32. นิจ และ นิรันดร แห่งอะตอม

นิจและนิรันดรแห่งอะตอม

โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์


Electron ที่โคจรรอบ Nucleus ทำงานด้วยระบบ "electro magnet" ในทำนองเดียวกันกับที่ดวงดาวในระบบสุริยะ โคจรรอบดวงอาทิตย์ และการโคจรของ electron ที่เหวี่ยงแบบไม่เป็นระเบียบ ทำให้ Atom เสื่อม (depreciate over time) และหมดอายุในที่สุด  Electron ที่หมุนเร็ว ทำให้ความแก่ (aging) เป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น เมื่อเทียบกับ Electron ที่หมุนรอบ Nucleus ด้วย speed ที่ช้ากว่า นี้เป็นสาเหตุที่ทำให้คนบางเชื้อชาติที่มี กรรมพันธุ์ไม่เหมือนกันนั้น แก่ช้า หรือแก่เร็ว แตกต่างกันไป และด้วยการทำงานแบบ Electro Magnet ที่มีกระแสไฟฟ้าควบคุมจากศูนย์รวมประสาทกลางท้อง (Solar Plexus) ที่ศูนย์กลางกาย ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงส่วนละเอียดอันเป็นทิพย์เข้ากับส่วนหยาบของร่างกาย ส่งกระแส ไฟฟ้าบุญ และไฟฟ้าบาป ที่ประจุเก็บเอาไว้ จึงถูกปลดปล่อยออกไปสร้างความผันแปร ให้กับ Atom ทั่วร่าง เมื่อบุคคลทำสมาธิ และ "กระแสไฟฟ้าสงบ" คล้าย "พายุสุริยะ" ของดวงอาทิตย์ที่สงบลง เป็นผลให้สนามแม่เหล็กอ่อนโยนขึ้นและ Electron ได้รับผลกระทบ คือหมุนช้าลง ทำให้ผู้ที่ปฏิบัติสมาธิส่วนใหญ่ "แก่ช้า" กว่าคนทั่วไป และถ้าหากเราสามารถทำสมาธิ กระทั่งสามารถตั้งโปรแกรมที่ Solar Plexus เพื่อให้ Electron โคจรรอบ Nucleus อย่างเป็นระบบระเบียบ มีลักษณะเป็น progressive pattern ด้วยทิศทางที่แน่นอน ไม่ random ก็จะส่งผลต่อความหนุ่มสาว และความแก่ได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ electron ของ Atom ทิพย์ หมุนช้ามากๆ (ในกรณีของกายเทวดา) และหยุดหมุน (ในกรณีของกายธรรม) อย่างเช่น "ธรรมธาตุ" ในพระนิพพาน ก็จะไม่มีความแก่ หรือความเสื่อมของ Atom ดังฉะนี้.

                                              2 มิถุนายน 2564  12:57 pm (Thailand Time)

 “เวลา” ซึ่งไหลไปมีอัตราความเร็วเท่ากับ ความเร็วเฉลี่ยของอิเลคตรอน ที่หมุนรอบนิวเคลียสนั้น ทำงานอยู่บน “แรงโน้มถ่วง” (gravity) หนึ่งๆ เมื่ออิเลคตรอน มีความเร็วโคจร เท่ากับความเร็วเฉลี่ยของเวลา แรงโน้มถ่วงที่ดึงดูดอะตอมไว้ มีผลต่อเวลา เพราะแรงโน้มถ่วง มีกำลังหน่วงเหนี่ยว “องค์ประกอบของอะตอม” เข้าไว้ด้วยกัน เหมือนนาฬิกา เรือนใหญ่บ้าง เรือนเล็กบ้าง ที่มีกลไก เฟืองใหญ่น้อยทำงานอยู่ด้วยกัน “ภพ” แต่ละภพ อย่างโลกมนุษย์ สวรรค์ นรก และพระนิพพาน มีแรงดึงดูด หรือ “อายตนะดึงดูด” ไม่เท่ากัน เป็นเหตุให้อะตอมในแต่ละภพถูกดึงดูดตรึงเอาไว้กับภพ ด้วยแรงมากบ้าง น้อยบ้าง ต่างกันไป ส่งผลถึงการเคลื่อนไปของ “เวลา” ในแต่ละสิ่งนั้นๆ และแต่ละภพนั้นๆ 

อะตอมในโลกมนุษย์ มีน้ำหนักมากกว่าอะตอมในภพทิพย์ และน้ำหนักของอะตอม ก็มีผลถึงความเร็วของอิเลคตรอน ที่หมุนรอบนิวเคลียส อยู่ภายในระบบอะตอมนั้น ซึ่งเราอ้างว่าคือความเร็วเฉลี่ยของเวลาในสภาวการณ์หนึ่งๆ แรงดึงดูดขอภพแต่ละภพ รวมถึงโลกมนุษย์ เป็นตัวจัดระบบกลไกเวลา ซึ่งมีองค์ประกอบต่างๆ เหมือน Solar System ที่มีพระอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีพระจันทร์ มีโลก มีดวงดาวต่างๆ ดึงดูดกันและกันเป็นระบบ กอปรเป็นเวลา คือ วัน เดือน ปี ฉันใดก็ฉันนั้น อะตอมมีองค์ประกอบอันทำงานอยู่บน Gravity ที่จัดระบบให้อะตอม ทำงานเร็วหรือช้า ตามกลไกที่โยงใยเหนี่ยวนำกันอยู่ฉันนั้น

 

บทความโดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์

(นามเดิม และนามปากกา: พิรจักร สุวพรรดิเดชา, Pittaya Wong, พิทยา ทิศุธิวงศ์)

founder of www.meditation101.org

24 มิถุนายน 2564 เวลา 13:08 น. ตามวันเวลาประเทศไทย