่างฝ่ายก็ต่างแทรกแซงการส่งผลของกรรมของฝ่ายตน ให้มีประสิทธิภาพมากน้อยไม่เท่ากัน กระทั่งเกิดเป็นความผันผวนมากน้อยต่างกัน ด้วยวัตถุประสงค์คือ ฝ่ายพระนิพพานมีจิตอาสาปรารถนาจะช่วยสรรพสัตว์ให้มีความสุข ส่วนฝ่ายมารโลกมีจิตเป็นพาล ต้องการทำให้สรรพสัตว์มีความทุกข์ แล้วจึงจะพอใจ สำหรับเชื้อไวรัสโควิดนั้น เป็นเชื้อโรคจากโปรแกรมกรรม ที่ฝ่ายมารสร้างขึ้น ด้วยกรรมจากเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ระบบออนไลน์ และโซเชียลมีเดียครับ กล่าวคือรัฐบาลนำรายได้จากภาษีเงินได้ จากระบบอินเตอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย และแพลทฟอร์มต่างๆ มาใช้จ่ายด้านการทำสงคราม ทำให้มีคนล้มตายจำนวนมาก ด้วยกรรมรูปแบบใหม่นี้ ภาคมารจึงประมวลสร้างเป็นโรคไวรัสโควิด ที่แพร่ระบาดได้รวดเร็ว แต่ยังมีรายละเอียดต่างๆ เฉพาะบุคคลไป ซึ่งยังไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ครับ ดังฉะนี้.

 

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

www.Meditation101.org


นานาสาระ: เรื่องพระพุทธจักรพรรดิ

พระพุทธจักรพรรดิ หรือพระพุทธจักรฯ เป็นจักรพรรดิขั้นสูงเทียบชั้นพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า สาเหตุที่เรียกพระจักรพรรดิว่าเป็น “พระพุทธจักรฯ” ก็เพราะเป็นจักรพรรดิที่ทรง “พุทธคุณ” และ/หรือ รวมถึงเป็นจักรพรรดิที่ประทับอยู่ในเมืองพระนิพพาน ส่วนที่จำแนกว่าเป็น “จักรฯ” หรือ “จักรพรรดิ” ก็เพราะมี “รัตนะ” เป็นใหญ่ หรือ เป็นสำคัญ ในการทรงอยู่และใช้สอย ไม่ว่าจะเป็น “สัตตรัตนะ” ครบถ้วน หรือมากน้อยในความครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นของหยาบ หรือของละเอียด รวมถึง “สัตตรัตนธรรม” คือความถนัดและความชำนาญเก่งกล้าสามารถที่ได้จากการบำเพ็ญงาน 7 ด้านตามประเภทของรัตนะทั้ง 7

พระพุทธจักรฯนั้นมีหลายขั้น และหลายประเภท ทั้งที่ประเสริฐกว่า และด้อยกว่าพระพุทธเจ้า หากเราคำนึงถึงโดย “ธรรม” หรือ โดย “ฤทธิ์เดช” ทั้งนี้พระพุทธจักรฯแบ่งเป็นองค์ที่มีชีวะคือมีชีวิต กับองค์กายสิทธิ์ที่ไม่มีชีวะคือเป็น “ทิพยกลกาย” เป็น “กายทรงเครื่อง” ที่มีฤทธิ์เดช (เหมือนกายมนุษย์สวมใส่ชุดหุ่นยนต์ทำให้มีพละกำลังและอานุภาพมากราวกับยอดมนุษย์) ประกอบกับพุทธคุณ

กายสิทธิ์พระพุทธจักรฯ ที่ผู้ทรงวิชชาคว้า (เชิญ) ลงมาจากภพ รวมถึงพระนิพพาน ที่ยังไม่มีวิชชามากนัก จะอุปมาไปก็เหมือน "นายร้อยพิเศษ" "นายพันพิเศษ" "นายพลพิเศษ" ที่ยังไม่มีความรู้ในการทำกิจในวิชชา แต่เราสามารถนำไปเติมวิชชา ให้ "เป็นวิชชา" ขึ้นมาได้ เมื่อกายสิทธิ์ระดับพระพุทธจักรฯ ได้วิชชาแล้ว ก็จะเปรียบเสมือน “พลเอกพิเศษ” ที่ได้เรียนรู้วิชาทางทหาร แล้วกลายมาเป็น “พลเอก” ตัวจริง

ดวงแก้วพระบรมพุทธจักรฯ ที่สายหลวงปู่ดู่ท่านคว้าลงมาได้ เป็นที่ชอบใจของผู้ทรงวิชชา เพราะโดยมากเป็น "กายสิทธิ์" ที่ยังไม่ค่อยมีวิชชา ต่างจากพระพุทธจักรฯ ในวัตถุมงคลของสำนักวิชชาต่างๆ ที่เป็นการ "ลงส่วน" ของ "ผู้ทรงวิชชา" ที่มีชีวะ การได้ "กายสิทธิ์พระพุทธจักรฯ" มานั้นดีตรงที่ เราสามารถน้อมพระเข้าไปเก็บไว้ในตัวได้ คือใส่ไว้ในสายธาตุสายธรรม ไม่ต้องนำมาแขวนติดตัว แต่ว่าบุคคลก็มีธาตุพอใส่ไม่เท่ากัน เหมือน CPU ของคอมพิวเตอร์ ที่มี slot สำหรับใส่ การ์ด อัพเกรด เครื่องได้มากน้อยไม่เท่ากัน หรือเหมือนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มี พอร์ท (port) อย่าง USB หรืออื่นๆ มากน้อยไม่เท่ากัน จะพ่วงอุปกรณ์เสริมก็จำกัดด้วยพอร์ทที่มีอยู่ อนึ่ง กายสิทธิ์พระจักรพรรดิ์สายหลวงปู่ดู่ สามารถสละสายเชื่อมต่อปกครองในวิชชา เมื่อจ่ายบุญธาตุแลกเปลี่ยนกันแล้ว และได้มาอยู่ในครอบครองโดยสมบูรณ์ ไม่ขึ้นอยู่ในการกำกับวิชชาของผู้ผลิตหรือผู้สร้างอีกต่อไป และนำมาลงโปรแกรม คือใส่วิชชาได้เองตามใจชอบ

หลายๆ ท่านเข้าใจผิดว่า "จักรพรรดิ" คือ "คนรับใช้" อันที่จริงแล้ว จักรพรรดิเป็นเหมือนทหารและตำรวจ ซึ่งมีหลายระดับ และมีหลายบทบาทหน้าที่ ทหารบางท่านเป็นยาม บางท่านเป็นคนขับรถ บางท่านเป็นสารวัตรทหาร บางท่านเป็นครู บางท่านเป็นแพทย์ บางท่านเป็นนายกรัฐมนตรี บางท่านเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ ถึงขั้นทหารบางท่านจะมาเป็นเจ้าคุณ เป็นสมเด็จพระราชาคณะก็ได้ หรือแม้แต่องค์พระสังฆนายกก็ตาม โดยทั่วไปแล้วใครที่เป็น “จักรพรรดิ” จะถือว่ามีความล้ำเลิศเฉพาะทาง หากเป็นจักรพรรดิในเรื่องวิชชา ก็จะทำวิชชาเก่งคล่องแคล่วกว่าผู้อื่นทั่วไป หากจะเป็นจักรพรรดิทำงาน ก็จะเก่งงาน จักรพรรดิด้านวิชชารักษาโรค ก็จะรักษาโรคเก่งมาก จักรพรรดิในด้านการอบรมสั่งสอน ก็จะเป็นครูชั้นเลิศ ดังฉะนี้.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

26 – 28 พฤศจิกายน 2564

www.meditation101.org


นานาสาระ: เรื่องเครื่องอลังการ

กายในวิชชา อย่างกายพระพุทธราช, พระธรรมกาย, และพระจักรพรรดิ รวมถึงกายทิพย์ของเทวดานั้น มีที่นับถือกันว่ามี “เครื่องทรง” อันเป็นเลิศ บ่งบอกถึงวาสนาบุญบารมี ซึ่งยศทิพย์แห่งเครื่องทรง ท่านเรียกกันว่า “เจ้าลังการ” แบ่งเป็นลังการของกายวิชชา กับลังการของกายทิพย์คือกายเทวดา แต่สาเหตุที่นับรวมกันก็เพราะ ในการประชุมเทวสมาคมหลายๆ ครั้งที่เทวดากายทิพย์มาเข้าร่วมประชุม ผู้ทรงวิชชาก็มักจะมาร่วมงานโดยปรากฎกายในรูปลักษณ์ของกายในวิชชา ไม่ได้มาด้วยกายทิพย์

สำหรับ “เจ้าลังการ” ทั้ง 8 ประเภท ได้แก่ (1) เจ้ารัตนาลังการ (2) เจ้ามณีลังการ (3) เจ้ารัชดาลังการ (4) เจ้าสุวรรณลังการ (5) เจ้ามยุราลังการ (6) เจ้าพัสตราลังการ (7) เจ้าปุษบาลังการ (8) เจ้าวัลลยาลังการ 

การจะหามาครอบครองกันก็ไม่ยากไม่ง่าย เหมือนมนุษย์หรือสัตว์ที่โชคดี ได้เกิดมาพบพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้ทำบุญกับท่าน แล้วอานิสงส์ก็ส่งอลังการกันไป แต่คนรวยๆ ที่ไม่ได้พบพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ จะแจกทาน ทำบุญเท่าไร ก็ไม่พอจะได้เครื่องอลังการ ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่โชคดีมาก เพราะเจ้าธาตุเจ้าธรรม องค์ธาตุ องค์ธรรม องค์วรงค์ องค์วงศ์ มาเกิดกันมาก ใครที่หวังจะได้อลังการในยุคนี้ ย่อมเป็นไปได้

ส่วนสาเหตุที่เจ้ารัตนาลังการ กับเจ้ามณีลังการ แยกต่างหากกันนั้น คล้ายเจ้าปุษบาลังการ ที่มีเครื่องประดับลวดลายดอกไม้ กับเจ้าวัลยาลังการ ที่มีเครื่องประดับแบบไม้เลื้อยไม้เถามีกิ่งก้านใบ ตามที่มักจะเห็นกันอย่างเทวดานวนิยายของฝรั่งท่านที่สวมมงกุฎเถาใบไม้ (ส่วนใหญ่ด้วยอานิสงส์จากพวงหรีดกิ่งไม้ซึ่งวัฒนธรรมตะวันตกนิยมกัน) กล่าวคือ จะรวมกันก็ได้ เพราะคล้ายคลึง แต่ตัวเจ้าลังการเองพึงพอใจที่จะให้แยกแยะต่างกันออกไปมากกว่า สำหรับเจ้ารัตนาลังการนั้น เครื่องลังการมีลักษณะเป็นเครื่องประดับที่ประดิดประดอย มีอัญมณีหลากหลาย ซึ่งไม่เน้นวิชชาในมณีสีแสง ส่วนเจ้ามณีลังการ มักจะมีความประดิดประดอยของเครื่องประดับน้อยกว่า และอัญมณีที่มีก็เป็นไปตามวิชชาของแต่ละสีของเจ้าวรงค์ โดยมณีจะมีวิชชาอยู่ครับ

ว่ากันว่า เจ้ารัตนาลังการ ทรงเครื่องอัญมณีประดับกายที่ประดิดประดอย เช่นทรงหัวใจ รูปทรงนก รูปทรงปลา รูปทรงกระต่าย รูปทรงอ่อนช้อย ลายกนกซับซ้อนไปด้วยเพชรพลอย แต่เจ้ามณีลังการ ทรงเครื่องประดับมณีที่เรียบร้อยกว่าตามแบบแผน คือชฎา สร้อยคอ แหวน สนับข้อ สนับแขน ทับทรวง เข็มขัด รัดแข้ง มีรูปลักษณ์ที่เรียบร้อย แต่วิจิตรบรรจง ไม่สร้างสรรค์เชิงศิลปะ

ระหว่าง "กายทิพย์" กับ "กายในวิชชา" จะมีความแตกต่างทางอานิสงส์คือ กายทิพย์อยู่ใกล้กายมนุษย์มากครับ เวลากายมนุษย์ทำบุญ อานิสงส์จะถึงกายทิพย์ก่อน แล้วก็เกิดขึ้นง่าย และรวดเร็ว พอทำบุญปุ๊บ สมบัติทิพย์ก็เกิดปั๊บ “ทิพยจักรพรรดิ” ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำภพทิพย์ ก็ปรุงเครื่องทรงองค์แต่งและทิพยสมบัติให้เสร็จสรรพ ส่วนกายในวิชชา ซึ่งในที่นี้ หมายถึงพระธรรมกาย หรือกายพระจักรพรรดิ หรือกายอื่นๆ ในทำนองเดียวกับพระธรรมกาย จะมีเครื่องประดับ และเครื่องอลังการขึ้นไม่ง่ายเหมือนกายทิพย์ครับ กว่าเพชรจะขึ้นได้ซักกะรัตหนึ่ง ก็ไม่ง่ายเหมือนกายทิพย์ กายในวิชชาได้เครื่องทรงไม่ง่ายเหมือนกายทิพย์ เพราะเครื่องคำนวณตามภพเจ้าของ เช่นทอง ทองคำขาว เพชร พลอย แล้วส่งให้ได้ไม่มากจากการคำนวณครับ ยกเว้นแต่ภพเจ้าของยินดีจะให้มากเป็นพิเศษ แต่ส่วนใหญ่ต้องทำแบบ "เนื่องด้วยวิชชา" คือทำในวิชชา หรือถวายของหยาบแด่ผู้ทรงวิชชา หรือทำวิชชาเดินมณี สี แสง สาย วรงค์ วงศ์ องค์ แต่ถ้ารู้วิธี คือทำกับผู้ทรงวิชชา แล้วทำแบบถูกธาตุถูกธรรม เช่น ถวายเพชรขาวใส แด่องค์พระต้นธาตุต้นธรรมภาคขาว หลวงพ่อสด หรือถวายเพชรแดง แด่หลวงปู่ดู่ หลวงตาม้า สายพระจักรพรรดิแดง ดังนี้แล้ว มณีในวิชชาจะเกิดขึ้นโดยง่าย ถ้าทำ "เนื่องด้วยวิชชา" อีกอย่างคือสมบัติที่เนื่องด้วย "ผู้เลี้ยง" เช่นเครื่องราชฯ ยศชั้นฐานันดร กายจะมีเครื่องทรงขึ้นเองโดยอัตโนมติ หากทำบุญตามธรรมดาสามัญ ว่ากันว่า แม้ทำบุญด้วยเพชรพลอยตั้งหนึ่งแสนเม็ด ก็ยังไม่สามารถได้เป็น “เจ้ารัตนาลังการ” หรือทำบุญด้วยดอกไม้หนึ่งแสนดอก ก็ยังไม่ได้เป็น “เจ้าปุษยาลังการ” คล้ายกับเรื่องของท่าน “อินทกเทวบุตร” กับ “อังกุรเทวบุตร” ในพระไตรปิฎก ฉันนั้น

ส่วนท่านใดที่ประสงค์จะได้เครื่องรัตนาลังการ หรือมณีลังการ ทางลัดก็คือ "ถวายพระอุณาโลมอัญมณี"  พระอุณาโลม นี้เหมือนปุ่มเปิด on/off พอถวายแล้ว เครื่องทรงขึ้นครบ แต่ไม่ต้องกังวลว่าพระอุณาโลมจะถูกนำไปติดที่พระนลาฎของพระพุทธรูปหรือไม่นะครับ ผู้ทรงวิชชาท่านมีวิธีให้ บางทีท่านนำไปบรรจุกรุไว้ในพระพุทธรูปนั้น แล้วซ้อนวิชชาไว้ในอัญมณี ถ้านำมาติด บางทีอันตราย ใครอาจจะมาแกะออกไป อย่าถวายเป็นคริสตัล เพราะเทวดาท่านมองออกว่าของไม่แท้ ให้ถวายของจริงแล้วเช็ดล้างส่วนละเอียดมาก่อนถวาย แต่ถ้าถวายเครื่องประดับเฉพาะๆ อย่างแหวน สร้อย ด้วยก็ยิ่งดี เครื่องอลังการจะขึ้นมากครับ.

มีท่านถามว่า ถ้าเป็นพระพุทธเจ้า เป็นอรหันต์ แล้วจะแคร์เครื่องอลังการไปทำไม คำตอบคือ พระพุทธเจ้าท่านก็ทรงมีองค์ประกอบแห่งพระสัพพัญญูไม่เท่ากัน พระพุทธเจ้าบางพระองค์เข้านิพพาน ที่เป็นเมือง เป็นเวียง เป็นวัง ปราสาทสวยงาม บางพระองค์เข้าประทับอยู่ในที่โล่งว่างกว้างใหญ่เรียบง่าย หรือเหมือนพระพุทธเจ้าจะทรงผนวช บางพระองค์ทรงม้า บางพระองค์ทรงช้าง บางพระองค์ทรงวอทองแบกหาม บางพระองค์ประทับปราสาทลอยไป ซึ่งความแตกต่างตรงนี้ จะมีผลถึงพุทธบริษัท ที่ได้เห็นถึงวาสนาบารมีของพระพุทธเจ้า แล้วปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าบ้าง หรือหันมานับถือพระพุทธเจ้า แล้วบรรลุมรรคผลกัน รายละเอียดที่แตกต่าง อย่างเครื่องลังการ จึงเป็นคล้ายๆ แรงจูงใจ Influencer หรือ Inspiration ที่มีเครื่ององค์ประกอบเกียรติวาสนาบารมีของแต่ละท่านครับ เหมือนสมเด็จองค์ปฐมฯบรมครู พระพุทธเจ้าพระองค์แรก ทรงเป็นพระพุทธเจ้า เวลาประชุมธรรม ทรงปรากฎในภาคพระพุทธเจ้า มีลักษณะมหาบุรุษ ครองจีวรเรียบง่าย แต่สมเด็จองค์ปฐมฯ ก็ทรงมีเครื่องทรงจักรพรรดิ เวลาเข้าประชุม หรือเข้าสมาคมของเหล่าพระจักรพรรดิ ก็ทรงครองเครื่องจักรพรรดิไปร่วมงานพิธี หรือเหมือนองค์สมเด็จพระพุทธโคดม ตอนทรงทรมานท้าวชมพูบดี ทรงเนรมิตเครื่องทรงจักรพรรดิมาครอง ให้เหมาะกับโอกาส คือแสดงอำนาจวาสนาบารมีข่มท้าวชมพูบดี

เครื่องอลังการมีการจัดสรรโดยมีทั้งฝ่ายส่ง และฝ่ายรับ ครับ ฝ่ายส่งคือภพผู้เป็นเจ้าของ ยกตัวอย่างเช่น "ภพมยุรา" ก็มีทั้งพระพุทธเจ้า พระจักรพรรดิ กายสิทธิ์ ดูแลรักษาเผ่าพันธุ์นกยูง ปรุงแต่งสรรค์สร้างพันธุกรรมนกยูงสายพันธุ์ต่างๆ คอยกำกับความเป็นไปของเหล่านกยูงในสวรรค์และในเมืองมนุษย์ อุปมาเหมือน รัฐมนตรี ที่มีองค์การสวนสัตว์ อยู่ในกำกับการดูแล แต่ไม่ได้ลงไปบริหารเองโดยตรง เพียงแต่คอยอำนวยการ และตัดสินใจเวลามีเรื่องสำคัญ อย่างเช่นมีพระโพธิสัตว์มาเกิดเป็นพญานกยูง นี้เป็นฝ่ายส่ง ส่วนฝ่ายรับ ก็คือตัวมนุษย์และสัตว์เอง ที่ประสงค์จะสั่งสมบุญกุศล อันเนื่องด้วยขนนกยูง ผู้เลี้ยงหรือเทวดาประจำมนุษย์ ก็ดลจิตดลใจ ให้ไปหามาถวาย พบกันครึ่งทางค่อนทาง แล้วก็สำเร็จเป็นมยุราลังการ ซึ่งพอเกิดขึ้น ภพทิพย์ ทั้งผู้ทรงวิชชา และเทวดา ก็วางกรอบกำหนดขึ้นมา ว่าผู้ที่มีแบบนี้ จัดเข้าหมวดลังการประเภทใด พบกันครึ่งค่อนทางครับ ดังฉะนี้.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

26 – 28 พฤศจิกายน 2564

www.meditation101.org


นานาสาระ: เรื่องเคล็ดลับการลอยกระทง


การลอยกระทงเป็นประเพณีของไทย ซึ่งผสมผสานกับวัฒนธรรมชาวพุทธ ถ้าผู้ลอยกระทงมุ่งหมายที่จะลอยกระทงเพื่อบูชาพระรัตนตรัย ก็จะมีอานิสงส์คือ หากเป็นฆราวาสก็จะมีความสุข ความเบิกบานใจ มีดวงตาเห็นธรรม ซึ่งมาทางน้ำ เพราะจุดธูปจุดเทียน ให้เแสงสว่าง เป็นที่จรรโลงใจ ด้วยความเคารพจะได้เกิดในตระกูลสูง ได้นั่งเรือประจำตำแหน่ง มีคนสักการะบูชาไปตามทาง เหมือนราชพิธีบางอย่างของประเทศไทย

 

ถ้าทำบุญประกอบกับการลอยกระทงด้วย เช่นบริจาคซื้อกระทงการกุศลของวัด ก็จะได้ลาภทางน้ำ ค้าขายทำธุรกิจทางน้ำได้กำไรงาม เช่นจัดเรือรับส่งนักท่องเที่ยว เรือสำราญ เรือค้าขายสินค้า ส่วนอานิสงส์อันเป็นทิพย์ ก็จะเพลิดเพลินใจ ในขณะนั่งเรือท่องเที่ยวไปตามสระโบกขรณีอันรื่นรมย์ในสวรรค์ สำหรับพระสงฆ์ที่ลอยกระทง อานิสงส์แห่งการลอยกระทงก็คือ บุญจะส่งผลทางน้ำได้ดี ยกตัวอย่างเช่น พายเรือออกบิณฑบาต ก็จะได้รับความเคารพสักการะนับถือ มีชาวบ้านออกมาใส่บาตรด้วยโภชนะ และดอกไม้ธูปเทียน ซึ่งแม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงเคยได้รับอานิสงส์ทางน้ำในสมัยพุทธกาล เหมือนเมื่อครั้งพระองค์เสด็จเดินทางไปต่างแคว้นด้วยเรือ พระมหากษัตริย์ทำการบูชาสักการะ ส่งเสด็จด้วยความเคารพศรัทธายิ่ง

 

เคล็ดลับในการลอยกระทงแบบประหยัดวิชชาก็คือ ให้อธิษฐานลอยกระทงเพื่อบูชาพระรัตนตรัยในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียว ที่ยั่งยืนตลอดไป ทั่วทั้งธาตุธรรม โดยขอฝาก "พระคงคา" นำส่วนละเอียดอันเป็นทิพย์ไปถวาย แล้วจ่ายค่ากำเน็จให้พระคงคา อานิสงส์จะได้มาก ท่านใดมีดวงตราประกาศิต ก็ให้ปักธงดวงตราประกาศิตไว้ที่กระทง ที่สำคัญคืออย่าลืมให้ "คุณบุษบากร" หรือ “คุณบุษบาธร” ช่วยแต่งส่วนละเอียดของกระทงดอกไม้ ให้เรียบร้อยก่อนนำไปลอย ท่านใดไม่รู้จัก "คุณบุษบากร" ซึ่งมีกันไม่มากไม่น้อย หากจะทำเองก็ยังไม่ชำนาญ อาจจะลองเรียกกายสิทธิ์ "นางแก้ว" ที่ผู้ทรงวิชชาซ้อนไว้ตามวัตถุมงคลต่างๆ ที่มีรัตนะ 7 ครบ หรือเรียกออกมาจาก "จักรรัตนะ" ของทิพย์ แล้วมอบหมายให้เธอจัดส่วนละเอียดของดอกไม้ให้ ก็น่าจะพอได้  หากจะลอยโคมยี่เป็ง ต้องฝากพระเพลิง หรือพระพาย นำไปถวาย แต่ต้องจ่ายค่ากำเน็จเช่นกัน.

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

www.meditation101.org


นานาสาระ: เรื่อง “กายมนุษย์” ในฐานะ End-User Station

มนุษย์ทุกคน มี "ผู้เลี้ยง" คือเจ้าหน้าที่ประจำตัว ส่วนใหญ่เป็นกายสิทธิ์ หรือ transcendroid และมี "ธรรม" ที่ควบคุมกำกับความคิด คำพูด การกระทำ ถ้าจะเทียบของชาวตะวันตก ก็คือ Angel & Devil ซึ่งเขาควบคุมมนุษย์ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา (ฝ่าย Angel) ส่วนอีกฝ่าย ควบคุมด้วย ราคะ โทสะ โมหะ (ฝ่าย devil) เมื่อมนุษย์ดำเนินชีวิต แต่ละฝ่ายก็จะกระตุ้น ด้วย “ธรรม” และ “อธรรม” ของตน เพื่อให้ คิด พูด ทำ เมื่อ คิด พูด ทำ ตามที่กระตุ้นแล้ว ผู้เลี้ยงจะรายงานผล ความคิด คำพูด การกระทำ นั้นๆ ส่งต่อเป็นทอดๆ เพื่อป้อนข้อมูลเข้าเครื่องธาตุเครื่องธรรม แล้วประมวลเป็น "โปรแกรมกรรม" พร้อมทั้งเบิกพลังงานบุญบาปจากแหล่งเก็บ จ่ายเข้ามาเก็บในร่างกาย นี้คือส่วนของ “ธาตุ” ในส่วนของ “ธรรม” ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ราคะ โทสะ โมหะ มีลักษณะเปรียบได้กับมวลกล้ามเนื้อ ก็คือยิ่งใช้บ่อยๆ ทำบ่อยๆ ออกกำลังบ่อยๆ ก็ยิ่งมีกำลังมาก เหมือนคนเล่นกล้าม ยิ่งออกแรงยก ยิ่งแข็งแรงขึ้น ศีลที่รักษาบ่อยๆ เป็นประจำนั้น เครื่องจะส่ง “ธรรม” มาหนุนเลี้ยงและสะสมเพิ่มอีก จากรักษาได้ยาก เป็นรักษาได้ง่ายๆ ในทำนองเดียวกัน "กามวิตก" ที่เกิดจากการเสพเมถุนบ่อยๆ ก็จะทำให้ "ราคะ" พอกพูน และ “อ่อนไหว” และ “ไว” ต่อกามราคะมากขึ้น เมื่อพบสิ่งกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ความนึกคิด ก็จะคิด พูด ทำ เพื่อตอบสนองต่อกามราคะนั้นโดยง่ายกว่า เป็นเหตุให้ถูกรายงานเข้าเครื่องธาตุเครื่องธรรม และรับบาปเพิ่มขึ้น ถูกตั้งโปรแกรมวิบากอกุศลกรรมเพิ่มเติมอีก

"สายธาตุสายธรรม" ที่เชื่อมโยงมนุษย์เข้ากับเครื่องธาตุเครื่องธรรม ของฝ่ายพระนิพพาน และฝ่ายมารโลก มีลักษณะคล้ายเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จับต้องไม่ได้ด้วยกายมนุษย์ แต่ถ้ามองด้วยตาทิพย์ จะเห็นโครงข่ายเหมือนใยแมงมุม แล้วระบบก็ทำงานรวดเร็วมาก สามารถประมวลผลกรรมเสร็จแล้วจ่ายบุญบาปภายใน 1-2 วินาที เร็วพอๆ กับการโทรศัพท์เคลื่อนที่ข้ามทวีปจากประเทศไทย ไปสหรัฐอเมริกา ซึ่งเพียงครู่เดียวก็เชื่อมต่อสัญญาณได้ หรือเหมือนส่งข้อความผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ หรือ Whatsapp คุยกันข้ามทวีป ซึ่งข้อความถึงกันภายในไม่ถึงวินาที ดังนี้.

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

Meditation101.org

 

นานาสาระ: เรื่องการคำนวณอานิสงส์ของบุญด้วยวิชชา

หลายท่านที่ติดตามบทความและโพสต์ในโซเชียลมีเดียของข้าพเจ้า คงพอทราบแล้วว่า สำนักของผู้ทรงวิชชาหลายแห่ง เมื่อมีการจัดงานบุญพิธีนั้น ผู้ทรงวิชชาประจำสำนัก จะสามารถ “คำนวณด้วยวิชชา” เพื่อให้การทำบุญเกิดเป็นอานิสงส์ใหญ่ ได้บุญมาก ซึ่งการทำเช่นนี้จะสามารถทำได้หลายรูปแบบ แล้วแต่ความถนัดของผู้ทรงวิชชา

บางท่านอาจสงสัยว่า การคำนวณบุญด้วยวิชชา ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเป็นจริงหรือว่าเป็นเพียงนิมิตลวงในสมาธิ? ทั้งนี้บทความนานาสาระนี้จะขออธิบายคร่าวๆ ว่า ผู้ทรงวิชชาที่มีญาณทัสสนะมากพอ จะสามารถเห็นที่มาที่ไป “วงจรกลไก” การทำงานของกรรม และการเกิดขึ้นของบุญบาป เช่นเห็น “เครื่องธาตุเครื่องธรรม” หรือ “ใจภพ” ซึ่งทำงานด้วยโปรแกรม “กฎแห่งกรรม” ที่คอยประมวล กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของเวไนยสัตว์ อยู่ตลอดเวลา แล้วตั้งโปรแกรมผลกรรม พร้อมทั้งเบิกจ่ายบุญ สำหรับหล่อเลี้ยงโปรแกรมนั้นให้ทำงาน กระทั่งผลกรรมเป็นจริงขึ้นมา โดยที่การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องธาตุเครื่องธรรม จะมีการส่งรายงานผล กลับไป กลับมา เป็นทอดๆ อย่างรวดเร็วและเป็นระบบโดย “ผู้เลี้ยง” ประจำกาย (อุปมาได้ว่าเป็น เทวดาประจำตัว แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่เทวดา) ซึ่งผู้ทรงวิชชาที่ทราบกลไกนี้ จะสามารถ “เสริมเติม” เข้าในกระบวนการคำนวณ ด้วย “วิชชา” ซึ่งมีลักษณะคล้ายการ ระบุ หรือ เอ่ยอ้าง ตัวแปร และปัจจัยร่วมส่งผลในบุญกรรม เช่น การ “โยงอ้างถึง” พระพุทธเจ้า ที่เป็นเจ้าของพระพุทธศาสนา ว่ามีกี่พระองค์ มีบารมีเท่าไร มีพระกรุณาธิคุณ บริสุทธิคุณ ปัญญาธิคุณ อย่างไร พระธรรม มีศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งของผู้ถวายทาน และผู้รับทาน มากน้อยแก่อ่อนอย่างไร และพระสงฆ์ ว่ามีมากน้อยเพียงใด มีกิเลสอาสวะมากน้อย มีคุณมากน้อย มีมรรคผล มากน้อยอย่างไร รวมกันเป็น บุญเขต ได้เท่าไร โดยสามารถเอ่ยอ้างเข้าสู่การคำนวณได้ละเอียด หรือกว้างไกล มากน้อยกว่ากัน ดุจดังพระสารีบุตร ที่สามารถ “นับเม็ดฝน” ที่ตกลงมาได้ทั้งหมด แต่การโยงเอ่ยอ้างเข้าเป็นตัวแปรเหล่านี้ ผู้ทรงวิชชามิได้ร่ายยาวเป็นคาถา แต่ทำด้วยฤทธิ์ทางใจ ซึ่งท่านเห็นพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ และทายก ทายิกา เป็นกาย ทั้งกายมนุษย์ กายทิพย์ กายละเอียด กายปาฏิหาริย์ ส่วนธรรม และธาตุ ก็เห็นเป็นดวงๆ แก่อ่อน หยาบละเอียด ใหญ่เล็ก สะอาดหรือไม่สะอาด มากน้อยกว่ากัน ซึ่งท่านนำสิ่งทั้งปวงเหล่านี้มาประมวลร่วม “ตั้งส่ง” และ “ตั้งรับ” ในการทำบุญ เพื่อให้การทำบุญนั้นได้อานิสงส์มาก และสามารถคำนวณได้ด้วยเช่นกันว่า ปริมาณบุญมีเท่าไร แบ่งเป็นหัวบุญ กลางบุญ หรือหางบุญ ที่มีธาตุผสมอยู่มากน้อยกว่ากัน และสามารถคำนวณต่อไปได้อีก ว่าบุญเท่านั้นเท่านี้ เมื่อส่งผลแล้ว จะนับเป็นทรัพย์มูลค่ายุคปัจจุบันได้เท่าใด เช่นทำบุญ 1 บาท ได้อานิสงส์เป็นเงิน 16 บาท มีบุญเท่านั้นเท่านี้ จะเพียงพอต่อการบรรลุเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ถึงขั้นเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในปัจจุบัน หรืออนาคตต่อไปภายภาคเบื้องหน้า ดังนี้.

 

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

www.meditation101.org


นานาสาระ: เรื่องทำมาหากินอย่างไรให้เจริญรุ่งเรืองแบบถูกธาตุถูกธรรม

ชาวพุทธส่วนใหญ่ล้วนเชื่อในเรื่องของบุญ และเรื่องของกรรม ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่มีอยู่แล้ว กระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงค้นพบด้วยการญาณจากการตรัสรู้ธรรม แล้วทรงนำมาสั่งสอนพุทธบริษัท นอกจากนี้ ในยุคปัจจุบันก็ยังมีครูบาอาจารย์มากมายหลายสำนัก ได้เทศน์สอนขยายความแนะนำการทำบุญอย่างถูกวิธี ซึ่งหลายๆ ท่านก็ได้ชี้แนะเอาไว้ดีแล้ว สำหรับบทความนานาสาระนี้ จะขอกล่าวถึงการทำมาหากินแบบ “ถูกธาตุถูกธรรม” ซึ่ง “ธาตุ” ในที่นี้ ก็หมายถึง ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ และบุญธาตุ บาปธาตุ ที่อยู่ในรูปของพลังงาน ส่วน “ธรรม” ในที่นี้ก็คือ กุศลธรรม ที่ให้สุข, อกุศลธรรม ที่ให้ทุกข์, และอัพยากตธรรม คือความเป็นกลางๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์

เนื่องจากคนเราได้เวียนว่ายตายเกิดมาเนิ่นนาน บางชาติได้พบพระพุทธศาสนา ได้พบพระพุทธเจ้า พบพระอรหันต์ พระอริยบุคคล หรือพระฤาษีดาบสทรงฌาน บ้างก็ได้ทำบุญกับเนื้อนาบุญ บ้างก็ไม่ได้ทำ หรือได้ทำกับสามัญชนคนธรรมดาที่ไม่มีคุณวิเศษ หลายท่านก็อดจะคิดไม่ได้ว่า ควรจะทำบุญแบบใด จึงจะเจริญรุ่งเรืองในธุรกิจหน้าที่การงาน มีความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งเป็นการ “สร้างเหตุให้เป็นผล” ส่วนบทความนี้จะขอแนะนำเรื่อง “การสร้างผลให้เอื้อเฟื้อต่อเหตุ” นั่นหมายความว่า เราจะต้องหาวิธีทำมาหากิน เพื่อให้บุญกรรมส่งผลได้ดีเป็นพิเศษ

โดยนัยนี้ บุคคลต้องทราบก่อนว่า ในอดีตชาตินั้น ตนเคยทำบุพกรรมอันใดไว้บ้าง ซึ่งอาจต้องปรึกษาผู้ทรงวิชชา หรือครูบาอาจารย์ผู้มีรู้มีญาณ เพื่อ “ตรวจบุพกรรม” เมื่อเราทราบบุพกรรมแล้ว เราก็เลือกทำธุรกิจหน้าที่การงานที่ตรงกันกับบุพกรรมของเรา ยกตัวเช่นบุคคลเคยทำบุญด้วยการถวายพืชผักผลไม้แด่พระอรหันต์ในอดีตชาติ หากในชาติปัจจุบันได้ทำงานเป็นชาวไร่หรือเปิดตลาดขายผักขายผลไม้ บุพกรรมก็จะส่งผลานิสงส์ผลบุญได้เต็มที่ ก็จะขายผักขายผลไม้ได้ดีเป็นพิเศษ ถ้าเคยถวายรถม้า หรือเกวียน แด่วัดวาอาราม ก็จะเจริญรุ่งเรืองในธุรกิจที่เกี่ยวกับยานพาหนะ เช่นถือหุ้นบริษัทรถยนต์ หรือเปิดโชว์รูมและเต็นท์รถ จำหน่ายรถยนต์ ก็จะขายดี เจริญรุ่งเรือง ส่วนผู้ที่เคยบริจาคทองคำสร้างพระเจดีย์ หากเปิดร้านทอง ก็จะขายดีมีกำไรงาม เหล่านี้เป็นการ “สร้างผล ให้ตรงกับเหตุ เพื่อเปิดโอกาสให้บุญกรรมส่งผลได้เต็มที่” นั่นเอง ดังนี้.

 

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

www.meditation101.org


นานาสาระ: สาเหตุที่ทำให้การทำบุญด้วยทองคำมีผลานิสงส์มาก


การที่บุคคลทำบุญด้วยทองคำแล้วได้บุญมากกว่าการทำบุญด้วยวัสดุทั่วไปอื่นๆ นั้นเป็นเพราะคุณลักษณะและคุณสมบัติของ "ธาตุ" และ "ธรรม" ของโลหะทองคำที่ประเสริฐกว่าโลหะอื่น นับโดยธาตุแล้ว ทองคำมีความคงทน ไม่ผุกร่อนง่าย สวยงาม เนื้อละเมียดอร่ามตา ตามสัดส่วนของเปอร์เซ็นต์เนื้อทอง และปริมาณทองคำนั้นมีอยู่ในโลกไม่มากไม่น้อย คือไม่มากไปจะทำให้เฝือ กระทั่งด้อยราคา และไม่น้อยไปกระทั่งไม่สามารถใช้สอยได้พอ อนึ่ง ธาตุของทองมี "กายสิทธิ์" จากภพทองลงรักษา เป็นกายสิทธิ์ฝ่ายดี ทำให้โดย "ธรรม" แล้ว ทองคำมักให้คุณ มากกว่าให้โทษ นอกจากนี้ โลหะทองคำทั่วไป ยังอยู่ในกำกับการสายปกครองวิชชาของภาคทอง ซึ่งควบคุมวิชชาให้ทองคำมีความล้ำค่า เป็นหลักประกันมูลค่าที่มั่นคง และเป็นที่นิยมมาแทบจะทุกยุคทุกสมัย อีกทั้งทองคำยังมีความเป็นกลางมากขึ้นในการรองรับวิชชาต่างๆ เมื่อผู้ทรงวิชชาจะจัดสร้างวัตถุมงคลด้วยทองคำ แล้วนำมาปลุกเสก ไม่ว่าจะเป็นพระกริ่ง ตะกรุด พระพุทธรูป ธาตุทองก็สามารถรองรับวิชชาจากสายธาตุสายธรรมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แทบจะไม่มีเกี่ยง ด้วยธาตุธรรมและวิชชาของทองคำนี้ เมื่อบุคคลนำทองคำไปทำบุญแต่ประการหนึ่งประการใด “เครื่องธาตุเครื่องธรรม” หรือ “ใจภพ” จะสามารถคำนวณกุศลกรรม โดยอาศัย “ทองคำ” เป็นปัจจัยร่วมในส่วนของ “ทานวัตถุ” กอปรเป็นอานิสงส์ผลบุญใหญ่ได้มากกว่าโลหะด้อยค่าอื่นๆ โดยทั่วไป แต่อานิสงส์ของการทำบุญด้วยทองคำจะยิ่งใหญ่ไพศาลมากขึ้น หากทองคำนั้นได้รับการชำระกายสิทธิ์และส่วนละเอียดโดย “นายสุวรรณกร” หรือ “พระสุวรรณกร” ให้สะอ้านก่อน โดยจะต้องจ่าย “ค่ากำเน็จ” เป็นบุญธาตุด้วย หรือจะแช่น้ำพระพุทธมนต์ก็ได้ (ประสิทธิภาพในการชำระล้างมากน้อยตามกำลังและส่วนใหญ่ก็ต้องจ่ายค่าชำระมลทินเช่นกัน) เพื่อให้มีความล้ำค่าหมดจดทั้งในส่วนหยาบและส่วนละเอียด พร้อมที่จะรองรับวิชชา, ธรรม, หรือกายสิทธิ์สำคัญๆ ที่ภาคทอง หรือภาคอื่นๆ จะส่งลงมาซ้อนสถิตต่อไป ซึ่งทองคำที่ได้รับการชำระส่วนละเอียดนั้น เครื่องธาตุเครื่องธรรม จะสามารถคำนวณอานิสงส์ผลบุญได้มากขึ้นในส่วนของ “ความบริสุทธิ์ของวัตถุทาน” ดังฉะนี้.

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

31 ตุลาคม พ.ศ. 2564

www.meditation101.org

 


นานาสาระ: เรื่องความเร็วและเนิ่นช้าแห่งอานิสงส์ของกฐินกาลทาน

การทอดกฐินนั้นจัดว่าเป็น “กาลทาน” คือการทำทานที่จำกัดด้วยเวลา และการทำบุญแทบทุกอย่าง ล้วนมี “เวลา” เป็นปัจจัยร่วมที่ส่งผลถึง “อานิสงส์ผลบุญ” กล่าวคือ กรรมดีทุกอย่างที่เราทำ สามารถทำให้นานมาก นานน้อยกว่ากัน หรือทำเร็วมาก เร็วน้อยกว่ากัน ซึ่ง “เครื่องธาตุเครื่องธรรม” (ใจภพ) ที่ทำงานตาม “โปรแกรมกฎแห่งกรรม” จะนำ “เวลา” ที่เนื่องด้วยกรรมของเรานั้น เข้าไปคำนวณร่วมด้วย ก่อนจะตั้งโปรแกรมผลกรรมดีชั่วที่จะเกิดขึ้น พร้อมทั้งคำนวณพลังงานบุญที่จะจ่ายออกมาสำหรับหล่อเลี้ยงบังคับใช้โปรแกรมผลกรรมให้เกิดขึ้นจริง พร้อมทั้งส่งพลังงานบุญมากักเก็บในตัวบุคคล สำหรับใช้หล่อเลี้ยงชีวิตติดตามตัวไปข้ามภพชาติ ให้บันดาลเป็นความสุข ความเจริญ ความสำเร็จ ต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในเมืองมนุษย์ เมืองสวรรค์ หรือเมืองนิพพาน

กฐินกาลทานนั้น เกิดจาก “พุทธานุญาต” คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดให้คณะพระสงฆ์จำนวนอย่างน้อย 5 รูป ที่จำพรรษาในอาวาสเดียวกันครบถ้วนไตรมาส คือช่วงเข้าพรรษาประมาณ 3 เดือน สามารถรับ “ผ้ากฐิน” จากเจ้าภาพได้ เมื่อรับแล้ว ก็จะได้อานิสงส์แห่งกฐินตามพุทธบัญญัติ คือกฎกติกามารยาทของพระต่างๆ อย่างเช่น ฉันภัตตาหารร่วมกลุ่มเป็นคณะได้ และไปจากอาวาสนั้นได้โดยไม่ต้องบอกลากัน และอื่นๆ สำหรับในปัจจุบัน พระสงฆ์ประจำอาวาสนั้นๆ ยังจะได้รับ “บริวารกฐิน” อันได้แก่ ผ้าไตรบริวาร, ชุดเครื่องประกอบกองกฐิน มีบาตร, ตาลปัตร, ข้าวของเครื่องใช้ และทรัพย์ปัจจัยต่างๆ ซึ่งถ้าหากเจ้าภาพถวายผ้ากฐินพร้อมบริวารกฐินโดยเร็วหลังวันออกพรรษา เมื่อพระสงฆ์ทำพิธีปวารณาวันออกพรรษากันแล้ว พระสงฆ์ก็จะได้รับอานิสงส์แห่งการรับกฐินโดยเร็ว รวมถึงสามารถใช้สอยบริวารกฐิน (ถ้ามี) ตามจำเป็น โดยพลันและโดยสะดวกกว่า

วัดบางวัดจัดงานทอดกฐินช้า หรือไม่มีเจ้าภาพจองถวายแต่เนิ่นๆ พระสงฆ์จะแยกย้ายกันไปก็ไม่สะดวก ต้องรอรับกฐินก่อน หรือมีความจำเป็นจะใช้จ่ายทรัพย์บริวารกฐิน ก็ยังไม่สามารถทำได้ บังเกิดเป็นความเนิ่นช้าแห่งการกุศล ดังนั้น การถวายกฐินโดยเร็ว จะทำให้ได้ผลานิสงส์ผลบุญแบบรวดเร็วทันใจ และมีความสะดวกสบายมากกว่าการถวายกฐินแบบเนิ่นช้าใกล้หมดฤดูกาลถวายกฐิน แต่ทั้งนี้ก็ไม่เสมอไป ดังฉะนี้แล.

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

31 ตุลาคม พ.ศ. 2564

www.meditation101.org


นานาสาระ: เรื่องรัศมีสีสัน

การทำบุญด้วยแสงสว่าง จุดประทีปโคมไฟ และค่าไฟฟ้าส่องสว่างตามวัดวาอารามนั้น เป็นบุญที่ส่งผลานิสงส์ต่อ “จักษุ” โดยตรง คือมีดวงตาที่มีประสิทธิภาพดี ไม่ว่าจะเป็น “ตาเนื้อ” ของกายมนุษย์ หรือ “ตาทิพย์” ของเทวดา หรือ “ธรรมจักษุ” ของกายในวิชชา นอกจากนี้ยังส่งผลให้ “รัศมี” เรืองรอง ทั้งนี้รัศมีของกายมนุษย์ (ในกรณีที่บุญส่งผลมากพอจะถึงกายมนุษย์) หรือกายทิพย์ สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ “รัศมี” คือความสว่าง และ “รังสี” คือสีสันของความสว่าง การทำบุญแสงสว่างตามปกติ จะส่งผลให้เป็นรัศมีมากน้อย ตามขั้นต่างๆ อย่างเช่น อาภา, ประภา, ประภัสสรา ส่วนสีสันของรัศมีก็มีหลายขั้น เช่น รังสี, รังสิยา, ปุษยาภา, ปุษยรังสี, ปุษยรังสิยา อุปมารัศมีเหมือนแสงสว่าง คือหลอดไฟอย่างเช่นหลอดนีออน หรือแอลอีดี เมื่อเรานำมาหุ้มด้วยกระดาษแก้วสีต่างๆ เมื่อแสงเปล่งออกมา ก็กลายเป็นแสงหลากสี ฉันนั้น การทำให้รัศมี เป็นรังสี ก็มีหลายวิธี เช่นถวายโคมไฟหรือวัตถุทานหลากสี หรือบูชาพระรัตนตรัยด้วยดอกไม้ ซึ่งดอกไม้หลากสีจะแปรเปลี่ยนรังสีตามสีของดอกไม้ แต่ก็ไม่เสมอไป การถวายหรือบูชาพระด้วยดอกไม้สีขาว จะสามารถแปรเปลี่ยน หรือเติม เป็นรังสีหลากสีสันได้อีก เหมือนแสงสีขาวของพระอาทิตย์ที่ส่องมายังพื้นโลก เมื่อสะท้อนผ่าน “ปริซึม” ก็แตกออกเป็น “สเปร็คทัม” คือแสงรุ้งหลากสีได้อีกฉันนั้น แต่อาจจะไม่มีสีใดเด่นชัดเป็นพิเศษ นอกจากนี้ การถวายดอกไม้สดจะทำให้ได้รังสีที่สดใสและดูสดชื่นมากกว่าการถวายดอกไม้พลาสติกหรือดอกไม้ประดิษฐ์ รวมถึงการถวายดอกไม้แล้วทิ้งไว้ให้แห้งเหี่ยวคาโต๊ะหมู่บูชา อนึ่ง ดอกไม้ทั้งหมดล้วนมี “กายสิทธิ์” และส่วนละเอียดสถิตอยู่ คอยรักษาดอกไม้ให้สวยงามน่าชื่นชม และดูสดชื่นสดใส ขณะยังสดอยู่ โดยกายสิทธิ์เหล่านี้ถูกปรุงและส่งมาจาก “ภพเจ้าของดอกไม้” ซึ่งดอกไม้แต่ละสายพันธุ์ล้วนมีเทวดาผู้เลี้ยงคอยรักษาอยู่ หากดอกไม้ได้รับการจัดสรรส่วนละเอียดโดย “คุณบุษบากร” หรือ “คุณบุษบาธร” ซึ่งเป็นผู้ค้าหรือผู้จัดดอกไม้ที่ทรงวิชชา ระเบียบดอกไม้นั้นก็จะกลายเป็นดอกไม้ที่สูงค่า เมื่อนำไปบูชาพระรัตนตรัยหรือผู้ทรงคุณ ก็จะมีอานิสงส์มากยิ่งขึ้นอีก แต่จะต้องจ่าย “ค่ากำเน็จ” ในการจัดดอกไม้เพิ่มเติมด้วย “บุญธาตุ”  อนึ่ง การถวายหรือบูชาผู้ทรงคุณด้วยดอกไม้แบบ “ถูกธาตุถูกธรรม” ก็จะมีอานิสงส์มากตามธาตุตามธรรมนั้นๆ เช่นถวายดอกไม้สีขาวบูชาพระพุทธเจ้าธาตุธรรมฝ่ายขาว ก็จะได้รังสีหลากสีสันแบบรวมๆ เว้นแต่ประสงค์จะได้สีขาวสะอ้าน หรือถวายดอกไม้สีแดงบูชาพระพุทธจักรพรรดิแดง ก็จะได้รัศมีสีแดงแรงมากกว่าสีอื่น ส่วนรัศมีอีกประเภทที่เป็นที่ยอมรับนับถือว่าพิเศษก็คือ “รัศมีสีทอง” ซึ่งแบ่งเป็นหลายขั้น และมีหลากหลายลีลา แต่ลีลาไม่มากเท่ารัศมีแบบหลากสีสันของปุษยาภา รัศมีสีทองอาจเกิดได้จากการบำเพ็ญธรรม หรือการทำบุญด้วยทองคำ อย่างเช่นดอกไม้ทองคำ, ผอบทองคำบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ, เจดีย์ทองคำ, ฉัตรทองคำ, ทองคำหล่อพระพุทธรูป และอื่นๆ โดยควรจะต้องชำระส่วนละเอียดของทองคำให้สะอาดก่อน โดยนายสุวรรณกร หรืออื่นๆ อย่างเช่นการแช่ทองคำในน้ำพระพุทธมนต์ ซึ่งรัศมีที่ได้เรียกว่า สุวรรณอาภา, สุวรรณประภา, สุวรรณประภัสสรา, สุวรรณรังสี, สุวรรณรังสิยา, สุวรรณรังสิยาภา ส่วนขั้นที่สูงกว่าละเมียดและละเอียดประณีตกว่า เรียกว่า “สุพรรณฯ” และ "สุภิพรรณรังสี" โดยที่ผู้มีรัศมีสีทอง มักจะมีคุณลักษณะของ “ความสุขุม” มากกว่ารัศมีแบบสีสัน ส่วนการแผ่รัศมีออกจากกายก็มีหลายรูปแบบ ซึ่งปกติแล้ว “ปุษยาภา” จะมีลูกเล่นได้มากกว่า อย่างไรก็ตาม การเล่นรัศมีสีสันของกายมนุษย์ กายทิพย์ และกายในวิชชา ต้องคำนึงถึงสายธาตุสายธรรม และวิชชาของกาย เช่นสายธาตุสายธรรม ที่เป็นพระธรรมกาย และพระจักรพรรดิภาคขาว จะเข้ากันได้ดีกับ รัศมีหลากสี อย่างปุษยาภา และรัศมีสีทอง อย่างสุพรรณรังสี แต่กายอื่นๆ อย่างเช่น กายพระจักรพรรดิแดง มักจะนิยมสีประจำสายธาตุของตน คือสีแดง ในทำนองเดียวกันกับ "จ้าววรงค์และคณะ" คือบรรดาเจ้าสี และฝ่ายกายสี เช่นสีชมพู, สีฟ้า, สีม่วง, สีน้ำเงิน, สีส้ม, สีเหลือง, สีเขียว, และอื่นๆ ซึ่งถ้ารังสีของรัศมีขัดกันกับวิชชาและธาตุธรรมของกาย ก็อาจจะส่งผลให้รู้สึก ไม่สบายจักษุ ส่วนกายทองคำ จะสามารถเข้ากันได้กับหลายสี เช่นสีทอง สีขาว สีรุ้ง สีแดง สีชมพู สีม่วง อุปมาเหมือนเรือนแหวนทองคำที่รองรับอัญมณีได้หลากสี ในขณะที่ยังคงแลดูสวยงาม ไม่ขัดเคืองจักษุ

การถวายหรือการบูชาดอกไม้แต่ละชนิด ให้อานิสงส์ไม่เหมือนกัน ดอกไม้ต่างก็มีลีลาแห่งระเบียบเกสรและกลีบใบและกลิ่นไม่เหมือนกัน ดอกไม้บางชนิดแลดูฉูดฉาดกลิ่นหอมแรง รูปลักษณ์สวยงามน่ารัญจวนใจ อย่างเช่นดอกกุหลาบ ส่วนดอกไม้บางประเภทแลดูน่ารัก อย่างเช่นดอกทิวลิป ในขณะที่ดอกไม้บางประเภทอย่างดอกบัว แลดูสุภาพอ่อนโยน สงบใจและหอมอ่อนๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่ออานิสงส์แห่งกุศลกรรม กล่าวคือ การถวายดอกไม้ที่มีรูปลักษณ์ฉูดฉาด ก็จะทำให้รังสีที่ได้แลดูจัดจ้านมากขึ้น ในขณะที่การถวายดอกไม้สีอ่อนและแลดูสงบเสงี่ยมอย่างดอกบัว ก็ทำให้รัศมีแลดูสงบเย็นใจ สบายตา ทั้งนี้รวมถึงอานิสงส์แห่งความหล่อความสวยของบุคคลที่ได้จากการถวายดอกไม้ด้วย บางท่านหล่อสวยแบบเท่ห์ๆ บางท่านหล่อสวยแบบสุขุมเนี้ยบๆ บางท่านหล่อสวยแบบน่ารักดูขี้เล่น ก็ได้อานิสงส์ต่างกันไปตามดอกไม้ที่ถวาย ยกเว้นแต่จะอธิษฐานกำกับตามใจปรารถนา สำหรับการถวายดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม ก็จะทำให้รัศมีมีกลิ่นหอมด้วย ถ้าถวายดอกไม้ไม่มีกลิ่นหอม ความหอมของกายมนุษย์ และกายทิพย์ หรือกายในวิชชา ก็จะมีน้อยกว่า ส่วนว่ารัศมีกับรังสีนั้นมีความสำคัญเพียงไร ก็ขอเฉลยว่า แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยังทรงมีรัศมี ซึ่งเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาและสร้างความประทับใจให้กับผู้พบเห็น สามารถสร้างศรัทธาให้ผู้คนหันมาสนใจศึกษาพระธรรม และข่มบุคคลที่ควรข่ม รวมถึงบ่งบอกถึงบุญญาธิการที่ได้สั่งสมมาว่ามากน้อยกว่ากัน (พระพุทธเจ้าทรงมีรัศมีมากน้อยไม่เท่ากัน) ไม่ว่าจะเป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายเทวดา หรือแม้แต่กายในวิชชา อย่างกายพระจักรพรรดิ และพระธรรมกาย ซึ่งผู้ที่มีรัศมีมาก และรัศมีสวย มักจะเป็นที่เคารพยำเกรงของผู้พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นสัมภเวสี ผีสาง นางไม้ ทวยเทพเทวดา และพระพรหม รวมถึงผู้ทรงวิชชาท่านต่างๆ เหมือนพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดวงดาว ที่ผู้คนต่างก็จดจำได้ดี และให้ความสำคัญตามลำดับของความสว่าง

ส่วนการบูชาพระรัตนตรัย และผู้ทรงคุณที่มีอานิสงส์เป็น “อัศจรรย์” และ “มหัศจรรย์” นั้นได้แก่การสร้าง “พระเจดีย์ดอกไม้” ขนาดต่างๆ ซึ่งปกติแล้วการสร้างพระเจดีย์ ไม่ว่าจะเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ หรือประดิษฐานพระพุทธรูป หรือวัตถุมงคลต่างๆ จะมีอานิสงส์มาก หากบุคคลสร้างพระเจดีย์ด้วยดอกไม้สด ซึ่งเคยมีในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งพระราชาทำสักการบูชาต้อนรับพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยสร้างพระเจดีย์ดอกไม้ไว้บนเส้นทางที่พระพุทธเจ้าเสด็จผ่าน ก็จะเกิดผลบุญเป็นอัศจรรย์ และมหัศจรรย์ ขึ้นอยู่กับผู้ทรงคุณที่รับการสักการบูชา ดังฉะนี้แล.


พิรจักร ทิศุธิวงศ์

31 ตุลาคม พ.ศ. 2564

www.meditation101.org

 


มีท่านถามผมประมาณว่า ต้องคำนวณบุญแบบใด บุญจึงจะส่งผลเร็ว?

ผู้ถามชี้แจงว่า ต้องคำนึงถึงความรวดเร็วในการตัดใจเพื่อทำบุญ ผมขอเสริมว่า เราสามารถทำบุญที่เกี่ยวกับ "การเร่งผล" ต่างๆ เช่นถวายปุ๋ยอินทรีย์ เร่งดอกผลของต้นไม้ ทำบุญเร่งการดำเนินการ เช่น ส่งแบบด่วน ส่งแบบ EMS ทำบุญ "ค่าเร่งงาน" เช่นจากปกติที่จ่ายเงินตามตกลงแล้วจะเสร็จภายใน 7 วัน เราก็จ่ายเพิ่มให้ แล้วขอให้เสร็จภายใน 3 วัน แล้วเราก็เอากุศลกรรมเร่งรัดเหล่านี้มาอธิษฐาน หรือคำนวณในวิชชา เพื่อให้อานิสงส์ผลบุญของเราส่งเร็วขึ้นครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

26 กันยายน พ.ศ. 2564

Meditation101.org


ส่วนละเอียดของวัตถุกับ พลังทิพย์

เครื่องราชฯ และยศชั้น ฐานะ ต่างๆ ซึ่งมีลักษณะเชิงสัญลักษณ์ อย่าง ดารา” “สายสะพาย” “ดวงตราและอื่นๆ ล้วนเป็นวัตถุมีฤทธิ์ในวิชชา ซึ่งถ้าหากผู้ทรงวิชชาได้ไป จะเป็นกำลังให้ได้ในโลกวิญญาณ ฤทธิ์ในวิชชาเหล่านี้มีบทบาทสำคัญคือ เมื่อละโลกไปแล้วฤทธิ์นั้นก็จะยังคงอยู่กับเรา บางทีต้องปะทะกับมาร เราก็มีกำลังเอาชนะพวกมันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กายในวิชชาของเรานั้นอยู่ตราบนานเท่านาน ไม่เหมือนกายมนุษย์ ผู้ทรงวิชชาจึงให้ความสำคัญกับกายในวิชชา และยศชั้นของกายในวิชชา ซึ่งมีระบบการนับถือปกครองกัน ในทำนองเดียวกันกับพระนิพพาน อรูปภพ รูปภพ และกามภพ

สำหรับวัตถุสัญลักษณ์บ่งบอกยศชั้นฐานะของหยาบต่างๆ จะมี "ส่วนละเอียด" อันเป็นทิพย์อยู่ ซึ่งเมื่อผู้ทรงวิชชาได้รับแล้ว ก็จะทำให้กายในวิชชาของท่านมีเครื่องยศเกิดขึ้น (บางอย่างต้องนำของทิพย์มาสวมใส่) ขอยกตัวอย่าง การที่มีบุคคลนำเสื้อผ้าเครื่องประดับมาไหว้นางตะเคียนตามต้นไม้ หรือมอบให้กุมารทองอย่าง ไอ้ไข่พอนำของหยาบมาบูชา นางตะเขียน หรือกุมารทอง ไอ้ไข่ก็มีของทิพย์เอาไว้สวมใส่ ทั้งนี้เป็นเพราะของหยาบมีของทิพย์สถิตอยู่ ในทำนองเดียวกัน เมื่อผู้ทรงวิชชาได้รับเครื่องราชฯ หรือเครื่องประกอบยศใดๆ กายในวิชชาของผู้ทรงวิชชา ก็จะมีเครื่องประกอบยศที่มีฤทธิ์สวมใส่ได้ 

ผู้รจนาขอยกตัวอย่างเรื่อง "น้ำ" ว่า กว่าที่จะมีน้ำในลำคลองเอาไว้ใช้ประโยชน์อาบน้ำ หุงหาอาหาร รดน้ำต้นไม้ ได้นั้น "น้ำ" ก็เป็นธาตุละเอียดที่ประชุมกันตอนจักรวาลก่อเกิดจากการประชุมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อยู่ในรูปของน้ำละเอียด คือมวลไอน้ำ และไอน้ำก็ควบรวมกันเป็นเมฆหมอก ซึ่งรวมกันเป็นก้อนเมฆ กลั่นตัวเป็นน้ำฝน รวมกันเป็นทะเล และมหาสมุทรได้ ซึ่งไอน้ำ ที่รวมกันเป็นก้อนเมฆ เมื่อเกิดการเสียดสี สามารถก่อให้เกิด ฟ้าร้อง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ที่รุนแรง และธาตุน้ำก็ผสมอยู่ในคน สัตว์ สิ่งของทุกอย่าง ทุกหนทุกแห่งภายในโลก ไม่เว้นแม้แต่กายเทวดา ก็มีธาตุน้ำละเอียดอันเป็นทิพย์อยู่ด้วย เหมือนเหรียญสิบบาท หากเรานำไปหลอม เราก็จะพบว่าในเหรียญที่เป็นโลหะนั้น มีไอน้ำอยู่ในนั้น ต่างเพียงแต่ว่ามากน้อยเพียงใด ฉันใดก็ฉันนั้น ส่วนอันเป็น ทิพย์ของวัตถุสิ่งของ รวมถึงเครื่องราชฯ และเครื่องยศ ต่างๆ ก็มีแฝงสถิตอยู่ในของหยาบ หรือใน ภพประจำของหยาบนั้นๆ ด้วยกันทั้งนั้น หรือเราอาจเปรียบ “พลังทิพย์” ในเครื่องราชฯ และเครื่องประกอบยศ ได้กับ “กัมมันตรังสี” ที่สถิตอยู่ภายในแร่ธาตุต่างๆ อย่างควอทซ์ ซึ่งพลังงานเหล่านี้เป็นพลังงานทิพย์ในโลกวิชชาที่สามารถนำมาใช้ได้.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

19 สิงหาคม พ.ศ. 2564

www.meditation101.org


ยศฐาบรรดาศักดิ์ในทางวิชชา

ยศถาบรรดาศักดิ์ต่างๆ ในเมืองมนุษย์นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมีเทวดาคอยกำกับการอยู่เบื้องหลัง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นมนุษย์ผู้ก่อตั้งยศถาบรรดาศักดิ์นั้นขึ้น แล้วละโลกไปเกิดเป็นเทวดา อำนาจของยศฐาบรรดาศักดิ์และ credential ต่างๆ ในวิชชานั้นจึง มีลักษณะคล้าย "เทวฤทธิ์" ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ "มโนมยิทธิ" ได้ และสามารถส่งผลถึงความเป็นอยู่ของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น พระมหากษัตริย์ทำพิธีบวงสรวงเทวดาเพื่อขอฝน กับคนธรรมดาสามัญทำพิธีบวงสรวงเทวดาเพื่อขอฝน พอเทวดาทราบก็นับถือพระมหากษัตริย์มากกว่า และช่วยเรียกฝนให้ เพราะเทวดาก็คือพสกนิกรที่ตายไปเกิดเป็นเทวดา หรือเป็นเทวดาบรรพบุรุษของชาติ การบวงสรวงอาจถึงขั้น มีพระอาทิตย์ทรงกลด หรือมีฝนพรำ นี้เป็นส่วนทิพย์ ที่มีผลถึงส่วนหยาบได้ แต่ในเชิงวิชชา ผู้ทรงวิชชาสามารถนำเอาอำนาจทิพย์ในยศถาบรรดาศักดิ์มาใช้ได้โดยตรง คล้ายการใช้ตำแหน่งค้ำประกัน ส่วนเครื่องราชฯ นั้น มักจะมี "เทวดา" รักษาอยู่ ยิ่งเครื่องราชฯชั้นสูง เทวดา ก็ชั้นสูงตาม มีฤทธิ์มากขึ้นที่จะช่วยเรา ซึ่งหากคนมีวิชชาที่เท่ากัน เสมอกันในทุกอย่าง คนมีวิชชาที่มีเครื่องราชฯ จะประเสริฐกว่า เพราะมี "เทวดา" รักษา และคอยช่วยอยู่ ซึ่งเทวดาเหล่านี้ก็เป็นบริวารของพระมหากษัตริย์ผู้สถาปนาเครื่องราชฯชั้นนั้นๆ ที่ไปเกิดอยู่ในสวรรค์ ซึ่งท่านคอยดูแลผู้ที่ได้รับเครื่องราชฯ ที่ท่านเป็นผู้สถาปนาขึ้น นับเป็นเวลาในสวรรค์แล้วก็เพียงไม่กี่วันตามเวลาของสวรรค์ ซึ่งพลังทิพย์ แห่งวิชชา ก็สามารถใช้สู้กับ พลังทิพย์ แห่งวิชชา ด้วยกัน เหมือนเทวดากับอสูรรบกัน ก็คือกายทิพย์ รบกับกายทิพย์ ด้วยอาวุธของทิพย์ครับ.

 

- พิรจักร ทิศุธิวงศ์

www.meditation101.org

15 สิงหาคม 2564

 

มีผู้กล่าวประมาณว่า "วิชชาเป็นของนอกพระพุทธศาสนา" มีผู้ถามว่าผมคิดเห็นอย่างไร?

คำตอบคือ "วิชชาในพระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเพียง วิชชา 3 และวิชชา 8" (สัมมาวิชชา) ซึ่งวิชชาเหล่านี้จะต้องตั้งอยู่บน "จรณะ 15" มิฉะนั้นแล้วอาจจะกลายเป็น "มิจฉาวิชชา"

ส่วนวิชชาธรรมกาย และวิชชาพระจักรพรรดิ นั้นเป็นประดุจใบไม้ในป่าประดู่ลาย มิใช่ใบไม้ในพระหัตถ์ของสมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงนำมาสั่งสอน แต่พระพุทธเจ้าพระองค์อื่นที่ทรงตรัสรู้ขึ้นในยุคเก่าๆแก่ๆดึกดำบรรพ์ยาวนานย้อนไปไกลโพ้น มีบางพระองค์ทรงตรัสรู้แจ้งวิชชามากกว่าวิชชา 3 และวิชชา 8 ครับ จึงเท่ากับว่า วิชชาเหล่านั้นยังคงเป็นวิชชาในพระพุทธศาสนา แต่เป็นพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ที่เก่าๆ แก่ๆ โบราณดึกดำบรรพ์ สาเหตุส่วนหนึ่งที่พระพุทธเจ้ามิทรงใช้วิชชาอย่างวิชชาธรรมกาย และวิชชาพระจักรพรรดิ เพราะมีที่มาที่ไป กล่าวคือ วิชชาบางอย่างใช้แล้ว หมดเปลืองบุญบารมี และวิชชาอย่างเช่นวิชชารักษาโรค อาจทำให้ติดโรคเสียเอง และ "วิชชารบ" กับหมู่มาร อาจจะทำให้กายทิพย์ของพระพุทธองค์ มีผลกระทบส่งมาถึงส่วนหยาบ คือทำให้เจ็บป่วย หรือ “ญาณดับ” ตัวอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงรู้วิชชานอกเหนือวิชชา 3 และวิชชา 8 ก็อย่างเช่น “พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า” หรือ “พระพุทธเจ้ายา” ผู้ทรงมีชื่อเสียงในการรักษาโรค เป็นอาทิ.

 

- พิรจักร ทิศุธิวงศ์

www.meditation101.org

15 สิงหาคม 2564

 

นานาสาระ: ชำระมลทินในกายสิทธิ์ด้วยน้ำมนต์

 

ท่านใดที่ชอบสะสมของกายสิทธิ์ มีคดหิน เหล็กไหล แร่ควอทซ์ หินรัตนชาติ โลหะธาตุมีค่า ต่างๆ หากได้มาใหม่ๆ กายสิทธิ์ไม่สะอาด สามารถชำระมลทินเบื้องต้นได้ด้วยการแช่ของกายสิทธิ์นั้นในน้ำพระพุทธมนต์ครับ โดยวิธีแช่นั้นอาจจะใช้น้ำมนต์ล้วนๆ แช่เต็มทั้งชิ้นของกายสิทธิ์ หรือผสมน้ำสะอาด โดยมีเคล็ดอยู่ว่าจะต้องใส่น้ำสะอาดก่อน แล้วค่อยเติมน้ำมนต์เสริมเข้าไปสมทบภายหลัง ห้ามผสมพร้อมกัน และห้ามใส่น้ำมนต์ก่อนแล้วใส่น้ำสะอาดตามหลัง ซึ่งน้ำมนต์จากแต่ละวัดก็มีพุทธคุณไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะน้ำมนต์ของสำนักผู้ทรงวิชชา หากเราทราบสายธาตุสายธรรมของแต่ละสำนัก เราก็สามารถเลือกใช้น้ำมนต์ที่เหมาะกับกายสิทธิ์ อย่างเช่น ใช้น้ำมนต์ของวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ แช่หินจุยเจีย หรือแร่ควอทซ์สีขาว น้ำมนต์ของวัดศีรษะทอง แช่กายสิทธิ์ของสีดำ เช่นไพลดำ นิลสำหรับทำเป็นพระเนตรของพระพุทธรูป เหล็กไหล ฯลฯ จะ "ถูกธาตุถูกธรรม" ซึ่งน้ำมนต์จะช่วยชำระกายสิทธิ์ได้ประมาณ 20 - 60% แต่เราอาจจะต้องจ่ายบุญธาตุเป็นค่าดำเนินการให้กับเจ้าของวิชชาน้ำมนต์นั้นครับ เมื่อเราแช่ในน้ำมนต์แล้ว หลังจากนั้นก็ค่อยนำกายสิทธิ์มากลั่นให้สะอาดด้วยญาณ ก็จะทุ่นแรงได้มากครับ

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์

5 สิงหาคม พ.ศ. 2564

www.meditation101.org


เพียโซอิเลคทริก กับพลังงานแห่งโลกวิญญาณ

พลังงานของจิตวิญญาณนั้น มีอยู่ตลอดเวลาทั้งในตัวเรา และรอบตัวเรา เพียงแต่ประสาทสัมผัสของเราไม่ไวพอที่จะรับรู้ สาเหตุเพราะเครื่องรับรู้อย่าง “ใจ” ยังไม่อยู่ในสภาวะที่มีประสิทธิภาพมากพอ เหมือนตอนที่เราตื่นอยู่ ใจของเราส่งออกนอกกายเมื่อ ได้เห็น ได้กลิ่น ได้ยิน ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสร้อนหนาว และได้นำมาคิด ทำให้ใจเราไม่สงบพอจะสัมผัสโลกวิญญาณ แต่เมื่อเรานอนหลับ จิตตกสู่ภวังค์ ไม่ออกไปรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ประสาทสัมผัสที่ 6 ก็เปิดกว้างมากขึ้นในบางโอกาส จึงฝันเห็นวิญญาณ เห็นคนที่ตายไปแล้ว เห็นผีสาง เทวดา นางไม้ เพราะภาวะจิตตกสู่ภวังค์ขณะหลับ ก็เป็นอารมณ์คล้ายสมาธิอ่อนๆ

เมื่อเราทำบุญ กายกรรม มโนกรรม วจีกรรมของเรา จะป้อนค่าเข้าสู่ “เครื่องใจภพ” ซึ่งประมวลผลตามกฎแห่งกรรม แล้วคำนวณจ่ายกระแสบุญ โดยเบิกจ่ายจากแหล่งที่เก็บส่งเข้ามาสถิตในตัวเรา มีลักษณะเป็นไฟฟ้าอ่อนๆ ที่สัมผัสรับรู้ได้น้อยขณะตื่นอยู่ คล้าย “เพียโซอิเลคทริก” (piezoelectric)  ที่อยู่ในแร่ควอทซ์ แต่เมื่อจิตเรารวมเข้าสู่ภวังค์ หรือสมาธิ เราจะสัมผัสรับรู้ได้ถึงพลังงานบุญที่มีกำลังมาก เกิดขึ้นขณะทำบุญ เพราะจิตไวต่อไฟฟ้าและสัมผัสไฟฟ้าอย่าง เพียโซอิเลคทริก ได้สมบูรณ์ โดยเฉพาะจิตที่รวมเป็นสมาธิ มีลักษณะเป็นการเปิดรับรู้ ซึ่งไวต่อสัมผัสไฟฟ้ามากขึ้น โดยที่ ประสาทสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ถูกปิดหรือแคบลงชั่วคราวขณะทำสมาธิ หรือนอนหลับ เป็นเหตุให้กิจกรรม “ชีวกลไฟฟ้า” ของร่างกายเข้าสู่ภาวะสงบระงับ ทั้งนี้ พลังงานไฟฟ้าแห่งจิตวิญญาณที่คล้าย เพียโซอิเลคทริกนั้น แม้จะตรวจวัดพบว่ามีน้อยในทางกายภาพของโลกมนุษย์ แต่ก็อาจมีกำลังมหาศาลในโลกจิตวิญญาณ คล้ายความฝันซึ่งตรวจพบเป็นเพียงคลื่นไฟฟ้าในสมอง แต่ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในฝันอาจมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นสุข หรือเป็นทุกข์

ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ที่ทำสมาธิแล้วสามารถรวม “ใจ” ให้แน่วแน่ จะสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าจากใจ เพื่อกำหนดเพียโซอิเลคทริกในแร่ต่างๆ อย่างเช่นควอทซ์ เพื่อใช้ประโยชน์อย่างการบำบัดรักษาโรค การใช้อำนาจจิต การเปิดญาณหยั่งรู้ และและการเพิ่มกำลังสมาธิ เพื่อทำกิจกรรมในโลกวิญญาณได้มากขึ้นเช่นกัน

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

27 มีนาคม 2564

www.Meditation101.org


วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

นานาสาระ เก็บตกวันมาฆบูชา

ตามที่ผมได้เคยรจนาเล่าสู่กันฟังแล้วว่า การทำบุญด้วยอัญมณี บรรจุพระเจดีย์ หรือสร้างพระอุณาโลม หรือนำทองคำไปหล่อพระ ให้เป็นสมบัติของพระพุทธศาสนานั้น เราต้องชำระทั้ง (1) ส่วนหยาบ และ (2) ส่วนละเอียด ส่วนหยาบก็คือ สภาพภายนอกต้องตัดแต่งอย่างดี เป็นเพชรพลอยน้ำงาม ไฟสวย มี clarity & purity สำหรับส่วนละเอียด ซึ่งโดยมากก็จะเป็นกายสิทธิ์และห้องที่สถิตย์ ก็ต้อง "เช็ด" หรือ "ชำระ" ด้วยผู้ทรงวิชชา อย่าง "นายมณีกร" และ "นายสุวรรณกร" ซึ่งเราก็ต้อง "จ่าย" ค่าดำเนินการให้ท่านด้วย โดยที่ส่วนใหญ่ท่านก็คิดเป็นบุญในวิชชาครับ

อย่างไรก็ตาม ผมได้เคยบอกเคล็ดลับไว้ว่า ถ้าหากไม่รู้จักนายมณีกร หรือนายสุวรรณกรที่ไหนเลย ก็สามารถนำอัญมณีและทอง ไป "แช่น้ำมนต์" ได้ครับ ดังนี้

(1) นิล หรือมณีดำ สำหรับทำเป็นพระเนตรของพระพุทธรูป ให้แช่น้ำมนต์จากวัดศีรษะทอง จ.นครปฐม

(2) เพชรขาวใส แช่น้ำมนต์ของวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

(3) มรกต และหยกสีเขียว แช่น้ำมนต์ของวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี

(4) เพชรแดง พลอยแดง ทับทิมแดง แช่น้ำมนต์ของวัดถ้ำเมืองนะ จ.เชียงใหม่

(5) ทองคำ แช่น้ำมนต์ของวัดอมรินทราราม กรุงเทพฯ

(6) ไพลิน พลอยสีน้ำเงิน แช่น้ำมนต์ของวัดสันพระเจ้าแดง จ.ลำพูน

โดยนัยนี้ จะเป็นการทำให้ "ถูกธาตุ ถูกธรรม" แล้วจะทำให้ส่วนละเอียด ที่เป็นกายสิทธิ์สะอาดสะอ้านขึ้นด้วยฤทธิ์ของน้ำมนต์ที่วิชชาตรงกับสายธาตุสายธรรม เมื่อนำไปทำบุญแล้วก็จะได้อานิสงส์มากครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา


วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

การเล่นประกาศิตนั้น ไม่ต้องกลัว "คงค้างสิทธิ์" ในกันและกัน ระหว่างประกาฯ นะครับ เราสามารถ "ตรัสคาถา" หรือ "ตรัสสิทธิ์" เพื่อสละสิทธิ์คงค้างต่อกันและกันได้ครับ อาจจะใช้สิทธิ์ไปบ้าง แต่ส่วนได้ก็มากคุ้มค่ากว่าครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา


วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

พิธีเวียนเทียน

ท่านใดที่จะเวียนเทียนวันมาฆบูชา ผมขอมอบเทคนิควิธีการคือ เมื่อจุดเทียนเวียนประทักษิณ ต้องระวังอย่าให้เทียนดับตลอดพิธีกรรมของการเวียนเทียน จะใช้โคมก็เข้าที แล้วให้ติดดวงตราประกาศิตไว้ที่โคมหรือแท่งเทียนครับ (สมัยนี้เราสามารถพิมพ์สติ๊กเกอร์ใสลวดลายตราประกาศิตไว้ใช้เป็นประจำได้) เวลาเวียนหากจะสวดมนต์เช่นบท “อิติปิโส ภควาฯ” ห้ามสวดผิดเกิน 3 ครั้ง หากกังวลสาละวนอยู่กับการจุดเทียนที่ดับ ให้ติดใหม่ ให้ใช้เทียนไฟฟ้าแบบใส่ถ่านแทนครับ ใจจะได้ปลอดกังวลรวมเป็นสมาธิขณะเวียนเทียน ถ้าถือดอกไม้กับธูปอย่าใช้แบบรีไซเคิลให้เตรียมมาเองครับ เทียนไฟฟ้ามีอานิสงส์บุญประมาณ 3 ถึง 4 ใน 5 ส่วนของเทียนเปลวไฟจริงครับ แต่ถ้าเทียนเปลวไฟดับระหว่างเวียนประทักษิณ อานิสงส์จะน้อยกว่าเทียนไฟฟ้าที่สว่างตลอดระยะเวลาเวียนประทักษิณครับ และการเวียนตอนกลางคืนหรือค่ำได้บุญมากกว่าตอนกลางวันครับยกเว้นแต่จะใช้วิชชาครับ ส่วนเนื้อนาบุญที่เราเวียนรอบนั้น ก็มีส่วนสำคัญมาก ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพระประธานตามพระอุโบสถ พระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปปางต่างๆ ซึ่งบ้างก็มีผู้ทรงวิชชาซ้อนส่วนละเอียดไว้ เป็นพระพุทธเจ้า หรือพระพุทธจักรพรรดิ ที่มีธาตุธรรมแก่อ่อนต่างกันไป บ้างก็มีเพียงเทวดารักษา ก็ให้อานิสงส์ไม่เท่ากันครับ ซึ่งปกติแล้ว ในโลกแห่งวิชชา ก็จะมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แบ่งภาค ว่าเป็นภาคขาว ภาคทอง ฯลฯ แบ่งวงศ์ เป็น มหาวงศ์ บรมวงศ์ โพธิวงศ์ ฯลฯ ซึ่งบางคณะก็ไม่ไปมาหาสู่กับใครอื่น มักจะผูกสมัครรักใคร่อยู่กับผู้นำหรือองค์ประธาน หรือหัวหน้าของคณะ แต่ถ้าจะเลือกทักขิณาแบบกลางๆ ที่ได้อานิสงส์มาก ก็เป็น “สมเด็จองค์ปฐมบรมครู” ก็เหมาะมาก เพราะส่วนใหญ่แล้ว พระองค์เป็นที่เกรงใจของทุกคณะ และเป็นปฏิภาค คือปรากฏในภาคธรรมก็มี ปรากฏในภาคจักรฯ ก็มี แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าพระพุทธรูปที่เราไปเวียนเทียนโดยรอบนั้นจะลงส่วนละเอียดมากน้อยกี่ส่วนด้วยนะครับ 


ผมเคยเสนอว่าน่าจะทำเทียนพิเศษสำหรับเวียนเทียน แบบลมพัดแล้วไม่ดับ เหมือนเทียนเค้กวันเกิดที่เป่าแล้วไม่ดับ แต่ต้องทำเล่มใหญ่หน่อยครับ 


พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา



วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ประกาศิตกับ “กาลทาน”

พรุ่งนี้เป็นวันมาฆบูชาแล้วนะครับ ท่านใดทำบุญทำทานในวันพิเศษอย่างนี้จะได้บุญเพิ่มขึ้นอีกครับ เพราะจัดเป็น "กาลทาน" ครับ สาเหตุหนึ่งที่ทำบุญในวันสำคัญและกาลทานแล้วได้บุญมากเพราะเทวาจ้าวพิธีท่านคำนวณบุญให้เป็นพิเศษครับ ส่วนเครื่องก็คำนวณนับจ่ายบุญมากขึ้นเมื่อเป็นกาลทานครับ หากจะทำบุญกับผู้ทรงวิชชา จะถือว่าเป็น “กาลทาน” หากทำในวันสำคัญของท่าน อย่างเช่นวันคล้ายวันเกิด วันบรรพชาอุปสมบท วันจบการศึกษา วันคล้ายวันละสังขาร ฯลฯ อย่างวันคล้ายวันเกิด ก็มีผู้ทรงวิชชาหลายท่าน “คำนวณรับ” หรือ “ตั้งรับ” เอาไว้ในวิชชา ใครมาทำบุญด้วย จะมีผลาอานิสงส์มาก เคล็ดลับในการทำบุญวันคล้ายวันเกิดของผู้ทรงวิชชา ให้เตรียมกระเช้าดอกไม้ไปถวาย หรือไปมอบด้วย อานิสงส์จะมาก ส่งผลให้กายภายในของผู้ถวาย มีรูปงามมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ส่วนการทำบุญด้วยแอพพลิเคชั่นโอนเงินเข้าบัญชี หรือสแกน QR code นั้นมีอานิสงส์ทำให้บุญส่งผลรวดเร็วและสะดวกครับ แต่บุญไม่แรง เพราะ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ประกอบกันขึ้นเป็นกุศลนั้นเกิดขึ้นน้อย ดวงกุศลจิตที่ผุดขึ้นเป็นดวงๆก็เกิดน้อยกว่าครับ แต่มีวิธีเสริมคือตั้ง profile picture ของเราเป็นรูปประกาศิตครับ โดยแอพพลิเคชั่นธนาคารส่วนใหญ่จะสำแดงตราประกาศิตของธนาคารเพื่อยืนยันรับโอนครับ แต่ไปทำเองด้วยตัวได้บุญมากกว่า โดยเฉพาะหากมีพิธีกรรม แต่พิธีกรรมที่เทวาท่านพอใจ ก็ไม่ถึงกับเป็นพิธีกรรมยืดเยื้อยาวนานเป็นวันๆ พิธีกรรมที่ดีต้องกระชับ น่าประทับใจ ไม่หลุดคิว เพราะเทวาท่านรีบมา รีบกลับ บางพิธีใช้เวลานานมาก เหล่าเทวาที่มาร่วมงาน ก็ทยอยกลับ พอถึงเวลาสำคัญเช่นเททองลงเบ้าหลอมหล่อพระ กลับเหลือเทวาองค์สำคัญอยู่ไม่กี่องค์ บางท่านสงสัยว่า ทำไมต้องยึดติดกับพิธีกรรม เพราะในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าก็มิได้ทรงมีพิธีรีตองอะไรมากในการทำบุญ ผมขอเฉลยว่า พระพุทธเจ้าทรงมี "พุทธประเพณี" ครับ เทวาท่านก็มีพิธีรีตองของท่าน อนึ่งพิธีกรรมมักจะมีส่วนทำให้ได้บุญมากขึ้น ได้จุดเทียน ได้สวด ได้อาราธนาศีล ใจก็สงบก่อนทำบุญ อย่าง “อสทิสทาน” ของพระนางมัลลิกา ที่ได้ชื่อว่าเป็นมหกรรมทำบุญครั้งใหญ่ ที่พุทธกาลหนึ่งมีเพียงครั้งเดียว ก็มีพิธีกรรมที่มีองค์ประกอบหลายอย่าง


สำหรับท่านใดที่ทำบุญแล้ว ถูกผู้ทรงวิชชาที่ปกครองในวิชชา “ดูดบุญ” เอาไปใช้ ก็ขอให้ลองทำบุญด้วยประกาศิต แล้วตกลงกับเทวา ให้ท่าน "สะสมยอด" เอาไว้ในภพของท่าน ซึ่งเราอาจต้องจ่ายค่าบำรุงบัญชี เสร็จแล้ว เมื่อเราพ้นจากวิชชาแล้ว เราจึงค่อยเบิกบุญมาใช้ ซึ่งบุญก็มีหลายขั้น อาจจะสะสมเพื่อขอ "สายบุญ" หรือ "เครื่องบุญ" ฯลฯ ครับ


พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา


วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ทองจริงกับทองปลอมหล่อพระ

ในกรณีที่เราทำบุญด้วยทองคำเลียนแบบ ก็เข้าข่ายปัจจัยหนึ่งในสมการ คือ Quality หรือคุณภาพของวัตถุทาน ครับ อานิสงส์ก็คือ หากเราจะได้บุญส่งผล พอเป็นเทวดา เครื่องประดับ ก็จะเป็นทอง ที่ไม่สุกปลั่ง ซึ่งเทวดาด้วยกันท่านดูออกครับ แล้วบางท่านก็รู้อีกด้วยว่าเป็นอานิสงส์จากการทำบุญด้วยทองวิทยาศาสตร์ หรือทองเลียนแบบ ส่วนวิมาน ถ้าหากเป็นทอง ก็จะไม่สุกปลั่งเช่นกัน ส่วนพานพลาสติกสีทอง และที่กรวดน้ำพลาสติกสีทอง นั้นจัดเป็น "ดิน" เพราะทำจากเม็ดพลาสติก ที่ได้จากกรรมวิธี ปิโตรเคมี ก็จะมีข้าวของเครื่องใช้ ที่เป็นสีทอง แต่ไม่สุกปลั่ง และให้ "สุข" น้อย เพราะของที่ใช้ทำบุญมี "กายสิทธิ์" สถิตย์อยู่น้อยครับ (ทองคำแท้ หรือทองคำผสม 24k, 22k, 20k, 18k, 14k, 12k, 8k ล้วนมีกายสิทธิ์จากภาคทองสถิตอยู่) แต่ถ้าให้เลือกแล้ว ก็ทำไป ยังดีกว่าไม่ทำ หรือไม่มีครับ ยกเว้นแต่กรณีที่จะเป็นโทษ คือทางวัดจะหล่อรูปเหมือนทองคำ แล้วเราเอาทองปลอมไปใส่เบ้าหลอม ทำให้ความเป็นรูปเหมือนทองคำ ไม่สมบูรณ์ เราก็จะติดวิบากกรรมครับ สำหรับท่านใดที่มีทรัพย์น้อย แต่มีศรัทธามาก ประสงค์จะทำบุญด้วยทองคำ ในร้านทองก็พอจะมีสินค้าทองคำ อย่างเม็ดตุ้มหูเกลี้ยง ที่ราคาหลักพันต้นๆ ครับ แค่นี้ก็ทำบุญได้ แต่ถ้าไม่มีจริงๆ เป็นกระยาจก หรือเป็นมหาทุคตะ ก็ลองซื้อทองคำเปลวแท้ 100% แผ่นละ 20 บาท ร่อนออกจากกระดาษแนบแล้วนำไปหย่อนเบ้าหลอมสัก 3 แผ่นครับ แต่ต้องขออนุญาตเจ้าของพิธี หรือเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าภาพประจำองค์พระที่จะหล่อก่อนนะครับ กราบเรียนท่านตามตรงว่าเรามีศรัทธามาก แต่ไม่มีทรัพย์ เจ้าพิธีบางท่านก็เมตตามากๆ ครับ หลายท่านอาจจะอาย ทำให้ไม่ได้บุญ แต่ถ้าเราใจกล้า เหมือนมหาทุคตะ มาขอบาตรจากพระพุทธเจ้า เพื่ออาราธนาไปฉันที่เพิงเรือน ก็จะได้อานิสงส์เป็น “มหัศจรรย์” หรือเหมือนพระอินทร์ ที่แปลงกายมาใส่บาตรพระมหากัสสัปปะ ที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ ก็ได้บุญมหาศาล แม้จะถูกพระมหากัสสัปปะติบ้าง อย่างไรก็ตาม ท่านใดประสงค์จะทำบุญหล่อพระด้วยทองคำ แต่ทรัพย์มีมากน้อย ไม่พอซื้อทองสลึง ทองบาท สามารถซื้อ "เม็ดลูกปัดทองคำ" ราคาเม็ดละหลักร้อย ไปร่วมหล่อได้ครับ ร้านอยู่ที่ท่าพระจันทร์ครับ ผมบอกงาน แนะนำให้ดังนี้ครับ ลองดูได้ตามเว็บลิงค์ด้านล่างนี้ครับ

https://www.facebook.com/taihengshop

ส่วนท่านใดที่มีทรัพย์มากพอ ผมขอแนะนำร้านขายเครื่องประดับทองคำ 99.99% สำหรับนำไปหล่อพระครับ

http://www.goldmaster.co.th/mobile/index.html

https://www.facebook.com/PrimaThailand/

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา


วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ธาตุในบุญ กับประกาศิต และพิธีหล่อพระ

หลายท่านอาจจะทราบอยู่แล้วว่าเวลาทำบุญด้วยธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์ควรเลือกที่มีสภาพใหม่ๆมาทำบุญ จะทำให้ได้อานิสงส์มากขึ้น และเวลาบุญส่งผล เมื่อบุญส่งผลให้ได้อะไร ก็จะได้ในสภาพใหม่และดีกว่าคนอื่น และถ้าหากหล่อพระพุทธรูป หล่อฉัตร หล่อยอดเจดีย์ หรือสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาอื่นๆ แล้วนำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกที่มีลายดวงตราประกาศิตมาหย่อนลงเบ้าหลอมโดยเอ่ยอ้างหรือตรัสคาถาด้วยก็จะได้อานิสงส์มากเป็นอัศจรรย์ครับ ส่วนผู้ที่ทำบุญด้วยทองคำแล้วยิงเลเซอร์หรือสลักลายประกาศิตของตน หรือจ้าวประกาฯ ใดไว้บนทองคำ, เงิน, นาค, หรือโลหะอื่นใด ก็จะได้อานิสงส์มากตามการคำนวณของเทวา โดยขึ้นอยู่กับขั้นของประกาศิต และคุณค่าของโลหะ (โลหะมีค่ามีกายสิทธิ์สถิตย์อยู่ ควรให้พระสุวรรณกร หรือผู้ทรงวิชชาเช็ดชำระให้สะอาดก่อน เพื่อให้ส่วนละเอียดมีความบริสุทธิ์ และส่วนหยาบก็นำไปแช่น้ำมนต์ แล้วเช็ดชำระล้างไม่มีสนิม สำหรับเหรียญโลหะธรรมดาอื่นๆ อย่าง นิคเกิ้ล นั้นห้ามมิให้นำมาหล่อโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เนื้อโลหะไม่เข้ากัน และทำให้เกิดความบกพร่องของรูปหล่อครับ) ทั้งนี้พิธีหล่อพระส่วนใหญ่ จะมีพิธีการมาก นับตั้งแต่อัญเชิญเทวดา บวงสรวง สวดเจริญพระพุทธมนต์ พรมน้ำมนต์ โปรยข้าวตอกดอกไม้ นั่งปรกปลุกเสกและอื่นๆ ซึ่งงานลักษณะนี้เทวาจะเสด็จลงมาร่วมงานด้วย บางองค์ลงมา กั้นฉัตรให้ และค้อมคำนับ เทวาอื่น หรือมนุษย์ที่เป็น เจ้าประกาฯที่มาร่วมงาน ตามลำดับ ยิ่งถ้าหากรูปเหมือนที่จะหล่อขึ้น เป็นผู้ทรงคุณมาก และเป็นผู้ทรงวิชชา อานิสงส์มาก เทวาท่านก็จะแสดงการให้เกียรติเป็นอย่างยิ่ง แต่เทวาส่วนใหญ่ท่านจะรีบมารีบกลับ ไม่ถึงกับอยู่นับแต่เริ่มกระทั่งจบ ยกเว้นเทวาที่ใกล้ภพภูมิมนุษย์ ส่วนใหญ่ก็พอเททองเสร็จ ท่านก็จะเริ่มทยอยกลับ ส่วนเครื่องบวงสรวงอย่างหัวหมู มะพร้าว กล้วย ผลไม้ เทวาชั้นสูงก็รับไว้เป็นเครื่องบูชา โดยไม่ได้เสวย ยกเว้นแต่ยักษ์ และวิญญาณที่ภพภูมิใกล้มนุษย์ จะมากินกันอย่างเอิกเกริก ส่วนเทวานั้นก่อนกลับท่านก็จะคำนวณบุญแล้วแบ่งกันกับเจ้าพิธี  ในการทำบุญด้วยประกาศิตแล้วได้อานิสงส์นั้นพึงตระหนักถึงบุญที่ได้ว่าเป็น หัวบุญหรือ หางบุญเนื่องจากบุญมี "ธาตุ" ผสมอยู่ไม่เท่ากัน บุญที่มีธาตุมากเวลานำไปใช้เช่นอธิษฐานหรือทำวิชชามักจะแรงและแน่นกว่า แต่ หางบุญก็นำมาอัดแน่นในวิชชาได้ ซึ่งเจ้าพิธี และเจ้าประกาฯ ก็จะตกลงกันว่าประสงค์จะรับเอาบุญแบบใด ส่วนเทวาท่านมักนิยมบุญแบบเบาหน่อย เพราะอัตภาพอันเป็นทิพย์ของท่านรองรับ และเหมาะกับพลังงานบุญอย่างนั้นครับ


วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เกร็ดความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสำแดงดวงตราประกาศิตบนธนบัตรในการบริจาคทำทาน

วันนี้ผมใช้ธนบัตรใบละ 100 บาท สีเหลืองทอง ในการทำบุญโดยร่วมสำแดงตราประกาศิต “ธรรมะสุริยะ” ของผมเอง ไว้บนซองพลาสติกใสบรรจุธนบัตรครับ ได้ “ศักดิ์สิทธิ์” ประมาณ 936 หน่วย ซึ่งถือว่ามากเป็นพิเศษ ทราบมาว่า เป็นเพราะดวงตราประกาศิตด้านหน้าของธนบัตรมีความ “พิเศษ” และตรงกันกับรัชสมัยปัจจุบัน โดยดวงตราประกาศิต ของพระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์ นั้นเทวา ท่านจะใส่คำว่า “ราชย์” ต่อท้ายชื่อดวงตรา เพื่อให้ทราบว่าเป็นของพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองแผ่นดิน และถ้าหากดวงตรามี “มงกุฎ” ก็จะจัดไว้ในหมวดหมู่ของ “มงกุฎ” ซึ่งมีนัยยะสำคัญกว่าดวงตราที่ไม่มีมงกุฎ แต่ประกาศิตที่สำแดงแล้วมีอานิสงส์มากควรจะตรงกันกับรัชสมัยปัจจุบัน ว่าเป็นรัชสมัยใดในศักดิ์, สิทธิ์และอำนาจของแผ่นดินนั้นๆ ครับ

 

เทวาที่ท่านดูแลเรื่องดวงตราประกาศิตนั้น มีพิธีรีตองที่ต้องเอาใจใส่ และท่านก็จัดลำดับชั้นของประกาศิต เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำผลงานให้ได้เลื่อนขั้น หรืออยู่ชั้นใหญ่กว่า หากทรงคุณมากกว่า ในสมัยปัจจุบันซึ่งเทคโนโลยีทันสมัย การออกแบบ การคัดลอก การพิมพ์ การสำแดงตราประกาศิตทำได้ง่าย ได้มาก และสะดวก อย่างดวงตราประกาศิตสีรุ้งวาวบนธนบัตรใบละ 1000 บาท ของรัชกาลก่อน ก็จัดว่าเป็นประกาศิตที่จะให้อานิสงส์มาก เพราะสวยงาม และทำได้ยาก ส่วนดวงตราประกาศิตที่พิมพ์ทองเคก็ได้อานิสงส์มากขึ้นครับ สำหรับตราพระครุฑ ซึ่งเป็นตราราชการแผ่นดิน ถ้าเป็นธนบัตรใบละ 100 บาทสีแดง อานิสงส์จะมากกว่า เพราะพระครุฑที่ประกาศไว้ให้เป็นตราราชการแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยอย่างเป็นทางการนั้นเป็นพระครุฑแดงครับ ถ้าสีตรงกัน ก็จะได้อานิสงส์มากกว่า ส่วนตราพระตรีศูร ต้องเป็นสีทอง จึงจะมีอานิสงส์มาก

 

ดวงตราประกาศิตทุกดวงที่ประกาศใช้หรือขึ้นทะเบียนแล้ว ล้วนมีผู้ดูแลรักษาครับ เหมือนมนุษย์ทั้งโลกทำบุญไม่ว่ากลางวัน หรือกลางคืน อยู่ในป่า ในเขา ในเมือง บนเครื่องบิน หรือในอุโมงค์ใต้ดิน เทวาเขาก็สามารถจดทำรายงานไว้ได้ทั้งหมด ไม่ต้องห่วงว่าเราใช้ประกาศิตแล้ว เทวาท่านจะไม่ทราบ เว้นแต่ผู้ที่เล่นประกาศิตในวิชชา ก็ต้องสำแดงประกาศิตในวิชชา และ/หรือ ตรัสคาถาประกอบกัน โดยการสำแดงตราประกาศิตในวิชชาก็คล้ายการ “เนรมิตภาพนิมิต” ตราประกาศิต ขึ้นมาระหว่างพิธีครับ

 

ส่วนเนื้อนาบุญที่เราควรทำบุญโดยสำแดงประกาศิต ก็ได้แก่สังฆทานตามวัดต่างๆครับ โดยเฉพาะวัดหรือสำนักของผู้ทรงวิชชา ให้ลองตรวจดูแต่ละแห่งว่าที่ใดมีอานิสงส์มากน้อยครับ เรื่องของประกาศิตนั้น ถ้ามีพิธีการหน่อยอานิสงส์จะเพิ่มขึ้น ถ้าหยอดตู้รับบริจาคก็ต้องดูว่าใครเฝ้าตู้อยู่ครับ ถ้าเป็นตู้หน้าพระประธานก็มีธาตุธรรมแก่อ่อนต่างกันไป ทำพิธีสักหน่อยก่อนจะหย่อนเงินลงตู้ โดยสวด “อะระหังสัมมาฯ นะโมตัสสะ 3 จบ” หย่อนเงินเสร็จแล้วก็สวด “อะระหังสัมมาฯ” ปิดท้ายครับ เป็นอันจบพิธี และถ้าหากสวดผิด หรือเกิดข้อสะดุด ต้องเดินออกนอกจุดทำบุญ หรือจุดบุญพิธี จะต้องรีบกลับมาโดยเร็ว และผิดได้ไม่เกิน 3 ครั้ง มิฉะนั้น เทวา จะหักลดอานิสงส์ลงครับ

 

ตามธรรมเนียมของผู้ทรงวิชชา และประกาศิต เมื่อสำแดงประกาศิตในการทำบุญ กระทั่งได้อานิสงส์ และบุญแล้ว จะต้องแบ่งส่วน ให้กับเทวาฯ ผู้อำนวยการ, ผู้จัดพิธี (หากมีพิธีกรรม), เจ้าภาพ (หากมีผู้อื่นร่วมบุญ), และเจ้าของประกาศิต ทั้ง "ฝ่ายส่ง" และ "ฝ่ายรับ" เช่นทำบุญแล้วได้รับใบอนุโมทนาบัตรซึ่งมีดวงตราประกาศิตของวัดพิมพ์แสดงไว้ ส่วนว่าจะแบ่งเท่าไร ก็แล้วแต่จะตกลงกันครับ จะให้ "เทวา" ท่านกำหนดให้เลยก็ได้ แต่ผู้ทรงวิชชาส่วนมาก ท่านจะขอกำหนดเองก็เป็นได้ครับ

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา


21 กุมภาพันธ์ 2564

เล่าเรื่องประกาศิตกับเครื่องธาตุเครื่องธรรม (continue)

 

ดวงตราประกาศิต หรือ “แบรนด์” ที่มีลำดับขั้นในโลกทิพย์นั้น ถือว่าเป็นสัญลักษณ์แทน quality ของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ต่างๆกันไป มีศักดิ์ศรี, เกียรติภูมิ, คุณค่า, ยศ, สิทธิ์, ศักดิ์, อำนาจ, ความเป็นที่ยอมรับนับถือ เป็นอาทิ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มักไม่ปรากฏมีอย่างเด่นชัดเป็นรูปธรรมในวัตถุทาน เมื่อเราตราประกาศิตในวัตถุทาน ก็เท่ากับเพิ่มตัวแปร (คือ factorial variable) ในการคำนวณบุญตามโปรแกรมกฎแห่งกรรม เหมือนโปรแกรมคำนวณภาษีออนไลน์ หากเราป้อนค่า input ต่างกันไป ผลจากการคำนวณก็ต่างมากน้อยกันไปครับ หรือเหมือน “ระดับขั้นของสมาชิกภาพ” องค์กร หน่วยงาน ร้านค้า ที่มีสิทธิพิเศษมากน้อยต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น สมาชิกบัตรทองของสายการบิน เมื่อเทียบกับสมาชิกขั้นแพลทตินั่ม ก็จะแลกแต้มได้ไม่เท่ากัน หรือเปรียบเทียบได้กับ “สมาชิกผู้ขายตรง” ที่แบ่งเป็นลำดับขั้น เช่น ระดับทอง ระดับเงิน ระดับทับทิม ระดับเพชร ระดับมรกต ระดับมงกุฎ ซึ่งแต่ละขั้นเปรียบได้กับขั้นของประกาศิต ที่ได้รับอัตราผลกำไรได้มากน้อยไม่เท่ากัน ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

 

ส่วนเทวาผู้คำนวณบุญอันเป็นอานิสงส์จากประกาศิตมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจ่ายบุญคือ เทวานั้นท่านสามารถแทรกแซงกระบวนการขั้นตอนเกิดบุญได้ เพราะสายธาตุสายธรรมมีลำดับขั้นตอนที่ต้องผ่านกายทิพย์ และอื่นๆ กว่าจะถึงเครื่องธาตุเครื่องธรรม อุปมาเหมือนสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สายที่ส่งผ่านเราท์เตอร์ แล้วมีการติดตั้งอุปกรณ์เร่งความแรง และขยาย bandwidth ในการกระจายสัญญาณ ให้กระจายได้ดีขึ้น และมากขึ้น และในบางกรณี เทวาผู้ทรงวิชชา ก็คำนวณจ่าย แบ่งสิทธิพิเศษ แยกต่างหาก ออกจากเครื่องธาตุเครื่องธรรมอีกด้วย อย่างในกรณีของ “ฉัตรวิชชา” ที่ประดิษฐานไว้เป็นเกียรติ แต่ผู้ทรงวิชชาสามารถนำมาใช้งานในวิชชาได้

 

สำหรับการคำนวณของเครื่องธาตุเครื่องธรรม ก็คำนวณจากจิตที่เกิดขึ้นเป็นดวงๆนับจากกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม บุญบาป ธาตุธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา ฯลฯ โดยเครื่องคำนวณเร็วมากเหมือนเราป้อนข้อความส่งผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ข้ามทวีปไปต่างประเทศ แล้วถึงผู้รับภายใน 1-2 วินาที

 

ในโลกธาตุนี้ เราทำบุญ เครื่องก็คำนวณจ่ายบุญประมวลเป็นโปรแกรมเป็นผังบุญว่าจะเกิดอะไรดีๆ เวลาทำบาป ฝ่ายบาปเขาก็ตั้งโปรแกรมของเขา เมื่อทำบุญปนบาป ก็ต่างฝ่ายต่างตั้งโปรแกรม ทีนี้มายุ่งตอนบังคับส่งผล ต่างฝ่ายต่างบังคับให้เป็นจริงตามโปรแกรมที่กำหนด ก็ขึ้นอยู่กับว่า ณ เวลานั้นๆ ระหว่างพระ (พระนิพพาน) กับมาร (มารโลก) ใครมีกำลังมากกว่ากัน ต่างฝ่ายต่างประชันฤทธิ์สู้กันด้วยวิชชา, ฤทธิ์, สิทธิ์, อำนาจ โดยมีโปรแกรมกฎแห่งกรรมที่ต่อรองยอมความ (settle) กันไว้เป็นสนธิสัญญาก่อนหน้านั้นเป็น platform โดยการประชันฤทธิ์นั้นอาจรุนแรงถึงขึ้นทำร้ายทำลายล้างกันและกันภายใน “สนามรบ” ของธาตุธรรม คือพื้นที่กลางสำหรับต่อสู้นั่นเอง.

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา


20 กุมภาพันธ์ 2564

การทำบุญด้วยธนบัตร ก็สามารถเอ่ยอ้างดวงตราประกาศิตบนธนบัตรได้ หากทำบุญด้วยอามิสสิ่งของ ที่สำแดงตราประกาศิต หรือ "แบรนด์" อยู่บนบรรจุภัณฑ์ หรือตัวสิ่งของนั้น ก็สามารถเอ่ยอ้างได้เช่นกันครับ แล้วจะมีอานิสงส์มากขึ้นครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา


19/20 กุมภาพันธ์ 2564

ท่านใดที่ชอบ หรือสนใจเล่นดวงตราประกาศิต เวลาทำบุญ จะตรัสคาถาเอ่ยอ้างประกาศิตประจำ “ธนบัตร” ที่ใช้ทำบุญได้ครับ ธนบัตรของแต่ละประเทศส่วนใหญ่มักจะมี “ดวงตราประกาศิต” อยู่ด้วยกันทั้งนั้น เช่นตราครุฑพ่าห์ของประเทศไทย และดวงตรานกอินทรีย์ของธนบัตรดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนอื่นๆ บ้างก็เป็นดวงตราประจำประเทศ ดวงตราของรัฐบาล ดวงตราประจำบุคคล หรือนอกเหนือจากนี้ ซึ่งดวงตราประกาศิตบนธนบัตรนั้น สามารถ “ให้คุณ” ได้ในส่วนของ “คุณสมบัติของทรัพย์ที่ใช้ทำทาน” ซึ่งผู้ทรงวิชชาที่กำกับการใช้ประกาศิตของมนุษย์นั้น สามารถ “คำนวณ” ให้ก่อเกิดเป็นอานิสงส์ผลบุญได้มากน้อยต่างกันไป การทำบุญแบบเอ่ยอ้างตราประกาศิตบนธนบัตรนั้น ปรากฏว่าได้อานิสงส์เพิ่มมากขึ้นไปอีกแบบ เมื่อเทียบกับธรรมดาที่ใส่ซองประทับตราประจำตัว แต่การจะอ้างประกาศิตใดๆ ก็ต้องสำแดงตรานั้นให้ปรากฏ จึงอาจไม่ใส่ซอง เหมาะสำหรับทำบุญหยอดตู้หรือยื่นส่งมอบใบธนบัตร (โดยอาจมีสลิปเล็กๆ ที่ประทับตราประกาศิตประจำตัวของเราเหน็บติดไปด้วยพร้อมระบุชื่อนามสกุล และจำนวนเงินบริจาค) แต่ที่อ้างประกาศิตแล้วได้อานิสงส์ก็เพราะผู้อ้างเป็น “จ้าวประกาฯ” บุคคลทั่วไปอาจจะได้ไม่มาก กล่าวคืออ้างประกาศิตบนธนบัตรแล้วอาจถึงขั้นได้ “ศักดิ์สิทธิ์” กับ “อัศจรรย์” ครับ สำหรับคนที่ยังไม่มีวิชชา หรือไม่ชำนาญการตรัสคาถา อาจจะกล่าวเพียงว่า “ด้วยดวงตรา... ที่สำแดงบนธนบัตรนี้ขอทำบุญ...” มีท่านสงสัยถามประมาณว่าทำอย่างไรจะสำแดงตราประกาศิตบนธนบัตรได้ โดยที่เราใช้ประกาฯเราด้วย คำตอบคือนำธนบัตรใส่ถุงพลาสติกใส แล้วติดสติ๊กเกอร์ใสตราประกาศิตของเราโดยไม่บังกัน หรือเป็นธนบัตรเปล่าๆ แนบสลิปประทับตรา ตามที่อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม โดยธรรมเนียมแล้ว เมื่อเจ้าของประกาศิต ส่งประกาฯเวลาทำบุญ ผู้รับจะต้องรับไปเก็บไว้ แต่ถ้าผู้รับส่งคืน เช่นยื่นซองเปล่า หรือสลิปคืน ให้นำซองหรือสลิปนั้นไปใส่ตู้รับบริจาคที่ตรงกับประเภทของการทำบุญครับ

 

การใช้ดวงตราของจ้าวประกาฯทำบุญ ก็ได้ปริมาณบุญมากขึ้นหลายเท่าครับ  แต่เอ่ยอ้างดวงตราบนธนบัตรแล้วได้ “ศักดิ์สิทธิ์” ซึ่งเปรียบเสมือน “หัวบุญ” ที่เข้มข้น อุปมาได้กับบุญที่ได้ทำกับผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติ ซึ่งเกิดขึ้นได้เพราะเทพผู้ทรงวิชชาผู้ดูแลเรื่องดวงตราสัญลักษณ์ท่านคำนวณให้ได้ดังนั้น ส่วนเทพผู้ทรงวิชชาเองก็ได้ “ค่ากำเน็จ” เป็นส่วนแบ่งไป การเล่นประกาศิตเล่นได้ 2 แบบ คือเล่นเป็นดวงตราที่จับต้องได้ กับเล่นในวิชชา ดวงตราควรจะพอเหมาะกับกำลังและอัธยาศัยวาสนาบารมีของเรา คะเนดูว่าจะไม่ต้องเปลี่ยนประกาฯบ่อยๆ เมื่อได้เลื่อนขั้น แต่อาจเพิ่มเสริมเติมองค์ประกอบได้ครับ ส่วนสีของประกาศฯก็สำคัญ ควรเป็นสีที่เราชอบ และถูกโฉลก ผู้ทรงวิชชาแก่กล้าอาจจะเล่นประกาฯในวิชชา เพราะงานการเกี่ยวกับการตราประกาฯ นั้นอาจเป็นธุระมากเกินไป ขณะเวลาท่านกำลังเข้าวิชชา ซึ่งบางท่านก็เข้าวิชชาตลอดทั้งวัน ทุกอิริยาบถ อนึ่ง การใช้ประกาฯนั้น ผู้ทรงวิชชาท่านอื่นๆ ที่พบเห็นดวงตราประกาศิต จะสามารถตรวจได้ ว่าประกาฯนี้เคยตราใช้ทำอะไรมาแล้วบ้าง ผู้ทรงวิชชาที่ไม่ปรารถนาจะทิ้งร่องรอยไว้ จึงอาจไม่นิยมเล่นประกาฯแบบที่จับต้องได้ หรือแบบหยาบๆ นั่นเองครับ

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา


26 มกราคม 2564

เรื่อง "ปัญญา" กับ "ศรัทธา" นั้นผมคิดอยู่นานข้ามปี จึงสรุปได้ครับ

ปัญญา มีลักษณะแห่งการแยกแยะเพื่อทำความเข้าใจ เพื่อให้ “รู้” ได้ ส่วนศรัทธา แปลตรงตัวว่า "ความเชื่อ" มีลักษณะแห่งการเข้าไป "ยึดถือ" หรือ “ยึดเหนี่ยว” แต่ "ศรัทธา" (faith) กับ "ความยึดมั่นถือมั่น" (attachment) ใช้ต่างกัน คือ ศรัทธา มี connotation เป็นบวก คือในแง่ดี เช่นศรัทธาในพระรัตนตรัย ส่วน attachment มักใช้ในทางลบ คือ negative เช่นยึดมั่นถือมั่นในรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสธรรมารมณ์ แต่ในบางคราวเราก็นำมิติของศรัทธามาอธิบายความยึดมั่นถือมั่นได้ครับ ดังนี้แล.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

 

27 มกราคม 2564

มีท่านถามผมว่า เพราะเหตุใดเครื่องประดับของกายพระจักรพรรดิจึงหนักเวลาสวมใส่ ต่างจากเครื่องประดับของเทวดา ที่เทวดารู้สึกเบาสบาย แนบเนื้อ และไม่หนักอะไร?

ผมตอบว่า เครื่องประดับโดยเฉพาะอัญมณีสีแสงต่างๆนั้น มี "วิชชา" สถิตย์อยู่ อุปมาได้กับ "รังสี" ซึ่งหนักเบาไม่เท่ากัน การที่กายพระจักรพรรดิ ทรงเครื่องประดับที่มีวิชชาสถิตย์อยู่ ก็เป็นเสมือน รังสีหนึ่ง (อันเป็นทิพย์) ที่รับน้ำหนัก รังสีอื่นๆ ซึ่งมีความหนักเบารวมกันอยู่ ยิ่งมีเครื่องประดับมาก รังสีหนักเบาก็มาก ถ้าเป็นกายมนุษย์อาจไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้าเป็นกายใน  จะรู้สึกได้มากกว่าครับ ส่วนเทวดา มีเครื่องประดับ แต่เครื่องประดับไม่มีวิชชา เป็นเสมือนโฮโลแกรมซึ่งบางเบาและโปร่งแสงครับ

พิรจักร

 

เพราะเหตุใดพระพุทธรูปของพระพุทธจักรฯจึงทรงเครื่องประดับมากน้อยต่างกันไป?

     ผมขอรวบรวมคำตอบมาจากผู้ทรงคุณวุฒินะครับคือ

     1) พระพุทธรูปที่หล่อขึ้น บางทีช่างปั้นลดรายละเอียดเพื่อให้ปั้นและหล่อง่าย

     2) พระพุทธจักรฯที่หล่อออกมาแล้วทรงเครื่องประดับมาก บางทีเป็นการท้าทาย

     3) ขึ้นอยู่กับวาระโอกาส เช่น "ออกศึก" หรือ "ออกงาน"

     4) เจ้าของกาย ไม่ประสงค์จะเปิดเผยมากเกินไป จึงให้นายช่างปั้นและหล่อออกมาแต่พอควร และไม่ให้เหมือนในวิชชาทั้งหมด เพราะอาจจะตามเจอครับ

     5) กายในวิชชามีเครื่องประดับมาก แต่ไม่ประสงค์จะแสดงให้เห็นในรูปหล่อ

     6) กายในวิชชามีความพึงพอใจในการแต่งอย่างนั้น คือลำลอง ดังนี้

     โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ

      www. meditation101. org


นานาสาระสวัสดียามบ่ายครับ

มีเสียงชื่นชมกันมา เกี่ยวกับเนื้อหานานาสาระ เรื่องล่าสุด ก็เป็นเรื่องประกาศิต บางท่านก็สงสัยว่าจะเป็นจริงหรือ? ซึ่งผมก็แนะนำไปว่า ให้ลองใช้วิชชาคำนวณอานิสงส์แต่ละแห่งดู ว่าที่ไหนได้มากน้อยเท่าใด บางสำนักท่านมีวิชชา บางสำนักไม่มีวิชชา แต่ต่างก็มี "ทีเด็ด" ของตน บางสำนักที่ไม่มีวิชชาแต่ "ทรงฌาน" แก่ๆๆ ก็อานิสงส์แรง บางสำนักมี "ประกาศิตรับ-ส่ง" ก็ดีไปอีกแบบ หรือท่านใดพอจะมีเวลาช่วยออกแบบ Vijja-Application หรือ "แอพพลิเคชั่นวิชชา" มีลักษณะคล้ายๆ วิไล แล้วประมวล องค์แห่งทาน คือ เจตนา, ผู้รับ, ผู้ให้, ทานวัตถุ, และอื่นๆ แล้วประมวลผลแสดงผลเป็นวิไล คล้ายเป้าของลูกดอกที่เป็นวงๆ มีตัวเลขกำกับ หรือแสดงผลแบบอื่นๆ ว่า input แบบนี้ output จะเป็นอย่างไร ทำแล้วแจกกันใช้ ให้ไปตรวจกันเองครับ ว่าจะได้ธาตุได้ธรรมเพียงใด

อย่างไรก็ตาม การทำทานบางครั้งเราก็ไม่ได้มุ่งแค่อานิสงส์ ว่าจะได้เงินกลับมาเท่านั้นเท่านี้ บางทีเราทำเพื่อเพิ่มพูนคุณธรรมให้กับตนเอง และสละกิเลสครับ ^ _ ^


พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

www.meditation101.org

 

นานาสาระ: เรื่องทำบุญพร้อมสำแดงประกาศิต

 

ประกาศิตนั้น จะว่าภาษามนุษย์ง่ายๆ ก็คือ ดวงตราสัญลักษณ์ หรือโลโก้ ซึ่งประกาศิตจัดเป็น "แบรนด์" ที่มีสิทธิ์ มีศักดิ์ มีอำนาจ ตามบทบัญญัติ และมีชื่อเสียง การยอมรับ นับถือกันในสังคมมนุษย์และเหล่าเทพเทวา เช่นตราประทับราชการ ตราประทับบริษัท หน่วยงาน องค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน การ "เล่นประกาฯ" โดยสำแดงประกาศิตอยู่เสมอๆ ในการทำบุญ และ "เดินงาน" เช่นปักลวดลายประกาศิต ไว้บนตาลปัตร พัดรอง หรือย่าม สำหรับถวายพระที่มาร่วมพิธี หรือทำธงประดับงาน มีส่วนช่วย เพิ่มอานิสงส์แห่งบุญอันพึงได้ จากสมการแห่งทานคือ

บุญที่ได้ = วัตถุบริสุทธิ์ x เจตนาบริสุทธิ์ x ผู้ให้บริสุทธิ์ x ผู้รับบริสุทธิ์

 

ประกาศิตที่มีลำดับชั้น เปรียบเสมือนเครื่องรับประกันคุณภาพ อาทิเช่น ความบริสุทธิ์ของเจ้าของประกาฯ คือผู้ให้ และวัตถุทาน และเพิ่มความสวยงาม, ความน่าประทับใจ, การให้ความสำคัญ, เกียรติภูมิ, ความน่ายินดี เหมือนอย่างดวงตราโลโก้ของนาฬิกาโรเลกซ์ หรือรถเบนซ์ หรือเสื้อตราโปโล หรือลาคอสท์ ที่ทำให้ผู้ใช้ หรือผู้ได้รับ รู้สึกถึงฐานะอันเลิศที่ “ทรงคุณค่า” “ภูมิฐาน” และน่า “ภาคภูมิใจ” ในวัตถุที่มีตราประกาศิตสำแดงอยู่

 

ในกรณีที่ประกาศิตเป็นประกาฯชั้นสูง ผู้รับพึงมียินดี ที่ได้รับวัตถุทานที่มีประกาศิต ส่วนเจตนา ก็มีเจตนาอันดี และแรงกล้ามากขึ้น เมื่อผู้ถวายทานใส่ใจในการสำแดงประกาศิต พร้อมทั้งได้ "อานิสงส์แห่งประกาศิต" คือสิทธิพิเศษต่างๆ ที่จะได้ เมื่อได้รับประกาศิต เช่นเดียวกับการที่พระสงฆ์รับผ้ากฐิน แล้วได้อานิสงส์ต่างๆ ตามพุทธบัญญัติ และด้วยเหตุผลทางวิชชาอื่นๆ ซึ่ง “เครื่องธาตุเครื่องธรรม” ก็จะนำ input ต่างๆ เหล่านี้ ประกอบเข้าด้วยกันโดยคำนึงถึงดวงจิตที่เกิดดับทั้งหมดในกระบวนการ ที่เกิดจาก กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ทั้งก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำบุญ เพื่อคำนวณจ่ายบุญและตั้งโปรแกรมเป็นแผนผังแห่งผลกรรมว่าจะส่งผลในอนาคตเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ด้วยเหตุนี้ การทำบุญพร้อมสำแดงประกาศิต จึงมีอานิสงส์มากกว่าปกติธรรมดา ในทำนองเดียวกัน การสำแดงประกาศิตเพื่อใช้ในทางผิดศีลผิดธรรม ในทางมิชอบ อย่างเช่นสุราแบรนด์ต่างประเทศที่มีชื่อเสียง ก็จะได้บาปมากขึ้นเป็นพิเศษ ดังนี้.

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

14 พฤศจิกายน 2563

www.meditation101.org


ทรัพย์สมบัติในวิชชา ภาค 2

ทรัพย์ในวิชชา ไม่ว่าจะเป็นสายสมบัติ กองสมบัติ แก้ว แหวน เงิน ทอง เพชร นิล จินดา ที่เห็นในวิชชา ให้แปลงเป็นเงินบาทในยุคปัจจุบัน ณ วันที่นั้น วันที่นี้ หรือเป็นเงินสกุลอื่นๆ หรือทองคำกี่เปอร์เซ็นต์ ตามน้ำหนัก หรือที่ดิน ทรัพย์สินศฤงคาร โดยอาจดู "วิไล" เพื่อวัดดูว่า ทรัพย์ในวิชชา จะมีค่าเท่าไรในเมืองมนุษย์ แล้วถ้าเร่งอานิสงส์ให้เร็วให้ช้า จะต้องใช้บุญอีกมากน้อยเพียงใด จะเหลือเท่าใด วาระในการส่งผล จะเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายเดือน รายปี ต่อภพ ต่อชาติ อย่างไร ถัวเฉลี่ยเท่าไร นับจากชาติปัจจุบัน ถึงภพชาติสุดท้าย แล้วจะเป็น มนุษยสมบัติ, สวรรค์สมบัติ, พรหมสมบัติ, นิพพานสมบัติ เท่าใด จะได้สมบัติง่ายยาก ได้ด้วยวิธีอะไรจึงจะตรงกับกรรมที่ทำไว้ แล้วได้มาก ได้น้อย อย่างไรหยาบกับละเอียดจึงจะตรงกันได้? บุญได้ธาตุได้ธรรมเท่าใด เงินที่ทำบุญกับเงินที่จะได้เป็นอานิสงส์คิดเป็นร้อยละเท่าใด? ดังนี้.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

13 พฤศจิกายน 2563


มรรค คือเครื่องถอนกิเลสสังโยชน์

เมื่อถอนแล้ว จึงเป็น "นิโรธ" คือดับทุกข์จากกิเลส

นิโรธสมาบัติ คือดับธรรมอันสะอาดน้อย ไปสะอาดกว่า

ดับธรรมอันสุขุมน้อย ไปสุขุมกว่า

ดับธรรมอันประณีตน้อย ไปประณีตกว่า ดังนี้.

- พิรจักร


นานาสาระ ว่าด้วยเรื่องวิชชากับสมบัติ

สมบัติในวิชชาก็เหมือนบุญจากการนั่งสมาธิ ซึ่งถ้าประกอบเหตุหยาบแล้วละเอียดตรงกัน จึงจะเกิดทรัพย์อัศจรรย์ตามที่เห็นในวิชชาได้

คนบางพวกทำบุญมากแล้วรอคอยบุญส่งผลให้รวยโดยไม่ขวนขวายเท่าที่ควร แต่บางคนจะรวยได้ก็ต้องขวนขวายมาก เพราะตอนทำบุญนั้นผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญต้องเหนื่อยขวนขวายมากในการรับทาน ดังนั้นบุญจะส่งผลให้รวยได้ หยาบละเอียดตรงกัน ก็ต้องขวนขวายมากในการทำมาหากิน ฉะนี้.

ทำทานมีอานิสงส์มาก หากทำแล้วธาตุเพิ่มมาก และธรรมเพิ่มพูน

การอธิษฐานมีสองแบบ คืออธิษฐานมุ่งโลกุตระ (ทางธรรม) กับมุ่งโลกียะ (ทางโลก) การอธิษฐานนั้นคล้ายการตั้งผังในวิชชาหรือเซ็ตโปรแกรมอนาคต ต้องใช้บุญในการตั้งผัง แต่ถ้าอธิษฐานโลกุตระ จิตเป็นกุศลก็ได้บุญตามที่ “เครื่องธาตุเครื่องธรรม” คำนวณ “มโนกรรม” แล้วจ่ายบุญให้ ต่างจากโลกียะซึ่งมักไม่ได้บุญเพิ่ม แต่ต้องเสียบุญไปกับการกำหนดอนาคต

บางคนจะรวยได้ก็ต้องทุ่มเทความคิดสติปัญญาแรงกายแรงใจในการทำมาหากินให้มากเหมือนกับที่ผู้รับทานทำตอนขอรับบริจาค เช่นงานทอดกฐินสามัคคีประจำปี ทางวัดต้องเกณฑ์พระภิกษุสามเณรมาจัดงาน ติดผ้าระบาย เตรียมโต๊ะ เก้าอี้ เตรียมอาหารเลี้ยง เช็ดล้าง ทำความสะอาดสถานที่จัดงาน กางเต็นท์ และอื่นๆ ต้องเหน็ดเหนื่อยเตรียมงานกันหลายวัน เพื่อต้อนรับเจ้าภาพมาถวายผ้ากฐิน และปัจจัยซึ่งเป็นบริวารกฐิน ด้วยกรรมนี้ เจ้าภาพอาจจะต้องเหน็ดเหนื่อยทำมาหากิน กว่าจะได้ทรัพย์ อันเป็นอานิสงส์แห่งการทำบุญ แต่ครั้นจะได้ ก็จะได้มากเป็นพิเศษเฉพาะกาล

ในสมัยพุทธกาลมีบางคนได้สมบัติอัศจรรย์เพราะพระพุทธเจ้าท่านเสริมเปิดโลกให้เหมือนตอนแสดงยมกปาฏิหาริย์ ซึ่งเท่าที่สังเกตจากเรื่องราวในพระไตรปิฎก ทายกทายิกาก็มิได้อธิษฐานขออะไรมากๆ

บางคนทำบุญมาก ประสงค์จะได้สมบัติจักรพรรดิ คำอธิษฐานนี้ต้องใช้บุญมากและยังอธิษฐานใหญ่ๆอีกหลายอย่าง บุญจึงหมดเปลืองไป ชีวิตในปัจจุบันก็ตกต่ำยากจนลง เพราะเอาบุญเก่าบุญใหม่ไปตั้งผังตามคำอธิษฐานโครงการชีวิตใหญ่ๆ เหมือนคนมีเงินสามร้อยบาทอยากจะกินบุฟเฟ่ต์ชาบู แต่หาเงินได้วันละ 50 บาท ก็ต้องรอหกวันจึงได้กิน ระหว่างนั้นก็อดอยากไม่มีอะไรกิน

คนมีวิชชา เห็นสมบัติในวิชชา ให้ลองใช้วิไลตรวจดูในวิชชาว่า กรรม และ/หรือ อานิสงส์ และ/หรือ สมบัติ และ/หรือ วิชชาจะ “เป็น” จะ “ไป” มากน้อยเพียงใดในโลกมนุษย์ หรือในแต่ละภพภูมิ โดยดูวิไลเหมือนดูเป้าลูกดอกที่เป็นวงๆ หรืออื่นๆ ครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

12 พฤศจิกายน 2563


มีท่านแนะนำมาว่า สภาพอันเป็นว่าง ได้เกิดมีเป็นไปได้ก็เพราะ “สภาวะว่างมาก และสภาวะว่างน้อย” นั้นชนกัน ซึ่งผมสรุปได้ว่า “เวลา” ที่เสียดสีกัน หรือ “สภาวะว่างมาก และสภาวะว่างน้อย” ที่ชนกันนั้น ทำให้เกิด “มิติ” ซึ่งท่านผู้แนะนำได้เสริมว่า เป็นการ “บิดสภาพ” ทำให้มิติ “เปิดอ้าออกมา” ดังนี้.

เวลา กับ เวลา เหลื่อมกัน ทำให้เกิด “เร็ว” เกิด “ช้า”

“ว่างมาก” กับ “ว่างน้อย” เหลื่อมกัน ทำให้เกิด “ไม่ว่าง”

ผมก็พยายามจะหาอุปมาอุปไมยว่า "ว่าง" ที่มีตอนแรกเริ่ม จากที่ไม่มีอะไร กลายมาเป็น "มี" ได้อย่างไร มีท่านแนะนำมาว่า "ว่างมาก" "ว่างน้อย" ที่ชนหรือเหลื่อมกันนั้น เหมือนกับ "สุญญตา" ชนกับ "สุญญตา" ด้วยกัน หรือ "อรูปฌาน" ของคนหนึ่ง "ชน" เข้ากับ "อรูปฌาน" ของอีกคนหนึ่ง ซึ่งสภาวการณ์ที่เกิด "ชน" กันของอรูปฌานนั้น คล้ายกับตอน "ว่าง" เหลื่อมกัน แล้วทำให้เกิดบิดรูปมิติ เผยอขึ้น และกลายเป็น  the conditioned ครับ


พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา


มีท่านสงสัยถามผมประมาณว่า ในเมื่อยุคก่อนกำเนิดจะมีอะไรอะไรทั้งปวงทั้งสิ้นนั้นเป็น "ว่าง" แล้วจากว่างที่ไม่มีอะไรเลย มันจะเกิดความมีความเป็นได้อย่างไร?

คำตอบคือ ให้ลองนึกถึง "เวลา" ที่เสียดสีกัน ยกตัวอย่างเช่น เวลาของภพดาวดึงส์ กับเวลาของโลกมนุษย์ เมื่อมีการเดินทางจากภพดาวดึงส์ มาเมืองมนุษย์ "เวลา" ที่คาบเกี่ยวก็กอปรเป็น "ทิพยสภาวะ" หนึ่งขึ้น ผมอุปมาความว่างในยุคก่อนกำเนิดว่าเป็นประดุจมิติของ "เวลา" อันไม่มีตัว ไม่มีตน แต่สามารถกอปรเป็นสภาวะสภาพหนึ่งขึ้นมาได้ และเมื่อผ่านไปเนิ่นนาน ก็ทำให้เกิดตัวเกิดตน มีเป็น มีไป ขึ้นมาครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา


มีท่านสงสัยถามผมว่า นิโรธไปสุดที่ใด?

คำตอบคือ สุดของนิโรธคือ "ว่าง" ครับ แต่ก็ไกลมากๆๆ ทีเดียว เลยพระนิพพานในพระนิพพาน พระนิพพานของพระพุทธเจ้าพระองค์เก่าๆ แก่ๆ เลยพระต้นธาตุต้นธรรม ไปเรื่อยๆ ครับ

 

สุดของนิโรธนั้นเป็น "ว่าง" แต่ว่างนั้นจะเป็นสุญญตาหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า "ไม่" ครับ เพราะยังมีบางอย่างอยู่ที่นั่น เหมือนเราขึ้นบันไดเลื่อน ไปกระทั่งถึงสุดทาง พบห้องว่างๆ แต่มันมีเชิงบันไดเลื่อน ก็เลยสรุปไม่ได้ว่าเป็นสุญญตาน่ะครับ แต่สุญญตาจริงๆ แล้ว มันก็ต้องมี "อารมณ์กำหนดว่าง" ซึ่งอารมณ์นั้นจะมีขอบเขตอันว่างเปล่าไปที่ใด ก็วัดกันได้ เช่นว่างตลอดจักรวาล ว่างตลอดอนันตจักรวาล และพอสุดอารมณ์แล้ว มันก็มีขอบเขตอยู่เท่านั้น เหมือนแผ่เมตตา ว่าจิตจะขยายออกไปได้เพียงไร ซึ่งอารมณ์สุญญตาที่กำหนดได้ ก็ใช้ว่าจะคงอยู่ตลอดเวลาในขณะเป็นมนุษย์ แต่ถ้าเป็นอรูปพรหม หรือพรหมลูกฟัก ก็จะเป็นได้ตลอดอายุขัย ส่วนสภาวะก่อนเกิดมีอะไรทั้งหมดทั้งสิ้น จะกล่าวว่าเป็น “สุญญตา” ก็ได้ เพียงแต่ไม่มีอะไร และไม่มีใครมากำหนดอารมณ์ว่าว่างอย่างสุญญตา เพราะแม้แต่ “วิญญาณขันธ์” ก็ไม่มีอยู่เพื่อรับรู้ความว่างเปล่านั้น

มีท่านถามว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจะเข้านิโรธไปทำไม?

คำตอบคือ เหมือนต้นน้ำลำธาร น้ำไหลมาจากซอกเขา ก่อเกิดเป็นลำธารเล็กๆ ไหลลงมาตามไหล่เขา กระทั่งถึงฝายเก็บน้ำ ต่อไปเรื่อยจนเป็นแม่น้ำ เราจะใช้น้ำ เราก็ไปแค่ที่ฝาย ไม่จำเป็นต้องไปถึงซอกเขาครับ นิโรธเข้าไปแล้ว ก็ไปแช่อิ่มอยู่ที่ฝายน้ำ ตักน้ำ ตวงน้ำมาใช้ได้ตามใจชอบครับ


พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

10 พฤศจิกายน 2563


สุญญตา หรือ nothingness เป็นสภาวะของใจที่ว่างเปล่า เห็นสรรพสิ่งสรรพสัตว์ราวกับว่าไม่มีแก่นสาร ในขณะที่กายตัวตนก็ยังมีอยู่และเป็นไปตามกฎอนุรักษ์มวลสารและพลังงาน ถ้าใจเราฝักใฝ่อยู่ในสุญญตามีอารมณ์เป็นอรูปฌาน ก็จะไปเกิดเป็นอรูปพรหม ส่วน "อนัตตา" เป็นสภาวะทางกายภาพและสภาวะธรรมซึ่งไม่ใช่ตัวตนอันแท้จริง (non-self) ไม่ใช่ original อันเป็น true-self ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า Buddhahood and Buddhist Sainthood เป็น true self, more or less.

 

คำถาม การที่เรานำใจไปเหนี่ยวไว้กับ "สุญญตา" หากพัฒนากลายเป็นอรูปฌาน ก็จะเป็นผลให้ไปเกิดเป็น "อรูปพรหม" ดังนี้แล้ว เราควรยังใจให้เป็นเยี่ยงไร?

คำตอบ ลองตรองดูถึงการปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทบทวนฌานขั้นต่างๆ เข้าออก กระทั่งแก่รอบ แล้วทรงดับขันธปรินิพพานในระหว่างฌานที่ 4 กับฌานที่ 5 กล่าวคือ พระพุทธเจ้าก็มิได้ทรงเข้าอรูปฌาน หรือยึดฌานใดฌานหนึ่งเป็นอารมณ์ รวมถึงสุญญตา

ตามทฤษฎีธรรมะเศรษฐศาสตร์

บรรลุธรรม = มรรคสมังคี x บุญบารมีถึงพร้อม x ดำริชอบว่าจะละสังโยชน์

เราจะเห็นได้ว่า การทรงอารมณ์ในสมาธิ จัดเป็น 1 ในมรรคสมังคี คือ ความเพียรชอบ (balanced effort) สติชอบ (consistent mindfulness) สมาธิชอบ (right focus or concentration) ซึ่งไม่จำกัดว่าจะต้องอยู่ในฌานขั้นใด เราสามารถบรรลุธรรมได้ด้วยฌานทุกขั้น ตั้งแต่ฌาน 1 ถึง ฌาน 8 หาก ฌานนั้น ประกอบกับมโนธรรมแห่ง ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วเกิดมรรคสมังคีได้ โดยแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลตามวาสนาบารมีที่สั่งสมมา ซึ่งในการปฏิบัติตามหนทางสายกลาง ใช้คำว่า "มัชเฌนธรรม" คือใจเป็นกลางๆ สมดุลใน ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเอื้อต่อการเข้าสู่หนทางสายกลาง และกอปรเป็นมรรคสมังคี เมื่อมรรคสมังคีแล้ว ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่ง หากมีบุญบารมีถึงพร้อม และดำริชอบว่าจะละสังโยชน์ หรือฝักใฝ่มรรคผล (ไม่ใช่พระโพธิสัตว์ที่ปรารถนาพุทธภูมิ) ก็จะบรรลุมรรคผลได้ ดังนี้.

 

อรูปฌานสามารถยังให้เกิดมรรคสมังคี แล้วบรรลุมรรคผลได้ครับ แต่เปอร์เซ็นต์เกิดมรรคสมังคี น่าจะน้อยกว่าฌานขั้นอื่นๆ เพราะอรูปฌานนั้น "เบา" เกินไป ในสัดส่วนของ ความเพียรชอบ, สติชอบ, และสมาธิชอบ กล่าวคือ ความเพียรชอบมี สติชอบมี แต่สมาธิชอบจะอ่อนหน่อย เพราะไม่กำหนดอะไรเลย แต่เป็น "ว่าง"

ผมเห็นว่า สาเหตุที่มีอรูปฌาน ก็เพราะเป็น "องค์คุณหนึ่ง ในบรรดาฌานทั้งหมด" ซึ่งในขณะที่พระพุทธเจ้าจะทรงปรินิพพาน ก็ทรงทบทวนฌาน 1 ถึง ฌาน 8 ไม่เว้นแม้แต่อรูปฌาน เพื่อให้จิตควรแก่การงาน แล้วทรงละไปในรอยต่อของฌานที่ 4 กับฌานที่ 5 ครับ

สาเหตุที่พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องสุญญตา ก็เพราะเป็นส่วนหนึ่งของ 84,000 พระธรรมขันธ์ ที่ต้องทรงสอนตามพุทธประเพณี เพื่อให้พระธรรมครบถ้วน และทั่วถึง พระสาวกจึงรู้ได้ว่าสิ่งใดใช่ สิ่งใดไม่ใช่ สิ่งใดใช่ว่าใช่ และไม่ใช่ว่าไม่ใช่ ครับ

วิชชาธรรมกายก็มี "อรูปฌาน" ครับ คือเมื่อเข้าถึงพระธรรมกายแล้ว ก็ให้พระธรรมกายนั้นกำหนดจิตไปใน "ว่าง" กลางแผ่นฌานที่ประทับนั่งอยู่ ดังนี้แล้ว พระธรรมกายจะมีอรูปฌานเป็นอารมณ์ครับ

กายอรูปพรหม และกายธรรม สามารถเข้าอรูปฌานได้ ก็เหมือนที่กายมนุษย์นั่งเข้าอรูปฌาน เป็นกายมนุษย์ที่มีอรูปฌานเป็นอารมณ์ ฉันใดก็ฉันนั้น กายอรูปพรหม มีอรูปฌานเป็นอารมณ์ปกติ ส่วนกายธรรม มีอรูปฌานเป็นอารมณ์ได้ตามปรารถนา จะถอน จะถอย จะเลื่อนไปฌานอื่นก็ได้ครับ

พระพุทธเจ้าทรงดับขันธ์ไปในระหว่างฌาน 4 กับฌาน 5 ด้วยอารมณ์อันเป็น "นิโรธ" ไม่ติดอยู่ในฌานใดซึ่งนิโรธเป็นอารมณ์ของพระนิพพานครับ

อารมณ์ในพระนิพพานของพระพุทธเจ้า, พระอรหันต์เป็นนิโรธที่เครื่องนิโรธปรุงหล่อเลี้ยง เหมือนนิพพานเป็นในตัว (สภาวะจิตที่นิพพานในขณะยังมีชีวิตอยู่)

อารมณ์นิโรธในอายตนนิพพานคือ "ดับ" อันที่จริงผมไม่อยากใช้คำว่า "อารมณ์" เพราะในอันที่จริงนิโรธไม่เข้าข่ายเป็นอารมณ์ แต่เป็นสภาวธรรมเดิมแท้ เมื่อปราศจากการปรุงแต่งใดๆ ทั้งสิ้น นิโรธที่หล่อเลี้ยงพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ในพระนิพพาน ก็คล้ายกับการเข้านิโรธสมาบัติของกายมนุษย์ขณะยังมีชีวิต คือใจหยุดเป็นจุดเดียวแน่นละเอียดลึกเข้าไปเรื่อยๆ เครื่องนิโรธก็ทำหน้าที่คล้ายการ "คุมธรรม" ของครูวิชชา คือดึงใจของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ให้หยุดเป็นจุดเดียวแน่นละเอียดลึกเข้าไป ไม่เป็นอื่น แต่พระนิพพานที่เป็นปราสาทราชวัง ก็จะต่างกันออกไป อารมณ์ในนิโรธจะอ่อนกว่า อุปมาเหมือนพระพุทธเจ้าขณะยังทรงมีชีวิต ทรงเข้านิโรธตลอดเวลา ทรงทำกิจต่างๆได้ ใช่ว่าจะอยู่ในท่านั่งสมาธิอย่างเดียว ต่างแต่ว่า ละเอียดมากน้อย โดยเครื่องนิโรธเลี้ยง "วิมุตติสุข" ครับ

ในตัวมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็มี “เครื่องนิโรธ” แต่จะชักจูงดึงจิตเข้าสู่สภาวธรรมอันเป็นนิโรธได้ ก็ต้องเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหันต์ สาเหตุเพราะ “กิเลสสังโยชน์ไม่มี (พระอรหันต์) หรือมีน้อย (พระอนาคามี)” อุปมาเหมือนเครื่องปั๊มน้ำ สูบน้ำเข้ามาใช้ ถ้ากิเลสสังโยชน์หยาบยังมาก ก็เหมือนท่อน้ำมีตะกรันมาก น้ำไม่สามารถไหลผ่านได้โดยสะดวก เมื่อละสังโยชน์แล้ว ท่อสะอาด จิตก็ดำเนินในหนทางสายกลาง จากอารมณ์หยาบ เข้าสู่อารมณ์ละเอียด ควรแก่การงาน กระทั่งเป็น “นิโรธสมาบัติ” ได้ฉันนั้น

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

10 พฤศจิกายน 2563


ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ ล้วนมีเทพรักษา

ทำบังสุกุลเผาชื่อผู้ตายในกระดาษ ให้บอก “ฝากพระเพลิง” ด้วย

กรวดน้ำ หยาดลงดิน ให้บอก “ฝากพระธรณี”

ลอยกระทง, กรวดน้ำ หยาดลงแม่น้ำลำธาร ให้บอก “ฝากพระคงคา”

จุดธูปอธิษฐาน ปักกลางแจ้ง ให้บอก “ฝากพระพาย”

เทพประจำดิน น้ำ ลม ไฟ ท่านรับทราบแล้ว จะนำความปรารถนาของเราไปส่งถึงจุดหมาย โดยมี “ค่าฝาก”

-        พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา


การเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดในญาณ

 

มีท่านส่งข้อความมาถามผมว่าการเห็นพระพุทธเจ้ารูปลักษณ์กายมนุษย์อันเป็นทิพย์มาพบในญาณ เป็นนิมิตลวงหรือไม่ ผมตอบว่าพระพุทธเจ้าที่เห็นเป็นพระพุทธเจ้าภาคสัมโภคกาย ตามคำสอนเรื่องตรีกายของทางมหายาน คือพระพุทธเจ้าที่ออกโปรดพระโพธิสัตว์และพระสาวกคล้ายกับพระอมิตตาภะพุทธเจ้าจากแดนสุขาวดี เรื่องนี้เคยมีในสมัยที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาเยี่ยมในญาณพร้อมพระสาวก นั้นเป็นสัมโภคกายครับ กล่าวคือพระธรรมกายแก้วใสของพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระนิพพานแล้วทรงปาฏิหาริย์สัมโภคกายออกมาทำกิจในภพภูมิต่างๆ ดังนี้ครับ

 

มีท่านถามผมประมาณว่าแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าพระพุทธเจ้าที่เห็นในญาณนั้นเป็นองค์จริงมาโปรดหรือเป็นนิมิต
คำตอบคือในเบื้องต้นให้ดูว่าญาณทัสนะเป็นญาณแจ้งโลกหรือไม่และเป็นญาณของพระอรหันต์ พระอริยบุคคล เป็นโลกียะ หรือโลกุตระ ว่ามีกิเลสเจือปนหรือไม่ เพราะพระอรหันต์ไม่มีว่าเห็นผิด มีแต่ว่าเห็นได้มากได้น้อยตามแต่กำลังจะบำเพ็ญมาครับ ส่วนการจะดูว่าเป็นพระอรหันต์แล้วหรือยัง หรือว่าเป็นการสำคัญผิด ให้ตรวจดูว่าในใจยังมีกิเลสสังโยชน์เหลืออยู่อีกหรือไม่ ถ้ายังมี มีอะไรเหลือ ถ้าดับแล้ว อะไรที่ดับไป เช็คลิสต์ดูตามหลักธรรมว่าพระอริยบุคคลขั้นใด ละสังโยชน์อะไรได้บ้างครับ

พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานแล้ว แต่ยังทรงมีธรรมกาย และสัมโภคกายอยู่ ครั้นพระพุทธศาสนาครบ 5000 ปี พระธรรมกายของพระพุทธเจ้าจะส่งฤทธิ์บันดาลให้พระบรมสารีริกธาตุประชุมขึ้นเป็นกายอีกครั้งแล้วแสดงปาฏิหาริย์ก่อนจะสลายพระนิรมานกายหรือส่วนของกายมนุษย์

มีท่านแย้งผมว่า การที่พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าจะมาประชุมรวมกันเมื่อครบ 5000 ปี ตามอายุของพระพุทธศาสนา แล้วกอปรเป็นพระวรกายของพระพุทธเจ้าเพื่อแสดงฤทธิ์นั้นเป็นการ "อธิษฐาน" ของพระพุทธเจ้าให้เป็นดังว่าหรือไม่?

ผมขอแก้ว่า ถ้าเป็นดังนั้นจริง แล้วทำไมพระพุทธเจ้าจึงไม่ทรงอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุประชุมขึ้นเป็นพระวรกายบ่อยๆ เช่น ทุกๆ หนึ่งปี หรือหนึ่งร้อยปี เพื่อประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา และรักษาศรัทธาพระสาวก ทำไมต้องอธิษฐานรอให้ครบ 5000 ปีเท่านั้นครับ

ผมขออธิบายต่อไปว่า การที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระธรรมกาย มีพระสัมโภคกาย และมีพระนิรมานกาย เราถือเป็น "กายแต่ละภาค" ของพระพุทธเจ้า หรือเรียกได้ว่า "กายแบ่งภาค" เหมือนเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพระพุทธมารดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระองค์ทรง "แบ่งภาค" กายหนึ่งแสดงธรรมที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ อีกกายหนึ่งออกไปบิณฑบาตที่ทวีปอื่น พระองค์มิได้ทรง "อธิษฐาน" แบ่งกาย แต่เป็นกาย "ปาฏิหาริย์แบ่งภาค" ดังนี้ครับ

23 กรกฎาคม 2563

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

 

EXECUTIVE SUMMARY: 

ศรัทธา และ ปัญญา ในพระพุทธศาสนา

บทสรุปแก่นการสร้างบารมีให้ประสบความสำเร็จด้วย อินทรีย์/พละ 5
(1) ปัญญา เป็นตัวเพิ่ม ศักยภาพ และ ศักยผล
(2) ศรัทธา สร้างความเชื่อมั่น และมั่นคง ไม่ผันแปร
(3) วิริยะ คือกำลังขับเคลื่อน แรงมาก/น้อย
(4) สติ คือความจรดจ่อสนใจต่อเนื่อง
(5) สมาธิ หมายถึงใจที่สงบดีพอ มีคุณภาพ ก่อเกิดเป็นความคิด คำพูด การกระทำ ที่ดีมีประโยชน์

ศรัทธา และปัญญา เกิดจากอะไร?

ศรัทธา เกิดจาก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ความยินดี ยินร้าย ในกุศลธรรม และ/หรือ อัพยากตธรรม และ/หรือ อกุศลธรรม โดยศรัทธาอาจเจริญขึ้น หรือเสื่อมลง ไปตามความผันแปรของธรรมที่ยินดียินร้ายอยู่ ยกเว้นพระอริยบุคคล มีศรัทธาในพระรัตนตรัย ไม่คลอนแคลน อารมณ์เสวยเวทนาขันธ์ของศรัทธา อาจทำให้จิตมีกำลังมาก

ปัญญา เกิดจาก ความรู้ ความเข้าใจ มีสติเป็นองค์ประกอบ มีการทำงานในลักษณะพิจารณาไตร่ตรองได้มากน้อย ต่างกันไป โดยผ่านกระบวนการ ด้วยเหตุนี้ ปัญญาจึงอาจทำให้เกิดความเนิ่นช้า มีลักษณะแห่งวิญญาณขันธ์ ซึ่งหากว่ามีความรู้มากพอแล้ว และมีความชำนาญในการทำความเข้าใจ ปัญญาก็จะเจริญขึ้นโดยง่าย

ศรัทธา มีด้วยกัน 2 ประเภทหลัก คือ
(1) ศรัทธาจาก "ปสาทะ" คือความเลื่อมใส ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส กอปรเป็น ธรรมารมณ์ อันควรยินดี ทำให้เลื่อมใส และเชื่อมั่น
(2) ศรัทธาจาก "ปัญญา" คือความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องในธรรม เป็นเหตุให้ยินดี และเชื่อมั่น

ศรัทธาจาก "ปสาทะ" จำเป็นต้องปรุงแต่ง ให้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และความคิดนั้นเป็นที่น่าพอใจ เพื่อให้ธรรมารมณ์ เป็นที่ยินดีอยู่เสมอ มิฉะนั้น ศรัทธาก็จะเสื่อมถอย เช่น บุคคลพยายามรักษากริยามารยาทให้ดูสงบเรียบร้อย ผู้พบเห็นก็เกิดความเลื่อมใส ยินดีในรูป เสียง ที่ได้เห็น แต่เมื่อใดที่ขาดมารยาทอันดี ความศรัทธาประเภทนี้ก็คลอนแคลน เสื่อมลงได้ง่ายๆ อย่างเช่นตัวอย่างในเรื่องพระสารีบุตรกระโดดข้ามคูน้ำ

ศรัทธาจาก "ปัญญา" เกิดจาก "ความรู้" และ "ความเข้าใจ" ในธรรมอย่างถูกต้อง กอปรเป็น ธรรมารมณ์ ที่ทำให้เชื่อมั่น เป็นความศรัทธา ยกตัวอย่างเช่น บุคคลศึกษาพระพุทธศาสนากระทั่งเข้าใจว่า พระรัตนตรัยคือสิ่งสำคัญ และมีบทบาทอย่างไร ต่อการปฏิบัติธรรมของตน แม้จะมีข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับพระสงฆ์ ก็ทำความเข้าใจได้ว่า แม้ในสมัยพุทธกาล ก็มีเรื่องอื้อฉาวแบบนี้ และพระสงฆ์ก็มีทั้ง พระอริยสงฆ์ กับสมมติสงฆ์ แม้จะมีข่าวอื้อฉาว ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาก็มิได้ผันแปร  ดังนี้.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

22 มิถุนายน 2563

www.meditation101.org


ดวงตราประกาศิต กับเทวดาผู้เลี้ยง

ผมเชื่อว่าทุกท่านที่อ่านบทความนี้ คงคุ้นเคยกับการเดินทางสัญจรบนท้องถนน และหลายท่านก็มีรถยนต์ในความครอบครอง ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับบทความนี้ก็คือ ดวงตราสัญลักษณ์ หรือ “ดวงตราประกาศิต” ของรถยนต์แบรนด์ต่างๆ มีนัยยะที่สำคัญอะไรบ้าง ที่น่าศึกษา

เมื่อเราสังเกตดูดวงตราสัญลักษณ์แบรนด์รถยนต์ หรือแม้แต่สินค้า และบริการอื่นๆ ก็ตาม เราจะเห็นได้ว่ามีประเภทหลักๆ คือ (1) แบรนด์ที่เป็นชื่อคน อย่างเช่น โตโยต้า, ฮอนด้า, ฟอร์ด, จิออดาโน่ (2) แบรนด์ที่เป็นชื่อกิจการ ไม่ใช่ชื่อคน เช่น เล็กซัส, โบอิ้ง, ไมโครซอฟท์, แอ็ปเปิ้ล

ซึ่งในกรณีของรถยนต์นั้นจะเห็นได้ว่า มีแบรนด์ที่เป็นชื่อคน แบบทั้งที่เป็นสัญลักษณ์แห่งประกาศิต อย่างเช่น โตโยต้า หรือ เป็นชื่อตัวอักษร อย่างเช่น ฟอร์ด หรือเป็นทั้งสองอย่าง อย่างเช่น เมอร์ซิเดส เบนซ์

จะเห็นได้ว่า แบรนด์ที่เป็นชื่อคน และเป็นตัวอักษรนั้น ดูจะไม่แรงมากพอ เมื่อขยายตัวออกไปมากๆ ทั้งนี้เพราะ เทวดาผู้เลี้ยง ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกิจการ หรือบรรพบุรุษ ครูอาจารย์ ของผู้ก่อตั้งกิจการ มีกำลังในการหล่อเลี้ยงจำกัด และเมื่อชื่อแบรนด์เป็นตัวอักษรชื่อคน (ชื่อสกุล) ก็ทำให้นักบริหารที่เคยทำงานร่วมในองค์กรนั้น ไม่ได้มาร่วมเป็นเทวดาผู้เลี้ยงมากนัก ทำให้ขาดความหลากหลายและลำดับขั้น ของเทวดาผู้เลี้ยงก็มีน้อยกว่า

ส่วนกิจการที่เป็นชื่อคน แต่มีแบรนด์เป็นตราสัญลักษณ์ ไม่ได้ใช้ตัวอักษร ก็จะมีเทวดาผู้เลี้ยงมากขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งโดยมากแล้ว จะเป็นครูอาจารย์ บรรพบุรุษ ของผู้ก่อตั้งกิจการ และผู้บริหารต่างๆ ภายใต้แบรนด์นั้น สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า แบรนด์ที่เป็นสัญลักษณ์ดูจะเปิดกว้างให้กับเทวดาผู้เลี้ยงมากกว่า เพราะความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าของนั้นต่างกัน ถ้ากิจการมีตราสัญลักษณ์เป็นชื่อคนแบบตัวอักษร เทวดาผู้เลี้ยงอื่นที่จะเข้ามาช่วยก็อาจจะมีความรู้สึกเป็นส่วนร่วมน้อยลง

ส่วนกิจการที่มีชื่อกิจการเป็นชื่อคน หรือเป็นชื่อที่ไม่ใช่ชื่อคน แล้วมีดวงตราสัญลักษณ์กำกับ อย่างเช่นเมอร์ซิเดส เบนซ์ ก็ดูจะมีกำลังมาก จากเทวดาผู้เลี้ยง ทั้งที่เป็นผู้ก่อตั้ง ครูบาอาจารย์ และผู้บริหาร มีกำลังจากทั้งประกาศิต และเทวดาผู้เลี้ยง ซึ่งเป็นเจ้าของชื่อ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย เนื่องจาก กำลังของประกาศิต และเทวดาผู้เลี้ยง เมื่อรวมกันแล้ว อาจมีผล 35 – 65% ครับ

องค์ประกอบแห่งความสำเร็จของแบรนด์มีหลายประการด้วยกัน แบรนด์ดังๆ บางอย่าง ก็ซบเซาลง เพราะบุญที่ส่งผลนั้นแผ่วลง หรือมี "แบรนด์คู่แข่ง" ที่โดดเด่นกว่า มาแย่งส่วนแบ่งตลาด หรือบุคคลที่เป็นเจ้าของแบรนด์ เลิกทำงานด้านนั้น หรือละโลกแล้ว ไม่ได้เป็นเทวดาผู้เลี้ยง มีหลายเหตุด้วยกัน

ด้วยความรู้นี้ หากเราจะจัดตั้งองค์กร หน่วยงาน หรือทำแบรนด์สินค้า เราก็คงพอจะได้แนวทางที่จะทำให้ธุรกิจ กิจการ ของเรานั้นได้กำลังเสริมจากภพทิพย์ และประสบความสำเร็จได้มากขึ้นครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

11 มิถุนายน 2563


การทำบุญและเส้นผม

1. ทำบุญด้วยน้ำยาสระผม จะทำให้ไม่เป็นโรคผิวหนัง โดยเฉพาะหนังศีรษะ

2. บูชาพระด้วยแววหางนกยูง จะทำให้มีเส้นผมและขนสลวยสวยงาม เส้นผมไม่พร่อง

3. ทำบุญด้วยมีดโกนสำหรับปลงผม จะทำให้มีกายใจปลอดโปร่งสบาย


ศรัทธา และปัญญา เกิดจากอะไร?

ศรัทธา เกิดจาก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ความยินดี ยินร้าย ในกุศลธรรม และ/หรือ อัพยากตธรรม และ/หรือ อกุศลธรรม โดยศรัทธาอาจเจริญขึ้น หรือเสื่อมลง ไปตามความผันแปรของธรรมที่ยินดียินร้ายอยู่ ยกเว้นพระอริยบุคคล มีศรัทธาในพระรัตนตรัย ไม่คลอนแคลน อารมณ์เสวยเวทนาขันธ์ของศรัทธา อาจทำให้จิตมีกำลังมาก

ปัญญา เกิดจาก ความรู้ ความเข้าใจ มีสติเป็นองค์ประกอบ มีการทำงานในลักษณะพิจารณาไตร่ตรองได้มากน้อย ต่างกันไป โดยผ่านกระบวนการ ด้วยเหตุนี้ ปัญญาจึงอาจทำให้เกิดความเนิ่นช้า มีลักษณะแห่งวิญญาณขันธ์ ซึ่งหากว่ามีความรู้มากพอแล้ว และมีความชำนาญในการทำความเข้าใจ ปัญญาก็จะเจริญขึ้นโดยง่าย

 

ทำบุญแล้วไม่อธิษฐานอะไร

เคยสงสัยไหมครับ ว่าบางคนทำบุญ แล้วไม่ได้อธิษฐานอะไร หรืออธิษฐานไม่รัดกุม พอบุญส่งผล ก็รวย แต่รวยแบบทำบาป เช่นขายอาวุธรวย นั่นก็เพราะวิชชาของแต่ละฝ่าย เขาแย่งกันส่งผลครับ ก็ทำนองเดียวกัน คำอธิษฐาน ก็เปรียบได้กับ ตัวบทกฎหมายที่จะรัดกุมก็ดีกว่าครับ

 

เหรียญทองนั้นจะสั่งวิชชาอย่างไร?

ผมขอวิสัชนาว่า ส่วนใหญ่แล้ว เหรียญทอง จะเนื่องด้วยผู้เลี้ยง หรือบุคคล แต่ก็มีเหรียญประเภทองค์กร หรือมหกรรม อย่างเหรียญโอลิมปิค เหรียญรางวัลต่างๆ

ส่วนเหรียญทอง ประเภทบุคคลนั้น ในการออกกฎหมายบทบัญญัติวิชชา กำหนดให้ บุคคลเป็น "ต้นองค์" แล้วสร้างภพอันเป็นแหล่งเก็บและจ่ายประดาฤทธิ์ให้กับเหรียญ โดยเชื่อมสาย-ฆา ไว้กับ "ต้นองค์" ของเหรียญ จากนั้นก็ใส่กายสิทธิ์เป็น แถว เถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ตั้งเดินวิชชาอัตโนมัติ เมื่อมีการสร้างเหรียญขึ้น ต้นองค์ ก็ส่งกายสิทธิ์มาใส่ในเหรียญ แล้วก็เดินวิชชาเป็น ตามที่ผู้ร่างกฎหมายบัญญัติไว้ในวิชชา เช่นว่า ให้ส่งความรู้ ส่งวิชา วิทยาการ มาหล่อเลี้ยง ส่งบารมีศักดิ์ เป็นเกียรติแก่ผู้ได้รับ ในทำนองเดียวกันกับการสร้างพระของขวัญ ประมาณนี้ครับ

 

พัดกาชาด

ผมสงสัยว่า พัดกาชาด กับเหรียญ และเข็มที่ระลึกกาชาดเนี่ย มี "คุณ" อย่างไรบ้าง.. ถ้าให้ผมว่าตามหลักวิชชาก็คือ กาชาดเนี่ย เป็นองค์กรใหญ่ ที่ปกมครองกัน เป็นวิชชาของฝ่ายบุญ ภาคกุศล ที่ส่งมาในเมืองมนุษย์ ผู้ที่บริจาคโลหิต เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ได้รับพัด เหรียญ และเข็มสมนาคุณ อานิสงส์คือ นอกจากอุปบารมี จากการให้เลือดเป็นทาน และอานิสงส์คือ มีสิทธิ์ได้ใช้โลหิตก่อน หากมีความจำเป็นต้องรับโลหิตสำหรับผ่าตัด หรืออื่นๆ พัดกาชาดก็ดี เหรียญกาชาดก็ดี เข็มกาชาดก็ดี หากได้รับแล้ว จะ "มีเกียรติ" ใน "สมาคม" สมมติว่าในที่ประชุมวิชชา หากว่าผู้ทรงวิชชาทั่วไป กับผู้ทรงวิชชาที่มีพัด เหรียญ หรือเข็มกาชาด ผู้ทรงวิชชาที่มีของสมนาคุณกาชาด จะมีเกียรติมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากอยู่ในสมาคมภาคีกาชาดด้วยกัน แต่ว่า "สิทธิ์" และ "อำนาจ" นั้น องค์กรกาชาด มิได้ตราให้ไว้ แต่ด้วยเกียรตินั้น ผู้ทรงวิชชาทั่วไป อาจจะต้อง "ค้อม" ให้กับผู้ทรงวิชชาที่มีของสมนาคุณกาชาดครับ รวมถึงส่งผลต่อการ "จัดอันดับ" ด้วย และจะเป็นการดี หากเราได้แล้ว ล็อคเอาไว้ครับ

 

ว่าด้วยเรื่องพัดยศ

มีท่านถามมากันเรื่องพัดยศ ผมก็คิดว่าพระสงฆ์ที่ทรงวิชชาท่านน่าจะทราบดีอยู่ แต่ถ้าจะให้ผมรจนาอธิบายในรูปแบบที่เข้าใจง่ายก็ตามนี้นะครับ

ผมขอเริ่มตั้งแต่ "พัดเปรียญ" ซึ่งเป็นเครื่องบ่ง "คุณวุฒิ" ของพระภิกษุ สามเณร และแม่ชี เปรียญ ซึ่งในทางกฎหมาย ก็มิได้กำหนด สิทธิ์ และ อำนาจ กำกับอะไรมาก แต่ก็พอมีในทางฝ่ายศาสนจักร ตามบทบัญญัติต่างๆ เช่น "อันดับ" ในพิธีกรรม และ "ศักดิ์" ที่เคารพกันตามขั้นเปรียญ แต่ในปัจจุบันนี้ ได้มีพระราชบัญญัติการศึกษาคณะสงฆ์ฉบับล่าสุด ซึ่งเทียบชั้นการศึกษาระหว่างทางโลกกับทางธรรม ทำให้พัดยศ มี "ศักดิ์" และ "สิทธิ์" เท่าวุฒิการศึกษาทางโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เปรียญธรรม 9 ประโยค ที่ มีศักดิ์และสิทธิ์ เท่าปริญญาตรี โดยนัยนี้ เท่ากับว่า กฎหมายแห่งราชอาณาจักร ได้รับรอง ศักดิ์ และสิทธิ์ ของพัดเปรียญ ทำให้พัดเปรียญ มีศักดิ์ และสิทธิ์ เกิดขึ้นตามลำดับขั้น

ในทำนองเดียวกัน สำหรับ "พัดยศ" ผู้เลี้ยงได้ให้ทั้ง "ศักดิ์" "สิทธิ์" และ "อำนาจ" การปกครอง และการเคารพนับถือกันในศาสนจักร ราชอาณาจักร และพิธีกรรมต่างๆ ทั้งราชพิธี และราษฎร์พิธี สามารถจัดอันดับก่อนหลัง รวมถึงมีการเคารพกันตามลำดับ

ซึ่ง พัดยศ และ พัดเปรียญ ก็มีผลในทางวิชชาอยู่มาก เพราะผู้ทรงวิชชาสามารถ "เดินบารมีศักดิ์ บารมีสิทธิ์ บารมีฤทธิ์ บารมีอำนาจ" กระทั่งเกิดเป็น "เฉียบขาด" และ "ศักดิ์สิทธิ์" ในวิชชา ตามลำดับขั้น สามัญ ราช เทพ ธรรม พรหม สมเด็จ ซึ่งตัวบทกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจน แยกแยะความแตกต่าง รวมถึง ศักดิ์ สิทธิ์ อำนาจ ที่จัดสรรไว้ให้ ตาม "ตราตั้ง" ซึ่งระบุว่า ให้ธำรงค์พระพุทธศาสนา ระงับอธิกรณ์ อะไรต่างๆฯ

วิธี "เดินฤทธิ์" ด้วยพัดยศ ให้ "เดินสี" ไม่ว่าจะเป็นพัดพื้นแดง หรือปักมณีลูกปัดแดง ให้เดินเข้ากสิณสีแดงในพัดครับ

นอกจากนี้ พัดยศ บ้างก็มี "มณี" ซึ่งปัจจุบันเป็น "ลูกปัด" สีสันต่างๆ ก็มีอิทธิคุณจากเจ้าสี ซึ่งจะมีกายสิทธิ์ลงรักษา เป็นคุณต่อผู้ทรงพัด

การใช้วิชชากับพัดยศนั้น มีอิทธิคุณได้หลากหลาย เพราะบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับพัดยศนั้นมีมาก ผู้ทรงวิชชาจึงสามารถใช้วิชชาได้ตามถนัด พลิกแพลง แผลงไปมา เกินกว่าจะพรรณนาได้หมดในระยะเวลาอันสั้น

อย่างไรก็ตาม พัดยศ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่ง ศักดิ์ สิทธิ์ และอำนาจนั้น ไม่ได้แรงเหมือนราชูโภคอย่าง พระมงกุฎ พระคทา ดาราอิสริยาภรณ์ พระแสงขรรค์ แต่พัดยศ มีฤทธิ์แบบ "ผู้ดี" ที่ให้คุณให้โทษได้ เสมือนเทวดาหรือพรหมที่ให้คุณให้โทษต่อกัน ไม่ถึงกับประหัตประหารกันให้เสียเลือดเสียเนื้อ

อำนาจที่พัดยศมีอยู่นั้นแบ่งออกเป็นอำนาจตามบทบัญญัติกฎหมาย และอำนาจในวิชชาครับ ในการใช้อำนาจของพัดยศเช่นอำนาจในการสวดทำสังฆกรรม หรือสั่งให้พ้นจากการเป็นพระ หากสั่งโดยตั้งพัดยศก็จะเต็มอำนาจ มีผลในทางวิชชาคือกายมนุษย์ละเอียดก็พ้นจากการเป็นพระด้วยดังนี้

 

ว่าด้วยเรื่องพัดรอง

พัดรอง ส่วนใหญ่ก็ไม่มีอำนาจกำกับอะไรครับ ไม่มีบทบัญญัติทางกฎหมายรองรับ เป็นของที่ระลึก ที่มีเกียรติ มีอิทธิคุณคล้าย "ประกาศิต" ประการหนึ่งครับ

พัดรอง กับพัดสมนาคุณ ของกาชาด นั้นต่างกันตั้งแต่ชื่อแล้วครับ พัดรอง เป็นพัดที่ระลึก ใช้ในพิธีกรรม ไม่มีศักดิ์ สิทธิ์ และอำนาจใดกำหนดเป็นบทบัญญัติ มีอิทธิคุณในลักษณะประกาศิต หรือโลโก้ ที่มีคุณมากบ้าง น้อยบ้าง ต่างกันไปโดยธรรมชาติของประกาศิต

ส่วนพัดสมนาคุณของกาชาด ชื่อก็บอกแล้วว่าเป็น "สมนาคุณ" คือมี "คุณ" แล้วพัดก็แบ่งเป็น 3 ระดับขั้น ตามความดีความชอบจากการบริจาคโลหิต มากน้อยต่างกันไป บทบัญญัติโดยสภากาชาดของประเทศไทยนี้เอง ที่ทำให้ พัดสมนาคุณของสภากาชาดไทย มี "คุณ" มากกว่าหรือน้อยกว่า (ในกรณีประกาศิตแรงมากน้อยกว่า) และแตกต่างจากพัดรองทั่วไป ครับ

 

ในเมื่อพระพุทธศาสนาสอนให้คนลดละกิเลส แล้วทำไมจึงต้องพึ่งพายศฐาบรรดาศักดิ์?

คำตอบคือ พระอรหันต์ที่ละกิเลสได้เหมือนๆ กัน องค์หนึ่งเป็นเจ้าชายมาบวช กับอีกองค์หนึ่งเป็นชาวบ้านมาบวช จะต่างกันไหมครับ? แล้วระหว่างพระอรหันต์ที่ละกิเลสได้เท่าๆ กัน องค์หนึ่งเป็นเอตทัคคะ ได้รับการยกย่องว่าให้เป็นเลิศด้านใดด้านหนึ่ง กับอีกองค์หนึ่งเป็นพระอรหันต์ธรรมดา ซึ่งท่านก็ไม่รู้สึกเป็นปมด้อยอะไรเพราะท่านหมดกิเลสแล้ว แต่พระอรหันต์ที่เป็นเอตทัคคะ หรือเป็นเจ้าชายมาบวช ก็จะมี "โอกาส" มากกว่าในการทำหน้าที่ครับ

เรื่องพัดรองที่มีกำลังมากกว่าพัดยศนั้น ผมก็ได้ตอบเผื่อไว้แล้ว คือ "มากน้อย" แต่ในแง่ของวิชชา พัดรอง ที่มีประกาศิต ไม่ได้ใช้วิชชา แต่จัดเป็น "งาน" ประเภทหนึ่ง ซึ่งเข้าข่าย "งานพิธี" ส่วนพัดยศ จะเป็นวิชชาก็ได้ จะเป็นงานพิธีก็ได้ทั้งสองอย่างครับ

 

ทำบุญอย่างไร จึงจะได้ผลบุญอย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยออกเรี่ยวแรงมาก?

คำตอบคือ ทำบุญแบบที่ไม่ต้องให้พระเณร ซึ่งเป็นเนื้อนาบุญ ต้องมาเหนื่อยกับการทำบุญของเราครับ อย่างเช่น การจัดพิธีกรรมทอดผ้าป่า ทอดกฐิน พระเณรต้องจัดเตรียมพิธีกันอย่างเหน็ดเหนื่อย ด้วยอานิสงส์นี้ เวลาบุญจะส่งให้เราได้ทรัพย์ เราก็ต้องทำงานเหนื่อยก่อน จึงจะได้ วิธีแก้ไม่ให้พระเณรต้องเหนื่อยจัดงานพิธีก็เช่น จัดให้มีประธานอำนวยพิธีให้ฆราวาสกรรมการวัดเป็นผู้จัดเตรียมกันเองหรือจัดจ้างออร์แกไนเซอร์มาทำให้ครับ

 

"พัดประกาศิต" นั้นใช้อย่างไร?

คำตอบก็คือ ก่อนอื่นต้องทราบว่าประกาศิตคืออะไร และประกาศิตที่ปรากฏอยู่บนพัดนั้น มีลำดับขั้นใด ซึ่งเรื่องนี้เรายังไม่กล่าวถึงวิชชา แต่กล่าวถึง "งาน" หรือ "พิธีกรรม" ซึ่ง "จ้าวพิธี" ท่านก็จะพิจารณาความสมบูรณ์ของงานพิธี แล้วมีการอำนวยการต่างๆให้ เช่น "กั้นฉัตรวิชชา" ถวายประธานพิธี รวมถึงเจ้าของประกาศิต รวมถึงคำนวนบุญ สำหรับประกาศิตที่มีลำดับขั้นตั้งแต่ "สยมภู" เป็นต้นไป ทั้งนี้ พิธีกรรม จะต้องให้เกียรติประธานพิธี และเจ้าของประกาศิต "อย่างสมควร" ก็จะเกิดอานิสงส์ต่างๆ ตามแต่จ้าวพิธีท่านจัดสรรให้

ส่วน "พัดอาญาสิทธิ์" ก็มีลักษณะของการ "มอบสิทธิ์และอำนาจ" เพื่อใช้แทนกัน อย่างเช่นในกรณีที่ เจ้าคณะหน มีคำสั่งสึกเจ้าคุณในเขตพื้นที่หนึ่ง ซึ่งปกติแล้ว เจ้าคณะอำเภอ หรือเจ้าคณะตำบล จะต้องดำเนินการ แต่ปรากฎว่า เจ้าคุณที่จะต้องถูกจับสึกนั้นมีตำแหน่งเป็นเจ้าคุณชั้นราช ซึ่งสูงกว่าเจ้าคณะตำบล และเจ้าคณะอำเภอ ดังนี้แล้ว เจ้าคณะหน อาจมีคำสั่งให้เจ้าคณะอำเภอใช้พัดยศของเจ้าคณะหน ซึ่งมีชั้นสูงกว่า อย่างเช่นชั้นพรหม ในการตั้งพัดจับสึกเจ้าคุณชั้นราช แทนเจ้าคณะหน ดังนี้.

 

มีข้อแนะนำใดบ้างเกี่ยวกับการเล่นประกาศิต?

คำตอบคือ ขออ้างถึงข้อมูลจากแหล่งอื่นว่า ประกาศิตนั้นก็เหมือนคนเรา ประกาศิตที่ออกแบบสวยๆ ก็เหมือนคนรูปงาม พอนำไปติดตราขายสินค้า ใครๆ ก็อยากซื้อ อยากลอง เหมือนคนรูปงาม ไปขายอาหาร ใครๆ ก็อยากจะมาซื้อ เพราะยินดีในรูปอันงามนั้น.. ผมขอขยายความต่อไปว่า ประกาศิตสวยๆ ซึ่งมีสัญลักษณ์องค์ประกอบที่ดี ก็มีผลประมาณ 30% มากน้อยกันไป แต่ถ้าประกาศิตสวย แต่สินค้า ที่ประกาศิตนำเสนอนั้น ไม่ใช่ของดี เป็นของด้อยคุณภาพ คนซื้อมาลองใช้ แล้วไม่ดี ต่อไปเขาก็ไม่ซื้อ การเล่นประกาศิตก็คล้ายๆ กันครับ เราต้องใช้ประกาศิตสำแดงใช้ในสิ่งดีๆ มีคุณ มีประโยชน์ อย่างสม่ำเสมอ และเสมอต้น เสมอปลาย ยิ่งมีคุณมาก มีประโยชน์มาก ขั้นประกาศิตยิ่งเลื่อนสูงขึ้นเร็ว และเกิดเป็นอานิสงส์ที่ดีตามมาครับ

ฉัตรวิชชา เป็นของทิพย์ครับ มีลักษณะเป็นชั้นๆ เหมือนฉัตรของไทย มี 3 ชั้นบ้าง 5 ชั้นบ้าง 7 ชั้น 9 ชั้น ถึง 108 ชั้น แต่ละชั้นเป็นแผ่นฌาน กางกั้นบุคคลแล้ว บุคคลสามารถเล่นฌานใต้ฉัตรนั้น นั่งสบายไปเลยครับ บางท่านก็ทำวิชชาด้วยฌานนั้นครับ

 

อะไรคือปัญหาของคณะสงฆ์ไทยที่ทำให้เสื่อม?

คำตอบก็คือ ธรรมเนียมของสงฆ์ไทยหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น การบวชซึ่งมีธรรมเนียมและค่านิยมว่าบวชชั่วคราวได้ สึกแล้วไม่น่าเกลียด รวมถึงข้อปฏิบัติอย่างเช่นการรับเงินจับเงินได้ รวมถึงความสะดวกต่างๆ ทำให้พระอยู่สบาย และบวชง่าย ก็เลยมีเหลือบแอบแฝงหากินกับพระพุทธศาสนามาก

ยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับพระเวียดนาม หรือพระศรีลังกา ท่านบวชแล้วมีธรรมเนียมว่าไม่สึกตลอดชีวิต ส่วนพระจีน ก็ต้อง "จี้ธูป" ที่ศีรษะ เป็นการวัดใจกัน และต้องฉันอาหารเจ ซึ่งคนที่ยังยินดีในความเพลิดเพลินจากการบริโภค ก็จะไม่อยากเป็นพระ เพราะต้องฉันอาหารเจ

สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่อง คัดกรองบุคคล ทำให้คนอยากบวชมีน้อย แต่เมื่อบวชแล้ว ส่วนใหญ่ก็คือคนที่ตั้งใจจริง

ส่วนตัวผมเอง เคยบวชเป็นพระ ก็ยังรับเงิน จับเงิน ซื้อของเหมือนฆราวาส ก็ทราบดีว่า สังคมยุคปัจจุบัน ต้องใช้เงินในการอำนวยความสะดวก จะไปไหนมาไหน ก็ต้องใช้เงิน ถ้าจับเงินไม่ได้ ก็เป็นอยู่อย่างจำกัด ก็เลยนึกว่า ถ้ามีไวยาวัจกร ช่วยดูแลเงินให้ ก็น่าจะดี แต่ไวยาวัจกรที่ไว้ใจได้ ก็หาไม่ง่าย ก็ขอตั้งข้อสังเกตุดังนี้ครับ

สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับพระไทย ผมเห็นว่า น่าจะมีการปฏิบัติธรรม แล้วคุมวิชชา "ตัดสังโยชน์" ให้พระไทยกลายเป็นพระโสดาบัน กันให้มากๆ (พระโสดาบันบรรลุง่ายครับ) เมื่อเป็นพระโสดาบันแล้ว ก็จะมีจิตสำนึกที่ดีขึ้นเอง เป็นอัตโนมัติ เป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ อีกอย่างก็คือ จัดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนมากๆ แล้วตัดสังโยชน์ให้สามเณร ใครที่มีแววดี หรือมีความประพฤติดี ก็คัดตัวมาเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา สามเณรโสดาบัน ก็จะไม่ร้อนผ้าเหลือง เหมือนปุถุชน อีกอย่างคือการอาราธนาพระนิยตโพธิสัตว์ และพระอริยบุคคล มาเกิดในเมืองไทย เพื่อสืบพระพุทธศาสนากันมากๆ ครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

 

การสอนเรื่องเพศให้กับเยาวชน ควรเป็นเช่นไร?

คำตอบคือ ให้อธิบายโดยละเอียด โดยเน้นภายในด้วยครับ คือภาพอวัยวะซึ่งทำงาน พร้อมทั้งเปิดภาพอสุภะให้เยาวชนดู เน้นให้ทราบว่า เพศสัมพันธ์ เป็นเพียงอารมณ์ที่ถูกครอบงำ และไม่ใช่ความสุขอันแท้จริง ภายในเป็นเพียงดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ครับ

ว่าด้วยเรื่อง "มงกุฎนางงาม"

อันว่า "มงกุฎ" นั้นเป็นสัญลักษณ์แห่ง supremacy ซึ่งพระมงกุฎของพระมหากษัตริย์นั้น มักจะมีกฎหมายรองรับ ว่าเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งสิทธิ์และอำนาจของพระมหากษัตริย์ แต่เทพี หรือนางงาม ที่ได้ครองมงกุฎนั้น ก็มีลักษณะคล้ายๆ กับเครื่องประกอบยศอื่นๆ คือมีผู้เลี้ยงประจำองค์กร นั่นก็คือกองประกวด หรือบริษัทที่เป็นเจ้าของรายการประกวด แล้วเขาก็กำหนดว่า นางงามที่ชนะเลิศ จะได้มงกุฎ หรือที่เรียกกันว่า "มงลง" และมีสิทธิ์ได้รับรางวัล ได้ทำหน้าที่ของนางงาม ตามที่กองประกวดกำหนด ซึ่งมงกุฎนางงามก็ไม่ได้มีสิทธิ์และอำนาจที่กำหนดไว้ให้อะไรมาก แต่มีลักษณะคล้ายๆ ตำแหน่งของ "จ้าววิจิตรา" ในสวรรค์ ซึ่งมีความโดดเด่นกว่าคนทั่วไป และเป็นที่รู้จักในหมู่สาธารณชนราวกับดาราคนหนึ่งครับ

 

การใช้วิชชากับมงกุฎนางงามนั้นทำได้อย่างไร?

คำตอบคือ มงกุฎนั้น เป็นเครื่องประกอบยศ มีอานุภาพตาม "สิทธิ์" และ "อำนาจ" ที่ผู้เลี้ยงให้ไว้ หากเป็นมงกุฎของชนชั้นปกครอง อย่างพระมหากษัตริย์ ก็จะมีสิทธิ์และอำนาจมาก สามารถ "สั่งพระมงกุฎ" ได้ ซึ่งมีลักษณะคล้ายการ "ตรัสศักดิ์สิทธิ์" เพราะพระมงกุฎมีฤทธิ์จากผู้เลี้ยง และกายสิทธิ์ที่อยู่ในอัญมณี

ส่วนมงกุฎนางงาม ก็มีฤทธิ์จากผู้เลี้ยงเช่นกัน แม้จะไม่มากเหมือนอย่างมงกุฎพระมหากษัตริย์ ซึ่งสั่งเป็นสั่งตายกันได้ แต่มงกุฎนางงามก็มีอาณาเขตที่มากกว่ามงกุฎพระมหากษัตริย์ กล่าวคือ มงกุฎนางงามจักรวาล มงกุฎนางงามระดับภูมิภาค มีพื้นที่มากกว่าประเทศราช แต่อานุภาพของมงกุฎนางงาม ซึ่งได้พลังจากผู้เลี้ยง ซึ่งจัดเป็น "เทวฤทธิ์" ชนิดหนึ่ง ก็มีผลไม่รุนแรงอย่างที่จะประหัตประหารกัน แต่มีผลสร้างสรรค์ เช่น หากนางงาม "สั่งมงกุฎ" ของตนด้วยวิชชาได้ มงกุฎจะส่องแสง ขับไล่ภูติผีปีศาจ และสลายมนต์ดำ อาคมต่างๆ ได้ คล้ายๆ ฤทธิ์ของเทวดาหรือเทพธิดานั่นเองครับ


มีท่านสงสัยถามผมประมาณว่า ในเมื่อพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้แจ้งแล้ว เพราะเหตุใด พระองค์จึงมิทรงแก้ไขปัญหาที่ฝ่ายมารก่อขึ้น?

คำตอบก็คือ ต่างฝ่ายต่างมีกำลังมากน้อยต่างกันไป พระพุทธเจ้าก็ทรงมี "บารมีธรรม" ส่วนมารก็มี "บารมีมาร" พระพุทธเจ้าบ้างก็มีบารมี 20.1 อสงไขย 40.1 อสงไขย 80.1 อสงไขย ส่วนอีกฝ่ายบางตัวมีบารมีนับร้อยอสงไขย โดยเฉพาะผู้ที่เฝ้าเครื่องธาตุเครื่องธรรม (ใจภพ) และดูแลระบบโปรแกรมกฎแห่งกรรม เขาก็มีการ์ดเฝ้าระวังคุ้มครองอยู่ ก็เหมือนกันกับฝ่ายพระนิพพานก็มีผู้คุ้มครอง ผู้ที่จะมาแก้ไขส่วนใหญ่จึงเป็นพระพุทธเจ้าองค์เก่าๆแก่ๆ ที่บารมีเป็นร้อยเป็นพันอสงไขย (นับจากแรกถึงปัจจุบัน) ส่วนพระพุทธเจ้าบารมีหลักสิบอสงไขย โดยมากมีหน้าที่หลักคืออบรมสั่งสอนครับ เวลาพระพุทธเจ้ารบกับมาร ก็ปะทะกัน รุนแรงบ้าง ซึ่งพระองค์ที่บารมีหย่อนกว่า อาจจะทนรับสภาพการปะทะกันอย่างนี้ไม่ได้ แต่ท่านไม่มีเวทนา เวลารบกันแล้วเกิดแตกหักเสียหาย ท่านจะรู้สึกเพียงเสียววาบ แล้วถูกพากลับไปแก้ไข หรือไม่ก็ดับไปครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

www.meditation101.org

12 – 13 มีนาคม 2563


มีท่านถามผมประมาณว่า เมืองพระนิพพานนั้น แท้จริงแล้ว เป็นที่โล่งว่าง หรือเป็นปราสาทราชวัง?

เรื่องนี้ผมขอออกตัวก่อนว่า ผม “คาดการณ์” ตามความรู้ที่มี โดยขออ้างคำตอบเดิมที่เคยโพสต์ก่อนหน้านี้ เรื่อง “ตรีกาย” ของทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ได้แก่ (1) ธรรมกาย (2) นิรมาณกาย และ (3) สัมโภคกาย โดยสรุปคือ

     (1)   ธรรมกาย คือรูปจิต และนามจิต ดั้งเดิม ของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ มีลักษณะเป็นกายมหาบุรุษ ละม้ายคล้ายกันทั้งหมด ส่วนใหญ่ปรากฎในลักษณะนั่งขัดสมาธิเข้าสมาบัติ

     (2)   นิรมาณกาย คือกายมนุษย์ ของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ มีอากัปกริยา ยืน เดิน นั่ง นอน มีชีวิต มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย มีรูปร่างหน้าตา แตกต่างกันไป

     (3)   สัมโภคกาย คือกายทิพย์ ของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ลักษณะปรากฏคล้ายกายมนุษย์ มนุษย์ หรือเทพเทวดา
 
แต่มีสภาพเป็นทิพย์ มียืน เดิน นั่ง นอน ใช้อาศัยทำกิจต่างๆ เช่นโปรดสัตว์ แก้ไขทุกข์โศกโรคภัยให้สรรพสัตว์ (เช่นพระอมิตตาภะพุทธเจ้า) ปรึกษาสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ด้วยกัน และเป็นกำลังให้กับพระโพธิสัตว์ (เช่นพระยูไล)

ดังนี้แล้ว ผู้ปฏิบัติสายวิชชาธรรมกาย เห็นพระนิพพาน เป็น “เมืองแก้วกายสิทธิ์” ที่สะอาดบริสุทธิ์โล่งๆ ว่างๆ สำหรับพระธรรมกายเข้านิโรธสมาบัติ โดยส่วนใหญ่ไม่ทำกิจอื่น ส่วนสายมโนมยิทธิเห็นพระนิพพานเป็นปราสาทราชวังเมืองแก้ว ซึ่งน่าจะเข้าข่ายของ “สัมโภคกาย” ที่เสวยบรมสุขด้วยกายทิพย์ ยังมี ยืน เดิน นั่ง นอน มีสถานที่ฟังธรรม ปรึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม เพื่อให้เอื้อเฟื้อต่อการโปรดสัตว์ ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปได้

ก่อนนี้ ผมศึกษาแต่สายวิชชาธรรมกายมาโดยตลอด เชื่อว่า มีแต่การเข้าถึงพระธรรมกาย ที่จะทำให้บรรลุธรรมได้ และพระนิพพานต้องเป็นที่โล่งว่างเท่านั้น ครั้นเมื่อออกมาแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากสายอื่นๆ จึงทราบว่า การบรรลุธรรมแบบไม่เห็นธรรมกายก็มี ส่วนเมืองนิพพานก็มีหลายแบบ รวมถึงการนิพพานแบบดับสูญก็สามารถทำได้ ตามอัธยาศัยของผู้บำเพ็ญครับ พระธรรมกายนั้นจะยังอยู่ในที่ประทับ แม้ว่าสัมโภคกาย หรือนิรมาณกาย จะเสด็จไปไหนต่อไหน อุปมาเหมือนตอนสมเด็จพระโคดมพุทธเจ้าทรงโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กายหนึ่งก็ประทับนั่งเทศน์อยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อีกกายหนึ่งก็ปาฏิหาริย์เสด็จออกไปบิณฑบาต ทั้งสองกายก็คือพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวกัน

ส่วนปราสาทราชวังในเมืองนิพพาน ของสายมโนมยิทธิ นั้นก็น่าจะคล้ายๆ กับ “ปราสาทวิชชา” ในสายวิชชาธรรมกายครับ คือปราสาทสำหรับทำกิจ ซึ่งสร้างขึ้นจากแก้วกายสิทธิ์ของเมืองนิพพาน ซึ่งไม่ใช่ของภพเทวดา ยังมีไป มีมา มีเข้า มีออก ดังนี้.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

9 มีนาคม 2563

www.meditation101.org

 

มีท่านถามผมประมาณว่า เพราะเหตุใด บางสายปฏิบัติจึงสอนให้สวดมนต์ หรือท่องคาถา หรือบริกรรมภาวนา บางอย่าง เพื่อให้บรรลุผลแห่งการปฏิบัติ ถือว่าเป็นเรื่องงมงายหรือเปล่า?

คำตอบคือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลกมีมากด้วยกัน แต่ละพระองค์ก็มีกำลังและวิธีการของตนเองที่จะช่วยสรรพสัตว์ ท่านจึงกำหนดกติกาว่า ถ้าสวดมนต์บทนี้ เป็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์พระองค์นี้ หากสวดแล้ว สิ่งศักดิ์สิทธิ์พระองค์นี้ก็จะช่วย แต่ถ้าสวดบทอื่น คาถาอื่น หรือบริกรรมภาวนาอย่างอื่น ก็เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์พระองค์อื่นๆ คาถา บทสวด และบริกรรมภาวนา จึงเป็นคล้ายๆ Password ในการดำเนินจิตเข้าสู่ภายใน หรือเชื่อต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นครูบาอาจารย์ครับ


สิ่งศักดิ์สิทธิ์บางพระองค์ไม่เปิดเผยวิชชา แต่จะปล่อยให้ศิษย์บริกรรมภาวนา คาถา หรือสวดมนต์ไปเรื่อยๆ กระทั่งจิตหยั่งลงสู่สมาธิ และฌานขั้นต่างๆ แล้วท่านจึงจะส่งวิชชา หรือพลัง หรือสื่อสารโต้ตอบกันและกัน บางท่านจึงสงสัยว่า แค่สวดมนต์ ท่องคาถา แล้วจะไปสวรรค์ ไปนิพพานได้อย่างไร ซึ่งเรื่องก็เป็นดังประมาณนี้ล่ะครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา
9 มีนาคม 2563

www.meditation101.org


การทำพิธีกรรม บวงสรวงเทวดา เชิญแม่ย่านางรถ ตั้งศาลพระภูมิ ฯลฯ เป็นเรื่องงมงายหรือไม่?

การทำพิธีกรรมบวงสรวงเทวดา เขียนยันต์ เจิมรถ ไหว้บายศรี อะไรต่างๆ นะครับ เป็นการ "สื่อสาร" กับเทพเทวา หรือ “เจ้าของวิชา” อย่างหนึ่ง ว่าเราปรารถนาอะไร ขออะไร ซึ่งส่วนมากเป็น “การปฏิบัติเชิงสัญลักษณ์” ผมเคยยกตัวอย่างการทำบายศรีไหว้หัวหมู เป่าสังข์ อัญเชิญเทวดาในงานหล่อพระพุทธรูป ซึ่งเทวดาชั้นสูงที่ครูพราหมณ์ท่านร่ายอัญเชิญนั้น ท่านไม่ได้เสวยหัวหมูหรือของไหว้อะไรเลย อีกทั้งบายศรีท่านก็ไม่ได้ใช้ เพราะในวิมานของท่านมีเครื่องประดับประดาสวยกว่าบายศรีของมนุษย์มากมาย แต่มันเป็นการแสดง "ความให้เกียรติ และความเคารพนับถือ" ซึ่งก็ทำให้เทพเทวดาท่าน "เอ็นดู" เรา และอำนวยอวยพร ประทานพร ประทานพลังให้กับเรา บ้างก็จัดสรรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ/หรือ เทพเทวาในสังกัด ให้มาดูแลประจำพระพุทธรูป หรือรถที่เชิญแม่ย่านาง สถานประกอบการ หรือบ้านที่ตั้งศาลพระภูมิ

อีกกรณีหนึ่ง ก็เป็น "เคล็ด" ของผู้ทรงวิชชา และผู้มีวิชาอาคม บางท่านมีศิษย์มาขอความช่วยเหลือ ท่านก็บอกว่าให้ทำตามที่ท่านบอกแล้วปัญหาจะคลี่คลาย เช่น ให้เอาดอกไม้เจ็ดสีไปทำน้ำมนต์ แล้วอาบ พอเราทำตามที่ท่านบอก ท่านก็ส่งฤทธิ์หรืออธิษฐานบารมีปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัยให้กับเรา แต่ถ้าเราไม่ทำตามเคล็ดนั้น ท่านก็อาจจะไม่ช่วยครับ

อีกกรณีหนึ่ง ก็เป็น อาจารย์วิทยาธร ท่านเหล่านี้มีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูบาอาจารย์สูง ท่านรับเงินไหว้ครูแค่ไม่กี่บาท เช่นยี่สิบบาท หนึ่งร้อยบาท แต่ขอให้นำบายศรีบ้าง ธูปเทียนแพบ้าง มาไหว้ตามกำหนด แล้วท่านก็ใช้เทวฤทธิ์คอยแก้ไขปัญหาให้กับเรา โดนของมาท่านก็แก้ให้ เจ็บป่วยท่านก็รักษาให้ ท่านไม่เน้นรับเงินทอง แต่ท่านภูมิใจที่มีลูกศิษย์ลูกหามาก และได้ช่วยเหลือลูกศิษย์ แล้วลูกศิษย์เคารพนับถือกัน มีความกตัญญูกตเวที ทำให้ท่านเป็นที่นับหน้าถือตาในหมู่สังคมวิทยาธร

พิธีกรรมบางอย่าง ดูคล้ายเรื่องงมงาย แต่จริงๆแล้ว เป็นการสื่อสารกับเทพเทวดา หรือ “เจ้าของวิชา”  ผมเคยมอบอั่งเปาให้หลานๆ ในวันตรุษจีน ปีก่อนๆ ผมใช้ซองสีทอง แล้วติดสติ๊กเกอร์โลโก้ประจำตัว (ประกาศิต) ก็ไม่มีใครว่าอะไร ก็ดูสวยดี พอมาปีนี้ใช้ซองสีแดง ติดสติ๊กเกอร์โลโก้ประจำตัว เทพผู้รักษาท่านบอกประมาณว่า (ให้อานิสงส์มากกว่า) เพราะตรุษจีนต้องใช้ซองแดง เทพผู้รักษาท่านยึดถือตามพิธีกรรมและประเพณีธรรมเนียมปฏิบัติ ถ้าทำตามธรรมเนียม ก็จะดีกว่าครับ ดังนี้.

อย่างไรก็ตาม เทวดาท่านก็มีฤทธิ์ระดับหนึ่ง และอยู่ในภพภูมิอันเป็นทิพย์ สิ่งสำคัญคือแรงบุญแรงกรรมของเรา ทั้งในอดีต และในปัจจุบัน ประกอบกับความไม่ประมาท รวมถึงความเพียรพยายาม และมีวินัยของเราเอง ที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดชีวิต ความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจหน้าที่การงาน และความปลอดภัยของรถยนต์ บ้านที่อยู่อาศัย และตัวของเราครับ

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

7 มีนาคม 2563

www.meditation101.org

 

Executive Summary: 1 page

มีท่านถามผมประมาณว่า “ดวงธรรม” ที่เห็นในการปฏิบัติสายวิชชาธรรมกายนั้นคืออะไร?

ดวงปฐมมรรค คือดวง มรรคปฏิปทาหรือ มัชเฌนธรรมซึ่งเป็นสภาวธรรมของจิตที่ไม่ตึงไม่หย่อน เกิดขึ้นก่อน หรือขณะเข้าสู่เส้นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) มีอารมณ์เป็น "อัปปนาสมาธิ" ซึ่งมีคุณลักษณะเป็น "ฌาน" อย่างหนึ่ง ที่ "ปรับสภาพ" ใจของเราให้สมดุล ระหว่างเข้าสู่หนทางสายกลาง เมื่ออารมณ์เป็น "อัปปนาสมาธิ" แนบแน่นเป็นฌานขั้นต่างๆ เมื่อดำเนินจิตต่อไปถึง "ดวงศีล" ก็เป็น "อธิศีล" เมื่อถึงดวงสมาธิ ก็เป็น "อธิจิต" เมื่อถึงดวงปัญญา ก็เป็น "อธิปัญญา" กระทั่งถึงดวงวิมุติ จึงหลุดพ้นจากกิเลส พอถึงดวงวิมุติญาณทัสสนะ ก็หยั่งรู้ได้ว่ากิเลสหมดแล้ว เมื่อ "ใจ" ของผู้ปฏิบัติที่มีเห็น จำ คิด รู้ รวมกัน ถูกดวงธรรม 6 ดวง กรอง (เหมือนน้ำไหลผ่านฟองน้ำ) แล้ว ก็เข้าถึงกายธรรม หรือธรรมกาย เป็น "ใจมนุษย์" ที่ "เข้าถึง" และ/หรือ "เป็น" ธรรมกาย อยู่ระยะหนึ่ง ตราบจนกว่ามรรคสมังคีจะอ่อนตัวลงแล้วถอนถอยเพราะสังโยชน์เหนี่ยวรั้งไว้ เพลินอยู่กับวิปัสสนูปกิเลส หรือนิวรณ์กลับเข้าครอบงำ เว้นแต่จะตัดสายสังโยชน์ด้วยพระธรรมกาย ก็ไม่เป็นอันถอนถอย แต่จะทรงอยู่ดังนั้นตลอดต่อเนื่อง เป็นพระอริยบุคคล ที่ทรงอยู่ด้วยพระธรรมกาย ซึ่งมีโลกุตรฌานเป็นอารมณ์ แก่บ้าง อ่อนบ้าง ตามวัตรปฏิบัติ ดังนี้.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

มีนาคม 2563

www.meditation101.org


Executive Summary: 2 pages

พระธรรมกายเป็นรูปที่ไม่เที่ยง? และทำไมได้ธรรมกายแล้วยังไม่เป็นพระอรหันต์?

พระธรรมกายที่ผมอุปมาว่าเป็นดั่ง “รูปจิต” ที่ทรงไว้ซึ่ง “นามจิต” นั้น มีท่านค้านว่า รูปไม่เที่ยง และจิตมีสภาพเกิดดับเป็นธรรมดานั้น ผมขออธิบายว่า พระธรรมกายที่อยู่ในขั้นโลกุตระ ซึ่งตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ และ/หรือ เบื้องสูง ขาดโดยสิ้นเชิงแล้วนั้น ประชุมขึ้นจาก “ธรรม” หรือ “ธรรมธาตุ” ซึ่งพระธรรมกายขั้นต่างๆ แตกต่างกันอยู่ที่มีสังโยชน์เบื้องต่ำ เบื้องสูง มากน้อยกว่ากัน รวมถึงละเอียดบริสุทธิ์ประณีตมากน้อยตามความลุ่มลึกของภูมิจิตภูมิธรรม การคงอยู่ของพระธรรมกายขั้นโลกุตระที่ตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ และ/หรือ เบื้องสูง ขาดโดยสิ้นเชิงแล้ว ก็เปรียบเสมือนกับการคงอยู่ซึ่งภูมิจิตภูมิธรรมของพระอริยบุคคล กล่าวคือพระโสดาบัน มีศีล 5 เป็นปกติ พระอนาคามี ไม่มีราคะเป็นปกติ ฉันใดก็ฉันนั้น พระธรรมกายขั้นโลกุตระ คงสภาพอยู่ เช่นเดียวกับภูมิจิตภูมิธรรมของพระอริยบุคคลที่คงอยู่อย่างนั้น อย่างไม่มีเสื่อมถอย แต่ “สภาวธรรม” อาจจะมีหยาบ มีละเอียด มีประณีตมาก ประณีตน้อยต่างกัน กล่าวคือ ฌานมีอ่อนมีแก่ แต่ว่ากิเลสสังโยชน์หมดไปเหมือนๆกัน ตามลำดับขั้น ส่วนเรื่องจิตเกิดดับนั้น รูปจิต และนามจิต ของพระธรรมกาย ก็ไม่ได้เกิดดับเหมือนอย่าง “จิต” ในขันธ์ 5 แต่เป็นลักษณะของ “ดับหยาบไปหาละเอียด” หรือ “ถอยจากละเอียดกลับสู่หยาบ” คล้ายการเข้า การออกฌาน หรือการเข้า การออกนิโรธสมาบัติ ซึ่งเป็นความแก่-อ่อน และบริสุทธิ์มากน้อยของรูปจิต และนามจิต แห่งพระธรรมกาย ซึ่งเป็น “ธรรมขันธ์” คือประกอบด้วย "ศีลขันธ์" "สมาธิขันธ์" และ "ปัญญาขันธ์" ดังนี้.

มีท่านสงสัยถามว่า เพราะเหตุใด ผู้ที่เข้าถึงพระธรรมกายอรหัต หรือได้ครบ 18 กายแล้ว ก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์ แถมยังเสื่อมถอยจากภูมิจิตภูมิธรรมของพระธรรมกายได้อีก?

คำตอบคือ ผู้ปฏิบัติที่ไม่สละสังโยชน์ (ตัดสายสังโยชน์) เบื้องต่ำ/เบื้องสูง โดยสิ้นเชิง แต่จิตของผู้ปฏิบัติที่เข้าถึงพระธรรมกายอรหัต ได้เสวยอารมณ์ในโลกุตรฌานของพระธรรมกายอรหัต ซึ่งสามารถดับสังโยชน์ได้ทั้งหมด (แต่ดับได้ชั่วคราวเฉพาะในช่วงที่จิตของผู้ปฏิบัติกำลังทรงอยู่ในธรรมกายอรหัต) ทั้งนี้ พระธรรมกายขั้นโลกุตระ สามารถดับกิเลสสังโยชน์เบื้องต่ำ/เบื้องสูง ได้ตามลำดับ ส่วนสาเหตุที่ทำให้จิตของผู้ปฏิบัติไม่สามารถทรงอยู่ในพระธรรมกายอรหัตได้ตลอดไป อาจมีสาเหตุมาจาก “คำอธิษฐาน” (คือบางท่านปรารถนาจะเป็นพระโพธิสัตว์) หรือขาด “ความดำริชอบ” ซึ่งจะตัดสละสายสังโยชน์โดยสิ้นเชิงตลอดไป (บางท่านยังเสียดายกิเลส)

อย่างไรก็ตาม พระธรรมกายอรหัต ทรงอยู่ด้วยโลกุตรฌาน มีมรรคสมังคี แต่ถูกเหนี่ยวรั้งด้วยสายสังโยชน์ ที่ดึงให้เสื่อมจากโลกุตรฌานได้ เป็นเพราะเข้าถึงพระธรรมกายอรหัต โดยผ่านพระธรรมกายขั้นต่างๆ โดยที่ยังไม่สละตัดสายสังโยชน์เบื้องต่ำ เบื้องสูงโดยสิ้นเชิงเลย นับตั้งแต่พระธรรมกายโสดาบัน, พระธรรมกายสกทาคามี, และพระธรรมกายอนาคามี

สาเหตุที่ผู้ปฏิบัติสายธรรมกายที่เข้าถึงพระธรรมกายอรหัตแล้ว แต่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ก็เพราะ พระธรรมกายอรหัต ก็คือกายพระอรหันต์ หรือรูปจิต ครองนามจิต ที่มีภูมิจิต ภูมิธรรม ชั้นอรหันต์ของแต่ละบุคคล พระธรรมกายอรหัตมีโลกุตรฌาน ไม่มีกิเลสสังโยชน์ใดๆ ส่วนมนุษย์ก็ปฏิบัติธรรมกระทั่งถึงธรรมกายขั้นต่างๆ หากยังไม่สละสายสังโยชน์ แม้เข้าถึงพระธรรมกายอรหัตแล้ว เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันชั่วครู่ชั่วคราว แต่เมื่อสมาธิถดถอย กิเลสสังโยชน์ที่ยังไม่ตัดขาดโดยสิ้นเชิงในกายธรรมเบื้องต้นก็ดึงจิตให้กลับถดถอยลงมาสู่ภูมิจิตภูมิธรรมที่ด้อยกว่า กล่าวโดยง่ายก็คือ กายมนุษย์ กับพระธรรมกายอรหัตอาจเรียกได้ว่าเป็นคนละคนจวบจนกว่าจะ “เป็น” อันหนึ่งอันเดียวกันได้ตลอดไป ด้วยการเกิดมรรคสมังคีครบถ้วน มีบุญบารมีถึงพร้อม อธิษฐานเอื้อเฟื้อ และดำริชอบที่จะสละตัดสายสังโยชน์โดยสิ้นเชิงตลอดไป ดังนี้.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

6 มีนาคม 2563

www.meditation101.org


EXECUTIVE SUMMARY:

รูป – นาม – พระธรรมกาย – วิชชา

ในธาตุธรรมตลอดสากลโลก นามธรรมส่วนใหญ่ ต้องอาศัยรูปธรรม ในการ “ทรงอยู่” แม้แต่อรูปพรหมที่เจริญอรูปฌาน เมื่อหมดอายุขัยจากพรหมโลกแล้ว ก็ต้องถอยกลับมา “ครองรูป” อยู่ในภพภูมิต่างๆ

พระธรรมกาย คือ “รูปจิต” สาเหตุที่เรียกว่า “รูปจิต” ก็เพราะรู้ตัวได้ทั่วพร้อม ไม่เรียกรูปขันธ์ เพราะไม่ได้ทำงานสัมพันธ์กับนามขันธ์ และไม่จัดว่าเป็นขันธ์ 5 ส่วน ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระธรรมกายคือ “นามจิต” ที่เรียกว่านามจิต เพราะรู้ได้อย่างนามขันธ์ แต่ไม่มีการปรุงแต่งเหมือนนามขันธ์

พระธรรมกายไม่มีขันธ์ 5 จึงไม่มีอารมณ์ปรุงแต่ง เพราะขันธ์ 5 คือผู้ปรุงแต่ง พระธรรมกายขั้นโลกุตระมีรูปจิต และนามจิต ตรงไปตามสภาพแห่งความเป็นจริงของภูมิจิตภูมิธรรมที่เข้าถึง และอาการรู้ของพระธรรมกายคืออาการ “รู้แจ้งเห็นแจ้ง” ด้วย “ญาณทัสสนะ” มิใช่การรู้ด้วยขันธ์ 5 และกระบวนการของขันธ์ 5

มีท่านถามผมประมาณว่า ใครปรุงแต่งให้พระธรรมกาย และ/หรือ เรา?

คำตอบ ซึ่งไม่ใช่พระธรรมในศาสนาของสมเด็จพระพุทธโคดม ก็คือ พระธรรมกายก็คือ พุทธภาวะ หรือ Buddhahood ภายในตัวแต่ละบุคคล ถ้าถามว่าพระธรรมกายมาจากไหน คำตอบก็คือ พระธรรมกายก็คือรูปดั้งเดิมแรกสุดของการเกิดมาเป็นมนุษย์ นั่นคือ ทุกคนเป็นพระพุทธเจ้าเหมือนกันหมด (ไม่ใช่พระพุทธเจ้าที่ตั้งศาสนา แต่กล่าวโดยพุทธคุณ) โดยพระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรมสร้างขึ้นและส่งมาจาก "พระนิพพาน" เพื่อปราบมาร ที่มาจาก “มารโลก”  เพราะว่า กายมนุษย์มีลักษณะของรูปที่หนาแน่นกว่า ไม่แตกสลายโดยง่ายเมื่อปะทะกับมารในญาณ หากว่าปะทะกันแล้วพระธรรมกายผันแปรไปในญาณ ก็สามารถซ่อมแซมแก้ไขต่อกลับคืนได้ แต่พระธรรมกายที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นมนุษย์ในยุคเริ่มแรกสุดดังกล่าวนั้น ไม่ได้มีรูปกายหยาบเหมือนอย่างในปัจจุบัน แต่มีลักษณะกึ่งทิพย์กึ่งหยาบ คล้ายยุคที่พระพรหมลงมากินง้วนดิน แต่ฝ่ายมารก็ได้อาศัยวิชชาของตน ทำให้มนุษย์กายธรรมนั้นเสื่อมลงตามลำดับ โดยใส่กิเลสสังโยชน์เข้าไปในมนุษย์กายธรรม และมีโปรแกรมกฎแห่งกรรมเกิดขึ้น จากการปะทะ ต่อกร ต่อรอง และบรรลุข้อตกลงกัน ระหว่างฝ่ายพระนิพพาน และฝ่ายมารโลก กล่าวคือ ต่างฝ่ายต่างส่ง “ธรรม” ของตนมาปกครองมนุษย์ โดยฝ่ายพระนิพพานส่ง “กุศลธรรม” มาดลบันดาล กาย วาจา ใจ ของมนุษย์ให้คิดดี พูดดี ทำดี ซึ่งโปรแกรมกฎแห่งกรรมจะคำนวณ บุญบารมีจ่ายให้ และกำหนดโปรแกรมผลกรรมดีให้เกิดขึ้น กระทั่งไปสวรรค์ และกลับนิพพาน ส่วนฝ่ายมาร ส่ง “อกุศลธรรม” มาบังคับ กาย วาจา ใจ ของมนุษย์ ให้คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว แล้วโปรแกรมกฎแห่งกรรมก็จะคำนวณบาป และโปรแกรมผลกรรมชั่วให้เกิดขึ้น กระทั่งไปอบายภูมิ ตกนรก มีโลกันตนรก เป็นที่สุด แล้วโปรแกรมกฎแห่งกรรมนี่เอง ที่บันดาลให้มนุษย์กายธรรมเสื่อมลง กระทั่งเป็นชาย เป็นหญิง เป็นสัตว์เดรัจฉาน บ้างก็รูปงาม บ้างก็รูปไม่งาม ผันแปรเปลี่ยนไป โดยในยุคที่มนุษย์เริ่มมีหญิงมีชายแบ่งแยกเพศเป็นครั้งแรก ผู้ที่มีธาตุเข้มข้นมากหน่อยก็จะกลายเป็นชาย ส่วนผู้ที่มีธรรมเข้มข้นมากหน่อยก็จะกลายเป็นหญิง อย่างในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:

https://www.meditation101.org/16643179/9-ความเป็นมาของธาตุธรรม

 

มีท่านถามผมประมาณว่า ผู้ที่ไม่เห็นพระธรรมกาย จะทำวิชชาได้หรือไม่?

คำตอบคือ ต้องขึ้นอยู่กับว่า ให้คำจำกัดความ "วิชชา" ไว้มากน้อยแค่ไหน ตามหลักการแล้ว “วิชชานั้นขึ้นอยู่กับจรณะ 15” ส่วนผู้ที่มีตาทิพย์ หูทิพย์ โดยยังไม่บรรลุธรรม ซึ่งออกคลิปยูทูปหลายท่าน ก็ไม่ได้เห็นธรรมกาย แต่มีตาทิพย์ หูทิพย์ ซึ่งก็จัดว่าเป็นวิชชาอย่างหนึ่ง ส่วนวิชชาธรรมกาย ก็ต้องอาศัยพระธรรมกายในการเดินวิชชาเป็นหลัก ส่วนวิชชาพระจักรพรรดิ ก็ต้องอาศัยกายพระจักรพรรดิเดินวิชชา (ประกอบรัตนะ 7) ส่วนว่าเห็นพระธรรมกายแล้ว แต่ยังละสังโยชน์ไม่ได้ ก็ถือว่าพระธรรมกายนั้นยังมิใช่โลกุตระ ฌานของพระธรรมกายก็ยังไม่ใช่ โลกุตระ ภูมิจิต ภูมิธรรม ก็ยังไม่จัดว่าเป็นโลกุตระ ยกเว้นแต่จะเป็นโดยชั่วคราว ซึ่งก็มีท่านกล่าวว่า พระธรรมกายนั้นจัดว่าเป็นฌาน ก็เพราะระงับกิเลสเหมือนก้อนหินทับหญ้า ดังนี้.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

5 มีนาคม 2563

www.meditation101.org

 

มีท่านถามคำถามผมมาประมาณว่า ในเมื่อผมอุปมา พระธรรมกาย ว่าเป็น "รูปจิต" แล้วผู้ที่อาศัยพระธรรมกายในการทำวิชชา นั้นเป็นไปได้ไฉน?

คำตอบคือ ก่อนอื่น ต้องหยิบยกขึ้นก่อนว่า "วิชชา" คืออะไร วิชชาก็คือความรู้แจ้ง วิชชานั้นถ้าพูดในภาษาไทย อาจจะหมายถึงคุณวิเศษก็ได้ เช่นหูทิพย์ ตาทิพย์ รู้วาระจิต ระลึกชาติได้ ซึ่งในพระศาสนาของสมเด็จพระพุทธโคดมนั้นเรียกว่า วิชชา 3 วิชชา 8 มีอาสวักขยญาณ เป็นที่สุด ทั้งนี้วิชชาทั้งปวงตั้งอยู่โดย "จรณะ 15" ทั้งสิ้น รวมถึงวิชชาธรรมกาย

วิชชาธรรมกายมีลักษณะคล้าย "มโนมยิทธิ" ซึ่งจัดเป็นวิชชาประเภทหนึ่งในวิชชา 8 ทั้งนี้เพราะผมได้มีประสบการณ์แปลตำราคู่มือสมภาร และมรรคผลพิสดาร เล่ม 1 เห็นว่า การเดินวิชชา มีลักษณะของการอาศัยพระธรรมกายและดวงธรรม ในการทำกิจต่างๆ แต่ถ้าจะสรุปให้เข้ากับศาสนาของพระพุทธโคดม ผมจึงขอ จัดวิชชาเข้าหมวดหมู่ของมโนมยิทธิ ซึ่ง "รูปจิต" และ "นามจิต" บันดาลฤทธิ์ไปต่างๆ นาๆ ครับ โดยที่ พระธรรมกายเองนั้นเป็นกายที่ทรงจรณะ 15 อยู่ในตัวเอง แต่พวกที่เป็นมิจฉาธรรมกาย หรือ อธรรมกาย ก็เป็นอีกประเภทหนึ่งครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

5 มีนาคม 2563

www.meditation101.org

 

อานาปานสติเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุดหรือไม่?

ในความเห็นของผม อานาปานสติ เป็นวิธีการที่ใช้ในการประคองอารมณ์ที่ดี ใช้ได้กับคนส่วนใหญ่ (ขึ้นอยู่กับอัธยาศัยและการบำเพ็ญมา) แต่อานาปานสติ ชื่อก็บอกโดยตรงอยู่แล้ว ว่าเป็นการเจริญ "สติ" โดยอาศัย "ลมหายใจ" เป็นประดุจ “บริกรรมนิมิต” หรือ “บริกรรมภาวนา” เมื่อจิตหยั่งลงสู่สมาธิ กระทั่งถึงฌานที่ละเอียดขึ้นไป ลมหายใจ จะ "หยาบ" กว่าอารมณ์ในสมาธิ ที่เป็นฌาน มีผู้ปฏิบัติอานาปานสติแล้วจะเห็นว่า เมื่อจิตสงบแล้ว สามารถเห็นลมหายใจ ที่กำหนดใน อานาปานสติ เป็นควันบางๆ เคลื่อนไปมา ผู้ปฏิบัติธรรมอาจจะยุติการกำหนดลมหายใจ แล้วเข้าสู่อารมณ์ของฌาน ซึ่งหยุดนิ่งรวมเป็นเอกคตา ณ จุดใดจุดหนึ่ง ไม่เคลื่อนตามลมหายใจอีกครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

5 มีนาคม 2563

www.meditation101.org

 

Executive Summary: 2 page

ความสุขในพระนิพพาน กับพระธรรมกายเป็นเพียงนิมิตหรือไม่?

วันนี้ผมเกิดมีความสนใจในเรื่องของฌาน และลำดับขั้นของสมาธิ ฌาน 8 และสมาบัติ น่าจะพัฒนาต่อยอดในแง่ความรู้ทางวิชชาได้ และมีคำเกิดขึ้นในใจว่า "อรูปธรรมกาย" คือ "กายธรรมเจริญอรูปฌาน" ผมศึกษาเพิ่มเติม ได้พบเว็บไซท์ของคุณปฐวี ซึ่งดีมากๆ ผมจึงแชร์มาพร้อมโพสต์นี้ แต่ประเด็นคำถามที่น่าสนใจจากการอ่านเว็บไซท์ของคุณปฐวีเกิดขึ้น เมื่อผมอ่านคำอธิบายของพระสารีบุตรว่า พระนิพพานไม่มีเวทนา เหตุใดจึงเป็นสุข เมื่อผมพินิจพิเคราะห์ดู แล้วพบคำตอบว่า ในพระนิพพาน ไม่มีสุขจากการปรุงแต่ง แต่มีเพียงสุขจากสภาวธรรมอันไม่ปรุงแต่งที่ทรงอยู่ เป็นสภาวะธรรมชาติของจิต และสภาวะธรรมชาติของพระนิพพาน ซึ่งสิ่งที่ให้สุขในนิพพาน ก็คือใจเราเองที่เป็นประภัสสรครับ เพราะดวงจิตดั้งเดิมของมนุษย์นั้นสะอาด สว่าง สงบ และเป็นสุข แต่เมื่อกิเลสเข้ามาครอบงำ เราก็เป็นทุกข์ แบ่งเป็นทุกข์กาย กับทุกข์ใจ พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลก อาจจะมีทุกข์กาย เจ็บป่วย หิวกระหาย แต่ไม่มีทุกข์ใจ ส่วนพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ที่เข้านิพพานแล้ว ไม่มีความทุกข์กาย และไม่มีความทุกข์ใจ ก็เป็นสุข "เหมือนเดิม" อย่างที่เคยเป็นมาก่อน คือจิตดั้งเดิมเป็นประภัสสรครับ

Credit: https://buddhadhamma-memo.blog

ส่วนว่า “พระธรรมกาย” ก็คือ "ใจ" ของเราเอง อันเกิดจาก "ธรรม" ที่ประชุมขึ้นเป็นรูป อาจกล่าวได้ว่าเป็น "รูปธรรม" ที่ครอง "นามธรรม" พระธรรมกายเข้าฌาน 1 ถึง 8 ก็คือ "ใจ" เข้าฌาน 1 ถึง 8 ครับ ชาวตะวันตกบางท่านฝึกธรรมกาย เห็นพระธรรมกายแล้วไม่สบายใจ เพราะเป็นชาวคริสต์ ก็เลยไม่กำหนดรูปของพระธรรมกายครับ แต่ภูมิจิต ภูมิธรรม ก็ทรงอยู่ตามลำดับขั้นต่างๆ ของพระธรรมกาย แม้ไม่เห็นพระธรรมกาย อย่างไรก็ตาม พระธรรมกายมี 2 ขั้นตอนหลักๆ คือแรกๆ จะเป็นเพียงนิมิต เช่น ปฏิภาคนิมิต และ อุคคหนิมิต คล้ายการเจริญกสิณที่กำหนดรูป แต่เมื่อพ้นจากขั้นนิมิตแล้ว ก็เป็น "สภาพรูปธรรม" ที่ครอง “นามธรรม” ดังที่เคยกล่าวไว้ ทั้งนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมบางท่านเห็นธรรม เป็นดวงกลมบ้าง เป็นกลุ่มแสงบ้าง เป็นไอละอองหมอกควันบ้าง “ธรรม” จึงเปรียบเสมือนน้ำใสชุ่มเย็น บางครั้งก็อยู่ในรูปของไอน้ำที่เบา บางครั้งก็เป็นดุจของเหลวที่ไม่มีรูปร่างแน่นอน ส่วนพระธรรมกาย เปรียบได้กับ “ธรรม” คือน้ำที่แช่แข็งขึ้นรูป เป็นก้อนน้ำแข็ง ที่เป็นตัวเป็นตน ดังนี้.


มีท่านถามผมว่า "พระธรรมกาย" เป็น "อัตตา" จริงหรือไม่?

คำตอบคือ พระธรรมกายนั้นเป็นได้ทั้ง "อัตตา" และ "อนัตตา" ครับ หมายความว่า ในสภาพปกติ พระธรรมกาย คือรูปธรรม ที่ประชุมขึ้นจากธรรมอันเป็นโลกุตรธรรมนั้น มีสภาพคงอยู่ได้นิจนิรันดร์ ซึ่งโดยนัยยะนี้ เราไม่นับรวมถึงพระธรรมกายที่เป็นอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต แต่เราหมายถึงพระธรรมกายที่เกิดจากการประชุมธรรมที่ภูมิจิตภูมิธรรมเข้าถึงโลกุตรธรรมตามลำดับขั้นต่างๆ แต่ในกรณีที่ พระธรรมกายประชุมขึ้นจากโลกียธรรม ก็ยังมีเสื่อมถอย และ/หรือ ในกรณีที่พระธรรมกายที่ประชุมขึ้นจากโลกุตรธรรมนั้น ปะทะกับมาร กระทั่งต่างแตกสลาย หรือเสียหาย พระธรรมกายดังกล่าวก็มีอันจะต้องเปลี่ยนแปลงไป คือไม่เที่ยง ดังนี้.  


มีท่านถามผมว่า เพราะเหตุใดจึงดำริคำว่า "อรูปธรรมกาย"?

คำตอบคือ จากประสบการณ์ในการอ่านและแปลงานวิชชาธรรมกาย พระธรรมกาย ที่เจริญอารมณ์ "ว่าง" จะกอปรเป็น "อรูปฌาน" ในทำนองเดียวกันกับ "อรูปพรหม" ในหลักวิชชาธรรมกาย ซึ่ง "อรูปพรหม" ไม่ใช่พระพรหมที่ไม่มีรูปร่างตัวตน เพราะในแผนผัง 18 กาย ก็ยังเห็นว่ามีภาพอรูปพรหมอยู่ อรูปพรหมจึงเป็นกายพระพรหมที่เจริญอรูปฌาน ในทำนองเดียวกันกับ ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้วพิจารณา "สุญญตา" นั่นคือความ "ว่างของจิต" ที่เห็นทุกอย่างว่างเปล่า ซึ่งเป็นสภาวะของใจ คือสภาวะธรรม ไม่ใช่สภาวะของกาย ซึ่งก็ยังคงอยู่ ไม่ได้สูญหายไปไหน ตามกฎอนุรักษ์มวลสารและพลังงานครับ ดังนี้.


พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

4 มีนาคม 2563

www.meditation101.org

 

Executive Summary: 2 pages

พระญี่ปุ่นที่มีภรรยา ถือว่าเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาหรือไม่?

ก่อนอื่นขอกล่าวอ้างคำสอนของสมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนว่า พระองค์ทรงยอมรับว่า เมื่อยุคสมัยแห่งพุทธกาล เริ่มเข้าใกล้สู่ปลายยุค สังคมมนุษย์จะเสื่อมศีลธรรม และมนุษย์จะมีอายุขัยน้อยลงตามลำดับ ส่วนพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ก็จะมีข้อวัตรปฏิบัติที่ย่อหย่อนลงเรื่อยๆ กระทั่งถึงระดับหนึ่ง พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจะแต่งกายเหมือนอย่างฆราวาสทั่วไป แต่จะมีชิ้นผ้ากาสาวพัสตร์ติดไว้ที่เสื้อ แม้กระนั้น บุคคลผู้ทำบุญกับพระสงฆ์ประเภทนี้ ก็ยังได้บุญมาก แต่พระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงตรัสห้ามไว้ล่วงหน้าว่า หากบุคคลยังสามารถขวนขวายบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนากับพระอุปัชฌาย์ได้ และทำตามพระธรรมวินัยดั้งเดิมได้ ก็พึงทำเช่นนั้น ไม่พึงบวชตนเอง กล่าวโดยง่ายก็คือ หากยังคงทำตามพระธรรมวินัยได้ ก็ให้ทำตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ แต่ถ้ายุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่เอื้อเฟื้อต่อการทำตามพระธรรมวินัย ก็ค่อยอนุโลมว่ากันอีกทีครับ

สำหรับพระญี่ปุ่น ซึ่งแต่งกายเหมือนฆราวาสในเวลาปกติ แต่สวมจีวรในเวลาทำพิธีกรรม มักมีข้อกังขาในสมาคมพระสงฆ์นานาชาติว่า จะยอมรับนับถือว่าเป็นพระสงฆ์ได้หรือไม่ บ้างก็เห็นด้วย บ้างก็ไม่เห็นด้วย สำหรับผม.. ผมขอแนะนำหลักการในการพิจารณาบุคคลว่าเป็นพระสงฆ์หรือไม่ตามหลัก “พรหมจรรย์ 10 ประการ” ซึ่งพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ ดังนี้:

พรหมจรรย์ อันเป็นข้อวัตรปฏิบัติในพระพุทธศาสนานั้น มี 10 อย่าง คือ
1. ทานการให้ การบริจาค การเสียสละ
2. เวยยาวัจจะ การขวนขวายในกิจพระพุทธศาสนา
3. เบญจศีล มีศีล 5 เป็นปกติ
4. เมตตาอัปปมัญญา มีเมตตาจิต และพรหมวิหารธรรม
5. เมถุนวิรัติ งดเว้นการเสพเมถุน
6. สทารสันโดษ ความสันโดษ พึงพอใจตามมีตามได้
7. วิริยะ ความพากเพียรในพระธรรมวินัย
8. อุโบสถ มีศีล 8 เป็นปกติ หรือในวันธรรมสวนะ
9. อริยมรรค ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 ตาม ศีล สมาธิ ปัญญา
10. ศาสนา
นับถือพระพุทธศาสนา

Credit: พรหมจรรย์ 10 ประการ

https://dhamma.mthai.com/principle/742.html

https://www.dhammahome.com/webboard/topic/8620

ทั้งนี้ ท่านที่เคยอ่านพระไตรปิฎกอาจจะเคยพบคำว่า “อยู่จบพรหมจรรย์.. หมดกิจในพระพุทธศาสนา” เมื่อมีพระสงฆ์สาวกบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ โดยนัยนี้ พระสงฆ์สาวกที่ยังเป็นปุถุชน คือเป็นสมมติสงฆ์ เป็นพระที่ยังไม่บรรลุธรรมขั้นใดเลย รวมถึงพระที่เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี คือพระอริยเจ้าเบื้องต้น เบื้องกลาง ก็ “ยังไม่อยู่จบพรหมจรรย์.. และยังมีกิจในพระพุทธศาสนาที่ยังต้องทำอีก” ซึ่งกิจในพระพุทธศาสนาของสงฆ์ก็มี (1) คันถะธุระ การศึกษาพระธรรมวินัย และ (2) วิปัสสนาธุระ การประพฤติปฏิบัติธรรม

ด้วยหลักการนี้ เราสามารถนำ “พรหมจรรย์ 10 ประการ” มาพิจารณาสถานภาพ ความเป็น ภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาของบุคคล กล่าวคือ ผู้ที่จะเป็นพระภิกษุในยุคนี้ อาจจะต้องอยู่ในพรหมจรรย์ 7 – 10 ข้อ มากกว่า หรือน้อยกว่า ตามแต่สงฆ์ในแต่ละสังฆมณฑล หรือองค์คณะจะตกลงยึดถือเป็นวัตรปฏิบัติ โดยคำนึงถึงนโยบายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่า หากยังสามารถบวชกับพระอุปัชฌาย์อย่างถูกต้อง และเอื้อเฟื้อตามพระธรรมวินัยได้ ก็ขอให้ทำตามกำหนด แต่ถ้าหากไม่สามารถเอื้อเฟื้อตามพระธรรมวินัยได้แล้วจริงๆ ค่อยอนุโลม

ดังนั้น พระภิกษุญี่ปุ่น แม้ว่าจะมีภรรยา ไม่สามารถรักษาวัตรข้อ 5 คือ เมถุนวิรัติ ได้ แต่หากสามารถรักษาข้อวัตรอื่นๆ ได้ประมาณ 6 – 8 ข้อเป็นอย่างน้อย ก็ยังพอยอมรับนับถือได้ว่า เป็นภิกษุสงฆ์ผู้ประพฤติอยู่ในพรหมจรรย์ และยังมีกิจในพระพุทธศาสนาที่ต้องทำต่อไปครับ ดังฉะนี้ครับ.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

1 มีนาคม 2563

www.meditation101.org


Executive Summary: 3.5 pages

ทำไมประเทศชาวพุทธจึงไม่เจริญสวยงามเหมือนประเทศศาสนาอื่น?

อธิบายสไตล์ พิรจักร (1 มีนาคม 2563)

ก่อนอื่นขออ้างถึงบทความก่อนๆ เรื่อง รัตนะ 7 กับความเจริญของประเทศชาติ ซึ่งผมได้เคยกล่าวไว้ว่า ประเทศแต่ละประเทศมี “ภาคผู้เลี้ยง” (ภาษาวิชชา) หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า “เทวดาประจำเมือง” ซึ่งเทวดาประจำเมือง มักจะเป็นบรรพบุรุษผู้ก่อตั้งประเทศ หรือผู้นำประเทศที่มีความรู้ความสามารถ ละโลกไปแล้ว ไปเกิดเป็นเทวดาประจำเมืองที่ตนเคยปกครอง ซึ่งการปกครองแบ่งคร่าวๆ ตาม “รัตนะ 7” คือ (1) จักรแก้ว คืออำนาจ การเมือง การปกครอง(2) แก้วมณี คือความรู้ การศึกษา เทคโนโลยี (3) ขุนพลแก้ว คือทรัพยากรมนุษย์ (4) ขุนคลังแก้ว คือ ทรัพยากรสำหรับอุปโภค บริโภค ใช้สอย (5) นางแก้ว คือศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี (6) ช้างแก้ว ภาคบริการ การแพทย์ การพยาบาล ความโอบอ้อมอารีย์ (7) ม้าแก้ว คือการคมนาคมสัญจร

ทั้งนี้ ความสวยงามของศิลปวัฒนธรรม ของแต่ละประเทศส่วนใหญ่ จะอยู่ในกำกับการของเทวดาประจำเมืองที่ทำหน้าที่ “นางแก้ว” คือ “อิตถีรัตนะ” หรือบางครั้งจะเป็น “บุรุษรัตนะ” ก็ได้ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นหญิงเสมอไป แต่ส่วนมากจะเป็นหญิง เมื่อเทวดาฝ่ายนางแก้ว “ส่งฤทธิ์หล่อเลี้ยง” ประเทศชาติบ้านเมือง นับตั้งแต่ผู้ปกครอง ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน จะมีความรู้ความสามารถในเรื่องศิลปะวัฒนธรรมประเพณีที่ดี ซึ่งทุกประเทศก็มีเทวดาประจำเมืองที่ทำหน้าที่นี้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศชาวคริสต์ หรือประเทศชาวพุทธ

อย่างไรก็ตาม ประเทศชาวพุทธ เป็นประเทศที่ส่วนใหญ่แล้ว มีความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ รวมถึงศิลปวัฒนธรรม และความสวยงามของสิ่งปลูกสร้าง สถานที่ และสิ่งแวดล้อม ระดับหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศศาสนาอื่น ทั้งนี้เพราะพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่ให้ธรรมะคือความรู้ที่ตรงหรือใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เช่นเรื่องกฎแห่งกรรม การเวียนว่ายตายเกิด การทำบุญ ทำบาป และการส่งผลของบุญ และบาป เป็นเหตุให้ชาวพุทธไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์มากด้วยกัน ในขณะที่ศาสนาอื่นส่วนมากเชื่อเรื่อง “พระเจ้า” ซึ่งศาสนาพุทธเราไม่ได้สอน แต่ในภาษาวิชชาเราเรียกพระองค์ว่า “องค์บรมธาตุ” ซึ่งพระองค์ทรงเป็นต้นกำเนิดสรรพสิ่ง และเรานับถือพระองค์ในฐานะ “พระพุทธเจ้า” พระองค์หนึ่ง โดยที่พระองค์ก็ทรงเป็นชาวพุทธด้วย แต่เรื่องราวของโลกธาตุ ซึ่งมีต้นกำเนิดจากองค์บรมธาตุ ก็ไม่ได้เป็นอย่างที่ชาวศาสนิกอื่นเข้าใจ สรุปคือ มีองค์บรมธาตุ แต่เรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์ในศาสนาอื่นนั้น เป็นการเข้าใจผิด อย่างเช่นว่า พระองค์ทรงมีอำนาจสูงสุด และความทุกข์ทรมานของมนุษย์นั้นเป็นการ “ทดลองใจ” ของพระองค์ ซึ่งผู้ที่เชื่อในพระองค์จะได้ไปอยู่กับพระองค์ในสวรรค์ แต่ความเป็นจริงตามสายวิชชา (พระพุทธศาสนาของพระพุทธโคดมไม่ได้สอน) ก็คือ องค์บรมธาตุ ทรงเป็นองค์ต้นกำเนิดโลกธาตุโดยเหตุบังเอิญ พระองค์ไม่ได้มีอำนาจสูงสุด แต่มีฝ่ายพระนิพพาน และมารโลก ที่ “ประชันฤทธิ์” กันอยู่เสมอๆ เป็นเหตุให้สรรพสัตว์มีสุขมีทุกข์ มีบุญมีบาป มีสวรรค์มีนรก มีโปรแกรมกฎแห่งกรรม ตามที่ประชันฤทธิ์กัน ซึ่งพระพุทธเจ้าที่ปกครองพระนิพพาน เราเรียกว่าพระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรม ส่วนผู้ที่ปกครองมารโลก ภาษาวิชชาเรียกว่า ต้นธาตุต้นธรรมมาร ทั้งสองฝ่ายนี้ประชันฤทธิ์กัน คอยดลจิตดลใจสรรพสัตว์ให้ดีร้ายไปต่างๆนาๆ ไม่ใช่การทดลองใจของใคร และใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อในองค์บรมธาตุ หากทำกรรมดี ก็ไปสุคติ ทำกรรมชั่วก็ไปอบาย ตามกฎแห่งกรรม ไม่ได้ไปอยู่กับองค์บรมธาตุ เพราะพระองค์มีที่ประทับเฉพาะในภพของพระองค์ ไม่สามารถเข้าออกโดยง่าย

อธิบายมาถึงตรงนี้แล้ว ก็วกกลับมาที่เทวดาประจำเมือง ก็คือ เทวดาประจำเมืองของประเทศชาวพุทธก็ส่งฤทธิ์ดลบันดาลให้ประเทศสวยงาม มีศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม แต่ฝ่ายมารก็ไม่ชอบใจ เพราะไม่อยากให้ประเทศชาวพุทธเจริญรุ่งเรือง เพราะถ้าประเทศชาวพุทธเจริญมาก จะมีผลทำให้มีคนไปสวรรค์ไปนิพพานกันมากขึ้น ซึ่งมารเขาไม่ชอบใจ เนื่องจากหากพระนิพพานมีพระพุทธเจ้าพระอรหันต์มากขึ้น ก็จะมีกำลังมากขึ้น ส่วนมนุษย์ที่ไปสวรรค์ก็จะมีความสุขโดยทั่วกัน ซึ่งมารไม่พอใจ เพราะมารมีปกติเห็นว่าสรรพสัตว์ควรมีความทุกข์ เป็นอัธยาศัยอันธพาลที่เขาชอบของเขาอย่างนั้น เขาก็เลยบั่นทอนฤทธิ์ของเทวดาประจำเมืองชาวพุทธ ส่วนประเทศศาสนาอื่น เขาก็ปล่อยๆไป ไม่ค่อยขัดขวางมาก แต่ก็มีบ้างตามแบบคนพาล ที่ไม่เข้าใครออกใครสักเท่าไร ด้วยเหตุนี้ ความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ รวมถึงศิลปวัฒนธรรมของประเทศชาวพุทธจึงอยู่ในระดับหนึ่ง แม้ว่าจะทำบุญกันมากต่อมากอย่างประณีตสวยงามมากบ้างน้อยบ้าง ถูกต้องตามกฎแห่งกรรม ซึ่งควรที่จะได้อานิสงส์มากกว่าและดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างศาสนา

นอกจากนี้ เหล่ามารยังสิงสู่ดลจิตดลใจผู้นำประเทศชาวพุทธให้ทำสงครามต่อกันและกัน เช่นประเทศพม่ารบกับไทย แล้วเผาเมือง ทำลายวัดวาอาราม พระพุทธรูป พระวิหาร เจดีย์ เช่นเดียวกับที่ประเทศไทย รบกับลาว แล้วเผาทำลายในทำนองเดียวกัน ดังนี้แล้ว ก็เกิดเป็นบาปใหญ่ เพราะเป็นกรรมที่ทำลายพระพุทธศาสนา เมื่อทำลายแล้ว ก็มีการสาปแช่งกันและกัน ด้วยกรรมที่ชาวพุทธ ทำกับชาวพุทธด้วยกันเช่นนี้ บาปจึงมากกว่าสงครามศาสนาของประเทศอื่น หรือสงครามระหว่างผู้ที่ไม่มีศาสนาของประเทศอื่น ประเทศชาวพุทธหลายประเทศ จึงเป็นประดุจตกอยู่ในคำสาป ทำให้ไม่เจริญมาก หรือเจริญอย่างลุ่มๆดอนๆ

สำหรับคำอธิบายเรื่องมารที่บั่นทอนพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ และอุบาสก อุบาสิกา ชาวพุทธนั้น ก็คล้ายๆ ตอนที่มารคอยติดตามพระพุทธเจ้า เพื่อทูลให้พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ถามว่าเพราะเหตุใด พระพุทธเจ้าจึงไม่ทรงอธิฐานบารมีแสดงฤทธิ์ขับไล่มารไปเหมือนคราวตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ หรือตอนปราบพยศพญานาค และยักษ์ ทั้งนี้ก็เพราะมารเขาก็มี “บารมีมาร” เหมือนอิทธิพลของยากูซ่า หรือเจ้าพ่อมาเฟีย แม้พระไตรปิฎกจะใช้ภาษาที่สุภาพว่ามารทูลพระพุทธเจ้า แต่ในความเป็นจริงก็เป็นการบีบบังคับกันอยู่ในที หรือจะเรียกว่าเป็นการ “กดดัน” กันก็ว่าได้ ซึ่งมารที่มากดดันให้พระพุทธเจ้าปรินิพพานก็ไม่ใช่เทวบุตรมารจากสวรรค์ แต่เป็นมารจากมารโลก ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรง “เล่นสิทธิ์” กับมาร กล่าวคือ ถ้าพระองค์ทรงสามารถได้รับคำอาราธนาให้เจริญอิทธิบาท 4 ได้ ก็จะยังไม่ทรงปรินิพพาน แต่มารก็กำบังเอาไว้ทุกครั้ง ทั้งๆที่พระพุทธเจ้าก็ทรงมีพุทธานุภาพ สามารถสั่งสอนให้บุคคลบรรลุธรรมได้ แต่เพียงแค่การอาราธนาให้เจริญอิทธิบาท 4 กลับยังไม่ได้ ซึ่งมารเขาก็ใช้ฤทธิ์และอำนาจของเขาในทำนองเดียวกันนี้ กับเทวดาประจำเมืองชาวพุทธ และเทวดาประจำพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นการตัดรอนและปิดกั้น

อนึ่ง หากถามว่า ผู้ที่มีบาปมาก และผู้ที่มีบุญมาก จะอยู่ในประเทศใด คำตอบคือ ผู้ที่มีบาปมาก และมีบุญมากก็อยู่ในประเทศชาวพุทธนี่เอง คนมีบุญมาก คือพระอริยสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา พระอริยบุคคล ที่ตั้งใจปฏิบัติพระพุทธศาสนา ส่วนคนมีบาปมาก ก็คือพระและฆราวาสที่ทำบาปในพระพุทธศาสนา ฆ่าพระสงฆ์เพื่อชิงทรัพย์บ้าง โกงเงินของวัดบ้าง บวชเพื่อแสวงหาลาภ หากินกับพระพุทธศาสนาบ้าง ด้วยเหตุนี้จึงสามารถกล่าวได้ว่า คนมีบุญมาก กับคนมีบาปมาก ก็อยู่ในประเทศชาวพุทธด้วยกันนี่เอง และคนมีบาปมากๆ เวลาอยู่ที่ไหน ก็ทำให้ที่นั่นไม่ค่อยเจริญ มีปัญหา มีอาเพศเหตุภัยต่างๆเกิดขึ้น ดังนี้.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

1 มีนาคม 2563

www.meditation101.org


EXECUTIVE SUMMARY: บทสรุปผู้บริหาร อธิบายสไตล์ พิรจักร

พระพรหม และผู้ปฏิบัติพรหมวิหาร 4 ทรงฌานได้อย่างไร?

 “พรหมวิหาร 4” ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เป็น “สมถภาวนา” คืออารมณ์ที่ทำให้ใจสงบเป็นสมาธิได้ระดับหนึ่ง กระทั่งสามารถหยั่งลงสู่ “รูปฌาน 4” ได้ เพราะพรหมวิหาร 4 แต่ละอย่าง หรือร่วมกัน เป็นธรรมารมณ์ที่สามารถดับนิวรณ์ 5 ได้ โดยหลักดังนี้

     1.       ความเกียจคร้าน ดับด้วยกรุณา และ/หรือ พรหมวิหารอื่นๆ

     2.       ความยินดียินร้ายในกาม ดับด้วยมุทิตา และ/หรือ พรหมวิหารอื่นๆ

     3.       ความพยาบาท ดับด้วยเมตตา และ/หรือ พรหมวิหารอื่นๆ

     4.       ความฟุ้งซ่าน ดับด้วยอุเบกขา และ/หรือ พรหมวิหารอื่นๆ

     5.       ความลังเลสงสัย ดับด้วยอุเบกขา และ/หรือ พรหมวิหารอื่นๆ

เมื่อนิวรณ์ทั้งหมดดับลง ผู้เจริญพรหมวิหาร 4 สามารถเข้าถึง รูปฌาน 1 ถึง 4 โดยมีพรหมวิหาร 1 – 4 เป็นธรรมารมณ์ ทั้งนี้ เมตตา, กรุณา, มุทิตา เป็นธรรมารมณ์ดับนิวรณ์ เพื่อทรงฌาน 1 – 3 เนื่องจากรูปฌาน 1 – 3 มีอารมณ์อันเป็นสุขเป็นผล กล่าวคือใจเป็นสุขแล้วมีเมตตา ใจเป็นสุขแล้วมีกรุณา ใจเป็นสุขแล้วมีมุทิตา ส่วนอุเบกขาเป็นธรรมารมณ์ดับนิวรณ์ เพื่อทรงฌานที่ 4 ซึ่งปราศจากอารมณ์อันเป็นสุข แต่เป็นอุเบกขารมณ์ ไม่ยินดี ยินร้าย ครั้นทรงฌานแล้ว ไม่ว่าฌาน 1 – 4 ขั้นใด ถ้ามีจิตควรแก่การงาน (ใจมีสภาพอันเหมาะสม) หากเกิด “มรรคสมังคี” ประกอบกับบุญบารมี และอธิษฐานมาถึงพร้อม ก็จะสามารถเข้าสู่หนทางสายกลาง ละกิเลสสังโยชน์ บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลในประเภท “เจโตวิมุติ” ได้ แต่ขั้นของฌานจะมีผลต่อวิชชา 3 วิชชา 8 อภิญญา 6 ที่จะเกิดขึ้น เพราะฌาน 1 – 4 จัดเป็นส่วนหนึ่งอยู่ใน “จรณะ 15” ซึ่งเป็นเครื่องก่อกำเนิด “วิชชา” ทั้งหลาย

พระรูปพรหมทั้งหลาย อุบัติขึ้นในรูปภพ พรหมโลกได้ ก็เพราะทรงรูปฌาน โดยจะประกอบเหตุเป็นพรหมวิหาร 4 หรือ สมถภาวนาอื่นๆ ก็ย่อมได้ แต่พระรูปพรหมทั้งหลาย ไม่ว่าจะใช้สมถภาวนาวิธีใดก็มีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มากน้อยแต่ละข้อ เป็นธรรมประจำใจ โดยที่ทรงอยู่ในฌาน 1 – 4 อ่อนแก่ต่างกันไป (อรูปพรหม ที่เจริญอรูปฌาน ไม่จัดอยู่ในเนื้อหาของบทสรุปผู้บริหารนี้)

สำหรับผู้ที่อาศัยสมถภาวนาวิธีการอื่นๆ กระทั่งเข้าถึง ฌาน 1 – 4 แล้ว จะย้อนกลับมาเจริญพรหมวิหาร 4 ก็ย่อมได้ แต่จะมีผลคือ ใจจะประณีตมากขึ้น หรือประณีตน้อยลงได้ เพราะธรรมารมณ์แห่งพรหมวิหาร 4 มีความหนัก ความเบา ต่อใจ ดังนี้.

29 กุมภาพันธ์ 2563

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

www.meditation101.org


Executive Summary: มรรค 8 สมังคี คืออะไร?

อธิบายสรุปเข้าใจง่าย สไตล์พิรจักร

มรรคมีองค์ 8 ได้ แก่ (1) มีความเห็นถูก (2) มีความดำริคิดถูก (3) มีวาจาถูก (4) มีความปฏิบัติถูก (5) เลี้ยงชีพถูก (6) มีความเพียรถูก (7) มีสติถูก (8) มีสมาธิถูก

มรรคมีองค์ 8 สามารถจัดกลุ่มเข้าในหลักธรรมไตรสิกขา หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา ได้ดังนี้

ศีล: (1) มีวาจาถูก (2) มีความปฏิบัติถูก (3) เลี้ยงชีพถูก

สมาธิ: (1) มีความเพียรถูก (2) มีสติถูก (3) มีสมาธิถูก

ปัญญา: (1) มีความเห็นถูก (2) มีความดำริถูก

ทั้งนี้ มรรคมีองค์ 8 สามารถแบ่งแยกออกเป็น 2 นัยยะ คือ (1) รูป คือรูปธรรม และ (2) นาม คือนามธรรม ในส่วนที่เป็นรูปธรรม มรรคมีองค์ 8 คือข้อปฏิบัติ ทางกาย วาจา ใจ 8 ข้อ แต่ในส่วนที่เป็นนาม หรือนามธรรม มรรคมีองค์ 8 คือ “มโนธรรม” หรือ “ธรรมารมณ์” ทั้ง 8 ประการ โดยมโนธรรมนี้เป็นเครื่องส่งผลให้เกิดเป็นข้อปฏิบัติทาง กาย วาจา ใจ ตามมา ยกตัวอย่างเช่น “เลี้ยงชีพถูก” เรามีความคิดขึ้นมาก่อนว่า จะทำงานเลี้ยงชีพอะไรดี แล้วก็ตัดสินใจว่า จะค้าขายออนไลน์ โดยค้าขายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และขายอย่างมีศีลมีสัจจะ “มโนธรรม” ที่เกิดขึ้นนี้คือ มรรค ที่เป็นนามธรรมที่เกิดขึ้นก่อน ส่วนเมื่อเราลงมือลงแรงค้าขายจริง นั่นคือ “รูปธรรม” ที่เกิดขึ้นตามมาภายหลัง

เมื่อเรามีมโนธรรม 8 ประการ ซึ่งเป็นนามธรรม แล้วเกิดธรรมารมณ์ประสานเป็นหนึ่ง ในสภาวจิต ตามสัดส่วนของ ศีล สมาธิ ปัญญา เรียกได้ว่าเป็น “มรรคสมังคี” ซึ่งชักนำใจของเราเข้าสู่หนทางสายกลาง แล้วปลดล็อค ถอนกิเลสสังโยชน์ออกจากใจ ได้มากน้อย ตามกำลังบุญบารมี และอธิษฐานที่บำเพ็ญมา อุปมาเหมือนการใช้ไขควงสี่แฉก ไขเอาสกรูออกจากเบ้า ไขควงจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่เข้าล็อคตรงกับรอยแฉกของสกรูพอดี จึงจะสามารถใช้กำลังไขถอนเอาสกรูที่ยึดแน่นอยู่ออกมาได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ไขควงเปรียบเสมือนใจของเรา สี่แฉกที่ใส่ลงเข้าล็อครอยแฉกของสกรูคืออาการของมรรคสมังคี ส่วนการไขหมุนด้วยกำลังคือกำลังบุญบารมี จึงสามารถอนสังโยชน์ออกได้ แล้วสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับ

มรรคสมังคี เกิดได้ 2 รูปแบบ คือ (1) เจโตวิมุติ คือมีฌานสมาธิเป็นกำลัง และ (2) ปัญญาวิมุติ คือมีปัญญาเป็นกำลัง โดยแต่ละแบบอาศัย ศีล สมาธิ ปัญญา ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน และการจะเกิดมรรคสมังคีได้ ต้องมีใจที่อยู่ในสภาวะละ "นิวรณ์ 5" ได้ ไม่ว่าจะละนิวรณ์ด้วยสมาธิ หรือละด้วยปัญญา ยกตัวอย่างเช่น พระภิกษุณีสมัยพุทธกาลที่ราดน้ำล้างเท้า แล้วพิจารณาธรรมด้วยปัญญาได้ บรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะสภาวะจิตที่ประกอบไปด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา โดยมีปัญญา คือความเข้าใจเป็นกำลังหลัก (ละความลังเลสงสัย) และมีสติ/สมาธิคือความสงบใจมากพอ (ละความใฝ่กาม, ความพยาบาท, ความท้อแท้, ความฟุ้งซ่าน) มีศีลเป็นพื้นฐาน ก็สามารถบรรลุธรรมได้ เมื่อบรรลุด้วยปัญญาวิมุติ หรือ เจโตวิมุติแล้ว จะทรงอภิญญามากน้อย ขึ้นอยู่กับ จรณะ 15 ซึ่งเป็นเบื้องบาทของวิชชา 3 และวิชชา 8 ดังนี้

 

สัดส่วนขององค์คุณที่ก่อให้เกิดมรรคสมังคี อาจใช้ไม่เท่ากันในแต่ละบุคคล โดยสามารถจัดระเบียบความคิดได้ดังนี้

มรรคสมังคี = ศีล : สมาธิ : ปัญญา

100% = 30 : 35 : 35

เจโตวิมุติ = 30 : 55 : 15

ปัญญาวิมุติ = 30 : 15 : 55

ศีล

วาจาถูก = 10%

ปฏิบัติถูก = 10%

เลี้ยงชีพถูก = 10%

สมาธิ

เพียรถูก = 10%

สติถูก = 10%

สมาธิถูก = 15%

ปัญญา

เห็นถูก = 17.5%

คิดถูก = 17.5%

__________________________________________

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

26 กุมภาพันธ์ 2563

www.meditation101.org


มรรคมีองค์ 8 กับ Justification of Life

ปรัชญาทางตะวันตกมีค่านิยมว่า การตัดสินผู้อื่นว่าถูกผิด เป็นสิ่งไม่ควรกระทำ แต่ในพระพุทธศาสนานั้น พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลักการที่แน่ชัดประกอบกับรายละเอียดมากพอจะบ่งชี้ สิ่งถูก สิ่งผิด แยกแยะดีชั่ว และตัดสินได้

ในแง่ของมรรคมีองค์ 8 นั้น ถือได้ว่าเป็นหลักเกณฑ์ในการแยกแยะดีชั่วโดยเฉพาะ โดย "สัมมามรรค" คือสิ่งดี และ "มิจฉามรรค" คือสิ่งชั่ว แต่ถ้าหากเราศึกษามรรคแล้วสงสัยว่า อะไรคือดี อะไรคือชั่ว เราจะแบ่งแยกได้อย่างไร ก็ต้องศึกษาต่อไปในรายละเอียด ระหว่างคู่เปรียบ คือ

สัมมาปฏิบัติ (ศีล) กับ ทุศีล

สัมมาสมาธิ กับ มิจฉาสมาธิ

สัมมาปัญญา กับ มิจฉาปัญญา

วิชชา กับ มิจฉาวิชชา

จากบทสรุปรวบยอดพระพุทธศาสนาของข้าพเจ้าว่า ทั้งหมดของพระพุทธศาสนาคือ "ความถูกต้องชอบธรรมของ กาย วาจา ใจ" (The Mental, Verbal, and Physical Righteousness ) ซึ่งแบ่งแยกเบื้องต้นเป็น ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และแบ่งออกมาอีกชั้นเป็น "สัมมามรรค" คือมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นสัมมาปฏิบัติ แบ่งแยกได้อีกเป็น กุศลกรรมบท 10 และมงคลชีวิต 38 ประการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็น "สิ่งถูก"

ในขณะที่ สิ่งผิด ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ.. มิจฉามรรค, อกุศลกรรมบท 10 และ อวมงคลชีวิต 38 ประการ

ทั้งนี้ สิ่งถูก และสิ่งผิด มีการระบุชัดเจนในธรรม 84,000 พระธรรมขันธ์ และที่นอกเหนือจาก 84,000 พระธรรมขันธ์นี้ ก็ยังสามารถจัดเข้ากลุ่มได้ ใน ศีล (ความบริสุทธิ์) สมาธิ (ความสงบ) ปัญญา (ความรู้ความเข้าใจ) และมรรค 8 คือสัมมาปฏิบัติ หรือปฏิบัติชอบ ดังนี้

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา
www.meditation101.org
25 กุมภาพันธ์ 2563


เพราะเหตุใดผู้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าจึงบรรลุธรรมได้ง่าย?

(1)                ผู้ฟังธรรมดำรงตนอยู่ในศีล คืออินทรีย์สังวรศีล มีความสำรวมขณะฟังธรรม ดำรงตนไม่ตึงไม่หย่อน ระงับนิวรณ์คือความเกียจคร้านขณะนั่งฟังธรรม

(2)               ผู้ฟังธรรมตั้งอยู่ในขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิ เกิดจาก “พุทธานุสสติ” มีอารมณ์สงบ ไม่ตึงไม่หย่อน ระงับนิวรณ์คือ กามฉันทะ, พยาบาท, และความฟุ้งซ่าน ซึ่งเป็นไปได้ด้วยพุทธานุภาพประกอบกัน

(3)               ผู้ฟังธรรมเจริญปัญญา คือ “สุตตมยปัญญา” คือปัญญาจากการฟังธรรม ซึ่งเนื้อหาธรรมมีความถูกต้องและเหมาะกับจริตและอัธยาศัยของผู้ฟัง ก่อให้เกิดความรู้ และความเข้าใจ ที่พอเหมาะ ไม่คิดมากเกิน ช่วยระงับนิวรณ์คือความลังเลสงสัย

ด้วย (1), (2), และ (3) คือ ศีล สมาธิ ปัญญา จึงเกิด “มรรคสมังคี” เป็นการประหารกิเลส และละสังโยชน์ ด้วยกำลังแห่งปัญญา บนพื้นฐานของสติ และสมาธิที่สงบระงับมากพอ ทำให้นิวรณ์ทั้ง 5 ดับ ทรงไว้ซึ่งจรณะ และก่อเกิดเป็นวิชชา 3 วิชชา 8 ส่วนว่าเมื่อการฟังธรรมจากพระพุทธเจ้ายังให้เกิด “มรรคสมังคี” โดยง่ายแล้ว ผู้ฟังธรรมจะบรรลุธรรมเบื้องต้น เบื้องสูง ต่างกันอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับอำนาจวาสนาบุญบารมีที่บำเพ็ญสั่งสมและอธิษฐานกันมา ดังนี้.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

24 กุมภาพันธ์ 2563

www.meditation101.org


ปกิณกะธรรมเนื่องในโอกาสวันมาฆบูชา พ.ศ. 2563

การสร้างบุญบารมี มีแรงจูงใจได้ 2 อย่าง คือ "ตัณหา" ที่ทำให้ข้องอยู่ในกาม อันเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งให้เวียนวนอยู่ในวัฏสงสาร และ "ฉันทะ" ที่ปรารถนาจะสละกามคุณทำให้หลุดพ้นจากวัฏสงสาร ถ้าปรารถนาจะเวียนอยู่ในภพ แต่บรรลุถึงที่สุดแห่งธรรม ให้ฝักใฝ่การละกิเลส มีกิเลสเบาบาง แล้วจะสบายตัวครับ

 

ถึงเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทีมงาน

เรื่อง เกร็ดเสริมการสร้างบารมี เนื่องในโอกาสวันมาฆบูชา พ.ศ. 2563

น้องๆ คงเคยได้ยินเรื่องมหาอุบาสิกาวิสาขา เมื่อครั้งได้รับสมบัติจากบิดา ก่อนออกจากเรือน ไปสมรสกับสามีในต่างเมือง นางวิสาขาเคยทำบุญแบบ "ให้เกินพอ" เช่นพอพระฉันแล้วก็คะยั้นคะยอว่า ฉันอันนั้นอีกนิด อันนี้อีกหน่อย ด้วยเหตุนี้ พอบิดาของเธอมอบโคให้เป็นสมบัติติดตัว พอปิดคอกแล้ว โคก็กระโดดข้ามคอกตามออกไปอีกส่วน

ในลักษณะเดียวกัน ไปทำบุญที่ใด ถ้าเขากำหนดว่า กฐินผ้าป่า กองละเท่านั้นเท่านี้ เช่นกองละ 20000 ก็ให้ทำไป 22000 ทำอย่างนี้เรื่อยๆ บ่อยๆ เวลาได้อะไร ก็จะได้แบบเกินกว่าคนอื่น เวลาทำวิชชา ก็จะได้แบบแถมๆ มา เวลาทำละเอียด ก็จะละเอียดเกินหน้าคนอื่นไปอีกหน่อย ผมเองก็ได้อานิสงส์แบบนี้ พอคิดจะเขียนบทความหรือคำคมลงเว็บ คิดไว้อย่างหนึ่ง โพสต์ไว้อย่างหนึ่ง พอทำเป็นรูปภาพ หรือทำจริงลงเว็บ กลับได้ปัญญาเพิ่มทะลุออกมาอีก เป็นเช่นนี้อยู่เป็นประจำ ด้วยอานิสงส์ของการทำบุญแบบ "เกินกว่าที่กำหนด" ครับ

 

เพราะเหตุใด วันพระจึงมีความสำคัญ?

 

คำตอบคือ ในสมัยพุทธกาล แต่เดิมทียังไม่มีวันพระครับ แต่เป็นค่านิยมของนักบวชในสมัยนั้น ที่จะนัดประชุมกันทำกิจกรรมในวันเพ็ญบ้าง วันแรมบ้าง วันแรม 8 ค่ำบ้าง วันขึ้น 8 ค่ำข้าง ก็คือพระจันทร์เต็มดวง พระจันทร์ดับ พระจันทร์เต็มครึ่งดวง พระจันทร์เสี้ยวครึ่งดวง

แล้วก็มีพุทธบริษัทมากราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติ "วันพระ" ในทำนองเดียวกันกับนักบวชลัทธิอื่น เพื่อทำกิจกรรมในพระพุทธศาสนาครับ

 

ความไม่ประมาท คือมีสติ..

สติต่อศีล พัฒนาเป็น สมาธิต่อศีล เป็น อธิศีล

สติต่อสมาธิ พัฒนาเป็น สมาธิต่อสมาธิ เป็น อธิจิต

และสติต่อปัญญา พัฒนาเป็น สมาธิต่อปัญญา เป็น อธิปัญญา

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

7-9 กุมภาพันธ์ 2563


บุญ/บารมี

1.      บุญคือธาตุชนิดหนึ่ง อุปมาดั่งน้ำ

2.      คุณธรรมคือ “ธรรม” อุปมาดั่งสารส้ม ซึ่งมีอยู่แล้วในใจเราระดับหนึ่ง และถูกส่งมาจากเครื่องธาตุเครื่องธรรม (ใจภพ) อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งทำงานในลักษณะหนุนเนื่องกันและกัน (ยิ่งใช้ ยิ่งมาเพิ่ม ยิ่งมีกำลัง)

     3.      เมื่อเราทำกุศล ด้วย กาย วาจา ใจ เครื่องธาตุเครื่องธรรม หรือใจภพ จะคำนวณ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ของเรา แล้วสั่งจ่ายบุญธาตุมาสู่ตัวเรา ตามโปรแกรมกฎแห่งกรรม

     4.      กุศลกรรม แห่ง กาย วาจา ใจ ของเรานั้น เกิดได้จากคุณธรรมที่มีอยู่แล้วในใจเรา หรือคุณธรรมที่ใจภพส่งมาหล่อเลี้ยง ด้วยการกระตุ้นเตือนจากภายนอก และภายใน ผ่าน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์

     5.      เมื่อบุญธาตุที่ได้ ผนวกเข้ากับคุณธรรมในใจเรา จึงเป็นประดุจน้ำที่ละลายเข้ากับผงสารส้ม

     6.      บุญมาก คือมีน้ำมาก บุญที่มีธาตุมาก คือบุญที่รองรับธรรมได้มาก อุปมาดั่งน้ำที่ทำละลายผสมผงสารส้มได้มากกว่า 

     7.      บุญธาตุที่กอปรเข้ากับคุณธรรม บ่มเพาะตาม “อินทรีย์” ที่แก่กล้ามากน้อย ใน 3 คุณลักษณะ คือ (ก) ปัญญา (ข) ศรัทธา (ค) วิริยะ โดยที่ สติ และ สมาธิ มีอยู่ในตัวทั้ง 3 ลักษณะ

     8.      บารมีธาตุ บารมีธรรม หมายถึง ความอ่อนแก่ของบุญธาตุ และคุณธรรม เมื่อเทียบตามสัดส่วนมากน้อยของปริมาณหนึ่งๆ

9.      บุญบารมีที่บ่มเข้าด้วยกัน เปรียบเสมือนน้ำที่มีสารส้มทำละลายอยู่ แล้วตกผลึกจับตัวเป็นรูปร่าง (crystallization) กลายเป็นบารมีแต่ละอย่าง (บารมี 10 ทัศ) ซึ่งใช้เวลามากน้อย ขึ้นอยู่กับบุญธาตุที่มีมากน้อย (น้ำ) และคุณธรรมที่มีและเกิดขึ้นมากน้อย (ความเข้มข้นของสารส้มต่อปริมาณน้ำ) นั้นๆ ต่อระยะเวลา เช่น 20.1 อสงไขย, 40.1 อสงไขย, และ 80.1 อสงไขย


ธรรมเศรษฐศาสตร์

สมการทานกุศล

พลังงานบุญที่ได้ =

[ก่อนทำ + ขณะทำ + หลังทำ] x 

[ผู้ให้ (ความบริสุทธิ์)] x 

[ผู้รับ (ความบริสุทธิ์ + จำนวน)] x 

[วัตถุทาน (ความบริสุทธิ์ + ปริมาณ + คุณภาพ)] x 

[เจตนา (ความบริสุทธิ์ + คุณภาพ)]

หมายเหตุ: ด้วยความบริสุทธิ์ที่เท่าๆกันของตัวแปรทั้ง 4 วัตถุทานที่มีปริมาณและคุณภาพมากกว่า ย่อมให้ผลานิสงส์ผลบุญมากกว่าและประเสริฐกว่า

โดย พิรจักร (6 กุมภาพันธ์ 2563)

www.meditation101.org


ผู้ที่จะเป็นพระอินทร์ต้องทำบุญอย่างไร?

คนที่ทำบุญแล้วไปเกิดเป็นพระอินทร์ ก็เพราะบำเพ็ญวัตรบท 7 ประการ ซึ่งเป็นบุญที่ทำให้ได้เกิดเป็นผู้ปกครองสวรรค์ แต่ยุคที่ “ท้าวมัฆวาน” เกิดเป็นพระอินทร์นั้น ได้มีพระอินทร์องค์เดิมอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งเป็นผู้ประมาท ชอบดื่มน้ำเมา จึงถูกผู้มาใหม่คือท้าวมัฆวานและพวก จับโยนลงจากสวรรค์ ในขณะเมาหลับอยู่ แล้วไปเกิดอยู่ในภพอสูร จากเรื่องนี้ทำให้ทราบว่า การเป็นพระอินทร์ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นชาวพุทธ เพราะบางยุคก็ไม่มีพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น แต่เป็นผู้ที่มีคุณธรรม และมีบุญมาก แต่เป็นบุญมากแบบชนที่ไม่ใช่ชาวพุทธ คือบุญสาธารณกุศล เปรียบเสมือนนักเรียนที่ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าชั้น ไม่ใช่คนที่รวยที่สุด ไม่ใช่คนที่เรียนเก่งที่สุด แต่เป็นคนที่มีความรู้มีความสามารถ มีคุณธรรมมากพอจะเป็นผู้นำ และดูเหมือนว่าจะเป็นบุคคลที่เหมาะที่สุดสำหรับเวลานั้นๆ  

คำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับพระอินทร์จากเว็บพลังจิต

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลาย ถึงคุณธรรมที่ทำให้คนเป็นพระอินทร์ หรือท้าวสักกะจอมเทพ เรียกว่า วัตรบทมี ๗ ข้อ คือ

๑.เลี้ยงมารดาบิดาตลอดชีวิต

๒.อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต

๓.พูดจาอ่อนหวานตลอดชีวิต

๔.ไม่พูดจาส่อเสียดตลอดชีวิต

๕.ยินดีในการบริจาคทานตลอดชีวิต

๖.พูดคำสัตย์ตลอดชีวิต

๗.ไม่โกรธตลอดชีวิต

ถ้าเกิดความโกรธก็ระงับโดยเร็ว
ภิกษุทั้งหลาย! ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้รักษาวัตรบท ๗ ประการนี้บริบูรณ์ จึงได้เป็นท้าวสักกะ.

Source: https://palungjit.org/…/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%…/

เทวดาดื่มน้ำจันทน์ หรือสุรา ไม่บาปหรือ?

คำตอบคือ "การเจริญสติได้บุญ การทำลายสติได้บาป" เทวดาอยู่ในภพภูมิของการเสวยผลบุญ ดื่มเหล้าทิพย์ ก็ได้บาป แต่บาปน้อยกว่าตอนเป็นมนุษย์ เพราะมนุษย์ที่ดื่มเหล้า น้อยคนที่จะดื่มแล้วอยู่อย่างสงบสุข มีที่ดื่มแล้วทะเลาะเบาะแว้ง อาละวาด โกหก เล่นการพนัน ผิดศีลกาเม แต่เทวดาดื่มเหล้า เขาจะเป็นคล้ายๆมนุษย์ผู้ดีดื่มไวน์ คือไม่มีการทะเลาะกัน เพราะเขามีเทวธรรมประจำใจอยู่ อย่างไรก็ตาม เทวดาดื่มเหล้าก็ได้บาป การนำสุรามาไหว้ผีไหว้เทพเจ้า ถ้าเขารับไปดื่มแล้วเสียสติก็ได้บาป และเมื่อพ้นจากอัตภาพแห่งความเป็นเทวดาแล้ว บาปจึงจะส่งผล เทวดาบางตน หมดอายุขัยแล้วไปเกิดในนรกก็มี บุญส่วนบุญ บาปส่วนบาป เหมือนมนุษย์ ยังไม่หมดอายุขัย ก็ดื่มเหล้าได้เรื่อยๆ หมดอายุขัยเมื่อไร ก็ไปนรก ถ้าขณะจิตก่อนตายเศร้าหมองครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

5 กุมภาพันธ์ 2563

 

การทำบุญในพระพุทธศาสนา กับการทำสาธารณกุศล อย่างใดได้บุญมากกว่ากัน?

ก่อนอื่นเลย ผมขออ้างถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “พระสงฆ์คือประมุขของบุญ” นั่นหมายความว่า การทำบุญกับพระสงฆ์ได้บุญมาก และการทำบุญก็มีองค์ประกอบ 4 ประการ ตามที่ผมเคยตอบไปก่อนหน้าคือ (1) ผู้ให้บริสุทธิ์ (2) ผู้รับบริสุทธิ์ (3) วัตถุทานบริสุทธิ์ และ (4) เจตนาบริสุทธิ์ ทั้งนี้ ข้อ (1) ถึง (4) ยังสามารถจำแนกเป็นปริมาณ(Quantity) และ คุณภาพ หรือความประณีต (Quality) ซึ่งส่งผลให้บุญมากน้อย ซึ่งชาวพุทธที่ทำบุญในพระพุทธศาสนานั้น ส่วนใหญ่จะได้บุญมากกว่าประชาชนเหล่าอื่นที่ทำการกุศลนอกพระพุทธศาสนา ยกตัวอย่างเช่นท่านพระอินทร์ ซึ่งบำเพ็ญประโยชน์สาธารณกุศล สร้างศาลา และดูแลผู้ที่สัญจรผ่านไปมา ทำถนน ฯลฯ โดยมิได้ทำบุญกับพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเลย ด้วยบุญของท่าน ท่านได้ไปเกิดเป็นพระอินทร์ มีตำแหน่งเป็นราชาของเทวดาสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แต่เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ในภายหลัง มีพุทธศาสนิกชนทำบุญแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นประชากรของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระอินทร์ท่านก็รู้สึกเขินอาย ที่ทิพยสมบัติ และรัศมีของตนด้อยกว่า จะเปรียบเทียบไปก็เหมือนพระมหากษัตริย์ ที่มีตำแหน่งสูงสุดในประเทศ แต่มีสมบัติน้อยกว่าเศรษฐีคฤหบดีในประเทศเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ในทางสายวิชชานั้น เมื่อเราศึกษาในรายละเอียดว่า “บุญ” คืออะไร? บุญคือพลังงานชนิดหนึ่ง ที่มีความสะอาดบริสุทธิ์ โดยบุญเกิดขึ้นจากภพผู้ผลิตบุญ และสั่งจ่ายให้กับผู้ทำบุญแต่ละคน โดยเครื่องธาตุเครื่องธรรม (ใจภพ) ตามแต่โปรแกรมกฎแห่งกรรมจะคำนวณ บนพื้นฐานของ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม บุญมีลักษณะเป็น “ธาตุ” เช่นเดียวกับที่เราเรียกน้ำว่า ธาตุน้ำ และเมื่อบุญถูกส่งมายังตัวเราเพื่อกักเก็บ ก็เกิดอาการควบแน่นเข้ากับ “ธรรม” ที่เกิดขึ้นในใจ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า crystallization กอปรเป็น “คุณธรรม” ที่เราเรียกว่า “บารมี”

หากเราจะพิจารณาบุญที่เกิดขึ้นกับผู้ทำสาธารณกุศล ที่อยู่นอกพระพุทธศาสนา ตามโปรแกรมกฎแห่งกรรมแล้ว ที่คำนวณจ่ายบุญตาม (1) ผู้ให้บริสุทธิ์ (2) ผู้รับบริสุทธิ์ (3) วัตถุทานบริสุทธิ์ และ (4) เจตนาบริสุทธิ์ ซึ่งทั้ง 4 อย่างเป็นตัวแปรของสมการที่คำนวณเป็นบุญ ผู้ที่ทำสาธารณกุศลบางท่าน โดยทั่วไปแล้ว จะเป็นผู้ให้ที่บริสุทธิ์ วัตถุทานบริสุทธิ์ และเจตนาบริสุทธิ์ ถ้าทุ่มเทเสียสละด้วยความจริงใจ ดังนั้น แม้ผู้รับจะเป็นยาจกคนจนที่ไม่มีศีล แต่ด้วยตัวแปรอื่น ก็สามารถได้บุญมากเช่นกัน และบุญที่ชาวสาธารณกุศลได้มักจะเป็นบุญที่มีธาตุหนาแน่นมาก ซึ่งอาจเปรียบได้กับคำว่า “อินทรีย์แก่กล้า” คือความมุ่งมั่น ทุ่มเท ตั้งใจ เสียสละ และอุตสาหะสูง โดยไม่หวังผลตอบแทน ตั้งใจเพียงแต่จะช่วยคนอื่นให้พ้นทุกข์ พบสุข เกิดประโยชน์ บุญลักษณะนี้ จะสามารถควบแน่นเข้ากับ “ธรรม” ภายในตัวแล้ว “ตกผลึก” หรือ crystallization กลายเป็น “บารมี” ได้ดี แม้ว่าปริมาณพลังงานบุญอาจจะน้อยกว่า คนที่ทำบุญกับพระสงฆ์

ขอเอ่ยอ้างถึงนิทานชาดกว่า ในชาติหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงเกิดเป็นพญากระแตอยู่ในป่า วันหนึ่งเกิดฝนตกหนัก รังของท่านซึ่งมีลูกเล็กๆ อยู่ ร่วงหล่นลงไปในลำธารป่า แล้วน้ำก็พัดพาไกลออกไป พญากระแตต้องการช่วยลูก จึงวิ่งไปที่ริมฝั่ง แล้วนำหางของตนจุ่มลงไปในลำธาร แล้วยกขึ้นมาสะบัดครั้งแล้วครั้งเล่า หวังให้น้ำแห้ง พญากระแตทำอย่างนั้นอยู่นาน กระทั่งเทวดาเกิดเห็นเข้า จึงใช้เทวฤทธิ์ช้อนเอารังพร้อมลูกของพญากระแตมาส่ง ชาดกสรุปว่า ชาตินั้นพญากระแตได้ “วิริยะบารมี” นี่คือบุญบารมีที่ไม่ได้ทำกับพระสงฆ์ ไม่ได้ทำในฐานะเป็นมนุษย์ผู้มีศีล แต่ทำด้วยจิตใจที่ยิ่งใหญ่ และถือว่าเป็นอีกชาติสำคัญที่พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญบารมี

โดยสรุปแล้ว หลักธรรมก็ยังคงเป็นตามที่พระพุทธเจ้าสอน นั่นคือองค์ประกอบของการทำทาน ข้อ (1) ถึง (4) และบุญที่ได้มากคือบุญที่ทำกับพระสงฆ์  อย่างไรก็ตาม ด้วย “สูตรองค์ประกอบแห่งการทำทาน” เดียวกัน ชาวพุทธบ้างที่ทำบุญด้วยความโลภ ทำแล้วอยากรวย อยากได้สวรรค์สมบัติมากๆ ทำแล้วอยากถูกหวยรวยเบอร์ ได้ทรัพย์มาด้วยความไม่บริสุทธิ์ หรือทำบุญด้วยความยึดมั่นถือมั่น มีทิฐิมานะ ต้องการเป็นเจ้าภาพใหญ่ข่มใครอื่น ก็เข้าข่ายที่ว่า ผู้ให้บริสุทธิ์น้อยกว่า เจตนาบริสุทธิ์น้อยกว่า ซึ่งเมื่อคำนวณตามสูตรนี้แล้ว บางครั้งก็เป็นไปได้ว่า บุญที่ได้จะน้อยกว่า ผู้ที่ทำสาธารณกุศล และบุญก็บริสุทธิ์น้อย ธาตุน้อย คืออินทรีย์ไม่แก่ เมื่อควบแน่นกับธรรมในใจแล้ว ก็กอปรเป็น “คุณธรรม” และ “บารมี” ที่ไม่มาก และไม่แก่กล้า ดังนี้.

หมายเหตุ: คงจะเป็นการดี หากเราต้องการทำบุญให้ได้บุญมาก แต่ก็เป็นบุญสาธารณกุศล เราสามารถทำได้ด้วยการประสานงานกับวัด จัดทอดผ้าป่า ซื้อเครื่องมือแพทย์ ทอดผ้าป่าทุนการศึกษา หรือทอดผ้าป่าสร้างโรงพยาบาล วิธีนี้จะทำให้ได้บุญมาก และได้ประโยชน์มากครับ

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

5 กุมภาพันธ์ 2563


การถวายชุดสังฆทานแบบ เวียนถวายได้บุญหรือไม่?

ก่อนอื่นต้องขออ้างหลักธรรมคำสอนก่อนครับว่า สังฆทาน คือ ทานที่ถวายแด่สงฆ์ ซึ่ง สงฆ์ในที่นี้จะต้องเป็นคณะของพระภิกษุอย่างน้อย 4 รูป หรือเป็นรูปเดียวหรือมากกว่าที่เป็น ผู้แทนสงฆ์โดยของถวายนั้น เมื่อถวายแล้วย่อมตกเป็น ของสงฆ์คือเป็นเจ้าของร่วมกัน หรือตามแต่สงฆ์จะตกลงมอบให้ใคร ส่วนองค์ประกอบของการให้ทาน มี 4 อย่าง คือ (1) ผู้ให้บริสุทธิ์ (2) ผู้รับบริสุทธิ์ (3) เจตนาบริสุทธิ์ และ (4) วัตถุทานบริสุทธิ์

สำหรับชุดสังฆทานที่เวียนกันถวายตามวัดนั้น หากเจ้าภาพทำตามกฎกติกาของทางวัด เช่นกำหนดว่า ชุดละ 200 บาท หยอดตู้แล้ว นำถังสังฆทานที่ทางวัดเตรียมไว้มาถวาย ก็ถูกต้องตามกติกาที่สงฆ์หรือทางวัดกำหนดไว้ ก็ย่อมได้บุญในฐานะที่ถวายสังฆทาน แต่บุญอาจจะ (แต่ไม่เสมอไป) หย่อนลงตรงข้อ (3) และ (4) คือ วัตถุทาน และเจตนา ซึ่งแม้จะบริสุทธิ์ แต่ก็ไม่แรงกล้าเหมือนอย่างชุดสังฆทานที่จัดเอง หรือซื้อเอง ซึ่งจำแนกได้ว่า มีดวงจิตอันเป็นกุศลผุดเกิดขึ้นมากกว่าหรือน้อยกว่า ซึ่งสังฆทานที่จัดเองด้วยความตั้งใจ หรือซื้อหามาเอง มักจะมีกุศลเจตนาแรงกล้ากว่า ทำให้ ข้อ (3) และ ข้อ (4) เลิศกว่า แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะบางท่านมีจิตกุศลอันแรงกล้า และมีปัญญาเห็นถึงประโยชน์จากการถวายทรัพย์เพื่อประโยชน์แด่สงฆ์ มากกว่าการถวายข้าวของเครื่องใช้สังฆทาน ซึ่งบางชุดก็มีคุณภาพ บางชุดก็ด้อยคุณภาพ แทบจะไม่เกิดประโยชน์ในการใช้งานจริง

อย่างไรก็ตาม ทิพยสมบัติ และอานิสงส์แห่งทรัพย์สิน ที่จะเกิดขึ้น อันเป็นผลจากการถวายชุดสังฆทานที่จัดเอง กับ ใช้ของที่ทางวัดจัดให้ เพื่อเวียนถวายนั้น ก็ยังส่งผลเป็นทิพยสมบัติ และอานิสงส์แห่งทรัพย์สินได้เหมือนๆกัน เพียงแต่ว่า ชุดสังฆทานแบบเวียนถวายจะได้ไม่เต็มที่ เพราะดวงจิตอันเป็นกุศลในการเตรียมของไม่ได้มีมากเหมือนอย่างจัดเอง ส่วนผู้ที่จะได้บุญมากก็คือผู้จัดหรือซื้อมาถวายเป็นคนแรก แล้วของนั้นถูกนำมาเวียน แต่บุญจากการถวายทรัพย์หรือเงินใส่ซอง ก็เป็นบุญอเนกประสงค์ คือเป็นได้ตามใจปรารถนา บางคนจัดสังฆทานแล้วหงุดหงิด หรือเสียดายเงิน เพราะจัดแล้ว ค่าใช้จ่ายสูง จิตก็ไม่ผ่องใส เช่นจัดชุดละ 500 บาท แต่ถ้าใช้ของทางวัด ทำบุญ 300 แล้วใส่ซองอีก 200 ถวายพร้อมกัน ก็ง่ายกว่า สะดวกกว่า และจิตอาจจะผ่องใสกว่า ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามแต่ละคน บางคนชอบแบบวิริยะบารมี ก็ออกไปหาซื้อของมาจัด ทุ่มเทแรงกายแรงใจมากกว่า ก็ได้บุญไปอีกแบบ ทั้งนี้เพราะบุญเกิดขึ้น 3 วาระ คือ ก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ ถ้าจัดชุดสังฆทานเอง ก็ได้บุญก่อนถวายมากขึ้น เพราะต้องเตรียมการณ์เอง และบุญหลังจากถวายก็อาจจะมากกว่า เพราะประทับใจในทานที่ได้ทำด้วยความตั้งใจสูง แต่บางคนก็ใจพร่องเพราะความยุ่งยากในการตระเตรียมทำให้หงุดหงิดรำคาญใจ กับภาระในการดำเนินการ การถวายสังฆทานวิธีที่ดีที่สุดจึงน่าจะขึ้นอยู่กับอัธยาศัยของแต่ละท่าน

ด้วยเหตุนี้ การถวายสังฆทานแบบเวียนกันถวายแล้วมีทรัพย์เพิ่มเสริมเข้าไป ก็อาจได้บุญมากน้อยต่างกันไป ตามแต่องค์ประกอบข้อ (1) ถึง (4) ซึ่งถ้าอธิบายโดยรายละเอียดแล้ว คำนึงถึงความบริสุทธิ์ ความตั้งใจมากน้อย และความประณีตมากน้อย ด้วย ทำให้ได้บุญและอานิสงส์แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ดังนี้ครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

5 กุมภาพันธ์ 2563


การอุทิศบุญด้วยการกรวดน้ำ กับบังสุกุลเผากระดาษจดชื่อ แบบไหนดีกว่ากัน?

ก่อนอื่นต้องอ้างอิงคำสอนในพระพุทธศาสนาเรื่อง “กรรม” ว่าจะส่งผลตามกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เราคิด พูด ทำ และการทำบุญด้วยวิธี “ปัตติทานมัย” คือบุญจากการอุทิศบุญ ซึ่งสรุปใจความโดยย่อว่า เมื่อเราอุทิศบุญ เราก็จะได้บุญเพิ่ม ส่วนผู้อนุโมทนา ก็ได้บุญเพิ่มเช่นกัน เพราะต่างฝ่ายต่างมี “จิตเป็นบุญกุศล” ต่อกุศลกรรม ที่เกิดขึ้น ส่วนโปรแกรมกฎแห่งกรรม ก็จะคำนวณ และปรุงแต่ง มนุษยสมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ ตาม กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของเรา เช่นว่า เราสละสร้อยคอทองคำ เพื่อหล่อพระพุทธรูป โปรแกรมกรรมก็คำนวณจ่ายบุญออกมา และอาศัยพลังงานบุญ ปรุงแต่งเป็นอานิสงส์ และผลกรรม ให้เรามีวิมานทองในสวรรค์ และมีเครื่องประดับทองสวยงาม ในทำนองเดียวกัน เมื่อเราอุทิศบุญด้วยการกรวดน้ำ บุญก็เกิดขึ้นจากการอุทิศบุญ ซึ่ง “เนื่องอยู่กับน้ำ” เราก็จะมีบุญบารมีในด้านของน้ำ เช่นอยู่ที่ไหนก็จะมีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ เกิดเป็นเทวดา ก็จะมีสระน้ำทิพย์อันสวยงามอยู่ในเขตวิมาน และหาก “เจริญกสิณ” ก็เจริญ “อาโปกสิณ” หรือ “กสิณน้ำ” ได้ดี เพราะมีบารมีน้ำสะสมเอาไว้มาก หากเราอุทิศบุญด้วยการเผาไฟมาก เราจะมี “บารมีไฟ” เมื่อเจริญกสิณ ก็ทำ “เตโชกสิณ” หรือ “กสิณไฟ” ได้ดี และมีบุญบารมีด้านเชื้อเพลิงที่ไม่ขาดแคลน ส่วนทิพยสมบัติในสวรรค์ ก็จะมีคบเพลิงจุดสว่างสวยสดงดงามอยู่ในเขตวิมาน

ส่วนการอุทิศบุญแบบแห้ง คือนึกในใจ ก็มีส่วนดี ถ้าหากว่าจิตเราเป็นสมาธิแรงกล้า ถึงขั้นฌาน เพราะกระแสจิตจะเชื่อมถึงวิญญาณได้แรงกว่า แต่ถ้าหากเพ่งกระแสจิต ขณะกรวดน้ำ หรือเผาไฟได้ด้วยก็ยิ่งดีมาก แต่บางคนก็อาจจะทำได้ดีกว่าหากนั่งสมาธิแล้วอุทิศบุญในสมาธิ ด้วยการถอดจิตไปหาวิญญาณ แล้วส่งกระแสพลังบุญ บอกกล่าวโดยตรง ให้อนุโมทนา ซึ่งบุญที่ได้ก็จะมากน้อยตามกำลังแห่งจิตและกำลังแห่งบุญของผู้อุทิศ และผู้อนุโมทนา ดังนี้ครับ.

 

หมายเหตุ: ลองนึกดูว่า ถ้าเราอุทิศบุญด้วยการฝากพระเพลิงมากๆ หากตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วมีมารผจญ คงจะเอ่ยอ้างพระเพลิง แทนพระธรณี พระเพลิงคงจุดไฟเผามารให้เผ่นอ้าวกันเข้าบ้างล่ะครับ

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

5 กุมภาพันธ์ 2563


ชาวจีนเผากระดาษเงินกระดาษทองจะมีประโยชน์อะไร?

คำตอบก็คือ การเผากระดาษเงินกระดาษทอง และกระดาษที่ประดิษฐ์เป็นข้าวของเครื่องใช้นั้น คล้ายกับการ กรวดน้ำ หรือ เขียนชื่อบรรพบุรุษแล้วเผากระดาษทำบังสุกุล ของชาวพุทธครับ เป็นการใช้น้ำและไฟเป็น "สื่อ" ของจิต ที่เป็นสมาธิอ่อนๆเพื่อ "อุทิศให้" ชาวพุทธเผากระดาษเขียนชื่อทำบังสุกุลหลังทำบุญ เป็นการสื่อจิตอุทิศบุญให้ ส่วนการเผากระดาษเงินกระดาษทอง ทำหลังการไหว้เจ้า เป็นการเลี้ยงอาหารแด่วิญญาณ (คล้ายธรรมเนียมการถวายข้าวบูชาพระพุทธ) ซึ่งก็พอจะเกิดบุญบ้าง โดยเฉพาะในกรณีของการเลี้ยงบรรพบุรุษบุพการี เมื่อเผากระดาษ วิญญาณก็ได้รับตามที่จิต "สื่อ" ถึง แต่เนื่องจากบุญที่ปรุงแต่งให้นั้นมีน้อย ของทิพย์ที่เกิดขึ้นจึงไม่ยั่งยืน ต่างจากการนำของนั้นไปถวายแด่พระสงฆ์แล้วนำพลังงานบุญที่ได้มาอุทิศ ซึ่งเป็นไปตามโปรแกรมกฎแห่งกรรม จึงได้อานิสงส์แบบตรงและมากกว่า (เช่นนำเสื้อผ้าไปบริจาคแล้วอุทิศบุญ เมื่อเทียบกับเผากระดาษที่ประดิษฐ์เป็นเสื้อผ้า) ดังนี้

 

ถ้าอย่างนั้นเราควรจะทำบุญแล้วอุทิศให้บรรพบุรุษดีกว่าการไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษใช่หรือไม่?

คำตอบคือ เราควรทำทั้ง 2 อย่าง เพราะบรรพบุรุษบางท่านไม่เข้าใจเรื่องบุญ อนุโมทนาบุญไม่เป็น หรือบางท่านก็ไม่เปิดใจรับ หรืออยู่ในสภาพที่รับไม่ได้ เมื่อทำบุญอุทิศให้ บุญก็ถึงน้อย หรือแทบจะไม่ได้เลย แต่ถ้านำอาหารมาไหว้ ก็ได้กินแบบง่ายๆ เพราะอาหารมีส่วนทิพย์ที่บริโภคได้ทันทีครับ

 

ถ้าเช่นนั้นเราจำเป็นต้องบูชาเทวดาเทพเจ้าหรือไม่

คำตอบคือ ในศาสนาพุทธมีคำว่า "พุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ" และ "เทวตานุสติ" คือสติรำลึกนึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และเทวดา การถวายข้าวบูชาพระ เป็นพุทธานุสติ เป็นจิตใฝ่ดี ผูกใจไว้กับพระพุทธเจ้า เทวตานุสติ เป็นจิตใฝ่ดี ผูกใจไว้กับเทวดา เป็นการยกใจให้สูงขึ้น ไม่ผิดคำสอนของพระพุทธศาสนาครับ เพียงแต่อย่าทำถึงขั้นให้ตนเองทุกข์ใจ คือใช้ทรัพย์แล้ว เสียใจว่าไม่ได้ตามที่ขอ ดังนี้ครับ

จะรู้ได้อย่างไรว่าเทพองค์ไหนมี องค์ไหนไม่มีจริง?

คำตอบคือ โดยคร่าวก็ตรวจสอบเรื่องราวความเป็นมา และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มี อย่างเช่นตำนานของแต่ละองค์ บางองค์มีสำเร็จหลายท่าน อย่างเช่นพระแม่กวนอิม มีกันหลายท่านที่เป็นพระแม่กวนอิม พระศิวะ พระแม่อุมา มีทั้งนั้น และมีสำเร็จหลายท่าน หลายปาง บางท่านเริ่มจากตำนาน แล้วมีผู้ศึกษาสนใจมาก ขอบำเพ็ญเป็นเช่นนั้น เมื่อละโลกแล้วบางท่านก็ได้เป็นจริงๆ ตำนานจึงกลายเป็นจริงครับ เหมือนคนเห็นพระพุทธเจ้า อยากเป็นพระพุทธเจ้าบ้าง ก็เลยเข้าสู่เส้นทางเป็นพระโพธิสัตว์ เมื่อบำเพ็ญสำเร็จ ก็ได้เป็นพระพุทธเจ้า บางคนเห็นพุทธมารดา พุทธบิดา ก็อยากเกิดเป็นพุทธมารดา พุทธบิดา หรือเป็นมหาอุบาสก มหาอุบาสิกา เมื่อบำเพ็ญกระทั่งครบถ้วนบารมี ก็ได้เป็นอีกพระองค์หนึ่ง ในทำนองเดียวกันนี้ครับ

 

เพราะเหตุใดเวลาจัดงานพิธีบวงสรวง จะต้องมีหัวหมู เป็ด ไก่ ที่ฆ่าแล้ว นำมาอยู่ในยัญพิธี?

คำตอบคือ ในการบวงสรวงนั้น เป็นพิธีของพราหมณ์ ซึ่งพราหมณ์ท่านก็จะอัญเชิญเทวดาทุกสวรรค์ชั้นฟ้า ให้มารับเครื่องบวงสรวงสังเวย แล้วพราหมณ์ท่านก็จะร่ายชื่ออัญเชิญ ตั้งแต่ระดับพื้นๆ กระทั่งถึงสวรรค์ชั้นสูง เทพเจ้าต่างๆ ซึ่งเทพเจ้าและเทวดาที่สูงสักหน่อย ก็ไม่ได้รับประทานเครื่องสังเวย แต่รับไว้เป็นธรรมเนียม เหมือนคนเราถวายธูปเทียนแพแด่ผู้ใหญ่ ซึ่งท่านก็ไม่ได้เอาไปใช้ทำอะไรได้ แต่รับไว้เป็นเชิงสัญลักษ์ของพิธี เช่นเดียวกับการบวงสรวง แต่ผู้ที่อาจจะลงมากินของบวงสรวงอาจจะเป็นภุมมเทวา รุกขเทวา หรือยักษ์ชั้นต้นๆ ที่ยังชอบของเหล่านี้อยู่ เหมือนคนอีสานที่ชอบกินลาบ กินก้อยดิบๆ กินปลาร้าดิบๆ ที่ยังไม่ต้ม อารมณ์ประมาณนั้นน่ะครับ

 

มีท่านสงสัยประมาณว่า เพราะเหตุใด เรานำอาหารที่ปรุงแล้วไปไหว้ผี ผีจึงกินส่วนละเอียดนั้นได้

คำตอบของผมก็คือ คำถามนี้ทำให้ผมคิดอยู่นาน แต่เท่าที่จะพอตอบได้ก็คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราได้เรามีเราเป็น ล้วนเกิดจากพลังงานบุญและบาป ที่ส่งผล เช่น อาหารมื้อเที่ยงที่เกิดขึ้นเพื่อเรา ก็เกิดจากพลังงานบุญ ดลบันดาลให้เรามีกินและมีใช้ สำรับอาหารของเรา ก็เกิดจากโปรแกรมกฎแห่งกรรมบันดาลให้มีขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ โดยโปรแกรมกฎแห่งกรรมจะทำงานได้ก็ต้องอาศัยพลังงานบุญ เช่นเดียวกับบาป ซึ่งสิ่งที่กายมนุษย์ได้กินได้ใช้ ก็เกิดจากส่วนอันเป็นทิพย์ปรุงขึ้นก่อน แล้วบันดาลให้กายมนุษย์ได้กินได้ใช้ตามมาภายหลัง ดังนี้แล้ว มื้ออาหารจึงมีส่วนแห่งความ "เป็นทิพย์" สถิตย์อยู่ ซึ่งสภาพอันเป็นทิพย์นั้นเกิดจากพลังงานบุญ และเมื่อเรานำอาหารไปไหว้ผี พวกเขาก็กินพลังงานทิพทย์ที่สถิตย์อยู่ในอาหาร (กินไก่ ไม่ได้หมายความว่าจะได้กินวิญญาณของไก่) เช่นเดียวกับการนำชุดไทยสีต่างๆ ไปมอบให้ต้นตะเคียน นางไม้ก็ได้ชุดไทยไปใส่ ด้วยอาศัยดึงเอาพลังงานทิพย์ในสิ่งของไปใช้ จึงมีลักษณะคล้ายการ "แบ่งบุญ" ไม่ใช่ "อุทิศบุญ" ผมพอจะอธิบายได้ดังนี้ครับ

 

ขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติมถึงการที่ผีหรือวิญญาณกินส่วนที่เป็นทิพย์ของอาหารครับ อาจอุปมาได้กับ พาวเวอร์แบ็งค์ ที่มีไฟฟ้าประจุอยู่เต็ม (สำรับอาหารที่มีส่วนทิพย์อยู่) แล้วเรานำโทรศัพท์เคลื่อนที่มาดึงประจุไฟฟ้าในพาวเวอร์แบ็งค์ออกไปใช้ กระทั่งกระแสไฟฟ้าหมดไป แล้วโอนไปอยู่ในโทรศัพท์เคลื่อนที่แทน ซึ่งก็สามารถใช้หมดไปได้ ดังนี้ครับ

พิรจักร

 

การเผากระดาษไหว้เจ้า ต่างกับการหาของอุปโภคบริโภคมาไหว้วิญญาณ ตรงที่ การเผากระดาษไม่มีวัตถุเหลือ เพราะเผาเป็นขี้เถ้าไป เหลือแต่ "เจตนาที่จะให้" ว่าอยากให้ผีได้รับอะไรบ้าง มิฉะนั้นแล้ว ผีก็คงได้เสื้อกระดาษ รถกระดาษ ไอโฟนกระดาษ แต่ที่ได้ของจริงเพียงชั่วครู่ เพราะเป็นเสมือนการอธิษฐานอุทิศให้ ด้วยบุญจากการไหว้เจ้าไหว้บรรพบุรุษ ในทำนองเดียวกับการถวายข้าวพระพุทธครับ

 

เพราะเหตุใด การเผากระดาษไหว้เจ้า จึงไม่ได้อานิสงส์เหมือนการเผารายชื่อบุคคลเมื่อทำบังสุกุล?

คำตอบคือ รูปแบบหรือ form คล้ายๆ กัน คือ อาศัยไฟเป็นสื่อของจิต แต่ function ต่างกัน การเผารายชื่อนั้น เทวดาประจำท้องที่เขาจะมาจดบันทึกไว้ แล้วเขาจะเอาไปบอกญาติหรือบุคคลที่อยู่ในรายชื่อให้ เพื่อให้อนุโมทนาบุญ แต่ผมมีเทคนิคพิเศษคล้ายๆ การกรวดน้ำ คือ เวลาเรากรวดน้ำ ให้บอกว่า "ขอฝากพระธรณีด้วย" ส่วนเวลาเผากระดาษบังสุกุล ให้บอกว่า "ขอฝากพระเพลิงด้วย" ดังนี้ครับ

 

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

4-5 กุมภาพันธ์ 2563


ศรัทธา & ปัญญา

ปัญญา ประกอบด้วย ความรู้ และความเข้าใจ ปัญญา มี 3 ระดับ คือ ปัญญาจากการศึกษา ปัญญาจากการคิด และปัญญาจากการภาวนา ปัญญาในพระพุทธศาสนามีประโยชน์ตรงที่ เมื่อเรารู้องค์ประกอบ หากเกิดปัญหาขึ้น เราสามารถแก้ไขได้ถูกจุด เช่น ความรู้ผิด ทำให้เข้าใจผิด เราก็แก้ไข โดยให้ความรู้ใหม่เพิ่มเติม และเปิดโอกาสให้ทำความเข้าใจใหม่

ศรัทธา เป็นสังขารธรรม เกิดขึ้น แล้วดับไปได้ง่ายกว่าปัญญา ในการปฏิบัติพระพุทธศาสนา บางคนศรัทธาในพิธีกรรม ศรัทธาในปฏิปทาการแสดงออกของพระสงฆ์ บางคนศรัทธาในพระธรรมเทศนา ศรัทธาในรูปอันงาม และเสียงอันไพเราะ ฯลฯ ซึ่งเหตุปัจจัยของศรัทธาเหล่านี้ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป การแก้ไขปัญหาศรัทธาเสื่อม จึงต้อง "รักษาศรัทธา" กันอยู่เสมอๆ

ศรัทธาที่เกิดจากปัญญานั้น มีคุณประโยชน์มาก และยั่งยืนกว่าศรัทธาอันเกิดจากความยินดียินร้ายทั้งปวง โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทเช่นกัน คือ 1. ศรัทธาจากปัญญาเรียนรู้จากผู้อื่น 2. ศรัทธาจากปัญญาคิดไตร่ตรองด้วยตนเอง และ 3.ศรัทธาจากปัญญาที่เกิดระหว่างการภาวนา หรือบรรลุธรรม

ในบรรดาผู้มีศรัทธาทั้งหลาย พระอริยเจ้าเท่านั้น ที่มีศรัทธามั่นคงไม่มีวันเสื่อมสลาย ดังนี้.

3 กุมภาพันธ์ 2563

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา


มีท่านถามผมประมาณว่า ธรรม 84000 พระธรรมขันธ์ หมายถึงอะไร?

คำตอบที่ผมคิดได้ก็คือ พระธรรมขันธ์ไม่ใช่จำนวนของคำสอนของพระพุทธเจ้า เหมือนที่เราเรียก “ศีล” เป็นคำแทน ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 โดยรวมๆ กัน พระธรรมขันธ์เป็นสัดส่วนของธรรม ที่เครื่องธาตุเครื่องธรรมซึ่งอยู่ในการควบคุมของพระพุทธเจ้าพระต้นธาตุต้นธรรม ส่งมาหล่อเลี้ยงใจของมนุษย์และสรรพสัตว์ คือเป็นพระวินัยหรือศีล คือความสะอาด = 1 (21000 พระธรรมขันธ์) เป็นพระสูตรหรือสมาธิ คือความสงบ = 1 (21000 พระธรรมขันธ์) และพระอภิธรรม คือปัญญาหรือความเข้าใจ = 2 (42000 พระธรรมขันธ์) โดยมีคำสอนของพระพุทธเจ้าอันเป็น “พระธรรมวินัย” เป็นกรอบกำหนดโดยคร่าว เป็น 1:1:2 ดังนี้ครับ

สาเหตุที่ผมรจนาว่า พระสูตร ทำให้สงบนั้น เพราะฤทธิ์ตั้งต้นของพระสูตร คือ "สมาธิ" ที่ทำให้ใจ "สงบ" เป็น 1 ในไตรสิกขา ส่วนว่า ทำไมสมาธิ จึงกลายเป็นพระสูตร ก็คล้ายๆ กับ พระวินัยและศีล ที่ตั้งต้นเป็น ฤทธิ์แห่งความ "สะอาด" ซึ่งเมื่อนำไปปฏิบัติแล้ว กาย วาจา ใจ จะสะอาดขึ้น ฉันใดก็ฉันนั้น พระสูตรที่นำไปศึกษาและปฏิบัติแล้ว จะก่อให้เกิดสมาธิ พาใจให้สงบ

มีท่านสงสัยถามประมาณว่า ทำไมสายธรรมกายจึงสามารถมองเห็นธรรมต่างๆ เป็นรูปเป็นร่างเป็นตัวเป็นตน มีดวงศีล เป็นต้น?

คำตอบคือ เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพาน พระอนุรุทธะได้ใช้ตาทิพย์ติดตามการเข้าฌานออกฌานของพระพุทธเจ้า และสามารถทราบและรายงานได้ว่า วาระจิตของพระพุทธเจ้าเข้าฌานใด ออกฌานใด ดับขันธปรินิพพานเมื่อใด ถามว่า ถ้าสภาวธรรมนั้นไม่สามารถมองเห็นได้ แล้วทำไมต้องให้พระอนุรุทธะส่องตาทิพย์ติดตาม ทำไมไม่ให้พระอรหันต์รูปอื่นที่รู้วาระจิตเป็นผู้ติดตาม

วิชชาธรรมกาย เป็นวิชชาที่อาศัยอาโลกกสิณ คือกสิณแสงสว่างเป็นเบื้องบาท ซึ่งอาโลกกสิณมีคุณคือทำให้มีทิพยจักษุเลิศกว่ากสิณประเภทอื่นๆ (สว่างมาก ก็เห็นได้มาก เห็นมาก ก็รู้ได้มาก)

การที่ตามนุษย์ด้วยกัน มองกายนุษย์ด้วยกัน แล้วมองไม่เห็นวิญญาณ ก็เหมือนกับที่เทวดามีตาทิพย์ แล้วไม่เห็นนิพพาน นั่นก็คือ ตาทิพย์ขั้นที่เหนือกว่า สามารถเห็นขั้นที่ต่ำกว่าได้ แต่ตาทิพย์ขั้นต่ำกว่า ไม่สามารถเห็นขั้นที่สูงกว่าได้ครับ

เรื่องกายทิพย์ มองไม่เห็นนิพพาน ก็อุปมาได้ว่า กายเทวดานั้น ก็มียนต์กลไกอยู่ภายใน เช่นเดียวกับมนุษย์ที่มีอวัยวะตับไตไส้พุง กายเทวดา มีดวงบุญ มีดวงบาป แต่ผู้มีตาทิพย์ทั่วไป เห็นเทวดาแล้วก็เห็นกายโปร่งสว่าง ไม่เห็นบุญ เห็นบาปของเทวดาที่สะสมอยู่ในตัว ต้องเป็นตาทิพย์ที่ละเอียดกว่าภพภูมิเทวดา จึงจะเห็นดวงบุญ ดวงบาป ดวงธรรม ในตัวเทวดาได้ครับ

มีท่านสงสัยว่า "การเข้านิพพานไม่ถอดกาย" หรือนิพพานเป็น ตามคำสอนของสายวิชชาธรรมกายจะเป็นไปได้อย่างไร?

คำตอบคือ สายวิชชาธรรมกายสอนเรื่อง "นิพพานถอดกาย" และ "นิพพานไม่ถอดกาย" กล่าวคือ นิพพานถอดกายคือการดับขันธปรินิพพาน ทิ้งกายมนุษย์ แล้วเข้านิพพานด้วยกายธรรม หรือธรรมกาย ส่วนนิพพานไม่ถอดกาย คือเข้านิพพานด้วยกายเนื้อ

โดยนัยนี้ คล้ายกันกับการที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ คือเสด็จเข้าไปด้วยพระวรกายมนุษย์ ไม่ใช่การถอดจิต หรือถอดวิญญาณไป ในทำนองเดียวกัน พระพุทธเจ้าที่บารมีมาก โดยเฉพาะพระพุทธเจ้าในยุคบรรพกาล สามารถเข้านิพพานได้ด้วยพระวรกายมนุษย์ ในลักษณะเดียวกันนี้ ซึ่งยากกว่าการเสด็จไปสวรรค์ เพราะนิพพานนั้นละเอียดประณีตกว่ามากครับ

มีท่านสงสัยถามผมประมาณว่า มีความจำเป็นอันใด พระพุทธเจ้าจึงต้องเข้านิพพานด้วยพระวรกายมนุษย์

คำตอบคือ อ้างถึงคำอธิบายของผม ตั้งแต่มีมนุษย์ในยุคเริ่มแรก คือมนุษย์ล้วนมีกายมหาบุรุษ และมีลักษณะกึ่งหยาบกึ่งละเอียด ซึ่งไม่ดับไปโดยง่าย เมื่อปะทะกับเหล่ามารในญาณ พระธรรมกาย ก็มีลักษณะอันเป็นทิพย์เป็นธรรม มีความละเอียดพอๆ กับธรรมกายมาร เมื่อสู้กัน ปะทะกัน หากเพลี่ยงพล้ำ พระธรรมกายจะเสียหายได้ แต่ถ้าเข้านิพพานด้วยกายมนุษย์ กายจะแน่นกว่า มีลักษณะกึ่งหยาบกึ่งทิพย์ ปะทะกันแล้ว ก็ไม่แตกดับโดยง่ายครับ อุปมาเหมือน ก้อนเมฆปะทะกับตัวเครื่องบิน เครื่องบินแข็งกว่า บินปะทะผ่านก้อนเมฆได้ แต่ถ้าก้อนเมฆปะทะกับก้อนเมฆด้วยกัน (ธรรมกายปะทะธรรมกาย) ก็เกิดฟ้าร้องฟ้าแลบ เพราะเสียดสีกันครับ

สาเหตุที่ธรรมกายยังมีแตกดับเสียหายเมื่อปะทะกับธรรมกายมาร แต่ก็ยังมีผู้ต้องการเข้านิพพาน ก็เพราะไม่ต้องการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งเป็นภัยในวัฏสงสาร ส่วนว่าท่านที่ไม่อยากจะมีตัวมีตน ก็สามารถทำได้ โดยเข้านิพพานแบบสูญ คือดับกาย เวทนา จิต ธรรม ของตนเอง แล้วสลายกลายเป็นหมอกควันละอองธรรมไปครับ แต่ถ้าทุกคนคิดแล้วทำอย่างนี้ ธาตุธรรมฝ่ายพระนิพพานก็จะไม่มีใครช่วยคุ้มครอง

แต่ถ้าธาตุธรรมฝ่ายเราจะพร้อมใจกันดับ กาย เวทนา จิต ธรรม ให้สูญสิ้นกันทั้งหมด แล้วปล่อยให้ใครอื่นยึดครองไป เราก็ไม่อาจทราบได้ว่า สักวัน ในอนาคต พวกมารจะมีวิธีประชุมร่างเรากลับคืนมา เพื่อใช้เป็นทาส ของพวกเขาหรือไม่ ยังไม่มีใครรับประกันได้ครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

29 มกราคม 2563


มีท่านสงสัยประมาณว่า เพราะเหตุใด ในสมัยพุทธกาล คนฟังธรรมแล้วบรรลุธรรมได้ง่าย?

คำตอบคือ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมนั้น ผู้ฟังธรรมได้โอกาสเจริญ "พุทธานุสติ" โดยที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมที่เหมาะกับผู้ฟัง โดยรู้อัธยาศัยที่บำเพ็ญมา และอินทรีย์แก่อ่อนในปัจจุบัน จึงทรงเลือกหัวข้อธรรมที่เหมาะสม ในขณะฟังธรรม ผู้ฟังมีพุทธานุสติอยู่ มีใจเป็นขณิกสมาธิ ถึงขั้นอุปจารสมาธิ เมื่อฟังธรรมอยู่ นิวรณ์ 5 ก็ลดลง กระทั่งถึง "วิจิกิจฉา" ความลังเลสงสัย ที่หายไป เพราะเข้าใจในพระธรรมเทศนา เมื่อนิวรณ์หมดสิ้นไป จิตที่เป็นอุปจารสมาธิ อันเกิดจากการเจริญพุทธานุสติ ก็ถูกยกให้สูงส่งขึ้น และรวมกันแน่วแน่ ทำให้เกิดมรรคสมังคี แก่ อ่อน ตามกำลังสั่งสมมา แล้วถอนสังโยชน์ได้มากบ้างน้อยบ้าง บรรลุเป็นพระอริยบุคคลได้ ดังนี้

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

29 มกราคม 2563

หมายเหตุ: มีท่านอธิบายเสริมว่า ในขณะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมนั้น พระพุทธองค์ได้ทรง “คุมธรรม” ให้กับผู้ฟังด้วย การคุมธรรมนั้นมีลักษณะคล้าย “การแผ่เมตตา” เพื่อให้ผู้ฟังธรรมมีใจเป็นสมาธิ มีนิวรณ์เบาบางลง สามารถบรรลุธรรมได้ง่ายขึ้น


มีท่านสงสัยถามประมาณว่า เพราะเหตุใดคนที่ทำอนันตริยกรรมอย่างพระเจ้าอชาตศัตรู จึงไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แม้จะฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า

คำตอบคือ ผู้ที่ทำอนันตริยกรรมนั้น "ดวงศีล" จะ "ดับ" เพราะฉะนั้น จึงไม่สามารถก่อให้เกิด "มรรคสมังคี" ได้แม้จะฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า เพราะมรรคสมังคี ต้องอาศัย ศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมๆ กันครับ

 

มีท่านสงสัยถามประมาณว่า "ดวงศีล" คืออะไร?

ดวงศีลคือ สภาวธรรมที่ประชุม สีลานุสติ และดวงจิต (อย่างในพระอภิธรรม) ที่เกิดขึ้นอันมีธรรมรสเป็น "ศีล" คือความสำรวมระวัง กาย วาจา ใจ มิให้ผิดธรรมและผิดวินัย

 

มีท่านสงสัยถามว่าดวงธรรมคืออะไร?

ดวงธรรมนั้นเปรียบเสมือน "แคปซูล" ที่บรรจุยา อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ และวิมุติญาณทัสนะ สาเหตุที่ต้องมีดวงธรรมก็เพราะเป็น "ยนต์กลไก" ที่ตั้งเอาไว้อย่างนั้น เหมือนจะถามว่า ทำไมจึงมีดวงธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ตามตำแหน่ง ทำไมสลับกันไม่ได้ คำตอบคือ ที่มี ที่เป็นดังนั้น ก็เพราะประกอบยนต์กลไกเอาไว้อย่างนั้นมาแต่เดิมครับ น่าอัศจรรย์ที่ว่า มรรค ในทางมหายาน เชื่อว่ามี 10 มรรค ครับ โดยเพิ่มมาอีก 2 อย่าง คือ สัมมาวิมุติ กับสัมมาญาณทัสนะ ครับ ซึ่งตรงกับสายปฏิบัติวิชชาธรรมกายครับ

 

มีท่านสงสัยประมาณว่า ในเมื่อจิตนั้นเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ตามพระอภิธรรม แล้วเหตุใดจึงมีดวงธรรม มีดวงศีล ตามที่สายวิชชาธรรมกายกล่าวอ้าง?

คำตอบคือ ผมขออ้างถึง form ในสติปัฏฐาน 4 โดยไม่กล่าวถึง function หมายความว่า จิตที่เกิดดับ เป็นเพียง 1 ใน 4 ประการ ซึ่งปฏิสัมพันธ์กันเป็น ปฏิจจสมุปบาท จิตที่เกิดดับ เปรียบเสมือนสายน้ำ ส่วนธรรม เปรียบเสมือนพืชน้ำที่สายน้ำพัดพามาสะสมกันที่ตลิ่ง เมื่อสายน้ำที่พัดพามาผ่านพ้นไปแล้ว ก็เหลือแต่พืชน้ำรวมกันอยู่ นั่นก็คือ "ธรรม" ที่สะสมอยู่ในตัวของเรา ภายในดวงธรรมต่างๆ ครับ

 

มีท่านสงสัยประมาณว่า ดวงศีลบารมี กับดวงศีล ที่อยู่ในดวงธรรม นั้นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?

คำตอบของผมก็คือ ดวงศีลบารมีนั้นมี function คล้ายแบตเตอรี่ที่สะสมพลัง ส่วนดวงศีลที่อยู่ในดวงธรรมนั้นมี function คล้ายเครื่องมือที่แสดงให้เห็นถึงสภาพของศีลธรรมของบุคคลในอดีตและปัจจุบัน และเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการทำให้เกิด "มรรคสมังคี" กล่าวคือ ดวงศีลบารมี เป็นพลังงานที่ส่งให้เกิดมรรคสมังคีได้ แต่ดวงศีลบารมี ไม่ใช่อุปกรณ์ของใจในการทำให้เกิดมรรคสมังคี แต่เป็นดวงศีลที่อยู่ภายในดวงธรรมครับ เปรียบเทียบดวงศีลบารมีเหมือนถ่านแบตเตอรี่ ส่วนดวงศีลในดวงธรรมเหมือนหลอดไฟของไฟฉาย ถ้าถ่านเต็ม แล้วหลอดไฟสะอาด หลอดไฟยังไม่ขาด และไม่มีสิ่งสกปรกปิดกั้นหน้าไฟฉาย ไฟก็สว่างมาก มันก็เป็นคนละอย่างกัน ซึ่งสัมพันธ์กัน ดังนี้ครับ


มีท่านสงสัยถามเรื่องดวงศีลประมาณว่า ผู้ที่ถือศีลมากข้อ น้อยข้อ ต่างกัน จะได้ศีลบารมีต่างกันหรือไม่ แล้วดวงศีลจะสะอาดและสว่างมากน้อยต่างกันอย่างไรหรือไม่?

คำตอบคือ ไม่ว่าจะถือศีลมากข้อน้อยข้อ ไม่ได้เป็นเครื่องวัดกำลังศีลบารมีโดยตรง เพราะเป็นเพียง "กรอบกำหนด" โดยคร่าว เพราะศีลที่แท้จริงนั้นนับเป็น 21000 พระธรรมขันธ์ พระอรหันต์ในพุทธกาลที่โลกเจริญทางธรรมมาก ก็ถือศีลกันเพียง 8 ข้อบ้าง 10 ข้อบ้าง อนึ่ง พระภิกษุณี ในพุทธันดรปัจจุบัน ก็มีศีลมากกว่า 300 ข้อ ซึ่งมากกว่าพระภิกษุ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าภิกษุณีบริสุทธิ์กว่า หรือมีกำลังศีลบารมีมากกว่า โดยนัยยะของจำนวนสิกขาบท แต่ศีลบารมีได้มากน้อย ตามกำลังของใจที่สำรวมระวังในกาย วาจา และใจ โดยมีสิกขาบทเป็นกรอบโดยคร่าวครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

29 มกราคม 2563


สติศีล, สมาธิศีล เจริญเป็น อธิศีล

สติสมาธิ, สมาธิจิต เจริญเป็น อธิจิต

สติปัญญา, สมาธิปัญญา เจริญเป็น อธิปัญญา

 

สัมมาทิฐิ คือส่วนหนึ่งของสัมมาปัญญา

เกิดจากสุตตะ การเรียนรู้

เกิดจากจินตะ การคิด

เกิดจากภาวนา คือการทำสมถะวิปัสสนา

สัมมาทิฐิจึงมีนัยยะทั้งในรูปแบบของความคิดอ่านและสภาวธรรมในสมาธิ

 

ในเมื่อ สัมมาทิฐิ เป็นส่วนหนึ่งของสัมมาปัญญา

แบ่งออกเป็น สุตตมยปัญญา, จินตมยปัญญา, และภาวนามยปัญญา

แล้ว ศีล จะแบ่งจำแนกได้อย่างไร

คำตอบคือ ในทำนองเดียวกัน ศีล แบ่งได้เป็น

1. ศีลสิกขาบท หรือ ปาฏิโมกขสังวรศีล

2. อินทรีย์สังวรศีล

3. สีลานุสสติ

 

สำหรับ สัมมาสมาธิ

1. ขณิกสมาธิ (อนุสสติ, สมถะ, วิปัสสนา)

2. อุปจารสมาธิ (อนุสสติ, สมถะ, วิปัสสนา)

3. ฌาน (อนุสสติ, สมถะ, วิปัสสนา)

ดังนี้

- พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

28 มกราคม 2563


ความเห็นถูก (Right View) 

คือ "ปัญญาชอบ" อันเกิดจากความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง (Right Knowledge & Understanding)  ความเห็นถูก อุปมาเหมือน “แว่นตา” เมื่อเรามองเห็นผ่านแว่นที่มีเลนส์ตรงกับสายตาของเรา เราก็จะมองเห็นได้ชัด เห็นแล้วก็รู้และเข้าใจไปตามสภาพความเป็นจริง ส่วนความเห็นผิด ก็เหมือนใส่แว่นตาที่เลนส์ไม่ตรงกับสายตาเรา เห็นผิดมากน้อย ก็เหมือนกับเลนส์ ที่ทำให้เห็นภาพมัวมากน้อย หรือเป็นเลนส์แว่นกันแดดมืดสนิท ก็แทบจะไม่เห็นอะไรเลย เมื่อเห็นถูกแล้ว จึงค่อยเกิดการดำริเป็น “ดำริถูก” (Right Intent) ในขั้นต่อไป  

"ทมะ" คือความข่มใจ 

เป็นธรรมชนิดหนึ่งที่มีในตัวทุกคน เปรียบเสมือนสารต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย เมื่อใดที่เกิดรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ในฝ่ายอกุศล ที่เรารับรู้ผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วทำปฏิกิริยากับ “ธรรม” และ “อธรรม” ที่เครื่องธาตุเครื่องธรรมส่งมาหล่อเลี้ยงใจเรา มี ศีล สมาธิ ปัญญา และ โลภ โกรธ หลง เป็นอาทิ "ทมะ" เป็น function ที่จะทำหน้าที่เข้ากำกับข่มไว้มิให้ “อธรรม” กำเริบ และตั้งมั่นอยู่ใน “ธรรม” หากอกุศลธรรมเกิดขึ้นในใจเราบ่อยๆ และเราเปิดโอกาสให้ "ทมะ" ทำงานบ่อยๆ "ทมะ" ก็จะแก่กล้าและว่องไวขึ้น สามารถยับยั้งความคิด คำพูด การกระทำ ในฝ่ายอกุศล ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นเดียวกับการฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นเชื้อโรคอ่อนๆ กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน

ศีล คือความสะอาด สมาธิ คือความสงบ ปัญญาคือความฉลาดเข้าใจ 

บางครั้งเราฉลาดพอ แต่สงบไม่พอ บางคราเราสะอาดพอ แต่ฉลาดไม่พอ สมาธิอบรมปัญญา คืออธิปัญญา ปัญญาอบรมสมาธิคือ วิปัสสนา ศัตรูของสมาธิคือนิวรณ์ 5 ศัตรูของวิปัสสนาคือวิปัสสนูปกิเลส 10 อาศัยอธิปัญญา และวิปัสสนา อบรมปัญญา ให้เป็น สัมมาปัญญาแก่กล้ากว่า มิจฉาปัญญาโดยมีศีลความสะอาดมากพอ มีสมาธิ ความสงบมากพอ เราก็ชนะได้!

สัมมามรรค กับ มิจฉามรรค

เมื่อเราจำเป็นต้องตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิด.. เกณฑ์ในการพิจารณาสิ่งถูกคือ "สัมมามรรค" (The Righteous Eightfold Path) ทั้งหลาย ส่วนสิ่งผิดคือ "มิจฉามรรค" (The Wrongful Eightfold Path) ทั้งปวง

ทาน ศีล ภาวนา บุญกริยาวัตถุ 10 คือ วิธีการสั่งสมบุญ เจริญแก่กล้าเป็นบารมี 10 ทัศ เพิ่มพูนคุณธรรม ส่วน ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นไตรสิกขา คือมรรค 8 เพื่อการลดกิเลส และ ละสังโยชน์ เมื่อเกิดมรรคสมังคี

ทาน ศีล ภาวนา เป็นกำลังสะสมของพลังงานบุญ (ทำให้คุณธรรมเพิ่ม)

ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นกำลังขจัดสังโยชน์ (ทำให้กิเลสลด)

ทั้งสองอย่างต้องมีพร้อม คือมีบุญบารมีมากพอ และเจริญมรรคมีองค์ 8 กระทั่งเกิดมรรคสมังคี จึงจะละสังโยชน์ บรรลุมรรคผลได้ ดังนี้

บุญบารมี

กล่าวคือ ในตัวคนเราก็มีเครื่องมียนต์กลไกอะไรต่างๆ แล้วก็มีดวงบารมีสถิตอยู่ในศูนย์กลางกาย ดวงบารมีก็แบ่งตาม "ธรรม" 10 ประการ โดยแต่ละดวงมีความ "แก่กล้า" 3 ขั้น เมื่อเราทำบุญกริยา (ทาน ศีล ภาวนา) ด้วย กาย วาจา ใจ เกิดเป็นคุณธรรมต่างๆ (คุณธรรมได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ปิฎก 3 ที่เครื่องธาตุเครื่องธรรมส่งมาหล่อเลี้ยง) เครื่องธาตุเครื่องธรรมจะคำนวณส่งบุญธาตุซึ่งเป็นพลังงานชนิดหนึ่งมาที่ตัวเรา แล้วบุญธาตุ ก็จะเข้ามาควบแน่นกับ “ธรรม” ในดวงบารมี สะสมเป็นบารมีธาตุบารมีธรรม อยู่ในดวงบารมีแต่ละดวง กลายเป็นคุณธรรมที่ตกผลึกอยู่ในตัวเราแล้ว โดยที่ ดวงบารมี แต่ละดวง ก็มี “ธรรมรส” แตกต่างกันไป ซึ่งเราสามารถสัมผัสได้ด้วยใจของเราเอง เช่น สภาวธรรมของใจที่เป็นอุเบกขา (อุเบกขาบารมี) กับสภาวธรรมของใจที่มีความเมตตา (เมตตาบารมี) ให้ความรู้สึกต่างกัน 

บารมีทั้ง 10 อย่างเป็นเสมือนพลังงานที่ "ออกฤทธิ์" ต่างกันไป ถ้าจะละสังโยชน์ตัดกิเลส ก็เหมือนการทานยา ซึ่งมียาหลายตัวที่จะแก้โรคให้หายได้ ฉันใดก็ฉันนั้น โรคของใจอันเกิดจากกิเลส ต้องอาศัยยา 10 อย่าง คือบารมี 10 ทัศ ดังนี้

 ทำไมจึงจะต้องสั่งสมบารมีทั้ง 10 อย่าง?

บารมีทั้ง 10 อย่างเป็นเสมือนพลังงานที่ "ออกฤทธิ์" ต่างกันไป ถ้าจะละสังโยชน์ตัดกิเลส ก็เหมือนการทานยา ซึ่งมียาหลายตัวที่จะแก้โรคให้หายได้ ฉันใดก็ฉันนั้น โรคของใจอันเกิดจากกิเลส ต้องอาศัยยา 10 อย่าง คือบารมี 10 ทัศ

ในเมื่อเปรียบบารมี 10 ทัศ เป็นพลังงานแล้ว หากเราถอนสังโยชน์ประหารกิเลส บุญบารมีที่สั่งสมมาจะลดลงไปหรือไม่?

คำตอบคือ ในกรณีการส่งฤทธิ์ของบารมี เพื่อถอนสังโยชน์ ผมคิดว่าใช้การอุปมากับ "ยาที่มี dose มากพอ และออกฤทธิ์แรงพอ" มากกว่าครับ นั่นหมายความว่า เราไม่เสียบุญบารมีอะไรมากนักกับการถอนสังโยชน์ครับ ส่วนว่าเราใช้บุญอยู่ตลอดเวลา แล้วพระอรหันต์ไม่ทำบุญแล้ว บุญจะหมดในอนาคตเบื้องหน้าหรือไม่ ก็ตอบว่าไม่ครับ เพราะพระอรหันต์จะได้รับ "สายบุญ" หรือ “ปุญญาภิสันธาน” เป็นรางวัลสำหรับการละสังโยชน์ทั้งหมดได้ จึงเป็นอยู่ได้โดยไม่ต้องทำบุญเพิ่มครับ

สำหรับการประหารกิเลสของพระพุทธเจ้านั้น พระองค์ทรงประหารกิเลสด้วยบุญบารมีที่มีมากกว่าพระสาวกครับ แต่พระพุทธเจ้าทรงจำเป็นต้องใช้บุญมากกว่า ในการหล่อเลี้ยงพระศาสนา ในการแสดงยมกปาฏิหาริย์ ในการใช้ฤทธิ์ปราบมิจฉาทิฐิ และในการแผ่ขยายพระศาสนา และอบรมสั่งสอนพระสาวก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ต้องใช้บุญหล่อเลี้ยง แต่ก็ได้บุญบารมีตอบแทนในตัว ส่วนว่าการประหารกิเลสของพระพุทธเจ้า ก็ไม่ได้ใช้บุญมากอะไรนัก เมื่อทรงตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าจะทรงได้สายบุญ หรือปุญญาภิสันธาน ที่เลิศกว่าของพระอรหันต์สาวกทั่วไปอีกด้วย (พระพุทธเจ้ามีปกติเข้าสมาบัติอยู่ตลอดเวลา ต่างแต่ว่าจะละเมียดละไมมากน้อยขึ้นอยู่กับพุทธกิจ) จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าที่มีบุญบารมีต่างกัน เช่นสมเด็จพระพุทธโคดม กับสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรย มีความพร้อมและกำลังในพระศาสนาไม่เท่ากัน และสามารถนำพาสรรพสัตว์เข้านิพพานได้ไม่เท่ากัน แม้จะประหารกิเลสได้หมดเหมือนๆ กันครับ

การอธิษฐาน ได้บุญ หรือเสียบุญ?

การอธิษฐานไม่ใช่ 1 ในบุญกริยาวัตถุ 10 แต่โดยมากแล้วเรานิยมอธิษฐานหลังจากทำบุญ ดังนั้น เมื่อบุญไหลมาสู่ใจเราแล้ว ส่วนหนึ่งของบุญก็ควบแน่นกับดวงจิตที่มุ่งมั่นต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพราะการอธิษฐาน กลายเป็นอธิษฐานบารมี

สำหรับการอธิษฐานโดยที่ไม่ได้ทำบุญ ก็จะเป็นการใช้บุญเก่าที่เคยเกิดขึ้นแล้ว มาควบแน่นในดวงอธิษฐานบารมี ทำให้เสียบุญเก่าไป แต่ก็กลายเป็นบารมี ไม่ใช่การเสียเปล่า และเป็นการตั้งผังสำเร็จหรือการกำหนดอนาคตแบบ "สะสม"

การ "ตั้งผัง" หรือ "จัดผัง" ในวิชชา ก็คล้ายการอธิษฐาน คือใช้บุญบารมีที่มี ในการกำหนดอนาคตว่าต้องการให้เป็นเช่นไร ซึ่งบางครั้งก็ทำให้สิ้นเปลืองบุญบารมีมาก แต่ถ้าการตั้งผัง หรือจัดผัง เพื่องานบุญงานกุศล ทำให้ได้บุญบารมีกลับมา ก็ต้องคำนวณดูว่า คุ้มกับที่ใช้ไปหรือไม่ครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

26 – 27 มกราคม พ.ศ. 2563


จุดเชื่อมต่อกายมนุษย์กับกายวิญญาณ


มีท่านสงสัยที่ผมรจนาไว้ใน Dhammontronics เรื่องบุญเป็นประดุจพลังงาน และการทำงานของสมองและใจ กรณีสมองตาย

วันนี้ผมรู้และเข้าใจเพิ่มเติม โดยอ้างถึงหลักการเดิมที่ผมเคยกล่าวถึง ว่าเมื่อวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไป สักวันหนึ่งจะพบ "ระบบเชื่อมต่อ" ระหว่าง โลกวัตถุ กับ โลกวิญญาณ

ในวันนี้ ผมขอกล่าวถึง "สมอง" ที่ทำงานเป็น "ระบบไฟฟ้า" แต่ไฟฟ้าในสมอง ไม่สามารถอยู่ได้โดยลำพัง แต่ต้องอาศัยส่วนหยาบในการ "สื่อ" ซึ่งผมเรียกสิ่งนี้ว่า Bio-Chemical Electricity และเมื่อสมองตาย กระแสไฟฟ้าใจุในสมองก็หยุดทำงานตามไปด้วย

เมื่อกล่าวถึงศูนย์กลางกาย หรือ กายมนุษย์ละเอียด หรือวิญญาณ นั้นสถิตย์อยู่ที่ศูนย์กลางกาย ซึ่งล็อคอยู่กับกายมนุษย์หยาบด้วย "แผงควบคุมดวงธาตุ" นั่นก็คือ ดวงดิน ดวงน้ำ ดวงลม ดวงไฟ ดวงอากาศ และดวงวิญญาณธาตุ เมื่อธาตุทั้ง 5 แปรปรวน ก็เกิดอาการเจ็บป่วย และเมื่อดวงธาตุหยุดทำงาน ก็ล็อควิญญาณธาตุเอาไว้กับกายมนุษย์หยาบไม่อยู่ กายมนุษย์ละเอียดก็หลุดออกไป ร่างกายจึงตาย 

อย่างไรก็ตาม แผงควบคุมดวงธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ มีลักษณะคล้ายไฟฟ้าในสมอง ก็คือ มีส่วนหยาบรองรับ ซึ่งในทางกายวิภาค เราเรียกสิ่งนี้ว่า Solar Plexus หรือศูนย์รวมประสาท ซึ่งอยู่ภายในกลางท้อง

สรุปก็คือ "ใจ" รวมถึงองค์ประกอบอันเป็นส่วนละเอียดต่างๆ ของมนุษย์ ถูกเก็บล็อคไว้ภายในกายมนุษย์ ซึ่งมี Solar Plexus เป็นจุดเชื่อมต่อ และมีแผงควมคุมดวงธาตุทั้ง 6 ที่ทำงานในส่วนละเอียด เมื่อละเอียดแปรปรวน จึงส่งผลต่อระบบประสาททั่วร่างกาย ทำให้ส่วนหยาบแปรปรวนตามไปด้วย นี้คือปรากฎการณ์ที่ใช้อธิบายการเกิดโรค การแก่ การเจ็บ และการตาย ว่า ส่วนละเอียด และส่วนหยาบ ทำงานร่วมกันอย่างไร ดังนี้.

ส่วนว่า กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม นั้น เมื่อหลุดออกมาจากกายมนุษย์หยาบแล้ว ก็ "ล็อคกันและกันไว้ภายใน" ด้วย "ดวงธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ" ซึ่งมีสภาพเป็นทิพย์ สถิตย์อยู่ในศูนย์กลางกายของแต่ละกาย ในทำนองเดียวกันกับกายมนุษย์ ฉะนี้.

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา

www.meditation101.org

18 ธันวาคม 2562


ปกิณกะจากเรื่องเล่าตายแล้วฟื้น

มีท่านถามผมประมาณว่า เพราะเหตุใดสวรรค์และเทวดา ที่คนไทยเห็น จึงเป็นปราสาทราชวัง และเครื่องประดับ เครื่องนุ่งห่ม แบบสถาปัตยกรรม และรูปแบบไทยๆ

คำตอบคือ ผมขออ้างอิงถึงเรื่องที่ผมเคยโพสไว้ก่อนหน้านี้ว่า กฎแห่งกรรม คือ software ที่ควบคุมความเป็นไปในโลกธาตุ เมื่อเราทำกรรมดีหรือชั่ว ด้วยความคิด คำพูด หรือการกระทำ ผู้เลี้ยงผู้รักษา จะรายงานสิ่งเหล่านี้ เข้าไปยังเครื่องธาตุเครื่องธรรม ซึ่งมี "พระพุทธเจ้าพระต้นธาตุต้นธรรม" เป็น Administrator จากนั้นเครื่องก็จะประมวลกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมนั้น ตามโปรแกรมกฎแห่งกรรม แล้วคำนวนจ่ายออกมาเป็นพลังงานบุญ แล้วตั้งโปรแกรมผลแห่งกรรมที่จะเกิดขึ้น แล้วส่งกลับมาเก็บกักบุญไว้ในตัวเรา และติดตั้ง หรือ install ผลแห่งกรรมที่รอส่งผลไว้ในตัวเราเช่นกัน

ดังนั้น เมื่อคนไทยทำบุญ สร้างพระเจดีย์ สร้างวิหาร สร้างโบสถ์พุทธ สร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบไทยๆ โปรแกรมกฎแห่งกรรมก็ประมวลสิ่งเหล่านี้ ตามกฎที่ว่า ทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้น แล้วก็ตั้งโปรแกรมเป็นผลกรรมว่า เมื่อสร้างแบบไทยๆ ก็ได้ผลเป็นแบบไทยๆ

ดังนั้น เทวดาที่เคยเป็นมนุษย์คนไทย จึงมีวิมานละม้ายคล้ายสถาปัตยกรรมไทย มีเครื่องทรงแบบไทยๆ ครับ

เครื่องแบบของพระยายม และเจ้าหน้าที่ในยมโลก พร้อมกับอาคารสถานที่ ที่เป็นแบบไทยๆ ก็เพราะ "บุญ" ของพระยายม และเจ้าหน้าที่ในยมโลกครับ บางท่านเคยเป็นคนไทย ก็มีเครื่องทรงแบบไทยๆ แต่งแบบไทยๆ เพื่อทำหน้าที่ตัดสิน และลงโทษ คนไทย รวมถึงชนชาติอื่นๆ

ประการแรกคือ เป็นบุญของพระยายมราชเอง ที่ทำเอาไว้แบบไทยๆ เมื่อมารับหน้าที่พระยายม ก็มีเครื่องทรงแบบไทยๆ

ประการที่สองก็คือ บุญสามารถเนรมิตเป็นไปต่างๆนาๆได้ เพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่ เหมือนอะไร เหมือนสำนักงานองค์การสหประชาชาติ ที่เกาะรัตนโกสินทร์ ทำงานแบบนานาชาติ ที่มาตั้งอยู่ในเมืองไทย ก็ออกแบบละม้ายไทยๆ หน่อย แต่ก็ไม่ใช่ซะทีเดียว

ประการที่สาม เป็นการทำเพื่อรองรับคนไทยโดยเฉพาะ เหมือนที่สวนลุมพินี ประเทศเนปาล มีวัดไทย ต้อนรับคนไทย มีวัดญี่ปุ่น ต้อนรับคนญี่ปุ่น มีวัดจีน ต้อนรับคนจีน แบบนั้นล่ะครับ

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา
www.meditation101.org

24 พฤศจิกายน 2562


ที่มาของ “มารกายมนุษย์” หรือ “มนุษมาเร”

มีท่านสงสัยที่ผมเล่าเรื่อง มารกายมนุษย์ ว่ามนุษย์ตัวเป็นๆ จะเป็นมารได้อย่างไร ผมขออธิบายด้วย วิจารณญาณทัสนะของผมโดยคร่าว พอเป็นพื้นฐานดังนี้นะครับ

[1] แต่เดิมมาธาตุธรรมมีแต่ความว่างเปล่า กระทั่งเกิดพยับแสงอ่อนๆ โดยบังเอิญ พยับแสงนั้นคล้ายกับเวลาเมฆฝนเคลื่อนเสียดสีผ่านกัน แล้วเกิดแสงฟ้าแลบ หรือคล้ายๆ กับเวลา ความร้อนกับความเย็นปะทะกัน แล้วเกิดพลังงานลม

[2] พยับแสงนั้นได้ทำให้ความว่างเปล่าในบริเวณหนึ่งเกิดเป็นมวล แล้วมวลนั้นก็กอปรขึ้น เวลาผ่านไปเนิ่นนานมากๆ มวลนั้นเริ่มมี เชื้อแล้ววิวัฒนาการเป็นมวลสารทิพย์ คล้ายเซลล์ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน ต่อมาเซลล์นั้นได้ขับเอา ธาตุธรรมออกมาเป็นหย่อมๆ หก-รด ความว่างเปล่า มีธาตุธรรมขาว ธาตุธรรมดำ เป็นอาทิ คล้ายการแบ่งตัวของเซลล์ทิพย์

[3] เมื่อเป็นดังนี้แล้ว มวลธาตุธรรมต่างก็แยกกันวิวัฒนาการผ่านกาลเวลาอันยาวนานมากๆ ในทำนองเดียวกันกับมหาสมุทรในโลกที่เริ่มต้นจากไม่มีสิ่งชีวิตใดๆเลย หลังโลกก่อตัวขึ้นแล้วเย็นตัวลง แล้วสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศน์ของมหาสมุทร ก็ค่อยๆ กอปรขึ้นมาเอง กระทั่งมีสัตว์น้ำหลากหลาย มีสิ่งมีชีวิต มีวงจรชีวิต มีความเป็นไปในรูปแบบต่างๆ กระทั่งเกิดเป็น ระบบนิเวศน์ทางทะเลอย่างเป็นรูปธรรม นั่นเอง

[4] ดังนี้แล้ว ธาตุธรรม หรือโลกธาตุ จึงเริ่มมี ตัวตนโดยที่องค์ต้นกำเนิดแรกสุดของมวลเซลล์ทิพย์ทั้งปวง ได้กลายเป็นตัวเป็นตน เป็นรูปเป็นร่าง มีความคิด มีจิตใจ เรียกกันว่า องค์บรมธาตุหรือ องค์ปฐมธาตุ

[5] ส่วนมวลเซลล์ขาว และมวลเซลล์ดำ ที่ถูกขับออกมา ก็วิวัฒนาการกระทั่งเป็นตัวเป็นตน เรียกว่า องค์พระต้นธาตุต้นธรรมภาคขาวและ องค์ต้นธาตุต้นธรรมภาคดำ

[6] เดิมทีต่างฝ่ายก็ต่างอยู่ พัฒนาภพภูมิของตนเองไป กระทั่งฝ่ายดำคิดจะยึดครองฝ่ายอื่นๆ รวมถึงธาตุธรรมฝ่ายขาว จึงแอบสั่งสมกำลัง แล้วเดินวิชชาล่วงหน้าไป เพื่อทำศึกยึดธาตุธรรมฝ่ายขาว โดยที่แต่ละฝ่ายก็มีบุคลากรของตน โดยฝ่ายขาวมีปกติยินดีในความบริสุทธิ์ดีงาม ชอบทำคุณประโยชน์ ส่วนฝ่ายดำ ยินดีในความเสื่อม ความทุกข์ ชอบทำให้เกิดโทษ (ยุคนี้ยังไม่มีพระพุทธเจ้า ยังไม่มีพระจักรพรรดิ)

[7] เมื่อฝ่ายดำมีกำลังมากพอแล้ว ก็เปิดศึกกับฝ่ายขาว โดยแต่ละฝ่ายมีพระต้นธาตุต้นธรรมเป็นหัวหน้า ฝ่ายขาวเห็นว่ากำลังของตนหย่อนกว่า เพราะไม่ได้เตรียมการรบไว้ จึงหาวิธีว่าทำอย่างไร จะมีกำลังมากพอในระยะเวลาอันสั้น จึงได้สร้าง กายมนุษย์ขึ้น

[8] กายมนุษย์เริ่มแรกเดิมทีของฝ่ายขาว มีลักษณะเหมือนพระพุทธเจ้า มีภาวะกึ่งทิพย์กึ่งหยาบ สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ มีแสงสว่างในตัว เป็นอยู่ได้โดยไม่ต้องทานอาหาร สาเหตุที่สร้างกายแบบนี้ขึ้น เพราะเมื่อปะทะกันในญาณ กายมนุษย์มีมวลที่หนาแน่นกว่ากายอันเป็นทิพย์ จะไม่แตกดับไปแม้จะเพลี่ยงพล้ำ ในยามปะทะกัน

[9] เมื่อฝ่ายดำทราบว่าฝ่ายขาวสร้างกายมนุษย์ขึ้น ซึ่งสามารถต่อกรหรือสู้รบกับตนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า จึงบั่นทอนกายมนุษย์ของภาคขาว ด้วยการทำให้กายมนุษย์ผิดเพี้ยนไปจากเดิม โดยค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่เป็นกายพระพุทธเจ้าเหมือนๆ กัน ก็กลายเป็นกายอย่างพรหม กายทิพย์ กายละเอียด กายมนุษย์ มีชายมีหญิง มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย มีกิเลส มีทุกข์ มีภพภูมิต่างๆ ที่เสื่อมลงเรื่อยๆ คือ อรูปภพ รูปภพ สวรรค์ โลกมนุษย์ อบายภูมิต่างๆ เป็นอยู่ได้ก็ต้องกินอาหาร มีขับถ่าย ไม่มีอานุภาพในการต่อสู้กับฝ่ายดำได้ดังก่อน แล้วก็บังคับไว้ด้วยกฎแห่งกรรม

[10] เมื่อฝ่ายขาวเห็นกายมนุษย์ของตนเป็นเช่นนั้น ก็บังคับมนุษย์ในฝ่ายของตน ผ่านสายธาตุสายธรรม (สายควบคุมกายมนุษย์แต่ละกาย) ให้ทำความดี บำเพ็ญบารมี ตายแล้วไปสวรรค์ ไปนิพพาน หลุดออกจากความทุกข์ทรมานในวัฏสงสาร ส่วนฝ่ายมาร ก็ลองส่งมนุษย์ของตนลงมาบ้าง แล้วบังคับให้มนุษย์ของตน สร้างปัญหา ก่อความเดือดร้อน แต่บ้างก็ทำได้ บ้างก็ทำไม่ได้ เพราะเมื่อมาอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมเหมือนๆ กันแล้ว ต่างฝ่ายต่างก็แย่งกันโน้มน้าวมนุษย์

[11] เมื่อทั้งฝ่ายดำ และฝ่ายขาว ต่างก็มีมนุษย์เป็นพวกของตน ก็เกิดการแย่งชิงบุคคลากรขึ้น ภายใต้กฎแห่งกรรม คือ ฝ่ายขาว ซึ่งได้สร้างพระนิพพานไว้รองรับแล้ว ก็คอยดลจิตดลใจมนุษย์ทั้งหลาย ให้อยู่ในศีลในธรรม ปฏิบัติธรรมบำเพ็ญบุญ มีศีล สมาธิ ปัญญา ตายแล้วไปสวรรค์ ไปนิพพาน เป็นเทวดา เป็นพรหม เป็นพระอริยเจ้า เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้า บางครั้งก็เป็นคนของตน บางครั้งก็แย่งคนของฝ่ายมารมา ในลำดับนี้เอง จึงเริ่มมี พระพุทธเจ้าและมี พระจักรพรรดิทั้ง ในวิชชาและที่เป็นตัวเป็นตนในโลกมนุษย์ เพื่อทำหน้าที่ให้กับสายธาตุสายธรรมแห่งตน

[12] ส่วนฝ่ายดำก็ดลจิตดลใจมนุษย์ให้ทำความชั่ว ตายแล้วกลายเป็นเปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน สัตว์นรก บ้างก็สำเร็จเป็นเทวบุตรมาร เป็นโพธิสัตว์มาร บำเพ็ญทุศีล มิจฉาสมาธิ มิจฉาปัญญา กระทั่งเป็นพระพุทธเจ้ามารไป ซึ่งพระพุทธเจ้ามารนี้ จะได้ไปอยู่ใน มารโลกซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อ พระนิพพานซึ่งต่างก็สู้รบ ต่อกร ต่อรองกัน ด้วยฤทธิ์ สิทธิ์ อำนาจ และวิชชา พลังงานบุญ และพลังงานบาป แทรกแซง แก่งแย่งกันและกันอยู่ทุกอนุวินาทีตราบจนถึงปัจจุบัน.
                                                                                          จบบรรพ์

พิรจักร ทิศุธิวงศ์ สุวพรรดิเดชา
Vijja Scholar

3 พฤศจิกายน 2562



ดวงธรรมทั้ง 6 ในหนทางสายกลาง

โดย พิรจักร สุวพรรดิเดชา (Pittaya Wong)

www.meditation101.org

30 สิงหาคม 2562

ดวงธรรมคืออะไร?

ดวงธรรมคือสถานีประชุมธรรมหล่อเลี้ยงกายมนุษย์ และหล่อเลี้ยงแต่ละกายภายใน (เช่น ดวงธรรมของกายทิพย์ หล่อเลี้ยงความเป็นความอยู่ของกายทิพย์ ดวงธรรมของกายพรหม หล่อเลี้ยงความเป็นความอยู่ของกายพรหม) โดยที่ ศีล สมาธิ ปัญญา และคุณต่างๆ จะส่งฤทธิ์มาประชุมในดวงธรรมที่หล่อเลี้ยงกายนั้นๆ หากดวงธรรมซูบซีดเศร้าหมอง ชีวิตก็ซบเซา หากดวงธรรมสุกสว่าง ชีวิตก็รุ่งโรจน์ โดยที่ดวงต่างๆ เหล่านี้ มิใช่ภาพนิมิตลูกแก้ว แต่เป็นดวงแห่งสภาวธรรม คล้ายๆ ดวงจิต ที่มีพรรณนาไว้ในพระอภิธรรม

ดวงศีลคืออะไร?

ดวงศีล คือดวงที่ประชุมสภาวธรรม ซึ่งส่งฤทธิ์หล่อเลี้ยงใจเรา ให้เกิดจิตสำนึก ความรู้สึกผิด ชอบ ชั่วดี ปรารถนาจะรักษาความประพฤติ คำพูด และความคิด ให้อยู่ในศีลธรรมความดี กล่าวโดยรวมคือ ศีลทำให้ กาย วาจา ใจ สะอาด โดย “ธรรมรส” หรือ “ธรรมารมณ์” แห่งศีลนี้ หากมีอยู่ในสมาธิ มีฌานเป็นอาทิ เรียกว่า “อธิศีล”

ดวงสมาธิคืออะไร?

ดวงสมาธิ คือดวงที่ประชุมสภาวธรรม ซึ่งส่งฤทธิ์หล่อเลี้ยงใจเราให้สงบจากนิวรณ์ โดยที่ธรรมารมณ์นี้ หากมีอยู่ในสมาธิ หรือ ฌาน ขั้นต่างๆ เราเรียกว่า “อธิจิต”

ดวงปัญญาคืออะไร?

ดวงปัญญา คือดวงที่ประชุมสภาวธรรม ซึ่งส่งฤทธิ์หล่อเลี้ยงใจเรา ให้ฉลาดในการทำความเข้าใจองค์ความรู้ และธรรมต่างๆ ตรงไปตามความเป็นจริง มากบ้าง น้อยบ้าง โดยสภาวธรรมนี้ หากมีอยู่ในสมาธิฌานเป็นอาทิ เรียกว่า “อธิปัญญา”

ดวงวิมุติคืออะไร?

ดวงวิมุติ คือดวงที่ประชุมสภาวธรรม ซึ่งส่งฤทธิ์ปลดเปลื้องใจเราให้หลุดออกจากการครอบงำของกิเลส มีสังโยชน์ เบื้องต่ำ เบื้องสูง เป็นอาทิ

ดวงวิมุติญาณทัสนะคืออะไร?

ดวงวิมุติญาณทัสนะ คือดวงแห่งสภาวธรรม ที่เป็นเครื่องรู้ บ่งบอกให้บุคคลหยั่งรู้ หรือรู้แจ้งว่า ตนได้หลุดพ้นจากกิเลส และสังโยชน์เบื้องต่ำ เบื้องสูง แล้ว


เพราะเหตุใดธรรมกายจึงมีอยู่?

พระธรรมกายนั้น แท้จริงแล้วก็คือ "ตัวตนดั้งเดิม" ของเรานั่นเอง ที่ถามว่า คนเรามาจากไหน ใครสร้าง คำตอบก็คือธาตุธรรม (กุศลาธรรมา / อกุศลาธรรมา / อัพยากตาธรรมา) สร้างพระธรรมกายขึ้นมา เมื่อพระธรรมกายเกิดขึ้นแล้ว มีหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย คือต่อสู้กับภาคอกุศลาธรรมา เพื่อปกป้องอธิปไตยของฝ่ายกุศลาธรรมา มิให้ถูกยึดครอง หรือครอบงำ เดิมทีเราก็เป็นดุจพระธรรมกายอรหัต ต่อมาภาคอกุศลาธรรมาก็นำ "สังโยชน์" มาใส่ กลายเป็นพระธรรมกายที่บริสุทธิ์หย่อนลงมา คือพระอนาคามี แล้วภาคอกุศลาธรรมา ก็ใส่สังโยชน์ เติมกิเลส เติมอวิชชา เข้ามาเรื่อยๆ กระทั่งพระธรรมกายหย่อนลงเป็น พระสกทาคามี พระโสดาบัน อรูปพรหม พรหม กายทิพย์ กายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์ที่สมบูรณ์ กายมนุษย์ที่บกพร่อง กระทั่งเป็นเหมือนทุกวันนี้ ที่มนุษย์ไม่มีศักยภาพ และประสิทธิภาพมากพอ จะต่อสู้กับมาร หรือภาคอกุศลาธรรมา เหมือนดั่งที่เคยเป็นพระธรรมกายครับ

 

พิรจักร [ทิศุธิวงศ์] สุวพรรดิเดชา

23 สิงหาคม 2562


พระอริยบุคคลต้องเห็นพระธรรมกายหรือไม่?

ธรรม ของหยาบ คือคำสอนของพระพุทธเจ้า คือพระไตรปิฎกที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น

ธรรม ของละเอียด คือสภาวธรรม อย่างเช่นใน "พระอภิธรรม" คือ "ธรรมปิฎก" ที่หล่อเลี้ยงใจ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา

ธรรมกาย ของหยาบ คือหมวดหมู่คำสอนของพระพุทธเจ้า

ธรรมกาย ของละเอียด คือสภาวะของธรรม ที่ประชุมขึ้นเป็นกาย ในทำนองเดียวกันกับที่ กายเทวดา หรือกายทิพย์ ประชุมขึ้นจาก ดินทิพย์ น้ำทิพย์ ลมทิพย์ ไฟทิพย์ ส่วนกายธรรม หรือธรรมกาย ประชุมขึ้นจาก "ธรรมธาตุล้วนๆ"

คนไม่เห็นธรรมกาย เป็นพระอรหันต์ได้หรือไม่?

คำตอบคือ พระสุขวิปัสสโก ไม่เห็นธรรมกาย แต่ก็เป็นพระอรหันต์ โดยละสังโยชน์ได้ทั้งหมด ส่วนคนเห็นธรรมกาย แต่ละสังโยชน์ไม่ได้ ก็ไม่ใช่พระอริยบุคคล ไม่ใช่พระอรหันต์ เพราะการเป็นพระอริยบุคคล ขึ้นอยู่กับการละสังโยชน์ ไม่ใช่ว่าเห็นหรือไม่เห็นอะไร

มีท่านถามมาประมาณว่า กล่าวถึงพระอภิธรรม ดวงจิตเกิดขึ้นแล้วดับ เพราะเหตุใดธรรมกายจึงไม่ดับ

คำตอบคือ ตราบเท่าที่สภาวธรรมยังทรงอยู่ ธรรมกายก็ยังคงอยู่ เพียงแต่ว่าจะเห็นหรือไม่เห็น

เหมือนพระอริยบุคคล สภาวธรรมยังทรงอยู่ คือทรงอยู่ในสภาพอันปราศจากสังโยชน์ ส่วนว่าจะเห็นธรรมกาย หรือไม่เห็นเป็นประเด็นรอง ขึ้นอยู่กับ วิชชา/จรณะ 15 อันมี ฌาน 1 ถึง ฌาน 4 เป็นอาทิ

ดวงธรรมและธรรมกาย มีอยู่ แต่จะเห็น หรือไม่เห็นเท่านั้น เช่นเดียวกับสภาวะธรรมที่ทรงอยู่ สภาวะนั้นไม่ดับไป กล่าวคือ เป็นพระอรหันต์แล้ว จะเห็นดวงจิต หรือไม่เห็น ก็เป็นพระอรหันต์อยู่ดีครับ

มีท่านถามมาว่าเพราะเหตุใดจึงบรรลุธรรมแบบไม่เห็นอะไรได้

คำตอบคือ การบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ หรือพระอริยบุคคลนั้น อยู่ที่ "การละสังโยชน์" ได้ และการละสังโยชน์ได้ขึ้นอยู่กับ "มรรคสมังคี" ซึ่งมรรคสมังคี ก็เกิดได้หลายรูปแบบ เช่นเกิดในสมาธิ คือจิตรวมเป็นฌาน ประกอบกับความปรารถนายินดีละสังโยชน์ และกำลังบารมีมากพอ ส่วนมรรคสมังคีของพระสุขวิปัสสโกนั้นเกิดในปัญญา คือศึกษาและทำความเข้าใจ ธรรมะ ประกอบกับบารมีมากพอ และจิตปรารถนา ก็เกิดมรรคสมังคีในตัวปัญญา ดับสังโยชน์ไปได้เช่นกัน ดังนี้

ป.ล. คำว่าจิตปรารถนานั้น คือยินดีในการละสังโยชน์ ส่วนจิตไม่ปรารถนา เช่นพระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนา ก็ไม่เป็นอันละสังโยชน์ ก็ทรงอยู่ในสมาธิ หรือทรงอยู่ในปัญญา ที่บำเพ็ญ ส่วนผู้ปฏิบัติสายธรรมกาย ได้ 18 กายแล้ว ไม่คิดจะละสังโยชน์ เพราะไม่ยินดีในอริยมรรคอริยผล หรือยินดีแต่กำลังบารมีไม่พอ พอหมดละเอียด ก็กลับมาทรงอยู่ที่กายธรรมโคตรภู เพียงเท่านี้

พิรจักร [ทิศุธิวงศ์] สุวพรรดิเดชา

23 สิงหาคม 2562


"สายบุญ" คืออะไร?

สายบุญก็คือ "ปุญญาภิสันธาน" หรือท่อธารแห่งบุญ ที่บุคคลได้จากการมี กาย วาจา และใจ ที่เป็นกุศล โดยปกติแล้ว เมื่อบุคคลทำบุญกุศล ภาคผู้เลี้ยงจะรายงาน กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ส่งเป็นทอดๆ ผ่านไปถึง "เครื่องธาตุเครื่องธรรมฝ่ายกุศล" เครื่องก็จะคำนวณ กายกรรม วจีกรรม และมโหนกรรม ที่เป็น input แล้วตั้งโปรแกรมตามกฎแห่งกรรม เพื่อตั้งผังอานิสงส์ที่จะได้รับ พร้อมจ่าย "กระแสบุญ" ส่งมายังบุคคลนั้นๆ ในการทำบุญธรรมดา กระแสบุญ หรือ ปุญญาภิสันธาน อาจจะไหลมาเก็บไว้ในดวงบุญของตัวบุคคล มากบ้าง น้อยบ้าง แต่เมื่อใดที่บุคคลทำบุญที่มีอานิสงส์ไม่หมดสิ้น ก็จะได้รับสายบุญส่งมาจรดที่กลางตัวบุคคลนั้นๆ โดยบุญจะไหลมาอย่างตลอดต่อเนื่องเรื่อยไป ไม่มีหมด


สำหรับผู้ที่ "เล่นประกาฯ" ผู้ทรงวิชชา จะคำนวณเสริม เพิ่มเติมจาก เครื่องธาตุเครื่องธรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งสายบุญชนิดต่างๆ แล้วแบ่งกัน ระหว่าง 1. เจ้าของประกาฯ 2. เจ้าของงานบุญพิธี และ 3. ผู้ทรงวิชชาผู้คำนวณ


สายบุญที่ได้จากการเล่นประกาฯ มีดังนี้ครับ (จากสำคัญน้อย ไปมาก)

1. สายสันวิวัฎฐายี

2. สายมหาสันวิวัฏฐายี

3. สายบรมสันวิวัฎฐายี

4. สายระฆา

5. สายสุรฆา

6. สายอธิฆา

7. สายสันฎิฆา


อย่างไรก็ตาม แม้สายบุญจะส่งบุญมาต่อเนื่อง แต่บุคคลก็จะสามารถรองรับบุญได้มากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ "ธาตุ" ที่มีมากหรือน้อย

มีท่านถามมาประมาณว่า ถ้าหากบุญที่ได้จากสายบุญไม่มีวันหมด เพราะเหตุใดจึงไม่ทำให้รวยขึ้น ผู้รจนาขอเอ่ยอ้างคำสอนของครูวิชชาว่า บุญจากสายบุญเหล่านี้ มีลักษณะคล้าย "บุญจากการนั่งสมาธิ" ดังฉะนี้แล.


- พิรจักร


นิพพานอย่างไร?

มีท่านถามมาประมาณว่า นิพพานไม่ใช่การมา ไม่ใช่การไป ไม่ใช่หรือ ไม่ใช่สถานที่ จะขัดกับเรื่องนิพพานที่กล่าวถึงในสายวิชชาธรรมกายหรือไม่?

คำตอบ: ผมขออ้างถึงพระนิพพานสูตรก่อนว่า

นิพพานสูตรที่ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ (ความว่าง) วิญญาณัญจายตนะ (วิญญาณ) อากิญจัญญายตนะ (ความไร้สูญ) เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะที่มีความจำก็ใช่หรือไม่มีก็ไม่ใช่) โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลายเราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไปหาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์
(นิพพานสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง ๒๕/๑๕๘/๑๔๓)

ตามพระสูตรข้างต้นนั้น หมายถึง นิพพานในตัวหรือ นิพพานขณะยังมีชีวิตอยู่” (สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ) ซึ่งพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ก็ไม่ต้องมา ไม่ต้องไป เพราะอยู่ภายในตัวของท่านเอง ไม่ได้ตั้งอยู่ ณ สถานที่แห่งใด ยังไม่ต้องจุติ ยังไม่ต้องอุบัติ ไม่ได้อาศัยอะไรในการตั้งอยู่ เพราะมีลักษณะเป็น อายตนะเท่านั้น สาเหตุที่เรียกว่าเป็นอายตนะ เพราะมีลักษณะ "น้อมเข้าไป" เช่นเดียวกับ ดวงตาดึงดูดรูป หูดึงดูดเสียง จมูกดึงดูดกลิ่น นิพพานในตัวก็ดึงดูดใจของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์

ส่วน นิพพานนอกตัวหรือ นิพพานเมืองแก้วซึ่งเป็นนิพพานที่พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ จะเข้าไปประทับอยู่หลังจากดับขันธ์ปรินิพพาน หรือเสียชีวิตแล้ว (อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ) มีลักษณะต่างๆ กัน จากที่ผมทราบ การนิพพาน มีหลายแบบ คือ

(1) นิพพานแบบนิรมานกาย คือ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ยังเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ สามารถเสวยสุขจาก จิตนิพพานซึ่งมีลักษณะเป็น อายตนะอยู่ในตนเอง
(2) นิพพานแบบ ถอดขันธ์ออก เหลือแต่ธรรมกาย แล้วเข้านิพพานไปเจริญนิโรธสมาบัติเสวยสุขอยู่ในภพนิพพานโล่งๆว่างๆ ที่สำเร็จด้วยแก้วกายสิทธิ์ เป็นธรรมขันธ์ และนิพพานธาตุ นี้เป็นนิพพานที่สาย ธรรมกายพบเห็น
(3) นิพพานแบบ ถอดขันธ์ออก กลายเป็น สัมโภคกาย แล้วเข้าไปเสวยสุขและทำกิจต่างๆ เช่นเทศน์สอน อยู่ในเมืองนิพพาน ที่เป็นปราสาทราชวังอันงดงามที่สำเร็จด้วยแก้วกายสิทธิ์ หรือที่เรียกกันว่า "พุทธเกษตร" มีการเข้าออกไปมาหาสู่กันในหมู่มนุษย์, เทพ, และพระโพธิสัตว์ ผู้ทรงภูมิธรรม นี้เป็นนิพพานที่สาย มโนมยิทธิพบเห็น
(4) นิพพานแล้วสูญ คือถอดขันธ์ออก แล้วดับสลายตนเองให้สิ้นไป ไม่เหลือทั้งนิรมานกาย ธรรมกาย สัมโภคกาย กลายเป็นฝุ่นละอองธรรมคล้ายเมฆหมอก นี้เป็นนิพพานที่สาย พุทโธพบเห็น

หมายเหตุ: ด้วยความตระหนักในด้านเทคนิคการแปล ขอให้สอบทานพระบาลี และการคลี่คลายเป็นสยามภาษาว่า คำว่า นิพพานที่อยู่ในบริบทหนึ่งๆ นั้น มุ่งหมายใช้เป็น กริยา (verb) หรือว่าเป็น คำนาม (noun) เพราะจะมีผลต่อการขยายความใจความที่เนื่องกันมาครับ

โดย พิรจักร สุวพรรดิเดชา (นามเดิม Pittaya Wong)

9-10 สิงหาคม 2562

www.meditation101.org


คลื่นเกิดขึ้นได้อย่างไร

โดย พิรจักร สุวพรรดิเดชา 10 สิงหาคม 2562

ผมอ่านบทความว่า คลื่น ในทะเลเกิดขึ้นได้อย่างไร บทความบอกว่า เกิดจากลม ที่พัดผิวน้ำ แต่ผมกลับคิดว่า คลื่นเกิดจาก "แรงหมุนรอบตัวเองของโลก" ซึ่งทำให้น้ำในทะเล "กระฉอก" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจุดที่น้ำลึกมาก น้ำก็ยิ่งกระฉอก เป็นระลอกคลื่น มีความถี่ตามสัดส่วน อันสัมพันธ์กับความเร็วของการหมุนเวียนของโลก และการ flow ของกระแสน้ำในทะเล ในทำนองเดียวกับการเกิด สึนามิ ส่วนทะเลสาบ และ แม่น้ำ ไม่มีคลื่นมากนัก เพราะน้ำตื้นครับ


ถาม-ตอบ เรื่องพระจักรพรรดิ โดย พิรจักร สุวพรรดิเดชา ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2562

มีท่านถามมาประมาณว่า เพราะเหตุใด พระพุทธจักรฯ จึงดูสวยงามกว่า?

คำตอบคือ เป็นมาตั้งแต่วิวัฒนาการธาตุธรรม เริ่มตั้งแต่ยังไม่ค่อยมีอะไร และไม่ค่อยมีใคร พระต้นธาตุ (องค์ต้นกำเนิดโลกธาตุ) ท่านก็แบ่งฝ่ายกันและกัน เป็นมาอย่างนี้ และเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างในคุณสมบัติ ท่านก็มีการแบ่งแยกว่า พระจักรพรรดิ ให้มีเครื่องประดับประดา ส่วนพระพุทธเจ้าไม่ประดับ ถ้าไม่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่าง ผู้พบเห็นก็อาจจะไม่รู้คุณหรือตระหนักถึงความพิเศษของท่าน ก็เหมือนครูอาจารย์ทั่วไป กับอธิการบดี อาจารย์ทั่วไปก็ใส่ครุยธรรมดา อธิการบดี ก็มีสายระยางค์คล้องบ่า ให้สังเกตุทราบได้ ครับ

มีท่านถามมาประมาณว่า หากพระพุทธเจ้าประเสริฐกว่า จะแสดงออกอย่างไร?

คำตอบคือ ขออ้างคำสอนของครูวิชชาที่ว่า พระพุทธเจ้านั้น ยิ่งเรียบง่ายยิ่งดี ส่วนพระจักรพรรดิ ยิ่งประดับประดายิ่งดี

พระพุทธเจ้าหรือพระธรรมกายที่แก่ๆอยู่ในอันดับต้นๆ จะละม้ายคล้ายกายมนุษย์มหาบุรุษ จีวรเรียบแนบพระสรีระ ไม่มีเกตุดอกบัวตูม หรือเกตุเปลวเพลิง โดยนัยนี้ จะพอสังเกตได้ว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ประเสริฐ และแก่ธาตุแก่ธรรม

อย่างไรก็ตาม พระองค์ต้นฯ องค์ใหญ่สุดของแต่ละภาคมักจะเป็นพระพุทธเจ้าครับ แต่ในกรณีที่พระจักรพรรดิก็ไม่เป็นรอง พระจักรพรรดิก็สำเร็จเป็น "พระองค์ไท" ไม่ขึ้นอยู่ในการปกครองไปครับ

มีท่านถามมาประมาณว่า ถ้าเช่นนั้นพระพุทธเจ้าก็เป็นใหญ่ใช่หรือไม่?

คำตอบคือ ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ว่าพระพุทธเจ้าเป็นใหญ่ หรือพระจักรพรรดิเป็นใหญ่ แต่ในธาตุในธรรม เรานับถือกับว่า "ธรรมเป็นใหญ่" ใครก็ตามที่ทรงธรรม ไม่ว่าพระพุทธเจ้า หรือพระจักรพรรดิ ก็จะเป็นใหญ่ แต่โดยมากแล้ว พระพุทธเจ้าจะทรงธรรมมากกว่า แต่ถ้ามีพระจักรพรรดิที่ทรงธรรมมาก พระจักรพรรดิก็เป็นใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่บำเพ็ญในทั้งสองฟาก คือมีภาคธรรม และภาคจักร ในคนๆเดียวกัน ก็ใหญ่กว่าทั่วไปครับ

มีท่านถามมาประมาณว่า เพราะเหตุใดจึงกล่าวว่าพระองค์ต้นฯ ส่วนใหญ่จะเป็นพระพุทธเจ้า?

คำตอบคือ กล่าวเช่นนั้นก็ยังไม่ครบความ 
ก่อนอื่นต้องอธิบายว่า พระต้นธาตุฯ คือใคร พระต้นธาตุก็คือเจ้าของธาตุธรรมที่สืบเนื่องมา พระต้นธาตุฯ เกิดก่อนใคร (แต่เกิดหลัง องค์ปฐมธาตุปฐมธรรม) และเป็นผู้เริ่มต้นวิวัฒนาการ แต่บางครั้งพระต้นธาตุฯ ก็อวตารเป็นพระพุทธเจ้า บางครั้งก็เป็นพระสงฆ์ คราวใดที่ ((ต้นธาตุฯ อวตารมาเป็นพระพุทธเจ้า ก็มีสิทธิ์และอำนาจในพระศาสนา แต่ยามใดที่เป็นพระสงฆ์ ก็ยังต้องกราบไหว้พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระศาสดา ของพระศาสนายุคนั้นๆ

พระต้นธาตุเกิดขึ้นก่อนใคร แล้วท่านก็วิวัฒนาการตนเองเรื่อยมา ในหมู่พระต้นธาตุด้วยกัน ท่านก็ "จัด" ตามความชอบพอใจของท่าน เช่น

ภาคขาว มี (1) พระต้นธาตุต้นธรรมภาคขาว (2) พระองค์ต้นจักรพรรดิภาคขาว

ภาคมารดำ มี (1) พระต้นธาตุ (2) พระต้นธรรม (3) พระองค์ต้นจักรพรรดิ

ก็แล้วแต่ภาคเขาจะจัดกันไปน่ะครับ แต่ก็จะคล้ายๆ กัน เหมือนประเทศแต่ละประเทศในโลก ก็มีระบบระบอบการปกครองที่เขาลอกเลียนแบบกัน แต่ปรับใช้ บางประเทศมีประธานาธิบดี กับนายกฯ บางประเทศมีพระมหากษัตริย์ กับ นายกฯ ทำนองนี้ครับ


เล่าเรื่องกายสิทธิ์

โดย พิรจักร

www.meditation101.org

1 สิงหาคม 2562

 

หินแร่จุยเจียก็มีกายสิทธิ์ที่ดีครับ หินแร่ส่วนใหญ่จะมีกายสิทธิ์มาแต่เดิม นับตั้งแต่เจ้าของธาตุเขาส่งลงมาปลูกเลี้ยง กว่าจะมาถึงมือผู้ทรงวิชชา ก็ผ่านความไม่สะอาดมาบ้าง ผู้ทรงวิชชาก็ต้องนำมากลั่นให้สะอาด แล้วค่อยเดินวิชชากัน ผู้ทรงวิชชาบางท่านก็สามารถเลี้ยงกายสิทธิ์กระทั่งแก่กล้าไปตามลำดับ ส่วนกายสิทธิ์ที่เชิญมาซ้อนลงลูกแก้วหลอม ก็อย่าดูเบา ครูวิชชาบางท่านเชิญกายสิทธิ์พระจักรพรรดิใหญ่ๆ ลงมาซ้อนได้ อย่างนี้ก็ง่ายดีครับ หินแร่เปรียบเสมือนบ้านที่มีเจ้าของอยู่อาศัยมาแต่เดิม จะเชิญใหญ่กว่ามาซ้อนก็ยังไงอยู่ ส่วนใหญ่ก็เลยต้องกลั่นแล้วสอนวิชชา แต่ลูกแก้วหลอม เหมือนบ้านเรือนเปล่า ที่ไม่มีใครอยู่ ครูวิชชาเก่งๆ ท่านก็เชิญกายสิทธิ์ดีๆ อย่างพระจักรพรรดิลงมาซ้อนอยู่ในนั้นได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาบ่มหรือปลูกครับ แต่ก็มีข้อดีข้อด้อยต่างกันไป ส่วนลูกแก้ว 3 ดวง ในรูปหล่อยืนของหลวงพ่อสด ที่ผ่านการทำวิชชารบมา ก็เป็นแก้วหลอมทั้ง 3 ดวงครับ ซึ่งกายสิทธิ์พระจักรพรรดิก็ได้รับเชิญมาซ้อนสถิต ในทำนองเดียวกันครับ

กายสิทธิ์พระจักรพรรดิ จะมีวิชชา หรือไม่มีวิชชา ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของเป็นส่วนใหญ่ครับ เหมือนบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ออกมา มี operation system พื้นฐาน เมื่อถึงมือเจ้าของผู้ซื้อ ก็ต้องลงโปรแกรมกันตามใจชอบครับ โปรแกรมก็คือวิชชา ซึ่งผู้ผลิตกายสิทธิ์ ท่านมีหน้าที่ผลิต ท่านไม่ได้มีหน้าที่ค้นวิชชามาใส่ครับ

มีท่านถามมาประมาณว่า ทำไมบางคนได้วัตถุมงคลที่มีอานุภาพมากไปแล้ว ยังคงประสบโชคร้ายหรือมีเคราะห์

คำตอบคือ กฎแห่งกรรมก็เหมือนโปรแกรมนี่ล่ะครับ เวลาทำบุญ/บาป ด้วยกาย วาจา ใจ โปรแกรมเขาก็คำนวณ input ว่าจะต้องรับผลอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วส่งโปรแกรมออกมาเป็น output ติดตั้งไว้ในตัวคนเรา ทีนี้กายสิทธิ์พระจักรพรรดิ ก็อุปมาเหมือนทิพยนต์ ที่เราลงโปรแกรมเอาไว้ หรือเรียกว่ามีวิชชา ถ้าเราไม่สั่งงานกายสิทธิ์ให้แก้ไข เราก็ต้องประสบเคราะห์กรรมอยู่ดี หรือกายสิทธิ์มีวิชชา แต่ก็ไม่มากพอจะแก้โปรแกรมของกรรมได้ เพราะกรรมบางอย่างก็แรงมาก ผมอุปมาโปรแกรมเคราะห์กรรมเหมือน "แรงดึงดูดโลก" ซึ่งมีกำลังสามารถดึงดูดภูเขาทั้งลูก ให้ติดอยู่กับพื้นได้ แรงกรรมบางอย่างมันก็แรงมากเหมือนอย่างนั้นครับ เพราะฉะนั้น ถึงมีกายสิทธิ์ ก็อาจจะไม่พอแรงสู้ หรือบางอย่างกายสิทธิ์ได้แก้ไขให้แล้ว จากหนักเป็นเบา หรือจากเบา ก็เป็นไม่เกิดขึ้น แต่เราไม่ทราบ เราก็นึกว่ากายสิทธิ์ไม่ได้ช่วยอะไรครับ

มีท่านถามมาประมาณว่า ถ้าจะเลี้ยงกายสิทธิ์ให้ใหญ่ขึ้น ก็คือทำบุญ แล้วเขาจะใหญ่ตามเรา ใช่หรือไม่

คำตอบคือ จริงๆ แล้ว กายสิทธิ์ไม่ได้บุญจากการอนุโมทนากับเรานะครับ แต่ถ้าเรามีกายสิทธิ์คุ้มครอง แล้วเราทำความดี เจ้าของผู้ผลิตกายสิทธิ์จะได้ส่วนแบ่งแห่งบุญ แล้วเขาก็จ่ายหล่อเลี้ยงกายสิทธิ์ที่อยู่ในความดูแลของเขา ถ้าเราบำเพ็ญบารมีได้มาก เจ้าของผู้ผลิตกายสิทธิ์ได้ส่วนแบ่งมากเป็นเงาตามตัว เขาก็จ่ายเลี้ยงกายสิทธิ์ของเขามากเป็นพิเศษ แต่ผู้ทรงวิชชาท่านทำแบบโดยตรง ก็คือเติมวิชชา แล้วก็อัดบุญบารมีเข้าไปในองค์กายสิทธิ์ แล้วก็เดินวิชชาร่วมกัน กายสิทธิ์ก็แก่กล้าขึ้นครับ

กายสิทธิ์ทุกองค์ มีเจ้าของผู้ผลิตทั้งนั้นล่ะครับ เหมือนคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ผลิตทุกเครื่อง ไม่มีเครื่องใดที่เกิดขึ้นเอง แต่กายสิทธิ์ที่อยู่ในความครอบครองของผู้ทรงวิชชา ก็มีทั้งแบบที่ยังต่อสายกับเจ้าของผู้ผลิต กับแบบที่ตัดสายเชื่อมกับผู้ผลิตออกไปแล้ว ซึ่งแบบที่ตัดสายแล้ว เป็นประโยชน์ต่อผู้ทรงวิชชาตรงที่ มีสิทธิ์ควบคุมกำกับการกายสิทธิ์ในการเดินวิชชาได้เต็มที่ครับ ซึ่งการจะตัดสายควบคุม ก็ต้องตกลงกับเจ้าของผู้ผลิต บางท่านก็เต็มใจให้ตัด บางท่านก็ไม่ยอม ต้องตกลงแลกเปลี่ยนกันตามสมควรครับ

มีท่านถามมาประมาณว่าเพราะเหตุใดกายสิทธิ์พระจักรพรรดิจึงพาเข้าละเอียดได้

คำตอบคือ กายสิทธิ์มีความละเอียดบริสุทธิ์ต่างกัน ตามการผลิต เพื่อทำงานในภพภูมิต่างกันไป กายสิทธิ์ระดับพระพุทธจักรพรรดิ ถือกันว่าเป็นกายสิทธิ์ของเมืองพระนิพพาน ซึ่งมีความละเอียดมากกว่าสวรรค์ และพรหมโลกโดยทั่วไป กายสิทธิ์พระพุทธจักร ก็ถูกสร้างด้วยความละเอียดประณีตและบริสุทธิ์ สำหรับเมืองนิพพานนั้น เมื่อซ้อนกายสิทธิ์ระดับนี้เข้าธรรมะหรือเข้าวิชชา กายสิทธิ์ก็พาเข้าละเอียดถึงความละเอียดเดียวกันกับเมืองนิพพานได้ แต่ถ้าจะไปไกลกว่านั้น ก็ต้องไปต่อเอาเอง ดังนี้

มีท่านถามมาประมาณว่า หากกายสิทธิ์พระจักรพรรดิชั้นสูงสามารถพาเข้าละเอียดได้ดี ทำไมครูวิชชาจึงไม่เชิญมาซ้อนเป็นพระของขวัญหรือลูกแก้วของขวัญ

คำตอบคือ ในวิชชามีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงหลายอย่าง การเชิญกายสิทธิ์พระจักรพรรดิชั้นสูงลงมาจากภพภูมิชั้นสูง ต้องเปลืองกำลังมาก จะคว้าลงมาเปล่าๆ บางทีก็ไม่ได้ ต้องต่อรองกับเจ้าของผู้ผลิตว่าจะแลกกับอะไร บางทีก็ทำให้เปลืองฤทธิ์ เปลืองละเอียด หรือบางที ก็เหมือนกับสาธุชน เป็นขั้นร้อยโท จะไปเชิญจักรพรรดิชั้นพันเอก พลเอก มาให้ใช้ มันก็ดูไม่เหมาะควร ถ้าสาธุชนเป็นผู้ทรงวิชชาชั้นสูง ก็ได้ครอบครองพระจักรพรรดิกายสิทธิ์ชั้นสูง ก็ควรอยู่ ต้องคำนึงถึงหลายอย่างด้วยกันครับ

มีท่านถามมาประมาณว่า หากกายสิทธิ์มีความละเอียดสูง เพราะเหตุใดจึงไม่มีวิชชา

คำตอบคือ กายสิทธิ์ก็คล้ายๆ อัญมณี ที่มีคุณค่า ตามคุณสมบัติ เช่น น้ำหนัก ความสะอาด สี ฯลฯ ดังนั้น ความละเอียดของกายสิทธิ์จึงไม่ใช่ปัจจัยส่งผลโดยตรง กับการมีวิชชา แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกันคนละประเด็น คือ เมื่อมีละเอียดมาก ก็สามารถเดินวิชชาได้มากขึ้น อุปมาเหมือนคนที่อ่านหนังสือหลังจากนอนหลับพักผ่อน ตื่นมาจิตใจแจ่มใส นั่งอ่านหนังสือไปเรื่อย ก็เหนื่อย จิตใจไม่แจ่มใส เหมือนก่อนจะเริ่มอ่าน ฉันใดก็ฉันนั้น การทำวิชชาเหมือนการทำงานทางใจ เมื่อเดินวิชชามากๆ ละเอียดก็หมดเปลืองไป ต่างจากการเข้าละเอียดอย่างเดียว ที่มีความสุข สะอาดครับ

 

 

มีท่านถามมาเรื่องปุญญาภิสันธาน

"ปุญญาภิสันธาน" ก็คือ "สายบุญ" หรือ "ท่อธารแห่งบุญ" ที่เครื่องธาตุเครื่องธรรม คำนวณ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นกุศล แล้วเบิกส่งจ่ายบุญออกมาจากแหล่งผลิตและเก็บบุญ ปกติแล้ว จะเป็นการลำเลียงบุญส่งมาเก็บไว้ใน "ดวงบุญ" ของผู้สร้างบุญ ซึ่งอาจจะใช้เวลาไม่นาน หรือหลายวัน ขึ้นอยู่กับว่าบุญใหญ่มากน้อยเพียงใด ในกรณีของสายบุญที่สำคัญๆ ก็มีหลายขั้นมีความแรงของกระแสบุญและปริมาตรของบุญมากน้อยต่างกัน ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ที่สร้างบุญใหญ่ที่มีกุศลผลต่อเนื่องยาวนาน คำนวณออกมาได้เป็นสายบุญที่จ่ายมาต่อเนื่องยาวนาน อย่างเช่น "สายบุญสันวิวัฏฐายี” และ “สายบุญระฆา" เป็นอาทิ โดยบุญที่ส่งมา ก็เหมือนน้ำที่ไหลเข้าภาชนะ หากบุคคลมี "ธาตุมาก" ภาชนะก็ใหญ่ สามารถรองรับบุญที่ไหลมาได้มาก ธาตุจะมากจะน้อย ก็เกิดจากการทำความดี ด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อทำมาก ก็จะเกิดเป็น "บารมีธาตุ" สะสมไว้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว บารมีธาตุ ก็เกิดจากการบริหารธาตุคือดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ แห่งตัวตนของเราเองในการทำความดี ความดีบางอย่างได้บารมีธาตุมาก แต่บุญน้อย อย่างเช่นการทำสาธารณกุศล ส่วนบารมีธรรม ส่วนใหญ่จะเกิดจาก “คุณธรรม” ในใจที่เจริญขึ้นจากการทำความดี เมื่อบารมีธาตุมาก ก็รองรับบุญได้มาก โดยคุณธรรมที่เกิดขึ้น จะบ่มหรือกลั่นบุญให้กลายเป็น “บารมี” ซึ่งเป็นคำที่รวมเอาทั้งบารมีธาตุและบารมีธรรมเข้าไว้ด้วยกัน

"บารมีธาตุ" ที่เกิดจากการทำความดี ก็เหมือน การเจริญเติบโตของ "ฟองน้ำ" ในทะเล เมื่อเราทำความดี ก็เหมือนฟองน้ำได้สารอาหาร ก็มีโครงสร้างที่โตใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ อุปมาเหมือน "ดวงบุญ" ของบุคคล ที่ขยายขึ้น จากการทำความดี ความดีบางอย่าง ทำแล้วได้บารมีธาตุมาก ความดีบางอย่างทำแล้วได้บารมีธาตุน้อย ก็เหมือนสารอาหารที่เสริมสร้างฟองน้ำได้มากน้อยต่างกันไป ส่วนบุญที่อยู่ในดวงบุญ ก็เหมือน "น้ำ" ที่อยู่ใน "ฟองน้ำ" น้ำก็มีเพิ่มมีลด เพราะเราดำเนินชีวิตก็ทำบุญได้บุญมา และใช้บุญไปด้วย แต่โครงสร้างฟองน้ำก็ยังคงอยู่ แม้บุญจะเพิ่มจะลดไปบ้าง สมมติว่าเราได้สายบุญ "ระฆา" ที่ไหลต่อเนื่องมา ก็เหมือน เราเอาท่อน้ำไปเชื่อมต่อกับฟองน้ำ ฟองน้ำก็รับน้ำเข้าไป ส่วนที่เกินกว่าจะอุ้มเอาไว้ได้ ก็ล้นจากกายมนุษย์เข้าสู่กายภายใน เช่นกายมนุษย์ละเอียด (วิญญาณ), กายทิพย์, กายพรหม, กายอรูปพรหม, กระทั่งถึงกายธรรม ซึ่งแต่ละกายก็มีดวงบุญเป็นของตนเอง เมื่อทำวิชชา แล้วใช้บุญ หรือดำเนินชีวิตไป แล้วใช้บุญ น้ำก็ถูกดึงออกจากฟองน้ำ แต่ท่อธารแห่งบุญก็เติมเข้าไปจนเต็มอีก ปกติแล้ว ปุถุชน และพระอริยบุคคลชั้นต้น ยังต้องทำบุญอยู่ ต่อเมื่อได้เป็นพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์แล้ว จึงจะมีสิทธิ์ได้ "สายบุญ" ก็ไม่ต้องทำบุญอีก ส่วนปุถุชนที่ได้สายบุญจากการสร้างบุญครั้งใหญ่ ซึ่งปกติแล้วได้มาไม่ง่ายเลย ก็จะมีบุญมาก แต่ก็รองรับได้ตามที่บารมีธาตุจะเอื้ออำนวย ซึ่งบุญที่ได้จากสายบุญในลักษณะนี้ อาจจะไม่เหมือนบุญที่ได้จากการสร้างบุญตามปกติ เพราะบุญที่ได้จากการสร้างบุญตามปกติด้วยการออกแรงกาย แรงวาจา แรงใจ ส่วนใหญ่แล้วจะได้บุญที่เข้มข้นกว่า เพราะบารมีธาตุจะเกิดร่วมด้วย แต่บุญที่ไหลมาอัตโนมัติจากสายบุญจะไม่กอปรเป็นบารมีธาตุ มีลักษณะคล้ายบุญที่เกิดจากการนั่งสมาธิด้วยภูมิจิตปกติครับ

โดย พิรจักร 10 July 2019

www.meditation101.org


The Dhammic Crystallisation

การบำเพ็ญบารมี มี 2 องค์ประกอบหลัก คือ (1) ธาตุ หรือ บุญธาตุที่ได้ และ (2) ธรรม หรือ คุณธรรมที่เกิดขึ้น โดยเมื่อเราได้บุญธาตุมาแล้ว ธรรมที่เกิดก็เป็นเครื่อง "กลั่น" บุญให้บริสุทธิ์แก่กล้าและมีการจัดเก็บแบ่งตาม "องค์คุณ" 10 ประการ คือ "บารมี 10 ทัศ" ซึ่งเรารับรู้ได้ด้วยใจเราเองว่า บารมีนี้ มี "ธรรมรส" เป็นอย่างนั้น อย่างนี้

การทำทาน โดยหวังผลตอบแทน กับการทำทานโดยมุ่งเสียสละ จึงแตกต่างกัน และธรรมรสที่สัมผัสได้ ก็ต่างกันโดยนัยนี้

มีท่านถามมาว่า อะไรเป็นเครื่องกำหนดว่าได้บุญมากน้อย

คำตอบคือ "โปรแกรมกฎแห่งกรรม" ของ "เครื่องธาตุเครื่องธรรม" ซึ่งประมวล input จาก กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เกิดขึ้น และจ่ายออกมาเป็น "บุญธาตุ" มากน้อยต่างกันไป แต่บุญสะอาด หรือไม่สะอาด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเครื่อง เพราะบุญที่ผลิตขึ้น โดยหลักจะมีมาตรฐานเดียว แต่บุญไม่สะอาด เกิดจากการที่จิตเป็นอกุศลหรือมีมลทิน แล้วบุญไหลผ่านใจที่เป็นมลทินนั้น นอกจากนี้ ในกรณีที่ใจเป็นบาปอกุศลขณะทำบุญ อย่างเช่นจิตใจขุ่นมัว โกรธไม่พอใจใครขณะถวายทาน เครื่องธาตุเครื่องธรรมฝ่ายมาร เขาก็ประมวลแล้ว ส่งบาปเข้ามา ทำให้ได้ “บุญปนบาป”

โดยหลักแล้วบุญจะมีความสะอาดเป็นมาตรฐานเดียว ยกเว้น "บุญศักดิ์สิทธิ์" คล้ายๆ บุญที่เกิดขณะเข้านิโรธสมาบัติ บุญจะสะอาดมาก และมีกำลังแรงมาก จากต้นแหล่งการผลิต

 

การเจริญสมาธิภาวนาก่อนทำบุญ เป็นการรักษา กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ให้สงบสะอาด ดังนี้แล้ว ภาคผู้เลี้ยงมาร ก็จะไม่ได้โอกาส ในการนำ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นทุจริต ส่ง input เข้าเครื่องธาตุเครื่องธรรมฝ่ายมาร แล้วประมวลออกมาเป็น "บาป" ที่อาจ "เกิดร่วม" กับการทำบุญ แต่การทำบุญที่มุ่งหวังความร่ำรวยตอบแทน หรือหวังทิพยสมบัติ ก็ทำให้ เป็น "เชื้อโลภะ" เกิดขึ้น ทำให้มีบาปอ่อนๆ ปะปนได้ และได้ปริมาณบุญน้อยลง และสะอาดน้อยลง ถ้าปรับปรุงอีกสักเล็กน้อย ให้ทำบุญด้วยความเสียสละ ไม่หวังสมบัติร่ำรวยตอบแทน ก็จะดีมากครับ

การทำบุญโดยไม่อธิษฐานอะไรนั้น เฉพาะเจตนาถ้าเป็นกุศล ก็เป็นบุญกุศลในตัวเองโดยอัตโนมัติ แต่ไม่มุ่งมั่นจำเพาะเจาะจงอะไร ก็เหมือนได้เงินมา แต่ยังไม่ได้กำหนดว่าจะเอาไปทำอะไร สำหรับคนมีวิชชา ได้บุญมาก็เก็บไว้ก่อน เมื่อใจละเอียดอยู่ในวิชชาแล้ว ค่อยเบิกบุญมาตั้งผังสำเร็จในภายหลังก็ได้ บางคนอธิษฐานขอเยอะมาก กระทั่งใจไม่สงบ สมาธิก็หย่อนลง บางท่านจึงรู้สึกว่า ทำบุญแล้วไม่ขออะไรเลยจะดีกว่า เพราะสบายใจดี ถ้าอธิษฐานด้วยจิตที่เป็นกุศล ก็เป็นอธิษฐานบารมี ถ้าอธิษฐานด้วยจิตที่เป็นอกุศล ก็เป็นอกุศลจิตไป เข้าข่าย "บารมีมาร" คือกิเลสเจริญขึ้นจากการบำเพ็ญบุญ ถ้าอธิษฐานไปในทางที่ไม่ดีไม่ชั่ว ก็เป็นอัพยากฤต อย่างไรก็ตาม วาระจิตนั้นละเอียดอ่อน การอธิษฐานเพียงหนึ่งนาที ดวงจิตที่เกิดขึ้น อาจเป็นนับล้านดวง วาระจิตดีล้วนๆ ก็เป็นกุศลล้วนๆ วาระจิตดีบ้างไม่ดีบ้าง ก็เป็นกุศลและอกุศลปะปนกันไป ซึ่งดวงจิตทุกดวงก็เกิดขึ้นในใจเรา ผ่านใจเราทั้งนั้นครับ ส่งมาจากเครื่องธาตุเครื่องธรรมของแต่ละฝ่าย (ดี/ชั่ว) ผ่านภาคผู้เลี้ยง ครับ

     -         สิ่งสำคัญสำหรับผู้บำเพ็ญบารมีในสายปัญญา คือ ยิ่งเรารู้และเข้าใจมาก กิเลสต้องลดลง

     -         สิ่งสำคัญสำหรับผู้บำเพ็ญบารมี ในสายแห่งศรัทธา คือ ยิ่งเชื่อมั่นมาก ควรเหนี่ยวภูมิจิตภูมิธรรมให้สูงส่งยิ่งๆขึ้นไป

     -         สิ่งสำคัญสำหรับผู้บำเพ็ญบารมี ในสายวิริยาธิกะ คือ เมื่อบากบั่นพากเพียรมากแล้ว ควรก่อเกิดเป็นกุศลจิตอันแก่กล้า ทรงพลังยิ่งๆ ขึ้นไป

โดย พิรจักร 9 July 2019


มีท่านถามมาประมาณว่า หาเรื่องราวเกี่ยวกับธาตุธรรมเป็นดังผมว่าไว้ พระบรมธาตุ จะถือว่าเป็น God หรือไม่?

คำตอบคือ "ไม่พึงกล่าวเช่นนั้น" เพราะคำว่า God มี connotation และ stereotype ในนัยยะที่ว่าเป็นผู้สร้างโลก สร้างมนุษย์ สร้างจักรวาล แต่พระบรมธาตุไม่ได้ทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากการ ต่อกร ต่อรอง ต่อสู้ encountering, bargaining, and settling ระหว่างธาตุธรรมฝ่ายต่างๆ ที่ได้ประมูลฤทธิ์ ประมูลสิทธิ์ ประมูลอำนาจ คือฝ่ายดี ฝ่ายชั่ว ฝ่ายไม่ดีไม่ชั่ว กระทั่งเกิดเป็นโลกธาตุ มนุษย์และสัตว์ ที่อยู่ภายใต้การครองของกันและกันดังปัจจุบัน

ถ้าถามผมว่า หากองค์บรมธาตุ ไม่ใช่ God แล้วเราจะเรียกท่านว่าอะไร คำตอบคือ The Lord of Origin ซึ่งองค์บรมธาตุก็ทรงนับถือพระพุทธศาสนาครับ

กายอวตารขององค์บรมธาตุ ก็คือ สมเด็จเท็นซิน องค์ดาไลลามะ
กายอวตารของพระต้นธาตุต้นธรรมภาคขาว ก็คือหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
กายอวตารของสมเด็จองค์ปฐมบรมครู ก็คือหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.อยุธยา

ดังนี้ครับ

พิรจักร

www.meditation101.org


มีท่านถามมาว่า แล้วทำไม ต้องแยกกันระหว่าง พระพุทธเจ้า กับพระจักรพรรดิ แล้วทำไมต้องแต่งองค์ทรงเครื่องไม่เหมือนกัน

คำตอบคือ พระต้นธาตุต้นธรรม ท่านก็ "จัดองค์ประกอบ" เพื่อให้เหมาะกับหน้าที่ หรือ function และผู้ทำหน้าที่นั้นๆ ก็มี form หรือรูปลักษณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อให้แยกแยะออกจากกันได้

เหมือนอะไร เหมือน ประเทศ ที่มีตำรวจ กับ ทหาร มีเครื่องแบบไม่เหมือนกัน มีหน้าที่คล้ายๆ กัน แต่แบ่งแยกออกจากกันชัดเจน ถ้าทหารไม่แต่งชุดประดับยศ เป็นทหารนอกเครื่องแบบ หรือนอกเวลาราชการ ก็เหมือนพระจักรพรรดิ มิได้แต่งองค์ทรงเครื่อง เวลาใครเห็นเข้า ก็ไม่แน่ใจว่านี้เป็นใครมาจากไหน แล้วทำไมไม่ให้ทหารมาทำหน้าที่ตำรวจ?

เรื่องพระพุทธเจ้ากับพระจักรพรรดินี้ ท่านแบ่งภาคกันมาตั้งแต่ พระต้นธาตุต้นธรรม บางภาค มีพระต้นธาตุ พระต้นธรรม พระองค์ต้นจักรพรรดิ แล้วแต่จะจัดกัน แล้วก็สืบสายธาตุสายธรรมกันเรื่อยลงมาอย่างนี้ครับ

พิรจักร


องค์ปฐมธาตุปฐมธรรมคือใคร
พระต้นธาตุต้นธรรมคือใคร
สมเด็จองค์ปฐมฯ คือใคร
พระนั่งเมืองคือใคร
แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไรบ้าง?

อธิบายความโดย พิรจักร
www.meditation101.org

[1] ผู้ที่เกิดก่อนสุดในบรรดามี คือ "องค์ปฐมธาตุปฐมธรรม" หรือ องค์บรมธาตุครับ ท่านเป็นผู้ให้กำเนิด ธาตุธรรม ทั้งฝ่าย กุศลาธรรมา อกุศลาธรรมา และอัพยากตาธรรมา แต่ก็ไม่มีสิทธิ์ปกครองโดยตรง เหมือนพ่อแม่ให้กำเนิดบุตรโดยไม่ได้ตั้งใจ แล้วมิได้เลี้ยงดู บุตรก็ดิ้นรนเติบใหญ่ขึ้น ไม่ได้อยู่ในความปกครองของพ่อแม่ แล้วก็ไม่ลงรอยกัน เป็นธาตุธรรมหลักสามฝ่าย คือกุศล อกุศล และอัพยากตา ครับ

[2] พระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรม คือองค์ต้นกำเนิดธาตุและธรรมแต่ละฝ่ายครับ (ฝ่ายดี ฝ่ายชั่ว แบ่งเป็น กุศลาธรรมา อกุศลาธรรมา อัพยากตาธรรมา) เกิดก่อนสมเด็จองค์ปฐมฯ แต่พระต้นธาตุต้นธรรม ก็อาจจะไม่ใช่พระพุทธเจ้า อย่างที่สมเด็จองค์ปฐมฯ ทรงเป็นครับ แต่ก็มีบ้าง ที่พระต้นธาตุต้นธรรม อวตารลงมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้าด้วยตนเองเพื่อทำภารกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือการแก้ไขธาตุธรรมที่เกิดจากการ เสียสมดุลเพราะภาคมารรุกรานครับ

[3] สมเด็จองค์ปฐมฯ คือพระพุทธเจ้าพระองค์แรกสุดครับ แต่ท่านไม่ "ลง" ประชุมเมือง ถ้าท่านลงประชุมเมือง (นิพพาน) ก็อาจจะต้องเตรียมที่ให้พระองค์ครับ ก็คล้ายๆ พระสงฆ์ประชุมกันในสภาที่วัดพระเชตวัน แล้วพระพุทธเจ้าเสด็จมาเป็นครั้งคราว บรรยากาศทำนองนี้ครับ

[4] หากจะอุปมาไป สมเด็จองค์ปฐมฯ ทรงเปรียบเสมือนประธานาธิบดี พระนั่งเมืองแก้ว ทรงเปรียบเสมือนนายกรัฐมนตรี พระต้นธาตุต้นธรรมคือบรรพบุรุษผู้ก่อตั้งประเทศ ส่วนองค์ปฐมธาตุปฐมธรรม หรือองค์บรมธาตุ คือผู้ให้กำเนิดบรรพบุรุษ ทำนองนี้ครับ

[5] สมเด็จองค์ปฐม (บรมครู) ทรง "ตั้งพระศาสนา" ส่วนพระต้นธาตุต้นธรรมเกิดก่อน แต่เป็นเจ้าของธาตุธรรม ซึ่งโดยเริ่มแรกก็อาจจะไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าเจ้าของพระศาสนา แต่เป็นเสมือนบรรพบุรุษที่ก่อร่างสร้างประเทศ ให้กำเนิดธาตุ กำเนิดธรรมเรื่อยมา อย่างไรก็ตาม สมเด็จองค์ปฐมฯ ก็ทรงมี “อายุธาตุ” ไล่เลี่ยกันกับพระต้นธาตุต้นธรรม เป็นประดุจ “น้องรอง” นับตั้งแต่สมเด็จองค์ปฐมทรงมี “ชีวะ” คือมีชีวิต และเริ่มบำเพ็ญบารมีมาเป็น “อายุธรรม” และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรกในภายหลังจากที่ พระต้นธาตุต้นธรรมได้ “ตั้งธาตุตั้งธรรม” เอาไว้แล้ว สมเด็จองค์ปฐมฯ ทรงตรัสรู้ได้ ก็เพราะอาศัยธรรม อาศัยบุญบารมี แต่ผู้สร้างพลังงานบุญขึ้นมาใช้ สร้างธรรมหล่อเลี้ยง ให้มีดี มีชั่ว ก็คือพระต้นธาตุต้นธรรม ครับ

[6] หากถามว่าพระต้นธาตุต้นธรรม กับสมเด็จองค์ปฐมฯ ใครใหญ่กว่ากัน ก็ใหญ่กันคนละแบบครับ สมเด็จองค์ปฐมฯ เรียกได้ว่า เป็นองค์ต้นพระพุทธศาสนา ที่สืบต่อๆ กันมา เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรกสุด แต่ส่วนใหญ่สมเด็จองค์ปฐมฯ ไม่ทรงทำวิชชา หรือจะมุ่งปราบมาร อุปมาเหมือนพระพุทธเจ้าทรงตั้งวัดอยู่ในแคว้นโกศล เมื่อเกิดศึกสงคราม พระพุทธเจ้าก็ไม่ต้องออกรบ แต่ผู้ที่จะออกรบ ก็คือพระราชาผู้ปกครองแคว้น ฉันใดก็ฉันนั้น พระราชาก็เปรียบได้กับพระต้นธาตุต้นธรรมที่จำเป็นต้องออกรบเพื่อคุ้มครองธาตุธรรมให้พ้นภัยจากฝ่ายมาร หรือภาคอกุศลาธรรมา ยกตัวอย่างเช่น ภัยจากภาคมาร คือทำให้มนุษย์มีปกติจิตตกต่ำ มีเกิดแก่เจ็บตาย นี้เป็นภัยจากภาคมาร 

[7] ส่วนพระต้นธาตุต้นธรรม ก็เป็นเจ้าของผู้ผลิตบุญ เจ้าของบารมี เป็นผู้ต่อกร ประชันฤทธิ์ สู้รบ และต่อรองกับภาคมาร กระทั่งเกิดเป็นโปรแกรมกฎแห่งกรรม มีกฎกติกา การสร้างบารมี การบรรลุธรรม การเข้านิพพาน พระต้นธาตุต้นธรรม จึงเป็นใหญ่ใน "ธาตุธรรมของตน" ส่วนว่า พระต้นธาตุต้นธรรม เป็นพระพุทธเจ้า หรือไม่ ถ้าบอกว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน นั้น พระต้นธาตุต้นธรรม ก็เป็นพระพุทธเจ้าด้วย แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของพระศาสนา ไม่มีสิทธิ์ในพระศาสนาโดยตรง

[8] เหมือนอะไร เหมือนหลวงพ่อสด กับสมเด็จพระพุทธโคดม เมื่อหลวงพ่อสด องค์อวตาร พระต้นธาตุฯ มาเกิดในเมืองมนุษย์เพื่อทำภารกิจปราบมาร (ร่างกายมนุษย์แข็งแรงกว่ากายทิพย์อันละเอียดอ่อน เมื่อปะทะกันในญาณ กายมนุษย์ก็ไม่ดับไปโดยง่าย) มาบวชในศาสนาของพระพุทธโคดม ก็ต้องกราบไหว้พระพุทธเจ้าตามธรรมเนียม เพราะหลวงพ่อสด ไม่ใช่พระศาสดา อีกทั้งยังนับถือว่าเป็นพระสงฆ์สาวกรูปหนึ่งของสมเด็จพระพุทธโคดมด้วยครับ

[9] “พระจักรพรรดินั่งเมืองก็คล้ายๆ ประธานาธิบดีของภพพระจักรพรรดิครับ หรือจะบอกว่าเป็น "พระเจ้าจักรพรรดิ ของเหล่าพระจักรพรรดิ" ก็พอได้ครับ เป็นใหญ่ในฝ่ายจักรฯ มีฤทธิ์มีเดช มีอำนาจมาก ซึ่งในภพพระจักรพรรดิ ก็มี “พระพุทธจักรฯ” เป็นสมาชิก คือพระจักรพรรดิที่บำเพ็ญบารมีสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า แต่ประชากรน้อยกว่าเมืองพระนิพพาน หรือเมือแก้ว เพราะพระพุทธจักรพรรดิมีขั้นตอนในการบำเพ็ญบารมีมากกว่า กว่าจะสำเร็จได้

[9] ส่วน พระนั่งเมืองแก้วคือประธานของพระนิพพานครับ เป็น "พระพุทธเจ้าของเหล่าพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์" เป็นใหญ่ในธรรมครับ ถ้าเปรียบเทียบกับระบบธุรกิจ เมื่อสมเด็จองค์ปฐมฯ ทรงเป็นประดุจ ประธานกรรมการบริหาร หรือ Chairman พระนั่งเมืองแก้วก็เป็นประดุจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ CEO ครับ แต่สมเด็จองค์ปฐมฯ ก็ทรงมีทั้ง 2 ภาค คือภาคพระพุทธเจ้า และภาคพระจักรพรรดิ จะเห็นได้ว่ารูปหล่อสมเด็จองค์ปฐม บางคราวก็เป็นพระพุทธเจ้าคล้ายพระพุทธชินราช บางคราวก็มีเครื่องทรงสวมมงกุฎ คล้ายพระจักรพรรดิ ครับ ขึ้นอยู่กับว่าทรงออกงานใด หากทรงออกงานให้โอวาทพระพุทธเจ้า ส่วนใหญ่ก็เสด็จไปด้วยปางพระพุทธเจ้า หากทรงออกงานพระจักรพรรดิ ก็เสด็จไปด้วยปางพระจักรพรรดิ ทำนองนี้ครับ

 

ขออธิบายพอสังเขปแต่เพียงเท่านี้ครับ
พิรจักร
5 - 6 กรกฎาคม 2562


มีท่านถามมาว่า "กายสิทธิ์รักษาโรค" คืออะไร? ผมขออธิบายโดยภาพรวมก่อนว่า มนุษย์และสัตว์อยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม ซึ่งเป็นประดุจ "โปรแกรม" ที่ควบคุมความเป็นอยู่และความเป็นไปของมนุษย์และสัตว์นั้น เมื่อมนุษย์ทำบาป เครื่องธาตุเครื่องธรรม ซึ่งเป็นประดุจ "เซิร์ฟเวอร์" ของวัฏสงสาร ก็คำนวน กาย วาจา ใจ ที่เป็นอกุศล ตามโปรแกรมกฎแห่งกรรม แล้วประมวลจ่ายออกมาเป็นพลังงานบาป และโปรแกรมกรรมชั่ว ส่งมาติดตั้งในตัวมนุษย์และสัตว์ เมื่อโปรแกรมกรรมชั่วทำงาน ก็เกิดเป็นความทุกข์ยากลำบากต่างๆ โรคภัยไข้เจ็บ ก็เป็นโปรแกรม ที่ทำให้กายมนุษย์ "รวน" กระทั่ง "เสียหาย"

กายสิทธิ์รักษาโรค ก็เป็นประดุจ "ทิพยนต์" หรือ Transcendroid ที่มีโปรแกรมติดตั้งหรือ install ไว้ สามารถ แก้โปรแกรม โรคภัยไข้เจ็บ ได้ เปรียบเสมือ AI ที่มีความรู้ความสามารถรักษาโรคได้ ถ้านำมาติดตั้งไว้ในตัวมนุษย์ ก็จะคอยแก้ไขโปรแกรมโรคภัยไข้เจ็บ ให้ทุเลา หรือหมดไปได้ ก่อนที่จะส่งผลเป็นความแปรปรวน หรือเสียหายของร่างกายในส่วนหยาบครับ

- พิรจักร


เรื่องการมอบของที่ระลึก

ถ้าจะมอบลูกแก้ว ใช้แก้วหลอมก็ดีนะครับ โดยภาคทองเราอาจทำเป็นแก้วสีทอง คล้ายอำพัน ถ้าใช้แก้วจุยเจียแท้ จะมีกายสิทธิ์อยู่แล้ว ถ้าจะใส่กายสิทธิ์กับวิชชาของฝ่ายเราลงไป ก็เหมือนกับอัดเสียงทับลงไปในเทปที่มีเพลงอยู่ แต่ถ้าใช้แก้วหลอม ก็เหมือนอัดเสียงลงไปในเทปเปล่า จะง่ายกว่าในทางวิชชาครับ ส่วนเรื่องกายสิทธิ์ในหินจุยเจีย ผมขออธิบายดังนี้นะครับ หินจุยเจียส่วนใหญ่เป็นธาตุเป็นธรรมของ "ภาคขาว" เช่นเดียวกับอัญมณีหินสีต่างๆ ที่เป็นธาตุเป็นธรรมของแต่ละสี เช่นมรกต ของภาคเขียว ไพลิน ของภาคน้ำเงิน ทีนี้ เมื่อจักรพรรดิต่างสีจะใช้ดวงแก้ว ถ้าใช้หินจุยเจีย ก็ไม่ใช่ธาตุไม่ใช่ธรรมของตน แต่ถ้าจะใช้ก็ใช้ได้ ก็ต้องนำมากลั่น นำมาเติมวิชชา อัดบุญบารมี อัดวิชชาเข้าไป แต่ก็เข้าทำนอง อัดเสียงลงเทป ที่ผมเคยบอกนั่นล่ะครับ

 

มีท่านถามมาว่า ภาคขาว กับ ภาคทอง อย่างไหนดีกว่ากัน

คำตอบก็คือ ภาคขาวชั้นดีก็เหมือนเพชร ภาคขาวชั้นรอง ก็เหมือนหินจุยเจีย มีความแข็ง ความแกร่ง ความใสสะอาด ไม่เท่ากัน เพชร สำเร็จยากกว่าจุยเจีย เพชรเม็ดใหญ่ๆ ก็มีระดับหนึ่ง จุยเจียก้อนใหญ่ๆ มีมากกว่า แต่เนื้อก็เป็นรอง ส่วนทอง ก็มีหลายเกรด มีทอง 18 k ทอง 24 k ทองเนื้อเก้า ฯลฯ ไปกระทั่งถึง ทองเนื้อ "พัชรสุวรรณ" ทองสำเร็จง่ายกว่าเพชร แต่จุยเจียสำเร็จง่ายกว่าทอง ทองเป็นโลหะ เนื้อแกร่ง ไม่แตกสลาย เวลารบกับมาร ก็มีกำลังหนักหน่วง ปราบมารได้ไม่ย่อหย่อนไปกว่าเพชรครับ ให้ลองนึกถึงกำปั้นที่หล่อขึ้นด้วยทองคำล้วนๆ เนื้อตัน ไม่กลวงข้างใน เวลาทุบไปที่กายมาร กายมารแตกกระจายเชียวครับ

 

มีท่านถามมาเรื่องวิมานทอง

ผมขออุปมาว่า ในสวรรค์ชั้นดุสิต วิมานแก้ว กับวิมานทอง อย่างไหนมีมากกว่ากัน ฉันใดก็ฉันนั้น เพชร มีราคาสูงกว่าทอง แต่หายาก เม็ดใหญ่ๆ ก็ไม่ค่อยมี ทอง มีราคาไม่เท่าเพชร แต่หาง่ายกว่า รวมกันเป็นก้อนใหญ่ๆ หล่อเป็นพระพุทธรูป เป็นพระเจดีย์ได้ ซึ่งเพชรจะทำอย่างทองแบบนี้ ก็ยังไม่ได้ครับ วิมานเพชร รวมกันก็มีสักกี่คน วิมานทอง ก็มีทองหลายเกรด รวมกันมีสักกี่คน ใครมีกำลังเท่าใด?

 

ภาคทองมี "สิทธิ์" มาก เวลาชาวโลกจะประกันค่าสกุลเงิน ก็ต้องเอาทองมาค้ำประกัน และเพชร พลอย รัตนชาติ เมื่อจะขึ้นเรือน ให้ดูสวยงามล้ำค่า ก็ต้องอาศัยทองเป็นเรือนครับ

เครื่องทอง มิใช่เครื่องประดับ ของเทวดาชั้นต้นเท่านั้น แต่ทองเป็นเครื่องประดับของเทวดาแทบจะทุกชั้น ยกเว้นพรหมโลก แม้แต่พระจักรพรรดิในวิชชา หากจะประดับเครื่องทรง มีหมวกเป็นอาทิ ส่วนใหญ่ก็ต้องใช้เครื่องทอง กันแทบทั้งนั้น แล้วค่อยประดับเพชร หรือพลอย ประจำของตนครับ

 

มีท่านถามมาว่า เพราะเหตุใดผมจึงดำริให้นำทองคำมาหลอมเป็นดวงกลมแล้วมอบให้ผู้ทรงวิชชา

คำตอบคือ เพื่อให้ "เข้าธาตุเข้าธรรม" ครับ เวลาจะซ้อนหรือประดาธาตุประดาธรรม ถ้าผู้ทรงวิชชาฯ ที่มีสายธาตุสายธรรมจากภาคใด สีใด ได้ของที่เป็นธาตุเป็นธรรมของตน ก็จะเข้าธาตุเข้าธรรมได้ง่ายครับ เหมือนภาคขาว ถ้าซ้อนลงเพชร ลงจุยเจีย ก็จะดีมาก ถ้าภาคแดง ซ้อนลงทับทิมแดงหรือเพชรแดง ก็จะเข้ากันดี ส่วนภาคทอง ถ้าได้ซ้อนลง โลหะทอง ก็จะเข้ากันได้ดีมาก ผมดำริถวายดวงทองคำให้ผู้ทรงวิชชา เพื่อเจริญกสิณทองคำครับ อานิสงส์จะมากมหาศาล เพราะถวายถูกธาตุถูกธรรม ด้วยอานิสงส์นี้ กายภายในของผมจะเป็นทองเนื้อเลิศยิ่งๆ ขึ้นไปครับ

เวลาจะนำอัญมณี หินสี รัตนชาติ และทองคำ ไปถวายผู้ทรงวิชชา ต้องขอให้ นายมณีกร หรือ นายสุวรรณกร จัดหาให้ครับ เพราะนายมณีกร หรือนายสุวรรณกร มีความชำนาญในการคัดเลือกทั้งของหยาบ ที่เป็นเรือน และชำระความสะอาดให้กับกายสิทธิ์ ที่ซ้อนอยู่ภายในอัญมณี หรือทองคำ สามารถนำไปใช้ประกอบวิชชาได้ทันทีโดยสะดวกครับ ดังนี้แล้วอานิสงส์จะมากกว่าของที่ยังไม่ได้ชำระกายสิทธิ์ให้สะอาดครับ

     -  พิรจักร

27 มิถุนายน 2562


มีท่านถามมาว่า "พระบรมพุทธจักรฯ" คืออะไร?

คำตอบคือ พระจักรพรรดิชั้นใหญ่ ที่อยู่ในพระนิพพาน ทั้งนี้ พระบรมพุทธจักรฯ มี 2 ประเภทหลักๆ คือ (1) มีชีวะ สามารถเวียนเกิดได้ และ (2) ไม่มีชีวะ เป็น ทิพยนต์ เรียกว่า "กายสิทธิ์" ไม่ต้องเวียนเกิด ครับ

กายสิทธิ์พระบรมพุทธจักรฯ ก็เหมือน "ทิพยนต์" ที่เป็นซุปเปอร์คอมพิวเตอร์นั่นล่ะครับ เมื่อครูวิชชาท่านได้ไปแล้ว ท่านก็นำไปแก้โปรแกรม คือผังสงครามโลก ที่ฝ่ายมารตั้งโปรแกรมไว้ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ก็ทำงานในวิชชา แก้โปรแกรมได้หมดครับ

พระธรรมกายก็ทำวิชชาแก้โปรแกรมได้ครับ แต่เมื่อมีพระบรมพุทธจักรฯ ประกอบด้วย ก็ราวกับว่ามีเครื่องทุ่นแรง เหมือนขับเครื่องบิน จะขับเองแบบ manual ก็ได้ แต่ถ้าตั้งโปรแกรม ให้คอมพิวเตอร์ควบคุมให้ ก็สะดวก และแม่นยำ ดีเหมือนกันครับ

พระบรมพุทธจักรฯ ที่อยู่ในเมืองนิพพานไม่จำเป็นต้องเกิดอีกครับ ยกเว้นแต่จะ "ถอยพืด" กลับลงมา ซึ่งการกลับลงมาเกิด ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อทำงาน อย่างเช่นการแก้ไขปัญหาให้กับสรรพสัตว์ แก้ไข การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย ให้กับส่วนรวมครับ เปรียบเสมือน คนไทย ทำธุรกิจสำเร็จ ได้ย้ายไปอยู่สหรัฐฯ แต่ก็กลับเมืองไทย มาพัฒนาประเทศ แก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งๆ ที่อยู่สหรัฐฯ ก็สบายดีครับ

ตาม standard แล้ว เมื่อเข้านิพพานแล้ว ก็ไม่ต้องเกิดอีกครับ ธาตุธรรมตั้งโปรแกรมไว้อย่างนั้น แต่ถ้าจะเกิด ก็ต้อง alter the program ซึ่งบางท่านสามารถทำได้ ก็เลยกลับมาเกิดได้อีกครับ

พระบรมพุทธจักรฯ มีเครื่องทรง เพราะเป็นธรรมเนียมของธาตุธรรมอย่างนั้นครับ เหมือนพระมหากษัตริย์ ก็ต้องมีเครื่องประดับตกแต่ง ให้ดูแตกต่างจากสามัญชน คนทั่วไป เครื่องประดับของพระจักรพรรดิ มีไว้บ่งบอก ลำดับขั้นต่างๆ และมีไว้สำหรับ "ส่งกำลัง" และ "เดินวิชชาประกอบฤทธิ์" ไม่ได้มีไว้โชว์เล่นๆ ครับ

มีท่านถามมาว่า เพราะเหตุใด พระจักรพรรดิจึงต้องอาศัยเครื่องประดับในการเดินวิชชาและส่งฤทธิ์ เพราะเหตุใดพระธรรมกายจึงทำได้โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องประดับ

คำตอบคือ เครื่องประดับของพระจักรพรรดิ บางอย่างก็เป็น "อาวุธ" ไปในตัว เช่น "ดารา" หรือ "ดาว" ที่ประทับอยู่บนเครื่องทรง สามารถปลิดออกมาใช้แทนอาวุธลับ คล้ายๆ ดาวกระจาย ของนินจา ส่วนเครื่องประดับเพชรพลอย ก็คล้ายๆ กับอัญมณี และหินสีในเมืองมนุษย์ ที่มีฤทธิ์ สามารถ "เสริมอานุภาพ" ให้กับพระจักรพรรดิ ส่วนพระธรรมกาย ท่านเป็น "รัตนะ" อยู่ในตัวเสร็จสรรพอยู่แล้ว แต่พระธรรมกายที่ต้องการฤทธิ์เดชมาก ก็ต้องหา "รัตนะ 7" มาใช้กันครับ

ครูวิชชาท่านสอนไว้ว่า พระจักรพรรดิ ยิ่งประดับประดามากยิ่งดี ส่วนพระธรรมกาย ยิ่งเรียบง่ายยิ่งดี

พระจักรพรรดิที่แก่กล้า สามารถดูกันที่เครื่องทรงและผ้าที่ครอง

ส่วนพระธรรมกายที่แก่กล้า ดูกันที่รูปลักษณะจะละเอียดลออคล้ายคนมีชีวิตครับ

- พิรจักร


มีท่านถามมาว่า ทำไมต้องแบ่งแยกระหว่าง พระธรรมกาย กับพระจักรพรรดิ

คำตอบก็คือ มันเป็น "อัธยาศัย" ที่แตกต่างกันไปของผู้บำเพ็ญบารมีครับ ซึ่งเป็นผลมาจากธาตุธรรมดั้งเดิมที่ถูกปรุงขึ้นมา นับตั้งแต่มีธาตุมีธรรม และที่ปกครองสายธาตุสายธรรมของแต่ละคน

ยกตัวอย่างเหมือน คนเป็นตำรวจ กับเป็นทหาร ถามว่าทำไมถึงอยากเป็นตำรวจ ทำไมไม่เป็นทหาร ต่างคนก็มีเหตุผลของตนเองใช่ไหมครับ หรือถามว่า ทำไมเรียนสายวิทย์ ทำไมไม่เรียนสายศิลป์ ก็ทุกคนมีความถนัด และความชอบใจของตนเอง ใช่ไหมครับ บางคนก็อธิบายได้ว่าทำไมชอบ ถนัด และทำได้ดี บางคนก็ไม่สามารถอธิบายได้ครับ

บางคนเขาว่า พระจักรพรรดิเหมือนคนรับใช้ ของภาคธรรม เป็นกายธรรมประเสริฐกว่า แต่จักรพรรดิก็คล้ายทหาร บอกว่าทหารรับใช้ประชาชน แต่บางครั้งทหารก็ปกครองประชาชน หรือหากบอกว่า พระจักรพรรดิ เหมือนมัคทายก พระพุทธเจ้า เหมือน "เจ้าอาวาส" แต่เมื่อ มัคทายกบวช แล้วเป็นเจ้าอาวาสเอง ก็มักจะเก่งกว่าในหลายๆ ด้าน แต่พระพุทธเจ้า ซึ่งเปรียบเสมือนเจ้าอาวาส ที่บวชมาตั้งแต่เป็นสามเณร ก็ประเสริฐกว่า ในแง่ของ "ความบริสุทธิ์" และ "มีมลทินน้อย" แต่หากมีพระจักรพรรดิองค์ใดสามารถบำเพ็ญอย่างบริสุทธิ์ได้เสมือนพระพุทธเจ้า เป็นพระจักรฯทรงธรรม หรือพระจักรฯบรรลุธรรม จึงเรียกได้ว่าเป็น "พระพุทธจักรพรรดิ" ซึ่งประเสริฐกว่าพระพุทธเจ้าสามัญ แต่การที่จะเป็นดังนี้ได้ ก็ยังนับว่าพอดีพอร้ายอยู่ครับ

- พิรจักร


ในการเลือกว่าเราจะเป็นพระองค์ธรรม หรือเป็นพระจักรพรรดิ.. เป็นธรรมกาย หรือเป็นพระจักรพรรดิ ผมขอแนะแนวว่า ให้เลือกสายที่ตรงกับการบำเพ็ญมา

เหมือนคนเรียนสายศิลป์ แล้วเข้ามหาวิทยาลัย ก็เรียนต่อด้านภาษา ก็จะถนัดและทำได้ดี หรือเหมือนคนเรียนสายวิทย์ แล้วเข้ามหาวิทยาลัย ก็เรียนต่อเป็นวิศวกร ก็จะทำได้ดี

ฉันใดก็ฉันนั้น ผู้ที่บำเพ็ญเป็นพระจักรพรรดิมา ฝึกมาตั้งแต่เป็นพระรัตนะบุคคล หากย้ายมาอยู่ "สายธรรม" ส่วนใหญ่ก็จะอ่อนลง

แต่ถ้าพระจักรพรรดิใด ปรารนาจะทรงธรรม ก็มีทางเลือกให้ บำเพ็ญในทั้งสองสาย แต่ต้องเลือกว่าสายใดเป็นสายหลัก เหมือนคนเรียนปริญญา มีวิชาเอก วิชาโท ครับ เหมือนคนที่เป็นทั้งทหาร และตำรวจ ในเวลาเดียวกัน

- พิรจักร


Super Executive Summary: สรุปรวบยอดการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา (ฉบับขยายความ)

แนวทางปฏิบัติในพระพุทธศาสนา เริ่มต้นจากสั่งสมบุญบารมี

โดยการสั่งสมบุญนั้นมี 10 วิธี เรียกว่าบุญกริยาวัตถุ 10 ประการ คือ

(1) ให้ทาน (2) รักษาศีล (3) เจริญสมาธิภาวนา (4) ประพฤติเคารพอ่อนน้อม (5) ช่วยเหลือผู้อื่น (6) อนุโมทนาบุญ (7) อุทิศบุญ (8) ฟังธรรม (9) แสดงธรรม (10) ทำความเห็นให้ถูกต้องตามธรรม

ในการบำเพ็ญบุญกริยาวัตถุ 10 ดังกล่าว เมื่อบำเพ็ญแล้วจะได้ “พลังงานบุญ” สะสมไว้ในตัวเรา โดยพลังงานบุญจะถูกจัดเก็บในรูปของ “บารมี 10 ทัศ” เหมือนเราหยอดกระปุกออมสินมีเหรียญหลายขนาดหลายมูลค่า แล้วนำเหรียญเหล่านั้นออกมาเข้าเครื่องนับเหรียญ เครื่องก็จะแบ่งแยกเหรียญตามขนาดต่างๆ กันให้โดยอัตโนมัติ แล้วจัดเก็บเป็นช่องเป็นส่วนต่างหากกัน ฉันใดก็ฉันนั้น บุญที่ได้จากการบำเพ็ญบุญกริยาวัตถุ 10 ก็ถูกจัดเก็บเป็นบารมี 10 ประเภทคือ

(1) ทานบารมี คือใจกว้างใจเสียสละ

(2) ศีลบารมี คือความข่มใจ

(3) เนกขัมมบารมี คือใจสันโดษ

(4) ปัญญาบารมี คือความรู้ความเข้าใจ

(5) วิริยบารมี คือใจมีกำลังต่อสู้

(6) ขันติบารมี คือใจอดทนอดกลั้น

(7) สัจจะบารมี คือใจจริง จริงใจ

(8) อธิษฐานบารมี คือใจที่มุ่งมั่น

(9) เมตตาบารมี คือใจอ่อนโยนนุ่มนวล

(10) อุเบกขาบารมี คือใจเป็นกลาง ไม่ยินดียินร้าย

 

โดยการบำเพ็ญบุญ เพื่อสะสมเป็นบารมีนั้น ไม่ได้นับเอาปริมาณของบุญเป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จก้าวหน้า แต่วัดกันที่กำหนดระยะเวลา ดังนี้

(1)  บำเพ็ญบารมียาวนานครบเวลา 1 แสนกัป มีกำลังมากพอจะเป็นพระอรหันต์

(2) บำเพ็ญบารมียาวนานครบเวลา 2 อสงไขย มีกำลังมากพอจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

(3) บำเพ็ญบารมียาวนานครบเวลา 20 อสงไขย 1 แสนมหากัป มีกำลังมากพอจะเป็นพระปัญญาธิกพุทธเจ้า

(4)  บำเพ็ญบารมียาวนานครบเวลา 40 อสงไขย 1 แสนมหากัป มีกำลังมากพอจะเป็น พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า

(5)  บำเพ็ญบารมียาวนานครบเวลา 80 อสงไขย 1 แสนมหากัป มีกำลังมากพอจะเป็น พระวิริยาธิกพุทธเจ้า

ซึ่งการบำเพ็ญบารมีในพระพุทธศาสนานั้นนับหน่วยเป็นช่วงเวลาในการ “บ่มปัจจัยร่วม” คือทั้ง ธาตุ (บุญธาตุคือบุญเชิงปริมาณว่าปริมาณมากน้อย) และ ธรรม (กุศลธรรมคือคุณภาพของบุญว่าสะอาดมากน้อย) อุปมาเหมือนการอบขนมปัง หากเราอบขนมปังก้อนเล็ก ต้องให้ความร้อนพอเหมาะกับระยะเวลา ขนมปังสุกพอดีในระยะเวลาอันสั้น (เปรียบเสมือนพระอรหันต์) ส่วนการอบขนมปังก้อนใหญ่ ต้องให้ความร้อนพอเหมาะกับระยะเวลาที่นานกว่า (เปรียบเสมือนพระพุทธเจ้า) เพื่อให้ได้ขนมปังที่สุกพอดี รับประทานได้ ฉันใดก็ฉันนั้น การบำเพ็ญบุญบารมี ก็คือการ “บ่มบุญที่สะสมได้ให้เป็นบารมีด้วยปริมาณ, ความสะอาด, คุณภาพ, และระยะเวลา ที่พอเหมาะพอสมนั่นเอง

 

เมื่อบำเพ็ญบุญบารมี บ่มครบตามกำหนดเวลาแล้ว ผู้ปฏิบัติก็ต้องหาทางบรรลุ ซึ่งผู้ปฏิบัติบางท่านก็ออกแสวงหาธรรม แต่บางท่านก็มีผู้มาโปรด ทั้งนี้ทั้งนั้นการบรรลุธรรมก็มีสองแบบคือ

(A) “เจโตวิมุติก็เจริญสติสมาธิ ทำฌาน มีกรรมฐาน 40 วิธี ก็เลือกวิธีที่ถูกอัธยาศัย ไม่มีวิธีใดที่ถูกต้องที่สุด หรือดีที่สุดเสมอไป แต่ต้องเลือกวิธีที่ใช้แล้วทำได้ผลดี โดยกรรมฐาน 40 วิธีมีดังนี้ (ที่มา http://www.vimokkha.com/krammathan.htm)

หมวดกสิน 10 เป็นการทำสมาธิด้วยวิธีการเพ่ง

1. ปฐวีกสิน  เพ่งธาตุดิน

2. อาโปกสิณ  เพ่งธาตุน้ำ

3. เตโชกสิณ  เพ่งไฟ

4. วาโยกสิน  เพ่งลม

5. นีลกสิน เพ่งสีเขียว

6. ปีตกสิน  เพ่งสีเหลือง

7. โลหิตกสิณ  เพ่งสีแดง

8. โอฑาตกสิณ  เพ่งสีขาว

9. อาโลกกสิณ  เพ่งแสงสว่าง

10. อากาศกสิณ  เพ่งอากาศ

หมวดอสุภกรรมฐาน 10 เป็นการตั้งอารมณ์ไว้ให้เห็นว่า ไม่มีอะไรสวยงดงาม มีแต่สิ่งสกปรกโสโครก น่าเกลียด

11. อุทธุมาตกอสุภ ร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับแต่วันตายเป็นต้นไป มีร่างกายบวมขึ้น พองไปด้วยลม ขึ้นอืด

12. วินีลกอสุภ  วีนีลกะ แปลว่า สีเขียว 

เป็นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาว คละปนระคนกัน คือ มีสีแดงในที่มีเนื้อมาก มีสีขาวในที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองมาก มีสีเขียวในที่มีผ้าคลุมไว้ ฉะนั้นตามร่างกายของผู้ตาย จึงมีสีเขียวมาก

13. วิปุพพกอสุภกรรมฐาน  เป็นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็นปกติ

14. วิฉิททกอสุภ คือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็นสองท่อนในท่ามกลางกาย

15. วิกขายิตกอสุภ เป็นร่างกายของซากศพที่ถูกยื้อแย่งกัดกิน

16. วิกขิตตกอสุภ  เป็นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่าง ๆ กระจัดกระจาย มีมือ แขน ขา ศีรษะ กระจัดพลัดพรากออกไปคนละทาง

17. หตวิกขิตตกอสุภ  คือ ซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่

18. โลหิตกอสุภ คือ ซากศพที่มีเลือดไหลออกเป็นปกติ

19. ปุฬุวกอสุภ  คือ ซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่

20. อัฏฐิกอสุภ คือ ซากศพที่มีแต่กระดูก

อนุสสติกรรมฐาน 10 อนุสสติ แปลว่า ตามระลึกถึง เมื่อเลือกปฏิบัติให้พอเหมาะแก่จริต จะได้ผลเป็นสมาธิมีอารมณ์ ตั้งมั่นได้รวดเร็ว

21. พุทธานุสสติกรรมฐาน  ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์

22. ธัมมานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์

23. สังฆานุสสติกรรมฐาน  ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์

24. สีลานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์

25. จาคานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงผลของการบริจาคเป็นอารมณ์

26. เทวตานุสสติเป็นกรรมฐาน ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์

27. มรณานุสสติกรรมฐาน  ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์

28. กายคตานุสสติกรรมฐาน  เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในจาคะจริต

29. อานาปานานุสสติกรรมฐาน เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในโมหะ และวิตกจริต

30. อุปสมานุสสติกรรมฐาน  ระลึกความสุขในพระนิพพานเป็นอารมณ์

หมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญา

31. อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพ่งอาหารให้เห็นเป็นของน่าเกลียด บริโภคเพื่อบำรุงร่างกาย ไม่บริโภคเพื่อสนองกิเลส

หมวดจตุธาตุววัฏฐาน

32. จตุธาตุววัฏฐาน 4 พิจารณาร่างกายประกอบด้วยธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ

หมวดพรหมวิหาร 4 พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมเป็นที่อยู่ของพรหม พรหมแปลว่าประเสริฐ

พรหมวิหาร 4 จึงแปลว่า คุณธรรม 4 ประการ ที่ทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติเป็นผู้ประเสริฐ ได้แก่

33. เมตตา  คุมอารมณ์ไว้ตลอดวัน  ให้มีความรัก อันเนื่องด้วยความปรารถนาดี ไม่มีอารมณ์เนื่องด้วยกามารมณ์ เมตตาสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นทุกข์

34. กรุณา ความสงสารปรานี มีประสงค์จะสงเคราะห์แก่ทั้งคนและสัตว์

35. มุทิตา   มีจิตชื่นบาน พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ไม่มีจิตริษยาเจือปน

36. อุเบกขา มีอารมณ์เป็นกลางวางเฉย

มวดอรูปฌาณ 4 เป็นการปล่อยอารมณ์ ไม่ยึดถืออะไร มีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุขประณีต ในฌานที่ได้ ผู้จะเจริญอรูปฌาณ 4 ต้องเจริญฌานในกสินให้ได้ฌาณ 4 เสียก่อน แล้วจึงเจริญอรูปฌาณจนจิตเป็นอุเบกขารมณ์

37. อากาสานัญจายตนะ ถือ อากาศเป็นอารมณ์ จนวงอากาศเกิดเป็นนิมิตย่อใหญ่เล็กได้ ทรงจิตรักษาอากาศไว้ กำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์

38. วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมด ต้องการจิตเท่านั้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์

39. อากิญจัญญายตนะ กำหนดความไม่มีอะไรเลย อากาศไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ถ้ามีอะไรสักหน่อยหนึ่งก็เป็นเหตุของภยันตราย ไม่ยึดถืออะไรจนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์

40. เนวสัญญานาสัญญายตนะ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งที่มีสัญญาอยู่ก็ทำเหมือนไม่มี ไม่รับอารมณ์ใด ๆ จะหนาว ร้อนก็รู้แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย ปล่อยตามเรื่อง เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์

ซึ่งกรรมฐาน 40 วิธีนี้ หากบุญบารมีครบเต็มตามเกณฑ์ ก็สามารถทำให้เกิด “มรรคสมังคี” คือจิตที่ทรงอยู่ในอารมณ์แห่งศีล สมาธิ ปัญญา รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ประดุจเครื่องมือ และมีกำลังบุญบารมีเป็นพลังส่ง สามารถรื้อถอนสังโยชน์คือกิเลสเบื้องต่ำเบื้องสูงที่หยั่งรากอยู่ในใจออกมา แล้วบรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคล อันมีพระนิพพานเป็นเบื้องปลายได้ แต่ถ้าหากบุญบารมียังไม่ครบเต็มตามเกณฑ์ หากบรรลุผลแห่งการปฏิบัติ ก็จะได้เพียงฌาน

(B) ปัญญาวิมุติ ก็เจริญปัญญา ฟังเทศน์ ฟังธรรม เล่าเรียน เขียนอ่าน ไตร่ตรอง พิจารณา ใคร่ครวญ ธรรมอันมี 84000 พระธรรมขันธ์ ไม่ว่าจะแบบดั้งเดิม แบบย่อ หรือแบบพิสดารออกไปได้นับแสนนับล้านอย่าง ก็ให้เลือกฟังหรือเรียนธรรมในรูปแบบที่เหมาะกับจริต บางท่านมีปัญญามาก เป็นพหูสูต ฟังธรรมขยายยืดยาวแล้วไม่พอใจ ใจไม่สงบ ก็ไม่บรรลุ บางท่านปัญญาน้อย ฟังธรรมแบบย่อแล้วก็ไม่รู้มากพอจะทำความเข้าใจ ก็ไม่บรรลุ การศึกษาธรรมเพื่อความหลุดพ้น จึงควรเลือกศึกษาที่เหมาะกับจริตของตน ในทำนองเดียวกันกับการเลือกวิธีกรรมฐาน

เมื่อผู้ศึกษาพิจารณา ใคร่ครวญ ทำความเข้าใจธรรม กระทั่งเกิด มรรคสมังคีโดยมีบุญบารมีที่บำเพ็ญไว้ครบเกณฑ์เป็นกำลัง ก็สามารถละกิเลสสังโยชน์ได้ตามส่วน บังเกิดเป็นมรรคผลขั้นต่างๆ อันมีพระนิพพานเป็นเบื้องปลาย แต่ถ้าหากบุญบารมียังสะสมมาไม่ครบตามเกณฑ์ แม้จะฟังธรรม หรือศึกษาธรรมมากเพียงใด ก็จะยังไม่บรรลุมรรคผลเป็นปัญญาวิมุติได้ แต่ก็จะได้ความรู้ความเข้าใจ และเป็นบุญกุศลสะสมต่อไป

อันว่าบุญบารมีนั้น เป็นพลังงานที่หล่อเลี้ยงสรรพสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระอรหันต์ พระอริยบุคคล ปุถุชน หรือสัตว์เดรัจฉาน ตราบใดที่บุคคลยังเป็นปุถุชน หรือเป็นพระอริยบุคคลชั้นต้น ก็ยังต้องบำเพ็ญสะสมบุญบารมีเอาไว้ใช้ต่อไป ต่อเมื่อเป็นพระอรหันต์ เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จะไม่บำเพ็ญบุญก็ได้ เพราะจะได้รับ "สายปุญญาภิสันธาน" เอาไว้ใช้หล่อเลี้ยงตลอดเวลา ดังฉะนี้.

- Pirajak S.

www.meditation101.org

 

The Topmost Summary of Buddhist Practice

The practice in Buddhism starts from cultivating meritorious deeds in order to fulfill the requirement of one hundred thousands sub-aeon to become a fully enlightened saint (arhat), two aeon to become a Silent Buddha, and the minimum of 20.1 aeon to become a Lord Buddha.

As the merit cultivation is perfected according to the requirement, one can seek for enlightenment by ways of (1) Meditative Liberation or Ceto Vimutti where one practices Buddhist meditation and/or mindfulness categorized into 40 methods by choosing the method that meets one’s preference and past cultivation, and (2) Contemplative Liberation or Panna Vimutti where one learns or studies the Lord Buddha’s Dhamma or teachings divided into 84,000 categories which can be briefed or superlated into millions of form whereas one learns the Dhamma that fits one’s preference.

With the perfected merit cultivation, one can achieve the unification of magga (maggasamangi) by ways of either Meditative Liberation (Ceto Vimutti) or Contemplative Liberation (Panna Vimutti) which enables one to eradicate more or less of defilement or mental impurity (samyojana) which results in different levels of magga or phala (path or fruition) which has the Nirvana as the end-destination.

As long as one is still a mundane or partially enlightened, one still needs to cultivate more meritorious deeds further.  When one becomes a fully enlightened saint, a Silent Buddha, or a Lord Buddha, one no longer needs to cultivate merit because one will earn the stream of merit energy or punnabhisandana which nourishes one’s being continually and automatically.

 

-          Pirajak S.

www.meditation101.org  


ไตรสิกขา พิสดารโดยย่อ

โดย พิรจักร สุวพรรดิเดชา

www.meditation101.org

 

[1] ศีล ได้แก่ ศีลของกาย ศีลของวาจา และศีลของใจ ช่วยปรับสภาพกาย วาจา และใจให้เหมาะสม เป็นสุข สำรวม สะอาด และมีความพร้อมต่อการอบรมจิตให้เจริญ

[2] สมาธิ ได้แก่ สมถะ (ความสงบใจ) และ วิปัสสนา (ความรู้แจ้ง) ช่วยอบรมจิตให้สงบ มีกำลัง ย่อมเอื้อต่อ “เจโตวิมุติ” คือการหลุดพ้นด้วยสมาธิ ตามกำลังของบุญบารมีที่สั่งสมมา เมื่อใจอยู่ในสภาพที่ก่อให้เกิดมรรคสมังคี ตามสัดส่วนของอิทธิพลมากน้อยจากศีล สมาธิ ปัญญา เข้าด้วยกัน ถ้ากำลังบุญบารมียังน้อย มรรคสมังคีก็ยังไม่เกิด จึงยังไม่สามารถละสังโยชน์ แต่ก็สามารถทรงอยู่ในฌานได้เท่านั้น สามารถข่มกิเลสได้เป็นคราวๆไป

[3] ปัญญา ได้แก่ ปัญญาจากการฟังและเรียนรู้ ปัญญาจากการคิดพิจารณา และปัญญาจากการเจริญภาวนา ทั้ง 3 อย่างช่วยอบรมจิต ให้เข้าใจธรรม เมื่อเข้าใจแล้ว อวิชชาก็ดับไปชั่วคราวหรือถาวร ยังให้ใจเกิดเป็นสภาวะของมรรคสมังคี ตามสัดส่วนของอิทธิพลมากน้อยจาก ศีล สมาธิ ปัญญา เข้าด้วยกัน สามารถละสังโยชน์ได้ ตามกำลังส่งของบุญบารมีที่สั่งสมมา กอปรเป็น “ปัญญาวิมุติ” ถ้ากำลังบุญไม่พอ มรรคสมังคียังไม่เกิด ก็เข้าใจธรรม แต่ไม่สามารถละสังโยชน์ได้ ปัญญาที่มีก็สามารถข่มกิเลสได้เป็นคราวๆไป

[4] ปัญญาวิมุติ อาศัยปัญญามาก ใจสงบเป็นสมาธิน้อยกว่าฝ่ายเจโตวิมุติ เพราะมีความคิด ความดำริ ต่างจากเจโตวิมุติ ที่เกิดจากฌาน มีใจสงบยิ่ง โดยนัยนี้ ผู้ที่บรรลุด้วยปัญญาวิมุติและเจโตวิมุติย่อมมี วิชชา 3 และวิชชา 8 มากน้อยต่างกัน เพราะ "วิชชา" ล้วนตั้งอยู่บน "จรณะ" มี องค์ฌาน เป็นอาทิ


5 มิถุนายน 2562


"จะวิชชาธรรมกายก็ตาม จะสายปฏิบัติอื่นใดก็ตาม หากไม่มีมรรคผลอันเกิดจากการปฏิบัติ และไม่สามารถยังผู้ปฏิบัติให้เข้าถึงพระนิพพานได้ กล่าวโดยง่ายคือ สายปฏิบัติใด ไม่มีพระอริยบุคคล ไม่มีพระอรหันต์  วิชชาหรือสายปฏิบัตินั้นย่อมไม่ใช่หนทางเจริญในพระพุทธศาสนา"

- พิรจักร (formerly Pittaya Wong)

4 มิถุนายน 2561  


"แต่ละสายธาตุ ต่างก็ปรุงธรรมรสอันพอเหมาะต่อบริวารธาตุแห่งตน ธรรมรสจะโอชามีประโยชน์มากน้อย ขึ้นอยู่กับว่าเลี้ยงกระทั่งได้มรรคผลมากน้อยเพียงใดนั่นแล"

- พิรจักร ( formerly Pittaya Wong)

3 มิถุนายน 2561


"ศีลคือธรรมาภรณ์อันประเสริฐ

สัตย์คือจักราภรณ์อันล้ำเลิศ"

- พิรจักร (formerly Pittaya Wong)

3 มิถุนายน 2561


เมื่อความเร็วของเวลา เท่ากับความเร็วของอิเล็คตรอนที่หมุนรอบนิวเคลียส ผู้ที่แก่ช้า จะมีอิเล็คตรอนที่หมุนช้า ผู้ที่แก่เร็ว จะมีอิเล็คตรอนที่หมุนเร็ว โดยมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยยะสำคัญ กับควาทเร็วในการขยายตัวของ "ดวงแก่"


Atom ที่อยู่ในสรรพสัตว์และสรรพสิ่ง ทำงานด้วย "ระบบไฟฟ้า" รวมถึงตัวมนุษย์และสัตว์ ที่มี "กระแสไฟฟ้าอ่อนๆ" ไหลเวียนหล่อเลี้ยงอยู่ กระแสไฟฟ้านี้เองคือ "พลังงานบุญ" และ "พลังงานบาป" และ "ใจ" ของเรา ก็ "เก็บพลังงานไฟฟ้าอ่อนๆ" นี้ได้ โดยหน่วยเล็กของกลไกไฟฟ้านี้คือ Atom ในขณะที่หน่วยใหญ่ของกลไกไฟฟ้านี้คือ Solar System

by Pittaya Wong & Associates
www.meditation101.org

7 April 2019


ปัญหาของผู้ปฏิบัติธรรมสายธรรมกาย

 

1. ผู้ที่เข้าถึงธรรมกายและ/หรือได้วิชชาแล้วเกิดความประมาทชะล่าใจ ไม่หมั่นรักษาภูมิจิตภูมิธรรม ให้สูงเข้าไว้ จึงเสื่อมถอยลงในกาลต่อมา
2. หมู่มารเพ่งเล็งผู้ที่เข้าถึงธรรมกายและ/หรือได้วิชชาแล้วเป็นพิเศษ หาทางปนเปื้อน และเล่นงานกลั่นแกล้ง หลอกล่อ ให้เสื่อมจากคุณ แต่สายปฏิบัติอื่นๆ ที่ส่งผลให้ได้คุณวิเศษ ก็มีปัญหานี้เหมือนกัน
3. ผู้ที่เข้าถึงธรรมกาย และ/หรือได้วิชชาแล้ว ทำงานในญาณ (ทำวิชชา) มากจนเกินไป มีการแก้โรค แก้ภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น จนกระทั่งหมดกำลังญาณ (หมดละเอียด) และหมดเปลืองบุญบารมี จึงเสื่อมถอยลงมา
4. ผู้ที่เข้าถึงธรรมกาย และ/หรือ ได้วิชชาแล้ว มีจรณะบกพร่อง ด้วยเหตุต่างๆ นาๆ วิชชาจึงคลอนแคลน และเสื่อมถอย
5. ผู้ที่เข้าถึงธรรมกาย ตัดสินใจที่จะยังไม่เข้านิพพาน ทั้งๆที่สามารถเข้าได้ หรือบรรลุเป็นพระอริยบุคคล เพราะยังอยากสร้างสมบารมีต่อ เพื่อทำงานในภพต่อไปจนกว่าจะถึง ที่สุดแห่งธรรมด้วยเหตุนี้ จึงดำรงอยู่อย่าง โคตรภูบุคคลซึ่งเสี่ยงต่อความผันแปรในภพ 3 ตามกฎพระไตรลักษณ์
6. ผู้ที่เข้าถึงธรรมกาย และ/หรือ ได้วิชชา มีบุญบารมีแต่เดิมมาน้อย จึงเสื่อมถอยไปเองจากวิชชา กิเลสจึงครอบงำอีกครั้ง ทำให้คุณธรรมด้อยลง และทำให้เกิดปัญหาต่างๆ

By Pittaya Wong

28 August 2018


การแปลตำราทางพระพุทธศาสนา

การแปลโดยทั่วไปนั้นอาศัย 2 สิ่งควบคู่กัน คือ
(1) องค์ความรู้หลักการแปล
(2) ประสบการณ์ในการแปล

สำหรับองค์ความรู้หลักการแปลโดยสรุป ต้องมีสัดส่วนของ 3 สิ่ง คือ

(ก) ความถูกต้อง หรือ accuracy
(ข) ความเข้าใจได้ หรือ understanding
(ค) ความเป็นธรรมชาติของภาษา หรือ
naturalness

โดยคำนึงถึง 3 สิ่งดังกล่าวข้างต้น ใน
(
a) ระดับคำ หรือ word
(b) ประโยค หรือ sentence
(c) ระดับวาทกรรม หรือ paragraph

ทั้งหมดนี้ ควรนำมาใช้ในการแปล ภายใต้ “วัตถุประสงค์” เดียวกัน กับงานต้นฉบับ เช่น วัตถุประสงค์ของต้นฉบับเป็นงานโฆษณาชวนเชื่อ ฉบับแปลก็ต้องถูกแปลให้โฆษณาชวนเชื่อเช่นเดียวกัน

สำหรับการแปลตำราทางพระพุทธศาสนา มีลักษณะพิเศษคือ ต้องคงความถูกต้องของเนื้อหาสาระให้มากเข้าไว้ เพื่อมิให้พระธรรมคำสอนถูกบิดเบือนหรือตีความเข้าข้างนักแปล เพราะอคติของนักแปลเอง จากการวิจัยพบว่า ชาวต่างชาติยินดีที่จะได้เห็นภาษาบาลีอยู่ในเนื้อหาบทแปล เพื่อประโยชน์ในการสืบค้นในภายหลัง หรือเพื่อให้รู้สึกถึงความศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ของตำรา เช่นเดียวกันกับการใช้ภาษาละตินในภาษาอังกฤษ นักแปลสามารถใส่ภาษาบาลีลงในเนื้อหาด้วยวิธีการต่างๆ เช่นใส่ในวงเล็บต่อท้ายศัพท์เฉพาะ หรือใช้ or ตามด้วยศัพท์พระบาลี

งานแปลที่ดี ที่แปลโดยนักแปลที่มีจริยธรรม ควรแปลโดยปราศจากอคติลำเอียง นักแปลจึงเป็นประดุจเครื่องถ่ายสำเนาเอกสาร ที่ถ่ายทอดต้นฉบับ ออกมาเป็นงานฉบับแปล ที่ให้ความรู้ความเข้าใจ ความถูกต้อง ใกล้เคียง หรือเหมือนต้นฉบับมากที่สุด ในขณะที่มีความเป็นธรรมชาติของสำนวนและมีไวยากรณ์ที่ถูกต้องในภาษาปลายทาง ซึ่งอาจจำเป็นต้องทำงานร่วมกับผู้ตรวจแก้ซึ่งใช้ภาษาปลายทางเป็นภาษาแม่

By Pittaya Wong  / 11 September 2018 /  www.meditation101.org


นานาสาระ ตอน: บทสรุปทั้งหมดทั้งสิ้นในการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธศาสนานั้นได้แก่ (1) สัมมามโนกรรม หรือ Right[eous] Mind (2) สัมมาวจีกรรม หรือ Right[eous] Speech และ (3) สัมมากายกรรม หรือ Right[eous] Action. ซึ่งสามารถสรุปรวบยอดเป็นหนึ่งเดียวคือ “มีสัมมาปฏิบัติ” หรือ Right[eous] Practices.
- Pittaya Wong
www.meditation101.org


นานาสาระ ตอน ธัมมจักกัปปวัตนสูตร กับวิชชาธรรมกาย
by Pittaya Wong (21 May 2018)
www.meditation101.org

ผมเคยสวดบทธัมมจักกัปปวัตนสูตรอยู่เป็นประจำ สวดจนคิดได้ว่า แท้ที่จริงแล้ว หลักฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมโดยดิ่งสมาธิเข้าสู่ศูนย์กลางกาย ในสายวิชชาธรรมกายนั้น ไม่ได้อยู่ที่ไหนไกลเลย แต่อยู่ในบทธัมมจักรฯ นี่เอง

เมื่อผมศึกษาบทสวดและคำแปล มีสาระคือ ให้หลีกเลี่ยงการปฏิบัติสุดโต่งทั้งสอง ซึ่งในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Practice จากนั้นจึงเข้าถึง มัชฌิมา ปฏิปทา คือ เส้นทางสายกลาง ซึ่งภาษาอังกฤษใช้คำว่า Path

คำถามคือ ทำไม ทางสายกลาง ไม่ใช้ Practice หากต้องการอุปมาว่าอยู่ระหว่าง Practice ที่สุดโต่งทั้งสอง

และเมื่อใช้คำว่า Path แล้ว ก็นำไปสู่ จักขุ ญาณ อุปสมายะ อภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ แล้วสรุปว่า ทางสายกลาง ก็คือ มรรคมีองค์ 8 นั่นเอง ซึ่งก็น่าอัศจรรย์ว่า "มรรค" ก็คือ "Path" ส่วนองค์ 8 ก็คือ Practice ที่นำไปสู่ผล คือ Fruition และ นิพพานายะ ซึ่งเป็น Destination

อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า บทสวดธัมมจักรฯ ที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน ดูเหมือนจะถูกตัดทอนไป และเกลาสำนวนแล้ว เพราะเนื้อหาเหมือนจะถูกรวบรัด สรุปความไป (บทสวดส่วนใหญ่เกิดจากการเรียบเรียงพระสูตรแล้วแต่งให้ท่องสืบทอดต่อๆ กันมา)

ดังนั้น หากเราจะหาหลักฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม โดยเข้าสมาธิผ่านศูนย์กลางกาย ผมคิดว่าไม่ต้องไปหาที่อื่นใด ต้องค้นหาคัมภีร์ดั้งเดิมของธัมมจักกัปปวัตนสูตรให้พบ เพื่อดูว่า เนื้อหาเดิม ท่านว่าไว้ว่าอย่างไรบ้างครับ


"วิชาธรรมะพิเคราะห์" โดย พระจักรฯพิทยะ"

มองภาพรวม มองภาพเฉพาะ มององค์ประกอบ มองกระบวนการ ดูจุดเริ่มต้น หาจุดสิ้นสุด ดูความเชื่อมโยง เห็นการดำเนินไปข้างหน้า คิดการดำเนินย้อนกลับ รู้วัตถุประสงค์ เข้าใจกลยุทธ์ รู้จุดยุทธศาสตร์ เข้าใจประโยชน์ เข้าใจโทษ รู้จุดแข็ง รู้จุดอ่อน ทราบปัจจัยร่วมส่งผล ประมวลเข้าเป็นระบบ ซึ่งทำความเข้าใจและอธิบายได้ อย่างเป็นเหตุและผล บนบรรทัดฐานและมุมมองของพระธรรม ซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าเป็นจริงเสมอ และไม่มีส่วนใดขัดแย้งกันเอง..

by Pittaya Wong
4 May 2018
www.meditation101.org


ผไท Tips: เทคนิคบรรลุขั้นยศของเทวดา หรือ "ชั้นของประกาฯ" ทั้ง 10 อย่าง

(1) ถ้าอยากตรัส "ธรรมา" ต้องปฏิบัติธรรมจนบรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นต้น

(2) ถ้าอยากตรัส "ประภา" ให้ทำบุญค่าไฟฟ้าส่องสว่างวัดหรือสำนักที่มีองค์ผไทประทับอยู่

(3) ถ้าอยากตรัส "รัตนา" ให้ทำบุญค่ารัตนชาติประดับพระพุทธรูป เช่นพระอุณาโลม หรือพระเจดีย์ หรือจะถวายรัตนชาติให้องค์ผไท ใช้เดินวิชชาหรือใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่นบรรจุไว้ในพระเจดีย์ เป็นต้น

(4) ถ้าอยากตรัส "จริยา" ให้รับศีล หรือาราธนาศีล 8 กับองค์ผไท หรือพระพุทธรูปที่ผู้ที่ทรงผไท ลงมากส่วน ถ้าอาราธนาศีล 5 ควรเปลี่ยนข้อ 3 เป็น รักษาพรหมจรรย์ ดังนี้แล้ว รักษาศีลตามที่อาราธนาไว้ให้บริสุทธิ์เป็นเวลา 7 วัน

(5) ถ้าอยากตรัส "วิจิตรา" ให้ถวายดอกไม้ แด่พระประธานในพระอุโบสถวัดปากน้ำ ในวันขึ้น 15 ค่ำ หรือถวายองค์ผไท

(6) ถ้าอยากตรัส "เดชา" ให้ช่วยงานวัด โดยเฉพาะสำนักที่มีองค์ผไทประทับอยู่ ช่วยล้างจานชาม ยกของ ขนของ ฯลฯ

(7) ถ้าอยากตรัส "พัสตรา" ให้ถวายผ้าไตรจีวร แด่หลวงพ่อสด ที่หน้าโลงทองของท่าน ในวันขึ้น 15 ค่ำ หรือถวายองค์ผไทอื่นๆ

(8) ถ้าอยากตรัส "สุวคนธ์" ให้รินน้ำอบสรงไปที่พระหัตถ์และพระบาทของรูปเหมือนพระพุทธเจ้า พระจักรพรรดิ หรือองค์ผไท ที่ลงหลายส่วน

(9) ถ้าอยากตรัส "โยธิน" ให้ทำบุญสังฆทานสมทบค่าจัดจ้างคนงานในวัดหรือสำนักที่องค์ผไทประทับอยู่

(10) ถ้าอยากตรัส "ดุริยางค์" ให้ซื้อกล่องดนตรีมาเปิดบรรเลงถวาย รูปเหมือนพระพุทธเจ้า พระจักรพรรดิ หรือองค์ผไท ที่ลงหลายส่วน

โดย คณะสมทบพระจักรฯพิทยา
26 เมษายน 2561
www.meditation101.org


ขอแบ่งปันความรู้ให้ทราบโดยทั่วกันว่า ให้จัดเตรียมน้ำอบ ใส่ขวดแบบมีสเปรย์ อย่าให้มีแป้งร่ำผสม นำไปแช่เย็น แล้วใช้สเปรย์พรมไปที่องค์พระพุทธรูป ดวงแก้ว และของกายสิทธิ์ต่างๆ บางคราท่านเดินวิชชากันจนเหนื่อย ถ้าท่านได้น้ำอบพรมไว้ ท่านจะสบายนะ ถ้าจะสรง บางทีก็ใช้เวลามาก ซึ่งบางท่านก็ไม่สะดวกจะสรงบ่อยๆ ให้ใช้วิธีสเปรย์พรม 3 ครั้ง หรือ 7 ครั้ง ต้องดูสูตรน้ำอบให้ดี อย่าใช้น้ำอบที่แรงไปหรือมีแป้งร่ำ จะทำให้ผิวขององค์พระเป็นรอยแป้งนะ สเปรย์น้ำอบแช่เย็นพรมพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นะ อานิสงส์ถวายของหอม จะทำให้จมูกสวย และทรงอภิญญา ส่วนถวายดนตรี กล่องเพลง จะทำให้ใบหูสวยล่ะ ถวายประทีปแสงไฟสวยๆ จะทำให้ตาสวย ถ้าสวดมนต์ ปากก็จะสวย
พระจักรฯพิทยา
26 เมษายน 2561
www.meditation101.org