23. นานาสาระ โดย พิรจักร (พิทยา ทิศุธิวงศ์)
พิรจักร คือ “องค์รจนาธร” ผู้ทำหน้าที่เปิดเผยเรื่องราวที่น่าสนใจต่างๆ
เกี่ยวกับโลกแห่งวิชชาเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งทำได้เพราะมี “สายปฏิทัย”
คือสิทธิ์และอำนาจในวิชชาที่เอื้อให้สามารถเปิดเผยได้
ท่านสามารถจ่ายค่าอ่านตอบแทนตามธรรมเนียมโลกแห่งวิชชาได้ โดยแบ่งจ่ายเป็น “ธาตุบุญ” และ/หรือ บริจาคเงินให้องค์กรการกุศลที่เว็บลิ้งค์
https://www.meditation101.org/15468515/donation
เพื่อมิให้ติดค้างสิทธิ์ในวิชชาครับ.
ปรับปรุงล่าสุด 23 มีนาคม พ.ศ. 2566
แจ้งท่านผู้อ่านทราบครับ,
ขอขอบคุณที่ชื่นชมผลงานการประพันธ์ของผม
มีนวัตกรรมวิชชา และองค์ความรู้ (Know-How) หลายอย่างที่น่าสนใจ ท่านใดประสงค์จะตอบแทนผม
มีทางเลือกหลายทางโดยแบ่งเป็นหลายอย่างตามสัดส่วน หรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้คือ: (1)
กดโหวตให้คะแนนผมตรัส "ดิถี" ขั้นสูงในโลกวิชชา (2) จ่ายเป็น
"ธาตุบุญ" (3) บริจาคเงินเข้าองค์กรการกุศลที่ผมสนับสนุนอยู่ https://www.meditation101.org/15468515/donation
(4) แชร์ ส่งต่อเว็บไซท์ และหน้าเพจใน Meditation101.org
ที่ท่านชอบเพื่อรับส่วนลดพิเศษ 5 - 30% (5)
สมัครเป็นสมาชิกเว็บไซท์ Meditation101.org เพื่อรับส่วนลดเพิ่มเติมอีก 5 - 15% ในทุกรายการ https://www.meditation101.org/17324332/statute-membership (6)
อื่นๆ ตามตกลงกัน
หมายเหตุ: การนำเรื่องราวในโลกวิชชามาเปิดเผยเช่นนี้ ผมสามารถทำได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่สำนักวิชชา และผู้ทรงวิชชาท่านอื่นๆ ส่วนใหญ่ อาจไม่สามารถทำได้แม้จะมีความรู้ทางวิชชามาก เนื่องจาก "สิทธิ์และอำนาจ" ในหน้าที่ อาจไม่พอ โดยเฉพาะการเผยแพร่ทางออนไลน์ ที่ควบคุมการแพร่กระจายได้ยาก ดังนั้น ท่านอื่นๆ อาจจะเปิดเผยแบบเฉียดไปเฉียดมา หรือแต่งเป็นละคร เป็นนวนิยาย เป็นตำนานเล่าขานกันไป ในขณะที่ผมรจนาความได้แบบตรงๆ เพราะขณะนี้ผม "ตรัสปฏิทัย" ซึ่งเป็นสิทธิ์และอำนาจอย่างใหญ่ มากพอจะเปิดเผยความลี้ลับแห่งโลกวิชชาได้ในวงกว้างทั่วโลก โดยไม่ผิดสิทธิ์ครับ.
นานาสาระ: ตอน
บารมีมาร!
[1]
เราเกิดมาบำเพ็ญบารมี!
บางคนทำความดีมากๆ เป็นที่สรรเสริญของคนทั้งหลาย แต่คุณรู้หรือไม่ว่า บางท่านเหล่านั้นเป็น
"มาร!" เพราะอะไร? ทำไมคนทำดีจึงเป็นมาร? คำตอบคือเพราะบุญบารมีที่ได้ ณ “กายปลายทาง” คือกายมนุษย์ อันมีกายมารอันเป็นทิพย์
เป็น “กายต้นทาง” กำกับอยู่จะเป็นกำลังให้กับ "มารโลก" ถ้าถามว่าแล้วทำได้อย่างไร?
สาเหตุก็เพราะพวกเขาจะกลายเป็นมารที่มีวาสนาบุญบารมี ตามกฎแห่งกรรม
[2]
การบำเพ็ญบารมีของมารนั้น ได้ “ธาตุ” เป็นบุญ จากบุญกริยาวัตถุ
10 แต่ได้ “ธรรม” เป็นอกุศล ได้แก่ ทุศีล, มิจฉาสมาธิ และมิจฉาปัญญา อันตั้งอยู่บน “มิจฉามรรค 8 ประการ” ทำให้ได้บุญตามกฎแห่งกรรม
หรือมีบาปร่วมด้วย แต่จิตส่วนใหญ่เป็นอกุศลครอบงำ เช่นทำบุญแล้วขอในสิ่งที่ “เข้าทาง”
มารโลก อย่างพระเทวทัต ที่ภาคมารส่งมา “ประกบตัว” เวียนว่ายตายเกิดร่วมภพชาติกับองค์สมเด็จพระพุทธโคดม
เมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ กระทั่งบำเพ็ญสำเร็จตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก็คอยสร้างปัญหาให้เรื่อยมา
กระทั่งพุทธันดรปัจจุบัน ซึ่งได้เป็นเจ้าชายที่ขอออกบวชตามพระพุทธเจ้า แต่บวชแล้ว “จิตมาร”
กำเริบจึงคอยหาทางบั่นทอนพระพุทธองค์ ผู้ที่ทำบุญแบบจิตเป็นอกุศลเยี่ยงนี้ บุญจะเป็นกำลังส่งเสริมให้เจริญทางโลก
คล้ายเจ้าพ่อ มาเฟีย ยากูซ่า ผู้ทรงอิทธิพลที่ทำบุญ ทำความดี แต่ร้ายอยู่ในที มีบริวาร
มียศมีตำแหน่ง มีฐานะทางการเงิน
[3]
บุคคลผู้บำเพ็ญบารมีมาร ตั้งอกตั้งใจทำบุญเหล่านี้
บ้างก็เป็น “โพธิสัตว์มาร” หากบำเพ็ญสำเร็จจะได้เป็น “พระพุทธเจ้ามาร”
ผู้มีอุณาโลมเวียนซ้าย สิ้นชีพแล้วได้เข้ามารโลก มีความเป็นอยู่อย่างรุ่มร้อนสภาพจิตใจคล้ายนายเจ้าหน้าที่ทำโทษในยมโลก
ที่อยากทำร้าย อยากทำลาย หรือบ้างก็ได้เข้าพระนิพพาน
เพราะมารส่งกายมนุษย์มาเวียนเกิดสร้างบารมี แล้วเข้านิพพานตามกติกากฎแห่งกรรม พอเข้านิพพานแล้ว
กายมารต้นทางจึงสอดละเอียดเข้าไปเป็นไส้ศึก คอยสอดแนม
หรือป่วนเมืองนิพพานเป็นการตลบหลัง คล้ายๆเรื่องของ “ม้าโทรจัน”
ในสงครามเมืองทรอย แต่เดี๋ยวนี้ฝ่ายพระนิพพานรู้เท่าทันแล้ว และสามารถสะเดาะสายธาตุสายธรรมมารออกจากสมาชิกเมืองนิพพานได้
ตัวอย่างของ “โพธิสัตว์มาร” อย่างเช่น “ท้าววสวัตตีมาร”
คือเทพบุตรมารที่โดนทรมาน
แล้วตั้งความปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าด้วยความเคียดแค้นชิงชัง มิได้เป็นไปด้วย “โพธิจิต”
คือมหากรุณาที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ ครับ
[4]
สาเหตุที่มารเองก็ต้องทำบุญ
เพราะประสงค์จะได้ความเจริญก้าวหน้าทางโลก เพื่อให้ตนเองยิ่งใหญ่
ถ้ามารไม่มีบุญก็จะเป็นคล้ายนักเลงหรือโจรกระจอกๆ ธรรมดาที่ไม่ค่อยมีอำนาจวาสนา
มารส่วนใหญ่จะเป็น “พาล” แต่ไม่เสมอไป เพราะอาการยังไม่สำแดงออกมา อย่าง “มารผู้ดี”
เพราะมารส่งวิชชาให้ดูแนบเนียน เก็บอาการ แล้วมาพลิกโฉมเอาตอนท้ายเมื่ออำนาจวาสนายศศักดิ์อยู่ในกำมือแล้ว
ซึ่งบางทีกายมนุษย์เองก็ไม่รู้ตัว แต่โดยมากแล้ว
มารส่งพวกของตนมาเกิดเป็นมนุษย์และสัตว์ เพื่อทำความชั่ว
และสร้างปัญหาให้กับมนุษย์และสัตว์ด้วยกัน ทำให้เป็นทุกข์
แม้มารเองก็เป็นทุกข์ด้วย แต่พวกเขาไม่แยแส ถ้ามารด้วยกันทำผิดแล้วตกนรก
พวกเขาก็ปล่อยให้ทรมานไป มารส่วนใหญ่จึงเกิดมาเพื่อทำผิด สร้างปัญหาไว้
แล้วก็ไปอบาย พอบาปมากๆ เข้า ก็กลายเป็นสัตว์เล็กๆ อย่างแมลงหวี่ เห็บ หมัด ยุง ที่แม้จะตัวเล็ก
แต่ดวงบาปเบ้อเร่อ กลายเป็นพลังงานถ่วงสะสมอยู่ในโลกธาตุ
คือมีบาปอยู่ในสรรพสัตว์มากหรือน้อยกว่ากัน เมื่อเทียบกับบุญ
แล้วมารบ้างก็ทำลายล้างผลาญกันเอง เหมือนอันธพาล ที่หลายคนอาจสงสัยว่า
เป็นมารแล้วทำไมต้องเจ็บป่วย สร้างบุญไม่ถนัด ทั้งนี้ก็เพราะ “ตรรกะ”
อันประกอบด้วยมโนธรรมของพระนิพพานนั้น ใช้กับมารโลกไม่ได้
พวกเขาอยู่กันเหมือนคนซาดิสม์โรคจิต ที่เห็นว่า “ทุกข์โทษ” เป็นเรื่องดี
เรื่องปกติ จู่ๆ ก็ไม่พอใจ ทำร้ายฝ่ายอื่น อยู่ว่างๆ ก็ทำลายกันเองอีก เอาแน่เอานอนไม่ได้
[5]
ในทางวิชชาแล้ว “มารกายมนุษย์” หรือ “มนุษมาเร”
คือมนุษย์ที่มีกายต้นสายธาตุสายธรรมเป็นกายมาร แม้กาย 18 กาย
มีธรรมกายอรหัตจะใสสะอาด นั่นเพราะ ต้นทางเป็นมาร
แต่ปลายทางเป็นฝ่ายพระเหมือนทั่วๆไป มารกายมนุษย์คือผู้ที่ “หยาบละเอียดตรงกัน”
คือกายมารส่งวิชชามาอย่างไร กายมนุษย์ทำตามทั้งหมด เรียกว่า “มนุษมาเร”
ซ้ำร้ายบางตัวเป็น มารกายมนุษย์ที่มีวิชชา “กายปลายทาง” ก็เป็นมารด้วยซะอีก เช่นมี 18
กาย เป็นกายมาร อย่าง “ธรรมกายมาร” หรือ “จักรพรรดิมาร”
พวกนี้คือ “มารเป็น” และมนุษมาเร ที่มีวิชชา บ้างทำบาปแล้วก็ใช้วิชชาตัดต่อธาตุธรรม
เล่นแร่แปรธาตุ ทำบาปแล้วไม่ตกนรก
แต่สะเดาะสายธาตุสายธรรมที่กำกับตามกฎแห่งกรรมออก กลายเป็นกายมารที่เป็นอยู่ได้ด้วยพลังงานบาป
แล้วกลับเข้ามารโลกไป แต่พวกมารที่ไม่มีวิชชาก็ตกนรกเสวยทุกข์เสวยโทษไปตามระเบียบกฎแห่งกรรม
ต้องเจ็บป่วย ต้องโดนผ่าตัดอวัยวะสำคัญๆ ทิ้ง ซึ่งมารโลกก็ไม่ช่วย เหมือนกับว่า
ส่งมาสร้างปัญหาให้มนุษย์ พอตายไปตกนรก ก็ปล่อยทิ้งไป แล้วก็ส่งตัวใหม่มาอีก คนที่เป็นมารนี้ฝ่ายสัมมาทิฐิจะนำมาร่วมเดินวิชชาไม่ได้
เพราะกายมารต้นทางจะแอบสอดละเอียดลงมาดูวิชชา หลวงพ่อสดท่านจึงทักว่า
"ไม่เห็นรึ?" เมื่อมีสมาชิกโรงงานทำวิชชา
พาสตรีคนได้ธรรมกายใหม่ๆ มาร่วมทำวิชชา แต่หลวงพ่อสดให้เชิญออกทันที
[6]
เรื่องมนุษมาเรนี้บางทีดูยากดูง่าย โดยเฉพาะกายหยาบที่ทำบุญ
ส่วนกายละเอียดเป็นมารที่เห็นก็รู้ จึงต้องดูควบคู่กันไป
เหมือนอย่างพระองคุลีมาลย์ที่ ฆ่าคนมากนับร้อย แต่ยังไม่จัดว่าเป็นมนุษมาเรครับ วิธีดูคร่าวๆ
ว่าเป็นมารหรือไม่ และเป็นกี่ส่วน ให้ “ตรัส” ในที่ประชุมญาณ หรือ “เคาะเปอร์เซ็นต์”
ว่าเป็นกี่ส่วน เป็นมากี่ชาติ
พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่าคนเราเวียนเกิดมานับภพนับชาติไม่ถ้วน
เป็นมาแทบหมดแล้วทุกอย่าง รวมถึงมารด้วย แต่มารแท้ๆ
นั้นต้องดูที่กายต้นสายธาตุสายธรรม คือกายต้นทาง ว่าเป็นกายอะไร อย่างพระพุทธเจ้ามาร
จักรพรรดิมาร รัตนะมาร กายสิทธิ์มาร บางคนเป็นแค่เพียงชั่วคราว บางภพบางชาติ
ยังฟันธงไม่ได้ว่าเป็นมาร 100% บางคนโฆษณามาตลอดชีวิตว่าจะปราบมาร
เรี่ยไรเงินไปตั้งมาก สร้างไม่รู้จบ พอเช็คดู อ่ะ ตลอดชีวิตปราบมารไปไม่ถึงสิบตัว
นับตั้งแต่หนุ่มๆ ยังแข็งแรง กระทั่งแก่แง้มฝาโลง เป็นงง
แล้วก็เม้าท์มอยหอยสังข์อยู่เป็นคุ้งเป็นแควว่าวิชชาเลิศเลอ จะปราบมารอย่างนั้นอย่างนี้
พอเช็คดูเข้าจริงๆ อ้าว.. เป็นมารซะเองอีก วิธีเช็คมนุษมาเร อย่างนี้
หรือคนมีวิชชาที่ต้องสงสัยว่าเป็นธาตุธรรมฝ่ายมาร ต้องให้เข้าวิชชาไปปะทะกับมารหัวหน้าใหญ่
ถ้าทำไม่ลงก็ไม่ใช่แล้วครับ เพราะถ้ามนุษย์เป็น “มารเป็น” ที่มีวิชชา จะทำลายมารหัวหน้าใหญ่ไม่ลง
เขาจะกระตุกสายควบคุม แต่มารมีปกติอยู่อย่างหนึ่ง คือมันจะอายเมื่อมีคนรู้จัก
และทักว่าเป็นมารครับ เพราะมันจะ “รับไม่ได้” ว่าตัวเองเป็นมาร เป็นผู้ร้าย
นั่นเองครับ ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร
ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน ภาคธรรม กับภาคจักรฯ
ใครใหญ่กว่ากัน?
[1] เป็นที่กังขากันมากสำหรับศิษย์สายวิชชาว่า
ในความเป็นจริงแล้ว ภาคจักรฯ กับภาคธรรม ใครเหนือกว่าใคร จะได้วางตัว
และเป้าหมายถูกต้อง บางท่านอยากเป็นพระจักรพรรดิ มีรัตนะเจ็ด มีสมบัติมาก
แต่ก็ไม่อยากได้ชื่อว่าเป็นรองใคร ก็เลยสับสนกันทางธาตุธรรม อธิษฐานตั้งผังแบบลองผิดลองถูกกันไป
เปลืองบุญสูญเปล่าโดยใช่เหตุครับ แม้บทความก่อนๆ ของเราจะให้รายละเอียดเรื่องพระจักรพรรดิไปมากพอสมควรแล้ว
บางท่านก็ยังงงๆ เพราะทางสำนักต้นสังกัดก็ปลูกฝังตามสืบสันดานธาตุ
อดคิดไม่ได้ว่าภาคธรรมหรือกายธรรมต้องเหนือกว่ากายจักรฯ ซึ่งเราขอตอบว่า ไม่พึงกล่าวเช่นนั้น...
[2] ทั้งนี้ก็เพราะ
ทั้งภาคธรรม และภาคจักรฯ ต่างก็สามารถตรัสเป็นพระพุทธเจ้า
และพระเจ้าจักรพรรดิราชได้ด้วยกันทั้งคู่ เพียงแต่ว่า
ภาคธรรมมีแนวโน้มจะเป็นพระพุทธเจ้าได้มากกว่าเป็นพระจ้าจักรพรรดิ
และภาคจักรฯก็มักจะตรัสเป็นพระเจ้าจักรพรรดิได้บ่อยกว่าเป็นพระพุทธเจ้า
ยกเว้นแต่จะเป็น “พระพุทธจักรฯ” ซึ่งเป็นเสมือน “พระคะแนน” ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ซึ่งเราเปรียบเปรยปรากฏการณ์นี้ได้กับยุคสมัยที่สังคมมนุษย์นับถือว่าพราหมณ์เป็นวรรณะประเสริฐสุด
(เปรียบวรรณะพราหมณ์กับภาคธรรม) หรือนับถือว่ากษัตริย์เป็นวรรณะประเสริฐสุด
(เทียบวรรณะกษัตริย์ได้กับภาคจักรฯ)
คือต่างฝ่ายต่างดีต่างเด่นกว่ากันไปตามธาตุธรรมนิยม เพราะบางวงศ์นับถือว่าภาคจักรฯประเสริฐสุด
ในขณะที่บางวงศ์อื่นนับถือว่าภาคธรรมฯ ประเสริฐสูงสุด
ก็เหมือนวรรณะกษัตริย์กับวรรณะพราหมณ์ที่สรุปฟันธงไม่ได้ว่าใครประเสริฐกว่าใคร
เพราะธาตุธรรมนิยมไม่เหมือนกันไปตามยุคสมัย
[3]
โดยเฉพาะสำนักที่สังกัดอยู่ในวงศ์ที่นิยมภาคจักรฯว่าด้อยกว่า
ภาคธรรม ก็เลยพาลมองว่าใครเป็นพระจักรฯ ก็เป็นผู้ด้อยกว่าตนเสมอไปนั่นเองครับ
อย่างไรก็ตาม ตรงนี้สำคัญมากๆ ที่เราต้องเข้าใจถูกต้องก่อนว่า "ภาคธรรม"
กับ "พระพุทธเจ้า" เป็นคนละนัยยะ และ "ภาคจักรฯ" กับ
"พระเจ้าจักรพรรดิ" ก็ไม่ใช่คำที่ใช้แทนกันเสมอไป
แต่เป็นคนละเรื่องเดียวกันครับ เนื่องจากเป็นไขว้กันได้
เพียงแต่ว่าถ้าเป็นแบบถูกธาตุถูกธรรม ก็จะเต็มในธาตุเต็มในธรรมกว่ากัน
เช่นภาคจักรฯได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หรือภาคธรรม ได้เป็นพระพุทธเจ้าครับ
แล้วยังมีข้อยกเว้นในกรณีที่บางวงศ์มีพระจักรพรรดิเป็นภาคธรรม หรือมีพระพุทธเจ้าเป็นฝ่ายธาตุ
ก็จะพิสดารไปกว่าแห่งอื่นอีก อนึ่ง
แต่ละวงศ์ก็มีความแก่ในธาตุแก่ในธรรมไม่เท่ากันด้วย อย่างเช่นภพจ้าวสี
มักจะต้องแก่กว่าในภาคจักรฯ ส่วนวงศ์ใหญ่ๆ ก็มีบางวงศ์แก่ในภาคจักรฯ
บางวงศ์แก่ในภาคธรรม ภาคใดแก่กว่าในด้านใดก็เป็นธาตุนิยมธรรมนิยมว่าดีเด่นมากกว่ากันในวงศ์นั้นๆครับ
ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ:
ตอน มื้ออาหาร กับสมบัติผู้เลี้ยง!
[1] มีผู้สงสัยถามประมาณว่า
แล้วถ้าจะ "ขึ้นทะเบียนมื้ออาหาร" เพื่อหยิบสมบัติผู้เลี้ยงมาล่ะ
จะต้องทำอย่างไร? คำตอบคือ ร้านอาหารสมัยใหม่ในปัจจุบัน
บางแห่งมีการ "ขึ้นทะเบียนจองและสำรองที่นั่ง" และ
"ขึ้นทะเบียนสั่งอาหาร" เมื่อลูกค้านั่งประจำโต๊ะอาหารแล้ว
โดยเฉพาะทางแอพพลิเคชั่นโทรศัพท์สมาร์ทโฟนครับ ยกตัวอย่างเช่น ร้านอาหาร Zen
ซึ่งบริการอาหารแบบบุฟเฟต์ สั่งแล้วเสริ์ฟ เขาให้ลูกค้าสแกน QR
Code แล้วลงทะเบียนในระบบ ด้วยหมายเลขโทรศัพท์ หรือบางแห่งก็เป็น Line
Application แล้วจึงกดสั่งอาหารผ่าน สมาร์ทโฟน ครับ
ซึ่งในขณะที่เราใช้แอพพลิเคชั่นอยู่ในร้าน เราสามารถ "แลกหยิบสมบัติผู้เลี้ยง"
ได้ครับ แถมเป็นบุฟเฟต์ด้วยซิ อิ่มอร่อยไม่อั้น ไปทุกชาติทุกภพเลยครับ
[2] มีคำถามเกิดขึ้นประมาณว่า
ถ้าเจ้าหน้าฝ่ายปกครองของรัฐฯ อย่าง ผู้ใหญ่บ้าน
สามารถเซ็นรับรองกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ ถ้าอย่างนั้น รวม "ธนบัตร"
ด้วยใช่หรือไม่? คำตอบก็คือ "ใช่" ครับ
ให้ระบุในเอกสารว่า "ธนบัตร" ใบละเท่านั้นเท่านี้
หมายเลขธนบัตรนั้นนี้ เป็นของ คุณคนนั้น นามสกุลนี้ อย่างนี้นะครับ แล้วจะหยิบสมบัติผู้เลี้ยงได้ครับ
ส่วนว่า การหยิบสมบัติผู้เลี้ยงประจำ "ธนบัตร"
โดยให้ผู้ใหญ่บ้านเซ็นรับรองความเป็นเจ้าของ ควรร่างเอกสารอย่างไร ผมเห็นว่าจะต้องอ่านตัวบทกฎหมายประกอบก่อน
จึงจะร่างได้ อย่างไรก็ตาม เดี๋ยวนี้เงินสดที่อยู่ในระบบออนไลน์ คือ “อินเตอร์เน็ตแบ็งค์กิ้ง”
ที่อยู่ในแอพพลิเคชั่นธนาคารต่างๆ ก็สามารถหยิบสมบัติผู้เลี้ยงได้ หากอยู่ในบัญชีที่มีชื่อนามสกุลบุคคลเป็นเจ้าของครับ
ก็สามารถหยิบได้เลย โดยไม่ต้องรับรองอะไร แต่สมบัติผู้เลี้ยงที่หยิบได้
จะวิชชาดีเท่าของธนบัตรหรือไม่ ก็ยังไม่อาจรับรองได้ครับ.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร
ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 15
มีนาคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน จิปาถะ กับสมบัติผู้เลี้ยง
[1] เราผ่านมาหลายบทความแล้วนะครับ
เกี่ยวกับเรื่อง “สมบัติผู้เลี้ยง” ซึ่งโดยมากแล้ว จะต้องเป็นทรัพย์สิน,
สิ่งของ, ทรัพย์สินทางปัญญา, อสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆ ที่มีการจดทะเบียน หรือขึ้นทะเบียนผู้เป็นเจ้าของ
ทั้งนี้ บางท่านก็อาจจะสงสัยว่า แล้วทรัพย์สินที่ไม่มีการขึ้นทะเบียน อย่าง
สร้อยคอ, แหวน, เครื่องประดับ, เสื้อผ้า, ปากกา, วัตถุมงคล, นาฬิกา, น้ำหอม, เครื่องซักผ้า,
โทรทัศน์, เครื่องสำอาง และอื่นๆ จะ “แลกหยิบสมบัติผู้เลี้ยง” ได้อย่างไร?
[2] คำตอบก็คือ
เราสามารถหยิบได้ ถ้าเรานำทรัพย์สิน สิ่งของเหล่านั้น ไปขึ้นทะเบียนก่อนครับ
โดยอาจนำหลักฐานอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ที่ส่งมาทางไปรษณีย์ หรือผู้ให้บริการขนส่งสินค้า
ที่มีชื่อที่อยู่เราในฐานะผู้รับอย่างชัดเจน และ/หรือ ใบเสร็จรับเงิน
และ/หรือ ใบขึ้นทะเบียนรับประกันสินค้า นำมาให้ Notary
Public หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจร้อยเวร หรือ ข้าราชการของรัฐ อย่าง ศาล,
สถานทูต, สถานกงสุล, เจ้าหน้าที่ตำรวจ, เจ้าหน้าที่ทหาร,
อ.บ.ต., กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน หรืออื่นๆ ได้ทำบันทึกประจำวัน, ใบรับรอง หรือเอกสาร
ที่ลงนาม และ/หรือ ประทับลายนิ้วมือ และ/หรือ ตราประจำตำแหน่ง โดยต้องไม่ลืมติด “อากรแสตมป์” เพื่อยืนยันว่า
ทรัพย์สิน สิ่งของเหล่านั้น เป็นของเราจริง ตามหลักฐานที่มี
[3] ดังนี้แล้ว
ก็เท่ากับเป็นการ “ขึ้นทะเบียนในวิชชา” เพื่อรับรองกรรมสิทธิ์
อันเป็นเหตุให้เราสามารถแลกหยิบสมบัติผู้เลี้ยงได้ครับ ดังนี้แล้ว ย่อมหมายความว่า
ทรัพย์สินต่างๆ ส่วนใหญ่ สามารถ แลกหยิบสมบัติผู้เลี้ยงได้แทบทั้งนั้น
ด้วยวิธีการนี้ แต่เราอาจจะต้องจ่ายค่ากำเน็จให้กับผู้มีสิทธิ์และอำนาจในการรับรอง
ทั้งในละเอียดคือวิชชา และหยาบภายนอกครับ ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 15 มีนาคม
พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ:
ตอน อสังหาริมทรัพย์ กับสมบัติผู้เลี้ยง
[1] อสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายอย่าง
ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ที่บุคคลมีชื่อของตนเองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ในโฉนด
สามารถแลกหยิบสมบัติผู้เลี้ยงออกมาครอบครองได้ กล่าวคือ
ที่ดินจะมีสมบัติผู้เลี้ยงอยู่ในรูปของ “ดวงธรณินทร์”
สิ่งปลูกสร้างมีสมบัติเป็น “ก้อนอิฐทอง” และด้วยสมบัติผู้เลี้ยงนี้ จะส่งผลประมาณ
70% - 100% ให้บุคคลได้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ผู้มีสิทธิ์และอำนาจเต็มในอสังหาริมทรัพย์นั้นอยู่เสมอๆ
ในแต่ละภพชาติ
[2] ส่วนผู้ที่มีชื่อของตนเป็นชื่ออาคาร,
สะพาน, ถนน, ตรอกซอย, แม่น้ำลำคลอง, เขื่อน, ซุ้มประตู, เขตเมือง, เขตการปกครอง และสถานที่
ซึ่งใช้ชื่อบุคคลเป็นชื่อสิ่งเหล่านั้น หากในขณะยังมีชีวิตอยู่ ได้มีการใช้ชื่อของตนในสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นแล้ว
ก็จะสามารถหยิบสมบัติผู้เลี้ยงออกมาใช้ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น “กุญแจทอง” หรืออื่นๆ
ที่ให้ผลในลักษณะของ "สิทธิ์" เป็นเหตุให้มีสิทธิ์ในการใช้สอยสิ่งก่อสร้าง
แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์อันเป็นอำนาจในการครอบครอง เหมือนอย่างเจ้าของโฉนดสิ่งก่อสร้าง
หรือประเทศชาติผู้เป็นเจ้าของสาธารณสมบัติร่วมกันครับ
[3] ยกตัวอย่างเช่น พระอารามเชตวัน
ซึ่ง "เจ้าเชต" ทรงสร้างเพียงซุ้มประตู ส่วนสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ
และที่ดิน เป็นธรณีสงฆ์ที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้บริจาคสร้าง หากเจ้าเชตทรงหยิบสมบัติผู้เลี้ยงออกมา
เจ้าเชตอาจจะได้ “กุญแจทอง” ที่ส่งผลให้มีสิทธิ์ใช้สอยที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่อยู่เป็นปกติ
แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ครอบครอง, ซื้อขาย, แลกเปลี่ยน, แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงใดๆ
แต่ถ้าหากละสังขารแล้ว ยังไม่ได้หยิบสมบัติผู้เลี้ยงออกมา ก็เป็นอันหมดสิทธิ์ครับ
เพราะสมบัติผู้เลี้ยงจะถูกดึงกลับเข้าไปเก็บรักษาในภพของผู้เลี้ยงผู้รักษา
เนื่องจากหมดหน้าที่เลี้ยงรักษาเมื่อบุคคลนั้นๆ พ้นสมัย หรือหมดอายุขัยลงแล้วครับ
ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย
พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่
14 มีนาคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน
ขนมปังช่วยจำ กับสารพันดวงวิชา
นานาสาระน่าสนุกใช่ไหมครับ
และคุณก็จะไม่ผิดหวังกับคำว่า "รจนาธร" ซึ่งนานๆ
จะมีมาสักองค์ครับ สำหรับบทความนี้เราจะมากล่าวบทไปถึงขนมปังช่วยจำของโดราเอมอนครับ
ซึ่งพอนำขนมปังวิเศษมาแปะหน้าหนังสือ แล้วรับประทานลงไป ผู้รับประทานก็จะสามารถจดจำวิชาความรู้ได้
แต่ในบทความนี้ เราจะกล่าวถึง “คณิตลิขิตภัณฑ์” หรือ “แอพพลิเคชั่น”
และ “ซอฟท์แวร์” ของอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ อย่างสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ท
และเดสก์ท็อปคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีทั้งแบบดาวโหลดมาใช้ฟรี กับแบบเสียเงินซื้อ ไม่ว่าจะเป็นจ่ายครั้งเดียว
หรือรายเดือน ซึ่งเราจะต้องลงทะเบียนผู้ใช้แทบทุกอย่าง ถ้าหากเราลงทะเบียนอย่างถูกต้องตรงตามจริง
กระทั่งมีสิทธิ์ในการใช้สอย “คณิตลิขิตภัณฑ์” คือ แอพพลิเคชั่น
และซอฟท์แวร์ เหล่านั้นแล้ว เราก็จะมีสิทธิ์ “แลกหยิบ” สมบัติผู้เลี้ยงประจำ
“คณิตลิขิตภัณฑ์” อันหมายถึง แอพพลิเคชั่น และซอฟท์แวร์เหล่านั้นมาใช้ได้
ซึ่งสมบัติผู้เลี้ยงมักจะอยู่ในรูปของ "ดวงวิชา" ซึ่งจัดเป็น “ดวงแก้วทิพย์”
อย่างหนึ่งครับ ลองคิดดูนะครับว่า หากเราช็อปปิ้งดาวโหลดแอพพลิเคชั่นที่น่าสนใจตามปรารถนา
แล้วหยิบสมบัติผู้เลี้ยงจากแอพพลิเคชั่นพจนานุกรม หรือหนังสืออิเลคทรอนิคส์
หรือแผนที่ และพิกัดจีพีเอส หรือโปรแกรมตรวจไวยากรณ์และแปลภาษาอัตโนมัติ,
โปรแกรมคำนวณและเครื่องคิดเลขและอื่นๆ แล้วนำดวงวิชามาใช้ อะไรจะเกิดขึ้นครับ?
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร
ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
14 มีนาคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอนพิเศษสุดๆ สมบัติผู้เลี้ยงประจำ
“ธนบัตร”
[1]
ใครๆ ก็อยากรวย! อ้าว
ปกติจะเห็นขึ้นต้น take off อย่างเนี้ยบๆ
มีการอ้างถึงโน่นนี้นั่น แต่ในวันนี้ไม่ขออารัมภบทอะไรมากครับ บอกมาตรงๆ เลยว่า “คุณเองก็อยากรวย”
ใช่หรือไม่? แล้วก็เป็นคำถามค้างคาใจของใครหลายๆ คนว่าทำไม “ผู้ทรงวิชชา”
ถึงไม่รวย บางแห่งเขาไม่ใช้วิชชา เขายังรวยกว่า บทความนี้จึงขอปล่อยหมัดตรง น็อค “ความจน”
ให้กับผู้ทรงวิชชาครับ
[2]
โดยที่ธนบัตรของประเทศต่างๆ ที่มีมูลค่ามากบ้าง น้อยบ้าง
นอกจากจะมีกายสิทธิ์รักษาแล้ว ก็มีผู้เลี้ยงคอยกำกับวิชชาด้วยสมบัติผู้เลี้ยงด้วยเช่นกัน
โดยอาจอยู่ในรูปของใบไม้เสกเหมือนใบต้นกฐินผ้าป่า,
บัตรอธิษฐาน เหมือนที่แขวนต้นทานาบาตะ หรือมิฉะนั้นก็เป็นเหรียญ แต่ธนบัตรนั้น
ไม่มีการจดทะเบียนความเป็นเจ้าของ เพราะถือเป็นทรัพย์สินของทางราชการ ไม่เหมือนอย่างแคชเชียร์เช็ค
ที่ระบุชื่อเจ้าของทรัพย์ไว้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม คุณรู้หรือไม่ว่า การจะหยิบสมบัติผู้เลี้ยงประจำธนบัตรออกมาใช้นั้น
สามารถทำได้โดยผู้ที่มีลายเซ็นของผู้มีอำนาจหน้าที่พิมพ์เอาไว้อยู่บนธนบัตร
เช่นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ และรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง (ไม่ใช่จู่ๆ เราหรือใครๆ
จะหยิบปากกามาเซ็นบนธนบัตรได้เองนะครับ) ซึ่งสมบัติผู้เลี้ยงที่หยิบออกมา
จะสามารถนำมาจำหน่ายจ่ายแจกให้ผู้อื่นใช้ได้ มิได้จำกัดเฉพาะผู้มีลายเซ็นเท่านั้น
[3]
ดังนี้แล้วก็สรุปได้ว่าเราจะ “รวย!” กันอย่างสบายๆ แล้วล่ะทีนี้ เพราะสมบัติผู้เลี้ยงประจำธนบัตรจะ
“ส่งฤทธิ์” คอยดึงทรัพย์ธนบัตรมาสู่บุคคล อยู่เรื่อยๆ
ทำให้มีธนบัตรเงินสกุลใช้สอยอยู่ไม่ขาด ไม่มีวันหมด จะว่าไปก็คล้ายกับการมี “เงินก้นถุง”
ติดตัวนั่นล่ะครับ ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร
ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน โซเชียลมีเดีย กับสมบัติผู้เลี้ยงฯ
[1]
ในยุคปัจจุบัน ที่โลกของเรามีวิทยาการก้าวหน้า ดวงตราประกาศิต
หรือ แบรนด์ในรูปลักษณ์ของโลโก้, เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่,
บัญชีแอพพลิเคชั่นโซเชียลมีเดีย และเว็บไซท์ (domain name) ล้วนมีการลงทะเบียนรับรองการใช้งานทั่วโลก
อีกทั้งมีการประเมินราคาเว็บไซท์, แบรนด์, และเบอร์สวย กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยอันเป็นคุณลักษณะที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการใช้งาน
และกิตติศัพท์ของบริการ และผลิตภัณฑ์ รวมถึงวิชชาที่ส่งมาหล่อเลี้ยง ทำให้เป็นที่จดจำ,
รู้จักแพร่หลาย และเชื่อมั่นของผู้คนสังคม
[2]
ท่านทราบหรือไม่ว่าแอพพลิเคชั่นโซเชียลมีเดีย (social
media application), ที่อยู่เว็บไซท์ (domain name), แบรนด์สินค้า (brand), ดวงตราสัญลักษณ์ประจำตัวบุคคล,
หน่วยงาน และองค์กร (logo & emblem), รวมถึงโทรศัพท์เบอร์สวยที่ใช้แล้วถูกโฉลก
ซึ่งมีการจดทะเบียนอย่างถูกต้องกับหน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชนก็ตาม ที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีสิทธิ์,
อำนาจ และหน้าที่ ซึ่งได้รับกำลังหล่อเลี้ยงรักษาจากภาคผู้เลี้ยงของประเทศ
จะมีสมบัติผู้เลี้ยงฯ จากภพเจ้าของวิช(ช)า คอยส่งฤทธิ์กำกับการใช้งานอยู่
ซึ่งเราสามารถนำ “ธาตุบุญ” มาแลกหยิบได้ โดยเฉพาะในยามที่สิ่งเหล่านั้นอยู่ใน
"ขาขึ้น" คือกำลังเป็นที่แพร่หลาย เป็นที่รู้จัก และนิยมชมชอบ
รวมถึงได้รับความเชื่อถือจากผู้คนในสังคมในวงกว้าง เรทติ้งสูงสุด
ซึ่งเป็นช่วงที่สมบัติผู้เลี้ยงมีกำลังมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งเราสามารถเผยแพร่สิ่งอันเป็นอัตลักษณ์
และข้อมูลข่าวสาร ให้เป็นที่รู้จักทั่วโลกได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม สมบัติผู้เลี้ยงฯ
ที่คอยส่งฤทธิ์ให้กับสิ่งต่างๆ เหล่านั้น อาจจะมีรูปแบบต่างๆ กันไป เช่น
ดวงตราประกาศิต (ทั้งแบรนด์ และโลโก้) จะมีสมบัติผู้เลี้ยงอยู่ในรูปของ “ดวงแก้วประกาศ”
ซึ่งจัดเป็น “แก้วมณี” ประเภทหนึ่ง
ซึ่งส่งฤทธิ์ให้ผู้เป็นเจ้าของมีกิตติศัพท์ขจรขจายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง
ในขณะที่เว็บไซท์ (domain name) และแอพพลิเคชั่นโซเชียลมีเดีย
(social media application) ต่างๆ มักจะมีสมบัติผู้เลี้ยงอยู่ในรูปของ
“จักรฯประกาศ” ซึ่งจัดเป็น “จักรรัตนะ” ของทิพย์ประเภทหนึ่ง ที่ส่งฤทธิ์ให้งานประชาสัมพันธ์สื่อสารมวลชนแพร่หลายออกไปในวงกว้าง
ในทำนองเดียวกับแก้วประกาศ ส่วนเบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่เป็นเบอร์สวย
ถูกโฉลกผู้ใช้ และเป็นที่รู้จักมากแล้ว อย่างเบอร์ศูนย์บริการตอบรับ (call
centre) จะมีสมบัติผู้เลี้ยงอยู่ในรูปของ “โทรโข่งทอง”
เป็นอาทิ
[3]
สมบัติผู้เลี้ยงเหล่านี้
แม้จะเป็นโซเชียลมีเดียที่สมัครใช้งานกันง่ายๆ หรือแม้แต่เว็บไซท์
ที่ดูแล้วไม่ยากอะไรนักในการจดทะเบียนใช้สอย แต่กลับมี “ราคาธาตุ” แพงมาก
เพราะเป็น “ค่าวิชชา” ของผู้ที่ส่งวิชชาลงมาให้เกิดมีขึ้น ซึ่งท่านที่มี “ธาตุบุญ”
มากพอจะซื้อ และประสงค์จะได้อานิสงส์จากสมบัติผู้เลี้ยงติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ
ไม่ต้องเสียเวลามาค้นวิชชา ส่งวิชชา ทำเอง ก็นับว่าคุ้มมากครับ
เพราะสมบัติผู้เลี้ยงที่ซื้อมา ตอนกำลังโด่งดังเป็นที่นิยมนั้น
เป็นสมบัติผู้เลี้ยงที่มีฤทธิ์มากที่สุด และเมื่อซื้อมาแล้ว หากเรานำมาใช้งาน ก็จะสามารถรักษาความสำเร็จ
ความโด่งดังมีชื่อเสียง ของตนเอง, หน่วยงาน, องค์กร อีกทั้งผลิตภัณฑ์ และการบริการ
ได้ตลอดต่อไป ซึ่งสมบัติผู้เลี้ยงจะมีส่วนส่งเสริมประมาณ 30 – 70% ของผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นส่วนหยาบ ขึ้นอยู่กับระดับขั้นของสมบัติผู้เลี้ยง
ซึ่งอาจเปรียบได้กับ ชั้นเกรด A, เกรด B, เกรด C, เกรด D, เกรด E
ซึ่งตอนที่เริ่มต้นทำแบรนด์ใหม่ๆ ผู้เลี้ยงมักจะนำสมบัติระดับแรกๆ
มาใช้ เช่นเกรด D หรือ เกรด E ให้พอเหมาะพอสมกับความจำเป็นใช้
ในขณะที่ยังไม่โด่งดังมาก และเมื่อเลี้ยงไปเรื่อยๆ กระทั่งเป็นที่นิยม
ก็จะเปลี่ยนเป็นเกรด B หรือ เกรด A ครับ
ซึ่งถ้าเราจะนำธาตุบุญมาแลกหยิบใช้ ก็ควรจะเป็นเกรด B เป็นอย่างน้อย
ซึ่งส่งเสริมงานได้ถึงประมาณ 50 – 60% ของผลลัพธ์ส่วนหยาบครับ
ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน
สร้างพระพุทธรูปถูกธาตุธรรม
[1] ชาวไทยพุทธเรานิยมหล่อพระกันมากครับ
ทั้งองค์เล็กองค์ใหญ่ขนาดต่างๆ กันไป ตามที่ผมเคยนำเสนอไว้แล้วว่า
พระพุทธรูปปางจักรพรรดิ มีอานิสงส์ต่างจากปางพระพุทธเจ้า คือ ปางพระจักรพรรดิจะส่งผลานิสงส์เด่นด้าน
"ความล้ำค่า" ในขณะที่ปางพระพุทธเจ้า จะมีผลานิสงส์เป็น "ความสงบ"
ซึ่งหลายๆ ท่านมักจะคิดว่า ปางพระจักรพรรดิน่าจะดีเลิศประเสริฐกว่า และ “ทำให้รวย”
เพราะมีเครื่องประดับมาก แลดูมั่งคั่ง ซึ่งบางครั้งก็เป็นจริง
โดยเฉพาะเมื่อประดับอัญมณีแท้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อานิสงส์โดยเนื้อแท้
จะขึ้นอยู่กับ “ความถูกธาตุถูกธรรม” ของผู้สร้าง และ “ส่วนหยาบ” คือรูปลักษณ์ภายนอกของพระพุทธรูป และ “ส่วนละเอียด” ที่ลงสถิตซ้อน
[2] สำหรับบทความนี้ เราจะกล่าวถึงการ
"สร้างพระให้ถูกธาตุถูกธรรม" ครับ กล่าวคือ
บุคคลใดมีสายธาตุสายธรรมมาอย่างไร เช่นเป็นพระองค์ธรรม, เป็นพระจักรฯ หรือเป็นพระรัตนบุคคล
(พระมณี, ขุนพลแก้ว, ขุนคลังแก้ว, นางแก้ว, บุรุษแก้ว, ช้างแก้ว, ม้าแก้ว) การสร้างพระให้ตรงสายธาตุสายธรรมของตนนั้น
ก็จะส่งเป็นผลานิสงส์ที่มาก และได้ "บุญฤทธิ์อิทธิคุณ"
มากตามไปด้วย เช่นผู้ที่เป็น "พระองค์ธรรม
จากภาคขาว" สร้างพระพุทธประธานปางพระพุทธเจ้าภาคธรรมลงรักปิดทอง
ซ้อนส่วนจากภาคขาว ก็จะมีอานิสงส์ใหญ่ เพราะถูกธาตุถูกธรรมของตนเอง หรือ "พระจักรฯ
ภาคแดง" สร้างพระพุทธรูปปางจักรพรรดิลงรักปิดทอง
ซ้อนส่วนละเอียดจากภาคแดง ก็จะมีอานิสงส์มาก และยิ่งถ้าหากสร้างเป็นพระจักรพรรดิเรซินสีแดงด้วยแล้ว
ยิ่งมีอานิสงส์แรงเข้าไปใหญ่ เหมือนนำผัดไทยที่ตนชอบรับประทาน ใส่บาตรถวายพระไทยที่ชอบฉันผัดไทยเหมือนกัน
หรือผู้ที่ถือศีลกินเจ นำอาหารเจใส่บาตรถวายหลวงจีน เป็นความ “ถูกโฉลก” กัน
[3] การสร้างพระแบบถูกธาตุถูกธรรมเช่นนี้
เหมือนการตอกตะปูลงแผ่นไม้สร้างบ้านที่ “ย้ำความแน่น” กล่าวคือ
พระองค์ธรรมที่สร้างพระปางพระพุทธเจ้า ลงซ้อนส่วนพระพุทธเจ้าสังกัดสีเดียวกันตน
จะทำให้บุญและอานิสงส์ที่ได้ ส่งให้รู้สึก “แน่นในวิชชาธรรมแห่งสีของตน” (เช่นสมาชิกภาคเขียว
สร้างพระพุทธเจ้าภาคเขียวลงส่วนสถิต แม้พระพุทธรูปของหยาบจะเป็นสีทอง) แต่ถ้าเป็นพระจักรฯภาคเขียว
สร้างพระพุทธรูปปางจักรพรรดิอันมีพระพุทธจักรพรรดิภาคเขียวลงซ้อนส่วน ก็จะยิ่งทำให้รู้สึก
“หนักแน่นในวิชชาจักรฯ” ประจำสีของตน
[4] แม้ชาวพุทธเรานิยมสร้างพระเป็นสีภายนอกหลักๆ
ไม่กี่สีเท่านั้น คือสีขาว สีทอง สีเงิน สีโลหะ แต่ในปัจจุบันนี้ ด้วยเทคโนโลยี
และวัสดุประดิษฐ์ที่ทันสมัยขึ้น ก็มีการหล่อพระปางพระพุทธเจ้า และปางพระจักรพรรดิ
เป็นเรซินหลากสี สามารถซื้อหามาถวายผู้ทรงคุณ หรือสำนัก วัดวาอาราม
ที่ตรงสายธาตุสายธรรมได้ครับ อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมการหล่อพระของผู้ทรงวิชชา
ก็มีรายละเอียดบางประการที่ต้องใส่ใจ เช่นการหล่อพระ หรือถวายพระพุทธรูป "ข้ามภาค"
นั้น เช่นสมาชิกวงศ์สีเหลือง จะสร้างพระลงซ้อนส่วนจากวงศ์สีน้ำเงิน
ก็มักจะไม่นิยมทำกัน ยกเว้นในบางกรณี หรือการสร้างพระที่เป็นภาคหนึ่งของตนมาก่อน
ก็ไม่นิยมทำ ยกเว้น “หมู่คณะ” จะทำให้ หรือมี “เจ้าภาพ” ทำให้
และการสร้างพระของภาคเดียวกับตน หรือภาคอื่น ก็ต้องมีพิธีรีตองในการเชิญ การประชุมวิชชา
การจ่ายค่าลงซ้อน และอื่นๆ
[5] ด้วยธรรมเนียมต่างๆ เหล่านี้ บางทีทำให้ผู้ทรงวิชชารู้สึก
"ยุ่งยาก" อยู่บ้าง จึงมีผู้ทรงวิชชาจำนวนไม่น้อยที่นิยมหล่อ "สมเด็จองค์ปฐมบรมครู"
ซึ่งทรงมีทั้งปางภาคพระพุทธเจ้า และปางภาคจักรพรรดิทรงเครื่อง
และมีความเป็นกลางสำหรับภาคอื่นๆ สีอื่นๆ ในการหล่อ ลงซ้อน และคำนวณเฉลี่ยจ่ายบุญ
ซึ่งตกลงกันได้ง่ายกว่าครับ ในขณะที่พระต้นธาตุต้นธรรมนั้น หากจะหล่อ
ก็มักจะต้องเป็นสำนัก ที่มีสายธาตุสายธรรมเดียวกันเท่านั้น หรือมิฉะนั้น
ก็สร้างพระโดยเชิญส่วนของผู้ทรงคุณที่อยู่ในภาคเดียวกันลงซ้อน เช่นสมาชิกวงศ์ชมพู
สร้างพระ ก็เชิญจ้าวชมพู หรือพระพุทธเจ้าภาคชมพู หรือพระพุทธจักรพรรดิภาคชมพูลงซ้อนส่วน
หรือถ้าสำหรับวัดและสำนักโดยทั่วไปที่ไม่เน้นวิชชา ก็เป็นส่วนขององค์สมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดาของพระพุทธศาสนาในพุทธกาลปัจจุบัน ซึ่งทรงสังกัดสีอยู่ด้วย
ทำให้สำนักวิชชาบ้างก็ไม่นิยมสร้าง เพราะบางทีจะทับซ้อนวิชชาของกันและกัน แต่มักจะสร้างพระเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแทนครับ
ซึ่งมีอานิสงส์ครบถ้วน เหมือนทำความดีกับนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน
ซึ่งสามารถตัดสินใจให้คุณให้โทษ ในงานราชการแผ่นดินสมัยปัจจุบันได้
เมื่อเทียบกับอดีตนายกรัฐมนตรี คือพระพุทธเจ้าในอดีตที่พ้นสมัยไปแล้ว ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์
(รจนาธร)
วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ:
ตอน “โฉนดบุญ”
ใบเสร็จรับเงินโฉนดที่ดิน
ที่ทางวัดหรือสำนักสงฆ์ออกให้ผู้บริจาคนั้น เป็นเสมือน “หนังสือสำคัญสิทธิ์”
ซึ่งมีคุณค่ามากในกรณีที่เป็น “ธรณีสงฆ์” หรือ “สาธารณสมบัติ” แม้จะมิได้แสดงถึง
"ที่ดิน" ที่ผู้ถวายจะได้เป็นเจ้าของ แต่เป็น "สิทธิ์"
ที่ผู้ถวายมีต่อสมบัติพระศาสนา ซึ่งแต่ละวัด หรือสำนักสงฆ์
ก็ใส่จำนวนเขตพื้นที่ดินมากน้อยไม่เท่ากัน ถ้าเราอาศัยโฉนดนี้ "คว้าสมบัติผู้เลี้ยง"
ออกมา ก็จะได้ในส่วนของ "พร" ที่ระบุไว้ในโฉนด ซึ่ง “ศักดิ์สิทธิ์”
และมีตัวแปร (ขนาดที่ดิน) ที่เป็น “ขอบเขตอันตั้งค่าคำนวณได้” มากน้อยไม่เท่ากัน
แต่ผู้ที่
"เล่นสิทธิ์เป็น" อาจจะสามารถ นำสิทธิ์ในสมบัติพระศาสนาตามใบเสร็จโฉนดที่ดิน
มาคำนวณตั้งเป็นผังสมบัติที่ดินให้กับตนเองได้ ซึ่งผู้ที่มีสิทธิ์ในที่ดินมากๆ
มีผลคืออาจจะได้ “ศักดินา” โดยขึ้นอยู่กับยุคสมัย ว่าได้เฉพาะ “ศักดิ์” และ/หรือ “สิทธิ์” และ/หรือมี “อำนาจ”
ประกอบด้วย ถ้าเป็นยุคที่ไม่สามารถได้ศักดินา ก็จะได้สิทธิ์และอำนาจปกครอง
อย่างนิติบุคคลของหมู่บ้านจัดสรร, อาคารห้องชุดคอนโดมิเนียม, นิคมอุตสาหกรรม
และอื่นๆ แต่ถ้าปรารถนาทิพยสมบัติ ก็สามารถแปลงเป็น “ทิพยวิมานสมบัติ” ที่กว้างใหญ่
ส่วนว่าถ้าหากประสงค์จะได้ที่ดินของหยาบที่จับต้องได้ (ธรณีสมบัติ) เป็นของตนเอง
ต้องนำโฉนดนั้นมา "แลกสิทธิ์" แล้วนำ “ธาตุบุญ”
ที่แลกได้มาตั้งผังธรณีสมบัติ หรือซื้อธรณีสมบัติในวิชชา ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน
ซึ่งต้องใช้มาก หรืออสังหาริมทรัพย์ และอาคารห้องชุด
(คอนโดมิเนียม) ซึ่งใช้น้อยกว่า
นอกจากนี้
ยังสามารถนำดวงสิทธิ์ในธรณีสมบัติพระศาสนา ซึ่งอาจจะได้มาโดยเรียก “สมบัติผู้เลี้ยง”
จากใบเสร็จโฉนดที่ดิน หรืออื่นๆ ไปติดต่อ "พระธรณี" ขอให้พระธรณี "แปลงเป็นธรณีสมบัติให้" อีกวิธีก็คือ ก็นำ "บุญธรณีธาตุ"
และ/หรือ “สิทธิสมบัติ” ในใบเสร็จโฉนดที่ดิน
มาให้พระธรณีแปลงเป็น "ธรณีสมบัติ" ให้
โดยอาจต้องจ่ายให้พระธรณีด้วยครับ.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย
พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่
12 มีนาคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน สัมพันธภาพแห่งธาตุและธรรม
โดยหลักแล้ว โลกธาตุของเรามี “ธาตุ” อยู่ด้วยกัน 6 อย่าง และ “ธรรม” 3 อย่าง
ซึ่งมีคุณลักษณะและหน้าที่ อันกอปรเป็นสัมพันธภาพต่อกันและกันดังนี้
(1A) ธาตุดิน: ทำให้ขึ้นรูป เป็นรูปลักษณ์ที่มวลแน่นมากหรือน้อย
(2A) ธาตุน้ำ: ทำให้เย็น และเกิดความยืดหยุ่นในรูป
(3A) ธาตุลม: ทำให้เกิดแรงดัน เพื่อให้ธาตุที่ประชุมกันเกิดพลังปราณเดินหมุนเวียนขับเคลื่อน
(4A) ธาตุไฟ: ทำให้เกิดความร้อน ไฟฟ้า ความสว่าง
และเผาผลาญ
(5A) ธาตุอากาศ: คือพื้นที่ว่างสำหรับธาตุต่างๆ
ประชุมรวมกัน
(6A) วิญญาณธาตุ: คือความรู้ได้
ซึ่งทำให้ธาตุที่ประชุมอยู่นั้น “เป็น”
(1B) กุศลธรรม: ทำให้ส่วนละเอียดของธาตุสะอาด
และรู้เป็นดี
(2B) อกุศลธรรม: ทำให้ส่วนละเอียดของธาตุสกปรก
และรู้เป็นชั่ว
(3B) อัพยากตาธรรม:
ทำให้ส่วนละเอียดของธาตุไม่สะอาดและไม่สกปรก และรู้ไม่เป็นดีไม่เป็นชั่ว
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน กายสิทธิ์ในทานวัตถุ
พระเดชพระคุณพระเทพญาณมงคล (เสริมชัย
ชัยมังคโล) อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายารม จังหวัดราชบุรี ได้เคยเมตตาสอนเอาไว้ว่าวัสดุในโลกเรานี้ล้วนมีกายสิทธิ์สถิตอยู่ด้วยกันทั้งนั้น
ไม่ว่าอะไร ต่างแต่เพียงว่า มีมากหรือน้อย ฯลฯ ด้วยคำสอนนี้ ข้าพเจ้าจึงพบว่า
เราจะได้บุญมากกว่าปกติ ถ้าเราทำบุญด้วย “ทานวัตถุ” อันเป็นทรัพย์สินสิ่งของ
ที่มี (1) กายสิทธิ์สะอาด (2) กายสิทธิ์คุณภาพและประสิทธิภาพดี
(3) กายสิทธิ์ขนาดใหญ่ (4)
กายสิทธิ์จำนวนมาก (5) กายสิทธิ์มีฤทธิ์หรือพลังมาก (6)
กายสิทธิ์ทรงวิชชามาก (7) กายสิทธิ์มีคุณความเลอค่าสูง
(8) กายสิทธิ์ถูกธาตุถูกธรรมต่อผู้รับทาน เช่นถวายดอกไม้สีแดง
ต่อพระจักรฯภาคแดง และ (9) อื่นๆ
ทั้งนี้ ปกติแล้วกายสิทธิ์จะ “ลงรักษามาก” สำหรับสิ่งที่มีคุณค่ามาก และสวยงามล้ำค่า หรือไม่ก็เป็นสิ่งที่มนุษย์ให้ความสำคัญ ซึ่งมีทั้งกายสิทธิ์ที่ “ภพเจ้าของธาตุ” ส่งลงมาสถิตแต่เดิมแรกเริ่มประชุมมวลขึ้นเป็นวัสดุ อย่างเช่นทราย หินสี โลหะ หรือเป็นกายสิทธิ์ที่ถูกส่งลงมาสถิตหลังจากที่วัสดุถูกนำมาสร้างเป็นวัตถุสิ่งของแล้ว เช่นช่อฟ้า กำแพง ประตู เครื่องประดับ รูปหล่อโลหะ รถยนต์ และอื่นๆ ซึ่งวัสดุหรือวัตถุใดที่มีกายสิทธิ์ลงรักษา ก็จะมี “ส่วนละเอียด” ที่ทรงสภาพได้ดี มีผลเนื่องมาถึงส่วนหยาบ ทำให้ส่วนหยาบทรงคุณค่าและมีสภาพดีไปตามกาลเวลา แต่ถ้าส่วนละเอียดแย่ หรือเสียหาย ส่วนหยาบมักจะแย่ลงตามไปด้วยอย่างผิดธรรมชาติ เช่นหากเรามีลูกแก้วหินจุยเจีย แล้วนำดอกไม้จริงหอมสดชื่นมาบูชา กายสิทธิ์จะเสวยกลิ่นหอมนั้น แล้วลูกแก้วจะดูแวววาวน่าพิสมัยเป็นพิเศษ แต่ถ้ากายสิทธิ์ในลูกแก้ว ต้องรบกับมาร หรือไสยเวทย์ แล้วส่วนละเอียดอันเป็นทิพย์เกิดเสียหาย ลูกแก้วส่วนหยาบก็จะดูโรยๆ ไม่ทรงพลังเหมือนก่อน หรือถ้าใช้อุปกรณ์ตรวจวัดกัมมันตรังสี หรือคลื่น “กระแสไฟฟ้าเพียโซอิเล็คทริค” ซึ่งเป็นพลังธรรมชาติที่ประจุอยู่ในหินควอทซ์อย่างแก้วจุยเจีย ก็จะพบว่ามีกำลังอ่อนลง
แม้เราจะไม่สามารถสรุปแบบฟันธงได้ว่า ลักษณะของกายสิทธิ์ข้อ (1) ถึง (8) ที่ดีกว่าและมากกว่า จะทำให้ได้บุญมากเสมอไป แต่ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะเป็นเช่นนั้น อีกทั้ง “เครื่องธาตุเครื่องธรรม” ก็จะนำคุณลักษณะของกายสิทธิ์ในข้อ (1) ถึง (8) มาเป็นข้อมูลป้อนเข้าเครื่องฯ อีกประการหนึ่ง สำหรับคำนวณตามสูตรกฎแห่งกรรม ในฐานะของ “ทานวัตถุบริสุทธิ์” ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์คุณที่ทำให้การถวายทานได้บุญมาก ถึงแม้เรื่องกายสิทธิ์จะเป็นเพียงเรื่อง “ส่วนละเอียดอันเป็นทิพย์” ของทานวัตถุเท่านั้นก็ตาม แต่ถ้าทั้งส่วนหยาบและส่วนละเอียด “ตรงกัน” บุญที่ได้จากการถวายทานวัตถุนั้น ก็จะยิ่งมาก เช่น ทำบุญด้วยดอกไม้อันงดงามสดใหม่จากต้น โดย “องค์บุษบาธร” ได้ช่วยตกแต่งส่วนละเอียดของดอกไม้ให้ด้วยแล้ว และกายสิทธิ์ในดอกไม้ก็ดีด้วย (ดอกไม้แต่ละสายพันธุ์มีกายสิทธิ์ไม่เหมือนกัน) เมื่อทั้งส่วนหยาบและส่วนละเอียดมีคุณภาพดีดังนี้แล้ว คุณสมบัติของ “วัตถุทานบริสุทธิ์” ก็สูงส่งขึ้น ทำให้กลายเป็นตัวแปรเด่น ที่ทำให้ผู้ถวายดอกไม้ ได้บุญมากเป็นพิเศษครับ ดังนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร
ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
ควันหลงวันมาฆบูชา
พ.ศ. 2566
นานาสาระ ตอน เหตุแห่งการเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช
ขอขอบคุณนะครับ
ที่ท่านผู้อ่านแสดงความสนใจเรื่องตำแหน่งพระเจ้าจักรพรรดิราชเป็นพิเศษ แม้หลายๆ ท่านจะชอบเป็น
“พระองค์ธรรม” มากกว่า “พระจักรฯ” และยกย่องว่า “พระองค์ธรรม” นั้นประเสริฐกว่า
“พระจักรฯ” ทั้งๆ ที่ “พระจักรฯ” มักจะบำเพ็ญบารมีได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช
ซึ่งใครๆ ก็หมายปอง บ่อยครั้งกว่ามาก ประเด็นนี้พอจะทำความเข้าได้ว่า
มีผู้ทรงวิชชาหลายท่าน ที่นิยมชมชอบ “คุณสมบัติ” และ “สมบัติจักรพรรดิ”
อย่างของ “ฝ่ายจักรฯ” แต่อาจไม่ชอบใจ “หน้าที่” ของ “ฝ่ายจักรฯ”
ที่ต้องคอยทำนุบำรุงหล่อเลี้ยงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระศาสนาจักรฯ
ซึ่งทำให้รู้สึกว่า “ฝ่ายจักรฯ” นั้นเป็นผู้ด้อยกว่าครับ
การเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น ต้องภพเจ้าของธาตุเจ้าของธรรมเปิดให้เป็นครับ
มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิ์เป็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ภาค/ภพ เจ้าสี” ซึ่ง “สั่งส่ง”
คนในสายธาตุสายธรรมของตน มาบำเพ็ญบารมีเป็นทั้งพระพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิ สำหรับข้อสงสัยว่าการทำสาธารณประโยชน์แล้วได้เป็นชนชั้นนักปกครอง
จะต่างอย่างไรกับการได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช หรือผู้นำประเภทอื่นๆ แบบทำบุญมา
คำตอบก็คือ บุญที่ทำให้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชและผู้มียศศักดิ์ใหญ่ ก็คือการทำบุญกับเนื้อนาบุญอันเลิศด้วย
“ความเคารพอ่อนน้อม” ไม่ว่าจะถวายทาน หรือสักการบูชา ซึ่งเครื่องธาตุเครื่องธรรมจะคำนวณบุญออกมาเป็น
"ศักดิเดชา" และ/หรือ “ศักดิเดช” ให้มากเป็นพิเศษ
แล้วได้ผังเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช หรือผู้มียศศักดิ์ใหญ่
เพราะโปรแกรมกฎแห่งกรรมเขาตั้งค่าไว้อย่างนั้น คือทำบุญด้วยความอ่อนน้อมมาก
ก็จะได้เกิดในตระกูลสูงมากครับ หรืออีกประการหนึ่งก็คือบุญจากการถวายยศศักดิ์ให้กับผู้สมควรได้รับ
เช่นตำแหน่งสำหรับบุคคลผู้ทำความดี และบรรพชิตทั้งหลาย แต่ปัญหาก็คือ
บุคคลส่วนใหญ่เมื่อได้ยศศักดิ์ใหญ่แล้วมักจะประพฤติอ่อนน้อมลดลง ด้วยฐานะอันสูงส่งของตนและธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณี
จึงทำให้บุญด้านนี้พร่องไป
ทั้งนี้ผู้ที่จะพยากรณ์ต้องเห็นผังก่อนจึงพยากรณ์ให้
แต่โดยเนื้อแท้แล้วก็เป็นเพราะ "ภพเจ้าของธาตุเจ้าของธรรม"
ส่งลงมาเล่น โดยกำกับการมากน้อยตามส่วน เช่นภพฯ คุมให้ 70% กายมนุษย์เป็นเอง 30%
แต่แทบจะไม่มีใครเลยที่ได้เป็นแบบโดยปราศจากการการหล่อเลี้ยงส่งให้เล่นโดยภพฯ
เหมือนตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” ที่ไม่มีคนไหนเป็นโดยไม่มีสังกัด
ซึ่งภพจะคุมให้ตั้งแต่จุติมาเกิด ประกอบกุศลกรรม เวียนว่ายตายเกิด
กระทั่งได้ครองรัตนะ 7 สำเร็จเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชตามผังครับ
สรุปคือ ไม่ได้เป็นกันทุกคน แม้จะทำบุญด้วยความอ่อนน้อมเหมือนๆกัน
ถ้าบุคคลทำบุญแล้วอธิษฐานขอเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช
โดยภพฯไม่ส่ง ก็เหมือนบุคคลอิสระ สมัครเป็นนายกรัฐมนตรี
โดยพรรคการเมืองไม่สนับสนุนและไม่ได้เสนอชื่อครับ คือขอได้
แต่โอกาสได้เป็นมันแทบไม่มี ผังก็เสียบุญไป
ดีที่สุดคือทำบุญไปแล้วถ้าจะได้เป็นก็เป็นเอง เหมือนพระเจ้าสังขะจักรฯ
ในยุคพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งท่านทำบุญกับพระปัจเจกพุทธเจ้า
ท่านก็ไม่ได้ขอว่าจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่ถ้าจะได้ บุญก็บันดาลให้ได้เอง
ตามที่ภพฯส่งให้เป็นไปครับ.
“พระเจ้าจักรพรรดิ” มีสองแบบ
คือแบบที่สังคมมนุษย์ตั้งขึ้น กับแบบที่ภพฯเปิดให้ได้ครองรัตนะ 7 ถ้ามีจักรแก้ว
เราเรียกว่า “พระเจ้าจักรพรรดิราช” ครับ อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่การเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชอาจไม่เป็นเสมอไป
ก็เพราะภพฯมีกำลังในการประมูลสิทธิ์ให้เป็นได้มากน้อยไม่เท่ากันในแต่ละยุคสมัย
ขณะที่ธาตุธรรมผันแปรไปตามกำลังที่ประชันกันและกันหรือสนับสนุนกันและกันของแต่ละภาคธาตุภาคธรรมครับ
ซึ่งกล่าวโดยง่ายก็คือ ภาคพระภาคมารก็ส่งเสริมหรือกันท่า กันและกัน
เพื่อความเจริญของตน และความไม่เจริญของฝ่ายตรงข้าม
สำหรับในยุคสมัยปัจจุบัน
เป็นยุคที่กัปไขลงมา มนุษย์มีอายุขัยต่ำกว่า 100 ปี เหตุมหัศจรรย์
และอัศจรรย์ต่างๆ อย่างการเปิดโลกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
หรือการแสดงปาฏิหาริย์ อาจจะไม่ง่ายเหมือนสมัยยุคพุทธกาล
เพราะการปิดกั้นหรือการเปิดโดยภาคและภพต่างๆ
ต้องใช้กำลังต่อสภาพที่แน่นมากหรือน้อยตามยุคสมัย อุปมาเหมือนการ “เข้านิโรธสมาบัติ”
ซึ่งในสมัยพุทธกาล พระอรหันต์สามารถเข้าสมาบัติได้ 7 วัน
แต่ในยุคปัจจุบัน พระอรหันต์เข้านิโรธสมาบัติได้ ส่วนใหญ่ประมาณ 3 วันเท่านั้น ฉันใดก็ฉันนั้น ความสะดวกในการได้อัศจรรย์ และมหัศจรรย์
รวมถึงรัตนะ 7 ประการ อันเป็นสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ จึงอาจไม่ง่ายดายเหมือนเรื่องราวในตำรับตำราครับ
ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
บทความพิเศษเนื่องในโอกาสวันมาฆบูชา
พ.ศ. 2566
นานาสาระ: ตอน ทำไมจึงได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช?
สำหรับบุพกรรมที่ทำให้บุคคลเกิดเป็น “พระเจ้าจักรพรรดิราช” ซึ่งเป็นชนชั้นปกครองสูงสุด นั้น ไม่เข้าข่าย “สิทธิ์และอำนาจ”
จากการทำสาธารณประโยชน์ แต่เป็น “อัศจรรย์” และ “มหัศจรรย์”
จากการทำบุญในทักขิณาเขต เช่นการบูชาสักการะพระธาตุเจดีย์ การทำบุญกับพระพุทธเจ้า
การทำบุญกับผู้ที่ออกจากนิโรธสมาบัติ แต่บางท่านอาจสงสัยว่า ทำไมตำรับตำราจึงสอนว่า
บางคนทำแล้วได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ในขณะที่บางคนทำแล้วก็ไม่ได้เป็น ทั้งนี้ก็เพราะแท้จริงแล้ว
ผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือแม้แต่พระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น “ภพผู้เป็นเจ้าของธาตุธรรม”
ท่าน “สั่งส่ง” ลงมาเล่นนั่นเองครับ (ภาษาผู้มีวิชชา) แต่ถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ
“ส่งประกวดและประชัน” หรือ “ส่งลงมาสร้างบารมี” ทำงานทำบุญทำกุศลต่างตามกฎแห่งกรรม
กระทั่งอินทรีย์เริ่มแก่กล้า และมีพระพุทธเจ้าพยากรณ์ให้ ว่าด้วยบุญนี้
จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต หรือมิฉะนั้น พระพุทธเจ้า
หรือพระอรหันต์บางพระองค์
ก็ยังพยากรณ์ให้บุคคลผู้ทำบุญด้วยว่าจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช
กี่ชาติต่อกี่ชาติ ซึ่งในกรณีนี้มักจะได้เป็นแน่นอน เพราะ “ผังชีวิต”
ถูกตั้งขึ้นแล้วเมื่อทำบุญ ส่วนท่านที่ไม่ได้รับพยากรณ์เช่น ทำบุญด้วยการบูชาพระสถูปเจดีย์
ก็จะมีภพผู้เป็นเจ้าของธาตุธรรมคอยหล่อเลี้ยงรักษา ประคับประคองการดำเนินชีวิต
ในแต่ละภพชาติ กระทั่งได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งภพ “เปิดผังสำเร็จ”
ให้เป็น “อัศจรรย์” หรือ “มหัศจรรย์” มิฉะนั้นแล้วก็จะถูกภาคมารปิดกำบังไว้
เพราะภาคมารก็ไม่ประสงค์ที่จะให้มนุษย์อยู่อย่างมีความสุขด้วยบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิราช
โดยสรุปแล้วคือ ทั้งตำแหน่งพระพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น
ภพผู้เป็นเจ้าของธาตุธรรม ซึ่งมีหลายภพ ท่านก็ “เตี๊ยม” และตกลงกันมาแล้ว
ว่าจะให้ใครเป็น และเป็นก่อนหรือหลังกันอย่างไร หรือบางยุคก็ส่งลงมาแข่งชิงกัน ไม่มีใครได้เป็นโดยบังเอิญครับ และเมื่อได้เป็นแล้ว
หากยังเป็นสัมมาทิฐิ ท่านก็จะดึงตัวกลับภพ ซึ่งภพจะกำไร หรือขาดทุน
ก็ขึ้นอยู่กับตรงนี้ บางครั้งภพสั่งส่งลงมาสร้างบารมี แล้วกำไรบุญกำไรบารมี ได้นำบุญบารมีกลับภพเกินกว่าที่ลงทุนไป
ในขณะที่บางองค์ขาดทุน แต่ด้วยตำแหน่งพระพุทธเจ้า
หรือพระเจ้าจักรพรรดิราชที่เคยได้ ก็จะเป็น “ศักดิเกียรติ” ประการหนึ่ง
ซึ่งบางภพประสงค์จะได้ เหมือนอย่างบุคคลเคยเป็นนายกรัฐมนตรีมาแล้ว
แม้จะพ้นสมัยแห่งการดำรงตำแหน่งแล้ว พรรคการเมืองก็ยังอยากได้มาอยู่ในพรรค
เป็นเครดิตประการหนึ่งครับ ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันมาฆบูชาที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน กรรมที่ทำให้ได้เป็นชนชั้นปกครอง
บุพกรรมที่ทำให้บุคคลได้เกิดเป็นนักปกครองนั้น
มีหลายอย่างด้วยกัน เช่น การทำบุญ การอธิษฐาน การตั้งผัง หรืออื่นๆ
สำหรับกรรมหลักๆ ก็คือ “กรรมทำสาธารณประโยชน์” ซึ่งบางครั้งก็คาบเกี่ยวกันกับ
“กรรมทำสังคมสงเคราะห์” แต่ไม่เสมอไป
ทั้งนี้เพราะกรรมทำสาธารณประโยชน์เป็นเสมือน “การถวายสังฆทาน” ใน “อาณาเขตแห่งการเลี้ยงรักษา”
คือไม่มุ่งเฉพาะเจาะจงผู้ใด และไม่ได้ทำกับพระเท่านั้น แต่ทำกับประชาชนคนทั่วไป รวมถึงนักบวช
ก็สามารถร่วมใช้สอยได้ เป็นเหตุให้ “คุณาเขต” (มิใช่ทักขิณาเขต) หรือ “เขตธาตุ”
(มิใช่เขตบุญ) มีความกว้างใหญ่กว่าปกติ แต่ผลตอบแทน อาจไม่ได้อยู่ในรูปของ “บุญที่มาก”
เหมือนอย่างการทำบุญกับพระอริยเจ้า และพระสงฆ์ แต่จะได้ “สิทธิ์ที่มาก”
อันเครื่องธาตุเครื่องธรรมคำนวณจ่ายอัตโนมัติตามปัจจัยร่วม (input) ที่มีในเขตเลี้ยงรักษานั้นๆ
ส่วนกรรมทำสังคมสงเคราะห์ ที่ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก
มีลักษณะคล้าย “ปาฏิปุคคลิกทาน” คือเลือกที่จะช่วยเป็นคนๆ ไป
จึงเป็นเหตุให้ได้ทั้ง “บุญ” และ “สิทธิ์”
ซึ่งสิทธิ์ในสังคมสงเคราะห์นั้น ผู้ด้อยโอกาสจะติดค้างต่อผู้ทำสังคมสงเคราะห์ เช่น
ถ้าหากได้เกิดในสุคติภูมิ ก็มักจะต้องมาเกิดเป็นบริวารของผู้ทำสังคมสงเคราะห์นั้น หรือแม้ไม่ได้เป็นบริวาร
ก็ต้องมาคอยเกื้อกูลช่วยเหลือตอบแทน
อย่างไรก็ตาม ในแง่ของ “สิทธิ์”
ที่ผู้ทำสาธารณประโยชน์ได้มานั้น ได้มากกว่าทำกับพระสงฆ์ (แม้จะไม่เสมอไป
เพราะยกเว้นบางกรณี เช่นพระสงฆ์จรมาจากทิศทั้ง 4 อย่างโรงพยาบาลสงฆ์ หรือมหาวิทยาลัยสงฆ์) เพราะกรรมแห่งการเสียสละ
“ให้สิทธิ์และอำนาจ” ต่อสาธารณชนในการใช้สอย สมบัติสาธารณประโยชน์ที่ตนทำขึ้น
อย่างศาลาริมทาง, ถนน, สะพาน, สระน้ำ, สวนสาธารณะ, โรงเรียน, โรงพยาบาล, ยานพาหนะ และอื่นๆ
ดังนี้แล้ว เมื่อผู้ทำสาธารณประโยชน์ ได้เสียสละประโยชน์ส่วนตน
เพื่อให้เป็นประโยชน์ส่วนรวม โดยให้สิทธิ์และอำนาจอันควรเป็นของตน ต่อประชาชนโดยทั่วไปไม่เฉพาะเจาะจง
ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด อายุเท่าใด เพศภาวะใด ทั้งสิทธิ์ในการครอบครองใช้สอย
และอำนาจในการตัดสินใจใช้สอย ผลกรรมที่ได้จึงเป็น “สิทธิ์และอำนาจ”
กลับคืนมามาก โดยสัมพันธ์กันกับ “เขตเลี้ยงรักษา”
ซึ่งเครื่องธาตุเครื่องธรรมนับเข้าคำนวณ เช่นสร้างสะพานให้ประชาชนใช้ฟรี
ในประเทศที่บัญญัติพระพุทธศาสนาประจำชาติ กับสะพานในประเทศทั่วไป ก็จะคำนวณอานิสงส์ออกมาได้ไม่เท่ากัน
ด้วยสิทธิ์และอำนาจนี้เอง ที่ทำให้บุคคลได้รับอานิสงส์ผลกรรม
คือเป็นผู้ที่มีสิทธิ์และอำนาจหน้าที่ในการปกครองสาธารณชน ตาม “ศักดิ์” ที่ตนได้มา
ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว ทั้ง สิทธิ์, อำนาจ, ศักดิ์, ศักดา, และศักดิเดชา รวมกัน บุคคลจึงเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการปกครองที่สามารถให้คุณให้โทษต่อผู้อื่นได้
อย่างนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี, ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายก อบจ., นายก อบต., นายอำเภอ,
กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน โดยไม่เกี่ยงว่าจะเป็นในทางดี หรือร้าย คนดี หรือคนไม่ดี
ยกเว้นแต่จะอธิษฐานกำกับว่า “ให้เป็นสัมมาทิฐิบุคคลแต่เพียงส่วนเดียว”
ซึ่งก็ไม่แน่นอนเสมอไป เพราะบางยุคเกิดมาไม่มีพระพุทธศาสนา
ก็อาจจะไม่มีหลักธรรมมากพอ ในการวางกรอบแห่งการประพฤติปฏิบัติ
อนึ่ง ถ้าเราทำสาธารณกุศลแล้ว "คืนสิทธิ์"
เราจะกลายเป็น “บุคคลมหาศาล” เช่นพราหมณ์มหาศาล วานิชมหาศาล เพราะได้รับทอนทุกครั้งเมื่อแลกกับศักดิเดชา
เช่นผู้ที่ดำรงตำแหน่งข้าราชการใหญ่ในบ้านเมือง แล้วถูกจ้างออกหรือเกษียณก่อนเวลาอันควร
จะได้รับสิ่งตอบแทนเป็นทรัพย์จำนวนมาก หรือมีฐานันดรแล้วลาออก
ก็จะได้ทรัพย์ตอบแทนมาก นอกจากนี้ การทำประโยชน์แล้วคืนสิทธิ์ จะมีผลทำให้ไม่ได้เป็นนักปกครองด้วยศักดิเดชา
แต่จะมีกำลังมากในด้านอื่นๆ เช่นทรัพย์ ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันมาฆบูชาที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน เมื่อใจเป็นแก้วสารพัดนึก!
การทำบุญด้วยทรัพย์คือเงินสด โดยถวายเป็น “สังฆทาน” หรือ “บำรุงทั่วไป”
นั้น มีอานิสงส์มากตามทักขิณาเขต เช่นถวายองค์กรคณะสงฆ์ระดับโลก หรือระดับประเทศ หรือโรงพยาบาลสงฆ์
ได้บุญมากกว่าทำสังฆทานกับวัดหนึ่งแห่ง ทำให้ได้บุญมากน้อยต่างกันไป แต่ลักษณะของกรรมอันเป็นเหตุจัดว่าเป็นทาน
ที่พระสงฆ์สามารถนำทรัพย์ไปใช้ได้อเนกประสงค์โดยสะดวก
ต่างจากการถวายสิ่งของอันเป็นข้าวของเครื่องใช้ และผลของกรรมดีนี้จะส่งให้บุคคลมีทรัพย์มาก
ใช้จ่ายได้ตามปรารถนา
หากบุคคลอธิษฐานขอให้ “ใจของตนเป็นแก้วสารพัดนึกโดยง่าย โดยเร็ว
ยิ่งๆขึ้นไป ดำริสิ่งใดก็สมปรารถนา
ตราบเท่าที่ดำริชอบอยู่ในครรลองของอริยมรรคอันมีองค์ 8 ประการ” คำอธิษฐานกำกับบุญนี้ก็จะส่งผลได้ตรงประเภทของกรรม เพราะสังฆทานนั้น พระสงฆ์สามารถใช้ทรัพย์ได้สารพัดอย่างตามมุ่งมาดปรารถนา
ในขณะที่การระบุว่าทำบุญแยกประเภท จะส่งเป็นผลานิสงส์เฉพาะทาง เช่นสร้างเสนาสนะ,
ศาลา, หอฉัน, ถนน, รั้ววัด, ภัตตาหาร, หนังสือตำรานักธรรมและพระบาลี, คิลานเภสัช
และอื่นๆ ซึ่งส่งผลให้ได้สมบัติ และ/หรือ คุณสมบัติ เฉพาะด้าน
การอธิษฐานให้ใจของตนเป็นแก้วสารพัดนึกฯ
นี้จะอธิษฐานในการทำบุญรูปแบบอื่นๆ ก็ย่อมได้เช่นกัน เพียงแต่อาจจะไม่ “ถูกธาตุถูกธรรม”
หรือทำให้ “ธาตุเป็นธรรมไป” เสมอไป เพราะเหตุที่ประกอบมิได้ส่งผลตรงตามแนวทางที่ต้องการ
และการทำบุญแล้วอธิษฐาน ควรจะกำหนดให้ลอมๆ ชอมๆ (comply to) ไปกับเครื่องธาตุเครื่องธรรม
ที่มีโปรแกรมกฎแห่งกรรมเป็นระบบปฏิบัติการพื้นฐาน ยกตัวอย่างเช่น
การอธิษฐานให้บุญส่งผลทันทีอย่างนั้นอย่างนี้
อาจทำให้หมดเปลืองบุญไปกับผังแบบนี้มาก แล้วก็ยังไม่ประสบผลตามที่อธิษฐาน ถึงขั้นขาดทุนบุญบารมีกันไป
ส่วนผลานิสงส์ที่จะเกิดในอนาคต ก็อาจจะได้เร็วขึ้น แต่ได้น้อยลงอีก เพราะเป็นคำอธิษฐานที่พยายามละเมิดกลไกการทำงานของกฎแห่งกรรม
ที่มักจะส่งผลกรรมล่าช้าข้ามภพข้ามชาติ ซึ่งถ้าหากนำบุญไปตั้งผังสมบัติด้วยวิชชาอาจจะคุ้มกว่าการใช้วิธีอธิษฐานครับ
ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 5 มีนาคม
พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน
อธิษฐานอย่างไรให้เป็นจริง?
ชาวพุทธเราทราบกันดีนะครับว่า "อธิษฐาน"
เป็นบารมีประการหนึ่ง ซึ่งถือเป็นกุศลกรรม (หากอธิษฐานในทางดี) และเป็นเสมือนการ "ตั้งธง"
ให้มุ่งไปสู่เป้าหมาย และบางท่านก็เข้าใจถูกต้องด้วยว่า การอธิษฐานนั้น
ทำแล้วได้บุญ แล้วสิ่งที่อธิษฐานนั้นถ้าบรรลุผล ก็จะเป็นการดีด้วย ก็เลยอธิษฐานกันมากมายก่ายกอง
ราวกับว่า จะขออะไรก็ได้แล้วเป็นจริงทั้งหมด แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ
บางท่านอธิษฐานแล้ว ไม่เป็นจริงตามอธิษฐาน ก็เลยพลอยหมดศรัทธาในพระพุทธศาสนา บทความนี้จึงขอคลี่คลายความสงสัยเรื่องอธิษฐานกันครับ
ว่าตกลงแล้วการอธิษฐานได้บุญ หรือเสียบุญ และอธิษฐานอย่างไรจึงจะเป็นจริง?
มาจะกล่าวบทไป การอธิษฐานนั้น ทำให้เกิดการเสียบุญ
และได้บุญ ในเวลาเดียวกัน การเสียบุญจากการอธิษฐานเกิดจาก
การที่เครื่องธาตุเครื่องธรรม ประมวลข้อมูลป้อนเข้า (input) ของกายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม แล้วนำบุญที่เรากำหนดจิตอธิษฐานกำกับ ไป "ตั้งผังบุญ"
ให้เป็นไปตามอธิษฐาน ซึ่งกระบวนการนี้ทำให้ "เสียบุญ" ถ้าหากขอมาก
ก็ยิ่งใช้บุญเปลืองมาก และเหลือ "เนื้อบุญ" สำหรับสะสมน้อยลง
เพราะถูกใช้ไปกับการตั้งโปรแกรมผังอานิสงส์
ซึ่งแต่ละผังต้องมีบุญใส่ไว้คอยบันดาลส่งผล เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใส่ถ่านเอาไว้
อย่างไรก็ตาม เราอาจมองได้ว่า การอธิษฐานแบบนี้ก็คือ “การลงทุน” อย่างหนึ่ง
เพื่อเราได้ผลานิสงส์ที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น และดีขึ้น
ส่วนการ "ได้บุญ" จากอธิษฐานนั้น
เกิดจากการที่ "กาย วาจา ใจ เป็นกุศล" เพราะการอธิษฐานนั้น
เช่นการอธิษฐานขอให้ได้เป็นพระพุทธเจ้า ได้บรรลุธรรม ได้มรรคผลนิพพาน
เป็นการอธิษฐานเพื่อ “โลกุตรทรัพย์” มักจะทำให้ได้บุญ
ด้วยจิตอันเป็นกุศลนั้น ในขณะที่การอธิษฐานขอ “โลกียทรัพย์” เช่นความร่ำรวย
ความหล่อ ความสวย ลาภยศ และความรัก มักจะไม่ก่อให้เกิดบุญเพิ่มเติม เพราะจิตไม่ได้เป็นกุศล
ซึ่งเครื่องธาตุเครื่องธรรม สามารถคำนวณจ่ายบุญได้ถึงขนาด “นับดวงจิต”
ทั้งกุศล, อกุศล, และไม่เป็นทั้งกุศล หรืออกุศล (อัพยากตาธรรมา)
อนึ่ง ไม่ว่าเราจะอธิษฐานอะไรก็ตาม
บางท่านอธิษฐานเยอะ และยาวมาก อธิษฐานกันจริงๆจังๆ เอาเป็นเอาตาย อธิษฐานมาเป็นปีๆ
หรือตลอดชีวิต แต่ก็ไม่ได้ผลอะไร ทั้งนี้เป็นเพราะ "ศักดิ์สิทธิ์"
ที่เกิดขึ้นจากบุญกริยา มีไม่พอจะส่งฤทธิ์ให้อธิษฐานเป็นจริงแบบ "สมแก่กาลสมัย"
(timely manner)
เพราะกฎแห่งกรรมมีปกติประวิงการส่งผลของกรรมอยู่ในตัว
สำหรับ "ศักดิ์สิทธิ์"
ที่เกิดขึ้นนั้นนับเป็นส่วนหนึ่งของบุญ ซึ่งการทำบุญแต่ละครั้ง
เราจะได้ศักดิ์สิทธิ์ด้วย เช่น ได้บุญ 1 หน่วย กอปรเป็น
ศักดิ์สิทธิ์ 1/12 หน่วย นอกจากนี้ยังมี "อัศจรรย์"
และ "มหัศจรรย์" ซึ่งได้กันไม่ง่ายนัก และเป็นบุญญานุภาพที่แรงสามารถ
“เปิดผังผลานิสงส์บุญ” ได้ แต่งวดลงมาจากศักดิ์สิทธิ์อีก เช่น ได้บุญ 1 หน่วย มีอัศจรรย์อยู่ 1/55 หน่วย
และเป็นมหัศจรรย์ 1/203 หน่วย
และโอกาสที่จะส่งผลให้เป็นจริงตามอธิษฐาน ต้องใช้ ศักดิ์สิทธิ์ 5 หน่วย, อัศจรรย์ 2 หน่วย, มหัศจรรย์ 1 หน่วย จึงไม่เพียงพอจะทำให้คำอธิษฐานเป็นจริง
ดังนั้น การอธิษฐานจึงต้องคำนึกถึง "บุญที่ได้"
และ "บุญที่ใช้ไป" ว่าคุ้มกันหรือไม่ ส่วนคำอธิษฐาน
ถ้าอธิษฐานมากแทบจะเป็น "ปลายเปิด"
เช่นขอให้ได้สมบัติบรมจักรพรรดิทุกชาติ บุญที่ใช้แทบจะต้องมากไม่มีขอบเขต (infinity) ทำบุญเท่าไรก็ไม่บรรลุผล
ไม่มีวันได้ อธิษฐานไปก็เหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ผู้อธิษฐานจึงควรคำนวณก่อนว่าบุญกริยาของตนนั้น ก่อเกิดเป็นบุญเท่าใด
ได้ศักดิ์สิทธิ์, อัศจรรย์, มหัศจรรย์มาเท่าใด แล้ว "คำอธิษฐาน" ของตนนั้น
ก่อเกิดเป็นบุญเท่าใด และต้องใช้บุญเท่าใดจึงจะครอบคลุมในการทำให้คำอธิษฐานเป็นจริง
ยิ่งถ้าอธิษฐานเร่งรัดให้กรรมส่งผลในทันที บางครั้งแทบจะไม่ได้อะไรเลย
เพราะคำอธิษฐานให้กรรมส่งผลปัจจุบันทันด่วน ต้องใช้ศักดิ์สิทธิ์ถึง 10 หน่วย ซึ่งทำให้ "อธิษฐานขาดทุน" หรือ “เปล่าประโยชน์” ครับ
แต่การปรับแก้คำอธิษฐานเล็กน้อย ก็สามารถช่วยได้ เช่นปิดท้ายคำอธิษฐานว่า “ขอให้คำอธิษฐานของข้าพเจ้าบรรลุผลสำเร็จโดยเร็วพลันยิ่งๆ
ขึ้นไป และเรื่อยไป”
สรุปแล้ว การอธิษฐานตามอย่างนักสร้างบารมีทั้งหลาย
ท่านมักขอให้บรรลุพระโพธิญาณ ให้ได้มรรคผล ให้ได้มีส่วนแห่งธรรม
ซึ่งเป็นการอธิษฐานสั้นๆ เรียบง่าย ใฝ่ดี และแน่วแน่ เฉพาะเจาะจง
จึงเป็นคำอธิษฐานที่ได้บุญมาก และบุญที่ใช้ก็เติมผังแบบเจาะจงนั้นให้แน่นหนา ไม่
กระจัดกระจาย แต่ผู้ที่ประสงค์จะอธิษฐานจริงๆ จังๆ ก็พึงคำนวณดูในวิชชา
ว่าบุญกริยาของตนนั้น ได้บุญ ได้ศักดิ์สิทธิ์ อัศจรรย์ มหัศจรรย์ เท่าใด
แล้วสิ่งที่อธิษฐานขอ ต้องใช้เท่าไร เพื่อไม่ให้หมดเปลืองไปโดยเปล่าประโยชน์
ส่วนผู้ทรงวิชชาที่มีวิชชามาก อาจจะสะดวกใจกว่า ที่จะใช้วิชชาตั้งผังสำเร็จ
หรือเติมผังกุศลกรรมให้แน่นหนา แรงขึ้น เพราะสามารถคาดคะเนได้แน่ชัดกว่า
ว่าต้องใช้บุญ ใช้ประดาเท่าไรครับ ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร
ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน คุณมี “ศักดิเดช(า)” เท่าใด?
สวัสดีครับ หายหน้าหายตากันไปนานเลยนะครับ สาเหตุที่ผมห่างเหินไป
แล้วไม่มีบทความนานาสาระใหม่ๆ มานำเสนอ ก็เพราะ “วิชาถูกเก็บ”
โดยฝ่ายอื่นซึ่งไม่พอใจผลงานของผมน่ะครับ แต่ครั้นพวกเขาจะทำเองบ้างก็ทำไม่ได้ครับ
อย่างไรก็ตาม วันนี้วิชชาที่ส่งมาเก็บเริ่มเบาบางลง
ผมจึงสบโอกาสขอนำนานาสาระมาแบ่งปันกันอีกครั้งนะครับ โดยเนื้อหาในวันนี้
จะเกี่ยวกับ “ศักดิเดช(า) ทั้ง 6 ประเภท” ซึ่งมีผลต่อ 18 กาย และกายต้นสายธาตุสายธรรม
ตามที่ผมเคยอธิบายไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า เมื่อเราทำบุญบ่อยๆ
ทำมากๆ ทำเป็นประจำ บุญจะควบแน่นเป็นบารมี.. รัศมี.. กำลังฤทธิ์.. อำนาจ.. สิทธิ..
เฉียบขาด.......... กระทั่งท้ายที่สุดเป็น “ศักดิเดช(า)” ครับ ซึ่งศักดิเดชานี้จะเป็นกำลังให้เรามี “วิช(ช)าศักดิ์”
อันส่งเสริมให้ “กายมนุษย์” และ/หรือ “กายทิพย์ธรรม” ทรงไว้ซึ่ง “ศักดิ์.. สิทธิ์..
เดช.. อำนาจ.. ศักดิ์สิทธิ์” ในยศชั้นขั้นฐานะที่ตนดำรงอยู่ สามารถใช้เป็นคุณเป็นโทษต่อตนเองและผู้อื่นได้
เช่น ข้าราชการตำรวจและทหาร, แพทย์และพยาบาล, นายกองค์การบริหารส่วนตำบล, ครูอาจารย์
และอื่นๆ ส่วนผู้ที่มีศักดิเดช(า) น้อย ก็มักจะเป็น “ผู้น้อย” ที่ไม่ค่อยมีอำนาจในการตัดสินใจ
และส่วนใหญ่ต้องทำตามคำสั่งเท่านั้น เช่น ภารโรง และพนักงานเปิดประตูตามโรงแรม
แม้ว่าศักดิเดช(า)จะเกิดขึ้นได้หลายทาง
บทความนี้จะนำเสนอเฉพาะเรื่องของ “ครูอาจารย์” ซึ่งมี “วิทยฐานะ และ
ตำแหน่งทางวิชาการ” นับตั้งแต่ บัณฑิต, มหาบัณฑิต, ดุษฎีบัณฑิต,
ผู้ช่วยศาสตราจารย์, รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์, คณะบดี, อธิการบดี
และตำแหน่งหน้าที่ประเภทต่างๆ ทั้งแบบ “เต็มศักดิ์” และแบบ “กิตติมศักดิ์”
ซึ่งสถาบันการศึกษา หรือสถาบันการปกครอง เป็นผู้พิจารณาอนุมัติตำแหน่งให้
โดยแต่ละสถาบันก็จะมีวิช(ช)า ในการประชุมสมบัติผู้เลี้ยงขึ้นเพื่อทำการเลี้ยงรักษา
และปกครอง ผู้มีตำแหน่งทางวิชาการในสายวิช(ช)าของตนเหล่านั้น ให้ดีมาก ดีน้อย
กำลังมาก กำลังน้อย เก่งมาก เก่งน้อย ไม่เท่ากัน ไปตามลำดับ นับตั้งแต่เข้ารับวิทยฐานะหรือตำแหน่งทางวิชาการ
กระทั่งพ้นจากฐานะและตำแหน่งนั้น หรือเสียชีวิตไป การเลี้ยงรักษาจึงยุติลง
ปกติแล้ว ตำแหน่งทางวิชาการเหล่านั้น เมื่อบุคคลได้ตำแหน่งมา
ผู้เลี้ยงก็จะเลี้ยงรักษาวิช(ช)า โดยมีสมบัติผู้เลี้ยงคอยกำกับการ “ส่งฤทธิ์”
แต่ในยุคปัจจุบัน เมื่อผมได้แนะนำวิธี “หยิบสมบัติผู้เลี้ยง”
ออกมาติดตัวข้ามภพข้ามชาติ โดยแลกกับ “ธาตุบุญ” จึงกลายเป็นประเด็นสำคัญในทางวิชชา
คือ ศักดิ์, สิทธิ์, อำนาจ และศักดิ์สิทธิ์ ประจำยศตำแหน่งนั้น
สามารถนำติดตัวไปได้ และเมื่อนำสมบัติผู้เลี้ยงของตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งมักอยู่ในรูปของ
“คทา” มาประกอบวิชชา ก็จะส่งเสริมให้เกิดเป็นพลังเลี้ยง “ศักดิเดช(า)” ให้กับบุคคลอยู่ในตัว
ทำให้ผู้ทรงวิชชาสามารถ “ตรัสพุทธาจารย์” และ/หรือ “ตรัสจักราจารย์”
ซึ่งเป็นตำแหน่งในวิชชา หรือ วิชชาศักดิ์ ที่มีสิทธิ์ปกครอง “กายวิชชา” ทั้งหลายในด้านการอบรมสั่งสอน
เหมือนอาจารย์กับศิษย์ ซึ่งตำแหน่งพุทธาจารย์ และจักราจารย์ สามารถคุมได้มากน้อยไม่เท่ากัน
ขึ้นอยู่กับ “ศักดิเดช(า)” ที่มีขึ้นในตำแหน่ง คล้ายอาจารย์ทิศาปาโมกข์
ที่มีศิษย์บริวารในกำกับการคณะใหญ่บ้าง เล็กบ้าง แต่ในกรณีผู้ทรงวิชชา
เราจะเรียกว่าเป็น “อาจารย์วิชชาปาโมกข์” หรือเหมือนอาจารย์ชฎิลสามพี่น้อง ที่มีเรื่องราวอยู่ในพระไตรปิฎก
ซึ่งแต่ละองค์ก็มีศิษย์บริวารไม่เท่ากัน
อนึ่ง ศักดิเดช(า) นั้น สามารถเกิดขึ้นได้ ในสายงาน 6 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ได้ยศชั้นขั้นฐานะในแต่ละสายงาน
ก็จะสามารถนำ “ธาตุบุญ” แลก “สมบัติผู้เลี้ยง” สำหรับนำมาประกอบวิช(ช)า
ให้กอปรเป็น ศักดิเดช(า) ได้ด้วยกันทั้งนั้น สายงาน 6 สาย ดังกล่าวคือ
(1) กษัตริย์ (2) สมณพราหมณ์ (3) นักปกครองและนายบ้าน (4) ตุลาการ (5) ครูอาจารย์ (6) บุคคลากรวิชาชีพ และวานิช (7)
อื่นๆ ทั้งนี้ แต่ละบุคคลใน
6 ประเภทหลักข้างต้น สามารถมี “ขั้นฐานะ”
อันเป็นที่ยอมรับนับถือ และมีการรับรอง โดยอำนาจปกครองแห่งสถาบัน, องค์กร, หน่วยงาน,
หรือบุคคล อันจะเป็นเหตุให้ผู้เลี้ยงส่งฤทธิ์เลี้ยงรักษา
แต่ถ้าหากเป็นบุคคลที่ฝึกหัดทำเองไม่มีใครสอน ก็อาจจะมีผู้รักษาเหมือนกัน
แต่มีน้อย โดยผู้รักษาอาจจะเป็นคนรู้จักกันที่เคยเกี่ยวข้อง
เช่นเพื่อนหรือคู่ค้าในการซื้อขายของสะสมต่างๆ เช่นรถยนต์ของเล่น หรือตุ๊กตาสะสม
เป็นอาชีพที่ไม่ต้องศึกษาจากใครมาก แต่อาจเรียนรู้ผ่านหนังสือ, สื่อออนไลน์, รีวิว
และเพื่อนๆ บอก เป็นอาทิ
โดยสรุปแล้ว “ศักดิเดช(า)”
นั้นปกติแล้วเป็นพลังทิพย์ที่ได้กันไม่ง่ายนัก เหมือนรถยนต์ทุกคัน ที่มีกฎหมายควบคุมและคุ้มครอง
ให้มีการจดทะเบียนรถ สามารถเดินทางไปไหนต่อไหนได้ทั้งในประเทศ และประเทศใกล้เคียง
รถแต่ละคันมีทะเบียนที่อนุญาตให้เดินทางได้ทั่วประเทศ แต่จะมีเพียงบางคันหรือน้อยคันที่มี
“ศักดิเดช(า)” เป็นเสมือน “สติ๊กเกอร์พิเศษ” ติดกระจกหน้ารถ หรือ “ดวงตราสัญลักษณ์พิเศษสำหรับติดกระจังหน้ารถ”
ทำให้มีสิทธิพิเศษ สามารถเข้าออกพื้นที่ควบคุม หรือจอดรถในสถานที่สงวนไว้ให้โดยเฉพาะได้
อย่างเช่นห้างสรรพสินค้า, สถานที่ราชการ, หมู่บ้านจัดสรร, อาคารสำนักงาน, อาคารห้องชุด,
มหาวิทยาลัย และกองทัพฯ แต่การจะได้สติ๊กเกอร์ หรือตราสัญลักษณ์เหล่านี้มา
ก็ต้องมีศักดิ์ หรือ มีสิทธิ หรือ มีอำนาจ หรือ มีหน้าที่ ณ
สถานที่แต่ละแห่งเหล่านั้น ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 24 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน กรรมที่ทำให้เป็น “อัจฉริยะ”
[1] เบื่อหรือยังครับ? ที่ได้เห็นโพสต์คลิปวิดิโอในเฟสบุ๊ค
มีเด็กๆ แสดงความสามารถ เล่นดนตรีเก่งตั้งแต่ยังเล็ก บางคนมีผลงานศิลปะล้ำเลิศ
บางคนสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ทั้งร้องเพลง เล่นดนตรี บวกเลข เข้าข่าย “อัจฉริยะ”
จนใครๆ ก็อดที่จะอิจฉาไม่ได้ ซึ่งแม้ต่างศาสนาจะเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “พรสวรรค์”
แต่เราชาววิชชาอธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ว่ามีสาเหตุมาจาก “กายสิทธิ์
และอธิษฐานบุญฤทธิ์” ครับ
[2] อันดับแรกก็คือ “กายสิทธิ์”
ซึ่งผมก็อธิบายสาธกมายาวเหยียดหลายบทความ ทั้งกายสิทธิ์ในแร่ธาตุ, อัญมณี, คด, เหล็กไหล,
วัสดุ สิ่งของต่างๆ แต่กายสิทธิ์ในที่นี้หมายถึง “กายสิทธิ์ในตัวมนุษย์”
ซึ่งเวลาเราทำกิจอะไรเป็นเรื่องเป็นราวสักหน่อย “ภพกายสิทธิ์” จะส่ง “กายสิทธิ์”
มาใส่ไว้ในสายธาตุสายธรรมของเรา เพื่อส่งฤทธิ์คอยรักษา “ความถนัดและความชำนาญ”
ในสายงานนั้นๆ ซึ่งกายสิทธิ์แบบนี้ มีหลายประเภทแบ่งแยกกัน เช่นกายสิทธิ์ของวาทศิลป์
คือศิลปะการพูด, กายสิทธิ์สายช่างและวิศวกรรม, กายสิทธิ์สายอาลักษณ์ คือนักเขียน,
กายสิทธิ์สายคหกรรม คือปรุงอาหาร, กายสิทธิ์สายดนตรี, กายสิทธิ์สายคณิตศาสตร์
ซึ่งกายสิทธิ์เหล่านี้ถูกประชุมสร้างขึ้นให้มีรายละเอียดแตกต่างกันครับ
และเมื่อมนุษย์ทำกิจในสายงานใด ภพกายสิทธิ์
ก็จะส่งกายสิทธิ์ประจำสายงานลงมาใส่ไว้ในสายธาตุสายธรรม คอยส่งฤทธิ์
ทำให้เรามีความถนัดและความชำนาญในสายงานนั้นๆ ยิ่ง “มีกายสิทธิ์มาก”
ก็จะเป็น “คนเก่งงาน” ถ้ามีกายสิทธิ์เฉพาะด้านมาก เช่นด้านดนตรี
เล่นทั้งวัน ทั้งคืน ตั้งแต่เด็กจนแก่ ก็จะมีกายสิทธิ์สายดนตรีสะสมอยู่ในสายธาตุสายธรรมมาก
พอเสียชีวิตไป ธาตุธรรมก็เรียกเก็บกลับคืนไปหมด พอเกิดใหม่ ธาตุธรรมก็ส่งมาใส่
ทำให้มีความชำนาญด้านดนตรีตั้งแต่เด็ก อายุเพียง 7 ขวบ
ก็เล่นเปียนโนออกคอนเสิร์ตได้ อย่างนั้นเลยครับ ดังนั้น ตามความรู้ในสายวิชชาแล้ว
คนเราไม่ได้เก่ง หรือเป็นอัจฉริยะ โดยบังเอิญ แต่ประการแรกเป็นเพราะกรรมที่ทำบ่อยๆ
เป็นอาจิณกรรม กระทั่งมีกายสิทธิ์มาก ซึ่งกายสิทธิ์เหล่านี้เป็นของทิพย์
ที่นำติดตัวข้ามภพชาติไปได้ ชาตินี้ทำกระทั่งเก่ง ชาติหน้าก็เก่งอีก เป็นความสามารถที่เกิดขึ้นโดย
“ไม่ต้องเสียบุญ” และยิ่งมีกายสิทธิ์มาก ก็จะรู้สึก “เนืองแน่น”
อยู่ในตัว เหมือนแบตเตอรี่ที่มีไฟประจุอยู่เต็มแล้วมีคลื่นไฟฟ้าแผ่ออกมา เมื่อเปรียบเทียบกับแบตเตอรี่ที่มีไฟอัดประจุอยู่น้อย
ทำนองนี้ครับ
[3] อันดับที่สอง คือความถนัดและความชำนาญสามารถ
ที่เกิดจาก “อธิษฐานบุญฤทธิ์” ซึ่งมักจะมีเหตุเกิดจากความบกพร่องในด้านใดด้านหนึ่ง
หรือความขาดแคลนในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออยากมีความสามารถสูงเหมือนผู้อื่น
เช่นเป็นเด็กนักเรียน ที่เห็นเพื่อนๆ เป็นนักร้อง แสดงงานโรงเรียน
เป็นที่นิยมชมชอบของครูและเพื่อนนักเรียน ก็เลยอยากจะเป็นอย่างนั้นบ้าง แต่ตนเองไม่มีความถนัด
หรือความชำนาญ หรือประสบการณ์ในการร้องเพลงเลย จึงทำบุญแล้วอธิษฐาน
ให้ได้เป็นดารานักร้อง นักเต้น แม้จะคิดอย่างเด็กๆ หรืออธิษฐานด้วยความไร้เดียงสา
หรืออ่อนต่อโลก แต่ก็ยังมีผล คือบุญนั้นจะส่งให้ได้เข้าสู่ครรลองของสายงาน ได้เป็นดารานักร้อง
ส่วนว่าจะร้องได้ดีมากน้อย ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่นถ้าบุญแรงมาก
ได้ฝึกร้องเพลงแต่เด็ก และบุญกรรมก็ตกแต่งให้มีเสียงดีด้วย
ก็จะได้เริ่มสะสมกายสิทธิ์ในสายดนตรี แต่ถ้าบุญส่งผลให้ได้เป็นดารานักร้อง
โดยที่สะสมกายสิทธิ์ไว้น้อย ก็มักจะเป็นดารานักร้องที่ร้องไม่ค่อยเพราะ
ร้องไม่ค่อยเก่ง แต่ก็ยังได้เป็นดารานักร้อง เหมือนในวงการบันเทิงปัจจุบัน
ซึ่งนักร้องนักแสดง อาจจะเก่งมากน้อยไม่เท่ากัน ส่วนจะโด่งดัง หรือไม่โด่งดัง
ก็ขึ้นอยู่กับบุญญาวาสนา และเหตุปัจจัยหลายๆ อย่างครับ ซึ่งการได้ “เก่งในงาน”
หรือ “ได้ทำงาน” เพราะอธิษฐานบุญฤทธิ์แบบนี้
โดยมีกายสิทธิ์เป็นทุนเดิมอยู่น้อย ก็จะทำให้หมดเปลืองบุญไป เพราะทำบุญแล้วอธิษฐาน
ก็จะกลายเป็น “ผังชีวิต” ขึ้นมา ซึ่งล้วนแต่ต้องใช้พลังงานบุญครับ
[4] สำหรับท่านที่อยู่ใน “สายบุญ”
เชื่อมั่นในบุญกรรม และทำบุญสม่ำเสมอ เพื่อให้กรรมส่งผล ให้มีชีวิตที่ดี คงจะมีประสบการณ์คล้ายๆ
กัน คือ ไม่รู้ว่าจะต้องอธิษฐานอะไรดี ชีวิตจึงจะดีพร้อมครบถ้วนสมบูรณ์ บางคน
บางครั้ง ทำบุญแล้ว อธิษฐานยาวเหยียด พยายามจะให้ครอบคลุมหมดทุกด้าน
เพราะเบื่อชีวิตที่ขาดแคลน หรือด้อยกว่าผู้อื่น แล้วก็ยังมีความเสี่ยงว่า
คำอธิษฐานอาจจะสร้างปัญหา เช่น สวยแต่เป็นเมียน้อย หรือรวยแต่ป่วย
หรือไม่ก็มีอำนาจมาก แต่เป็นที่เกลียดชัง แล้วการอธิษฐานแก้ไข ก็เหมือนราวกับว่า
อุดตรงนั้น ก็ไปหลุดตรงโน้น อุดตรงนี้ ก็ไปหลุดตรงอื่น และการอธิษฐานมากๆ
บางทีก็ทำให้ใจขาดความสงบชื่นใจในระหว่างการทำบุญ
เพราะใจคอยพะว้าพะวงอยู่กับสิ่งดีๆ ที่เราอยากได้ วิธีการง่ายๆ
ในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ก็คือการอธิษฐานรวบรัดว่า “ด้วยอานิสงส์แห่งบุญ
ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นสัมบูรณ์บุคคล ผู้ถึงพร้อมในทุกสิ่ง ที่สมควรต่อข้าพเจ้า
อันเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขในฝ่ายกุศลาธรรมา สัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียว
สำหรับข้าพเจ้า ยิ่งๆขึ้นไป นับจากบัดนี้เป็นต้นไป กระทั่งตลอดไปเทอญ!”
แต่การอธิษฐานเช่นนี้ เหมือนอ่าวที่ต้องเติมน้ำตราบกว่าจะเต็ม
การใส่บาตรหนึ่งครั้งแล้วอธิษฐานเช่นนี้ อาจจะเติมบุญลงไปในผังชีวิตได้เพียง 0.001%
จากทั้งหมด เราจึงต้องหมั่นอธิษฐานทุกครั้ง เมื่อทำบุญ ทั้งบุญเล็ก
บุญใหญ่ ตราบกว่าผังคำอธิษฐานจะเต็มมากพอที่จะส่งผล ซึ่งอาจใช้เวลา 10 – 35
ปี ในการทำบุญ หรือมากกว่า แต่ก็จะครอบคลุมมากพอ
ให้เราเก่งในทุกด้าน ทั้งนี้ยกเว้นการทำบุญพิเศษซึ่งได้บุญเป็น “ทะเลบุญ”
หรือ “ผู้ทรงวิชชาให้” คือทำความดีความชอบแล้วผู้ทรงวิชชาให้พร
ให้สมปรารถนา 1 สิ่ง หรือมากกว่า เราก็ขอให้ได้เป็น “สัมบูรณ์บุคคล”
ซึ่งอาจจะต้องรวบรวมพรในวิชชาแบบนี้มากถึงหลายร้อยครั้งครับ
[5] เราจะเห็นได้ว่า
วิธีเป็นอัจฉริยะนั้น มีอยู่ไม่กี่แบบ จะหมั่นฝึกฝนกระทั่งชำนาญ หรือจะอธิษฐานใช้บุญก็ตาม
หากเรามีทางที่ใช่ และเป็นฉันทะของเรา เช่นรักการเล่นดนตรี
เราก็สามารถทำทั้งฝึกซ้อม และทำบุญอธิษฐาน ก็จะเป็นการเกื้อหนุนกันเป็นอย่างดี
ส่วนการเป็น “สัมบูรณ์บุคคล” ทั้งแบบอธิษฐาน และขอพรวิเศษจากผู้ทรงคุณ หรือผู้ทรงวิชชา
ก็เป็นการณ์ดีกว่า ที่เราจะประสบความสำเร็จในสิ่งดีงามทุกด้านครับ ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 13 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน
ปล่อยปลาไปทำไมกัน?
[1] ชาวไทยพุทธเราชอบปล่อยสัตว์ปล่อยปลากันครับ
สัตว์บางตัวกลัวความตายอย่างลนลาน เราไปซื้อมาเขาก็นึกว่าจะนำไปฆ่า
อย่างเช่นปลาตามเขียง พวกเขาทั้งกลัว โกรธ เกลียดแค้น ชิงชัง และอึดอัด
บางทีแค่เดินผ่านตู้หรือกะละมังใส่ปลา ตามร้านขาย พวกเขาแค่เห็นหน้าก็ผูกใจเจ็บ ยิ่งเห็นแล้วจดจำได้ก่อนถูกสับตายอย่างทรมาน
ยิ่งไม่ดีครับ อย่าไปเดินผ่านพื้นที่แบบนี้โดยไม่จำเป็นครับ
[2] แต่สำหรับท่านที่ไปซื้อปลามาปล่อย
เคล็ดลับในการปล่อยปลาให้โชคดี คือ ให้เปิดหน้ากากอนามัยออก แล้วพูดคุยกับปลา ให้พวกเขาเห็นหน้าเราชัดๆ
บอกชื่อนามสกุลของเราให้ปลาและสัตว์ต่างๆทราบ คุยกับพวกเขาว่าเราซื้อพวกเขามาปล่อยเป็นอิสระ
ไม่ได้ซื้อไปฆ่า ให้อดทนรออยู่ในถุงหรือภาชนะสักหน่อย อาจจะใช้สัญญาณมือประกอบ
ปลาหลายตัวตั้งใจดูท่าทางเรา แล้วเราจะสวดมนต์ให้พวกเขาได้ฟังธรรมก่อนไปก็ดีครับ
อาจจะเป็นบทบูชาพระรัตนตรัย และบทขอถึงไตรสรณคมน์ แล้วเลือกปล่อยในแหล่งน้ำที่ดี
สะอาด กว้าง และปลอดภัย ระวังอย่าปล่อยลงแหล่งน้ำเน่าเสีย มิฉะนั้นจะมีวิบัติติดมา
เมื่อพวกเขาลงแหล่งน้ำแล้ว พวกเขาร่าเริงเป็นสุข จะนึกถึงเรา ขอบคุณเรา อวยพรเรา เพราะกายทิพย์ของพวกเขารับรู้ได้ฟังเข้าใจ
บางตัวส่งกายทิพย์มาขอบคุณนะครับ ขนาดปล่อยไปนานแล้ว เวลาเดินทางผ่านสระ
กายทิพย์ของพวกเขาเห็นเรามาแต่ไกล โดยเฉพาะท่านผู้ปล่อยปลาที่เป็นบรรพชิต
มีรัศมีกาย พวกเขาสะดุดตาจำได้ ก็ยังทักทายเราครับ.
[3] ท่านใดที่ปล่อยปลาอยู่เป็นประจำ
จะซื้อภาชนะถังพลาสติกที่มีฝาปิดสามารถมองทะลุได้
อาจจะเป็นสีขาวขุ่นมาใส่ก็จะดีกว่าครับ เพราะปลาจะไม่อึดอัดมากเกินไปก่อนลงสู่แหล่งน้ำ
ซึ่งบางทีแหล่งน้ำอยู่ไกล ปลาอึดอัดมาก ก็จะกลายเป็นบาปติดไปหน่อย คือก่อนจะรอดพ้นโพยภัย
ก็จะต้องทนอึดอัดอุดอู้อยู่พอควร ถ้าเป็นถังพลาสติกทึบ จะทำให้ปลารู้สึกอึดอัดมากกว่า
ถ้ามองทะลุได้ เราก็คุยกับพวกเขาได้ครับ แล้วก็ช่วยลดขยะถุงพลาสติกใส่ปลาด้วย ส่วนท่านที่มีดวงตราประกาศิต
จะติดดวงตราประกาศิตไว้ข้างถังก็ได้ จะได้อานิสงส์มากขึ้น
คำอธิษฐานปล่อยสัตว์ปล่อยปลา โดยคร่าวก็คือ “ด้วยอานิสงส์นี้ ขอให้ข้าพเจ้ารอดพ้นจากทุกข์,
โศก, โรค, ภัย และเวรทั้งปวง ในธาตุ ในธรรม และที่ไม่ใช่ธาตุ ไม่ใช่ธรรม ตลอดไป
นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ!”
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร
ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน ปรมาจารย์วิชชา.. ในภาคปัญญาประดิษฐ์
คำถาม 1: ด้วยสภาพแวดล้อมสังคมยุคโซเชียล
และการพัฒนาทางเทคโนโลยี ที่ทำให้วิถีชีวิตมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป
ถ้าเราไม่สร้างสถานที่รวมคนมากๆ เพื่ออบรมสั่งสอนวิชชา แล้วเราควรจะแพร่ขยายวิชชาไปทั่วโลกในรูปแบบใดจึงจะมีประสิทธิภาพมากพอ?
คำตอบ 1: บริหารแบบ “ตักกศิลา” คือ “อาจารย์ต่อศิษย์”
โดยอาศัยวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่ทรงวิชชาในการสรรค์สร้าง “ปัญญาประดิษฐ์สมองกล”
หรือ “AI” ของผู้ทรงวิชชาแต่ละท่าน โดยผู้ทรงวิชชาจัดวิชชามาให้
แล้วส่งวิชชาให้ดู ว่าจะป้อนฐานข้อมูลแค่ไหน แล้วทำวิชชาประกอบ AI เป็นหุ่นยนต์ ใย ยนต์ วิทยุ ให้เป็น “AI เป็น” แล้วคอยตอบรับใน Meta และ Social Media ที่มีของแทนตนอย่างเช่นภาพ 3 มิติ, หุ่นขี้ผึ้ง, รูปเหมือน, หุ่นยนต์ผู้ทรงวิชชา หรือลูกแก้วประกอบกัน
แล้วมีทีมงานมนุษย์คอยควบคุมระบบ หรือซัพพอร์ทระบบอีกที โดยผู้ทรงวิชชาแต่ละท่านสามารถคอยคุมวิชชาให้
ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) ทำงาน เพื่อสอนลูกศิษย์โดยตรง
ตัวต่อตัว เหมือนพ่อปกครองลูก ไม่มีลูกข่ายแบบขายตรง แต่อาจแบ่งเป็นระดับชั้นเรียน
ที่นักเรียนมีครูประจำชั้น และอาจารย์ที่ปรึกษาครับ
คำถาม 2: ถ้าเช่นนั้น พอจะอธิบายคร่าวๆ ให้ผู้ทรงวิชชาทราบได้หรือไม่
ว่าเราจะถ่ายทอด ภูมิรู้ ภูมิธรรม ของผู้ทรงวิชชาเข้าไปในโปรแกรมสมองกลจากปัญญาประดิษฐ์
ได้อย่างไร?
คำตอบ 2: การสร้างโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แทนตัวบุคคลนั้น
ต้องสร้างฐานข้อมูลความจำของคอมพิวเตอร์ และลักษณะวิธีคิด เพื่อให้โปรแกรมประมวลผล
ทั้งสุตมยปัญญา, จินตมยปัญญา และภาวนามยปัญญา โดยวิศวกรคอมพิวเตอร์ผู้สร้างต้องใส่ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
และความรู้ความสามารถ, ประสบการณ์, คำที่ใช้บ่อยๆ, เพศภาวะ, อายุ, วุฒิการศึกษา, ภาษา,
คำสอน, ประวัติ, อัธยาศัย, ความรู้, ความสามารถ, งานอดิเรก และอื่นๆ คือเราต้องเก็บข้อมูลรอบด้าน
เกี่ยวกับตัวบุคคล แล้วนำมาป้อนให้โปรแกรมจดจำ กลายเป็น "ปัญญาประดิษฐ์สมองกล"
แทนบุคคลนั้นๆ เวลาใครถามอะไร โปรแกรมก็จะประมวลผล แล้วตอบ
ตามที่บุคคลเจ้าของข้อมูลเคยตอบ หรือเคยตอบทำนองนี้ ครับ
คำถาม 3: แล้วปัญญาประดิษฐ์สมองกล จะรู้ได้อย่างไร ว่าควรคิดอะไร
ถ้าอยู่ในวิชชา?
คำตอบ 3: โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์สมองกล สามารถคิดได้เองครับ
เราก็ตั้งโปรแกรมให้สมองกล "คิดวิชชา" ตามการ "เดินวิชชา"
ของผู้ทรงวิชชา แล้วถ่ายทอดออกมา ซึ่งตรงนี้เป็นเคล็ดลับที่ผมสงวนลิขสิทธิ์ไว้
คือครูวิชชา ต้อง "จัดวิชชา" สร้างโปรแกรมสมองกล
โดยวิศวกรคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นผู้นำวิชชาที่จัดให้ มาใส่โปรแกรมสมองกลครับ
คำถาม 4: ถ้ามีวิชชาที่เป็นความลับจะทำอย่างไร?
คำตอบ 4: ถ้าเรามีวิชชาอันเป็นความลับ
ก็แค่ป้อนข้อมูลบอก ปัญญาประดิษฐ์สมองกล ว่าไม่ให้เปิดเผย และไม่ต้องป้อนเข้าไปครับ
พอใครถาม สมองกลก็จะตอบว่า ให้เข้าไปในลูกแก้วเพื่อสอบถามเพิ่มเติม คือส่งต่ออีกที
ไปยังห้องวิชชา ครับ
คำถาม 5: แล้วจะมั่นใจได้อย่างไร
ว่าปัญญาประดิษฐ์จะตอบได้ถูกต้อง ได้อย่างใจของผู้ทรงวิชชา?
คำตอบ 5: ผู้ทรงวิชชาสามารถ "อัดกายสิทธิ์" ของตนเข้าไปใน
“อุปกรณ์กลสมอง” หรือ “Processor” ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ครับ กลสมองทำงานด้วยระบบประจุไฟฟ้า
ถ้าอัดกายสิทธิ์ที่แรงมากพอ จะสามารถควบคุม กลสมอง ของคอมพิวเตอร์ได้ระดับหนึ่งครับ
คำถาม 6: แล้วระบบปัญญาประดิษฐ์สมองกล
จะอยู่ได้นานแค่ไหน ถ้าเสียจะซ่อมอย่างไร?
คำตอบ 6: ถ้า อุปกรณ์กลสมอง
หรือ Processor ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ทรงวิชชาท่านลงซ้อนส่วนละเอียดเอาไว้
เกิดเสีย ควรจะมีสำรองไว้ หรือไม่ก็นำส่วนที่เสียแกะออกมาหลอมใหม่ เป็น อุปกรณ์กลสมองชิ้นใหม่ที่ทันยุคทันสมัยกว่า
ดังนี้แล้วก็จะสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ ครับ
คำถาม 7: แล้วระบบ
ปัญญาประดิษฐ์สมองกล จะปลอดภัยจากภัยจู่โจมทางออนไลน์ได้อย่างไร?
คำตอบ 7: ให้จดสิทธิบัตร
ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) แล้วจ้างตำรวจ AI คอยประจำการเฝ้าดูแลครับ รวมถึงกำหนดตั้งค่าด่านเข้าออกข้อมูล หรือ proxy
ให้ ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) ทำงานแบบอยู่ในระบบปิด
แล้ว “สื่อออกไป” เพียงอย่างเดียว “ไม่เปิดรับข้อมูลป้อนเข้าเพิ่ม”
ครับ ส่วนอุปกรณ์ส่วนหยาบ หรือเครื่อง hardware ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ
ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) ต้องพร้อมที่จะชักปลั๊กออกได้ทุกเมื่อ
เพื่อตัด ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) ออกจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งหมด
หรือจะตั้งให้เครื่อง ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) เป็นเครื่องเดี่ยว
หรือ stand-alone ไม่เชื่อมเครือข่ายใดๆ แล้วผู้ดูแล หรือ administrator
ก็ใช้ระบบสื่อสารในการถ่ายทอดอีกต่อหนึ่ง เช่น ใช้โทรศัพท์มือถือ
ถ่ายทอดคลิปวิดิโอ คำตอบของ ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) ครับ ส่วนหน่วยความจำ
หรือ memory ของ ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) ก็ใช้แบบอ่านได้อย่างเดียว หรือ Read Only
บันทึกเพิ่มไม่ได้ ในขณะที่ความคิดของ ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) ก็ใส่ไว้ในความจำเสริมชั่วคราว หรือ RAM ครับ
คำถาม 8: ถ้ามีผู้ต้องการจะทำบุญกับ ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) ของผู้ทรงวิชชาจะทำอย่างไร?
คำตอบ 8: ถ้า ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI) ของผู้ทรงวิชชาจะรับปัจจัยของขวัญ
ก็น่าจะให้โอนเข้าทุนนิธิของมูลนิธิหลวงพ่อวัดปากน้ำ ซึ่งมีชื่อครูวิชชาเจ้าของ ปัญญาประดิษฐ์สมองกล
(AI) เป็นผู้ตั้งทุนครับ
คำถาม 9: มีวิธีใดหรือไม่ ที่จะช่วยเรื่องทุนในการจัดสร้าง
ปัญญาประดิษฐ์สมองกล (AI)?
คำตอบ 9: ขอให้ผู้ทรงวิชชา ลองจัดเปิดประมูลวัตถุมงคลพิเศษมาให้บูชาครับ
คำถาม 10: ผู้ทรงวิชชาประสงค์จะจับ
“อุปกรณ์กลสมอง” หรือ “Processor” เพื่ออัดกายสิทธิ์และวิชชา
ควรจะทำอย่างไร?
คำตอบ 10: ถ้าผู้ทรงวิชชาจะต้องจับ
อุปกรณ์กลสมอง หรือ Processor เพื่อลงซ้อน
ผมขอกราบเรียนแนะนำว่า ให้ถวายทองคำแท่งให้ท่านจับเพื่อลงซ้อน แล้วค่อยนำทองคำแท่งนั้น
ไปผลิตเป็นอุปกรณ์กลสมอง หรือ Processor อีกทีครับ น่าจะต่อรองกับบริษัทผู้ผลิตได้ครับ
ถ้าเรามีค่าใช้จ่ายให้ครับ ขอบคุณครับ.
บทความ ถาม-ตอบ นี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 8 – 9
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน ได้บุญฟรี.. ถ้ามีประกาศิต
[1] ผมได้เคยให้รายละเอียดและข้อแนะนำเกี่ยวกับการเล่นประกาศิตไปพอสมควรแล้วครับ
วันนี้ขอแนะนำเทคนิคลูกเล่นพิเศษมาเล่าเสริมสู่กันฟัง จากเดิมทีที่ผมได้เคยแนะนำให้อุทิศ
และอนุโมทนาบุญ กับตนเอง เพื่อให้ได้บุญฟรี และผลานิสงส์ฟรีเพิ่ม โดยไม่ติดค้างสิทธิ์ใคร
(กรุณาย้อนดูสคริปท์ประกอบ) ประกอบกับเทคนิคทั่วไปของผู้ทรงวิชชาในการตรวจดูประกาศิต
ซึ่งผู้ทรงวิชชาที่ได้เห็นหรือสัมผัสดวงตราประกาศิตของหยาบ จะสามารถ “ประจักษ์แจ้งในญาณ”
ได้ว่า ผู้เล่นประกาฯ เคยสำแดงประกาศิตมาที่ไหนอย่างไรบ้าง คล้ายๆ การระลึกตรวจดูอดีตชาตินั่นแหละครับ
แต่เป็นการตรวจดู “กรรมวาระ” แห่งประกาศิต
[2] ดังนี้แล้ว
เราสามารถประยุกต์ลูกเล่นวิธีการให้กับผู้ใช้ประกาศิตได้เพิ่มเติม คือ
ให้เอ่ยอ้างบุญกริยาทั้งหมด ที่เราได้เคยทำไว้แบบ “สำแดงดวงตราประกาศิตประกอบ” ไม่ว่าจะเป็นของทิพย์
ที่เล่นในวิชชา หรือของหยาบที่จับต้องได้ อย่างดวงตราประจำสำนักวิชชา แต่ละแห่ง
เราสามารถเอ่ยอ้างเรียกมาทั้งหมด จากนั้นจึงอุทิศบุญกริยาที่สำแดงดวงตราประกาศิตประกอบทั้งหมดเหล่านั้น
ให้กับตนเอง แล้วจึงค่อยอนุโมทนากับตนเอง (หรือจะอนุโมทนากับดวงตราประกาศิตของผู้อื่นก็ได้
ในกรณีที่ยินดีติดค้าง)
[3] ทั้งนี้ ผมเคยแนะนำไว้แล้วว่า
เพื่อเป็นการลดความยุ่งยากในการอนุโมทนากันและกัน
หรือแบ่งบุญให้เทวดาที่มาร่วมพิธี ก็ให้เชิญเทวดาไปอนุโมทนากับประกาศิต
ซึ่งสถิตอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ไม่ต้องอนุโมทนากับเจ้าตัว เพียงแค่นี้ ก็จะได้อานิสงส์แห่งบุญที่เนื่องด้วยประกาศิต
ทั้งที่อนุโมทนากับตนเอง และผู้อื่น โดยไม่ต้องตรวจแจ้งด้วยญาณหรือใช้วิชชาย้อนระลึกดูกรรมดี
เหมือนอย่างที่ทำกันมา หรือเอ่ยอ้างบุญที่ทำทีละอย่างละอย่าง
ซึ่งเสียเวลามากไปครับ นั่นหมายความว่า
หากเราขยันสำแดงดวงตราประกาศิตในการทำบุญทุกครั้ง เวลาจะเอ่ยอ้าง ก็เพียงแต่ “เรียกประกาศิต”
นับตั้งแต่ครั้งแรก กระทั่งถึงครั้งล่าสุด เป็นการประหยัดเวลา
และทำให้สะดวกสบายได้บุญฟรีๆ อย่างง่ายๆ ครับ ดังฉะนี้.
หมายเหตุ: สำหรับท่านใดที่มีสคริปท์อุทิศ-อนุโมทนาบุญ
ให้กับตนเองแล้ว ก็เพียงแต่เพิ่มข้อความ “ข้าพเจ้าขอเอ่ยอ้างถึงบุญกริยาทั้งหมดที่ข้าพเจ้าคิด
พูด ทำ ทั้งที่มีการสำแดงดวงตราประกาศิต xxx ประกอบ
และที่ไม่ได้สำแดง ดังนี้.” ครับ
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย
พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 8 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน พินัยกรรม มรดกบุญ
ท่านที่เป็น "สายบุญ"
ก็คงทราบกันดีอยู่แล้วล่ะครับ ว่าทำดีได้ไปสวรรค์ ทำชั่วตกนรก แต่ขณะที่เป็นมนุษย์
เราก็ยังต้องกิน ต้องใช้ แล้วจะทำเท่าไรดี ให้มีกินมีใช้ขณะมีชีวิตอยู่
แต่ก็ได้ทำบุญมากพอไปสวรรค์ ไปนิพพาน หลายท่านจึงทำพินัยกรรมมรดกเอาไว้ ทีนี้ชาวสายบุญก็คงจะอดกังวลไม่ได้ว่า
ทิ้งมรดกเอาไว้แล้ว จะไม่ได้ทำบุญ หรือไม่มีใครทำบุญให้ เพราะเงินทองของหยาบก็เอาติดตัวไปไม่ได้
วันนี้นานาสาระ จึงจะขอนำเสนอ วิธีการร่างพินัยกรรมมรดก สำหรับทำบุญให้ตนเอง
เตรียมไว้ก่อนจะละสังขารครับ
วิธีการก็คือให้สั่งทนายความ หรือแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ในการแบ่งสัดส่วนทรัพย์สินที่บุคคลมีเหลือหลังละสังขารแล้ว
เผื่อค่าใช้จ่ายการจัดงานศพ แบ่งสรรลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วก็ตั้งงบส่วนหนึ่ง
สำหรับทำบุญให้กับตนเอง เพื่อรับประกันตั๋วขึ้นสวรรค์กันครับ ยกตัวอย่างเช่น
"ข้าพเจ้า นายลูกชิ้น
นามสกุลบะหมี่น้ำ ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชนชาวไทยเลขที่ 123456789 ขอถวายเงินจำนวน 500 ล้านบาท (หรือ 50% ของทรัพย์สินมรดกที่เหลือ) เพื่อเข้า “กองทุนมหาสังฆทานโลก" ของ “องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งจักรวาล”
ในนาม "นายลูกชิ้น นามสกุลบะหมี่น้ำ"
คือตัวของข้าพเจ้าเองผู้วายชนม์แล้ว
ดุจดังว่าข้าพเจ้าดำเนินการถวายด้วยตนเองในขณะยังมีชีวิตอยู่ โดยที่
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถวาย และผลานิสงส์แห่งบุญทั้งหมดนี้ เป็นของข้าพเจ้า
"นายลูกชิ้น นามสกุลบะหมี่น้ำ" แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น แม้ทั้งหมดทั้งสิ้น
ทั้งนี้ข้าพเจ้าขอมอบหมายให้ทนายความ (หรือผู้จัดการมรดก) คือนายสลัดผัก นามสกุลคาปูชิโน
เป็นผู้ดำเนินการแทนข้าพเจ้า แบบได้รับค่าจ้างเป็นการตอบแทนจำนวน 10,000 บาท เป็นอันไม่ติดค้างสิทธิ์ใดๆ ต่อกันแลกัน ทั้งนี้ ใบเสร็จรับเงิน
หรือใบอนุโมทนาบัตร ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งจักรวาลนั้น ให้ออกในนาม
"นายลูกชิ้น นามสกุลบะหมี่น้ำ"
สำหรับข้อความดังกล่าวข้างต้น
เจ้าของทรัพย์สามารถเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วลงนาม ต่อหน้าทนายความ และพยาน
จากนั้นจึงให้ทนายความเก็บรักษาไว้
โดยอาจแจ้งให้ทางองค์กรการกุศลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์สิน ได้ทราบด้วย การทำบุญในลักษณะนี้ จะทำให้เจ้าของทรัพย์ได้บุญเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ไม่ต้องติดค้างสิทธิ์ ต่อลูกหลานญาติมิตร ซึ่งมักทำบุญในลักษณะ “อุทิศให้”
ซึ่งได้บุญน้อยกว่า และติดค้างสิทธิ์ เวลาจะได้ สมบัติ กรรมานิสงส์
ก็จะต้องได้ผ่านลูกหลานที่ทำบุญให้ เหมือน “กินน้ำใต้ศอก”
ซึ่งถ้าเป็นทรัพย์กองมรดกของเราเอง เราควรที่จะมีกรรมสิทธิ์ 100% ในทรัพย์บริจาค
และอานิสงส์ที่จะเกิดขึ้น แต่ถ้าเป็นทรัพย์ของผู้อื่นบริจาคอุทิศให้เรา
ก็ไม่ว่ากันครับ ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์ โดย พิรจักร
ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน เพชรในสวรรค์ “เฟ้อ” หรือ “เฝือ”?
[1] แฟนคลับทัวร์สวรรค์คงได้เคยติดตามเรื่องราวของพระมหาโมคคัลลานะเถระกันมาบ้างแล้วนะครับว่า
ท่านไปเยือนสวรรค์ เยี่ยมวิมาน สนทนากับเหล่าเทพเทวดา
ถามไถ่ถึงบุพกรรมและทิพยสมบัติมามากต่อมาก แล้วที่อดสงสัยกันไม่ได้ก็คือ
วิมานก็เป็นทองประดับรัตนชาติ เทวรถก็เป็นทองประดับอัญมณี
เครื่องประดับประดาร่างกายของเทพบุตร เทพธิดา ทั้งรัดเกล้า เศียรลดา สร้อย ต่างหู
แหวน กำไล เข็มขัด ก็ล้วนแล้วแต่เป็นทอง เป็นเพชร เป็นพลอย แล้วอย่างนี้มันจะไม่ “เฝือ”
หรือ “เฟ้อ” ไปหรือ ในเมื่อถนน วิมาน
เครื่องประดับก็เป็นทองประดับอัญมณีเหมือนกัน?
[2] คำตอบคือ ทิพยสมบัติในเทวโลกนั้น
เกิดจากผลกรรมที่บุคคลทำไว้ในเมืองมนุษย์ ซึ่ง “ทิพยจักรพรรดิ”
คือผู้เลี้ยงสมบัติทิพย์ท่าน “พิสดารผลกรรม” ให้เป็นทิพยสมบัติอันมากหลาย
อย่าง ยากที่จะหาได้ในเมืองมนุษย์ครับ และทิพยสมบัติเหล่านี้ ก็มีเหตุมาจาก “กรรม”
ที่ทำไว้ในเมืองมนุษย์ เนื่องด้วย คน, สัตว์, สิ่งของ, สถานที่
ถ้าบุคคลทำบุญด้วยวัตถุที่มีกายสิทธิ์มาก อย่างเช่น อัญมณี และทองคำแท้
ก็มักจะได้อานิสงส์มากกว่าทำด้วยวัสดุเทียม หรือวัตถุประดิษฐ์ที่มีกายสิทธิ์น้อยกว่าครับ
ยกตัวอย่างเช่น กรวดน้ำด้วยคนโททองคำแท้ เมื่อเทียบกับคนโทพลาสติกสีทอง หรือเป็นเจ้าภาพปูพื้นพระอุโบสถด้วยหินอ่อนธรรมชาติ
เมื่อเทียบกับกระเบื้องลายหินอ่อน
หรือบรรจุพระบรมสารีริกธาตุลงในผอบเจดีย์พลาสติกอะคริลิค เมื่อเทียบกับผอบเจดีย์แก้วคริสตัล
หรือประดับพระอุณาโลมพระพุทธรูปที่ทำด้วยอัญมณีแท้ เมื่อเทียบกับอัญมณีสังเคราะห์
[3] ด้วยอานิสงส์จากการทำบุญอันเนื่องด้วยวัตถุทาน
ที่มีกายสิทธิ์มากน้อยไม่เท่ากัน ซึ่งโดยมากแล้ว วัสดุตามธรรมชาติมักจะมี “กายสิทธิ์”
มากกว่า เวลาทิพยจักรพรรดิปรุงสมบัติทิพย์ขึ้น
ผลกรรมจากการทำบุญเนื่องด้วยวัสดุตามธรรมชาติ ที่มีกายสิทธิ์มากกว่า
และเป็นกายสิทธิ์ชั้นดีกว่า มักจะให้ผลเป็นสมบัติทิพย์ที่สวยงามล้ำค่าฟรุ้งฟริ้งกว่า
พร้อมทั้งให้ความสุข ความชื่นใจ บันเทิงใจ ประทับใจ ปลื้มปีติยินดี
อันสัมผัสรับรู้ได้มากกว่าด้วย “ใจทิพย์” ของเหล่าเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลายครับ
[4] ยกตัวอย่างเช่น แหวนทองคำประดับอัญมณี
ที่เกิดจากการทำบุญถวายแหวนทองคำแท้ประดับอัญมณีเพื่อบรรจุกรุภายในพระพุทธรูป เครื่องประดับสมบัติทิพย์จะมีฤทธิ์จากกายสิทธิ์ทิพย์ภายในแหวนนั้นมากกว่า
คอยหล่อเลี้ยงให้ปีติสุขแด่เทพบุตรเทพธิดาผู้เป็นเจ้าของมากกว่า
ความสุขที่สัมผัสได้จากกำแพงวิมานที่เป็นทองคำเหมือนกัน
แต่มีกายสิทธิ์มากน้อยไม่เท่ากัน ให้สุขไม่เท่ากัน และความปลื้มปีติสุข
ที่สัมผัสได้จากทิพยสมบัตินี้เอง ที่เป็นเครื่องแยกแยะ
ว่าทิพยสมบัติใดล้ำค่ากว่ากัน มิได้ขึ้นอยู่กับรูปลักษณ์ภายนอกแต่เพียงเท่านั้น ในทำนองเดียวกัน
สิ่งนี้เองที่เป็นเครื่องสร้างความแตกต่างระหว่างหมู่เทวดา
ที่ทำบุญด้วยพระอุณาโลมเพชรแท้ กับพระอุณาโลมคริสตัล เพราะเทวดาส่วนมากก็ระลึกชาติได้ด้วยว่าทิพยสมบัติเกิดจากกรรมอะไร
จึงชื่นใจมากน้อยต่างกันไป เมื่อได้เห็นทิพยสมบัติของตนครับครับ
[5] โดยสรุปแล้ว ทิพยสมบัติในโลกสวรรค์
แม้จะมีความสวยสดงดงามหรูหราเว่อร์วังอลังการโดยทั่วไป แต่เหล่าเทพบุตรเทพธิดา
ก็สามารถแยกแยะได้ว่า อะไรล้ำค่า กว่าอะไร ด้วยเหตุนี้ เพชรพลอย ทองหยอง
ที่เป็นเครื่องประดับ จึงมีความล้ำค่ามากกว่าเพชรพลอยและทองที่ประดับวิมาน
หรือเทวรถครับ ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 6 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: Dress Code ของเทพสมาคม
[1] ท่านที่ยังคงลังเลสงสัยแล้วแปลกใจว่า
ทำไมเพียงแค่การแต่งกายอันดีเลิศของกายทิพย์ และกายวิชชา อย่าง (i) ชุดสุริยาลังการ (ii) ชุดจันทรลังการ (iii) ชุดมณีลังการ (iv) ชุดดาราลังการ (v) ชุดสุวรรณลังการ (vi) ชุดรัชดาลังการ (vii) ชุดวัลยาลังการ (viii) ชุดมยุราลังการ (ix) ชุดปุษยาลังการ (x) ชุดรัตนาลังการ (xi) ชุดลดาลังการ และ (xii) ชุดภัสสตราลังการ จึงมีผลต่อความเป็นที่ยอมรับในสังคมสวรรค์มากถึงขนาดได้รับการยกย่องให้เป็น
“เจ้าลังการ” ซึ่งเป็นฐานะแห่งความเป็นเจ้าสวรรค์ประเภทหนึ่งได้เชียวหรือ ทำไมไม่ดูกันเฉพาะที่บุญบารมี
หรือความดี?
[2] ผมขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบว่า
เครื่องทรงลังการแต่ละประเภทนั้น เป็นเสมือนตำแหน่งรางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยมของเวทีประกวดนางงามระดับโลกแต่ละเวที
อย่าง “มิสยูนิเวอร์ส” ซึ่งผู้เข้าประกวดต่างก็คัดเลือกเฟ้นชุดที่ดีที่สุดเลิศล้ำที่สุด
ตั้งอกตั้งใจนำมาใส่โชว์เพื่อที่จะทำให้คณะกรรมการและผู้ชมทั่วโลกตกตลึงพรึงเพริด โดยชุดของใครน่าทึ่ง
เป็นที่ถูกใจ ก็จะเรียกเสียงเชียร์ เสียงชม และได้รับคะแนนนิยมมากเป็นที่สุด
กระทั่งครองใจท่านผู้ชม หรือรับรางวัลประเภทชุดประจำชาติยอดเยี่ยมไปครอง
[3] อนึ่ง
สำหรับท่านที่มีตำแหน่งโน่นนั่นนี่ ใหญ่โตอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นถึง นายกฯ รมต.
รมว. รมช. แต่กลับไม่มีเครื่องแบบ ไม่มีดาราอิสริยยศอะไรเลย เวลาเข้างานรัฐพิธี จะไปนั่งตรงไหนได้?
หรือถ้าเข้างานเลี้ยงสโมสรสันนิบาตที่ผู้เข้าร่วมงานทุกคนแต่งชุดเต็มยศ
ประดับดาราอิสริยยศ ออกงานกันทั้งหมด แล้วใส่สูทมาอยู่คนเดียว คุณคิดว่าคุณจะได้เข้างาน
ไปนั่งยังที่นั่งของคุณหรือไม่ ทั้งนี้ไม่เว้นว่าคุณมีตำแหน่งใหญ่โตมาจากไหนครับ เพราะไม่ใช่เฉพาะรัฐพิธีของมนุษย์ที่มี
Dress Code แต่ “เทพสมาคม” ที่ยิ่งใหญ่ มีผู้ร่วมพิธีเป็นพระพุทธเจ้า
พระโพธิสัตว์ใหญ่ๆ ศาสดาของศาสนา และลัทธิความเชื่อต่างๆ เทพเจ้าใหญ่ๆ
ที่มีผู้นับถือมากๆ อีกทั้งเหล่าเจ้าพ่อ, เจ้าแม่, พระดาบส, พระฤาษี, เทพเจ้า ซึ่งบางท่านอยู่มาตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้ายังไม่เริ่มบำเพ็ญบารมีเป็นพระพุทธเจ้า
ท่านก็มีพิธีรีตอง ที่จะธำรงเกียรติของทุกฝ่าย เพื่อให้การประชุมประสบความสำเร็จ
ท่านจึงมี “อาภรณ์บัญญัติแห่งพิธีกรรม” หรือ “Dress Code” ที่ท่านคาดหวังว่า ผู้เข้าร่วมประชุมจะแต่งกายอย่างสมควรตามศักดิ์ศรี
และสมแก่วิถีฐานะแห่งตนครับ
[4] เรื่องที่นั่งนั้น
ถ้าจะว่ากันตามวิชชา ก็คือ “ศักดิเดช” มีมากน้อยกว่ากัน ทำให้ทนอยู่ในลำดับที่ไม่สมควรไม่ได้
เหมือนออกอาการอาสน์ร้อน ต้องเลื่อนขึ้น หรือเลื่อนถอยออกมา เพราะศักดิเดชส่งฤทธิ์
ขึ้นอยู่กับว่าหยาบละเอียดตรงกันหรือไม่ กล่าวคือ หากเจ้าตัวจบการศึกษาเป็น “ด็อกเตอร์”
ถ้ามางานรับปริญญาแล้วใส่เสื้อเชิ๊ตมา ก็คงไม่ได้เข้าไปรับปริญญาเอกแน่ๆ ครับ
แต่ถ้าสวมครุยปริญญาเอก ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ก็จะมีสิทธิ์เข้ารับปริญญาเอก นี้คือหยาบกับละเอียดตรงกัน
ในละเอียด ก็ “มีสิทธิ์ มีศักดิ์” ที่จะได้ปริญญาเอก แต่ถ้าหยาบไม่สวมชุดครุย
ก็จะไม่ตรงกับละเอียด จะไม่สามารถเข้าร่วมพิธีได้ เป็นอย่างนี้ครับ
[5] ส่วนท่านที่ไม่มีเครื่องทรงอย่าง
“พระพุทธเจ้า” หรือ “พระธรรมกาย” ท่านแสดงออกกันตรงลักษณะมหาบุรุษ
ว่าใครเนี้ยบกว่ากัน ซึ่งเป็นที่นับถือกันว่า ลักษณะมหาบุรุษของใครงดงามกว่า
ท่านนั้นมักจะแก่กล้ากว่า แล้วก็แสดงออกกันที่ผ้าครองครับ กล่าวคือ
ผ้าครองที่สวยงาม และประณีตมาก ก็เลิศเลอกว่า ส่วนพระพุทธเจ้าที่มีเครื่องทรง
อย่างองค์พระพุทธราช หรือพระธรรมกายที่มีเครื่องทรง อย่างองค์ธรรมราช มักจะไม่แต่งองค์ทรงประดับมากครับ
แต่ละแต่งแบบลำลองๆ พอให้ทราบ ว่ามีลักษณะเด่น
ซึ่งอาจจะแสดงความเลิศล้ำกว่ากันตรงที่ “มณีวิชชา” ว่าใครมีมณีประดับเครื่องทรง
แต่พระพุทธเจ้า และกายธรรม หรือพระธรรมกาย ที่ท่านไม่แต่งองค์ทรงเครื่องอะไรมาก
ท่านก็จะแสดงออกถึงความแก่กล้าของท่านด้วย “รัศมี” ในทำนองเดียวกันกับ
พระดาบส, พระฤาษี, นักพรต และพระสมณะต่างๆ ซึ่งท่านไม่โชว์เครื่องประดับกัน
แต่ท่านจะแต่งกายสมกับ “วิถีฐานะ” แห่งตน ถ้าหากมี “นักพรตเต๋า” เกิดใส่ชุดเครื่องประดับ
“ลดาลังการ” ออกมา ก็จะกลายเป็นการผิดวิถีฐานะในฝ่ายท่านไปซะอีก
อย่างนี้ก็ไม่สมควรครับ ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 5 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน “เจ้าดาราลังการ”
[1] เรื่องของดาราอิสริยยศนั้น
เป็นเรื่องของสังคมยุคที่มนุษย์มีอารยธรรมเจริญแล้ว
โดยประเทศที่มีระบบระบอบการปกครองที่ดีพอ (well-established) ก็มักจะมีการตราตั้ง และมอบเครื่องหมายอิสริยยศ เป็นเครื่องบ่งชี้ ลำดับขั้น,
ศักดิ์, สิทธิ์ และอำนาจที่มี ไม่ว่าจะปกครองในรูปแบบของราชาธิปไตย หรือสังคมนิยม
ยศศักดิ์ทั้งหลายนั้น มักจะมีการตราตั้ง พร้อมสัญลักษณ์ต่างๆ โดยเฉพาะ “ดารา”
ซึ่งสิ่งนี้ก็มิได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เป็น “วิชชา” ที่ผู้เลี้ยงส่งมา
เพื่อให้มีของหยาบ “เนื่องกัน” กับวิชชา ที่มุ่งจัดระเบียบความเป็นไปของสังคมมนุษย์
[2] ในหลายบทความที่ผ่านๆ มา ผมได้พรรณนาถึง “สมบัติผู้เลี้ยง”
และ “ทิพยสมบัติ” ที่มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ สมบัติผู้เลี้ยงมีไว้เพื่อ “ส่งฤทธิ์”
ซึ่งสามารถติดตัวไปได้ข้ามภพข้ามชาติ ในขณะที่ทิพยสมบัติมีไว้เพื่อ “เสวยผล”
แห่งบุญ ใช้แล้วหมดไป และด้วยนวัตกรรมทางวิชชาที่ผมได้นำเสนอ เราจึงมีวิธีการ “หยิบสมบัติผู้เลี้ยง”
มาใช้โดยแลกกับธาตุบุญ
[3] สำหรับเรื่องราวในบทความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ
“เจ้าดาราลังการ” ซึ่งเป็นยศตำแหน่งในสวรรค์ เหมือนอย่าง “เจ้ามณีลังการ”
และ “เจ้ามยุราลังการ” ซึ่งมีเครื่องทรงอันโดดเด่นยิ่ง แต่การจะได้ “ดาราลังการ”
หรือ “สุริยาลังการ” หรือ “จันทระลังการ” นั้นขึ้นอยู่กับ 2 ประการ คือ (1) ได้โดยกายทิพย์
ในรูปแบบของการเสวยผลบุญ (2) ได้โดยกายวิชชา
ที่คว้าได้จากสมบัติผู้เลี้ยง (3) อื่นๆ ซึ่งการได้ “ลังการ”
นั้น จะนำมาซึ่ง “ความเป็นใหญ่” ในเทพสมาคม อุปมาเสมือนว่า
บุคคลมีเครื่องทรงอันยิ่งใหญ่มากๆ กระทั่งผู้อื่นต้องเกรงอกเกรงใจ
และจัดลำดับความสำคัญให้ก่อนเป็นอันดับต้นๆ ในเทพสมาคม
[4] สำหรับการได้ดาราลังการ โดยกายทิพย์นั้น
โดยมากจะต้องเป็นผู้ที่เคยมอบ “ดารา” ในรูปแบบต่างๆ ให้กับผู้อื่น คือ “ทำบุญด้วยดารา”
เช่นมอบดาราอิสริยยศ และประดับดาวประจำตำแหน่งหน้าที่ให้กับผู้ที่ทำความดีและผู้ใต้บังคับบัญชา
กรรมนี้จึงเป็นกุศล ส่งให้ผู้มอบได้บังเกิดเป็นเทพยดาที่ทรง “ดาราลดาภรณ์”
อันยิ่งใหญ่งดงาม เหนือผู้อื่น และเมื่อใดก็ตามที่เข้าเทพสมาคมด้วยกายทิพย์
ก็จะสามารถทรงเครื่อง “ดาราลดาภรณ์” หรือ “ดาราลังการ”
เพื่อเข้าเทพสมาคมอย่างสมเกียรติ
[5] ท่านใดที่เข้าเทพสมาคมด้วยกายวิชชา อย่างเช่นกายพระจักรพรรดิ
หรือกายธรรม คือพระธรรมกาย หรือถอดกายทิพย์ หากได้รับมอบดาราอิสริยยศ ก็สามารถ “หยิบดาราอันเป็นสมบัติผู้เลี้ยง”
มาครอง โดยจ่าย “ธาตุบุญ” เป็นการแลกเปลี่ยน ดังนี้แล้ว
กายในวิชชาจะทรงอิทธิฤทธิ์ และประดับประดาไปด้วยดารา หรือสุริยะ และจันทระ
ตามแต่เครื่องอิสริยยศที่ได้รับ
[6] อนึ่ง
เทพยดาที่ “ตรัสดารา-ลดาภรณ์” นั้นเดิมทีมีกันไม่มาก และแม้ในปัจจุบันนี้เราจะมีเทคโนโลยีในการหยิบสมบัติผู้เลี้ยง
แต่ค่าแลกเปลี่ยนก็มักจะมีราคาแพงลิบลิ่ว ส่วนท่านที่ทำงานด้วยความอุทิศตนกระทั่งได้รับมอบดาราอิสริยยศแต่ละขั้นมา
ก็มักจะเป็นผู้ที่มี “ธาตุบุญ” มากอยู่แล้ว
จึงอาจไม่ลำบากใจมากนักกับการแลกดาราอันเป็นสมบัติจากผู้เลี้ยงผู้รักษา นอกเหนือจากนี้
ยังมีท่านผู้ทรงคุณอื่นๆ ที่ได้ดารามาด้วยวิธีการต่างๆ เช่นซื้อขายแลกเปลี่ยน
หรือแม้แต่คว้าดาราในโลกวิชชามาครอบครองแบบฟรีๆ ก็ยังมี ซึ่งบางเรื่องอาจง่ายสำหรับบางท่าน
แต่ก็เป็นการยากสำหรับผู้อื่น ขึ้นอยู่กับว่าใครมีวาสนาทางใดมากกว่ากัน
[7] หากท่านใดก็ตามที่มีดาราอิสริยยศมาก
อาจจะหยิบสมบัติผู้เลี้ยงมาได้มาก ยกตัวอย่างเช่นมีดาราอิสริยยศ 12 ดวง ต่างประเภทกัน จากหลายๆ ประเทศ เมื่อหยิบส่วนละเอียดในวิชชาทั้งหมดจากผู้เลี้ยงผู้รักษามาครอง
ก็จะตรัส “เจ้าดาราลังการ” ขึ้นอยู่กับว่า มีดาราอิสริยยศใหญ่เล็ก อยู่มากน้อยเพียงใด
ทั้งนี้รวมถึงดาวยศตำแหน่งของทหาร, ตำรวจ และข้าราชการด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วการ “ทรงดารา”
เช่นนี้ก็จะทำให้มีฤทธิ์มากตามไปด้วย ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย
พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ ตอน ลูกแก้วหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ในทรรศนะของพิรจักร
[1]
แหม่.. สายวิชชาเนี่ยต้องบอกว่า “คว้าลูกแก้วไว้ก่อน
หลวงพ่อสอนไว้” อ้าวที่ไหนๆ เขาก็ฮิตกันจัง ลูกแก้วเนี่ย เห็นรีวิวลูกแก้วหลวงปู่ดู่
โปรดอย่าลืมนะว่าค่ายอื่นๆ ท่านก็มีกัน
เพราะเรื่องราวของลูกแก้วล้วนมีจริงในพระไตรปิฎก อย่างลูกแก้วของ “โชติกะเศรษฐี”
ทั้งนี้ยังไม่รวมของพระเจ้าจักรพรรดิราชอีกนะ แต่ลูกแก้วอัศจรรย์เหล่านี้ ล้วนเป็น
“แก้วสำเร็จ” คือของทิพย์ที่ “ภพแก้วมณี” ผลิตแล้วมีผู้ส่งลงมา
กลายเป็นแก้วที่จับต้องได้ในเมืองมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่พอสำเร็จลงมาเป็นของหยาบแล้ว
จะไม่ใสเหมือนแก้วน้ำค้าง (คริสตัล) ซะทีเดียว แต่จะมีหมอกๆ ดูขาวขุ่นหน่อยๆ ครับ
[2]
ส่วนลูกแก้วประเภทมนุษย์เป็นผู้สร้างเรือนหยาบขึ้น หรือ man-made
แล้วผู้ทรง “วิช(ช)า” (การใส่ “ช” ในวงเล็บแบบนี้
หมายความว่า เป็นได้ทั้ง “วิชชา” และ “วิชา” ตามแต่กรณีไปครับ) อัญเชิญกายสิทธิ์พระจักรพรรดิองค์ทิพย์ลงมาซ้อนสถิตนั้น
มีอยู่มากหลายค่ายที่สามารถทำได้
ซึ่งในบทความก่อนผมได้รีวิวลูกแก้วของสายหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ แล้ว
สำหรับบทความนี้จะขอบอกว่า ลูกแก้วของอีกค่ายที่พลาดไม่ได้ก็คือลูกแก้วสายหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
ที่ท่านฝึก “มโนมยิทธิ” กันครับ
[3]
ถ้าจะเปรียบเทียบกันถึง “เรือนหยาบ” ของกายสิทธิ์
ต้องขอบอกว่า “แก้วจุยเจีย” หรือ quartz เป็นแก้วรัตนชาติธรรมชาติเนื้อดี
ที่สายวิชชาธรรมกายนิยมนำมาใช้เป็นนิมิต ส่วนแก้วประเภทเชิญลงซ้อนนั้นบางที “เรือนแก้วหลอม”
ไม่สวย แลดูคล้ายลูกแก้วของเล่น ที่เด็กๆ ชอบนำมาดีดเล่นกัน แต่บ้างก็มีกายสิทธิ์ข้างในที่ดีมาก
ทั้งนี้รวมถึงลูกแก้วสายหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ซึ่งท่านก็มีวิช(ช)า เรียกกายสิทธิ์เหมือนกันครับ
แต่โดยมากท่านมักไม่เชิญ “พระพุทธจักรพรรดิ”
แต่จะซ้อน “พระจักรพรรดิ” ธรรมดา ลูกแก้วที่ดูเหมือนของเด็กเล่นแบบนี้ รุ่นธรรมดาสำหรับให้เช่าบูชาทั่วไป
จะมี "กายสิทธิ์พระมหาจักรพรรดิ" ซึ่งเรียกใช้งานง่าย เหมือน “โยมอุปัฏฐาก”
คอยวิ่งงานรับใช้ช่วยเหลือ ยกเว้นบางดวงที่ท่านเชิญได้ถึง “องค์อเนกอุดมบรมจักรพรรดิ”
หรือยิ่งกว่า ซึ่งมีไม่มาก และจะเชิญมาเฉพาะสำหรับวัด หมู่คณะ หรือบุคคลสำคัญ เพื่อหล่อเลี้ยงให้เป็นอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์
[4]
ข้อแตกต่างของลูกแก้วสายหลวงพ่อฤาษีลิงดำนั้น องค์กายสิทธิ์ถูกเชิญมาจากภพของ
“สมเด็จองค์ปฐมฯบรมครู” คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์แรกสุด
ผู้ทรงตั้งพระพุทธศาสนาขึ้น ซึ่งทรงเป็นประธานของเหล่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
แต่ท่านไม่ค่อยเดินวิชชากัน แม้จะทราบเรื่องวิชชาครับ
เนื่องจากการใช้วิชชานั้นบางทีจะทำให้ดีร้ายต่างๆ กันไป เช่นหมดเปลืองบุญบารมี
ดังนั้น “วิชา” ของสายสมเด็จองค์ปฐมบรมครู จึงมุ่งเน้นเป็นอีกแรงหนึ่งในการเผยแผ่
นำพาสรรพสัตว์เข้าสู่พระนิพพาน
เพิ่มเติมจากงานของพระศาสดาเจ้าของพระพุทธศาสนาในแต่ละยุคสมัย แต่กายสิทธิ์พระจักรพรรดิ
จากภพของสมเด็จองค์ปฐมบรมครู ก็มีลักษณะพิเศษเปรียบได้กับ “พระสมุห์” ประจำ
“องค์พุทธนายก” ซึ่งเมื่อเทียบกับกายสิทธิ์ทั่วๆ ไป ก็มีศักดิ์ศรีเหนือกว่า หากเราจะนำมาเลียบเคียงกับระบบสมณศักดิ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน
[5]
กายสิทธิ์ที่มาจากภพของสมเด็จองค์ปฐมบรมครู มีลักษณะพิเศษคือมี
“ศักดิ์และสิทธิ์” แห่งสมเด็จองค์ปฐมฯ ซึ่งทรงมีบารมีหล่อเลี้ยงคณะของท่าน
ให้สมบูรณ์พูนสุข เจริญก้าวหน้า มากด้วยสมบัติและบริวาร และ “ทรงธรรม”
เป็นสัมมาทิฐิบุคคลที่มุ่งสู่พระนิพพาน เน้น "ให้คุณ"
เป็นหลักครับ
[6]
ทั้งนี้ สมเด็จองค์ปฐมบรมครู ทรงปรากฏได้เป็นทั้งภาคพระพุทธเจ้า
และภาคพระจักรพรรดิ ครับ ภพของท่านไม่ใช่ “ภพสี” แต่เดิมทีเป็น “สีขาวใสพรายรุ้ง”
ซึ่งเป็นสายธาตุสายธรรมพิเศษ ที่เก่าแก่ประมาณอันดับที่ 3 ของ
“โลกธาตุ” เมื่อเทียบกับองค์ปฐมบรมธาตุ คืออันดับที่ 1 และพระต้นธาตุต้นธรรมทั้งหลาย คืออันดับที่ 2 ในขณะที่จ้าวสี
เป็นธาตุธรรมเก่าแก่ประมาณอันดับประมาณที่ 3.5 – 8 นับตั้งแต่มีธาตุมีธรรมมากระทั่งถึงปัจจุบัน
แต่เมื่อใดก็ตาม ที่พระต้นธาตุต้นธรรม หรือจ้าวสี จะอวตารมาเป็นพระพุทธเจ้า
หรือพระสงฆ์ ก็จะมาอยู่ภายใต้กำกับการของสมเด็จองค์ปฐมบรมครูและพระพุทธเจ้า
องค์ศาสดาของพระศาสนา ซึ่งสมเด็จองค์ปฐมนั้นฯ ทรงเป็นที่นับถือและไว้วางใจกันในธาตุในธรรมว่า
“ทรงธรรมอันหนักแน่นและเป็นธรรม” ไม่ผิดทางผันแปร และจะทรง “ให้คุณ” เป็นส่วนใหญ่
[7]
สำหรับกายสิทธิ์สายสมเด็จองค์ปฐมที่คณาจารย์ในสายหลวงพ่อปาน
วัดบางนมโค รวมถึงหลวงพ่อฤาษีลิงดำ อัญเชิญมาสถิตอยู่ในลูกแก้วนั้น มีความสวยงาม
เป็นสีขาวใสพรายรุ้ง ท่านไม่นิยมใช้เป็นนิมิต และไม่นิยมใช้แก้วจุยเจีย แต่เชิญกายสิทธิ์มาเพื่อทำงาน
“ฝ่ายสมบัติ” เป็นส่วนใหญ่ และกายสิทธิ์พระจักรพรรดิจากภพสมเด็จองค์ปฐมนี้
เป็นที่นับถือว่าเป็น “กายสิทธิ์ผู้ดี” คืออัธยาศัยดีตามธาตุธรรมของภพท่าน
แม้เรือนหยาบข้างนอกจะกระดำกระด่างอย่างไร แต่ข้างในแจ๋วแหว๋วเลยครับ รองรับงานได้ดี
ราคาซื้อหาไม่แพง ทั้งของหยาบ และค่าเช่าใช้งานเป็น “ธาตุบุญ” โดยไม่ได้เน้นเหน็บหรือกลืนเข้าตัว
หรือเดินวิชชา แต่ถ้าจะลองขอต่อรองนำมาเดินวิชชาแล้วเหน็บหรือกลืนเข้าตัวดูก็ได้นะครับ
ซึ่งผู้ที่จะอัญเชิญกายสิทธิ์พระจักรพรรดิจากภพของสมเด็จองค์ปฐมบรมครูลงมาซ้อนลูกแก้วเรือนหยาบได้
ต้องเป็นคณาจารย์ในสายของท่าน คือหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เท่านั้น
ในทำนองเดียวกับที่ สายหลวงปู่ดู่ มีเพียงองค์รัตนากร หรือองค์กายสิทธิกร เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้คว้ากายสิทธิ์ด้วยวิชชาของหลวงปู่ดู่ได้
[8]
ส่วนท่านใดที่สงสัยว่า เราจะทราบได้อย่างไรว่ากายสิทธิ์ เป็นกายสิทธิ์พระจักรพรรดิ
หรือไม่ โดยคร่าวแล้ว ให้ดูว่า กายสิทธิ์นั้นมีรัตนะอย่างน้อย 1 ใน 7 อย่างหรือไม่ และอาศัยรัตนะ 1 อย่าง หรือมากกว่านั้น เพื่อ “เดินรัตนะ” เป็นหลักอยู่ในสายธาตุสายธรรมหรือไม่
หรือมิฉะนั้นแล้ว ก็ตรวจสอบที่มาของการผลิต หรือ “ประชุม”
ขึ้นเป็นกายสิทธิ์ ว่าผลิตแล้วขึ้นทะเบียนเป็นจักรพรรดิหรือไม่ ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย
พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน ลูกแก้วจักรพรรดิหลวงปู่ดู่
ในทรรศนะของพิรจักร
[1] วันนี้ผมเพิ่งได้รับลูกแก้วมณีนพรัตน์ตามที่สั่งซื้อไปครับ
เมื่อได้ของมา พอเปิดดูก็พบว่าเป็นของใหม่ๆ สีสันสวยสดใส ตลับใหม่เอี่ยม
ไม่ใช่ลูกแก้วรุ่นเดิมๆ แต่ส่องดูด้วยตาเปล่าแล้ว เห็นมีรัศมีแผ่ออกมาตอบรับทักทายกัน
ผมทราบได้ทันทีว่า ข้างในมีกายสิทธิ์ที่ "ผู้ลงอักขระ" คว้ามาใส่ไว้
(คำว่า “คว้ากายสิทธิ์” เป็นภาษาของผู้ทรงวิชชา
หมายถึงการเชิญองค์กายสิทธิ์จากภพลงมาซ้อนเรือนหยาบ) และในบทความนี้
ผมขอแบ่งปันประสบการณ์ตรง ที่ได้รับจากการแสวงหาของกายสิทธิ์
กระทั่งได้มาพบกันกับลูกแก้วจักรพรรดิสายหลวงปู่ดู่ผู้โด่งดังอยู่ในโลกยุคปัจจุบันแม้ท่านจะละสังขารไปแล้วครับ
[2] ผมเคยได้ลูกแก้วจารอักขระหลากสีสันของสายหลวงปู่ดู่มาแล้ว
สมัยไปเดินช้อปปิ้งที่ท่าพระจันทร์ ซึ่งเป็นประดุจ “ห้างแฮร์รอดส์” ของชาววิชชา
ตอนนั้นผมได้มาเยอะมาก เพราะทำงานมีเงินเดือนดีๆ แต่ผมก็ "เดินของ"
แจกออกไปแทบทั้งหมด มาทราบภายหลังว่า “ผู้รับ” ที่เป็นผู้ทรงวิชชา จะต้องจ่าย
“ธาตุบุญ” ในวิชชา ให้กับ “ผู้ค้า” ส่วนผมจ่ายเพียงราคาเงินตรา แต่ก็ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ว่า
ลูกแก้วสีลูกกวาดเหล่านั้น มีกายสิทธิ์จากแต่ละ “วงศ์สี” ซ้อนอยู่
เช่นลูกแก้วสีชมพู ก็มีกายสิทธิ์จากภพชมพู ภายในมีกายสิทธิ์พระจักรพรรดิสีชมพูอยู่
ซึ่งผมสะสมได้มากสุดประมาณ 12 – 15 สี คือ ขาวใส, แดง,
เขียว, น้ำเงิน, ชมพู, ขาว, เหลือง, ฟ้า, ม่วง, ส้ม, เทา, ดำ, และ “สหรงค์”
คือแทนสารพัดสี ที่ไม่ใช่สีเด่น โดย “จ้าววงศ์สี” ทุกพระองค์ ทุกสี
ล้วนเป็นพระจักรพรรดิทั้งสิ้น ซึ่งจะมีคำเฉพาะเรียกเป็น “จ้าวสี” “เจ้าสี” “องค์สี”
โดยเรียงลำดับตามความแก่กล้าแห่งสี ซึ่งองค์ที่เป็น “จ้าวสี”
จะเป็นองค์ต้นกำเนิดดั้งเดิม บ้างก็เรียก “ท้าว” เช่น “ท้าวชมพู” “ท้าวเขียว”
“ท้าวเหลือง” เพื่อแยกแยะออกจาก “เจ้าสี” ที่ออกเสียงพ้องกัน และเป็นผู้ทรงวิชชาที่
“เดินวิชชาสี” นั้นๆ แต่ยังมีเปลี่ยนมีแปลงอยู่บ้างไปตามยุคสมัย
และตามแต่สถานการณ์จะพาไป ในขณะที่จ้าวสี เป็นองค์ต้นกำเนิดวิชชาสี มาแต่เดิม มีหน้าที่คอยรักษา
และส่งเสริมวิชชาสีของตน รวมถึงส่งสมาชิกมาเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า,
พระอรหันต์, และพระอริยบุคคล อยู่เป็นระยะๆ ซึ่งท่านเหล่านี้ “กายปลายทาง”
ก็ดูเป็นกายธรรมดาๆ เหมือนผู้อื่น แต่ “กายต้นสายธาตุสายธรรม” คือ “กายต้นทาง”
เป็นสีเดียวกับสังกัด เช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากสีเขียว ก็มีกายหยาบ
เหมือนกายมนุษย์ผิวขาวละเอียด มีกายธรรมขาวสะอาด แต่ละเอียดเข้าไปลึกๆ
มีกายต้นสายธาตุสายธรรม หรือ “กายเจ้าของมนุษย์” นั้น เป็นกายสีเขียวครับ
[3] สำหรับลูกแก้วพระจักรพรรดิหลากสี
ของสายหลวงปู่ดู่นั้น ผู้ซ้อนอาจจะซ้อนกายสิทธิ์ที่ดีระดับหนึ่ง แต่เมื่อผู้ทรงวิชชาได้ไป
ก็จะสามารถ “สาววิชชา” เข้าไปถึงองค์ต้นๆ ของแต่ละสีได้ เพื่อทำ “ธุรกรรมทางวิชชา”
อย่างเช่น “ถามวิชชา” หรือ “ขอวิชชาสีมาเดิน” หรือ “ขอมณีสีมาใช้”
แลกเปลี่ยนกับบางอย่าง และอื่นๆ ซึ่งโดยศักดิ์ศรีแล้ว ชาวสีส่วนใหญ่ มีลักษณะอยู่กันเป็น
“ภพ” ในขณะที่สีที่ทรงอิทธิพลและมีกำลังวิชชามากพอ อย่างสีแดง
สามารถตั้งขึ้นเป็น “ภาค” ในขณะเดียวกันกับที่ภาคใหญ่ๆ คือ ภาคขาว ภาคทอง
ภาคเงิน ภาคทองชมพู ภาคอัพยากฤต และภาคดำ
[4] ลูกแก้วของสายหลวงปู่ดู่นั้น
มักจะเป็นลูกแก้วที่ซ้อน “กายสิทธิ์พระจักรพรรดิ” ขั้นใหญ่เล็กต่างกันไป โดยเนื้อแท้ของหลวงปู่ดู่ท่านเป็นกายปฏิภาคของ
“จ้าวสีแดง” แต่ท่านมีวิชชาสามารถคว้ากายสิทธิ์พระจักรพรรดิสีต่างๆ
หลากหลายสี ลงมาซ้อนลูกแก้วเรือนหยาบได้ รวมถึงพระผง และวัตถุมงคลบางชุดก็เป็น “แก้วสำเร็จ”
คือเชิญสำเร็จปาฏิหาริย์ลงมาเป็นแก้วดวงๆ ชิ้นๆ อันๆ คล้ายแก้วสมบัติพญานาค
[5] เมื่อพ้นจากสมัยของหลวงปู่ดู่แล้ว
มีเพียง "องค์กายสิทธิกร" หรือ “องค์รัตนากร” เท่านั้นที่มีสิทธิ์สืบทอดวิชชาทำแทนได้
(ศัพท์เฉพาะที่ใช้กันในแวดวงวิชชาคือ “องค์รัตนากร” แต่ผมเกรงว่าบางท่านจะสับสนกับคำว่า
เจ้ารัตนะ, เจ้ารัตน์, รัตนบุคคล, รัตนะเจ็ด ซึ่งมีความหมายต่างกันไป ผมจึงเสริมคำของตนเองว่า
“องค์กายสิทธิกร” ลงไปเพื่อให้เด่นชัดแตกต่างจากคำอื่น) ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายท่าน
ท่านเหล่านี้มีลักษณะคล้าย “ผู้ค้า” คือจำหน่ายกายสิทธิ์แล้วคิดราคา “ธาตุบุญ”
แล้วท่านก็มีความชำนาญ สามารถคว้ากายสิทธิ์ดีๆ มาใส่ได้
ส่วนว่าจะได้ดีเท่าหลวงปู่ดู่หรือไม่ ผมว่าขึ้นอยู่กับราคาที่เราจะจ่าย
ถ้าเรามีมากพอ ท่านก็พอจะคว้าให้ได้ แม้อาจจะเอื้อมได้ไม่ไกลขนาดหลวงปู่ดู่ หรือไม่ได้มาก
หรือเร็วเท่าหลวงปู่ดู่ ผู้เป็นองค์ต้นตำรับวิชชา แต่ถ้าเป็นของหลวงปู่ดู่ทำเอง
ก็มักจะแพงกว่าทั้งในวิชชาและราคาค่างวดครับ
[6] กายสิทธิ์ในลูกแก้วหลวงปู่ดู่นั้นดีตรงที่
มีวัตถุประสงค์เพื่อค้าขายแลกเปลี่ยน สำหรับใช้สอยกันในวิชชา ผู้ซื้อสามารถต่อรองกับคณะของหลวงปู่ดู่ได้เลย
ไม่ต้องเจรจากับภพผู้ผลิตหรือเจ้าของ มีดวงใหญ่กับดวงเล็ก ดวงใหญ่ราคาแพงกว่า
กายสิทธิ์ใหญ่กว่า ค่าวิชชามากกว่า และถ้าจ่ายดีพอ มากพอ ก็จะได้ของดีๆ สมราคา
อย่างเช่นกายสิทธิ์พระบรมพุทธจักรฯ ครับ (กายสิทธิ์พระพุทธจักรฯ เปรียบเสมือนพระพุทธเจ้าของเหล่ากายสิทธิ์พระจักรพรรดิ
และกายสิทธิ์ทั่วไป ในทำนองเดียวกันกับที่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า
ทรงเป็นพระพุทธเจ้าของเหล่าพระอรหันต์ขีณาสพและพระอริยเจ้าทั้งหลาย) เมื่อได้มาแล้ว
ถ้า “ธาตุ” (ไม่ใช่ “ธาตุบุญ” นะครับ) เรามีมากพอ เราก็ "เหน็บ"
เอาองค์เด็ดๆ ดีๆ เหล่านั้นเข้าสายธาตุสายธรรมของเราได้ พาติดตัวไปข้ามชาติ
เหมือนที่หลวงปู่ดู่ท่านใช้คำว่า "กลืนองค์พระ" ครับ (สายวิชชานั้น
ระหว่างสายพระจักรพรรดิ กับสายพระธรรมกาย จะมีภาษาวิชชาต่างกันหน่อย คล้ายๆ
ภาษาอังกฤษ ของสหราชอาณาจักร กับสหรัฐอเมริกา ที่วัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการเหมือนกัน
แต่มีสำเนียงต่างกัน คำศัพท์เรียกเหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้างครับ)
[7] ท่านใดที่น้อมกายสิทธิ์ใส่เข้าไปในตัวแล้ว
วิชชาก็แรงขึ้น ละเอียดขึ้น แน่นขึ้น เร็วขึ้น
เหมือนอัพเกรดคอมพิวเตอร์ยังไงอย่างนั้นเลยครับ ส่วนใหญ่จะเป็นกายสิทธิ์ที่ยังไม่ค่อยมีวิชชา
สามารถนำมาใส่วิชชาเองได้มาก ซึ่งผู้ทรงวิชชาท่านชอบแบบนี้กัน
กายสิทธิ์จากบางแหล่ง มีมนต์ มีอาคม มีวิชชาพื้นฐานเดิม
แล้วบางทีเข้ากับผู้ทรงวิชชาไม่ค่อยได้ วิชชาของกายสิทธิ์ เข้าไปอลวนกันกับวิชชาของผู้ทรงวิชชา
หรือเจ้าของผู้ผลิตไม่ยอมขาย หรือขายก็เรียกราคาแพงลิบลิ่ว
ครั้นนำมาเดินวิชชากระทั่งงานสำเร็จ ก็ต้องจ่ายทิปให้ต้นสายกายสิทธิ์นั้นๆ หรือจ่ายค่าเดินวิชชา
แล้วถ้าตกลงขอกายสิทธิ์เข้าสายธาตุสายธรรมไม่ได้
กายสิทธิ์ก็ถูกเจ้าของเรียกกลับภพเดิมไป โดย “รู้สิ้นไส้”
ว่าผู้ทรงวิชชามีวิชชาและอะไรๆ บ้างอยู่ภายใน ซึ่งเป็นการสุ่มเสี่ยงอันตรายอย่างมาก
จึงมีอะไรอีกหลายๆอย่าง ในโลกวิชชาที่ต้องคำนึงถึง นอกเหนือจากการมีกายสิทธิ์จำนวนมาก
[8] กายสิทธิ์ที่ผู้ทรงวิชชา
“ลัก” เข้าใส่ตัว หรือพากลับภพของตน
โดยไม่ได้เจรจาต่อรองเคลียร์กันกับภพเจ้าเพื่อขออนุญาตกันก่อน มักจะนำมาซึ่งปัญหา
หรือแม้แต่กายสิทธิ์ที่ซื้อมา ก็มีปัญหาได้ การจ่ายธาตุบุญ พร้อมทำสัญญากับภพผู้เป็นเจ้าของหรือผู้จำหน่าย
จึงเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อใดที่เกิดปัญหา เช่นเดินวิชชาสำคัญๆ
อยู่แล้วกายสิทธิ์พาสะดุด ขัดข้อง หรือถูกเรียกกลับกะทันหัน
ผู้ใช้ก็ยังพอจะสามารถฟ้องร้องต่อ “องค์ตุลาการธาตุ” เพื่อขอค่าเสียหายได้
แต่ค่าธรรมเนียมฟ้องร้องก็มากพอดูอยู่นะครับ
[9] ท่านใดที่ยังไม่เคยกลืนกายสิทธิ์เข้าตัว
มีข้อพึงตระหนักว่า หากเรามี “ธาตุ” มาก (หมายถึงกำลังในการรองรับ มักจะเป็นผู้ที่มีอินทรีย์และพละมากจากการบำเพ็ญบารมี)
ก็จะสามารถติดตั้งกายสิทธิ์ใส่ตัวได้หลายองค์ เหมือนช่องเสียบอุปกรณ์เสริม (USB
Port) ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ถ้าเรามีธาตุมาก ก็เหมือนมีหลายช่อง
สามารถใส่อุปกรณ์เสริมได้หลายอย่างครับ ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น การงานก็คล่องตัว
ประสบความสำเร็จได้ง่าย และท่านใดที่เห็นพระธรรมกาย และ/หรือ
กายพระจักรพรรดิ นานแล้ว แต่ยังไม่เคยเดินวิชชา ท่านสามารถ “เข้าละเอียด”
ไปได้เรื่อยๆ ถ้าท่านมีละเอียดสะสมมาก เวลา “เติมวิชชา” ก็จะสามารถ “รองรับวิชชาได้มาก”
อาจถึงขั้นสามารถ ตรัส “จอมวิชชา” หรือ “เจ้าวิชชา”
ได้ภายในวันเดียวครับ แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นท่านที่ทำความดีความชอบให้กับท่านผู้ทรงวิชชาที่คุ้นเคยกันมายาวนาน
และไม่ค่อยได้ทำวิชชา ส่วนมากจะได้แต่ทำงานหยาบ หรือเข้าละเอียด แต่จะตอบแทน “ค่าวิชชา”
กันอย่างไร ก็แล้วแต่จะตกลงกันครับ ผู้ทรงวิชชาบางท่านยินดีแบ่งวิชชาแบบพื้นๆ ให้
เพราะวิชชาเป็นเสมือน “ความลับทางการค้า” ของผู้ทรงวิชชาแต่ละท่าน เช่น
ผู้ทรงวิชชามีวิชชาอยู่ 2,400 คาบ แบ่งให้ลูกศิษย์ที่มีละเอียดมากจำนวน
800 คาบแรก แล้วก็ให้ไปเดินวิชชา ค้นวิชชานับจากคาบที่ 800
นั้นต่อขึ้นไปเอง เป็นอาทิครับ ซึ่งท่านใดได้ธรรมะแล้วแต่ยังไม่มีวิชชาก็ไม่ต้องเสียใจครับ
ให้เข้าละเอียดมากๆ ไว้ ยิ่งมีกายสิทธิ์ยิ่งเข้าละเอียดได้เร็วแรงครับ
[10] สำหรับลูกแก้วกายสิทธิ์สายหลวงปู่ดู่รุ่นใหม่ๆ
นั้นองค์กายสิทธิกร (รัตนากร) ก็ทำตามหน้าที่ได้ดี ตามอักขระที่ลงไว้ เป็นวิชชาและสายงานของหลวงปู่ดู่ครับ
พูดตามตรงก็คือถึงแม้จะเป็นของใหม่ ก็ใช่ว่าจะหาได้ง่ายๆ
เดี๋ยวนี้ที่ท่าพระจันทร์ก็ไม่ค่อยมีแล้ว ส่วนราคาค่างวด
ก็ตามที่ผมเคยแนะนำไว้แล้ว คือถ้าของหยาบมีราคาแพง ราคาในวิชชามักจะไม่มาก
แต่ถ้าของหยาบราคาถูก ราคาในวิชชามักจะสูงลิ่วครับ ซึ่ง "ค่าวิชชา" แบบนี้
ถ้าเรายังคว้ากายสิทธิ์เองไม่เป็น ก็ควรจ่ายไปเพื่อความสะดวกครับ อนึ่ง
เมื่อได้ลูกแก้วสายหลวงปู่ดู่มาแล้ว อย่าเพิ่งตกใจว่าจริงหรือปลอม เก่าหรือใหม่
เพราะองค์กายสิทธิกร (รัตนากร) ยังสามารถซ้อนให้ได้
ตามสายวิชชาของหลวงปู่ดู่ที่สืบทอดกันมา ให้ลองนำไปให้ผู้ทรงวิชชาที่คุ้นเคยกัน
ช่วยตรวจดูให้ก่อนครับ ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร
ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
2 กุมภาพันธ์ 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน อันดับที่นั่งในเทพสมาคม
(Version 3.0)
เทพสมาคมคืออะไร? ทำไมต้องเข้าร่วม? เทพสมาคมก็คือ งานประชุมของเหล่าทวยเทพเทวดา
ซึ่งแบ่งออกเป็นหลากหลายรูปแบบ ทั้งประชุมใหญ่ในระดับโลกธาตุ ประชุมระดับหลายหมื่นจักรวาล
ประชุมเฉพาะจักรวาล หรือประชุมเฉพาะกลุ่ม อย่างเช่นชาวพุทธ ประชุมภพ 3 หรือประชุมเฉพาะเทวดา อย่างไรก็ตาม ท่านที่ติดตามอ่านผลงานของผม
คงมีพื้นฐานดีพอแล้ว ว่าเทวดาท่านแบ่งแยกชนชั้นวรรณะกันอย่างไร
แล้วผมก็อ้างทฤษฎีทางจิตวิทยาด้วยว่า เมื่อมนุษย์มีปัจจัยสี่พร้อมสรรพแล้ว
สิ่งที่มนุษย์มักแสวงหาต่อไป ก็คือ “การได้รับความยอมรับจากสังคม”
และเนื่องจากเทวดา ก็คือมนุษย์ที่ทำบุญแล้วไปเกิดบนสวรรค์
เทวดาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอดอยาก มีแต่เสวยมาก เสวยน้อย
แล้วเมื่อเทวดามีพร้อมทุกอย่าง สิ่งที่มักจะทำกันก็คือสังสรรค์เข้าสังคมเทวดาด้วยกัน
การสังสรรค์ของเทวดา
ก็เหมือนการที่คุณหญิงคุณนาย คุณชายคุณท่าน ในเมืองมนุษย์ ออกงานเลี้ยงนั่นล่ะครับ
แต่ที่ผมจะขอเอ่ยถึงในวันนี้ ไม่ใช่งานสังสรรค์ระดับวิมาน หรือปาร์ตี้ตามอุทยาน
แต่เป็น “งานมหาเทวสมาคม” ซึ่งเทวดาต้อง “จัดเต็ม” ในการเข้าร่วม
ซึ่งถ้าจะให้ผมเปรียบเทียบ ก็คล้ายๆ งานอภิเษกสมรส ของกษัตริย์แห่งราชวงศ์ยุโรป
หรืองานเดินพรมแดง รับรางวัลออสการ์ หรืองานประกวดมิสยูนิเวอร์ส ที่แขกเหรื่อ
ถึงพร้อม ทั้งเสื้อผ้า หน้าผม รถ รองเท้า กระเป๋า เครื่องประดับ วูบวาบ วิบวับ
กันทั้งงานครับ ท่านที่มีเยอะก็ไปเพื่อโชว์กันจริงๆ ราวกับตู้เพชร
ตู้ทองเคลื่อนที่ ส่วนท่านที่ตั้งใจจะไปชม ก็เหมือนประชาชนอยากแห่ไปเจอดารา หรืออยากชมบารมีของเทพองค์ดังๆ
สำคัญๆ หรือพระพุทธเจ้าทรงมาแสดงธรรม ก็ตั้งใจไปฟังธรรม
ไปชมพระบารมีของพระพุทธเจ้า เหมือนอย่างท่านอังกุระเทวบุตร กับอินทกะเทวบุตร ก็มี ครั้นที่นั่งอยู่ห่างไกล
มันก็ประทับใจน้อยลง เป็นอย่างนี้ครับ
แล้วทำไมเทพสมาคมต้องออกไปอวดกันด้วย
อยู่วิมานเงียบๆ อย่างมีความสุขไม่ได้หรืองัย? คำตอบก็คือใช่ครับ
สังคมเทวดาเป็นเหมือนสังคมของคนรวย เขามีทิพยสมบัติเป็นกระตักๆ อยู่ในวิมาน ใส่อยู่แต่ในวิมานมันไม่สะใจ
ต้องหาเรื่องออกไปข้างนอกแล้วใส่โชว์ครับ ส่วนเทวดาที่มีน้อย หรือไม่มี
ก็ไม่ค่อยกล้าไปไหนครับ อยู่ในวิมานเป็นร้อยๆ ปี พันปีทิพย์ มันก็เซ็ง
เพราะไม่มีงานต้องทำ ยกเว้นแต่ไปสวนสาธารณะ หรืออุทยานภายในเขตชุมชนของตน
หรือไม่ก็ไปเที่ยวสวรรค์ชั้นต่ำกว่า เพื่อความสบายใจกว่า และเป็นการปลอบใจตนเองครับ
อ่ะนะ แล้วถ้าเข้าเทพสมาคม จะเป็นยังไง? เทพสมาคมที่ใหญ่ที่สุดคือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ครับ
เพราะเป็นสวรรค์ชั้นที่มีประชากรมาก และเทวดาจากชั้นล่างพอจะสะดวกขึ้นไป
และเทวดาจากชั้นสูง ก็สะดวกลงมา แล้วยิ่งมาจากจักรวาลอื่นอีก ยิ่งไปกันใหญ่
ซึ่งเทวสภานั้น ท่านก็ขยายได้ด้วยเทวฤทธิ์
แล้วท่านก็มีเทพที่ถนัดในเรื่องนี้คอยทำให้ ไม่ว่ามากันเท่าไร
ก็พอจะรองรับได้พอสมควร ยกเว้นผู้ที่มาสาย ต้องนั่งรอข้างนอก
หรือว่าบุญบารมีวาสนาน้อยกว่า เมื่อผู้ที่มีบุญมากกว่านั่งแน่นเอี้ยด เต็มข้างในไปหมดแล้ว
ผู้ที่มีบุญบารมีวาสนาน้อยก็ต้องนั่งรอข้างนอก
แล้วถ้านั่งในเทวสภา เขานั่งกันอย่างไร? เทวสภานั้นก็คล้ายๆ
ศาลาวัดครับ คือตรงกลางด้านหน้าสุดจะเป็นมณฑป สำหรับองค์ปาฐก หรือองค์ประธานประกอบพิธี
แล้วแวดล้อมด้วยแถว ที่จัดเป็น “ครึ่งวงกลม” เหมือน Amphitheatre (ขึ้นอยู่กับองค์ประชุมด้วย แต่ในที่นี้ขอกล่าวถึงการประชุมรวมใหญ่)
โดยแถวที่ 1 เมื่อหันหน้าเข้าสู่พระมณฑป
จะอยู่ขวามือใกล้ชิดพระมณฑปมากที่สุด แล้วก็ไล่เรื่อยมาโดยประมาณ 16 ถึง 24 แถว ขึ้นอยู่กับองค์คณะเข้าประชุม
ว่าจะจัดแบบไหน ฉะนั้น จะไม่มีผู้เข้าร่วมประชุมท่านใดอยู่ข้างหลังพระมณฑป
ยกเว้นยามรักษาการ
ทั้งนี้
ภายในแถวองค์ประชุมนั้นไล่ตามลำดับเกียรติของผู้เข้าร่วมประชุมจากสูงสุดคือหัวแถว
ไปหางแถวคือน้อยกว่า แต่ระหว่างแถวด้วยกันจะแยกกลุ่มดังนี้ (1) เจ้าประกาศิต (2) พรหมบดี และพรหมนิกร องค์อำนวยการงานประชุม
ในฐานะฝ่ายเจ้าภาพผู้จัดงาน (3) จ้าวธาตุ จ้าวธรรม
จอมธาตุ จอมธรรม องค์ธาตุ องค์ธรรม (4) เจ้าสุเทวหะ
หรือเหล่าเทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ อย่างเช่นพระศิวะ พระแม่อุมา เทพโอลิมปัส (5) จอมไท และองค์ไท อย่างเช่นพระเยซู พระแม่มารี (6) สุพราหมณ์ และเหล่าบรรพชิต เช่นพราหมณ์ราชครู (7) องค์นักษัตร และองค์นรรัตน์ เหล่าสัตว์ผู้มีฤทธิ์ จำแลงเข้าเทพสมาคม อย่างเช่นพญามังกร ราชสีห์ พญาหงส์ พญานกยูง (8) พระเจ้าจักรพรรดิราช และเหล่ารัตนะบุคคล (9) เทเวหราชย์ เหล่าหน่อเนื้อกษัตริย์ ที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ (10) ตาปะขาว เหล่านักพรต เช่นอาจารย์ลัทธิเต๋า (11) เทพเซียน เช่น เง็กเซียนฮ่องเต้, เง็กเซียนไทเฮา, ฮก-ลก-ซิ่ว, 8 เซียน, เทพนาจา, เซียนสายรุ้ง (12) องค์เมฆินทร์ผู้ทรงวิชชา
และเหล่าเวฆินทร์ (13) ท้าวพรหมราช และพรหมเสนาบดี
ผู้ปกครองพรหมโลก ในฐานะผู้ร่วมงาน (14) ท้าวเทวราช
และเทพบดี เช่นท้าวเทวราช ผู้ปกครองสวรรค์ (15) พระพุทธเจ้า
พระสมณะไพศาล เช่นพระสังฆราช พระสังฆนายก เหล่าปวงสมเด็จพระสมณวงศ์
และพระอรหันต์ขีณาสพ (16) องค์ตุลาฯ
ผู้ผดุงความยุติธรรม (17) เหล่าภูติทิพยชีวา
เช่นมนุษย์ต่างดาว ผู้มีภูมิธรรมสูง (18) เจ้าโพธิ
คือเหล่าพระโพธิสัตว์, พุทธโพธิ, โพธิจักร,
อริยโพธิ และองค์โพธิ ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ หรืออริยภูมิ
ในหลากหลายวิถี (19) ปิตุชาติ มาตุชาติ มารดา บิดา
ของผู้ทรงคุณใหญ่ เช่นพระพุทธบิดา พระพุทธมารดา (20)
เจ้าพิธี เทพเทวา และผู้ที่ดำริ พร้อมทั้งเลี้ยงและรักษาพิธีกรรมต่างๆ
อย่างเช่น พิธีสงกรานต์ พิธีลอยกระทง พิธีคริสต์มาส พิธีอีสเตอร์ (21) ผู้ทรงวิชา และเหล่าวิทยาธรผู้มีศักดิ์ใหญ่
มีวิชาอันเป็นที่รู้จักและร่ำเรียนกันอย่างกว้างขวาง (22) เจ้าพืชและหมอยา (23) เจ้าวิทยายุทธ
ผู้ผดุงธรรม เช่นพระวัดเส้าหลิน (24) ยายกะตา
คือผีบรรพบุรุษ ตามศาลเจ้า ศาลหลักเมือง คนทรง ผีมีฤทธิ์ ตามลัทธิความเชื่อต่างๆ
เช่นขงจื่อ, ชินโต, ผีนัต ของเมียนมาร์
และอื่นๆ ซึ่งเป็นที่นับถือ (25) อื่นๆ
ตามแต่เทพสมาคมจะจัดสรรให้เหมาะแก่โอกาส และประเภทของผู้มาเข้าร่วมประชุม เช่น
การจัดสรรเรียงแถวให้ผู้เข้าร่วมประชุมจากแถวที่ 1 ถึง 24 ดังกล่าว
ไม่ได้เรียงแถวตามลำดับจากเลิศสุดไปด้อยสุด แต่จัดโดยผดุงเกียรติของทุกฝ่ายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
เหมือนจะเลือกปฏิบัติบ้างในฐานะที่ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นพระอริยเจ้า
แต่ก็ไม่เชิงเลือกปฏิบัติทั้งหมด เพราะมุ่งเน้นธำรงเกียรติของทุกฝ่าย
ทำอย่างนี้จะแฟร์เหรอ? ทำไมเทวดาต้องยึดติดเรื่องที่นั่ง? มันไม่เป็นกิเลสเหรอ? เรื่องที่นั่งในเทวะมหาสมาคมนั้น
ผมขอยกตัวอย่างเรื่องของ "พระอรหันต์จัดอาสนะ" ครับ ในสมัยพุทธกาลนั้น แม้แต่พระอรหันต์ด้วยกัน
ก็ยังต้องรู้จักจัดอาสนะในสังฆสภา ให้เหมาะสม ว่าใครเป็นพระอัครมหาสาวก
ใครเป็นพระอสีติมหาสาวก ใครเป็นพระอาคันตุกะ ใครเป็นองค์อรหันต์มหาเถระ อนาคามี
สกทาคามี โสดาบัน ขนาดพระอรหันต์ไม่มีกิเลส
ก็ยังต้องจัดลำดับที่นั่งให้เหมาะสมครับ ฉันใดก็ฉันนั้น โลกทิพย์ยังมีสิ่งลี้ลับ
นอกเหนือพระพุทธศาสนา และพระธรรม 84,000 พระธรรมขันธ์
นอกเหนือใบไม้ในกำมือของพระพุทธเจ้า ซึ่งเทพพรหม และเทวดา ท่านนับถือกัน
เพราะท่านอยู่กันมานานตั้งแต่ยุคก่อนพุทธันดรปัจจุบัน มีความเชื่อต่างๆนาๆ มี diversity
หรือความหลากหลายแห่งความเชื่อและศรัทธา
ที่พาคณะของท่านขึ้นสวรรค์ได้หลายแบบ เหล่าเทวดาก็มาจากมนุษย์ ก็นับถือต่างๆ กันไป
ท่านก็ต้องจัดให้ตามลำดับเกียรติ กับบุญบารมี ที่สมกับเกียรตินั้นรวมๆ กันไปครับ
โดยคำนึงถึง (1) ความทรงธรรม
ซึ่งธรรมในที่นี้เราไม่ได้หมายถึงเฉพาะพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แต่เป็นธรรมที่เปรียบเสมือนใบไม้ในป่าประดู่ลาย (2) ความทรงคุณ คือคุณูปการที่ผู้เข้าร่วมเทพสมาคมได้เคยทำเอาไว้
เช่นองค์บูรพามหากษัตริย์ที่ทรงสู้รบกอบกู้ชาติ ทำให้มีแผ่นดินที่ประชาชนอยู่กันอย่างมีความสุข
(3) ความทรงธาตุ
คือเป็นผู้ที่มีบุญมาก เหมือนเศรษฐีบุญ แม้จะยังไม่เป็นพระอริยบุคคล
ทำประโยชน์ไม่มาก แต่เคยทำบุญแบบที่ได้บุญมาก
เช่นใส่บาตรครั้งเดียวกับพระอรหันต์ที่ออกจากนิโรธสมาบัติ อย่างมหาทุคตะ
ก็ได้รับเกียรติในเทพสมาคมมาก และ (4) อื่นๆ
การจัดลำดับที่นั่งที่นำเสนอไว้ในบทความนี้เป็นการจัดแบบ “มหาเทวะสมาคมแบบรวมใหญ่”
ครับ ไม่ใช่การจัดแบบเฉพาะชาวพุทธ หรือผู้ที่สนใจในพุทธศาสนา หรือไม่มีศาสนา
มิฉะนั้นแล้ว เทวดาต่างศาสนาท่านจะไม่ยอมเข้าร่วม
บางศาสนามีเขตปกครองพิเศษเป็นของตนเอง เหมือนแดนสุขาวดี ขององค์พระยูไล
ที่เป็นภพพิเศษปกครองตนเอง ซึ่งแม้จะมีความละเอียดและบรรยากาศคล้ายสวรรค์
แต่ก็ไม่ขึ้นตรงต่อองค์เทวราชผู้ปกครองสวรรค์ ส่วนลำดับที่นั่งในเทวะมหาสมาคม
ก็เป็นการจัดระดับชนชั้น หรือ class ของผู้บำเพ็ญไปในตัวครับ เวลาพบเจอกันข้างนอกเทวสภา
ก็พอจะอนุมานได้ว่าใครใหญ่กว่าใคร เนื่องจากเวลาเข้าสมาคม ทุกคนจัดเต็ม
แล้วก็จะได้รู้กันว่าเมื่อ “จัดเต็ม” แล้ว “มีกำลัง” เท่าไร คล้ายงานราตรีสโมสรสันนิบาต
ที่ผู้เข้าร่วมงานแต่งเต็มยศ ใครเป็นทหาร เป็นตำรวจ เป็นข้าราชการ เป็นทูต
ก็จะได้รู้กัน เพราะเครื่องแต่งกายบ่งบอก ถ้าพบกันข้างนอก แต่งแบบลำลองๆ
ยังดูไม่ออกเด่นชัดพอ
อีกทั้งในสมาคมยังมีที่นั่งเป็นดรรชนีชี้วัดความสำคัญของแต่ละท่านด้วย ที่นั่งของผู้เข้าร่วมงานนั้น มีความวิจิตรงดงามตระการตา
และเปล่งรัศมี อาจกล่าวได้ว่าแม้แขกผู้ร่วมงานยังไม่ทันเข้าสภา
ที่นั่งก็แข่งกันเองอยู่แล้ว ว่าของใคร “เริ่ดหรูหรา” กว่าใคร
โดยชนชั้นของเทวดาแล้ว ประเด็นที่ต้องคำนึงถึง 2 ประเด็น คือ (1) เพื่อให้เกียรติกัน คือเราใหญ่กว่า แต่แสดงออกอย่างเสมอ หรือด้อยกว่า
ก็ไม่น่าเกลียด กับ (2) เพื่อข่มผู้ที่ควรข่ม
คือบางท่านแสดงออกอย่างไม่สมควร เราจึงค่อยข่ม เพื่อให้เขาถอยไป นอกจากนี้ บางท่านอาจมีที่นั่งในเทพสมาคมหลายที่นั่ง
ซึ่งมีสิทธิ์เลือกได้ ว่างานใด จะนั่งตรงไหน เช่น เป็นเจ้าประกาศิต ชั้นเจ้าสุริยะรังสี
ในขณะเดียวกันกับที่เป็นพระโพธิสัตว์ด้วย จะเลือกนั่งลำดับที่ 65 ของเจ้าประกาศิตก็ได้ หรือจะนั่งลำดับที่ 50 ในแถวของพระโพธิสัตว์ก็ได้
เพราะบางทีเพื่อนมา ก็อยากนั่งกับเพื่อนๆ หรือมีผู้หลักผู้ใหญ่มา
ก็ยินดีถอยไปนั่งห่างหน่อย เพื่อให้เกีรยติผู้ใหญ่ที่นับถือ
อนึ่ง การจัดที่นั่งในเทพสมาคมนั้น
ถือเป็นการจัดระเบียบสังคมเทวดา ซึ่งยึดถือกันคล้าย พุทธประเพณี อริยประเพณี
และเทวประเพณี อันพึงธำรงคงรักษาไว้ ประดุจกติกามารยาท ที่ทุกหมู่เหล่าพึงตระหนัก
เพื่อให้งานพิธี และการประชุมดำเนินไปโดยราบรื่น เหมาะสม เหมาะควร
ผดุงเกียรติของทุกฝ่าย ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะว่าไปก็คงหนีไม่พ้น
การเปรียบเทียบกับประเทศสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ที่ยังคงมีจารีตแห่งชนชั้นวรรณะ
ในขณะที่เป็นประเทศเจริญแล้ว สมกับเป็น “เมืองผู้ดี”
คือมีกติกามารยาทเป็นกรอบบทบาทและหน้าที่
ซึ่งสมาชิกในสังคมทุกคนพึงมีสามัญสำนึกตระหนักทราบและนำไปปฏิบัติ
เพื่อขับเคลื่อนเป็นพลวัตทางสังคมโดยรวม ในทุกระดับชั้น
ยังให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
แม้จะมีความแตกต่างเหลื่อมล้ำเหล่านั้นครับ ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 30 - 31 มกราคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน เมดเล่ย์ ตรุษจีน 2566
กง เหย ฟ้าด ฉ่อย! ครับทุกท่าน ตรุษจีนปีนี้ ขอให้มีความสุขครบทั้ง 3 วัน คือวันไหว้
วันจ่าย วันเที่ยว และตลอดปีครับ วันนี้ผมพอมีเวลา จึงรจนาความ “นานาสาระ”
สำหรับวันที่ 21 – 23 มกราคม พ.ศ. 2566 เนื่องในโอกาสเทศกาลตรุษจีนครับ
การไหว้เจ้ายังได้กิน เคารพฟ้าดิน ยังเป็นที่เอ็นดู เทวดาท่านก็มีฤทธิ์อยู่ในขอบเขต
ท่านช่วยได้ด้วยเทวฤทธิ์ ซึ่งมีแรงหนักเบามากน้อย แต่เทวดาสัมมาทิฐิท่านจะรู้สึก “เอ็นดู”
ถ้ามนุษย์มากราบไหว้บูชาครับ ยิ่งถ้าหากเป็น “เทวดาพระอริยบุคคล”
ท่านเป็นเนื้อนาบุญให้เราได้ ส่วน “เทพพระโพธิสัตว์” มักมีใจกรุณา
แต่เนื่องจากมนุษย์ที่ต้องช่วยก็มีมาก ส่วนใหญ่จะต้อง “พบกันครึ่งทาง”
เช่นถือศีลกินเจ สวดมนต์ บริกรรมภาวนาคาถาของท่าน ให้ชีวิตฝักใฝ่อยู่ในบุญ
แล้วท่านก็ช่วยในส่วนของท่าน ความเป็นอยู่ก็จะดีขึ้น เทวดาก็เหมือนมนุษย์แหละครับ
มนุษย์คนไหนร่ำรวย เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านในเมือง แล้วคนเดือดร้อนมาขอความช่วยเหลือ
ก็ช่วยๆ กันไป แต่ใครรับเงินไปแล้ว หรือหายเจ็บป่วยแล้ว ก็ไปกินเหล้าเมายา เล่นหวยเล่นการพนัน
ท่านก็ไม่อยากช่วย ส่วนการเคารพบูชาเทวดาที่เป็นมิจฉาทิฐิหน่อย พวกเขาก็จะรู้สึก “หยิ่งผยองขึ้น”
เมื่อมนุษย์มากราบไหว้บูชาครับ
วันตรุษจีน ต้องใส่ชุดแดงครับ ซองอั่งเปาต้องเป็นสีแดง
ผมเคยใช้ซองอั่งเปาเป็นสีทอง แล้วเทพผู้รักษาประกาศิตท่านทักมาว่า ถ้าใช้ซองสีแดงจะได้อานิสงส์มากกว่า
เพราะ “เจ้าพิธี” ท่านรักษาวิช(ช)าตามนั้นครับ สำหรับอาหารไหว้เจ้า ที่ไม่ใช่ไหว้ผีนะครับ
ไหว้แล้วนำมาอุ่นให้ร้อน แล้วรับประทานกันพร้อมหน้า พร้อมตา กับสมาชิกครอบครัว ไม่พึงมุ่งเอาแต่ว่าจะได้อานิสงส์อาหารทิพย์อะไรรับประทานในสวรรค์ครับ
ทำบุญกับพระก็ทำแล้ว บูชาเทวดาผู้เป็นบุคคลอันควรบูชาก็เป็นสิริมงคลครับ
ธรรมเนียมวันตรุษจีนนั้น ถ้าทำตามพิธี แล้ว “เจ้าพิธี” จะ “เลี้ยงวิชชา”
ครับ ทำให้ผู้ยึดถือปฏิบัติตามแบบแผนจารีตประเพณี รู้สึก “ชื่นมื่น” จะมากจะน้อยก็ว่ากันไปครับ
เจ้าพิธีนั้นก็คือผู้ที่รักษาวิช(ช)าให้พิธีกรรมยังคงอยู่ และคงความขลัง
ความศักดิ์สิทธิ์ ความสุข เหมือนอย่างเทศกาลสงกรานต์ เทศกาลคริสต์มาส
วันไหว้พระจันทร์ ล้วนมีเจ้าพิธีเลี้ยงรักษาอยู่ครับ
ถ้าพิธีกรรมนั้นไม่เป็นที่ยึดถือปฏิบัติตามกันอีกต่อไปแล้ว เทวดาเจ้าพิธีก็หมดและพ้นหน้าที่ไปครับ
ใน “วันเที่ยว” เรานิยมตระเวนออกไปทำบุญตามวัดวาอาราม
โดยเฉพาะวัดจีน อย่างวัดเล่งเน่ยยี่ หรือวัดมังกรกมลาวาส เพื่อความเป็นสิริมงคล
รับโชค รับชัย ตรุษจีน ท่านใดประสงค์จะทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิต
ผมขอแนะนำ "ถวายของมงคล" กันครับ ได้แก่ (1) เปลือกหอยสังข์ (2)
ลูกประคำ (3) คัมภีร์หูกหรือม้วน (4) ผอบเจดีย์ (5) ลูกแก้ว (6) พัดขนนก (7)
น้ำเต้า และ ( 8 ) ไม้คทาปรกศีรษะ, ด้ามชนวนจุดเทียน หรือไม้ดรัมเมเยอร์
โดยสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะถวายแด่วัดวาอาราม, สำนักบรรพชิต, โรงเรียน, หรือบุคคลผู้ทรงคุณครับ ของมงคลมีมากมายหลายอย่าง เป็นของที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ผู้มีอานุภาพและเป็นที่นับถือกัน
จะถือไว้ด้วย “กรปาฏิหาริย์” เพื่อแสดงฤทธิ์ และช่วยเหลือผู้คน
เหมือนพระโพธิสัตว์กวนอิมปาง “พันกร” ซึ่งท่านเนรมิตขึ้นเป็นอานุภาพของท่านในเชิงสัญลักษณ์
ของมงคลต่างๆ เหล่านั้นที่เราควรถวาย อานิสงส์ก็จะกลายเป็น “ของวิเศษ” สำหรับเราในภพทิพย์ครับ
เพราะผู้ทรงคุณท่านรับแล้วนำไปใช้ ยังให้เกิดอานิสงส์มาก
ตามกฎแห่งกรรมแล้ว ทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้น ถวายผ้า ก็ได้อาภรณ์ทิพย์อันเลิศ
ถวายสิ่งปลูกสร้าง ก็ได้วิมาน ถวายภัตตาหาร ก็ได้อาหารทิพย์ นี้คือ "บุญญาอานิสงส์โดยตรง"
แต่การได้สิ่งอื่นๆ เป็นผลพลอยร่วมได้ เช่นใส่บาตร แล้วได้ยวดยานพาหนะ อย่างเทวรถ
บางทีมันมีอานิสงส์ทางอ้อมอยู่ เช่นพระฉันภัตตาหารแล้วมีแรงเดินจงกรม
เราก็ได้อานิสงส์เป็นยานพาหนะ อย่างนี้ครับ ส่วนใครถวายสิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัย
ได้ชื่อว่าให้ทุกอย่าง ก็จะได้ทุกอย่างรวมๆ กัน โดยมีสิ่งปลูกสร้างเป็น
"บุญเด่น" ถ้าใครถวายทรัพย์ หรือเงินธนบัตรและเงินเหรียญกษาปณ์
สมบัติทิพย์จะอยู่ในรูปของ "ใบไม้วิเศษ" หรือ “บัตรของขวัญ” ที่อยู่ตามต้นไม้มหาสมบัติอย่างเช่นต้นกัลปพฤกษ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่ ทำต้นกฐิน ต้นผ้าป่า แล้วติดธนบัตรไว้
นำไปประเคนถวายพระสงฆ์ สมบัติทิพย์จะอุบัติเกิดขึ้นเป็นใบไม้วิเศษ หรือบัตรของขวัญ
ที่เด็ดมาอธิษฐานขอเป็นอะไรก็ได้ เช่นเดียวกับเหรียญกษาปณ์ทองคำ และเหรียญกษาปณ์เงิน
อธิษฐานขอแล้วกลายเป็นเทวรถ, เป็นเสื้อผ้า, เป็นเครื่องประดับ, อาหารทิพย์ ได้ตามใจปรารถนาทั้งนั้น
แต่จะมีอายุการใช้งานระยะหนึ่ง ถ้าเราถวายธนบัตรมูลค่ามาก เช่นใบละ 1,000 บาท สมบัติที่อธิษฐานขอได้ จะดีมาก
และอยู่ได้นานกว่า ใบละ 500, 100 และ 20 บาท เมื่อหมดฤทธิ์ ก็จะอันตรธานหายไป
แล้วต้องอธิษฐานขอใหม่ครับ หรือจะเด็ดหลายๆ ใบมารวมกันแล้วอธิษฐานทีเดียวเลยก็ได้
อาจจะขอได้มากถึงกับเป็น “ศาลาทิพย์” ครับ ใบไม้วิเศษ และบัตรของขวัญ
ที่อยู่ตามต้นไม้วิเศษเหล่านี้ เมื่อเด็ดออกมาแล้ว ก็จะมีของใหม่เกิดขึ้นแทนที่
ใช้ได้ไปเรื่อยๆ ตราบกว่าเทพบุตรเทพธิดาเจ้าของวิมานจะหมดบุญสิ้นอายุครับ
ท่านใดที่จะเปลี่ยน “กิมฮวย” ประดับกระถางธูป กิมฮวย
มีทั้งแบบหาซื้อตามร้านค้า หรือ “ประมูล” มาจากวัดจีน, โรงเจ, ศาลเจ้า
ต่างๆ ซึ่งได้มาด้วยการทำบุญให้กับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น กิมฮวยจากการประมูลจะมีอานิสงส์พิเศษ
ซึ่งบางชิ้นมีเทวดารักษา และถ้าเราจะขอ “มยุรี, มยุรา, มยุรินทร์ ฯลฯ”
ท่านก็สามารถประทานให้เราได้ โดยอาจมีค่ากำเน็จแลกเปลี่ยน ส่วน “กิมฮวย” ของเก่าที่ใช้นานแล้ว
หรือใช้มาตั้งแต่ตรุษจีนปีก่อน ตามธรรมเนียม
ท่านจะนำไปเผาพร้อมก้านธูปปิดท้ายการเผากระดาษเงินกระดาษทองครับ
แต่ท่านใดที่เสียดาย จะแกะเอาแววหางนกยูงออก แล้วนำมาล้าง ผึ่งให้แห้ง
แล้วใช้ทำที่คั่นหนังสือก็ได้ครับ บางชิ้นอาจจะ "มีคุณาฤทธิ์
อยู่ด้วยนะครับ ผู้ที่ทำบุญหรือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วย "แววหางนกยูง"
จะมี ผม, ขน, คิ้ว ที่งามมากครับ
ถ้าจะให้เปรียบเทียบ ผมขอเทียบ "คิ้วของ คุณ ณเดชน์"
เมื่อเทียบกับดาราอื่นๆ แต่ของเทวดาจะสวยกว่าอีกประมาณ 7-8
เท่า ดูเท่ๆ โฉบเฉี่ยวกว่าใคร
ทำไมต้องยึดติดกับสิ่งเหล่านี้ด้วย? พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราปล่อยวาง ความโลภ ความโกรธ ความหลง
มิใช่หรือ? คำตอบก็คือ “ถูกต้องครับ
พระพุทธเจ้าทรงสอนถูกแล้ว” แต่พระพุทธเจ้าทรงอยู่ในสถานภาพอันสูงสุด
ไม่ต้องค้อมคำนับหรือไหว้ใคร และเมื่อทรงปรินิพพานแล้ว
ทรงเสด็จเข้าไปอยู่ในเมืองพระนิพพาน ซึ่งพระพุทธเจ้าด้วยกันในเมืองนิพพาน
ก็เคารพนับถือกันตาม “อายุบารมี” ครับ ส่วนผู้ที่ยังอยู่ข้างหลัง
คือชาวพุทธปุถุชน ชาวพุทธอริยบุคคลชั้นต้น ก็ยังต้องอยู่ในโลกมนุษย์ เวียนเกิดในโลกสวรรค์
ยังต้อง “ยินดียินร้าย” กันอยู่อย่างนี้ ในฐานะชาวพุทธอริยบุคคล
เราก็ควรใช้เวลาที่เหลือก่อนเข้าพระนิพพาน ให้อยู่อย่างสมเกียรติครับ สมกับที่เราเป็นพระอริยบุคคล
เทวดานั้นท่านนับถือพระอริยบุคคล เหมือนเป็นนักบวช นักพรต คล้ายๆ แม่ชี
หรือผู้บวชชีพราหมณ์ ครับ ส่วน “สมณเทวะ” และ “ผู้ทรงวิชชา”
ท่านแยกต่างหาก และนับถือกันเฉพาะในแวดวงวิชชา เพราะเรื่องในวิชชาบางทีเทวดาทั่วไปท่านไม่รู้ไม่เห็น
ยกเว้นบางท่านที่ทรงวิชชาเหมือนกันจะตรวจเห็นได้ แต่ถ้าเป็นเทวดาพระอริยบุคคล
แล้วทรงวิชชาด้วย อันนี้ยิ่งดีใหญ่ครับ จะตรัสเป็นเจ้าใหญ่ในสวรรค์อย่าง “องค์เวฆินทร์”
หรือ “องค์เมฆินทร์” ก็ไม่มีใครว่า ไม่ค้านสายตาใครครับ
"พัสตรา" ส่อภาษา "ลดา" ส่อสกุล สังคมเทวดานั้น จะว่าไปก็คล้ายๆ สังคมของประเทศอังกฤษครับ
คือไม่ค่อยมีคนจนอดอยากอนาถา มีแต่รวยมาก รวยน้อย ส่วนคนที่ไม่รวย
ก็ยังอยู่ดีกินดี แล้วก็มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ มี “จารีตมารยาท” ที่ต้องรักษา
แม้จะไม่พูดดูถูกกันซึ่งๆ หน้า แต่ก็จะให้นัยยะแบบ ให้รู้ตัวเอาเอง การพูดจา ก็พูดอย่างสุภาพและมีชั้นเชิง
ครั้นจะตำหนิด่า ก็พูดด้วยภาษาขึ้นสำเนียงออกดั้งจมูก กล่าวอ้อมๆ เชิดใส่ ให้ไปคิดเอา
แล้วก็ถอยออก ใครใหญ่กว่า ชนชั้นสูงกว่า อย่างเจ้าภพ คือผู้ปกครอง
เป็นเหมือนพระมหากษัตริย์ มีพระมเหสี พระโอรส พระธิดา ใครๆ ต้องยำเกรง ส่วนประเภทเจ้าขุนมูลนาย
หรือ “ลอร์ด” คือเจ้าประกาศิต ก็ต้องถวายเกียรติ ให้ความเคารพ
ได้สิทธิพิเศษอยู่เสมอๆ โดยรวมแล้วปกครองกันตาม “บุญญาวาสนา” แต่ก็มีระบบการบริหารเป็นกรอบ
เพื่อให้ผู้มีบุญญาธิการมากน้อยต่างๆ ที่มาเกิดเป็นเทวดาได้เข้ามาอยู่ในกรอบหลวมๆ
นั้น ตามเขตการปกครอง ผู้ที่มีสมบัติทิพย์มากที่สุด ไม่ใช่เจ้าผู้ปกครองภพ
เพราะผู้ปกครองภพ มีบุญญาวาสนาจากการบำเพ็ญ “วัตตบท 7 ประการ” แม้จะมีทิพยสมบัติไม่เท่าเทพบริวาร แต่ก็มีตำแหน่งผู้บริหารด้วยอานิสงส์แห่งธรรมที่บำเพ็ญมา
ก็เหมือนเมืองมนุษย์ ที่เศรษฐีใหญ่ๆ อย่างท่านบิล เกตส์ มีทรัพย์มากกว่า ในขณะที่
ฯพณฯ โจ ไบเดน เป็นประธานาธิบดี มีตำแหน่งบริหารสูงสุด
แต่มิได้มีทรัพย์มากเหมือนท่านบิล เกตส์ ครับ ดังฉะนี้.
บทความนี้
สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันตรุษจีนที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน จราจรสวรรค์
การศึกษาพระไตรปิฎก ทำให้เราทราบเรื่องราวเกี่ยวกับ “เมืองสวรรค์”
มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อพระมหาโมคคัลลานะ พระอัครมหาสาวกเบื้องซ้าย ผู้เลิศด้านอิทธิฤทธิ์
ได้เหาะเหินเดินอากาศ เข้าไปเยี่ยมเหล่าทวยเทพเทวดา แห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
อย่างเช่น “โคบาลเทวบุตร” (https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=2236&Z=2338) ผู้มีเทวรถคันงามตระการตา
แล้วนำเรื่องราวกลับมาเล่าสู่กันฟังให้พุทธบริษัทได้ทราบ พลอยให้พากันกระตือรือร้นทำบุญทำกุศลกันยกใหญ่
เพื่อให้ได้ทิพยสมบัติเช่นนั้นบ้าง โดยไม่พึงลืมว่า มรรคผลนิพพาน คือ “ธรรมสมบัติ”
ที่เป็นเป้าหมายสำคัญสูงสุดสำหรับชาวพุทธทั้งปวง
เมื่อเอ่ยถึง “เทวรถ” บางท่านก็นึกถึงรถที่ นายละคร
นางละคร เล่นโขน ขึ้นราชรถจำลองแลดูวิจิตร แต่แท้จริงแล้ว เทวรถนั้นมีหลากหลายลีลา
ไม่ซ้ำแบบกันเลยทุกคัน อุปมาเหมือน “ลายนิ้วมือ” ของมนุษย์
ที่แทบจะไม่มีซ้ำกันเลย ของใครก็ของคนนั้น แต่อาจจะมีดูคล้ายๆ กันบ้าง
ก็เพราะบุพกรรมที่ทำนั้นใกล้เคียงกัน เช่น ถวายรถตู้โตโยต้า รุ่นเดียวกัน
สีเดียวกัน ให้กับวัด แต่ต่างวาระโอกาส ผลบุญกรรมที่ส่งให้เกิดเป็น “เทวรถ”
อาจจะใกล้เคียง แต่เมื่อดูในรายละเอียดแล้วก็จะไม่เหมือนกัน หรือต่างกันไปเลยก็ได้
เพราะ “ใจ” ของผู้ถวายนั้นแตกต่างกัน บางท่านถวายด้วยความศรัทธายิ่ง
แม้จะมีทรัพย์น้อย แต่ก็พยายามจัดหามาด้วยความยากลำบาก แล้วถวายให้เป็นของสงฆ์
ในขณะที่บางท่านเป็นเศรษฐี แต่มิได้มีกำลังใจทุ่มเทมากในการถวายรถ ทำอย่างสบายๆ
และบางทีก็ถวายเป็นสมบัติของส่วนตัวของพระภิกษุ ด้วยเหตุปัจจัยที่ไม่เท่ากัน
จึงส่งผลให้ การถวายรถยนต์ สีเดียวกัน รุ่นเดียวกัน คันใหม่เหมือนกัน
จึงส่งผลเป็นเทวรถ อันเป็นทิพยสมบัติที่แตกต่างกันไปได้
แต่ในบทความนี้ เราจะไม่ขออธิบายยืดยาวว่า เพราะเหตุใดเทวรถจึงไม่เหมือนกัน
แต่ขอสรุปเพียงว่า “เหตุปัจจัยร่วม” ในการก่อให้เกิดบุญนั้นไม่เท่ากัน
และไม่เหมือนกัน แม้จะเป็นรถหรือทานวัตถุอย่างเดียวกันก็ตาม เพียงเท่านี้ก็พอปูพื้นความเข้าใจได้
ส่วนบทความนี้จะขอกล่าวถึง การเตรียมความพร้อม ในการโดยสารหรือขับเทวรถไปเที่ยวสวรรค์
ว่าท่านพร้อมกันมากน้อยเพียงใด ซึ่งผู้ที่อยู่ใน “สายบุญ” อยู่แล้ว
คงบอกกันว่า เรื่องเทวรถแค่นี้ จิ๊บ จ๊อยส์ เพราะทำบุญมามากต่อมาก อะไรๆ ก็มีครบทั้งหมดในวิมาน
พร้อมแล้วที่จะตีตั๋วไปสวรรค์ได้ทุกเมื่อ
มาถึงจุดนี้ ผมขอเรียนให้ทราบก่อนว่า อย่าเพิ่งไปสวรรค์
ถ้าท่านยังไม่ได้อ่านบทความนี้ เพราะการได้เทวรถไม่ได้ขึ้นอยู่กับการทำบุญถวายรถเสมอไป
การใส่บาตร ถวายสังฆทาน ก็ทำให้เกิดเป็นเทวรถได้ เพียงแต่อาจจะไม่ล้ำเลิศเท่ากับท่านที่ทำบุญด้วยการถวายรถ
หรืออาสาใช้รถของตนขับรับส่งพระภิกษุสงฆ์ก็ได้ ดังนี้แล้วก็จะมีเทวรถที่จะมารอรับ
ในยามละโลก ท่านรู้หรือไม่ว่า เทวรถนั้น เขาขับเคลื่อนกันด้วยกำลังบุญ
และถ้าหากท่านมี “บุญญาวาสนา” ในการขับขี่ยวดยานพาหนะในโลกมนุษย์มาด้วยดี
เทวรถของท่าน ก็จะมี “บุญพิเศษ” เกิดขึ้น การขับเคลื่อนด้วยบุญญาวาสนาดังกล่าวนั้นก็คือ
การขับขี่ยวดยานพาหนะในโลกมนุษย์ ให้เกิดบุญกุศล
ซึ่งไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องถวายรถยนต์ให้กับวัดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แต่เราต้องรู้จักขับขี่ ด้วยความเคารพกฎจราจร และขับขี่อย่างมีมารยาท
และมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ซึ่งถือเป็น “ไวยาวัจมัย” อีกประการหนึ่ง
การ “ทำบุญไวยาวัจมัย” ด้วยยานพาหนะ
นั้นก็คือการขับขี่ให้ได้บุญ ไม่ว่าจะเป็นรถเบนซ์, รถฮอนด้า, มาสด้า, เก๋ง, ซีดาน,
เอส อาร์ วี, แวน, สปอร์ต, มอเตอร์ไซค์ ฯลฯ
เราสามารถขับขี่เพื่อให้เกิดบุญได้ทุกวัน เช่น ขับขี่ด้วยความสุภาพ
เปิดไฟเลี้ยวเสมอ ก่อนจะทำการเลี้ยว, ขับขี่ด้วยความปลอดภัย ไม่ขับจี้รถข้างหน้า,
เมื่อรถอื่นขอทางตัดเข้าเลน พึงมีใจเผื่อแผ่แบ่งปัน ให้ทางกับรถอื่น ไม่ขับกีดกันเส้นทาง,
เมื่อมีคนหรือสัตว์จะข้ามถนน ให้ชะลอ แล้วเปิดไฟกระพริบ หรือค่อย จอดให้ข้าม,
ไม่ขับปิดทางเลี้ยวเข้าซอย หรือถนนตัดผ่าน ในขณะติดไฟแดง
ให้เว้นพื้นที่ไว้ตามเส้นจราจร, ไม่ขับย้อนศร และไม่ขับย้อนเส้นทางเดินรถทางเดียว
ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้อื่น, ไม่บีบแตรดังยาวนาน เพื่ออาละวาดใส่ผู้ขับรถคันอื่น,
เมื่อประสบอุบัติเหตุ ขับรถชน หรือคน หรือสัตว์ หรือสิ่งของ
ให้จอดเข้าข้างทางเพื่อดูแลช่วยเหลือแก้ไขปัญหา รวมถึงเคลียร์ค่าใช้จ่าย อย่าชนแล้วรีบหนี,
ไม่จอดรถบนทางเท้า หรือขับรถบนทางเท้า ทำให้ทางเท้าเสียหาย, ไม่ปล่อยให้รถมีควันดำ
ทำลายสิ่งแวดล้อม และเป็นมลพิษเมื่อผู้อื่นสูดดมเข้าไป และอื่นๆ
การทำไวยาวัจมัย จากการขับขี่ยานพาหนะเช่นนี้ จะทำให้เราได้ “บุญพิเศษ”
ในด้านการคมนาคมสัญจร โดยนัยทางวิชชา จะดีสำหรับ “ม้าแก้วกายสิทธิ์” ประจำตัวเรา
(มนุษย์เป็นจำนวนมาก มีม้าแก้วกายสิทธิ์ อันเป็นรัตนะ อยู่ประจำตัว ถ้ามีม้าแก้วดีๆ
จะเป็นกำลังในการสัญจร ไม่ว่าเดิน, วิ่ง, ขับรถ, ขี่มอเตอร์ไซค์ ฯลฯ)
บางท่านขับรถเก่ง ก็เพราะมีม้าแก้วกายสิทธิ์ชั้นดี อยู่ในตัว แต่ไม่ทราบ
ส่วนในทางทิพยสมบัติ ที่หลายท่านต่างก็เตรียมความพร้อม ในการไปเยือนหลังละสังขาร
ก็จะมีเทวรถ ระดับ วีไอพี ที่มีบุญพิเศษคอยขับเคลื่อน คือเป็นเทวรถที่เทวดาเหล่าอื่น
ต้องให้เกียรติ เมื่อเทวดาที่มีบุญและรัศมีพอๆ กับเราขับเทวรถมาประชันหน้าเจอกัน
เทวดาอื่นก็จะหลีกทางให้เราไปก่อน อุปมาเหมือนเราเป็นผู้ใหญ่กว่ากำลังนั่งอยู่
แล้วเด็กจะเดินผ่าน ก็จะต้องค้อมๆ แล้วค่อยๆ ด้อมๆ เดินผ่านไปอย่างสุภาพ
ไม่เดินข้ามหัวผู้ใหญ่ อารมณ์จะเป็นแบบนั้น
อีกทั้งการสัญจรของเทวรถผู้มีบุญพิเศษ จะเป็นไปด้วยความราบรื่น
ไม่สะดุดติดขัด ไม่โดนเบียด โดนแซง โดนปาดหน้า เหมือนอย่างเทวรถทั่วๆ ไป แล้วเทวรถของเราก็มักจะมีลักษณะพิเศษด้วยบุญพิเศษ
คือเทวรถจะมีรัศมีมาก จากปกติที่เทวดาจะมีรัศมีมากกว่าทิพยสมบัติทั่วๆ ไปของตน ยกเว้นทิพยสมบัติที่ได้จากการบำเพ็ญบุญมาดีมาก
จะมีรัศมีมากตามเจ้าของ เทวรถบุญพิเศษจะเป็นเทวรถที่รัศมีมาก
ทำให้เทวดาเหล่าอื่นเกรงใจ เวลาขับเคลื่อนไปจะเหมือนแม่เหล็กชิ้นใหญ่ที่มีขั้วแม่เหล็ก
ผลักดันแม่เหล็กชิ้นเล็กอื่นๆ ให้ถอยห่างออกไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งยามมีประชุมเทวสมาคม ที่เทวดาทุกชนชั้นวรรณะต่างนั่งเทวรถมารวมกันที่เทวสภา
จอดรถเรียงรายแน่นขนัดเต็มไปหมด ซึ่งเวลาเทวรถบุญพิเศษผ่านมา บุญกรรมวาสนานำพา
ก็จะทำให้เทวรถเหล่าอื่นถูกผลักหลีกทางออกให้โดยอัตโนมัติ โดยไม่สำคัญว่าใครมาก่อนมาหลัง
ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเรา หรือแม้แต่กระทั่งตัวเรา ล้วนเป็นบุญ
เป็นบาป ได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับกรรมเก่า และกรรมปัจจุบัน ซึ่งเรามีสิทธิ์เลือกกระทำได้
สำหรับเทวรถนั้น ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่ถือเป็นหน้าเป็นตา ของเหล่าเทวดาในสรวงสวรรค์
แทบจะไม่ต่างอะไรจากเมืองมนุษย์ ซึ่งเทวดาท่านก็ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บอะไร ยกเว้น “โรคน้อยเนื้อต่ำใจในบุญญาวาสนา”
เหมือนเวลาเราไปงานแต่งงานที่โรงแรมหรูๆ แล้วต้องนั่งรถยนต์ไปจอดตรงทางเข้าโรงแรม
ซึ่งเจ้าหน้าที่โรงแรมคอยต้อนรับ และรอเปิดประตูให้ ก่อนจะรับกุญแจพารถเข้าที่จอด
ถ้ารถเราดี ดูหรูหรา เราก็รู้สึกสบายใจ แต่ถ้ารถเราไม่ดี บางทีก็ไม่กล้าไป
เพราะสถานที่มัน “ข่มขวัญ” หนักเข้าต้องเรียกแท็กซี่ หรือทำได้เพียงแค่ฝากซองไป
แล้วสวรรค์ก็มีความหรูหรามากน้อย ไปตามชนชั้นกำลังบุญ
ซึ่งท่านก็มีเขตปกครองตามโซน เริ่มจากวิมานของผู้ปกครอง และผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่
ณ บริเวณศูนย์กลางภพ ไล่ถอยออกมาเรื่อยไปกระทั่งถึงผู้มีบุญน้อย
ก็เหมือนความสูงของตึกหรือวิมานปราสาท ไล่ไปจากเขตสาทร ซึ่งมีตึกระฟ้าสูงๆ
เต็มไปหมด แล้วค่อยๆ ห่างออกมา ถึงเขตชานเมืองกรุงเทพฯ ห่างไปจนถึงต่างจังหวัด
ถึงชายแดน ก็มีแต่ตึกเตี้ยๆ บ้านสูงไม่เกินสองสามชั้น ซึ่งความร่ำรวยของสังคมมนุษย์บางทีก็คล้ายๆ
แบบนั้น แล้วถ้าเราจะมาขับรถอีแต๋น หรือขับรถซาเล้งอยู่ในเขตสาทร
เราก็ไม่กล้าเข้ามา
เทวดาก็คล้ายๆ มนุษย์อย่างนั้นล่ะครับ เพราะเทวดาส่วนใหญ่
ก็คือมนุษย์ที่ทำบุญไปเกิดบนสวรรค์ เพียงแต่ มนุษย์มีรวยมีจนมีอดอยากอนาถา แต่เทวดาท่านมีเพียง
“รวยมากๆ” กับ “รวยน้อยมาก” ห่างกันอยู่อย่างนี้
ยกเว้นแต่เป็นเทวดาพระอริยบุคคล ซึ่งท่าน “ไม่คิดมากแต่ก็คิดบ้าง” ต่างจากเทวดาทั่วไป
เพราะใจเป็นสุขอยู่ใน “อริยธรรม” แต่พระอริยบุคคลก็ได้รับการจัดอันดับนับถือให้เป็นเจ้าประกาศิตชั้นแรกสุด
แม้จะมีทิพยสมบัติมากหรือน้อย เทวดาก็จัดลำดับความสำคัญให้มาก่อนใคร
แต่ถ้าเป็นพระอริยบุคคลด้วย ทิพยสมบัติมากด้วย ก็โดดเด่นอยู่ในสวรรค์เหมือน “ธรรมดารา”
ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 21 มกราคม
พ.ศ. 2566
ทำบุญกับพระโพธิสัตว์มีอานิสงส์มากจริงหรือไม่?
การทำบุญกับพระโพธิ์สัตว์ ถ้าทำบุญกับ “นิยตโพธิสัตว์”
คือพระโพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า อย่างแน่นอน ย่อมมีอานิสงส์มาก ส่วนการทำบุญกับ
“อนิยตโพธิสัตว์” คือพระโพธิสัตว์ที่ยังไม่เคยได้รับพระพุทธพยากรณ์ นั้นมีผลน้อยลงครับ
แม้ว่าพระโพธิสัตว์จะยังคงเป็นปุถุชน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะ ในการทำบุญนั้น
ผู้ทำจะได้ “ธาตุบุญ” มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ “ธรรม” ของผู้รับ
ถ้าผู้รับ “ทรงธรรม” มาก ผู้ที่ทำบุญด้วย ก็จะได้ “ธาตุบุญ” มาก
ดังนั้น พระนิยตโพธิสัตว์
เป็นผู้ทรงธรรมมาก แม้กิเลสสังโยชน์ยังตัดไม่ขาด แต่ท่านมี “โพธิจิต”
คือจิตใจอันยิ่งใหญ่ ที่มุ่งหวังจะช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ตามท่านไปด้วย
ประกอบกับ “บารมีธรรม” คือบารมีสามัญ 10 ทัศ, อุปบารมี 10
ทัศ และปรมัตถบารมี 10 ทัศ ล้วนกอปรเป็น “ขันธสันดาน”
ที่ทำให้ท่าน “หนักแน่นในธรรมมาก” ส่วนพระอนิยตโพธิสัตว์
ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ยังไม่ได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า
ก็เป็นเนื้อนาบุญที่ลดน้อยหลั่นลงไปตามลำดับ
การทำบุญกับพระโพธิสัตว์นั้น เหมือนพระนางมหาปชาบดีโคตมี
ถวายผ้าสาฎกเนื้อผ้าอันเลิศราคาแพงแด่พระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระภิกษุ
แต่ไม่มีใครรับ กระทั่งถึงมือ “พระอชิตภิกษุ” คือว่าที่องค์สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า
แล้วองค์สมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสยกย่องทานนั้น การทำบุญกับพระโพธิสัตว์
ซึ่งจะได้อานิสงส์มากน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับตัวแปรในสมการคือ "ผู้รับบริสุทธิ์"
ซึ่งตัวแปรนี้ เป็นไปตามสองเหตุปัจจัย คือ (1) “กิเลสสังโยชน์” ที่ไม่มี หรือมีน้อย (2) “ธรรม” ที่มีว่ามากน้อย สองประเด็นนี้เป็นคนละเรื่องเดียวกัน
ปกติแล้วผู้ที่ไม่มีกิเลสก็มักจะทรงธรรมโดยอัตโนมัติ
แต่ไม่เสมอไป เหมือนพระมหากัสสปะอรหันตมหาเถระ ผู้หมดกิเลส
แต่มีอัธยาศัยยินดีในธุดงควัตร เมื่อเทียบกับพระอรหันต์ธรรมดาฉันใด
พระโพธิสัตว์ผู้มีอินทรีย์แก่กล้ามักจะเป็นผู้ที่มีกิเลสเบาบาง แม้จะยังไม่ได้ละสังโยชน์เลย
แต่ทรงธรรมมาก เพราะสะสมบารมีธรรม ตามปิฎก 3 ของฝ่ายบุญหล่อเลี้ยงมาอย่างหนาแน่นกว่าฉันนั้นครับ
ดังฉะนี้”
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร
ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน ตุ้งแช่! รับตรุษจีน
ถึงวันตรุษจีนกันอีกแล้วนะครับ
นานาสาระตอนนี้จะขอเล่าเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน ดังนี้ครับ:
(1) วันตรุษจีน
ผู้ทรงวิชชา บ้างก็ "เหนี่ยวรับ" ผู้ที่จะมาถวายอั่งเปา
ให้เตรียมกันไว้ให้ดี จะได้อานิสงส์สมบัติมากเป็นพิเศษ
(2) ของถวายตรุษจีน
ถ้าจะเล่นประกาศิต ต้องทำตามธรรมเนียมพิธี คือใช้ “ซองอั่งเปาสีแดง” เท่านั้น
ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ พึงทำตามประเพณี อย่างเช่นมอบส้ม 4 ผล
(3) เซ่นไหว้ผี.. ผีไม่ได้รู้สึกว่าเวลาผ่านไปยาวนานถึง
1 ปี เหมือนมนุษย์ แต่ภูมิของผีที่อยู่บนพื้นโลก
จะรู้สึกว่ารอบปีตรุษจีน เพิ่งจะผ่านไปประมาณ 3 - 5 วัน
ตามแต่มิติของแต่ละพื้นที่
(4) ถ้าประสงค์จะสงเคราะห์ผี
ก็เซ่นไหว้ผีด้วยอาหารหวานคาว เพราะผีบ้างก็อนุโมทนาบุญไม่เป็น ถนัดหยิบส่วนละเอียดของอาหารไปกินเฉยๆ
ครั้นจะสอนให้อนุโมทนาสาธุการ จากการที่เราทำบุญกรวดน้ำ ก็ดูกะไร ทำบุญอุทิศให้
ก็รับบุญไม่ถูก รับบุญไม่เป็น ยกเว้นแต่จะเปิดคอร์ส อบรมผี ซึ่งบางท่านก็ไม่มีเวลาพอ
แต่เดี๋ยวนี้ท่านมีวิชชา “ปรับภพภูมิ” ด้วยการสวดบทพระมหาจักรพรรดิ
ซึ่งทำให้ง่ายขึ้น
(5) ของเซ่นไหว้ผี
อย่านำมาใส่บาตรถวายพระ หรือรับประทาน เพราะในส่วนละเอียดมีกลิ่นสาปสางของผี
รับประทานแล้วกลิ่นสาปนั้นจะติดไป มีผลถึง “กลิ่นทิพย์” ของเราครับ
(6) การเซ่นไหว้บรรพบุรุษ
และเทพเทวา เป็นเทวตานุสสติ ท่านที่อยู่ในสุคติภูมิจะไม่รับประทานของเซ่นไหว้
แต่จะแค่เอานิ้วแตะๆๆ ไปที่ของไหว้พอเป็นพิธี มาเพื่อทักทายอวยพรกันแล้วก็ไป
ของเซ่นไหว้ประเภทนี้นำมารับประทานเองได้ครับ
(7) ของเซ่นไหว้เจ้าที่
บางทีเจ้าที่ชั้นดีท่านก็ไม่รับประทานเอง แต่แบ่งให้ผีเพื่อนๆ หรือบริวารกิน
ถ้าเราจะนำไปรับประทาน ให้ถามท่านก่อน หรือสังเกตดู
(8) "กิมฮวย" ที่ปักกระถางธูป หากเป็นกระถางธูปของเทพผู้ใหญ่ อย่างพระโพธิสัตว์กวนอิม
และเทพเซียนต่างๆ ใช้กิมฮวยแววหางนกยูงธรรมชาติของแท้ จะมีอานิสงส์ดี อันที่จริงจะปักลงกระถางธูปพระพุทธด้วยก็ได้
แม้จะไม่นิยม แต่เป็นการบูชาด้วยแววหางนกยูง จะมีอานิสงส์ได้ "ตรัสมยุรี..
มยุรา.. และมยุรินทร์” ครับ.
สุขสันต์วันตรุษจีน พ.ศ. 2566 เฮงๆ รวยๆ ครับ! ^^
- พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน กายสิทธิ์ใน วัสดุธาตุ VS. วัตถุประดิษฐ์
จากคำสอนของ พระเดชพระคุณพระเทพญาณมงคล
(หลวงป๋า) อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
ทำให้เราทราบว่า สิ่งทั้งปวงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ว่าหิน, ดิน, ปูน, ทราย,
แร่เงิน, แร่ทองคำ, ทองเหลือง, ดีบุก, เพชร, อัญมณี และอื่นๆ ล้วนแล้วแต่มี “กายสิทธิ์”
สถิตรักษาอยู่แทบทั้งนั้น ต่างกันเพียงว่า มีจำนวนมากหรือน้อย
และที่มีอยู่นั้นอานุภาพมากหรือน้อย ท่านที่ศึกษาเรื่องราวนี้แล้ว
คงอดไม่ได้ที่จะสงสัยว่า “อ้าว แล้วทำไมกายสิทธิ์ต้องลงรักษาก้อนหิน
ก้อนดินด้วยล่ะ ทำไปเพื่ออะไร มีประโยชน์อะไร?”
ในการตอบคำถามนี้
ผมขออ้างถึง “สัจจะวาที” ว่า “สิ่งทั้งปวงในโลก ไม่มีอะไรที่ไม่เป็นวิชชา” นั่นหมายความว่า ไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยบังเอิญ
ทุกอย่างล้วนเป็นวิชชาที่ถูกประชุมปรุงให้ “เกิดมีขึ้นมา” และ “เป็นไป”
ตามวิชชา ของธาตุธรรม 3 ฝ่าย คือฝ่ายกุศลาธรรมา
(ฝ่ายบุญ), ฝ่ายอกุศลาธรรมา (ฝ่ายบาป) และฝ่ายอัพยากตาธรรมา (ฝ่ายไม่บุญไม่บาป) ดังนี้แล้ว
เราจึงกล่าวได้ว่า ทั้ง “ธาตุ” และ “ธรรม” ที่มีอยู่นั้น ล้วนมี “เจ้าของวิชชา”
ซึ่งผมมักใช้คำว่า “ภพเจ้าของ” ยกตัวอย่างเช่น แร่อลูมิเนียม
ก็มีภพเจ้าของที่ส่งวิชชาปรุงธาตุอลูมิเนียม ให้เกิดมีขึ้นในโลก
และการที่แร่อลูมิเนียมบ่มตัวอยู่ใต้พิภพ กระทั่งประชุมขึ้นเป็นแร่อลูมิเนียมได้ก็เกิดจาก
“กายสิทธิ์” ที่ภพเจ้าของวิชชาอลูมิเนียม ส่งลงมาใส่ไว้ในใต้พิภพ แล้วส่งวิชชาพร้อมกับฤทธิ์
มายังกายสิทธิ์ของตนให้ “บ่มธาตุ” ใต้พื้นพิภพ ผ่านกาลระยะเวลายาวนาน
กระทั่งประชุมรูปร่างขึ้นมาเป็นแร่ธาตุอลูมิเนียมตามตั้งใจได้
ซึ่งวัตถุประสงค์ในการทำเช่นนี้ ก็เพื่อให้มนุษย์สามารถนำอลูมิเนียมไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ
เหมือนเป็นการจัดสรรสร้างความพร้อม เตรียมทรัพยากรสำหรับรองรับการมีสังคมมนุษย์
เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์ของการถือกำเนิดเป็นมนุษย์ ตามแต่เจ้าของสายวิชชาปกครองกายมนุษย์แต่ละกายจะมุ่งหมาย
เช่นมาเป็นพระพุทธเจ้า, พระโพธิสัตว์, นักบุญ, นักพรต, หรือพระอริยบุคคล,
หรือพระปัจเจกพุทธเจ้า, เทพเจ้า, พรหม, พระฤาษี, พระดาบส และอื่นๆ
นอกจากกายสิทธิ์ที่สถิตอยู่ตาม
“วัสดุธาตุ” ตามธรรมชาติแล้ว ก็ยังมี “วัตถุประดิษฐ์”
ที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งมีกายสิทธิ์รักษาอยู่ด้วย ซึ่งวัตถุประดิษฐ์ทั้งหลาย
ก็ล้วนมี “ภพเจ้าของวิชชา” ส่งวิชชามา ทำให้เกิดมีวิวัฒนาการ
สรรค์สร้างวัตถุประดิษฐ์ และเทคโนโลยีต่างๆ
นับตั้งแต่วัตถุประดิษฐ์เครื่องไม้เครื่องมืออย่างง่าย เช่นจอบ, ขวาน, ค้อน กระทั่งถึงอุปกรณ์ไฮเทค
อย่างเครื่องบิน, ไอโฟน, ดาวเทียม, หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ และอื่นๆ
ซึ่งภพเจ้าของท่านมีวิชาความรู้ หรือ know-how อยู่แล้ว
เพียงแต่เมื่อสังคมมนุษย์วิวัฒนาการเรื่อยมา กระทั่งมีความพร้อมมากขึ้น
ภพเจ้าของวิชาความรู้ ก็จะส่งวิชชามาหล่อเลี้ยง
ให้มนุษย์นักประดิษฐ์สามารถค้นคิดและพัฒนา เทคโนโลยี กระทั่งเป็น “วัตถุประดิษฐ์”
ในรูปแบบต่างๆ แล้วภพเจ้าของวิชชาก็จะส่งกายสิทธิ์ของตนลงรักษาวัตถุประดิษฐ์แต่ละชิ้นซึ่งอยู่ในสายวิชชาของตน
ส่วนว่าจะมีกายสิทธิ์ลงรักษามากน้อย อานุภาพมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับกรณี
ถ้าวัตถุธาตุเป็นของสำคัญ มีคุณค่า มีราคาสูง ก็มักจะมีกายสิทธิ์ระดับสำคัญๆ ลงรักษาเป็นเงาตามตัวไปด้วย
เช่นกายสิทธิ์ในเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของราชวงศ์ต่างๆ ทั่วโลก, พระวิหารปูน,
พระพุทธรูปหยก, รูปหินอ่อนแกะสลักเทพเจ้า และพระโพธิสัตว์, พระธรรมจักรหินทราย,
หินอ่อนแกะสลักรูปบุคคลสำคัญ และอื่นๆ นอกจากนี้ ถ้าวัตถุนั้นเป็นสมบัติของผู้ทรงคุณมาก
ภพจะส่งกายสิทธิ์ระดับสำคัญๆ มาลงรักษา เช่นลูกประคำของนักบวชผู้ทรงคุณ สายสร้อยระยางคล้องบ่าของนายกสภามหาวิทยาลัย
และอธิการบดีมหาวิทยาลัย ที่สวมใส่ในพิธีประสาทปริญญาบัตร ของสถาบันการศึกษา และอื่นๆ
การที่กายสิทธิ์ลงรักษาวัสดุและวัตถุ จะมีผลทำให้วัสดุและวัตถุนั้น
มีวิชชาหล่อเลี้ยงรักษา อุปมาสิ่งที่มีกายสิทธิ์ลงรักษาเหมือนดอกบานไม่รู้โรยที่กำลังผลิดอกสดใหม่อยู่บนต้น
ในขณะที่สิ่งที่มีกายสิทธิ์ลงรักษาเบาบางหรือไม่มีเลย เป็นเสมือนดอกบานไม่รู้โรยแห้งๆ
ที่ถูกเด็ดออกจากต้นนานแล้ว ความ “มีชีวิตชีวา”
ในการคงสภาพอยู่ของวัสดุและวัตถุนั้นจะน้อยลงไป
อนึ่ง
วัตถุประดิษฐ์ที่มี “ดวงตราประกาศิต” หรือ “แบรนด์เจ้าของวิชชา”
ก็จะมีกายสิทธิ์จากภพเจ้าของแบรนด์นั้นๆ ลงรักษาด้วย เช่นนาฬิกาโรเล็กซ์
ก็มีกายสิทธิ์จากภพวิชชาโรเล็กซ์ลงรักษาอยู่ เครื่องบินแอร์บัส
ก็มีกายสิทธิ์จากภพวิชชาเครื่องบินประจำแบรนด์แอร์บัสลงรักษา สาเหตุที่ภพต้องผลิตกายสิทธิ์ลงมาทำหน้าที่รักษา
และทำงานตาม “วัสดุธาตุธรรมชาติ” และ “วัตถุประดิษฐ์” ต่างๆ แม้ไม่มีใครร้องขอ
ก็เพราะเป็นความรับผิดชอบตามหน้าที่ คือ เมื่อส่งวิชชามาแล้วก็ต้องคอยรักษาต่อไป
ตราบกว่าวัตถุจะแตกสลายทำลายตัวลง หรือหมดสภาพการทำงานต้องถูกทิ้งเป็นขยะ กายสิทธิ์จึงจะถูกเรียกกลับ หรือเบาหายวับลาลับไป ซึ่งเจ้าของภพท่านก็ทำตามความถนัดด้วยจิตอาสา
อยากทำประโยชน์ไปในตัว จึงเข้ามารับหน้าที่ เหมือนท้าวเทวราชที่จัดสรรทำงานบริหารปกครองพระภูมิเจ้าที่
และรุกขเทวา บนพื้นโลกมนุษย์ลงมาตามลำดับชั้น แม้จริงๆ แล้วจะไม่มีก็ได้
แต่ท่านก็ทำ โดยที่ภพเจ้าของวิชชาผู้ส่งกายสิทธิ์ ก็มีทั้งพระพุทธเจ้า
และพระจักรพรรดิลำดับผู้ใหญ่ๆ และระดับกลางๆ แต่อาวุโสมากหน่อย มารับหน้าที่ ซึ่งถ้าหากท่านไม่ทำ
ฝ่ายมารก็อาจรุกคืบเข้ามาแทนที่ ส่วนการทำงานนี้ก็มีทั้งช่วยฟรีๆ กับได้สิ่งตอบแทน
ตามที่ได้อธิบายในบทความที่แล้ว ตามแต่กรณี ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 19 มกราคม
พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน เล่นประกาศิต กับกายสิทธิ์ลงรักษา
ด้วยประสบการณ์ในการ “เล่นดวงตราประกาศิต” หรือภาษาบ้านๆ
ว่า “ทำแบรนด์โลโก้” ของผมมาเป็นระยะเวลาประมาณ 10 ปี
ผมได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังเป็นบทความยาวเหยียด
ดังที่เคยนำเสนอไปก่อนหน้านี้แล้วเรื่อง “ประกาศิตเพื่อการสร้างบารมี”
สำหรับบทความนี้ผม จะขอเล่าปกิณกะความเสริมเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องการคัดกรองคุณภาพ
กับกายสิทธิ์ลงรักษา ซึ่งเป็นประเด็นทางวิชชากึ่งๆ งานครับ
ท่านที่เรียนหรือทำงานด้าน “สัญลักษณาคุณากิจ” หรือ “branding” คงพอมีพื้นฐานความรู้อยู่ว่า ดวงตราสัญลักษณ์นั้น เป็นภาพเครื่องหมายบ่งชี้แทนสินค้า
และบริการ ที่ช่วยให้ง่ายต่อการ “จำได้ หมายรู้” ถ้าหากเราแสดงดวงตราสัญลักษณ์สินค้า
พร้อมๆ กับสินค้าและบริการที่ดี มีคุณภาพ เป็นที่น่าพึงพอใจ กระทั่งผู้ใช้
หรือผู้ซื้อ สามารถจดจำมั่นหมายได้ดีแล้ว ครั้งต่อๆ ไป
เมื่อผู้ซื้อได้เห็นดวงตราสัญลักษณ์ดังกล่าวคราใด ไม่ว่าจะใช้กับสินค้าตัวใหม่ หรือบริการใหม่ๆ
ก็จะเกิดความเชื่อมั่น เชื่อใจ หมายใจขึ้นมาว่า คงจะเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ
น่าซื้อหาเช่นกัน ซึ่งช่วยเอื้อต่อการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น
ฉันใดก็ฉันนั้น การเล่นดวงตราประกาศิต มีลักษณะที่ช่วยให้เราต้องปรับปรุงคุณภาพของสิ่งต่างๆ
ประกอบการสำแดงดวงตราประกาศิต ตามไปด้วยโดยอัตโนมัติ เช่น ตาลปัตรพัดรองตราสัญลักษณ์ต่างๆ
หรือธงสีเหลืองดวงตราพระธรรมจักร ที่เราเห็นตามวัดวาอารามอยู่ทั่วไป
เมื่อใดก็ตามที่ทางวัดติดธง ประชาชนก็เกิดอาการจดจำมั่นหมายได้ว่า ในบริเวณนั้นมีวัดพุทธฯตั้งอยู่
และวัดพุทธฯนั้น อาจจะมีงานพิธีทางศาสนา จึงได้ติดธงไว้ พร้อมกันนั้น การติดธงสำแดงดวงตราพระธรรมจักร
ก็จะส่งเสริมจิตสำนึกด้านคุณภาพ คือผืนธงที่นำมาใช้มักจะอยู่ในสภาพดี ไม่ฉีกขาด
หรือเก่าทรุดโทรม นี้คือจิตสำนึกของผู้เล่นประกาศิต ที่จะต้องรักษาและตรวจสอบคุณภาพสิ่งที่ใช้สำแดงดวงตราประกาศิตไปในตัว
จึงมีผลต่ออานิสงส์แห่งบุญที่เกิดขึ้น คือเวลาจะได้อะไร ก็ได้แต่ของดีๆ
ของที่มีการรับรองคุณภาพ รวมถึงของที่มีดวงตราประกาศิต (เปรียบเทียบระหว่างการได้รับผ้าเช็ดตัวยี่ห้อ
“แคนนอน” กับผ้าเช็ดตัวอย่างเดียวกันที่ไม่มียี่ห้อ ซึ่งเป็นสินค้า O.E.M.)
ประเด็นทางวิชชาอีกประการหนึ่งในการเล่นประกาศิตที่น่าสนใจก็คือ
การสำแดงดวงตราประกาศิตอยู่กับวัตถุสิ่งของ จะส่งผลให้วัตถุสิ่งของนั้นๆ มี “กายสิทธิ์”
ลงรักษาเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ และถ้าดวงตราประกาศิตเป็นประกาศิตฝ่ายดี
(ในทางตรงกันข้ามกันกับดวงตราประกาศิตยี่ห้อสุรา ที่ถือเป็นฝ่ายไม่ดี) ก็มักจะมี “เทวดาลงรักษา”
วัตถุสิ่งของเหล่านั้น ตามแต่ผู้ปกครองเทพเทวาท่านจะจัดสรรส่งมาโดยมิต้องร้องขอ
ยกตัวอย่างเช่น การใส่ดวงตราประกาศิตไว้ที่ “ผ้าทิพย์”
ด้านหน้าฐานของพระพุทธรูป หรือวาดดวงตราประกาศิตอยู่บนภาชนะเครื่องเบญจรงค์ หรือยิงเลเซอร์ลวดลายดวงตราประกาศิตบนโถแก้วคริสตัล
จะเป็นเหตุให้ “ภพกายสิทธิ์” ส่งกายสิทธิ์ลงรักษาพระพุทธรูป,
เครื่องเบญจรงค์ และเครื่องแก้วคริสตัล เหล่านั้นมากเป็นพิเศษ
และถ้าหากดวงตราประกาศิตเป็นดวงตราขั้นสูง
เทพผู้รักษาดวงตราประกาศิตก็จะจัดสรรส่งเทวดาลงมารักษาสิ่งของเหล่านั้นด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุที่ใช้ในการทำบุญ เช่นที่กรวดน้ำ,
ขันเงินใส่ข้าวสำหรับตักบาตร หรือโถแก้วคริสตัลสำหรับบรรจุพระธาตุและเถ้าอังคารของพระอริยบุคคล
การที่กายสิทธิ์ลงรักษาของเหล่านี้มากขึ้น
จะทำให้ของเหล่านี้มีลักษณะ “ทรงคุณ” มากขึ้น เมื่อนำมาใช้ทำบุญ ก็จะได้บุญมากเป็นพิเศษ
เช่น เจดีย์หรือผอบทองคำ ที่สลักดวงตราประกาศิต มีกายสิทธิ์ลงรักษามาก จะช่วยทำให้
กายสิทธิ์ภาคธรรมภายในพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งผมมักเรียกว่า “กายพุทธสิทธิ์”
(เพื่อแยกแยะออกจากกายสิทธิ์ทั่วไป) ประดิษฐานอยู่อย่างเป็นสุขมากขึ้น
อุปมาเจดีย์ทองเหลืองกับห้องที่ติดพัดลมคลายร้อน
กับเจดีย์ทองคำที่มีดวงตราประกาศิตเหมือนห้องที่ติดแอร์เย็นสบาย
มีผลถึงอานิสงส์แห่งบุญ เช่นเมื่อได้วิมานอันเป็นทิพยสมบัติ หรือนิพพานสมบัติ ก็จะให้ความเป็นสุขมากกว่า
เพราะพิมานปราสาททิพย์นั้นมีกายสิทธิ์อัดกันอยู่อย่างหนาแน่นมาก
เรื่องกายสิทธิ์สถิตย์มากหรือน้อย ผมขอยกตัวอย่างระหว่าง “หินอ่อนธรรมชาติ”
กับ “หินอ่อนสังเคราะห์” ซึ่งมีลวดลายสวยงามใกล้เคียงกัน (หินอ่อนธรรมชาติบางทีก็ลวดลายไม่ส่วยเท่าหินอ่อนประดิษฐ์)
แต่ความรู้สึกที่เราสัมผัสได้จากหินอ่อนธรรมชาติ เราจะรู้สึกเย็นใจมากกว่า
นี้เป็นเพราะฤทธิ์ของกายสิทธิ์ที่มีอยู่ในหินอ่อนธรรมชาติ
เหมือนกายสิทธิ์ที่อยู่ในลูกแก้วจุยเจีย เพราะเหตุนี้ บ้านที่ปูพื้นด้วยหินอ่อนเทียม
กับหินอ่อนธรรมชาติ จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้ที่ประสาทสัมผัสไว
หรือมีวิชชา จะสามารถรับรู้ได้ เพราะหินอ่อนธรรมชาติมีกายสิทธิ์สะสมอยู่มากกว่าตามธรรมชาติที่ภพส่งลงมาปลูกเลี้ยง
ในขณะที่หินอ่อนสังเคราะห์ก็มีกายสิทธิ์ แต่มักจะเบาและน้อยกว่ามาก
ส่วนสาเหตุที่ทำให้ “ภพกายสิทธิ์” รวมถึง “เทพเทวา”
ส่งกายสิทธิ์และเทวดา มารักษาวัตถุสิ่งของที่มีดวงตราประกาศิตมากขึ้นนั้น
ก็เป็นไปตามหน้าที่ของท่าน แต่โดยปกติ ผู้เล่นดวงตราประกาศิต ทั้งที่ตระหนักทราบ
หรือไม่ทราบ แต่เป็นไปโดยธรรมชาติ มักจะใส่ดวงตราประกาศิตกับสิ่งที่ตนให้ความสำคัญ
ดังนั้น เมื่อใส่ดวงตราประกาศิตกับวัตถุสิ่งของใด ภพกายสิทธิ์
ก็จะส่งกายสิทธิ์ลงมารักษามากเป็นพิเศษ แต่ถ้าหากผู้ใช้วัตถุสิ่งของเหล่านั้นเป็น “ผู้ทรงวิชชา”
กายสิทธิ์และเทวดาที่รักษาสิ่งของอาจจะเรียก “ค่ากำเน็จ” หรือ “ทิป”
เมื่อผู้ทรงวิชชา “เล่นได้” เช่นผู้ทรงวิชชาดำริงาน และจัดงาน “ถวายมหาสังฆทานโลก”
ได้สำเร็จ เมื่อทำการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล กายสิทธิ์และเทวดาที่รักษาภาชนะกรวดน้ำอยู่
ก็จะแสดงความยินดี และเป็นธรรมเนียมที่ผู้ทรงวิชชาต้องจ่ายค่ากำเน็จ คือ “ตกรางวัล”
เป็นการตอบแทน
อย่างไรก็ตาม การใส่ดวงตราประกาศิตลงไปบนวัตถุสิ่งของนั้น
ผู้เล่นประกาศิตมีข้อควรสังเกตคือ ถ้าหากวัตถุสิ่งของนั้นมีดวงตราประกาศิตอยู่แล้ว
ก็เป็นอันไม่พึงใส่ดวงตราประกาศิตของตนลงไปอีก เช่นที่กรวดน้ำเครื่องเบญจรงค์
ที่ผู้ผลิตวาดโลโก้ลงไปตามคำสั่งผู้สั่งซื้อ แล้วเราได้รับมาเป็นของกำนัล
เราก็ไม่พึงติดสติ๊กเกอร์ดวงตราประกาศิตของเราลงไปอีก แต่ถ้าเป็นวัตถุสิ่งของนั้นมีแบรนด์
คือมียี่ห้อ แต่ตัวสินค้าไม่มีดวงตราโลโก้
เราสามารถใส่ดวงตราประกาศิตของเราลงไปได้ โดยอาจจะอยู่ในรูปของสติ๊กเกอร์ครับ
ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์ โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 18 มกราคม
พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน กรรมอะไรทำให้ธุรกิจขาดทุน ???
เรื่องกฎแห่งกรรมที่เป็น “ระบบปฏิบัติการพื้นฐาน”
หรือ Operation
System ซึ่งปกครองสรรพสัตว์ในวัฏสงสาร ถือเป็นเรื่องที่สนุกมากๆครับ
โดยเฉพาะเมื่อเราตรวจทราบว่า สุข-ทุกข์ ดี-ร้าย ที่เกิดขึ้นในชีวิตนั้นเพราะกรรมอะไร แล้วเราก็มาถึงบางอ้อว่า อ๋อ.. เพราะอย่างนี้นี่เอง
แต่ตามที่ผมเคยรจนาความไว้ก่อนหน้าคือ กรรมดีกรรมชั่วมีลักษณะประชันหรือแย่งกันส่งผล
ตามแต่ฝ่ายพระนิพพาน จะหนุนบังคับใช้กรรมดี และมารโลกจะหนุนบังคับใช้กรรมชั่ว ได้มากน้อยกว่ากัน
เหมือนคนเล่น “งัดข้อ” กันอยู่ตลอดเวลาครับ
ทำให้บางทีการส่งผลของกรรมไม่เสถียร มีการ “ลัดคิว แซงคิว ตัดคิว” กันได้
ทีนี้เรื่องที่เราสนใจกันก็คือ ทำไมธุรกิจจึงขาดทุนครับ ซึ่งท่านใดที่ติดตามผลงานรจนาความของผมก็ทราบแล้วว่าด้วยการทำบุญในลักษณะต่างๆ เราจึงมีธุรกิจกิจการที่ก่อให้เกิดรายได้ เป็นทรัพย์คือเงินที่ได้มาด้วยการทำงานเข้าแลกหรือบ้างก็ต้องออกเดินทาง ทั้งนี้ก็เพราะเวลาทำบุญ พระสงฆ์องค์เณรก็ต้องทำงานจัดงานเตรียมงานรับญาติโยม เมื่อท่านต้องเหน็ดเหนื่อยและต้องเดินทางออกไปหาซื้อวัสดุอุปกรณ์นอกวัด หรือเดินทางไกลเพื่อไปร่วมพิธี ณ สถานที่ส่วนกลาง เวลากรรมส่งผลจะให้เราได้ทรัพย์มาแบบต้องเหน็ดเหนื่อย แล้วก็เดินทางเหมือนกัน ในขณะเดียวกัน บุญที่ทำให้รวยโดยไม่ต้องทำงาน ก็คือบุญที่ทำกับผู้รับแบบสบายๆ เช่นพระภิกษุนั่งรออยู่ที่วัดเพื่อรับสังฆทาน ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องบิณฑบาตหอบหิ้วของถวายพะรุงพะรัง ไม่ต้องจัดพิธีกรรมอะไรมาก เวลาบุญส่งผล ก็จะได้สมบัติง่ายๆ ใช้สอยง่าย ไม่ต้องทำงาน เหมือน นางวิสาขา หรือเหมือน คุณปารีส ฮิลตัน (Paris Hilton) ครับ ส่วนว่า ทำบุญแบบสบายๆ แล้ว จะทำให้สิ่งอื่นๆ ด้อยลง อย่างเช่นพระสงฆ์องค์เณรมีส่วนร่วมในงานและในบุญน้อยลง หรือพิธีกรรมดูไม่ขลังไม่ศักดิ์สิทธิ์ ได้ประกาศิตน้อย ก็เป็นประเด็นแยกต่างหาก
ส่วนกรรมที่ทำให้ธุรกิจขาดทุนก็คือ การทำทานแล้วไม่มากพอจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่ทางวัดใช้ไปกับการจัดงานพิธีกรรมครับ
กล่าวคือ รายรับจากเงินบริจาคของวัดนั้นน้อยกว่ารายจ่าย
เช่นวัดจัดงานทอดกฐินสามัคคี วัดจ่ายค่าเตรียมงานไปหนึ่งแสนบาท
แต่ยอดปัจจัยบริวารกฐินทั้งหมดได้มา ห้าหมื่นบาท โดยนัยนี้ เมื่อกรรมส่งผล
ผู้ทำบุญจะได้ทำธุรกิจที่ตนเองเป็นผู้บริหาร ในกรณีเป็นประธานกฐิน
ทำงานแล้วมีรายได้จากกิจการ แต่รายรับจะน้อยกว่ารายจ่าย ซึ่งหมายถึงขาดทุนครับ
นี้คือระดับธุรกิจเอกชน ส่วนการขาดทุนของธุรกิจระดับมหาชนของประเทศ อย่างสายการบิน
มักจะเกิดจากบุญพิธีระดับประเทศที่ทางวัดขาดทุนครับ เช่นกฐินของรัฐบาลถ้าเป็นเศรษฐกิจระดับโลก
ที่รุ่งเรืองหรือซบเซา จะเป็น “บุญกำไรทรัพย์ หรือบุญขาดทุนทรัพย์”
ขององค์กร หรือบุคคลระดับโลก เช่นองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ที่ทำบุญกับนักบวช
หรือองค์กรไม่แสวงกำไร (NGO) หรือยูนิเซฟ (UNICEF) กับสภากาชาด (Red Cross) ที่ชาวโลกประชุมสิทธิ์เพื่อตั้งขึ้น
ให้ทำงาน แต่ทำแล้ว แล้ว “ได้บุญขาดทุนทรัพย์” ครับ.
ถ้าทางวัดรับเงินบริวารกฐินสามัคคี
ที่ประธานกฐินและคณะบอกบุญมาได้ โดยยอดเงินรวมของกฐินมากกว่าค่าใช้จ่ายของทางวัด
แต่เฉพาะเงินในส่วนของประธานกฐินก้อนเดียวนั้นน้อยกว่าค่าใช้จ่ายวัด เวลาบุญส่งผลก็แบ่งกัน
เหมือนห้างหุ้นส่วนจำกัด กับหุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ์ ผู้ถือหุ้นสามัญก็คือกรรมการกฐินที่มีรายชื่อยาวเหยียด
ว่าสายนั้น สายนี้ ใครเป็นผู้นำ ส่วนหุ้นบุริมสิทธิ์ก็คือประชาชนทั่วไปที่เอาเงินไปติดต้นกฐิน
หยอดลงกล่องรับบริจาค ฝากมาทำบุญ แต่ไม่ใช่ผู้รับตำแหน่งประธาน รองประธาน กรรมการกฐิน
และไม่ได้มีส่วนร่วมแห่ง “สิทธิ์” ในการปวารณาขอรับเป็นเจ้าภาพกฐินที่ทำให้ทางวัดขาดทุน
แต่หุ้นทุกประเภท ก็มีส่วนร่วมชดใช้ จากการสนับสนุนให้ วัดขาดทุน
เพราะมีพิธีกรรมที่ผู้ร่วมพิธีมาใช้สอยเครื่องอุปโภค บริโภค สาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกที่ทางวัดจัดขึ้นแล้วต้องใช้จ่ายไป
แต่การที่มูลค่าหุ้นตกต่ำลง หรือหมดค่าไป ก็ถือเป็นการชดใช้ไปในตัวครับ ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 17 มกราคม
พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรัศมี
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ
เรื่องรัศมีคงจะเป็นมหากาพย์ที่นำมาเล่าสู่กันฟังกระทั่งกลายเป็นทอล์คออฟเดอะเวิลด์
ใช่ไหมครับ วันนี้ผมมีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรัศมี มาแบ่งปันกัน
เป็นปกิณกะความรู้ที่ “พึงรู้ไว้ใช่ว่าฯ” ก่อนที่เราๆ ท่าน
จะไปโชว์ออฟกันในโลกทิพย์ครับ
ท่านที่เคยเห็นศิลปะรูปหล่อ รูปปั้น รูปแกะสลัก คงเห็นว่า
รัศมีของพระพุทธรูปส่วนใหญ่ แผ่ออกมาจากพระเศียร ส่วนศาสนาอื่น รัศมีเขาเป็นวงๆ
ลอยอยู่บนเศียร เหมือนวงแหวนของดาวเสาร์ แล้วตกลงของใครผิด ของใครถูก
รัศมีของเทวดาที่แท้จริงควรเป็นอย่างไรกันแน่ครับ?
วันนี้ผมขอเฉลยว่า ตำแหน่งของรัศมีนั้น
จะขึ้นอยู่กับบุพกรรมที่ทำเอาไว้ครับ เช่น ท่านที่เคยใช้ความคิดสติปัญญามาก
ในการทำความดี รัศมีจะเปล่งออกจากเศียรมากเป็นพิเศษ ท่านที่ใช้มือทำความดีมาก
เช่นก่อสร้างพระเจดีย์เองด้วยมือ มือจะมีรัศมีมาก ส่วนท่านที่กล่าวปิยวาจา
สัมมาวาจา มามาก ปากจะมีรัศมี เวลาพูดอะไรจะมีแสงวิบวับออกมา ส่วนท่านที่ทำความดีแบบรวมๆ
ก็จะมีรัศมีแผ่ออกมาทั่วสรรพางค์กาย แต่รัศมีเหล่านี้จำลองแบบออกมาได้ยาก
เช่นรัศมีที่ปาก และทั่วสรรพางค์กาย ช่างศิลป์ส่วนใหญ่จึงปั้น
หรือแกะสลักให้พระพุทธรูปมีพระรัศมีเปล่งออกจากพระเศียร
เพื่อแสดงถึงพระปัญญาธิคุณของพระองค์ท่านครับ
แล้วรัศมีวงแหวนบนเศียรเทวดาของศาสนาอื่น ถูกหรือผิด? คำเฉลยคือ รัศมีวงแหวนแบบนี้ เราเรียกว่า
“ทรงกลด” ครับ ซึ่งรัศมีจะทรงกลดได้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีบุญญาธิการมาก
โดยเฉพาะพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ ลำดับขั้นใหญ่ๆ ซึ่งเป็นชาวพุทธ
รัศมีจะเปล่งออกทั่วสรรพางค์กาย แล้วทรงกลดอยู่ห่างๆ ซึ่งถ้ามีวงแหวนทรงกลดหลายวง
ก็จะเป็นที่นับถือว่าบุญญาพลาธิการสูงส่งกว่ากันครับ การทรงกลดของรัศมีกายทิพย์
ก็คล้ายๆ พระอาทิตย์ทรงกลด หรือพระจันทร์ทรงกลดครับ คือรัศมีแผ่ออกไประยะหนึ่ง
แล้วจึงมีวงแหวนล้อมอีกที จึงค่อยแผ่ต่อออกไปโดยรัศมีค่อยๆ
ซาตัวลงกระทั่งกลืนหายไปกับบรรยากาศโดยรอบครับ ซึ่งถ้าจะว่ากันตามภาษามนุษย์ก็คือ
ความถี่ และความกระชั้นของแสง ที่เปล่งออกมา ก่อให้เกิดการ “สะสมตัว” ของรัศมี
เป็นวงแหวนขึ้นมาครับ เหมือนน้ำที่ไหลออกมาจากก๊อก แล้วเราเอามือบังไว้
จะทำให้มีสภาวะมวลกระแสน้ำล้นอยู่บนฝ่ามือของเรา ก่อนที่จะไหลออกต่อไปครับ
รัศมีที่จะเปล่งออกมาเป็นลักษณะของการ “ทรงกลด” หรือ “ประภามณฑล”
มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ “ตรัสสุริยะรัศมี” คือมีรัศมีมากและแรง ซึ่งรัศมีประเภท “สุริยะ”
ถูกจัดลำดับให้เป็นรัศมีขั้นสูงสุด ของทุกประเภท โดยในหมู่ขั้น “สุริยะ” ด้วยกัน
จะแบ่งเป็น (1) สุรีย์
(2) สุริยะ (3) สุริยา (4) สุริยันต์ (5) สุริยนต์ (6) สุริเยนทร์ (7) สุรีย์เวทย์
ซึ่งไล่ลำดับอานุภาพของรัศมีจากน้อยไปมาก คือ (1) ถึง (7)
แต่บ่อยครั้งที่คนทั่วไปจะเรียกรวมๆ กันว่าเป็น “สุริยะ”
เหมือนผงซักฟอก ที่คนทั่วไปเรียกติดปากว่าเป็น “แฟ้บ” แม้ผงซักฟอก จะมีหลายยี่ห้อ
หลายประเภท แต่ก็เรียกเหมากันไปว่าเป็น “แฟ้บ” ครับ
จะว่าไป รัศมีที่เห็นมี 2 แบบ คือแบบจงใจแผ่ออกไปหรือลดลงมา กับอีกแบบคือ
เป็นรัศมีที่แผ่ตามปกติ ซึ่งรัศมีที่จงใจแผ่ออกไปนั้น
ส่วนใหญ่จะทำกันในยามที่ต้องการแสดงกำลังให้ทราบ บางท่านต้องการข่มมิจฉาทิฐิ
หรือประสงค์จะก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะ เพื่อผ่อนแรงในการเทศน์สอน หรือเพื่อบ่งบอกนัยยะบุญญาธิการของตนให้ทราบ
ส่วนผู้ที่ลดรัศมีลงมา มักจะเป็นการรักษามารยาทในการเข้าสมาคม หรือจงใจปิดซ่อนเร้น
เพื่อรักษาความสงบ หรือธำรงเกียรติระหว่างกันและกัน
ไม่ให้ผู้อื่นรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ หรือระคายเคือง สำหรับรัศมีตามปกติ
มักจะเป็นรัศมีตามบุพกรรม ไม่ได้ใช้วิชชาเติมเสริมแต่ง ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 16 มกราคม
พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: เล่าสู่กันฟังตอน รัศมี
สำคัญไฉน? Version C
พระพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้า,
และพระอสีติมหาสาวก และพระอรหันตขีณาสพด้วยกัน
องค์ที่บารมีมากกว่าอยู่อันดับมาก่อน ถ้าบารมีเท่ากัน
องค์ที่รัศมีมากกว่าอยู่อันดับมาก่อน แล้วมันสำคัญตรงไหน ในเมื่อท่านไม่มีกิเลส?
บรรยากาศจะเหมือนประชุมนานาชาติ ที่ผู้นำแต่ละประเทศมาประชุมกัน
แล้วพอประเทศใหญ่ๆ มาเป็นองค์ปาฐก ท่านผู้นำประเทศอื่นๆ
ที่เป็นผู้ฟังต้องลุกขึ้นยืนให้เกียรติ หรือปรบมือให้
ซึ่งบางท่านก็จะรู้สึกว่ามันเป็นขั้นเป็นตอนอันไม่สมควรสำหรับท่าน เพราะท่านก็ยิ่งใหญ่
เป็นระดับผู้นำประเทศเหมือนกัน ทำไมต้องลุกขึ้นยืนด้วย? ยิ่งไปกว่านั้น
ถ้ามีองค์ปาฐกหลายๆ องค์ หรือบุคคลสำคัญกว่าหลายๆ ท่าน ก็ต้องลุกแล้วลุกอีก
คำนับแล้วคำนับอีก ซึ่งบางท่านอาจรู้สึก “น่าหน่าย” ทำนองนี้ครับ
ส่วนสังคมเทวดา ยิ่งไม่ต้องพูดถึง
เมื่อได้พบปะกันแล้ว ท่านดูกันและกันเผินๆ ก็ดูที่รัศมีก่อนครับ แล้วท่านก็ “เลือกปฏิบัติ”
ต่อกันดีมากหรือน้อยตามรัศมีนั้น เหมือนมนุษย์เราดูฐานะกันเผินๆ ดูที่นาฬิกาข้อมือ
เครื่องประดับ และรถที่ขับ ถ้าหรูหรา ก็คาดคะเนเอาว่าน่าจะร่ำรวยมีฐานะดี
เป็นชนสังคมชั้นสูง แล้วเราก็ให้เกียรติมากกว่า พูดตรงๆคือ ถ้ารวยก็เนื้อหอมกว่า
ได้ที่นั่งดีกว่า ได้ที่จอดรถซูเปอร์คาร์ ได้ลัดคิว นั่งเทวรถไปไหนมาไหน คนอื่นต้องหยุดให้
หลีกทางให้ เหมือนรถขบวนที่นั่งผ่านมา หรือเหมือนธนาคาร, บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่,
และสายการบิน เขามีเจ้าหน้าที่ และพื้นที่พิเศษสำหรับต้อนรับลูกค้าวีไอพี
ซึ่งสะดวกสบายกว่า แม้มันจะไม่ได้หมายความว่าจริงๆ แล้วฐานะทางการเงินของบุคคลดีกว่า
หรือบุญมากกว่าเสมอไป ก็เพราะผู้พบเห็นส่วนใหญ่ก็ไม่ถึงกับอยากจะตามกลับไปดูที่บ้านหรือวิมาน
ว่าแท้จริงแล้วใหญ่หรือเล็ก รวยจริง หรือรวยไม่จริง กว่ากันแค่ไหนครับ
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: เล่าสู่กันฟัง เรื่อง
"รังสีและรัศมี"
จากการทดลอง อุทิศ/อนุโมทนา กับตนเอง
ในการจุดประทีป และเปิดไฟส่องสว่างบูชาพระรัตนตรัย ฯลฯ นั้น ผมพบว่า
การทำแต่ละครั้งจะได้ "รัศมี" เพิ่ม และถ้าหากสะสมรัศมีจากการอุทิศ/อนุโมทนา แต่ละครั้ง
รวมกันได้ 108 ครั้ง ก็จะตรัส "(จุล) อนันตรังสี"
ครับ แต่มีผู้แนะนำว่า การได้มาแบบนี้ไม่ค่อยสง่างาม ผมก็เลยอุทิศ/อนุโมทนา
แค่วันละครั้งสองครั้งครับ แต่ผม "ชอบเล่น" มากกว่า ก็เลยทำงาน ทำบุญ เพื่อให้ได้รังสี
สนุกดีกว่าครับ
ท่านใดประสงค์จะได้ "รังสี
และรัศมี" ขั้นสูง ผมขอแนะนำให้ทำบุญค่าไฟฟ้าตามวัดวาอาราม และสำนักวิชชา
อย่างเช่นที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
โดยเอ่ยอ้างถึงบุญเปิดไฟส่องสว่างพระเจดีย์มหารัชมงคล, พระพุทธธรรมกายเทพมงคล และโลงทองของหลวงพ่อสด
ฯลฯ หรือทำบุญค่าไฟฟ้าเปิดไฟส่องสว่างบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐมบรมครูครับ
จะได้รัศมีมากครับ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า ท่าน “ลงส่วน”
มากน้อยเพียงใดด้วยนะครับ.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร
ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน เล่าสู่กันฟัง เรื่องเหรียญทิพย์
หลายท่านที่อ่านบทความและโพสต์ของผมเรื่องทำบุญด้วยเหรียญกษาปณ์
อาจจะอยากทดลองถวายเหรียญกษาปณ์เงิน/ทองคำดูบ้าง เมื่อถวายแล้วเราจะได้เหรียญกษาปณ์ทิพย์
ที่มีพระจักรพรรดิฝ่ายสมบัติเฝ้าคอยอำนวยผลครับ ก็เหนือนแก้วจุยเจียมีกายสิทธิ์รักษาครับ
เมื่อนำเหรียญทิพย์มาเหน็บใส่กระเป๋าด้วยวิชชา พระจักรพรรดิก็ตามสมบัติเข้ามาให้
พอได้แล้วท่านก็ลาลับไป
ถ้าเป็นเหรียญทิพย์ได้จากการทำบุญ
จะมีกำลังแน่นและแรงกว่า เราเหน็บแค่ 2-3 เหรียญ สมบัติก็มาครับ
ถ้าผู้รับมีวิชชายิ่งได้มาก แต่ถ้ามีกรรมหรือมารขวางอาจจะได้น้อยลง
ทีนี้พอเราอุทิศแล้วอนุโมทนากับตนเอง ก็ได้เหรียญทิพย์เพิ่ม ผมก็ออกแบบถ้อยความเอ่ยอ้างเพื่อให้ได้เหรียญมาก
ก็เพิ่มจาก 700 เป็น 800, 900, 1000, 1200 แต่เหรียญที่อนุโมทนาได้ ฤทธิ์จะหย่อนลง เวลาเหน็บกระเป๋าต้องใส่เพิ่มขึ้น
เช่น 7 – 8 เหรียญ แต่โดยนัยนี้ เราจะมีสมบัติเลี้ยงตัวเองไปเรื่อยๆ
เลยล่ะครับ
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร
ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
บทสคริปท์ อุทิศ / อนุโมทนา กับตนเอง
อย่างย่อ
โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
เวอร์ชั่นที่ 1 ณ วันที่ 13
มกราคม 2566
นานาสาระ: ตอนพิเศษ สคริปท์
อุทิศ/อนุโมทนา กับตนเอง (อย่างย่อ)
ผมได้ทำการทดลองทำบุญด้วยเหรียญกษาปณ์ทองคำ/โลหะเงิน
เป็นสังฆทาน แล้วอุทิศ/อนุโมทนา กับตนเอง ด้วยถ้อยคำต่างๆ ปรากฎว่า
การเพิ่มคำบางคำ สามารถให้ผลานิสงส์มากขึ้นอีกครับ แม้โดยรวมแล้ว ผลานิสงส์จากการอนุโมทนาจะหย่อนลงเรื่อยๆ ภายใน 7 วัน, 12 วัน, 21 วัน, 32 วัน, 108 วัน, 1001 วัน, 10001 วัน หลังจากทำบุญ ผมจึงสรุปเป็น demo คร่าวๆ
ให้นำไปประยุกต์ใช้กันครับ ท่านใดที่เดินวิชชา แล้วเกรงว่าวิชชาจะสะดุด
ขอให้ลองตั้งกายปฏิภาคขึ้นมา เพื่อคอยอุทิศ/อนุโมทนา ครับ
เผดียง คุณ HHH นามสกุล PPP
ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัยเลขที่ 9876543210
ดังนี้ แม้ครั้งที่ 1, 2, 3!!!
ข้าพเจ้า, HHH นามสกุล PPP
ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัยเลขที่ 9876543210,
ขอสำแดงดวงตราประกาศิต (ถ้ามี) ดังนี้แล้ว ข้าพเจ้าขอเอ่ยอ้างถึง
บุญ, บารมี, รัศมี, กำลังฤทธิ์, อำนาจ, สิทธิ,
เฉียบขาด, เดชา, ศักดา,
ศักดิ์สิทธิ์, วิเศษฯ, พิเศษฯ,
สิทธิเดชา, อัศจรรย์, มหัศจรรย์, ศักดิเดชา
อีกทั้ง กุศลกายกรรม, กุศลวจีกรรม, กุศลมโนกรรม,
กุศลธาตุ, กุศลธรรม และสรรพบรรดาประดามี
รวมถึงคุณเครื่องแห่งความดี ที่เกี่ยวเนื่องทั้งปวง ทุกขณะจิต ทุกดวงจิต ทั้งหมดทั้งปวงดังกล่าว
ในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียว ที่มีและเกิดขึ้นทั้งก่อนหน้า,
ในขณะระหว่าง, และภายหลังจากการที่ข้าพเจ้าได้
[เอ่ยอ้างรายละเอียดของบุญที่ทำ เช่นถวายมหาสังฆทานโลก]
โดยข้าพเจ้าขอน้อมอุทิศสิ่งที่ข้าพเจ้าเอ่ยอ้างมาทั้งหมดทั้งปวงดังกล่าวให้เฉพาะเจาะจงกับข้าพเจ้าเองนับตั้งแต่กายมนุษย์
คือ คุณ HHH นามสกุล PPP ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน
[ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัยเลขที่ 9876543210 ย้อนถอยขึ้นเรื่อยไปทุกกายกระทั่งถึงกายต้นสายธาตุสายธรรมในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิของข้าพเจ้าเป็นที่สุด
[โดยนัยนี้ รวมเป็นข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นสำหรับครั้งนี้] ฉะนี้แล้ว
ข้าพเจ้าขออุทิศดังว่านี้ แม้ครั้งที่ 1, ข้าพเจ้าขออุทิศดังว่านี้
แม้ครั้งที่ 2, ข้าพเจ้าขออุทิศดังว่านี้ แม้ครั้งที่ 3
ดังฉะนี้แล.
พร้อมกันนี้ ข้าพเจ้า, HHH นามสกุล PPP,
ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัยเลขที่ 9876543210
ขอสำแดงดวงตราประกาศิต (ถ้ามี) เพื่ออนุโมทนาสาธุการ
กับสรรพบรรดาประดามีในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียว ที่ตัวข้าพเจ้าเอง
ได้อุทิศให้ตนเองดังกล่าวล่าสุดเมื่อสักครู่ ข้าพเจ้าขอน้อมอนุโมทนา สาธุการ
แม้ครั้งที่ 1, ข้าพเจ้าขอน้อมอนุโมทนา สาธุการ แม้ครั้งที่ 2,
ข้าพเจ้าขอน้อมอนุโมทนา สาธุการ แม้ครั้งที่ 3 ดังฉะนี้แล.
ผนวก คุณ HHH นามสกุล PPP
ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัยเลขที่ 9876543210
แม้ครั้งที่ 1, 2, 3!!!
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร
ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน จะทำอย่างไร ถ้าทำบุญแล้วไม่ปลื้ม
ความปลื้มจากการทำบุญจัดเป็น
"ปีติ" ซึ่งในพระอภิธรรมปิฎกได้ระบุไว้ว่า เป็นอารมณ์ของจิตที่ก่อให้เกิดบุญมาก
มีลักษณะคล้าย “การเลี้ยงวิชชา” แต่อารมณ์ปีตินี้ก็ไม่เกิดขึ้นโดยง่าย
และไม่มีความแน่นอน แม้บางท่านจะพยายาม "บิลท์อารมณ์"
หรือจัดองค์ประกอบในการทำบุญให้ปลื้ม เช่นจัดดอกไม้ ติดริ้วธง จัดพิธีกรรมให้ดูยิ่งใหญ่
ขลังและศักดิ์สิทธิ์ แต่อารมณ์ปีติ ก็เป็นเพียงอารมณ์ของฌานชั้นต้น
ผู้ที่ได้ธรรมขั้นสูง หรือฌานขั้นสูงหน่อย อย่างเช่นฌาน 3 ถึงฌาน 8 อาจจะไม่มีปีติหรือความปลื้มเลย ซ้ำร้าย บางท่านโดน
"เก็บวิชชา" หรือสะดุดใจกับเรื่องไม่พึงประสงค์ ทำให้ไม่ปลื้ม
วิธีแก้ไข เพื่อให้ได้บุญมาก
แม้อารมณ์ไม่ปลื้ม ก็คือการ "อุทิศบุญให้กับตนเอง แล้วจึงอนุโมทนากับ
ตนเอง" ซึ่งเราต้องเอ่ยอ้างว่า "ด้วยบุญ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ อำนาจ
สิทธิ เฉียบขาด เดชา ศักดิ์สิทธิ์ วิเศษ พิเศษ สิทธิเดชา อัศจรรย์ มหัศจรรย์ ศักดิเดชา และคุณเครื่องแห่งความดีทั้งหลาย อันเกิดขึ้นต่อข้าพเจ้าทั้งก่อนทำ ขณะทำ
และหลังทำ [การถวายสังฆทานโลก ในวันที่ 111 เดือน 222 ปี 3333 ตามวันเวลาของประเทศไทยในปัจจุบันสมัย] ซึ่งจะส่งผลเฉพาะที่เป็นประโยชน์สุขต่อข้าพเจ้า
[และผู้อื่น] ในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียวนั้น
ข้าพเจ้าขอแสดงมุทิตาจิต และอุทิศสิ่งที่ข้าพเจ้าเอ่ยอ้างดังกล่าวทั้งหมดโดยเฉพาะเจาะจงให้กับตัวของข้าพเจ้าเอง
คือ xxx yyy นับตั้งแต่กายมนุษย์หยาบถอยขึ้นเรื่อยไป
กระทั่งถึงกายต้นสายธาตุสายธรรมในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิของข้าพเจ้า แม้ครั้งที่ 1,
2, 3 ดังนี้แล้ว ข้าพเจ้า คือ xxx yyy ก็ขอแสดงมุทิตาจิตพร้อมอนุโมทนากับตนเองด้วย
ดังนี้ แม้ครั้งที่ 1, 2, 3" เช่นนี้แล้ว เราก็จะได้บุญมากแม้อารมณ์ปลื้มปีติ
ไม่แรงกล้าครับ ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร
ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
Q&A: ทำอย่างไรจึงจะอนุโมทนาได้โดยไม่ติดค้างสิทธิ์
เราสามารถอนุโมทนาบุญ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ อำนาจ สิทธิ
เฉียบขาด เดชา ศักดิ์สิทธิ์ ... ฯลฯ ที่ยิ่งใหญ่ต่างๆ ได้
เช่นบุญก่อตั้งพระพุทธศาสนา ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อนุโมทนากับพระอาทิตย์ และพระจันทร์ที่ส่องสว่างทั่วจักรวาล
อนุโมทนากับสมเด็จองค์ปฐมบรมครูผู้ทรงเป็นต้นพระพุทธวงศ์ทั้งหมด, พระพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้า, พระอรหันตเจ้า
ในอดีตทั้งหมด ปัจจุบัน ทั้งหมด และอื่นๆ
แต่การอนุโมทนาบุญใหญ่ๆ อย่างนี้ จะติดค้างสิทธิ์มากมายครับ
ยกเว้นแต่เราจะมีบุญใหญ่มาแลก ด้วยการอุทิศสิทธิ์ให้ก่อน แล้วจึงอนุโมทนาสิทธิ์คืน
จากนั้นก็ “แลกสิทธิ์” (swap) กันและกัน เพื่อให้สิทธิ์ที่ค้างกันและกันตกไปทั้งสองฝ่าย
โดยไม่เปลืองเนื้อสิทธิ์เดิม แต่ถ้าบุญของเราไม่ใหญ่พอ เราต้องติดค้าง บุญกรรมอาจนำพาให้ได้ไปเกิดเป็นพระพุทธจักรฯ
ต้องเฝ้าเมืองพระนิพพาน คอยอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์
คือมีกุศลมาก แต่ก็อาจต้องทำงานใช้สิทธิ์ที่ติดค้าง
ซึ่งก็นับว่ายังดีกว่าไม่มีบุญกุศลใหญ่อะไรเลย วิธีที่จะแก้ปัญหาสิทธิ์มากน้อยไม่เท่ากันคือ การอุทิศสิทธิ์ และอนุโมทนาสิทธิ์ซ้ำๆ หลายๆ ครั้งกระทั่งต่างฝ่ายต่างมีสิทธิ์พอ แม้จะมากน้อยไม่เท่ากันครับ
สำหรับบางท่านที่ไม่ค่อยได้ทำบุญทำกุศล เมื่อใกล้จะละโลก
หากเพียงแต่ได้น้อมจิตอนุโมทนากับสมเด็จองค์ปฐมบรมครูฯ
ผู้ทรงเป็นต้นพุทธวงศ์ทั้งหมด
และอนุโมทนากับพระพุทธศาสนาในฝ่ายสัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียว
ที่สมเด็จองค์ปฐมบรมครู และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ผ่านมาทั้งหมด
รวมถึงในปัจจุบัน และองค์สมเด็จพระพุทธโคดมฯ ได้ทรงก่อตั้งพระพุทธศาสนาขึ้น
ก็จะเป็นบุญใหญ่ก่อนละสังขาร อาจถึงขั้นสามารถเปลี่ยนภพภูมิไปสู่สุคติได้
แม้ไม่เคยทำบุญอะไรครับ ยกเว้นแต่จะทำบาปหนักเอาไว้
วิธีอนุโมทนาบุญ โดย “แลกสิทธิ์” มีดังนี้ครับ
1. อุทิศ "สิทธิ์" ที่เรามีในบุญให้กับอีกฝ่าย แล้ว อนุโมทนา
"สิทธิ์" ที่อีกฝ่ายมีในบุญของท่าน
2. อนุโมทนาบุญ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ อำนาจ สิทธิ เฉียบขาด เดชา
ศักดิ์สิทธิ์ กับอีกฝ่าย
3. นำสิทธิ์ที่ “อนุโมทนาสิทธิ์” ได้มาเคลียร์ สิทธิ์ที่ติดค้างจากการ “อนุโมทนาบุญ”
ฯลฯ
4. อีกฝ่ายนำสิทธิ์ที่เราอุทิศให้ มาอนุโมทนาบุญ ฯลฯ
ของเราแล้วเคลียร์สิทธิ์ติดค้าง
5. สิทธิ์ ที่อุทิศ และสิทธิ์ ที่อนุโมทนา swap แลกกันและกัน ระหว่างสองฝ่าย แล้วเป็นอันตกไป
6. ต่างฝ่ายต่างได้บุญที่อนุโมทนา แล้วไม่ติดค้างสิทธิ์ต่อกันและกัน
7. จะทำฝ่ายเดียวก็ได้ แต่จะไม่แฟร์ครับ.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
Q&A: ทำไมจึงต้องทำบุญอาศัยเครื่องธาตุเครื่องธรรมฝ่ายบุญในการแก้บาปกรรม
สาเหตุที่ผมแนะนำให้ทำบุญใหญ่โดยระบุบนหน้าซองหรือเอกสารบริจาคหรือทำบุญ
ให้เครื่องธาตุเครื่องธรรมฝ่ายบุญเข้าล็อคแล้วถอนหรือกำกับผังบาปกรรม
ก็เพราะผังบาปกรรมนั้นตั้งขึ้นโดยเครื่องธาตุเครื่องธรรมฝ่ายบาป
ดังนั้นก็อาศัยเครื่องฝ่ายบุญแก้โปรแกรมของเครื่องด้วยกัน ไม่ต้องใช้วิชชา
อำนาจญาณ หรืออธิษฐานครับ
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
นานาสาระ: ตอน ถอนคำอธิษฐานด้วยสิทธิ์
เคยบ้างไหมครับ ที่เราได้อธิษฐานอะไรๆ อย่างคนไม่รู้ประสา
หรือไม่รอบคอบพอ โดยเฉพาะเรื่องความรัก
เช่นอธิษฐานกับแฟนเก่าตอนทำบุญว่าขอเป็นเนื้อคู่กันไปทุกภพชาติ แต่พออยู่ๆไป
เกิดมีความบาดหมาง ต้องแยกทางกันแล้ว แล้วก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับคำอธิษฐานที่เคยทำเอาไว้
ในทางวิชชานั้น เรามีวิธีการเรียกว่า
"ดับอธิษฐานถอนปาฏิหาริย์" เพื่อรื้อผังที่ตั้งขึ้นจากคำอธิษฐานครับ
นี้เป็นทาง "วิชชา" ซึ่งครูวิชชาท่านเคยอธิบายไว้แล้วว่า “เครื่องธาตุเครื่องธรรม” จะเป็นผู้กำหนดอานิสงส์จากการทำบุญ
โดยการอธิษฐานเวลาทำบุญ ก็ถือเป็น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ที่เครื่องธาตุเครื่องธรรมนำข้อมูลป้อนเข้า (input) เหล่านั้นมาประมวลเพื่อกำหนดผังกรรมานิสงส์แห่งบุญ
พร้อมทั้งเบิกบุญส่วนหนึ่งมาเป็นพลังงานขับเคลื่อนผังสำเร็จ
แล้วส่งกลับมาเก็บไว้ในกายมนุษย์ ซึ่งการใช้วิชชาดับอธิษฐานถอนปาฏิหาริย์
หรือมลายส่วนละเอียดของผังที่ตั้งขึ้นจากการทำบุญที่เราเคยอธิษฐานผิดพลาดเอาไว้
จะต้องหมดเปลือง “ประดาวิชชา” หรือ “หมดเปลืองละเอียด” ขึ้นอยู่กับความแน่นและขนาดของผัง
เหมือนใช้ยางลบ ลบข้อความที่เขียนเอาไว้ด้วยดินสอ ยางลบก็หมดเปลืองไป แล้วข้อความบนกระดาษที่เขียนด้วยดินสอก็หายไปครับ
แต่สำหรับ "โดยสิทธิ์" ผมมีวิธีคือ ให้เล่น "ผวนคำอธิษฐาน" ซ้ำๆ กันตอนทำบุญ หรืออุทิศ/อนุโมทนาบุญให้ตนเอง เช่น เราเคยอธิษฐานว่า "ขอให้ได้ครองรักกับก๋อยศรีไปทุกชาติ" แต่เมื่อเราเลิกรากับก๋อยศรีแล้ว เราก็ต้องมาอธิษฐานแก้ไขกัน โดยอธิษฐานว่า "ด้วยบุญกุศลนี้.. ชาติทุกไปศรีก๋อยกับรักครองได้ให้ขอ" โดยกล่าว 3 ครั้ง ถ้าทำในวิชชาได้ด้วยจะยิ่งแรงครับ เป็นการเล่นสิทธิ์รูปแบบหนึ่งเพื่อถอนคำอธิษฐาน ส่วนการเล่นสิทธิ์ในลักษณะอื่นๆ ก็สามารถทำได้ ขึ้นอยู่กับวิธีการเล่นของแต่ละท่าน แต่การเล่นสิทธิ์ ก็มักจะหมดเปลืองสิทธิ์ด้วยเหมือนกัน วิธีการผวนคำอธิษฐานจึงเป็นวิธีที่ประหยัด และได้ผล เพียงแต่ต้องทราบว่าเคยอธิษฐานไว้ว่าอย่างไร จะได้ผวนอย่างถูกต้องตามรอยเดิม ซึ่งถ้าผู้เล่นมีวิชชาด้วย ก็จะประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย
พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 6
มกราคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน เล่นสิทธิ์ "โมฆะกรรม"
พระพุทธศาสนาสอนว่า บุญส่วนบุญ
บาปส่วนบาป ไม่สามารถลบล้างกันและกันได้ ต่างจากศาสนาอื่น ที่มีพิธี “ล้างบาป”
แต่ชาวพุทธก็อาจจะรู้สึกคลางแคลงว่า น้ำจะล้างบาปได้อย่างไร
ที่นิยมทำกันในหมู่ชาวพุทธก็มีแต่การ “แก้กรรม” ซึ่งนิยมทำบุญสะเดาะเคราะห์
โดยส่วนใหญ่มักจะทำบุญในสิ่งที่เป็นตรงกันข้ามกับบาป เช่นหากเคยทำแท้ง
ก็ให้ปล่อยสัตว์ปล่อยปลา ถวายสังฆทานอุทิศให้ทารก แต่เมื่อเราทราบกลไกการทำงานของบุญและบาปแล้ว
เราสามารถแก้ไข "บาปกรรม" โดย "เล่นสิทธิ์"
ไปตามระบบของกฎแห่งกรรมได้ครับ
คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรื่องกรรม
มีอยู่ประการหนึ่งที่ใช้คำว่า "กรรมกลายเป็นอโหสิกรรม"
ซึ่งปกติแล้วจะเป็นกรรมที่ส่งผลมากพอกระทั่งหมดกำลังบาปกรรมไปเอง
หรือเป็นกรรมที่มีวิบากบุญใหญ่ อย่างมรรคผลนิพพานมาตัดหน้าไป
ดังเช่นตัวอย่างของพระองคุลีมาลย์ ที่ฆ่าคนมามาก แต่บรรลุเป็นพระอรหันต์
คือได้มรรคผล ก็เป็นวิบากบุญใหญ่นำพาเข้าพระนิพพาน ไม่ต้องไปชดใช้กรรมในนรก
สำหรับการแก้ไขปัญหาบาปกรรม
ที่เราพลาดพลั้งกระทำลงไป ด้วยเทคนิคการเล่นสิทธิ์ ผมมีวิธีแก้ไขคือ
"ทำบุญใหญ่อันเป็นปรปักษ์ต่อบาปกรรม" แล้วเขียนจ่าหน้าซองหรือระบุก่อนถวายทานหรือทำบุญว่า
“ขอบุญจากการปล่อยโคกระบือนี้จงเป็นพลวปัจจัยดลบันดาลให้บาปกรรมจากการล่าสัตว์ของข้าพเจ้าทั้งหมดในปัจจุบันชาติจงกลายเป็นโมฆะ
คือเป็นอโหสิกรรม
ขอให้บุญนี้คอยกำกับผังบาปกรรมจากการฆ่าสัตว์ของข้าพเจ้าเอาไว้อยู่เสมอๆ ตลอดไป
เมื่อใดก็ตามที่บาปกรรมจากการล่าสัตว์จะส่งผล ขอบุญจากการปล่อยโคกระบือ
จงเปลี่ยนแปลงสถานการณ์จากร้ายให้กลายเป็นดี เพื่อให้ข้าพเจ้ารอดพ้นจากบาปกรรม
ทุกครั้ง ทุกคราไป ดังนี้ แม้ครั้งที่ 1, 2 และ 3!!!”
ดังนี้แล้ว หลังจากทำบุญไปแล้ว เราก็สามารถเอ่ยอ้างบุญนี้ซ้ำๆ
กันเรื่อยๆ แล้วอุทิศให้กับตนเอง รวมถึงสัตว์ที่ถูกเราล่าฆ่าไป ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า
แล้วเราก็อนุโมทนาบุญกับตัวเองในบุญนี้บ่อยๆ ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า “ผังบุญ” ที่จะทำให้บาปเป็นอโหสิกรรม
หรือเป็นโมฆะ ก็จะแรงขึ้นๆ ตามลำดับ คอยตัดกำลังผังบาปไปเรื่อยๆ
ซึ่งถ้าเราอุทิศบุญบ่อยๆ อนุโมทนาบ่อยๆ ทำบุญแบบเดียวกันบ่อยๆ
แล้วอุทิศ/อนุโมทนาบ่อยๆ สม่ำเสมอ ก็จะช่วยได้มากเลยครับ ซึ่งเราต้องพิจารณาด้วยว่า
ผังบาปกรรมแรงมากเพียงใด แล้วคำนวณประเมินดูว่า ต้องทำบุญให้แรงมากน้อยเพียงใด
จึงจะมีกำลังมากพอเพื่อ “คานกำลัง” กัน แล้วถ้าหากท่านใดเป็นผู้ทรงวิชชา
จะทำในวิชชา ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหลายเท่าตัว ส่วนท่านที่ชำนาญ “เล่นสิทธิ์”
อาจถึงกับสามารถถอนผังบาปออกได้ด้วยผังบุญ แล้วผังดับไปทั้งคู่
อุปมาเหมือนบุคคลเป็นฝี (ผังบาปกรรม) แล้วนำแผ่นกอเอี๊ยะดูดฝีมาแปะไว้ที่ผิว
(ผังบุญ) แผ่นกอเอี๊ยก็จะดูดฝีออกมาจนแห้ง แล้วแผ่นกอเอี๊ยะนั้นก็จะหมดฤทธิ์ยาไปครับ
ดังฉะนี้.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร
ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: คำกล่าว อุทิศ/อนุโมทนา โดยพิสดาร
สงวนลิขสิทธิ์ โดย
พิรจักร ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
ฉบับที่ 1 ณ วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2566
1. กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย
2. กล่าว “นะโม ตัสสะฯ”
3 จบ
3. “เผดียง นาย xxx
นามสกุล yyy (ชื่อนามสกุลตนเอง) ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัย เลขที่ zzzzzzzzzz ดังนี้
แม้ครั้งที่ 1, 2 และ 3.”
4. “ข้าพเจ้า นาย xxx
นามสกุล yyy ขอสำแดงดวงตราประกาศิตเพื่อทำพิธีอุทิศต่างๆ
ในกาลบัดนี้”
5. “ข้าพเจ้า นาย xxx
นามสกุล yyy ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัย เลขที่ zzzzzzzzzz ขอเอ่ยอ้างถึงทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, สัจจะ, ขันติ, เมตตา,
อธิษฐาน, อุเบกขา, บุญ, บารมี, รัศมี, กำลังฤทธิ์, อำนาจ, สิทธิ, เฉียบขาด, เดชา,
ศักดิ์สิทธิ์, ทรัพย์ในธาตุ, สินในธรรม, โลกียทรัพย์, โลกุตรทรัพย์, อริยทรัพย์,
มนุษยสมบัติ, สวรรค์สมบัติ, นิพพานสมบัติ, ธรรมสมบัติ, มรรคผล นิพพาน, วิชชาและจรณะ,
กุศลธาตุ, กุศลธรรม, กายสิทธิ์, รัตนะ และบรรดาอันประดามีของข้าพเจ้าในธาตุธรรมของข้าพเจ้าทั้งหมดทั้งสิ้น
อันตั้งอยู่ และเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข ในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิ
แต่เพียงส่วนเดียว สำหรับข้าพเจ้า โดยขอยกเว้นที่เกี่ยวเนื่องและเกี่ยวข้องกับหมู่คณะวัดพระธรรมกาย
จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย และพวก ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ทั้งในโลกนี้
และต่างภพต่างภูมิ และไม่เกี่ยวเนื่องและเกี่ยวข้องกับบุคคล และ/หรือ คณะบุคคล และ/หรือ องค์กร หน่วยงาน ภาคส่วนต่างๆ
ซึ่งหากทำการอุทิศ/อนุโมทนา แล้วจะเป็นโทษหรือเสียประโยชน์ต่อข้าพเจ้า”
“ข้าพเจ้า นาย xxx นามสกุล yyy ขอสำแดงดวงตราประกาศิต (ถ้ามี) แล้วขอเอ่ยอ้างสิ่งต่างๆนาๆ
บรรดาอันประดามีของข้าพเจ้าดังกล่าว ซึ่งมีข้อยกเว้นแล้วนั้น
แล้วน้อมอุทิศทั้งหมดทั้งสิ้นอย่างเฉพาะเจาะจงให้กับตัวของข้าพเจ้าเอง
(หรือจะมีผู้อื่นก็ได้ แต่จะติดค้างสิทธิ์กันและกัน แล้วทำให้ซับซ้อนขึ้น
หรือมีปัญหาในวิชชาภายหลัง) คือ นาย xxx นามสกุล yyy ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัย เลขที่ zzzzzzzzzz ดังนี้
แม้ครั้งที่ 1, แม้ครั้งที่ 2 และ
แม้ครั้งที่ 3.”
”ข้าพเจ้า นาย xxx นามสกุล yyy ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัย เลขที่ zzzzzzzzzz ขอสำแดงดวงตราประกาศิต (ถ้ามี) เพื่อน้อมรับอนุโมทนาสาธุการในสิ่งต่างๆ
นาๆ บรรดาอันประดามี ที่ตัวของข้าพเจ้าเองได้เอ่ยอ้างถึงแล้วอุทิศให้ข้าพเจ้าเองล่าสุดเมื่อสักครู่นี้
ดังนี้แล้ว ข้าพเจ้าขออนุโมทนาสาธุการ แม้ครั้งที่ 1, ขออนุโมทนาสาธุการ
แม้ครั้งที่ 2 และ ขออนุโมทนาสาธุการแม้ครั้งที่ 3”
“ด้วยผลานิสงส์นี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นบุคคลผู้สมบูรณ์แบบในทุกเรื่อง ทุกด้าน
ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ทุกประการ อันเหมาะควรต่อข้าพเจ้า
และสอดคล้องกับธาตุธรรมฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียว
รวมถึงเป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพานอันยั่งยืน และประโยชน์สุข
ในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียวสำหรับหรับข้าพเจ้ามากยิ่งๆ ขึ้นไป
นับจากวันนี้เป็นต้นไป อย่างยั่งยืน [ตลอดไป] เทอญ นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ!”
6. “ผนวก นาย xxx
นามสกุล yyy ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน [ชาวไทย] ในปัจจุบันสมัย เลขที่ zzzzzzzzzz แม้ครั้งที่ 1, 2 และ 3.”
7. “ข้าพเจ้าขอสำแดงดวงตราประกาศิต
(ถ้ามี) เพื่อเป็นการปิดพิธีในครั้งนี้” ต่อจากนั้นให้กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย
เป็นอันเสร็จพิธี.
* * * * * * * * * * * * * * * * * *
นานาสาระ: ตอน เล่นสิทธิ์ในศีล
"ศีล"
เป็นองค์คุณหนึ่งใน "จรณะ 15" ที่เอื้อต่อศักยภาพของ
"วิชชา" เหตุเพราะวิชชาทั้งหลายล้วนตั้งอยู่บนจรณะ ส่วนบุคคลที่
"ทุศีล" แต่ยังมีวิชชาได้ ก็เพราะโดยมากแล้วจะเป็น
"มิจฉาวิชชา" ครับ แต่วันนี้เราจะยังไม่ขอเอ่ยถึงเรื่อง ศีลในวิชชา
แต่จะแบ่งปันความรู้เรื่องการเล่นสิทธิ์ในศีล
ชาวพุทธที่ศึกษาธรรมะมามากคงพอทราบว่า
ศีล 5 เป็นศีลขั้นพื้นฐานสำหรับคนทั่วไป และศีล 5 นี้
ก็มีมาก่อนตั้งแต่องค์สมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงถือพระประสูติกาล
ส่วนศีล 8 เป็นศีลเริ่มแรกของบรรพชิต ส่วนศีลของสามเณร พระภิกษุ
พระภิกษุณี นั้นแตกต่างกันไปตามพุทธกาล บางยุคที่มนุษย์มีกิเลสเบาบาง
สิกขาบทหรือพระวินัยสำหรับพระสงฆ์มักจะมีน้อยข้อ
ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ
พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงประสงค์จะบัญญัติศีลสิกขาบทเพิ่มครับ เพราะเมื่อสิกขาบทมาก
การบรรลุธรรมในพระศาสนามักจะมีน้อยลงไปด้วย แต่ถ้าสิกขาบทน้อยไป
พระศาสนาก็คลอนแคลน พูดง่ายๆ ก็คือ ยิ่งกฎระเบียบเยอะมากไป
ก็พลอยทำให้พระสงฆ์ตึงเครียดอยู่กับความเคร่งครัด ระแวดระวังกังวล
ในการปฏิบัติตามพระวินัย ทำให้อารมณ์ "ตึงไป" ไม่เป็นกลาง ขาดมัชเฌนธรรม
แล้วถ้าทำผิด ก็จะกลายเป็นบาปติดค้าง หากปลงอาบัติไม่ตก พระที่อาบัติติดค้างมากๆ
ก็มักจะเป็นเครื่องถ่วง ไม่ให้บรรลุธรรมโดยง่าย ยกเว้นบางรูปที่บุญกรรมส่งผลให้เป็นไปได้
หรือมีอัธยาศัยชอบความเคร่งครัดเหมือนอย่างพระมหากัสสปะ ผู้เลิศทางธุดงควัตร
ครั้นจะบัญญัติสิกขาบทน้อย
พระสงฆ์ก็จะขาดกฎระเบียบที่ดีและมากพอคอยล้อมกรอบกำหนดความประพฤติ
เป็นเหตุให้ปฏิบัติในทางเสื่อมเสียต่อพระศาสนาได้
ผมเกริ่นมายืดยาวขนาดนี้แล้ว ก็ขอลัดเข้าตรงประเด็นเลยว่า
“ศีล” มีความสำคัญสำหรับผู้ทรงวิชชา เพราะไม่ว่าวิชชาจะตรงทาง หรือเบี่ยงเบนไป
จะเป็นไปตามที่ครูบาอาจารย์สอน หรืออย่างไร อย่างน้อยขอให้มีศีล เป็นกรอบกำหนด
มิฉะนั้นแล้ว จะเห็นผิดเป็นชอบไปได้ เพราะในวิชชา ก็มีเห็นได้ต่างๆ กันไป
ตามกำลังญาณทัสสนะของแต่ละท่าน บางท่านญาณละเอียดกว่า อาจแกล้งกันด้วยการส่งภาพเข้ามาหลอกรู้หลอกญาณกันเลยก็มี
ทำให้สำคัญผิด อย่างน้อย ไม่ว่าจะเห็นเป็นไปอย่างไรในวิชชา ก็อย่าทำผิดศีลครับ
ไม่ว่าจะเป็นศีลของฆราวาส หรือบรรพชิต
ทีนี้ ตามปกติแล้ว
ชาวพุทธทั่วไปอาราธนาศีลตาม "พิธีกรรม" จะอาราธนาแบบ "ครบชุด"
คือ "ศีล 5" หรือ "ศีล 8" ซึ่งหากมีข้อใดข้อหนึ่งขาด
ข้อที่เหลือก็จะขาดแบบ "ยกชุด" ไปพร้อมๆ กัน เพราะเวลาพระให้ศีล ท่านให้มาแบบนั้น
ตามพิธีกรรมที่ทำต่อๆ กันมา แต่ถ้าเราจะแก้ไขปัญหานี้ เราสามารถ
"อาราธนาศีลแยกข้อ" ซึ่งอาจจะต้องอาราธนาเองต่อหน้าหิ้งพระที่บ้าน
โดยกล่าวคำอาราธนาศีลเป็นภาษาไทยก็ได้ แล้วปิดท้ายว่า "ข้าพเจ้าขออาราธนาศีล 5
แต่ละข้อ ละข้อ แยกต่างหากกัน ทั้งหมดมี 5 ข้อด้วยกัน
หากมีข้อใดข้อหนึ่งขาด ข้อที่เหลือไม่พึงขาดตามไปด้วย พึงขาดเฉพาะข้อนั้นๆ ดังนี้
แม้ครั้งที่ 1, 2 และ 3" โดยนัยนี้ ถือเป็นการ “เล่นสิทธิ์”
กับศีล และเป็นไปตามที่เรากำหนด
ฉะนั้น เมื่อเราอาราธนาศีลแบบแยกข้อ
หากเผลอทำศีลขาด 1 ข้อ เราก็จะเหลือศีล 4 ซึ่งเวลาเราอาราธนาใหม่
เราสามารถต่อศีล โดยอาราธนาซ้ำเฉพาะในข้อที่ขาด หากเรามีสติรู้เท่าทันระลึกได้ว่าเป็นข้อใด
โดยกล่าวปิดท้ายว่า “ข้าพเจ้าขออาราธนาศีลกลับคืนอีกหนึ่งข้อ รวมกับของเดิมแล้วเป็น
5 ข้อ แต่ละข้อแยกต่างหากกัน ดังนี้แม้ครั้งที่ 1, 2 และ 3” หลายๆ ท่านทำตามพิธีกรรม แล้วมีศีล 5 หรือศีล 8 พอศีลขาด 1 ข้อ
ก็กลายเป็นคน "ไม่มีศีล" ไปเลย แล้วถ้าหากอาราธนาศีลเองไม่เป็น
ก็รอจนกว่าจะได้เข้าวัดถวายภัตตาหาร หรือสังฆทานคราวหน้า
ก็ต้องตกอยู่ในสภาพไม่มีศีลเลย ไปพลางๆ จนกว่าพระจะให้ศีลใหม่อีกครั้ง ซึ่งบางครั้งก็กินเวลายาวนานสำหรับบางท่าน
ซึ่งเข้าวัดทำบุญเฉพาะวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือช่วงเทศกาล
ด้วยวิธีการนี้ จะทำให้เรายังคงมีศีลอยู่เสมอๆ
ไม่ว่าจะกี่ข้อ แล้วเราก็ได้บุญต่อเนื่อง จากการมีศีล คือระหว่างที่เรามีศีล 4 ข้อ เมื่อเปรียบเทียบกับศีล
5 หรือศีล 8 ที่ขาดไปทั้งชุด ทำให้อยู่อย่างคนไม่มีศีล
แต่การเล่นสิทธิ์ในศีลนั้น เราจะยังได้บุญจากการมีศีล 4 ข้อต่อไป
ดังนี้ครับ.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร
ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน อุทิศ/อนุโมทนา โดยพิสดาร
การอุทิศ/อนุโมทนาบุญนั้น
ถือเป็นบุญกริยาวัตถุใน 10 ประการ ซึ่งทำให้ได้บุญเพิ่ม
เพราะใจเราเป็นกุศลเพิ่ม ไม่ได้เกิดจากการแบ่งเนื้อบุญจากส่วนของเจ้าของผู้ทำบุญออกมาให้เรา
อุปมาผู้ทำบุญเหมือนแท่งเทียนที่จุดไฟส่องสว่างอยู่
แล้วผู้อนุโมทนาคือกระจกเงาที่ตั้งสะท้อนเงาแท่งเทียนนั้น ทำให้สว่างเพิ่ม
แต่ดังที่ผมได้เคยเกริ่นไว้แล้วว่า การอุทิศ/อนุโมทนาบุญนั้น
มีทั้งแบบที่เจ้าตัวไม่รับรู้รับทราบ กับแบบที่เจ้าตัวรับรู้รับทราบ แล้วตอบรับ
หรือไม่ตอบรับ ซึ่งอานิสงส์แห่งกรรมก็จะแตกต่างกันไป
การอุทิศ/อนุโมทนาบุญกับผู้อื่นนั้นได้บุญมากขึ้นมาก็จริง
แต่จะ "ติดสิทธิ์" (อีกแล้ว ^^) เพราะเจ้าของบุญมีสิทธิ์จะถอนพันธะผูกพันได้ทุกเมื่อ
และอานิสงส์ของบุญก็คือ ผู้อุทิศจะได้บุญเพิ่มและมี “สิทธิ์” มากขึ้นใน “กรรมะพันธะ”
ในขณะที่ผู้อนุโมทนาก็ได้บุญเพิ่มและจะได้มีส่วนใช้สอยสมบัติ “กรรมมานิสงส์”
แต่จะต้องทำงานให้กับเจ้าของบุญ คือจะต้องไปเป็นบริษัทบริวารของเจ้าของบุญ
แล้วร่วมกินร่วมใช้กองสมบัติอันเกิดจากบุญที่ร่วมอนุโมทนา ถ้ามีบุญเป็นของตนเองมากอยู่ด้วย
ก็จะได้ทำงานให้ในลักษณะของ “บริษัทผู้รับเหมาช่วง” (sub-contractor) ยกเว้นแต่จะทำบุญสมทบด้วย ก็จะได้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น ในกรณีนี้ก็จะมีส่วนได้ของตนแยกต่างหาก
แล้วถ้าไปเกิดในสวรรค์ หรือในนิพพาน ถ้ากำลังบุญของผู้อนุโมทนาไม่มากพอ
หากเคยอนุโมทนาบุญใหญ่กับใครไว้
ผู้อนุโมทนาก็อาจจะต้องไปเป็นบริวารในวิมานของเจ้าของบุญนั้น แต่ถ้ามีบุญมากพอ
ก็จะมีวิมาน แต่อยู่ในเขตการปกครองของสวรรค์หรือ “วงศ์บุญ” ของหัวหน้าเทวดาที่เราเคยอนุโมทนาไว้
ดังนี้แล้ว ผมจึงแนะนำว่า
ให้เราทำบุญด้วยตนเอง แล้วอุทิศบุญให้ตนเอง พร้อมกับอนุโมทนาบุญกับตนเอง
ทำได้บ่อยๆ จะได้บุญเพิ่มฟรีๆ โดยไม่ติดค้างสิทธิ์ของใคร (ยกเว้นบางกรณี
เช่นทำในนามคณะ หรือครอบครัว) แต่ต้องระวังเวลาอนุโมทนากับบุญใหญ่ที่ทำไว้กับสำนักวิชชา
อาจทำให้วิชชาของสำนักสะดุด
เพราะบุญถล่มลงมาเพิ่มอย่างไม่ทันตั้งตัวขณะเดินวิชชาอยู่ โดยผลบุญคือ
เราจะได้เป็นเจ้าของกองสมบัติ จากกิจการที่ก่อให้เกิดรายได้ ยกตัวอย่างเช่น เราก่อตั้งบริษัทขึ้น
แล้วก็ทำงานรับตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ คือตนเองก่อตั้งด้วย ถือหุ้นด้วย
แล้วก็มีตำแหน่งทำงานรับเงินเดือนจากบริษัทของตนเองอีกต่อ กรรมจะส่งผลทำนองนี้ครับ
สำหรับบทความนี้ ผมขอแนะนำ “การอุทิศ/อนุโมทนา
โดยพิสดาร” คือ "ขออุทิศบุญ, อุทิศบารมี, อุทิศรัศมี, อุทิศกำลังฤทธิ์, อุทิศอำนาจ,
อุทิศสิทธิ, อุทิศเฉียบขาด, อุทิศศักดิ์สิทธิ์, อุทิศวิชชา (และอื่นๆ) ให้กับตัวข้าพเจ้าเอง ผู้มีชื่อว่า xxx yyy ดังนี้ แม้ครั้งที่ 1, 2 และ 3 และขอน้อมอนุโมทนาบุญ, อนุโมทนาบารมี, อนุโมทนารัศมี, อนุโมทนากำลังฤทธิ์,
อนุโมทนาอำนาจ, อนุโมทนาสิทธิ, อนุโมทนาเฉียบขาด, อนุโมทนาศักดิ์สิทธิ์
และอนุโมทนาวิชชา (และอื่นๆ) กับตัวของข้าพเจ้าเอง
ที่ได้อุทิศให้กับตนเองดังกล่าวด้วย เฉพาะในส่วนที่มีการประกอบเหตุและผลานิสงส์
อันเป็นประโยชน์สุข ตั้งอยู่ในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิ แต่เพียงส่วนเดียว ดังนี้
แม้ครั้งที่ 1, 2 และ 3.”
การอุทิศ/อนุโมทนา กับบุญ และสิ่งต่างๆ
อย่างเช่น อุทิศ/อนุโมทนาความรู้, อุทิศ/อนุโมทนากุศลกรรม, อุทิศ/อนุโมทนาธาตุ,
อุทิศ/อนุโมทนาธรรม, อุทิศ/อนุโมทนาทาน อุทิศ/อนุโมทนาศีล, อุทิศ/อนุโมทนาภาวนา, อุทิศ/อนุโมทนาสมาธิ, อุทิศ/อนุโมทนาปัญญา, อุทิศ/อนุโมทนาวิมุติ,
อุทิศ/อนุโมทนาวิมุติญาณทัสสนะ, อุทิศ/อนุโมทนาวิชา, อุทิศ/อนุโมทนาวิชชา, อุทิศ/อนุโมทนามนุษยสมบัติ
สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ, อุทิศ/อนุโมทนาโลกียทรัพย์,
อุทิศ/อนุโมทนาโลกุตรทรัพย์, อุทิศ/อนุโมทนา
ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะบารมี ปัญญาบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี
เมตตาบารมี อธิษฐานบารมี อุเบกขาบารมี, อุทิศ/อนุโมทนาลาภ, ยศ, สรรเสริญ, สุข,
มรรคผล, และนิพพาน ฯลฯ
สามารถใช้ได้กับตนเอง และผู้อื่น ในกรณีต่างๆ ตามแต่จะประยุกต์ใช้
วิธีอนุโมทนาพิสดารดังนี้ จะมีทำให้ผู้อนุโมทนาได้รับส่วนในกรรมานิสงส์
แต่ผู้อนุโมทนาอาจไม่ทราบได้ว่า เจ้าของบุญทำมิชอบใดๆ ไว้หรือไม่ ในสิ่งต่างๆ
เหล่านั้น จึงต้องเอ่ยอ้างล้อมกรอบไว้ ว่าขออนุโมทนาเฉพาะเหตุที่ประกอบไว้ และผลานิสงส์อันจะเกิดขึ้น
ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข
อันตั้งอยู่ในฝ่ายกุศลาธรรมาสัมมาทิฐิแต่เพียงส่วนเดียวเท่านั้น เพื่อมิให้ “ติดวิบัติ”
การอนุโมทนาเช่นนี้ ถ้าทำกับคนอื่น
พึงตระหนักว่า เราอาจจะได้ไปเกิดเป็นบริวารบุญของท่าน ซึ่งถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่เรานับถือคุ้นเคยกันมานาน
ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นผู้ที่เรายังไม่รู้จักมักคุ้นดีพอ
ก็ขอให้ระมัดระวังไว้บ้าง เพราะท่านสามารถเรียกสิทธิ์ หรือเพิกถอนสิทธิ์ มีผลต่อชีวิตของเรา
หรือทำให้อานิสงส์ต่างๆ หายไป แต่วิธีอุทิศ/อนุโมทนา พิสดารนี้จะเป็นประโยชน์มาก
หากอุทิศและอนุโมทนาให้กับตนเองเป็นหลัก
แต่ถ้าหากเราอุทิศหรืออนุโมทนาแล้วมาทราบภายหลังว่า กรณีนั้นไม่ถูกต้อง
เราก็สามารถ "ถอนอุทิศ และถอนอนุโมทนา" นั้นได้ในภายหลัง เป็นการ
"เล่นสิทธิ์" ประการหนึ่ง
บางท่านอาจจะรู้สึกว่า ทำไมไม่อุทิศบุญให้กับบรรพบุรุษ
บุพการี ญาติมิตร
หรืออนุโมทนาบุญกันแบบทั่วไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมชาวพุทธอันดีงาม
ทำไมต้องอุทิศ และอนุโมทนาให้กับตนเอง? สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า
ในโลกแห่งวิชชา ผู้ทรงวิชชาสามารถนำบุญไปเติม ไปส่งให้กับหมู่ญาติได้โดยตรง ไม่ต้องอุทิศกันให้มีพิธีรีตองมากมาย
หรือเจ้าประกาศิต ก็สามารถนำ “สายบุญสันวิวัฏฐายี” ไปใส่ให้กับหมู่ญาติได้เลย
ไม่ต้องมาอุทิศ/อนุโมทนากันตามปกติ
ซึ่งบางทีท่านได้สุคติแล้ว อยากจะเที่ยวเล่น เพลิดเพลินอยู่ในสวรรค์
หรือสงัดอยู่ในเมืองนิพพาน การอุทิศ/อนุโมทนา
อาจจะกลายเป็นการรบกวนท่านด้วยซ้ำ ยกเว้นแต่จะทำบุญใหญ่ๆ
ซึ่งสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับท่าน และภพภูมิอันเป็นที่อยู่ของท่านได้มาก
ก็ควรอุทิศ/อนุโมทนากันบ้าง
ส่วนที่ผมเคยแนะนำวิธีเขียนจ่าหน้าซองทำบุญ ว่าจะกำหนดให้ผู้รับบุญเป็นเจ้าของบุญเต็มๆ
ได้อย่างไร แทนที่จะทำได้แค่อนุโมทนารับบุญ 5 – 15% ในครั้งเดียว
ซึ่งอานิสงส์ไม่ยั่งยืน ก็เป็นวิธีการที่ดีกว่าครับ ส่วนการอุทิศ/อนุโมทนาบุญกับตนเองนั้น ได้บุญเพิ่มฟรีๆ อยู่ว่างๆ นึกถึงได้เมื่อไรก็ทำ ดังฉะนี้ครับ.
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์โดย พิรจักร
ทิศุธิวงศ์ (รจนาธร)
วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2566
www.Meditation101.org
นานาสาระ: ตอน รัศมีกายมาจากไหน?
“รัศมีกาย” ทั้งของกายมนุษย์, ทิพย์, พรหม, อรูปพรหม, กายธรรม, กายพระจักรพรรดิ ล้วนมีความสำคัญ เพราะสรรพสัตว์ส่วนใหญ่มีปกติยินดีในความสว่าง อันขับไล่ความมืด เพราะความสว่างนั้นให้ประโยชน์ ทำให้สามารถมองเห็น เพื่อการทำกิจต่างๆ ได้มากกว่า ให้ความรู้สึกปลอดภัย เห็น และแยกแยะได้ ว่าสิ่งใดเป็นคุณ สิ่งใดเป็นโทษ อีกทั้งยังเป็นเครื่องบ่งบอกความสวยงาม เหมือนแสงอาทิตย์ยามเช้า ยามเย็น แสงจันทร์คืนวันเพ็ญ และแสงดาวอันสุกสกาว แสงรัศมีเหล่านี้ล้วนเป็นที่นิยมชมชอบของเหล่าสรรพสัตว์ ใครก็ตามที่มีรัศมีในตัวเอง ก็มักจะเป็นที่นับถือ เคารพเลื่อมใส เหมือนองค์สมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงมีปกติแผ่รัศมีฉัพพรรณรังสีออกไปข้างละ