14. ข้อคิดในการแปลคำว่า ธรรมกาย
ข้อคิดในการแปลคำว่า
“ธรรมกาย”
โดย พิทยา ทิศุธิวงศ์ (M.A. Translation)
ข้อคิดในการแปล
คำสอนเรื่อง “ตรีกาย” ตามความเชื่อของมหายาน
คือ (1) สัมโภคกาย (2) นิรมานกาย และ (3)
ธรรมกาย เราแปลตามลำดับลงมาว่า (1) สัมโภคกาย ก็เป็นกายเป็นรูปเป็นร่าง (2) นิรมานกาย ก็เป็นกายที่เป็นรูปเป็นร่าง ดังนั้น ลำดับขั้นมีลักษณะของการ
Parallel หรือขนานกันมา การแปล (3) ธรรมกาย ก็ควรแปลว่าเป็นกายที่เป็นรูปเป็นร่างด้วยเช่นกัน
โดยนัยนี้ จะเข้าหมวดเข้าหมู่ “ตรีกาย” ครบถ้วนตามคำสอน อนึ่งสำหรับคำว่าธรรมกายที่มีในพระไตรปิฎกของไทย ถ้าแปล “ธรรมกาย” ว่าเป็นหมวดหมู่แห่งพระธรรมคำสอน เราจะแปล “พรหมกาย” ซึ่งคู่ขนานกันมาในเนื้อหาของพระไตรปิฎกได้อย่างไร?
ซึ่งผมมองว่า การแปลและตีความ คำสอนในพระพุทธศาสนา จากภาษาหนึ่ง
ไปสู่อีกภาษาหนึ่ง มักจะมีปัญหาในลักษณะนี้อยู่เรื่องเพราะขาดองค์ความรู้และวิทยาการในด้านการแปล
ซึ่งมีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนในแง่ของการถอดความและถ่ายทอดภาษาครับ (โดย พิทยา ทิศุธิวงศ์) 5 กันยายน 2560
พระไตรปิฎก
เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย
ปาฏิกวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=11&item=56&items=1&preline=8
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ก็ผู้ใดแล มีศรัทธาตั้งมั่นเกิดขึ้นแล้วแต่ รากแก้วคืออริยมรรค ประดิษฐานมั่นคง
อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือผู้ใดผู้หนึ่งในโลก ไม่พรากไปได้
ควรเรียกผู้นั้นว่า เป็นบุตรเกิดแต่พระอุระ เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้เกิดแต่พระธรรม เป็นผู้ที่พระธรรม เนรมิตขึ้น เป็นผู้รับมรดกพระธรรม
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี ว่าธรรมภูต ก็ดี
ว่าพรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต ฯ
ข้อมูลจาก
วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/mahayana13.htm
1. สัมโภคกาย คือพระกายที่เป็นทิพยภาวะ ประทับอยู่ ณ พุทธเกษตรของพระองค์
ทรงแสดงพระสัทธรรมอยู่ในแดนอื่นๆ พระพุทธเจ้าอาจมาปรากฏพระองค์แก่มนุษย์ได้
ในคัมภีร์ปัญจวีสติ มีอธิบายว่า
หลังจากที่พระโพธิสัตว์เจ้าถึงพุทธภูมิโดยการปฏิบัติตามบารมีทั้ง 6 จึงมีอวัยวะใหญ่ครบ 32 และมีอวัยวะเล็กๆ อีก 80
แล้วทรงแสดงมหายานสูตรแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายและทรงปลูกไว้ซึ่งความปีติยินดีและความเมตตาลงในจิตของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น
สัมโภคกายดำรงอยู่เพื่อช่วยเหลือพระโพธิสัตว์ที่ปฏิบัติผ่านทสภูมิแล้ว
เป็นกายที่อยู่ระหว่างธรรมกายและนิรมาณกาย ดำรงอยู่นิรันดร พ้นจาก อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา เป็นกายที่มีอยู่ก่อนนิรมาณกาย และมีอยู่หลังปรินิพพานของนิรมาณกาย
2. นิรมานกาย คือพระกายที่พระองค์นิรมิตขึ้นมา
เป็นพระกายเนื้อที่คนทั่วไปสามารถมองเห็นได้ เช่น ความทรุดโทรมด้วยความชรา
และความดับขันธ์ เป็นต้น เป็นพระกายที่ทรงนิรมิตมาเพื่อบำเพ็ญพุทธกิจ
คัมภีร์ปัญจวีสติ แสดงว่า
พระโพธิสัตว์หลังจากได้รับธรรมจากการปฏิบัติบำเพ็ญบารมีจนได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ได้ทุกที่ทุกแห่งด้วยนิรมเมฆหรือนิรมานกาย
นั่นเอง (Nalinaksha Dutt, Mahayana Buddhism, Fimma KLM Paivate Limited,
Zculctta: 1976) หน้า 159)
3. ธรรมกาย ตาคติมหายาน ธรรมกายเป็น กายที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า เป็นแก่นแท้
เป็นสัจจธรรม ที่ดำรงอยู่ไม่มีวันสลาย ธรรมกายจัดเป็นนิจจัง สุขขัง ศูนยตา
และบริสุทธิ์ อีกทั้งธรรมกายยังสัมพันธ์กับเรื่องราว ของ ตถาคตครรภ์ ,พุทธภาวะ และรัตนทั้งสาม คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ